การบนบาน
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
การบนบาน
﴿النذر﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2010 - 1431
﴿النذر﴾
« باللغة التايلاندية »
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: يوسف أبو بكر
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การบนบาน
การบนบาน หมายถึง การที่บุคคลผู้บรรลุศาสนภาวะมีสติสัมปชัญญะ สมัครใจ ได้บังคับตัวเองต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งมิใช่เป็นสิ่งจำเป็นของบทบัญญัติ โดยการกล่าวด้วยวาจาที่บ่งชี้ถึงเรื่องนั้น
บทบัญญัติว่าด้วยการบนบาน
การบนบานเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติในสิทธิของผู้ที่รู้ตัวว่ามีความสามารถที่จะกระทำตามที่บนบานไว้ได้
และการบนบานจะเป็นเรื่องน่าตำหนิ (มักรูฮฺ) ต่อบุคคลที่รู้ตัวว่าไม่สามารถจะกระทำตามที่บนบานไว้ได้
ดังนั้นการบนบานไม่เป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญ และบางครั้งอาจมีอุปสรรคในการที่จะกระทำตามคำบนบาน ดังนั้นมันจะติดตามมาด้วยความผิดหรือเป็นบาป ผู้บนบานเป็นผู้ที่วางเงื่อนไขไว้กับอัลลอฮฺโดยที่เขาจะทดแทนตามสิ่งที่บนบานเอาไว้หากว่าเขาได้รับตามความต้องการ และหากเขาไม่ได้รับตามความต้องการเขาก็จะไม่กระทำ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงร่ำรวย เ พียงพอจากปวงบ่าวและการเคารพภักดีของพวกเขา
บทบัญญัติว่าด้วยการบนบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ
การบนบานเป็นการเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) ชนิดหนึ่ง ไม่อนุญาตให้บนบานต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ เพราะว่าเป็นการให้ความยิ่งใหญ่กับผู้ที่ถูกบนบานและแสดงถึงความใกล้ชิดต่อพระองค์ ดังนั้นผู้ใดที่บนบานต่อสิ่งอื่น อาทิเช่น กุโบร มะลาอิกะฮฺ นบี หรือวะลียฺ แน่แท้เขาได้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺเป็นชิริกใหญ่ และการบนบานก็ถือว่าเป็นโมฆะไม่จำเป็นต้องรักษาคำบนบาน
บุคคลที่ถือว่าการบนบานของเขานั้นถูกต้อง
การบนบานจะไม่นับว่าเป็นสิ่งถูกต้องสมบูรณ์นอกจากต้องมาจากคนที่บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ สมัครใจ เป็นมุสลิม หรือเป็นผู้ปฏิเสธ
ประเภทของการบนบาน
การบนบานแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. การบนบานโดยทั่วไป เช่น เขากล่าวว่า ฉันขอบนบานหากฉันได้กระทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ และเขาก็ได้กระทำ ดังนั้นจำเป็นที่เขาต้องจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ)
2. การบนบานโดยโกรธเคืองหรือด้วยความโกรธ หมายถึง การบนบานที่เกี่ยวโยงกับเงื่อนไขมีเจตนาว่าจะไม่กระทำ แบกมัน รับรอง หรือใส่ร้าย เช่น เขากล่าวว่า หากฉันพูดกับท่านจำเป็นที่ฉันจะต้องทำหัจญ์ ฉะนั้นให้เขาเลือกระหว่างที่จะกระทำตามคำบนบานหรือจะจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ
3. การบนบานในการกระทำสิ่งที่อนุญาต (มุบาหฺ) เช่น เขาบนบานว่าจะใส่เสื้อผ้า หรือขี่สัตว์(พาหนะ) หรือทำนองเดียวกันนี้ ฉะนั้นให้เขาเลือกระหว่างที่จะกระทำหรือจะจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ
4. การบนบานในสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) เช่น บนบานเกี่ยวกับการหย่าร้าง หรือทำนองเดียวกันนี้ ดังนั้นส่งเสริมให้จ่ายกัฟฟาเราะฮฺและอย่าได้กระทำตามที่เขาบนบานเอาไว้
5. การบนบานในการกระทำการฝ่าฝืน เช่น บนบานว่าจะฆ่าคน จะดื่มสุรา จะทำผิดประเวณี (ซีนา) จะถือศีลอดในวันอีด การบนบานในลักษณะนี้ถือว่าไม่ถูกต้องและเป็นที่ต้องห้ามที่จะไปกระทำ จำเป็นที่เขาจะต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ เนื่องจากท่านนบี อะลัยฮิศศอลาตุวัสลาม กล่าวว่า
«لا نَذْرَ فِي مَعْصِيَةٍ، وَكَفَّارَتُـهُ كَفَّارَةُ يَـمِينٍ»
ความหมาย: “ไม่มีการบนบานในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืน และการไถ่ถอนมันก็คือการไถ่ถอนการสาบาน” (บันทึกโดยอบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 3290 และอัตติรมิซียฺ หมายเลขหะดีษ 1524)
6. การบนบานในเรื่องที่เป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ ไม่ว่าเป็นการบนบานโดยทั่วไป เช่น จะทำละหมาด ถือศีลอด ฮัจญ์ อุมเราะฮฺ เอี๊ยะติกาฟ ฯลฯ โดยมีเจตนาแสดงถึงการใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ การบนบานในทำนองนี้จำเป็นต้องปฏิบัติให้สมบูรณ์
หรือการบนบานที่เกี่ยวโยงกับเงื่อนไข เช่น เขากล่าวว่า หากอัลลอฮฺให้ฉันหายป่วยหรือ หากอัลลอฮฺให้ฉันได้รับกำไรจากทรัพย์สิน เพื่ออัลลอฮฺแล้วฉันจะบริจาคหรือฉันจะถือศีลอด หรือทำนองเดียวกันนี้ ดังนั้นเมื่อเมื่อมีเงื่อนไขครบตามที่ได้บนบานไว้จำเป็นที่เขาต้องปฏิบัติให้สมบูรณ์ เพราะการปฏิบัติตามคำบนบานให้สมบูรณ์ถือว่าเป็นอิบาดะฮฺจำเป็นที่ต้องปฏิบัติ และอัลลอฮฺได้ยกย่องสรรเสริญบรรดาผู้ศรัทธาที่พวกเขารักษาการบนบานให้ครบถ้วนสมบูรณ์
1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
(ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ) [الإنسان/7].
ความหมาย: “พวกเขาปฏิบัติตามคำสาบานและกลัวต่อวันหนึ่งที่ความชั่วร้ายของมันจะกระจายไปทั่ว” (อัลอินซาน : 7)
2. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ) [البقرة/270].
ความหมาย : “และสิ่งบริจาคใดก็ตามที่พวกสูเจ้าได้บริจาคไป หรือการบนบานใดก็ตามที่พวกสูเจ้าได้บนบานไว้นั้น แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้ดีและสำหรับบรรดาผู้อธรรมย่อมไม่มีผู้ให้การช่วยเหลือ” (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 270)
3. จากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ نَذَرَ أَنْ يُطِيعَ الله فَلْيُطِعْهُ، وَمَنْ نَذَرَ أَنْ يَـعْصِيَـهُ فَلا يَـعْصِهِ».
ความว่า : “ผู้ใดได้บนบานว่าจะภักดีต่ออัลลอฮฺดังนั้นเขาก็จงภักดีต่อพระองค์ ผู้ใดได้บนบานว่าจะฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺดังนั้นเขาอย่าได้ฝ่าฝืนต่อพระองค์” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6696)
ผู้ที่ได้บนบานในเรื่องจะภักดีต่ออัลลอฮฺและเขาได้เสียชีวิตก่อนที่ได้กระทำ จงให้ทายาทของเขาเป็นผู้ที่กระทำแทน
บทบัญญัติว่าด้วยผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถทำตามที่บนบานได้
ผู้ที่ได้บนบานในเรื่องจะภักดีต่ออัลลอฮฺภายหลังเขาไม่สามารถที่ปฏิบัติตามที่บนบานได้ ดังนั้นให้เขาจ่ายกัฟฟาเราะฮฺของการสาบาน และเป็นเรื่องที่น่าตำหนิแก่เขาที่จะไปบนบาน เนื่องจากคำกล่าวของอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา
لقـول ابن عمـر رضي الله عنهما: نهى النبي ﷺ عن النــذر وقـال: «إنَّـهُ لا يَـرُدُّ شَيْئاً وَلَكِنَّـهُ يُسْتَـخْـرَجُ بِـهِ مِـنَ البَـخِيــلِ».
ความหมาย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการบนบาน โดยกล่าวว่า “แท้จริงมัน (การบนบาน) ไม่ได้ให้สิ่งใดแต่ทว่ามันถูกเอาออกมาจากผู้ตระหนี่” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6693 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1639)
บทบัญญัติว่ด้วยการบนบานในสิ่งที่เป็นความยากลำบาก
การบนบานในสิ่งที่เป็นความลำบากแก่ปวงบ่าวไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหรือการเคารพภักดีถือว่าเป็นมักรูฮฺ (น่ารังเกียจ) ฉะนั้นผู้ใดได้บนบานในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถหรือจะติดตามมันซึ่งเป็นความลำบากอย่างมาก เช่น บนบานว่าจะละหมาดทั้งคืน หรือถือศีลอดทุกวัน หรือบริจาคทรัพย์ทั้งหมด หรือจะไปทำหัจญ์ อุมเราะฮฺโดยการเดินเท้า ไม่จำเป็นที่เขาต้องทำตามการบนบานอันนี้ให้สมบรูณ์ และให้เขาจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ
ผู้ที่รับการบนบาน
ที่รับการบนบานที่เป็นการเคารพภักดีนั้นขึ้นกับการตั้งเจตนาของผู้บนบานตามขอบเขตของบทบัญญัติ หากเขาบนบานว่าจะแจกเนื้อหรือสิ่งอื่นให้กับคนยากจน ดังนั้นไม่เป็นที่อนุญาตให้เขากินและหากเขาตั้งใจในการบนบานว่าให้กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือเครือญาติของเขา กรณีนี้เป็นที่อนุญาตแก่เขาให้รับประทานได้เหมือนกับพวกเขา
บทบัญญัติว่าด้วยผู้ที่บนบานการภักดีร่วมกับการฝ่าฝืน
ผู้ใดได้บนบานจะทำการภักดีร่วมกับการฝ่าฝืน จำเป็นต่อเขาให้กระทำสิ่งที่เป็นการภักดีและให้ละทิ้งสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืน
จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า
بينا النبي ﷺ يخطب إذا هو برجل قائم، فسأل عنه فقالوا: أبو إسرائيل نذر أن يقوم ولا يقعد، ولا يستظل، ولا يتكلم، ويصوم. فقال النبي ﷺ: «مُرْهُ فَلْيَتَـكَلَّـمْ، وَلْيَسْتَظِلَّ، وَلْيَـقْعُدْ، وَلْيُتِـمَّ صَوْمَهُ».
ความหมาย: ขณะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กำลังกล่าวเทศนาอยู่นั้น บังเอิญมีชายคนหนึ่งยืนขึ้น ท่านนบีถามว่าเขาคือใคร พวกเขาตอบว่า เขาคืออบูอิสรออีลผู้ได้บนบานว่าจะยืนโดยจะไม่นั่ง จะไม่อยู่ในที่ร่ม จะไม่พูดจา และจะถือศีลอด ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “จงใช้ให้เขาพูดและให้เข้ามาที่ร่ม ให้นั่งและในถือศีลอดต่อให้สมบูรณ์” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6704)
บทบัญญัติว่าด้วยผู้บนบานว่าจะถือศีลอดแต่แล้วไปตรงกับวันอีด
ไม่เป็นที่อนุญาตให้ผู้ใดถือศีลอดตรงกับวันอีดทั้งสอง และผู้ใดที่บนบานเช่นนั้นก็ให้เขาจ่ายกัฟฟาเราะฮฺจากการบนบานของเขา
จากซิยาด บิน ญุบัยรฺ กล่าวว่า
كُنْتُ مَعَ ابْنِ عُمَـرَ، فَسَألَـهُ رَجُلٌ فَقَالَ: نَذَرْتُ أنْ أصُومَ كُلَّ يَوْمِ ثُلاثَاءَ أوْ أرْبِعَاءَ مَا عِشْتُ، فَوَافَقْتُ هَذَا اليَوْمَ يَوْمَ النَّحْرِ، فَقَالَ: أمَـرَ الله بِوَفَاءِ النَّذْرِ، وَنُـهِينَا أنْ نَصُومَ يَوْمَ النَّحْرِ، فَأعَادَ عَلَيْـهِ، فَقَالَ مِثْلَـهُ، لا يَزِيدُ عَلَيْـهِ.
ความหมาย ฉันเคยอยู่พร้อมกับอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา แล้วชายคนหนึ่งได้ถามเขาว่า ฉันได้บนบานว่าจะถือศีลอดทุกวันอังคารและวันพุธตราบใดที่ฉันมีชีวิตอยู่ และแล้ววันนั้นตรงกับวันอีดิลอัฎฮา ดังนั้นเขากล่าวว่า อัลลอฮฺได้ใช้ให้ทำสิ่งที่บนบานให้สมบรูณ์ และพวกเราถูกห้ามการถือศีลอดในวันอีดิลอัฎฮา แล้วก็กล่าวเช่นนั้นอีกทีโดยไม่เพิ่มเติมเรื่องใด” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6706 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1139)