การล่าสัตว์
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
การล่าสัตว์
﴿الصيد﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ริซัลย์ สะอะ
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
2009 - 1430
﴿الصيد﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: ريزال أحمد
مراجعة: صافي عثمان
2009 - 1430
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การล่าสัตว์
อัศ-ศ็อยด์ คือ การจับสัตว์ที่อนุมัติ(หะลาล)ที่เป็นเป็นสัตว์ป่าโดยกำเนิด ซึ่งไม่มีผู้ใดครอบครองและไม่สามารถควบคุมมันได้ ด้วยอาวุธที่เป็นที่ยอมรับ โดยมีความตั้งใจ
หุก่มของการล่าสัตว์
โดยพื้นฐานแล้ว การล่าสัตว์เป็นที่อนุมัติ นอกจากสัตว์ที่อยู่ในเขตหวงห้ามในนครมักกะฮฺซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม และการล่าสัตว์บกของผู้ที่ครองอิหฺรอม (เพื่อประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ) ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกัน
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ) [المائدة/96].
ความว่า "ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเลและอาหารจากทะเล ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่พวกเจ้า และแก่บรรดาผู้เดินทาง และได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าบนบกตราบใดที่พวกเจ้าครองอิหฺรอมอยู่ และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด พระองค์คือผู้ที่พวกเจ้าจะถูกรวบรวมนำไปสู่พระองค์" (อัล-มาอิดะฮฺ 96)
สภาพของสัตว์เมื่อล่ามาได้
สัตว์ที่ล่ามาได้และครอบครองมันแล้วมี สอง กรณี
กรณีที่หนึ่ง จับได้ขณะที่มันยังมีชีวิตและสามารถที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก ซึ่งกรณีนี้จำเป็นต้องเชือดตามหลักการและเงือนไขการเชือดสัตว์ตามบทบัญญัติศาสนา
กรณีที่สอง จับได้ขณะที่มันตายไปแล้วซึ่งการตายของมันนั้นสาเหตุเกิดจากการล่า หรือมีชีวิตอยู่แต่ไม่สามารถที่จะอยู่ต่อได้ ซึ่งกรณีนี้อนุญาตให้กินได้ตามเงื่อนไขของการล่าสัตว์
เงื่อนไขของการล่าสัตว์ที่อนุมัติ
1. ผู้ล่าสัตว์นั้นต้องเป็นผู้ที่อนุมัติให้เชือดสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือชาวคัมภีร์ เป็นผู้ที่มีอายุได้บรรลุวัยของศาสนภาวะ (บาลิฆฺ) หรือเป็นผู้ที่รู้จักจำแนก (มุมัยยิซ)
2. เครื่องมือการล่าสัตว์ ซึ่งมีสองชนิด
หนึ่ง ของมีคมที่สามารถทำให้เกิดบาดแผลได้ ที่ไม่ใช่ฟันและเล็บ
สอง สัตว์ล่าเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือนก ซึ่งอนุญาตให้กินสัตว์ที่มันล่าได้ ถ้ามันได้รับการฝึกมา
3. การปล่อยสัตว์ล่าออกไล่ล่าเหยื่อไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือเหยี่ยว ต้องมีจุดประสงค์เพื่อให้มันล่าสัตว์
4. ขณะปล่อยสัตว์ล่าออกไล่ล่าเหยื่อหรือพุ่งอาวุธเข้าใส่ร่างของสัตว์ที่ล่าต้องเอ่ยนามของอัลลอฮฺ ถ้าไม่ได้เอ่ยนามของอัลลอฮฺเพราะลืมอนุญาตให้กินได้ แต่ถ้าหากมิได้เอ่ยนามโดยเจตนาไม่อนุญาตให้กิน
5. สัตว์ที่ถูกล่านั้นเป็นสัตว์ที่ศาสนบัญญัติอนุญาตให้ล่าได้ ดังนั้นสัตว์ที่ถูกล่าโดยผู้ครองอิหฺรอม(เพื่อประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ) หรือสัตว์ที่อยู่ในเขตหวงห้ามในนครมักกะฮฺไม่อนุญาตให้กินโดยการล่า
การเลี้ยงสุนัขเพื่อล่าสัตว์
ห้ามมิให้เลี้ยงสุนัข เพราะจะเป็นเหตุให้ผู้อื่นหวาดกลัว และเป็นเหตุกีดขวางมลาอิกะหฺมิให้เข้าบ้าน และเนื่องจากความสกปรกของมัน และในแต่ละวันผลบุญของผู้ที่เลี้ยงสุนัขจะลดลงสอง กีรอฏ(มาตราการชั่งประเภทหนึ่งของชาวอาหรับ) นอกจากเลี้ยงสุนัขไว้เพื่อล่าสัตว์หรือเพื่อเฝ้าสัตว์เลี้ยงหรือเพื่อให้มันเฝ้าพืชผล ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งอนุญาตเพราะความจำเป็น
เมื่อสุนัขได้ล่าสัตว์หรือคาบสัตว์ที่ล่ามาได้ด้วยปากของมัน ไม่จำเป็นที่เราต้องล้างสัตว์ที่ล่ามาได้นั้นเจ็ดครั้ง เพราะสัตว์ที่ล่าโดยสุนัขใช้หลักการ ตัยสีร (การอำนวยความสะดวก)ตามหลักบัญญัติทางศาสนา
เมื่อขว้างอาวุธ เช่น ไม้เท้าหรืออื่นๆ ที่คล้ายกันนั้น หากปลายของมันแทงไปที่ร่างสัตว์อนุญาตให้กิน แต่ถ้าหากมันตายเพราะโดนแรงกระแทกด้านข้างของมันก็ถือว่าเป็นสัตว์ที่ถูกตีตายซึ่งไม่อนุญาตให้กิน
การล่าสัตว์เพื่อความสนุก
การล่าสัตว์เป็นกีฬาหรือล่าโดยไร้ประโยชน์ อย่างเช่น ล่าแล้วทิ้งโดยมิได้ใช้ประโยชน์ใดๆจากมัน เป็นการกระทำที่ต้องห้าม เพราะเป็นการทำลายทรัพย์สินและทำร้ายชีวิตสัตว์โดยเปล่าประโยชน์
เลือดที่ไหลออกจากร่างนกหรือร่างสัตว์อื่นๆ ขณะที่ล่ามัน หรือตอนที่เชือดมันก่อนที่วิญญาณจะออกจากร่างของมัน ถือว่าเป็นสิ่งสกปรก(นะญิส) ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์
สัตว์ที่ถูกล่าด้วยเครื่องมือที่ขโมยหรือฉกชิงจากผู้อื่นถือว่า หะลาล แต่ผู้ล่าจะมีบาป
ไม่อนุญาตให้กินสัตว์ที่ถูกล่าหรือเชือดโดยผู้ที่ละทิ้งการละหมาดในทุกกรณีเพราะว่าเขาเป็นคนกาฟิร
การจับสัตว์เพื่อให้เด็กได้เลี้ยงดูเล่น
การล่าสัตว์หรือจับสัตว์เพื่อให้กับเด็กๆ ได้นำไปเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นสิ่งที่อนุมัติแต่ต้องติดตามดูแลอย่าให้เด็กๆ ทำร้ายมัน หรือไม่สนใจ หรือไม่ให้อาหารมัน
ห้ามมิให้แหย่ผู้อื่นที่บริสุทธิ์ด้วยอาวุธหรือของมีคม ไม่ว่าจะกระทำด้วยความจริงจังหรือล้อเล่น