การสาบาน
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
การสาบาน
﴿الأيمان﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2010 - 1431
﴿الأيمان﴾
« باللغة التايلاندية »
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: يوسف أبو بكر
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การสาบาน
การสาบาน (อัลยะมีน) คือ การเน้นย้ำสิ่งที่สาบานด้วยกับการกล่าวถึงนามของอัลลอฮฺ หรือด้วยพระนามหนึ่งจากบรรดาพระนามของพระองค์ หรือด้วยคุณลักษณะหนึ่งจากคุณลักษณะของพระองค์ในรูปแบบที่เฉพาะ และเรียกอีกชื่อว่าอัลหัลฟฺ และอัลเกาะสัม
การสาบานที่สมบรูณ์
การสาบานจะถือว่าใช้ได้และจำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) เมื่อเขากระทำผิดคำสาบานนั้นคือ การสาบานด้วยกับอัลลอฮฺหรือพระนามของพระองค์ หรือคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ เช่น การที่เขากล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอสาบานต่อผู้ทรงเมตตา ขอสาบานต่อความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ขอสาบานต่อความเกรียงไกรของพระองค์ ขอสาบานต่อความเมตตาของพระองค์ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกันนี้
บทบัญญัติว่าด้วยการสาบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ
1. การสาบานต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) เป็นการตั้งภาคีเล็ก (ชิรกฺ อัศฆ็อร) เพราะการสาบานนั้นเป็นการให้ความยิ่งใหญ่ต่อสิ่งที่ถูกสาบาน และความยิ่งใหญ่เป็นของอัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรผู้ทรงสูงส่ง
จากอิบนิอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ حَلَفَ بِغَيْرِ الله فَقَدْ أَشْرَكَ»
ความหมาย : “ผู้ใดได้สาบานต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ แน่นอนเขาได้ตั้งภาคีต่อพระองค์” (บันทึกโดย อบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 3251 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และอัตติรมิซียฺ หมายเลขหะดีษ 1535)
2. การสาบานต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ เช่น การกล่าวว่า ขอสาบานต่อนบี ขอสาบานต่อชีวิตของท่าน ขอสาบานต่อความไว้วางใจ ขอสาบานต่อกะอฺบะฮฺ ขอสาบานต่อ บรรพบุรุษ หรือทำนองเช่นเดียวกันนี้ ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม ท่านนบี อะลัยฮิศศอลาตุวัสลาม กล่าวว่า
«أَلا إنَّ الله عَزَّ وَجَلَّ يَنْـهَاكُمْ أَنْ تَـحْلِفُوْا بِآبَائِكُمْ، فَمَنْ كَانَ حَالِفاً فَلْيَـحْلِفْ بِالله أَوْ لِيَصْمُتْ»
ความหมาย “พึงทราบเถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงห้ามพวกท่านในการสาบานต่อบรรดาบรรพบุรุษของพวกท่าน ดังนั้นผู้ใดต้องการสาบานก็จงสาบานต่ออัลลอฮฺ หรือไม่ก็จงนิ่งเสีย” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2679 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1646 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)
จำเป็นต้องรักษาคำสาบานและไม่ดูแคลนการสาบาน เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ไม่อนุญาตให้เมินเฉยต่อในการสาบาน และไม่อนุญาตให้ใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อให้รอดพ้นจากบทบัญญัติของมัน และเป็นที่อนุญาตให้สาบานในเรื่องที่สำคัญตามบทบัญญัติศาสนาได้
ประเภทของการสาบาน
ประเภทของการสาบานมี 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. การสาบานที่สมบรูณ์ หมายถึง การสาบานดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว หากว่าเขาผิดคำสาบานให้มีการชดใช้ (กัฟฟาเราะฮฺ)
2. การสาบานที่ชั่วร้าย เป็นการสาบานที่ต้องห้าม ลักษณะของมันคือ การสาบานในสิ่งที่ผ่านพ้นมา เป็นการสาบานเท็จโดยที่รู้ตัว และมันเป็นสิ่งที่มาทำลายสิทธิต่างๆ หรือมีเป้าหมายเพื่อละเมิดและบิดพลิ้ว การสาบานเช่นนี้นับว่าเป็นบาปใหญ่ และที่เรียกว่าเป็นการสาบานชั่วช้าเพราะมันจะทำให้ผู้สาบานจมอยู่ในความผิด ต่อมาจะอยู่ในนรก และไม่มีการจ่ายชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) เป็นการสาบานที่ใช้ไม่ได้ และจำเป็นต้องรีบเตาบะฮฺอย่างรวดเร็ว
3. การสาบานแบบล้อเล่น (ไร้สาระ) หมายถึง การสาบานโดยไม่ตั้งเจตนาเป็นเพราะความเคยชินกับลิ้น เช่น การกล่าวว่า ไม่, ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เช่นนั้นแหละ, ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺคุณต้องรับประทานหรือต้องดื่ม ฯลฯ หรือสาบานในสิ่งที่ผ่านไปแล้วโดยเข้าใจผิดว่าตัวเขานั้นสัจจริงแต่ปรากฏว่าตรงกันข้าม การสาบานเช่นนี้ใช้ไม่ได้และไม่ต้องชดใช้ และผู้ที่สาบานไม่ต้องรับโทษ
1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
(ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ) [المائدة/ 89].
ความหมาย: “อัลลอฮฺจะไม่ทรงเอาโทษแก่พวกสูเจ้าด้วยถ้อยคำที่ไร้สาระในการสาบานของพวกสูเจ้า แต่ทว่าพระองค์จะทรงเอาโทษแก่พวกสูเจ้าด้วยถ้อยคำที่พวกสูเจ้าตั้งใจสาบาน” (อัลมาอิดะฮฺ : 89)
เมื่อเขาได้กล่าวยกเว้น (อินชาอัลลอฮฺ) ในการสาบาน เช่น การกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺฉันจะกระทำอย่างนั้นหากพระองค์ทรงประสงค์ ถือว่าเขาไม่ได้ผิดคำสาบานหากว่าเขาไม่ได้กระทำมัน
การจ่ายค่าชดใช้ (กัฟฟาเราะฮฺ) กรณีการสาบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ
1. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ حَلَفَ فَقَالَ فِي حَلِفِهِ: وَاللَّاتِ وَالعُزَّى فَلْيَـقُلْ: لا إلَـهَ إلا الله، وَمَنْ قَالَ لِصَاحِبِـهِ تَعَالَ أُقَامِرْكَ فَلْيَتَصَدَّقْ»
ความว่า : “ผู้ใดได้สาบานโดยกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลาตหรืออัลอุซซา ดังนั้นให้เขาจงกล่าวว่า ลาอิละฮาอิลลัลลอฮฺ และผู้ใดที่กล่าวแก่เพื่อนของเขาว่า จงมานี่ฉันจะเล่นพนันกับท่าน ดังนั้นจงให้เขาบริจาค” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 4860 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1647)
2. จากสะอัด บิน อบีวักกอศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ แท้จริงเขาเคยสาบานกับอัลลาตหรืออัลอุซซา ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวกับเขาว่า
«قُلْ لا إلَـهَ إلَّا الله وَحْدَهُ ثَلاثاً، وَاتْفُلْ عَنْ شِمَالِكَ ثَلاثاً، وَتَعَوَّذ بِالله مِنَ الشَّيْطَانِ، وَلا تَعُدْ»
ความว่า : จงกล่าว ลาอิละฮาอิลลัลลอฮฺ 3 ครั้ง และจงถ่มน้ำลายทางด้านซ้าย 3 ครั้ง และจงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้รอดพ้นจากชัยฏอน และท่านอย่าทำอย่างนี้อีก” (บันทึกโดยอะหฺมัด หมายเลขหะดีษ 1622 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน อัลอัรนาอูฏกล่าวว่า สายรายงานเศาะฮีฮฺ และอิบนุมาญะฮฺ หมายเลขหะดีษ 2097)
บทบัญญัติว่าด้วยการสาบาน
สำหรับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสาบานมี 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การสาบานที่เป็นวาญิบ หมายถึง การสาบานของผู้บริสุทธิ์เพื่อให้รอดพ้นจากความพินาศ
2. การสาบานที่ส่งเสริมให้กระทำ เช่น การสาบานขณะต้องการให้เกิดความปรองดอง
ระหว่างผู้คน
3. การสาบานที่เป็นที่อนุญาต เช่น การสาบานจะกระทำสิ่งที่อนุมัติหรือจะละทิ้งไม่กระทำ หรือการยืนยันในกิจการงานและในทำนองเดียวกันนี้
4. การสาบานที่น่ารังเกียจ (น่าตำหนิ) เช่น การสาบานจะกระทำในสิ่งที่น่าตำหนิหรือจะละทิ้งของที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ (สุนัต) และการสาบานในเรื่องการซื้อการขาย
5. การสาบานที่ต้องห้าม (หะรอม) เช่น การสาบานเท็จโดยเจตนาหรือสาบานจะกระทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนหรือละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบ
บทบัญญัติว่าด้วยการผิดคำสาบาน
ส่งเสริมให้ยกเลิกคำสาบานเมื่อการยกเลิกนั้นเป็นสิ่งที่ดี เช่น ผู้ที่สาบานว่าจะกระทำสิ่งที่น่าตำหนิหรือละทิ้งสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ (สุนัต) ฉะนั้นให้เขาทำสิ่งที่ดีกว่าและให้จ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) ในการเลิกคำสาบาน เพราะท่านนบี อะลัยฮิศศอลาตุวัสลาม กล่าวว่า
«مَنْ حَلَفَ عَلَى يَـمِينٍ، فَرَأَى غَيْرَهَا خَيْراً مِنْـهَا، فَلْيَأْتِـهَا، وَلْيُكَفِّرْ عَنْ يَـمِينِـهِ»
ความหมาย “ผู้ใดได้สาบานแล้วเขาเห็นว่าสิ่งอื่นดีกว่า ดังนั้นเขาจงกระทำมัน (สิ่งที่ดีกว่า) และจงจ่ายค่าชดเชยจากการสาบานของเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1650)
จำเป็นต้องยกเลิกคำสาบาน เมื่อเขาสาบานว่าจะละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบ เช่น การสาบานว่าจะไม่ติดต่อสัมพันธ์กับเครือญาติ หรือสาบานว่าจะกระทำสิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม) เช่น การสาบานว่าจะดื่มสุรา ดังนั้นจำเป็นสำหรับเขาที่จะต้องยกเลิกคำสาบานและต้องจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ)
เป็นที่อนุญาตให้ยกเลิกคำสาบาน เช่น เมื่อสาบานว่าจะกระทำหรือจะละทิ้งสิ่งที่เป็นอนุมัติ(มุบาหฺ) และให้เขาจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ)
เงื่อนไขจำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ)
เงื่อนไขที่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) มีกรณีดังต่อไปนี้
1. การสาบานนั้นเป็นการสาบานที่สมบรูณ์ ของผู้ที่บรรลุศาสนภาวะมีสติสัมปชัญญะ เป็นการสาบานต่อเรื่องที่เป็นอนาคตและสามารถเป็นไปได้ เช่น การสาบานว่าจะไม่เข้าบ้านคนนั้นคนนี้
2. เป็นการสาบานโดยสมัครใจ หากเขาสาบานโดยถูกบังคับการสาบานของเขาถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
3. ตั้งเจตนาในการสาบาน การสาบานโดยไม่ตั้งเจตนาถือว่าไม่สมบรูณ์ เช่น คนที่เคยชินกับการสาบาน (เช่นพูดว่า ไม่, ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เช่นนั้นแหละ, ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ) ดั่งที่กล่าวผ่านมาในหะดีษ
4. การผิดคำสาบาน เช่น กระทำตรงกันข้ามกับคำสาบาน กระทำในสิ่งที่สาบานว่าจะละทิ้งหรือละทิ้งในสิ่งที่สาบานว่าจะกระทำ เป็นการกระทำโดยสมัครใจและรู้สึกตัว
ลักษณะการจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ)
ลักษณะการจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) ให้เลือกปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้
1. แจกจ่ายอาหารให้แก่คนยากจนจำนวน 10 คนโดยให้แจกแต่ละคนครึ่งศออฺ (ประมาณ 2 ลิตร) เป็นอาหารหลักประจำวัน เช่น ข้าวสาร อินทผลัม ข้าวสาลี ฯลฯ หรือหากเขาประสงค์เลี้ยงอาหารเที่ยงหรืออาหารเย็นให้แก่คนยากจนจำนวน 10 คนก็ถือว่าเป็นการใช้ได้
2. ให้อาภรณ์เครื่องนุ่งห่มแก่คนยาจนจำนวน 10 คน เป็นเครื่องนุ่งห่มที่ใช้สวมใส่ละหมาดได้
3. ให้ปล่อยทาสผู้ศรัทธา
ให้เลือกปฏิบัติจาก 3 ประการที่กล่าวผ่านมา หากเขาไม่สามารถปฏิบัติตามที่กล่าวมาได้ก็ให้ถือศีลอด 3 วัน และไม่อนุโลมให้ถือศีลอดนอกจากว่าไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติตาม 3 อย่างที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว
บทบัญญัติว่าด้วยการจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) ก่อนที่จะผิดคำสาบาน
อนุญาตให้จ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) ก่อนที่จะผิดคำสาบานและอนุญาตให้จ่ายทีหลังได้ ดังนั้นหากจ่ายก่อนก็เป็นสิ่งที่อนุมัติ (หะลาล) ให้ผิดคำสาบาน หากจ่ายทีหลังก็เป็นค่าชดใช้ในการผิดคำสาบาน โดยที่อัลลอฮฺได้อธิบายกัฟฟาเราะฮฺไว้ว่า
(ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ) [المائدة/89].
ความหมาย: “อัลลอฮฺจะไม่ทรงเอาโทษแก่พวกสูเจ้าด้วยถ้อยคำที่ไร้สาระในการสาบานของพวกสูเจ้า แต่ทว่าพระองค์จะทรงเอาโทษแก่พวกสูเจ้าด้วยถ้อยคำที่พวกสูเจ้าตั้งใจสาบาน ดังนั้นการชดใช้ของมันคือการแจกจ่ายอาหารให้แก่คนยากจนจำนวนสิบคนเป็นอาหารปานกลางจากสิ่งที่พวกสูเจ้าใช้เป็นอาหารแก่สมาชิกในครอบครัวของพวกสูเจ้า หรือไม่ก็ให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา หรือไถ่ทาสหนึ่งคนให้เป็นอิสระ หากผู้ใดไม่พบ (ไม่สามารถกระทำได้) ให้ถือศีลอดสามวัน ดังกล่าวเป็นการชดใช้ในการสาบานของพวกสูเจ้าเมื่อพวกสูเจ้าได้สาบานไว้ และจงรักษาการสาบานของพวกสูเจ้าเถิด ในทำนองดังกล่าวอัลลอฮฺจะทรงแจกแจงบรรดาโองการต่างๆ ของพระองค์แก่พวกสูเจ้า เพื่อว่าพวกสูเจ้าจักได้ขอบคุณ” (อัลมาอิดะฮฺ : 89)
ส่วนหนึ่งจากหน้าที่ของมุสลิมที่มีต่อพี่น้องมุสลิม คือ การสาบานในการกระทำความดีเมื่อการสาบานนั้นไม่ได้อยู่ในการฝ่าฝืน
เมื่อเขาสาบานว่าจะไม่กระทำสิ่งใด แล้วเขาได้กระทำโดยการลืม โดนบังคับ หรือไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เขาได้สาบานไว้ ไม่ถือว่าผิดคำสาบาน กรณีนี้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและการสาบานของเขายังคงอยู่ต่อไป
เมื่อเขาสาบานกับอัลลอฮฺต่อคนคนหนึ่งที่มีเจตนาให้เกียรติแก่เขา ไม่ถือเป็นการว่าผิดคำสาบานในทุกกรณี หากมีเจตนาว่าเขาบังคับตัวเองแต่เขาไม่กระทำถือว่าเป็นการผิดคำสาบาน
กิจการงานทั้งหลายมีผลด้วยกับการตั้งเจตนา ดังนั้นผู้ใดได้สาบานต่อสิ่งหนึ่งและเขาได้ ปกปิดเอาไว้ด้วยสิ่งอื่น ดังนั้นจะพิจารณาจากการตั้งเจตนาของเขาไม่ได้พิจารณาจากคำพูดของเขา
แก่นแท้ของการสาบาน
การสาบานนั้นขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนาของผู้สั่งให้สาบาน ดังนั้นเมื่อผู้พิพากษา (กอฎี) สั่งให้สาบานในเรื่องการฟ้องร้องหรือเรื่องอื่นๆ ดังนั้นจำเป็นที่การสาบานนั้นต้องเป็นไปตามการตั้งเจตนาของผู้สั่งใช้ให้สาบานมิใช่ตามการตั้งเจตนาของผู้สาบาน และหากว่าเขาสาบานโดยไม่ได้รับคำสั่งก็จะเป็นไปตามการตั้งเจตนาของผู้สาบาน
บทบัญญัติว่าด้วยผู้ที่ห้ามตัวเองจากสิ่งที่อนุมัติ (หะลาล) ยกเว้นกรณีการหย่าภรรยา
ผู้ใดที่ห้ามตัวเอง (โดยการสาบาน)จะไม่แตะต้องในสิ่งที่เป็นที่อนุมัติ(หะลาล)แก่เขา - ยกเว้นกรณีการสาบานเพื่อหย่ากับภรรยา - ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารหรือเรื่องอื่นๆ การสาบานดังกล่าวก็ไม่เป็นที่ต้องห้ามแก่เขาแต่ประการใด และหากเขาได้ผิดสาบานก็จำเป็นที่เขาต้องจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ)
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ) [التحريم/1-2].
ความหมาย: “โอ้นบี ทำไมเจ้าจึงห้ามในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติแก่เจ้าเพื่อแสวงหาความพึงพอใจบรรดาภริยาของเจ้า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตา แน่นอนอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดแก่พวกเจ้าแล้วในการแก้คำสาบานแก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงคุ้มครองพวกเจ้าและพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัตตะหฺรีม : 1-2)
บทบัญญัติว่าด้วยผู้ที่สาบานในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืน
ผู้ใดที่ได้สาบานว่าจะไม่กระทำความดี ดังนั้นไม่เป็นที่อนุญาตให้เขายืนกรานในการสาบานเช่นนั้น แต่ทว่าให้เขาสาบานกระทำความดีและจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
(ﯵ ﯶ ﭬ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ) [البقرة/224].
ความหมาย: “และพวกเจ้าจงอย่าให้อัลลอฮฺเป็นอุปสรรคขัดขวางเนื่องจากการสาบานของพวกสูเจ้าในการที่พวกสูเจ้าจะกระทำความดีและที่จะมีความยำเกรง และในการที่จะประนีประนอมระหว่างผู้คน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 224 )