×
บทว่าด้วยอัลหะฎอนะฮฺ หรือการเลี้ยงดูบุตรและผู้เยาว์ ประกอบด้วย ความประเสริฐของการจ่ายค่าเลี้ยงดู การจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่ภรรยา การจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่บิดามารดา บุตรและญาติผู้ใกล้ชิด เงื่อนไขที่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้กับญาติผู้ใกล้ชิดที่ไม่ใช่ต้นตระกูลหรือทายาท ฐานะผู้ให้การเลี้ยงดู จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    ค่าเลี้ยงดู

    [ ไทย ]

    النفقات

    [ باللغة التايلاندية ]

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري

    แปลโดย: ริซัลย์ สะอะ

    ترجمة: ريزال أحمد

    ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1429 – 2008

    ค่าเลี้ยงดู

    (النفقات )

    ค่าเลี้ยงดู คือ การสนองความต้องการต่อผู้ที่อยู่ในความดูแลเรื่องอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว

    ความประเสริฐของการจ่ายค่าเลี้ยงดู

    1. อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า

    «الَّذِينَ يُنْفِقُونَ أَمْوَالَهُمْ بِاللَّيْلِ وَالنَّهَارِ سِرًّا وَعَلَانِيَةً فَلَهُمْ أَجْرُهُمْ عِنْدَ رَبِّهِمْ وَلَا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلَا هُمْ يَحْزَنُونَ»

    ความว่า "บรรดาผู้ที่ใช้จ่ายทรัพย์สินของพวกเขาอย่างลับ ๆ และเปิดเผยทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนนั้นจะได้รับรางวัลที่พระผู้อภิบาลของพวกเขา และพวกเขาไม่มีสิ่งใดที่จะต้องกลัวและระทม" ( อัล-บะเกาะเราะฮฺ 274 )

    2. จากท่านอบีมัสอูด อัลอันศอรี รอฏิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า :

    أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : «إذا أنفق المسلم نفقة على أهله وهو يحتسبها كانت له صدقة» . متفق عليه

    ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า "เมื่อมุสลิมได้จ่ายทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้กับครอบครัวของเขา ขณะที่เขาหวังการตอบแทน(จากอัลลอฮฺ)ในสิ่งที่เขาใช้จ่ายนั้น มันจะเท่ากับว่าเป็นการทำเศาะดะเกาะฮฺ" ( รายงานโดย อัล-บุคอรี เลขที่ 5351 และมุสลิม เลขที่ 1002 )

    3. จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

    «الساعي على الأرملة والمسكين كالمجاهد في سبيل الله ، أو القائم الليل الصائم النهار» . متفق عليه

    ความว่า "ผู้ที่ช่วยเหลือหญิงหม้ายและผู้ยากไร้ เหมือนกับผู้ที่ได้ทำการสู้รบในหนทางของอัลลอฮฺ หรือผู้ที่ได้ยืนละหมาดในเวลากลางคืนและถือศีลอดในเวลากลางวัน" (รายงานโดย อัลบุคอรี เลขที่ 5353 และมุสลิม เลขที่ 2982 )

    การจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่ภรรยา

    1. การจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่ภรรยาเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ)สำหรับสามี ในเรื่องอาหารการกิน เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย และอื่นๆ ตามความเหมาะสมตามฐานะของนาง และสิ่งเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามประเพณีการปฏิบัติของแต่ละท้องถิ่น กาลเวลา และฐานะของสามีภรรยารวมถึงประเพณีการปฏิบัติของสามีภรรยาด้วย

    عن جابر بن عبدالله رضي الله عنهما أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : «إن دماءكم وأموالكم حرام عليكم ... وفيه : فاتقوا الله في النساء ، فإنكم أخذتموهن بأمان الله ، واستحللتم فروجهن بكلمة الله ولهن عليكم رزقهن وكسوتهن بالمعروف» . أخرجه مسلم

    ความว่า จากท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "แท้จริงเลือดเนื้อในหมู่พวกเจ้าและทรัพย์สินในหมู่พวกเจ้าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเจ้า ... ต่อจากนั้นท่านได้กล่าวว่า จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺเกี่ยวกับบรรดาหญิงของพวกเจ้า แท้จริงพวกเจ้าได้รับพวกนางด้วยความปกป้องของอัลลอฮฺ และขออนุมัติอวัยวะเพศของนางด้วยถ้อยดำรัสของอัลลอฮฺ และเป็นหน้าที่ของพวกเจ้าที่จะต้องอำนวยปัจจัยยังชีพแก่พวกนางและเครื่องนุ่งห่มของพวกนางโดยชอบธรรม" (รายงานโดยมุสลิม เลขที่ 1218 )

    2. เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสามีต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่ภรรยาที่เขาได้หย่าที่มีสิทธคืนดีได้ โดยให้เครื่องนุ่งห่มและที่พักอาศัยแก่นาง แต่นางไม่มีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดก

    3. ภรรยาที่ได้ยกเลิกการแต่งงานหรือได้หย่าขาด สามีจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่นางหากกำลังตั้งครรภ์ ถ้านางไม่ได้ตั้งครรภ์สามีไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูและอำนวยที่พักอาศัยให้

    4. ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูและจัดที่พักอาศัยแก่ภรรยาที่สามีตายจาก และถ้าหากว่านางกำลังตั้งครรภ์ก็ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่นางจากส่วนแบ่งมรดกของทารกที่อยู่ในครรภ์ หากส่วนแบ่งมรดกของทารกในครรภ์ไม่มี ให้ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกจากผู้ตายจ่ายค่าเลี้ยงดูแทน

    5. เมื่อภรรยาประพฤติไม่ดีหรือขัดขืนสามี(ไม่ยอมร่วมหลับนอน)ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่นางนอกจากว่านางได้ตั้งครรภ์

    เมื่อสามีไม่ได้อยู่กับภรรยาและไม่ได้จ่ายค่าเลี้ยงดูแก่นาง ก็เป็นหนี้แก่สามีที่จำเป็นต้องจ่ายแก่นางตามวันและเวลาที่ผ่านมาที่ไม่ได้อยู่กับนาง

    เมื่อสามีเป็นผู้ขัดสนไม่สามารถจ่ายค่าเลี้ยงดูหรือจัดที่พักอาศัยให้หรือหาเครื่องนุ่งห่มให้ หรือไม่ได้อยู่กับภรรยาโดยไม่มีค่าเลี้ยงดูให้ และไม่สามารถเอาค่าใช้จ่ายเหล่านั้นจากทรัพย์สินของเขา นางมีสิทธิที่จะยกเลิกการแต่งงานหากนางประสงค์ด้วยการอนุญาตของผู้พิพากษา

    การจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่บิดามารดา บุตรและญาติผู้ใกล้ชิด

    จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้กับบิดามารดาและเครือญาติที่อยู่ในตำแหน่งสูงขึ้น(เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย) การทำความดีและจ่ายค่าเลี้ยงดูนั้นต้องทำต่อมารดาก่อนบิดา จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่บุตรและเครือญาติผู้ใกล้ชิดที่อยู่ในตำแหน่งต่ำลงไปหากผู้จ่ายเป็นผู้ร่ำรวยและผู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบการเลี้ยงดูนั้นเป็นผู้ขัดสน และบิดาเป็นผู้รับผิดชอบเพียงผู้เดียวในเรื่องการจ่ายค่าเลี้ยงดูให้กับบรรดาลูกๆ

    1. อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า

    «وَالْوَالِدَاتُ يُرْضِعْنَ أَوْلَادَهُنَّ حَوْلَيْنِ كَامِلَيْنِ لِمَنْ أَرَادَ أَنْ يُتِمَّ الرَّضَاعَةَ وَعَلَى الْمَوْلُودِ لَهُ رِزْقُهُنَّ وَكِسْوَتُهُنَّ بِالْمَعْرُوفِ»

    ความว่า "และมารดาทั้งหลายนั้น จะให้นมแก่ลูกๆ ของนางภายในสองปีเต็ม สำหรับผู้ที่ต้องการ จะให้ครบถ้วนในการให้นม และหน้าที่ของพ่อเด็กนั้น คือปัจจัยยังชีพของพวกนางและเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง โดยชอบธรรม" ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 233 )

    عن أبي هريرة رضي الله عنه قال : قال رجل : يا رسول الله من أحق بحسن الصحبة ؟ قال : «أمك ، ثم أمك ، ثم أمك ثم أبوك ، ثم أدناك أدناك» . متفق عليه

    ความว่า จากท่านอบีฮุรอยเราะห์ รอฏิยัลลอฮุ อันฮุ กล่าวว่า ชายผู้หนึ่งได้ถามท่านรอซูลุลอฮฺว่า โอ้ท่านรอซูลุลอฮฺ ใครที่ฉันสมควรทำดีมากที่สุด ท่านรอซูลุลอฮฺได้ตอบ ว่า "มารดาของเจ้า หลังจากนั้นก็คือมารดาของเจ้า หลังจากนั้นก็คือมารดาของเจ้า หลังจากนั้นคือบิดาของเจ้า หลังจากนั้นคือผู้ที่ใกล้ชิดกับเจ้า ใกล้ชิดกับเจ้าตามลำดับ" (รายงานโดยบุคอรีย์ เลขที่ 5971 และมุสลิม เลขที่ 2548 และสำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

    การจ่ายค่าเลี้ยงดู จำเป็นสำหรับผู้มีสิทธิได้รับมรดกจากเขาโดยสิทธิฟัรฎ์ (فرض) หรือโดยสิทธิของตะอฺศีบ (تعصيب)

    เงื่อนไขที่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้กับญาติผู้ใกล้ชิดที่ไม่ใช่ต้นตระกูลหรือทายาท

    · ผู้ให้การเลี้ยงดูมีสิทธิได้รับมรดกจากผู้รับการเลี้ยงดู

    · ผู้รับการเลี้ยงดูเป็นคนยากจน

    · ผู้ให้การเลี้ยงดูเป็นคนร่ำรวย

    · ไม่นับถือศาสนาที่ต่างกัน

    นายทาสจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้กับทาสที่เขาครอบครอง ถ้าหากว่าทาสมีความประสงค์จะแต่งงานนายต้องดำเนินการแต่งงานให้ หรือขายทาสนั้นเสีย และหากทาสหญิงขอแต่งงาน นายมีสิทธิจะเลือกระหว่างมีสัมพันธ์ทางเพศกับนายเอง หรือดำเนินการแต่งงานให้ หรือขายทาสหญิงนั้นเสีย

    ผู้ที่มีปศุสัตว์หรือนกหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ไว้ครอบครองจำเป็นต้องให้การเลี้ยงดู คือต้องดูแลในเรื่องอาหารการกิน ต้องให้น้ำ และสิ่งจำเป็นต่างๆ และจงอย่าให้ภาระเกินความสามารถที่มันจะดำเนินการได้ และหากไม่สามารถจะให้การเลี้ยงดูสัตว์เหล่านั้นได้จงประกาศขายหรือให้เช่าหรือเชือดหากเป็นสัตว์ที่กินเนื้อได้ และไม่อนุญาตให้เชือดเพื่อให้พ้นภาระการเลี้ยงดู เช่น กรณีที่สัตว์ป่วยหรือแก่หรืออาการอื่นๆ และเขาต้องปฏิบัติในสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการให้กับสัตว์นั้น ๆ

    ฐานะผู้ให้การเลี้ยงดู

    ผู้ให้การเลี้ยงดูมี สอง ฐานะ

    1. หากผู้ให้การเลี้ยงดูเป็นผู้มีทรัพย์เพียงเล็กน้อย เขาต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่บุคคลที่เขาจำเป็นต้องเลี้ยงดูเสียก่อน ในบรรดาภรรยา ทายาท ต้นตระกูล และบรรดาทาสที่เขาครอบครอง คือต้องเริ่มจากตัวเขาเองเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นผู้ที่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้กับเขา ถึงแม้จะอยู่ในภาวะทุกข์ยากหรือสะดวกสบายนั่นคือ ภรรยา บรรดาทาสที่เขาครอบครอง และสัตว์เลี้ยง หลังจากนั้นคือผู้ที่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูพวกเขาถึงแม้ว่าผู้ให้การเลี้ยงดูจะไม่มีสิทธิรับมรดกจากเขาก็ตาม จากต้นตระกูล (الأصول) เช่น บิดา มารดา และจากทายาท(الفروع) เช่น ลูกหลาน หลังจากนั้นจ่ายค่าเลี้ยงดูอัลหะวาชีย์ (الحواشي) (บุคคลที่ไม่ใช่ต้นตระกูลและทายาท )หากผู้จ่ายค่าเลี้ยงดูนั้นมีสิทธิรับมรดกโดยฟัรฎ์ (กำหนดส่วน) หรือตะอฺศีบ (ส่วนเหลือ)

    2. แต่ถ้าผู้จ่ายค่าเลี้ยงดูเป็นผู้ร่ำรวยก็ต้องจ่ายให้กับทุกคน และจงให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ที่มีสิทธิตามที่เขาควรได้รับ