×
อัศหาบ อัลฟุรูฎ - ผู้รับมรดกตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนด จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบายส่วนต่างๆ ของผู้สืบมรดกที่มีสิทธิได้ตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนด เช่น สิทธิของแม่, พี่น้องร่วมแม่, ย่าและยาย, สามีและภรรยา พร้อมตัวอย่างการแบ่ง

    ผู้รับมรดกตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนด (อัศหาบ อัลฟุรูฎ)

    ﴿أصحاب الفروض﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2010 - 1431

    ﴿أصحاب الفروض﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: يوسف أبوبكر

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ผู้รับมรดกตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนด (อัศหาบ อัลฟุรูฎ)

    ลักษณะการสืบมรดกมีอยู่ 2 ประเภท คือ การสืบมรดกด้วยกับอัตราส่วนที่ถูกกำหนด และการสืบมรดกด้วยกับส่วนที่เหลือ

    บรรดาทายาทผู้สืบมรดกแบ่งการสืบมรดกมาจากสองลักษณะดังกล่าว ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

    1. ผู้สืบมรดกด้วยกับอัตราส่วนที่ถูกกำหนดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พวกเขามี 7 คน ได้แก่

    1.1 แม่ของผู้ตาย

    1.2 พี่น้องชายร่วมแม่กับผู้ตาย

    1.3 พี่น้องสาวร่วมแม่กับผู้ตาย

    1.4 ยายของผู้ตาย

    1.5 ย่าของผู้ตาย

    1.6 สามีของผู้ตาย

    1.7 ภรรยาของผู้ตาย

    2. ผู้สืบมรดกด้วยกับส่วนที่เหลือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พวกเขามี 12 คน ได้แก่

    2.1 ลูกชายของผู้ตาย

    2.2 หลานชายของผู้ตาย และทายาทชายที่ลำดับรองลงไป

    2.3 พี่น้องชายร่วมพ่อแม่กับผู้ตาย

    2.4 พี่น้องชายร่วมพ่อกับผู้ตาย

    2.5 ลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อแม่กับผู้ตาย

    2.6 ลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อกับผู้ตาย และทายาทชายที่ลำดับรองลงไป

    2.7 ลุงและอาร่วมพ่อแม่กับพ่อของผู้ตาย

    2.8 ลุงและอาร่วมพ่อกับพ่อของผู้ตาย และทายาทชายที่สูงขึ้นไป

    2.9 ลูกชายของลุงและอาร่วมพ่อแม่กับพ่อของผู้ตาย

    2.10 ลูกชายของลุงและอาร่วมพ่อกับพ่อของผู้ตาย และทายาทชายที่ลำดับรองลงไป

    2.11 นายซึ่งเป็นผู้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระ

    2.12 นายหญิงซึ่งเป็นผู้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระ

    ดังนั้นพวกเขาทั้งหมดได้รับส่วนเหลือโดยตนเอง นอกจากพ่อของผู้ตายและปู่ของผู้ตาย

    3. ผู้สืบมรดกบางครั้งด้วยกับอัตราส่วนที่ถูกกำหนด และบางครั้งด้วยกับส่วนที่เหลือ และบางครั้งรวมกันทั้งสองอย่าง พวกเขามี 2 จำพวก ได้แก่

    3.1 พ่อของผู้ตาย

    3.2 ปู่ของผู้ตาย

    กล่าวคือคนหนึ่งคนใดจากทั้งสองคนจะได้รับมรดก 1/6 ในกรณีที่มีผู้สืบทายาทรับตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนด เขาจะได้รับส่วนที่เหลือเพียงผู้เดียวเมื่อเขาไม่มีผู้สืบทายาท และเขาจะรับด้วยกับอัตราส่วนที่ถูกกำหนดและจากส่วนที่เหลือกรณีอยู่ร่วมกับผู้สืบทายาทที่เป็นผู้หญิง เมื่อเหลือหลังจากแบ่งตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนดจาก 1/6 ของมรดก ทำนองเดียวกันหากว่าคนหนึ่งได้เสียชีวิตลงโดยได้ทิ้งลูกสาว แม่ และพ่อเอาไว้ ในกรณีนี้มรดกจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน สำหรับลูกสาวจะได้รับ 1/2 แม่จะได้รับ 1/6 และพ่อจะได้รับจากส่วนที่เหลือ 2 ส่วน จากอัตราส่วนที่ถูกกำหนดและจากส่วนที่เหลือ

    4. ผู้สืบมรดกบางครั้งด้วยกับอัตราส่วนที่ถูกกำหนด และบางครั้งด้วยกับส่วนที่เหลือ และทั้งสองอย่างจะไม่รวมกัน พวกเขามี 4 จำพวก ได้แก่

    4.1 ลูกสาวคนเดียวหรือมากกว่านั้น

    4.2 ลูกสาวของลูกชาย (หลานสาว) คนเดียวหรือมากกว่านั้น และไม่ว่าพ่อของนางจะมีลำดับรองลงไปกี่ขั้นก็ตาม

    4.3 พี่น้องสาวร่วมพ่อแม่กับผู้ตาย คนเดียวหรือมากกว่านั้น

    4.4 พี่น้องสาวร่วมพ่อกับผู้ตาย คนเดียวหรือมากกว่านั้น

    ดังนั้นพวกนางจะได้รับมรดกด้วยกับอัตราส่วนที่ถูกกำหนดในกรณีที่ไม่มีผู้สืบทายาทที่เป็นผู้ชายอยู่ร่วม และพวกนางจะได้รับจากส่วนที่เหลือเมื่อมีผู้สืบทายาทอยู่ร่วม เช่น ลูกชายกับลูกสาว พี่ชายกับน้องสาว และพี่น้องสาวกับบรรดาลูกสาวที่รับจากส่วนที่เหลือ

    จำนวนผู้มีสิทธิ์รับมรดกตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนด

    ผู้มีสิทธิ์รับมรดกตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนด พวกเขามี 11 จำพวก ได้แก่

    1. สามีของผู้ตาย

    2. ภรรยาของผู้ตายคนเดียวหรือมากกว่านั้น

    3. แม่ของผู้ตาย

    4. พ่อของผู้ตาย

    5. ปู่ของผู้ตาย

    6. ย่าของผู้ตายคนเดียวหรือมากกว่านั้น

    7. บรรดาลูกสาวของผู้ตาย

    8. บรรดาลูกสาวของลูกชายของผู้ตาย (หลานสาว)

    9. บรรดาพี่น้องสาวร่วมพ่อแม่กับผู้ตาย

    10. บรรดาพี่น้องสาวร่วมพ่อกับผู้ตาย

    11. บรรดาพี่น้องชายหรือหญิงร่วมแม่กับผู้ตาย

    โดยที่พวกเขาจะได้รับมรดกตามอัตราส่วนของแต่ละคนดังต่อไปนี้

    1. อัตราส่วนการรับมรดกของสามี

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของสามี

    1. สามีจะได้รับมรดกจากภรรยาของเขา 1/2 ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีผู้สืบทายาท สำหรับผู้สืบทายาทได้แก่ บรรดาลูกๆ ของลูกชายหรือบรรดาลูกสาวผู้ตาย และบรรดาลูกๆ ของลูกชายและทายาทที่เป็นเพศชายลำดับรองลงไป ส่วนบรรดาลูกๆ ของลูกสาวพวกเขาไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดก

    2. สามีจะได้รับมรดกจากภรรยาของเขา 1/4 ในกรณีที่ผู้ตายมีผู้สืบทายาท ไม่ว่าจะเป็นทายาทที่มาจากเขาหรือมาจากผู้อื่น

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ...)

    ความหมาย “และสำหรับพวกเจ้านั้นจะได้รับครึ่งหนึ่งจากสิ่งที่บรรดาภรรยาของพวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากว่าพวกนางไม่มีบุตร แต่ถ้าหากพวกนางมีบุตรพวกเจ้าก็จะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกนางทิ้งไว้ ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่พวกนางได้สั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สิน” (อันนิสาอ์ / 12)

    ตัวอย่าง

    1. ผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งสามี แม่ และพี่ชายร่วมพ่อแม่เดียวกันเอาไว้ ในกรณีนี้แบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับสามีจะได้รับ 1/2 ของมรดก แม่จะได้รับ 1/3 และพี่ชายจะได้รับส่วนที่เหลือ

    2. ผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งสามี และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้แบ่งมรดกออกเป็น 4 ส่วน สำหรับสามีจะได้รับ 1/4 ของมรดก และลูกชายจะได้รับส่วนที่เหลือ

    2. อัตราส่วนการรับมรดกของภรรยา

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของภรรยา

    1. ภรรยาจะได้รับมรดกจากสามีของนาง 1/4 ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีผู้สืบทายาท

    2. ภรรยาจะได้รับมรดกจากสามีของนาง 1/8 ในกรณีที่ผู้ตายมีผู้สืบทายาท ไม่ว่าจะเป็นทายาทที่มาจากนางหรือมาจากผู้อื่น

    ในกรณีที่ผู้ตายมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน บรรดาภรรยาจะได้รับส่วนแบ่งร่วมกันไม่ว่าจะเป็นอัตราส่วน 1/4 หรือ 1/8 ของมรดก

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    ( ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ)

    ความหมาย “และสำหรับพวกพวกนางนั้นจะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากว่าพวกเจ้าไม่มีบุตร แต่ถ้าหากพวกเจ้ามีบุตรพวกนางก็จะได้รับหนึ่งในแปดจากสิ่งที่พวกเจ้าทิ้งไว้ ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่พวกเจ้าได้สั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สิน” (อันนิสาอ์ : 12)

    กรณีที่ผู้ชายมีภรรยาสองคน คนหนึ่งเป็นมุสลิม อีกคนเป็นคริสเตียน ต่อจากนั้นเขาได้เสียชีวิตลงโดยทิ้งภรรยาทั้งสองคนเอาไว้ มรดกทั้งหมดจะตกเป็นของภรรยาที่เป็นมุสลิมส่วนภรรยาที่เป็นคริสเตียนจะไม่ได้ส่วนแบ่งแต่ประการใด อันเนื่องจากการนับถือศาสนาที่ต่างกัน

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งภรรยา แม่ และลุงร่วมพ่อแม่เอาไว้ ในกรณีนี้แบ่งมรดกออกเป็น 12 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับ 1/4 ของมรดก แม่จะได้รับ 1/3 และลุงจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งภรรยา และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้แบ่งมรดกออกเป็น 8 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับ 1/8 ของมรดก ส่วนลูกชายจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    3. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งภรรยาไว้ 3 คน ลูกสาว และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้แบ่งมรดกออกเป็น 8 ส่วน สำหรับภรรยาทั้ง 3 คน จะได้รับ 1/8 ของมรดก ส่วนลูกชายและลูกสาวจะได้รับส่วนที่เหลือ

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ)

    ความหมาย “สำหรับผู้ชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน” (อันนิสาอ์ / 11)

    3. อัตราส่วนการรับมรดกของแม่

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของแม่

    1. แม่จะได้รับ 1/3 ของมรดก โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ ดังต่อไปนี้ ผู้ตายต้องไม่มีผู้สืบทายาท ไม่มีทายาทรวมกันทั้งที่เป็นพี่น้องชายและพี่น้องหญิงร่วมพ่อแม่ และต้องไม่เป็นกรณีหนึ่งกรณีใดของอัลอุมะริยะตัยนฺ

    2. แม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก เมื่อผู้ตายมีผู้สืบทายาทหรือมีพี่น้องชายและพี่น้องหญิงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

    3. แม่จะได้รับ 1/3 จากส่วนที่เหลือของมรดกในกรณีของอัลอุมะริยะตัยนฺ และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อัลฆ็อรฺรอวัยนฺ ทั้งสองกรณี อันได้แก่

    3.1 ผู้ตายได้ทิ้งภรรยา แม่ และพ่อเอาไว้ ในกรณีนี้แบ่งมรดกออกเป็น 4 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับ 1/4 ของมรดก แม่จะได้รับ 1/3 จากส่วนที่เหลือ และพ่อจะได้รับจากส่วนที่เหลืออีก 2 ส่วน

    3.2 ผู้ตายได้ทิ้งสามี แม่ และพ่อเอาไว้ ในกรณีนี้แบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับสามีจะได้รับ 1/2 ของมรดก (สามส่วน) แม่จะได้รับ 1/3 จากส่วนที่เหลือ (หนึ่งส่วน) และพ่อจะได้รับจากส่วนที่เหลือ (สองส่วน)

    แม่จะได้รับ 1/3 จากส่วนที่เหลือ เพื่อว่าจะได้เพิ่มส่วนแบ่งให้กับพ่อเพราะสำหรับผู้ตายแล้วทั้งสองคนอยู่ในสถานะเดียวกัน และเพื่อว่าผู้ชายจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของผู้หญิงสองส่วน

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (... ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ...)

    ความหมาย “...และสำหรับบิดาและมารดาของเขานั้น แต่ละคนจากทั้งสองจะได้หนึ่งในหกจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้หากเขามีบุตร แต่ถ้าหากเขาไม่มีบุตรและมีบิดามารดาของเขาเท่านั้นที่รับมรดกของเขาแล้ว มารดาของเขาก็ได้รับหนึ่งในสาม ถ้าหากเขามีพี่น้องหลายคนมารดาของเขาก็ได้รับหนึ่งในหก ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่เขาได้สั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สิน...” (อันนิสาอ์ : 11)

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ และลุงเอาไว้ ในกรณีนี้สำหรับแม่จะได้รับ 1/3 ของมรดก ส่วนลุงจะได้รับส่วนที่เหลือ

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้แบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก ส่วนลูกชายจะได้รับในส่วนที่เหลือ

    4. อัตราส่วนการรับมรดกของพ่อ

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของพ่อ

    1. พ่อจะได้รับจากอัตราส่วนที่ถูกกำหนด 1/6 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายมีผู้สืบทายาทที่เป็นผู้ชาย เช่น ลูกชาย หลานชาย หรือทายาทชายที่ลำดับรองลงไป

    2. พ่อจะได้รับมรดกจากส่วนที่เหลือ ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดาน

    3. พ่อจะได้รับมรดกจากอัตราส่วนที่ถูกกำหนดและจากส่วนที่เหลือของมรดกไปพร้อมกันในกรณีที่ผู้ตายมีผู้สืบทายาทที่เป็นผู้หญิง เช่น ลูกสาว หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ดังนั้นเขาจะได้รับจากอัตราส่วนที่ถูกกำหนด 1/6 ของมรดก และจากส่วนที่เหลือดั่งที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว

    บรรดาพี่น้องชายที่ร่วมพ่อแม่ หรือพี่น้องชายที่ร่วมพ่อ หรือร่วมแม่ สิทธิ์ในการรับมรดกของพวกเขาทั้งหมดจะตกไปเนื่องจากมีพ่อและปู่

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งพ่อ และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้สำหรับพ่อจะได้รับ 1/6 ของมรดก ส่วนลูกชายจะได้รับส่วนที่เหลือ

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ และพ่อเอาไว้ ในกรณีนี้แม่จะได้รับ 1/3 ของมรดก ส่วนพ่อจะได้รับในส่วนที่เหลือ

    3. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งพ่อ และลูกสาวเอาไว้ ในกรณีนี้ลูกสาวจะได้รับ 1/2 ของมรดก ส่วนพ่อจะได้รับจากอัตราส่วนที่ถูกกำหนด 1/6 ของมรดก และจากส่วนที่เหลือ

    4. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งพ่อ และพี่ชายร่วมพ่อแม่ หรือพี่ชายร่วมพ่อหรือพี่ชายร่วมแม่เอาไว้ ในกรณีนี้ทรัพย์สินทั้งหมดจะเป็นของพ่อ สิทธิ์ในการรับมรดกของพี่ชายจะตกไปเนื่องจากมีพ่อ

    5. อัตราส่วนการรับมรดกของปู่

    ปู่ที่เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก (อัลญัด อัลวาริษ) หมายถึง ผู้ที่ไม่มีเพศหญิงมากั้นระหว่างเขากับผู้ตาย เช่น พ่อของพ่อ (ปู่) ส่วนพ่อของแม่ (ตา) ไม่มีสิทธิในการรับมรดก เพราะว่ามีเพศหญิงมากั้นระหว่างเขากับผู้ตาย

    การรับมรดกของปู่ทำนองเดียวกับการรับมรดกของพ่อ ยกเว้นในกรณีของอัลอุมะริยะตัยนฺ เพราะแท้จริงสำหรับแม่ในกรณีทั้งสองอยู่ร่วมกับปู่จะได้รับ 1/3 จากทรัพย์สินทั้งหมด และหากอยู่ร่วมกับพ่อจะได้รับ 1/3 จากส่วนที่เหลือ หลังจากที่แบ่งตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนดให้แก่สามีภรรยาดั่งที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของปู่

    1. ปู่จะได้รับจากอัตราส่วนที่ถูกกำหนด 1/6 ของมรดก โดยมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ ผู้ตายมีผู้สืบทายาทที่เป็นเพศชาย และไม่มีพ่อ

    2. ปู่จะได้รับมรดกจากส่วนที่เหลือ ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดาน และไม่มีพ่อ

    3. ปู่จะได้รับมรดกจากอัตราส่วนที่ถูกกำหนดและจากส่วนที่เหลือไปพร้อมกัน ในกรณีที่ผู้ตายมีผู้สืบทายาทที่เป็นผู้หญิง เช่น ลูกสาว หรือหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย)

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งปู่ และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับปู่จะได้รับ 1/6 ของมรดก ส่วนลูกชายจะได้รับส่วนที่เหลือ

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ และปู่เอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 3 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/3 ของมรดก ส่วนปู่จะได้รับในส่วนที่เหลือ

    3. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งปู่ และลูกสาวเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับลูกสาวจะได้รับ 1/2 จากอัตราส่วนของมรดก ส่วนปู่จะได้รับจากอัตราส่วนที่ถูกกำหนด 1/6 ของมรดกและจากส่วนที่เหลือ

    6. อัตราส่วนการรับมรดกของย่าหรือยาย

    ย่าหรือยายผู้มีสิทธิรับมรดก (อัลญัดดะฮฺ อัลวาริษะฮฺ) หมายถึง แม่ของแม่ (ยาย) แม่ของพ่อ (ย่า) หรือแม่ของปู่และทายาทหญิงที่สูงขึ้นไป โดยมาจากฝ่ายพ่อสองคนและจากฝ่ายแม่หนึ่งคน

    บรรดาย่าหรือยายไม่มีสิทธิในการรับมรดกโดยเด็ดขาดในกรณีที่ผู้ตายมีแม่ ในทำนองเดียวกันสำหรับปู่ไม่มีสิทธิในการรับมรดกโดยเด็ดขาดในกรณีที่ผู้ตายมีพ่อ

    การรับมรดกของย่าหรือยายคนเดียวหรือหลายคนขึ้นไป จะได้รับ 1/6 ของมรดกตลอดไป โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายต้องไม่มีแม่

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งย่า และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับย่าจะได้รับ 1/6 ของมรดก ส่วนลูกชายจะได้รับส่วนที่เหลือ

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งย่า แม่ และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก ส่วนลูกชายจะได้รับในส่วนที่เหลือ สิทธิ์ในการรับมรดกของย่าจะตกไปอันเนื่องจากมีพ่อ

    7. อัตราส่วนการรับมรดกของลูกสาว

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของลูกสาว

    1. ลูกสาวคนเดียวหรือมากกว่านั้นจะได้รับจากส่วนที่เหลือ เมื่อมีพี่น้องชายอยู่ร่วมกับนาง หรืออยู่ร่วมกับพวกนาง

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ)

    ความหมาย “สำหรับผู้ชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน” (อันนิสาอ์ : 11)

    2. ลูกสาวจะได้รับ 1/2 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าไม่มีมุอัศศิบของนาง นั่นคือพี่น้องชายของนาง และไม่มีมุชาริกะฮฺ นั่นคือพี่น้องสาวของนางร่วมอยู่ด้วย

    3. ลูกสาวสองคนขึ้นไปจะได้รับ 2/3 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายมีลูกสาวสองคนขึ้นไป และพวกนางก็ไม่มีพี่น้องชายร่วมอยู่ด้วย

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ...)

    ความหมาย “อัลลอฮฺได้ทรงสั่งเสียพวกเจ้าไว้ต่อบรรดาลูกๆ ของพวกเจ้าว่าสำหรับเพศชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน แต่ถ้าบรรดาลูกๆ เป็นหญิงเกินกว่าสองคน พวกนางก็จะได้สองในสามของสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้ และถ้าลูกเป็นหญิงคนเดียวนางก็จะได้ครึ่งหนึ่ง...” (อันนิสาอ์ : 11)

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งย่า ลูกสาว และลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับย่าจะได้รับ 1/6 ของมรดก ส่วนลูกชายและลูกสาวจะได้รับส่วนที่เหลือ

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ)

    ความหมาย “สำหรับผู้ชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน” (อันนิสาอ์ : 11)

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งลูกสาว และลุงเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 2 ส่วน สำหรับลูกสาวจะได้รับ1/2 ของมรดก ส่วนลุงจะได้รับในส่วนที่เหลือ

    3. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ ลูกสาวสองคน และปู่เอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก ปู่จะได้รับ 1/6 และลูกสาวสองคนจะได้รับ 2/3 ของมรดก

    8. อัตราส่วนการรับมรดกของหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย)

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของหลานสาว

    1. หลานสาวคนเดียวหรือมากกว่านั้นจะได้รับจากส่วนที่เหลือ เมื่อพี่น้องชายมีหลานชายที่อยู่ในระดับเดียวกันอยู่ร่วมกับนาง และไม่มีผู้สืบสันดานที่เป็นเพศชายในระดับที่สูงขึ้นไปจากนาง เช่น ลูกชาย

    2. หลานสาวจะได้รับ 1/2 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายไม่มีพี่น้องชายและไม่มีพี่น้องสาวร่วมอยู่ด้วย และไม่มีผู้สืบทายาทระดับที่สูงขึ้นไปจากนาง เช่น ลูกชาย หรือลูกสาว

    3. หลานสาวสองคนขึ้นไปจะได้รับ 2/3 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายมีลูกสาวสองคนขึ้นไปและพวกนางไม่มีพี่น้องชาย และไม่มีผู้สืบสันดานระดับที่สูงขึ้นไปจากพวกนาง

    4. หลานสาวคนเดียวหรือมากกว่านั้นจะได้รับ 1/6 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าไม่มีมุอัศศิบนั่นคือพี่น้องชายของนางร่วมอยู่ด้วย และไม่มีผู้สืบสันดานระดับที่สูงขึ้นไปจากพวกนาง ยกเว้นลูกสาวเจ้าของผู้รับสิทธิ 1/2 ของมรดก เพราะว่านางจะไม่ได้รับ 1/6 ของมรดกนอกจากว่าจะต้องมีผู้อยู่ร่วมกับนาง และเป็นบทบัญญัติเดียวกับเหลนสาว (ลูกสาวของลูกชายของลูกชาย) อยู่ร่วมกับลูกสาวของลูกชาย อย่างนี้เป็นต้น

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งลูกสาว ลูกสาวของลูกชาย และลูกชายของลูกชายเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 2 ส่วน สำหรับลูกสาวจะได้รับ1/2 ของมรดก ส่วนลูกสาวของลูกชายและลูกชายของลูกชายจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งลูกสาวของลูกชาย และลุงเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 2 ส่วน สำหรับหลานสาวจะได้รับ 1/2 ของมรดก ส่วนลุงจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    3. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งลูกสาวของลูกชายสองคน และน้องชายร่วมพ่อแม่เอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 3 ส่วน สำหรับหลานสาวสองคนจะได้รับ 2/3 ของมรดก ส่วนน้องชายร่วมพ่อแม่จะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    4. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งลูกสาว ลูกสาวของลูกชาย และน้องชายร่วมพ่อ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับลูกสาวจะได้รับ 1/2 ของมรดก หลานสาวจะได้รับ 1/6 ส่วนน้องชายร่วมพ่อจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    9. อัตราส่วนการรับมรดกของพี่น้องสาวร่วมพ่อแม่

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของพี่น้องสาวร่วมพ่อแม่

    1. พี่น้องสาวร่วมพ่อแม่จะได้รับ 1/2 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายไม่มีมุชาริกะฮฺ (พี่หรือน้องสาวของนาง) และไม่มีมุอัศศิบ (พี่หรือน้องชายของนาง) อยู่ร่วม และไม่มีผู้สืบทายาทที่เป็นต้นตระกูล นั่นคือ พ่อหรือปู่ และไม่มีผู้สืบสันดาน

    2. บรรดาพี่น้องสาวร่วมพ่อแม่จะได้รับ 2/3 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายมีลูกสาวสองคนขึ้นไป ไม่มีผู้สืบทายาท ไม่มีผู้สืบทายาทที่เป็นต้นตระกูลเพศชาย และไม่มีพี่น้องชายอยู่ร่วมกับพวกนาง

    3. พี่น้องสาวร่วมพ่อแม่คนเดียวหรือมากกว่านั้นจะได้รับจากส่วนที่เหลือ ในกรณีไม่มีพี่น้องชายอยู่ร่วมกับนางหรืออยู่ร่วมกับพวกนาง โดยที่ผู้ชายได้รับสองส่วนผู้หญิงได้รับหนึ่งส่วน หรือพวกนางอยู่ร่วมกับผู้สืบสันดานที่เป็นเพศหญิง เช่น บรรดาลูกสาว

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ...)

    ความหมาย “เขาเหล่านั้นจะขอให้เจ้าชี้ขาดปัญหา จงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮฺจะทรงชี้ขาดให้แก่พวกเจ้าในเรื่องของผู้เสียชีวิตที่ไม่มีมีบิดาและบุตร คือหากคนหนึ่งได้เสียชีวิตโดยที่เขาไม่มีบุตรแต่มีพี่สาวหรือน้องสาวหนึ่งคน นางจะได้รับครึ่งหนึ่งของมรดกที่เขาได้ทิ้งไว้ และขณะเดียวกันเขาก็จะได้รับมรดกของนางหากนางไม่มีบุตร แต่ถ้าปรากฏว่าพี่สาวหรือน้องสาวของเขามีจำนวนสองคน ทั้งสองนั้นจะได้รับสองในสามจากมรดกที่เขาได้ทิ้งไว้...” (อันนิสาอ์ : 176)

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ พี่สาวร่วมพ่อแม่ และพี่ชายร่วมแม่สองคนเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก พี่สาวร่วมพ่อแม่จะได้รับ 1/2 และพี่ชายร่วมแม่สองคนจะได้รับ 1/3 ของมรดก

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งภรรยา พี่สาวร่วมพ่อแม่สองคน และลูกชายของพี่ชายร่วมพ่อเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 12 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับ 1/4 ของมรดก พี่สาวสองคนจะได้รับ 2/3 และลูกชายของพี่ชายร่วมพ่อจะได้รับส่วนที่เหลือ

    3. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งภรรยา พี่สาว และน้องชายเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 4 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับ 1/4 ของมรดก ส่วนพี่สาวและน้องชายจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ)

    ความหมาย “สำหรับผู้ชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน” (อันนิสาอ์ : 11)

    4. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งภรรยา ลูกสาว และน้องสาวเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 8 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับ 1/8 ของมรดก ลูกสาวจะได้รับ 1/2 และน้องสาวจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    10. อัตราส่วนการรับมรดกของพี่น้องสาวร่วมพ่อ

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของพี่น้องสาวร่วมพ่อ

    1. พี่น้องสาวร่วมพ่อจะได้รับ 1/2 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายไม่มีพี่น้องสาวและพี่น้องชายร่วมอยู่ด้วย ไม่มีต้นตระกูล (อัศลฺ) จากเพศชาย และไม่มีผู้สืบสันดานที่ลำดับรองลงมา และไม่มีพี่น้องชายหรือพี่น้องหญิงร่วมพ่อแม่อยู่ด้วย

    2. บรรดาพี่น้องสาวร่วมพ่อจะได้รับ 2/3 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายมีลูกสาวสองคนขึ้นไปและพวกนางไม่มีพี่น้องชาย ไม่มีต้นตระกูล (อัศลฺ) จากเพศชาย ไม่มีผู้สืบสันดานที่ลำดับรองลงมา และไม่มีพี่น้องชายหรือพี่น้องหญิงร่วมพ่อแม่อยู่ร่วม

    3. พี่น้องสาวร่วมพ่อคนเดียวหรือมากกว่านั้นจะได้รับ 1/6 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่านางอยู่ร่วมกับพี่น้องสาวร่วมพ่อแม่คนหนึ่งอยู่ด้วยซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามอัตราส่วนที่ถูกกำหนด ไม่มีพี่น้องชาย ไม่มีผู้สืบสันดาน ไม่มีต้นตระกูล (อัศลฺ) จากเพศชาย และไม่มีพี่น้องชายร่วมพ่อแม่คนเดียวหรือมากกว่านั้น

    4. พี่น้องสาวร่วมพ่อแม่คนเดียวหรือมากกว่านั้นจะได้รับจากส่วนที่เหลือ ในกรณีไม่มีพี่น้องชายอยู่ร่วมกับนางหรืออยู่ร่วมกับพวกนาง โดยที่ผู้ชายได้รับสองส่วนผู้หญิงได้รับหนึ่งส่วน หรือพวกนางอยู่ร่วมกับผู้สืบสันดานที่เป็นเพศหญิง เช่น บรรดาลูกสาว

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ พี่สาวร่วมพ่อ และพี่ชายร่วมแม่สองคนเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก พี่สาวร่วมพ่อจะได้รับ 1/2 และพี่ชายร่วมแม่สองคนจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    2. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งภรรยา พี่สาวร่วมพ่อสองคน และลูกชายของพี่ชายร่วมพ่อเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 12 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับ 1/4 ของมรดก พี่สาวร่วมพ่อสองคนจะได้รับ 2/3 และลูกชายของพี่ชายร่วมพ่อจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    3. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ พี่สาวร่วมแม่ พี่สาวร่วมพ่อแม่ และพี่สาวร่วมพ่อสองคนเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก พี่สาวร่วมแม่จะได้รับ 1/6 พี่สาวร่วมพ่อสองคนจะได้รับ 1/6 และพี่สาวร่วมพ่อแม่จะได้รับ 1/2 ของมรดก

    4. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ พี่สาวร่วมพ่อสองคน และพี่ชายร่วมพ่อเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก ส่วนบรรดาพี่น้องสาวและพี่น้องชายจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ)

    ความหมาย “สำหรับผู้ชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน” (อันนิสาอ์ : 11)

    5. ผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งสามี ลูกสาว และน้องสาวร่วมพ่อเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 4 ส่วน สำหรับสามีจะได้รับ 1/4 ของมรดก ลูกสาวจะได้รับ ½ และน้องสาวร่วมพ่อจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    11. อัตราส่วนการรับมรดกของพี่น้องชายหญิงร่วมแม่

    พี่น้องร่วมแม่ (อัลอิควะฮฺลิอุม) ไม่มีความเลื่อมล้ำระหว่างผู้ชายหรือผู้หญิง บรรดาพี่น้องฝ่ายชายจะไม่ทำให้พี่น้องฝ่ายหญิงได้รับในส่วนที่เหลือ โดยที่ทั้งหมดจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน พี่น้องฝ่ายชายติดต่อกับฝ่ายหญิงก็จะได้รับมรดก และพวกเขาจะกันสิทธิ์แก่ผู้ที่ใกล้ชิดกล่าวคือจะกันสิทธิของแม่ให้ได้รับส่วนแบ่งน้อยลง

    สภาพต่างๆ ในการรับมรดกของพี่น้องชายหญิงร่วมแม่

    1. พี่น้องร่วมแม่ชายหรือหญิงคนเดียวจะได้รับ 1/6 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดาน ไม่มีต้นตระกูล (อัศลฺ) จากเพศชาย และมีอยู่เพียงคนเดียว

    2. บรรดาพี่น้องร่วมแม่ชายหรือหญิงจะได้รับ 1/3 ของมรดก โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีสองคนขึ้นไป ไม่มีผู้สืบสันดาน และไม่มีต้นตระกูลจากเพศชาย

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    ( ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔﮤ ) [النساء/12]

    ความหมาย “และถ้ามีผู้ชายหรือผู้หญิงคนหนึ่งถูกรับมรดกในฐานะเป็นผู้ที่ไม่มีบิดาและบุตร แต่เขามีพี่ชายหรือน้องชายคนหนึ่ง หรือมีพี่สาวหรือน้องสาวคนหนึ่งแล้วแต่ละคนจากสองคนนั้นจะได้รับหนึ่งในหก แต่ถ้าพี่น้องของเขามีมากกว่านั้นพวกเขาก็เป็นผู้รับร่วมกันในหนึ่งในสาม ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่ถูกสั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สินโดยมิใช่สิ่งที่นำมาซึ่งผลร้ายอันใด เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ผู้ทรงหนักแน่น” (อันนิสาอ์ / 12)

    ตัวอย่าง

    1. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งภรรยา พี่ชายร่วมแม่ และลูกชายของลุงร่วมพ่อแม่เอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 12 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับ 1/3 ของมรดก พี่ชายร่วมแม่จะได้รับ 1/6 และลูกชายของลุงร่วมพ่อแม่จะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    2. ผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งสามี พี่ชายร่วมแม่สองคน และลุงร่วมพ่อแม่เอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับสามีจะได้รับ 1/2 ของมรดก พี่ชายร่วมแม่สองคนจะได้รับ 1/3 และลุงจะได้รับจากส่วนที่เหลือ

    3. ผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตลง โดยทิ้งแม่ พ่อ พี่ชายร่วมแม่สองคนเอาไว้ ในกรณีนี้จะแบ่งมรดกออกเป็น 6 ส่วน สำหรับแม่จะได้รับ 1/6 ของมรดก พ่อจะได้รับจากส่วนที่เหลือ ส่วนพี่น้องร่วมแม่สิทธิในการรับมรดกจะตกไปเนื่องจากมีพ่ออยู่

    ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแบ่งรับมรดกแบบส่วนกำหนด

    ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งมรดกแบบส่วนกำหนดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

    1. ในกรณีที่ผลบวกของส่วนกำหนด (สิหาม) มีค่าเท่ากับฐานของปัญหา (อัศลฺ มัสอะละฮฺ) เรียกว่า “อัลอาดิละฮฺ” ตัวอย่างเช่น ผู้ตายได้ทิ้งสามีและน้องสาวเอาไว้ มรดกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน สำหรับสามีจะได้รับหนึ่งส่วนคือ 1/2 ของมรดก และน้องสาวจะได้รับหนึ่งส่วนคือ 1/2 ของมรดก

    2. ในกรณีที่ผลบวกของส่วนกำหนด (สิหาม) มีค่าน้อยกว่าฐานของปัญหา (อัศลฺ มัสอะละฮฺ) เรียกว่า “อัน-นากิเศาะฮฺ” ดังนั้นจะคืนส่วนที่เหลือให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนกำหนดยกเว้นสามีและภรรยา เมื่อส่วนแบ่งยังคงเหลือและไม่มีผู้รับจากส่วนที่เหลือ พวกเขาเหมาะสมที่จะรับไปตามส่วนแบ่งที่ถูกกำหนดแก่พวกเขา ตัวอย่างเช่น ผู้ตายได้ทิ้งภรรยาและลูกสาวเอาไว้ มรดกจะแบ่งออกเป็น 8 ส่วน สำหรับภรรยาจะได้รับหนึ่งส่วนคือ 1/8 ของมรดก และลูกสาวจะได้รับเจ็ดส่วนจากอัตราส่วนที่ถูกกำหนดคือสี่ส่วนและจากส่วนที่เหลืออีกสามส่วน

    3. ในกรณีที่ผลบวกของส่วนกำหนด (สิหาม) มีค่ามากกว่าฐานของปัญหา (อัศลฺ มัสอะละฮฺ) เรียกว่า “อัลอาอิละฮฺ” ตัวอย่างเช่น ผู้ตายได้ทิ้งสามีและน้องสาวสองคนที่ไม่ได้ร่วมแม่เอาไว้ หากแบ่งให้สามี 1/2 ของมรดกจะไม่เหลือสิทธิของน้องสาวสองคน 2/3 ดังนั้นฐานของปัญหาเดิมของกรณีนี้คือ6 ส่วนและเพิ่มเป็น 7 ส่วน สำหรับสามีจะได้รับ 1/2 ของมรดกคือสามส่วน และสำหรับน้องสาวสองคนจะได้รับ 2/3 คือสี่ส่วน ดังนั้นส่วนลดจะเข้าไปลดจากส่วนแบ่งของแต่ละคนให้น้อยลง