×
อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดวะลีมะฮฺ หรืองานเลี้ยงเนื่องในโอกาสการสมรส ประกอบด้วย หุก่มการจัดวะลีมะฮฺ หุก่มตอบรับคำเชิญงานวะลีมะฮฺของคู่บ่าวสาว สิ่งที่ควรกล่าวสำหรับคนที่ร่วมงานวะลีมะฮฺ หุก่มการรับประทานอาหารในวะลีมะฮฺ การร่วมงานที่มีอบายมุข เป็นต้น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ (อัพเดทแก้ไขปรับปรุงล่าสุด 6-6-2009)

    วะลีมะฮฺ ของคู่บ่าวสาว

    ﴿وليمة العرس﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด อัต-ตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ริซัลย์ สะอะ

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2009 - 1430

    ﴿وليمة العرس﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: ريزال أحمد

    مراجعة: صافي عثمان

    مصدر : مختصر الفقه الإسلامي

    2009 - 1430

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    วะลีมะฮฺของคู่บ่าวสาว

    วะลีมะตุล อุรส์ หรือ วะลีมะฮฺของคู่บ่าวสาว คือ อาหารที่จัดขึ้นเฉพาะเนื่องด้วยการสมรสของคู่บ่าวสาว

    เวลาการจัดงานวะลีมะฮฺ

    ให้จัดในช่วงเวลาหรือวันของการทำพิธีแต่งงาน หรือหลังจากวันของการทำพิธี หรือวันที่ส่งตัวเข้าสู่เรือนหอ หรือหลังจากเข้าเรือนหอไปแล้ว ตามจารีตประเพณีทั่วไปในพื้นที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน

    หุก่มการจัดวะลีมะฮฺ

    1. วาญิบสำหรับสามีต้องจัดงานวะลีมะฮฺ และส่งเสริม(สุนัต)ให้จัดงานวะลีมะฮฺด้วยแพะตัวเดียวหรือมากกว่า ตามฐานะที่เหมาะสมและความยากง่าย และห้ามการจัดงานวะลีมะฮฺแต่งงานและงานอื่นๆ อย่างฟุ่มเฟือย

    2. ส่งเสริม(สุนัต)ให้เชิญคนที่ดีมาร่วมงานวะลีมะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน และอนุญาตให้จัดเลี้ยงด้วยอาหารใดๆ ที่หะลาล และห้าม(หะรอม)จัดงานวะลีมะฮฺที่เชื้อเชิญเฉพาะคนที่มีฐานะดีเท่านั้น

    3. ส่งเสริมให้คนที่มีฐานะและทรัพย์สินเหลือเกินความจำเป็นได้มีส่วนร่วมเจือจุนด้วยทรัพย์สินของพวกเขาในการจัดงาน

    หุก่มตอบรับคำเชิญงานวะลีมะฮฺของคู่บ่าวสาว

    วาญิบต้องตอบรับคำเชิญถ้าผู้เชิญ(เจ้าของงาน)เป็นมุสลิมและเมื่อเขาได้เจาะจงเชิญเป็นรายบุคคล และได้รับคำเชิญให้ไปร่วมงานในวันแรก และเขาไม่ติดภารกิจใดๆ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานได้

    จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «إذَا دُعِيَ أَحَدُكُمْ فَلْيُـجِبْ، فَإنْ كَانَ صَائِماً فَلْيصلِّ، وَإنْ كَانَ مُفْطِراً فَلْيَطْعَمْ». أخرجه مسلم.

    ความว่า "เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านถูกเชื้อเชิญ ก็ให้เขาตอบรับคำเชิญ ถ้าหากเขาถือศีลอดก็ให้เขาขอดุอาอ์แก่เจ้าของงาน ถ้าหากเขาไม่ได้ถือศีลอดก็ให้เขารับประทานอาหาร" (บันทึกโดยมุสลิม 1431)

    สิ่งที่ควรกล่าวสำหรับคนที่ร่วมงานวะลีมะฮฺ

    ส่งเสริม(สุนัต)ให้คนที่ร่วมวะลีมะฮฺหรือคนที่ตอบรับคำเชิญได้ขอดุอาอ์ให้กับเจ้าภาพของงานวะลีมะฮฺหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ด้วยดุอาอ์ขอพรตามแบบฉบับของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนไว้ ส่วนหนึ่งมีดังนี้

    «اللَّـهُـمَّ بَارِكْ لَـهُـمْ فِيمَا رَزَقْتَـهُـمْ، وَاغْفِرْ لَـهُـمْ وَارْحَـمْهُـم». أخرجه مسلم.

    ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงประทานความบะรอกัต(ความจำเริญ)แก่พวกเขา ในสิ่งที่พระองค์ได้ประทานแก่พวกเขา และขอทรงอภัยแก่พวกเขาและเมตตาพวกเขา" (บันทึกโดยมุสลิม 2042)

    «اللَّـهُـمَّ أَطْعِمْ مَنْ أَطْعَمَنِي وَأسْقِ مَنْ سَقَانِي». أخرجه مسلم.

    ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงให้อาหารแก่ผู้ที่เลี้ยงอาหารฉัน และขอทรงให้ดื่มน้ำแก่ผู้ที่ให้น้ำดื่มแก่ฉัน" (บันทึกโดย มุสลิม 2055)

    «أَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُونَ، وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَارُ، وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ الملائِكَة». أخرجه أبو داود وابن ماجه.

    ความว่า "บรรดาผู้ถือศีลอดได้ละศีลอดพร้อมกับพวกท่าน และบรรดาคนดีได้กินอาหารของพวกท่าน และบรรดามลาอิกะฮฺได้ขอพรใหกับพวกท่านแล้ว" (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 3854 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อิบนุ มาญะฮฺ 1747)

    - ส่งเสริม(สุนัต)สำหรับเจ้าบ่าวในเช้าที่เขาได้ร่วมหอกับเจ้าสาว ให้มาพบปะเพื่อสลามและขอดุอาอ์แก่ญาติพี่น้องที่มาร่วมงานและบรรดาแขกที่ได้รับเชื้อเชิญ และเช่นเดียวกันนั้น ให้บรรดาญาติพี่น้องที่มาร่วมงานและบรรดาแขกที่ได้รับเชิญได้ดุอาอ์ให้กับเขา

    หุก่มการรับประทานอาหารในวะลีมะฮฺ

    ส่งเสริม(สุนัต)ให้รับประทานอาหารในงานวะลีมะฮฺแต่ไม่ใช่ว่าวาญิบ สำหรับคนที่ถือศีลอดวาญิบก็ให้เขาไปร่วมงาน ขอดุอาอ์ และกลับออกจากงาน

    เมื่อเข้าไปในงานให้เขาให้สลามแก่ผู้ที่อยู่ในงาน และนั่งต่อจากคนนั่งคนสุดท้าย ประธานในงานให้นั่งหันไปทางกิบละฮฺ และเมื่อเขาจะออกจากงานก็ให้เขาให้สลามอีกครั้ง

    การร่วมงานที่มีอบายมุข

    เมื่อรู้ว่าในงานวะลีมะฮฺนั้นมีสิ่งที่ผิดหลักศาสนาที่เขาสามารถแก้ไขได้ ก็ให้เขาร่วมงานและแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้องนั้นเสีย ถ้าเขาแก้ไขสิ่งนั้นไม่ได้ก็ไม่จำเป็นที่ต้องร่วมงานนั้น ถ้าหากเขามาร่วมงานและเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ให้เขาหักห้ามแก้ไข ถ้าไม่สามารถทำได้ก็ให้เขาออกจากงานไป ถ้าเกิดว่ารู้ในงานที่ผิดหลักศาสนาแต่ไม่ได้เห็นหรือไม่ได้ยิน เขาสามารถเลือกที่จะอยู่หรือจะกลับก็ได้

    สิ่งที่ควรทำเมื่อพบเห็นหญิงที่ต้องตา

    عن جابر رضي الله عنه أنَّ رَسُولَ الله صلى الله عليه وسلم رَأى امْرَأةً، فَأتَى امْرَأتَـهُ زَيْنَبَ وَهِيَ تَـمْعَسُ مَنِيئَةً لَـهَا، فَقَضَى حَاجَتَـهُ، ثُمَّ خَرَجَ إلَى أصْحَابِـهِ فَقَالَ: «إنَّ المَرْأةَ تُقْبِلُ فِي صُورَةِ شَيْطَانٍ، وَتُدْبِرُ فِي صُورَةِ شَيْطَانٍ، فَإذَا أبْصَرَ أحَدُكُمُ امْرَأةً فَلْيَأْتِ أهْلَـهُ، فَإنَّ ذَلِكَ يَرُدُّ مَا فِي نَفْسِهِ». أخرجه مسلم.

    ความว่า จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่ง ท่านจึงกลับไปหาท่านหญิงซัยนับผู้เป็นภรรยาของท่าน ในขณะที่นางกำลังขูดหนังสัตว์ที่เพิ่งฟอก แล้วท่านก็ได้ร่วมกับนาง จากนั้นก็ออกไปหาบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านและกล่าวว่า "แท้จริง สตรีนั้นเข้ามาในรูปของชัยฏอน และกลับหลังไปในรูปของชัยฏอน ดังนั้น เมื่อพวกท่านคนใดเห็นสตรี(ที่ต้องตา)ก็จงกลับไปหาภรรยาของเขา(ให้ร่วมมีเพศสัมพันธ์กับนาง) เพราะนั่นจะช่วยขจัดสิ่งที่อยู่ในใจของเขา" (บันทึกโดย มุสลิม 1403)

    การฟุ่มเฟือยในการจัดงานเลี้ยง

    ถือเป็นการหะรอมที่จะจัดงานอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ว่าเป็นงานแต่งงานหรืองานอื่นๆ ทั้งที่เกี่ยวกับอาหารเครื่องดื่ม หรือการแต่งกาย และการใช้เครื่องดนตรี และแท้จริงแล้ว จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่กินดื่มอย่างสนุกสนานเฮฮาในเวลากลางคืน แล้วพวกเขาก็ตื่นเช้าขึ้นมาในสภาพที่กลายร่างเป็นลิงและสุกร – ขออัลลอฮฺทรงประทานความปลอดภัยแก่เราด้วยเถิด

    เล่าจากท่านอิมรอน บิน อัล-หุศ็อยน์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «في هذِهِ الأُمَّةِ خَسْفٌ ومَسْخٌ وَقَذفٌ» فقالَ رَجُلٌ من المُسلمينَ: يا رسُولَ الله ومَتَى ذَاكَ؟ قالَ: «إذا ظَهَرتِ القَيْنَاتُ والمَعازِفُ وَشُربتِ الخُـمُورُ». أخرجه الترمذي.

    "ในประชาชาตินี้จะเกิดธรณีสูบ การกลายร่าง และถูกหินถล่ม" มีชายมุสลิมคนหนึ่งถามท่านว่า โอ้ ท่านรอซูลุลลอฮฺ มันเกิดขึ้นเมื่อไรหรือ? ท่านนบีตอบว่า"เมื่อมีการระบาดของนักร้องหญิง ดนตรี และการดื่มสุรา" (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 2212)

    การต้อนรับผู้มีเกียรติและผู้รู้ด้วยอาหาร

    عن سهــل بن سعــــد قــــال: دَعَا أَبُو أُسَيْدٍ السَّاعِدِيُّ رَسُولَ الله صلى الله عليه وسلم فِي عُرْسِهِ، وَكَانَتْ امْرَأتُـهُ يَوْمَئِذٍ خَادِمَهُـمْ وَهِــيَ العَرُوسُ، قَالَ سَهْلٌ: تَدْرُونَ مَا سَقَتْ رَسُولَ الله صلى الله عليه وسلم ؟ أَنْقَعَتْ لَـهُ تَـمَـرَاتٍ مِـــنَ اللَّيْلِ فَلَـمَّا أَكَلَ سَقَتْـهُ إيَّاهُ. متفق عليه.

    เล่าจาก สะฮฺล์ บิน ซะอัด กล่าวว่า อบู อูสัยด์ อัส-สาอิดีย์ ได้เชิญท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มาในงานแต่งงานของเขา และภรรยาเขาได้รับใช้ให้แก่บรรดากลุ่มของท่านทั้งๆ วันนั้นเธอเป็นเจ้าสาว สะฮฺล์ถามว่า “ท่านทราบไหมว่า นางได้ยกอะไรให้ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ? เธอแช่ลูกอินทผลัมให้ท่านนบีตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว" หลังจากท่านนบีรับประทานอาหารเสร็จ นางก็นำน้ำอินทผาลัมมายกให้ท่าน (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5176 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม 2006)

    การประกาศการแต่งงาน

    1. ส่งเสริม(สุนัต)ให้มีการประกาศการแต่งงาน และอนุญาตให้บ่าวไพร่หญิงตีกลองหรือร้องเพลงที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา แต่ถ้าเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบรรยายสรีระผู้หญิงที่อาจก่อให้เกิดฟิตนะฮฺหรือเนื้อหาที่ไม่ดีนั้นไม่อณุญาตให้ร้อง

    عن عائشة رضي الله عنها قالت: دَخَلَ أَبُو بَكْرٍ وَعِنْدِي جَارِيَتَانِ مِنْ جَوَارِي الْأَنْصَارِ تُغَنِّيَانِ بِمَا تَقَاوَلَتْ الْأَنْصَارُ يَوْمَ بُعَاثَ، قَالَتْ: وَلَيْسَتَا بِمُغَنِّيَتَيْنِ، فَقَالَ أَبُو بَكْرٍ: أَمَزَامِيرُ الشَّيْطَانِ فِي بَيْتِ رَسُولِ الله٬ ﷺ، وَذَلِكَ فِي يَوْمِ عِيدٍ. فَقَالَ رَسُولُ الله٬ ﷺ: «يَا أَبَا بَكْرٍ إِنَّ لِكُلِّ قَوْمٍ عِيدًا وَهَذَا عِيدُنَا». متفق عليه.

    ความว่า เล่าจากท่านหญิง อาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า อบู บักรฺ ได้เข้ามาในบ้าน และตอนนั้นมีเด็กหญิงรับใช้ของชาวอันศอรฺสองคนกำลังร้องเพลงที่ชาวอันศอรฺได้ร่ำร้องในวันสงครามบุอาษฺ ท่านหญิงเล่าว่า นางทั้งสองไม่ใช่นักร้องเพลง อบู บักรฺ จึงได้กล่าวว่า มีขลุ่ยของชัยฏอนในบ้างของท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ด้วยหรือ? ขณะนั้นมันเป็นวันอีดพอดี ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวว่า "โอ้ อบู บักรฺ แท้จริงสำหรับทุกกลุ่มชนนั้นมีวันอีดที่ใช้เป็นวันรื่นเริง และนี่คือวันรื่นเริงของเรา" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 952 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 892)

    2. ในงานแต่งงาน ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงกับผู้ชายอยู่ด้วยกันปะปนกัน เช่นเดียวกับงานอื่นๆ สามีจะเข้ามาหาภรรยาในขณะที่ภรรยามีเพื่อนผู้หญิงที่เปิดเผยเรือนร่างอยู่ด้วยนั้นไม่ได้

    3. ไม่อนุญาตให้ร้องเพลงที่มีเนื้อหาสาระบรรยายความสวยงามของผู้หญิงและอารมณ์ของพวกนาง ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องดนตรีเช่น เครื่องดนตรีที่ใช้สี ใช้เป่า หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ทั้งในงานแต่งงานหรืองานอื่นๆ และไม่อนุญาตให้จ้างนักร้องชายหรือหญิงให้มาร้องในงานแต่งงานหรืองานอื่นๆ

    عن أبي عامر الأشعري رضي الله عنه أنه سمع النبي صلى الله عليه وسلم يقول: «لَيَكُونَنَّ مِنْ أمَّتِي أقْوامٌ يَسْتَـحِلُّونَ الحِرَ وَالحَرِيرَ وَالخَـمْرَ وَالمَعازِفَ». أخرجه البخاري معلقاً وأبو داود.

    ความว่า จากอบู อามิร อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าได้ฟังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "แท้จริง จะปรากฏในหมู่ประชาชาติของฉัน กลุ่มคนที่อนุญาตการผิดประเวณี ผ้าไหม สุรา และเครื่องดนตรี" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ โดยไม่ระบุสายรายงาน 5590 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อบู ดาวูด 4039 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 91)

    หุก่มการถ่ายรูป

    1. การถ่ายรูปทุกอย่างที่มีชีวิตถือเป็นหะรอม การแขวนรูปภาพตามผนังบ้านก็หะรอมเช่นกัน ไม่ว่ารูปภาพนั้นจะเป็นรูปเป็นร่างหรือไม่ก็ตาม มีเงาหรือไม่มีเงา เป็นรูปเขียนหรือถ่ายด้วยกล้องก็ตามที ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปนอกเสียจากว่ามีความจำเป็นจริงๆ เช่น เพื่อการแพทย์ เพื่อเป็นหลักฐานในการจับคนร้าย หรืออื่นๆ จึงอนุญาตเพราะความจำเป็น

    2. ห้ามถ่ายรูปงานแต่ง ไม่ว่าเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว หรือทั้งสองคน และยิ่งไปกว่านั้นคือการถ่ายและอัดเป็นวิดีโอ และยิ่งร้ายขึ้นอีกเมื่อถ่ายแล้วเอาไปขายตามร้านค้าหรือเปิดโชว์ให้คนอื่นดู ผู้ใดที่อนุญาตให้มีการถ่ายรูปเขาต้องแบกรับบาปนั้นและบาปของคนที่กระทำการดังกล่าวจนถึงวันกิยามะฮฺ

    عن ابن عمر رضي الله عنهما أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال: «إنَّ الَّذِينَ يَصْنَعُـونَ هَــذِهِ الصُّــوَرَ يُـعَذَّبُــونَ يَـوْمَ القِيَامَــةِ، يُـقَــالُ لَـهُـمْ: أَحْيُــوا مَا خَلَقْتُـمْ». متفق عليه.

    เล่าจาก อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "ผู้ที่ทำรูปเหล่านั้นจะถูกลงโทษในวันอาคิเราะฮฺ จะถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า พวกเจ้าจงทำให้มันมีชีวิตในสิ่งที่ท่านได้สร้างมันมาสิ" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5951 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 2108)

    สิ่งที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงทำ

    ห้ามผู้หญิงถอนคิ้ว สวมผมปลอม ต่อผม สักผิว แต่งคิ้ว ดัดฟัน และห้ามผู้หญิงเต้นรำกับผู้ชาย ห้ามต่อเล็บ หรือปล่อยให้เล็บยาวเกินสี่สิบวัน เพราะมันขัดกับฟิฏเราะฮฺ(วิสัยแต่เดิมของมนุษย์) ห้ามผู้หญิงแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายของผู้ชาย ห้ามแต่งตัวให้หรูหราเกินไปเพื่อโอ้อวด สิ่งที่ฟุ่มเฟือย อวดเรือนร่าง เปิดเผยร่างกาย และปะปนระหว่างชายหญิงในโอกาสต่างๆ

    สิ่งที่อนุญาตสำหรับผู้ชายและผู้หญิง

    1. อนุญาตให้ผู้ชายกำจัดขนตามร่างกาย เช่น ตามหลัง หน้าอก หน้าแข้ง ขาอ่อน หากไม่ก่อให้เกิดผลเสียและไม่ได้ตั้งใจให้เหมือนกับผู้หญิง

    2. อนุญาตให้ผู้หญิงสวมใส่ทองและผ้าไหม แต่ห้ามไม่ให้ผู้ชายใส่ อนุญาตให้ผู้หญิงชุบเล็บด้วยสิ่งที่น้ำสามารถซึมเข้าไปถึงผิวหนังได้ เช่นฮินนาอ์(ต้นเทียน) เป็นต้น และอนุญาตให้ถอนขนที่ขึ้นตามหน้าซึ่งไม่ใช่ที่ของมัน และห้ามแต่งตัวให้เหมือนกับบรรดาหญิงไม่ใช่มุสลิม เพราะผู้ใ ดก็ตามที่ปฏิบัติตนให้เหมือนกับกลุ่มใดเขาก็จะเป็นคนของกลุ่มนั้น

    หุก่มการเลียนแบบผู้หญิงไม่ใช่มุสลิม

    ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงใส่กางเกงแม้ว่าต่อหน้าผู้หญิงด้วยกัน เพราะมันจะบรรยายรูปร่างได้ และเพราะมันเหมือนกับผู้ชายและหญิงกาฟิรฺด้วย ห้ามผู้หญิงชุบผมหรือย้อมผมให้เป็นสีแดง สีเหลือง หรือสีฟ้า เพราะมันเหมือนกับผู้หญิงกาฟิรและก่อให้เกิดฟิตนะฮฺ แต่ถ้าจะย้อมผมหงอกย่อมทำได้แต่ก็ต้องย้อมด้วยฮินนาอ์(ต้นเทียน) และกะตัม(พืชชนิดหนึ่งที่ให้สีดำ) การใส่รองเท้าส้นสูงก็เป็นสิ่งต้องห้าม เพราะมันเป็นตะบัรรุจญ์ที่องค์อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ และห้ามผู้หญิงใช้บุรเกาะอฺ(อุปกรณ์ที่ใช้ปิดหน้าสตรีซึ่งเปิดเผยเฉพาะตา)และผ้าคลุมหน้าหรือนิกอบที่ดัดแปลง(เพื่อโชว์ความสวยงามของใบหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของหิญาบ) เพราะมันจะนำไปสู่การกระทำในสิ่งที่ไม่อนุญาต ซึ่งมันได้เกิดขึ้นแล้ว