×
รวมหลักฐานว่าด้วยมารยาทการเยี่ยมผู้ป่วย จากหนังสือ มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์

    มารยาทในการเยี่ยมคนไข้

    [ ไทย ]

    آداب عيادة المريض

    [ باللغة التايلاندية ]

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري

    แปลโดย: สุกรี นูร จงรักสัตย์

    ترجمة: شكري نور

    ตรวจทาน: อุษมาน อิดรีส

    مراجعة: عثمان إدريس

    จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1429 – 2008

    มารยาทในการเยี่ยมคนไข้

    คุณค่าของการเยี่ยมคนไข้

    1.มีรายงานจากเษาบานซึ่งเป็นคนรับใช้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

    « مَنْ عَادَ مَرِيضًا لَمْ يَزَلْ فِى خُرْفَةِ الْجَنَّةِ حَتَّى يَرْجِعَ ».

    ความว่า : “ผู้ใดเดินทางไปเยี่ยมคนไข้เขาจะคงอยู่ในสภาพของผู้ที่เก็บเกี่ยวผลพวงแห่งสรวงสวรรค์จนกว่าเขาจะเดินทางกลับ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2568)

    2.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

    « مَنْ عَادَ مَرِيضًا أَوْ زَارَ أَخًا لَهُ فِى اللَّهِ نَادَاهُ مُنَادٍ أَنْ طِبْتَ وَطَابَ مَمْشَاكَ وَتَبَوَّأْتَ مِنَ الْجَنَّةِ مَنْزِلاً ».

    ความว่า : “ผู้ใดไปเยี่ยมคนไข้หรือเยี่ยมเพื่อนคนหนึ่งในแนวทางของอัลลอฮฺ จะมีคนกู่เรียกเขาว่า “ท่านเป็นคนดีแล้ว การเดินทางของท่านดีแล้ว และท่านได้เตรียมบ้านในสวรรค์แล้ว" (หะสัน บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2008 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1633 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 1443 เศาะฮีหฺสุนันอิบนิมาญะฮฺ หมายเลข 1184)

    3.จากอะลี เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :

    سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُولُ « مَنْ أَتَى أَخَاهُ الْمُسْلِمَ عَائِدًا مَشَى فِى خِرَافَةِ الْجَنَّةِ حَتَّى يَجْلِسَ فَإِذَا جَلَسَ غَمَرَتْهُ الرَّحْمَةُ فَإِنْ كَانَ غُدْوَةً صَلَّى عَلَيْهِ سَبْعُونَ أَلْفَ مَلَكٍ حَتَّى يُمْسِىَ وَإِنْ كَانَ مَسَاءً صَلَّى عَلَيْهِ سَبْعُونَ أَلْفَ مَلَكٍ حَتَّى يُصْبِحَ ».

    ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดไปเยี่ยมเพื่อนมุสลิมของเขา เขาจะเดินท่ามกลางผลพวงที่พร้อมเก็บในสรวงสวรรค์จนกว่าเขาจะนั่งลง และเมื่อเขานั่งลงเราะฮฺมัต(ความเมตตาของอัลลอฮฺ)ก็จะปกคลุมเขา หากเขาไปในตอนเช้าเหล่ามะลาอิกะฮฺจำนวนเจ็ดหมื่นจะขออภัยโทษให้แก่เขาจนกระทั่งถึงเวลาเย็น และหากเขาไปในเวลาค่ำเหล่ามะลาอิกะฮฺจำนวนเจ็ดหมื่นจะขออภัยโทษให้แก่เขาจนกระทั่งถึงเวลาเช้า” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 3098 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2655 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺตามสำนวนนี้ หมายเลข 1442 เศาะฮีหฺสุนันอิบนิมาญะฮฺ หมายเลข 1183)

    หุกุม (กฎ) ของการเยี่ยมคนไข้

    จากอัลบัรรออ์ บินอาซิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :

    أَمَرَنَا النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - بِسَبْعٍ، وَنَهَانَا عَنْ سَبْعٍ أَمَرَنَا بِاتِّبَاعِ الْجَنَائِزِ، وَعِيَادَةِ الْمَرِيضِ، وَإِجَابَةِ الدَّاعِى، وَنَصْرِ الْمَظْلُومِ، وَإِبْرَارِ الْقَسَمِ، وَرَدِّ السَّلاَمِ، وَتَشْمِيتِ الْعَاطِسِ. وَنَهَانَا عَنْ آنِيَةِ الْفِضَّةِ، وَخَاتَمِ الذَّهَبِ، وَالْحَرِيرِ، وَالدِّيبَاجِ، وَالْقَسِّىِّ، وَالإِسْتَبْرَقِ

    ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สั่งให้เราทำเจ็ดอย่าง และห้ามไม่ให้เราทำเจ็ดอย่าง สั่งให้เราตามส่งศพไปสู่กุโบร์ ให้เยี่ยมผู้ป่วย ให้ตอบรับผู้เชิญชวน ให้ช่วยเหลือผู้ถูกกลั่นแกล้ง(ถูกอธรรม) ให้ทำตามที่สาบาน ให้กล่าวตอบสลาม และให้ขอดุอาให้แก่ผู้จาม และท่านได้ห้ามเราไม่ให้ใช้ภาชนะเงิน แหวนทอง ผ้าไหมหยาบ ผ้าไหมบริสุทธิ์ ผ้าก็อซซี่ (คือผ้าชนิดหนึ่งที่ปนกับไหม) และผ้าอิสติบร็อก(ผ้าชนิดหนึ่งที่มีไหมปนอยู่). (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 1239 และมุสลิม หมายเลข 2066)

    คำที่ควรกล่าวเมื่อเห็นผู้ตกทุกข์

    มีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

    « من رأى مبتلى فقال : الحَمْدُ للهِ الَّذِي عَافَانِي مِمَّا ابْتَلاَكَ بِهِ، وَفَضَّلَنِي عَلَى كَثِيرٍ مِمَّنْ خَلَقَ نَفْضِيلاً؛ لَمْ يُصِبْهُ ذلِكَ البَلاءُ ».

    ความว่า : “ผู้ใดเห็นคนตกทุกข์(ประสบกับบททดสอบเช่นเป็นโรค พิการ หรืออื่นๆ) แล้วกล่าวว่า

    الحَمْدُ للهِ الَّذِي عَافَانِي مِمَّا ابْتَلاَكَ بِهِ، وَفَضَّلَنِي عَلَى كَثِيرٍ مِمَّنْ خَلَقَ نَفْضِيلاً

    (แปลว่า ขอขอบคุณอัลลอฮฺที่ทรงให้ฉันเป็นสุขจากสิ่งที่ท่านประสบและทรงให้ความเป็นพิเศษอย่างเหลือล้นแก่ฉันมากกว่าหลายสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง) ทุกข์นั้นก็จะไม่ตกถึงเขา” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลเฏาะบาเราะนีย์ ในอัลเอาส็อฏ หมายเลข 5320 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 2737)

    ผู้เยี่ยมผู้ป่วยควรนั่งตรงไหน ?

    จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า :

    كان النبيُّ - صلى الله عليه وسلم - إذا عادَ المَرِيضَ جَلَسَ عِنْدَ رَأْسِهِ

    ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านเยี่ยมผู้ป่วยท่านจะนั่งตรงศีรษะของเขา (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ในอัลอะดับอัลมุฟรัด หมายเลข 546 เศาะฮีหฺอัลอะดับอัลมุฟรัด หมายเลข 416)

    ดุอาที่ควรขอให้แก่ผู้ป่วยในตอนไปเยี่ยมเขา

    1.มีรายงานจากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

    « مَنْ عَادَ مَرِيضًا لَمْ يَحْضُرْ أَجَلُهُ فَقَالَ عِنْدَهُ سَبْعَ مِرَارٍ: أَسْأَلُ اللَّهَ الْعَظِيمَ، رَبَّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ، أَنْ يَشْفِيَكَ؛ إِلاَّ عَافَاهُ اللَّهُ مِنْ ذَلِكَ الْمَرَضِ ».

    ความว่า : “ผู้ใดไปเยี่ยมผู้ป่วยที่คาดว่าชะตาของเขายังไม่ถึงคาด แล้วกล่าวใกล้ตัวเขาเจ็ดครั้งว่า

    أَسْأَلُ اللَّهَ الْعَظِيمَ، رَبَّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ، أَنْ يَشْفِيَكَ

    (แปลว่า ฉันขอจากอัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นเจ้าบัลลังอันยิ่งใหญ่โปรดให้ท่านฟื้นจากไข้) อัลลอฮฺก็จะให้เขาหายจากโรคนั้น (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3106 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2663 และบันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2083 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1698)

    2.มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

    « إِذَا جَاءَ الرَّجُلُ يَعُودُ مَرِيضًا فَلْيَقُلِ: اللَّهُمَّ اشْفِ عَبْدَكَ يَنْكَأُ لَكَ عَدُوًّا، أَوْ يَمْشِى لَكَ إِلَى صَلاَةٍ ».

    ความว่า : “เมื่อชายคนหนึ่งไปเยี่ยมผู้ป่วย เขาจงกล่าวว่า

    اللَّهُمَّ اشْفِ عَبْدَكَ يَنْكَأُ لَكَ عَدُوًّا، أَوْ يَمْشِى لَكَ إِلَى صَلاَةٍ

    (แปลว่า โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ขอโปรดทรงทำให้บ่าวของพระองค์ฟื้นจากไข้เพื่อเขาจะได้เอาชนะศัตรูเพื่อพระองค์ หรือเดินไปละหมาดเพื่อพระองค์) (หะสัน บันทึกโดยอะหมัด หมายเลข 6600 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหะฮฺ หมายเลข 1365 และบันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3107 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2664 )

    3.มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่า :

    أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ إِذَا أَتَى مَرِيضًا - أَوْ أُتِىَ بِهِ - قَالَ « أَذْهِبِ الْبَأسَ رَبَّ النَّاسِ ، اشْفِ وَأَنْتَ الشَّافِى لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ ، شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا »

    ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านไปเยี่ยมคนไข้ หรือมีคนพาคนไข้ไปหาท่าน ท่านจะกล่าวว่า

    أَذْهِبِ الْبَأسَ رَبَّ النَّاسِ ، اشْفِ وَأَنْتَ الشَّافِى لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ ، شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا

    (แปลว่า ขอโปรดทรงรักษาไข้ให้หายด้วยเถิดโอ้พระผู้อภิบาลของมนุษย์ ! ขอโปรดทรงรักษาไข้ด้วยเถิด เพราะพระองค์คือผู้รักษา ไม่มีการหายป่วยนอกจากด้วยการรักษาของพระองค์ เป็นการหายป่วยที่ไม่ปล่อยทิ้งโรคข้างเคียงใดๆ ตามมา(หรือเมื่อเป็นโรคอีกอัลลอฮฺก็จะทรงให้หายอีก) ) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5675 และมุสลิม หมายเลข 2191)

    4.จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า :

    :... وَكَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - إِذَا دَخَلَ عَلَى مَرِيضٍ يَعُودُهُ قَالَ « لاَ بَأْسَ طَهُورٌ إِنْ شَاءَ اللَّهُ »

    ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ท่านจะกล่าวว่า

    لاَ بَأْسَ طَهُورٌ إِنْ شَاءَ اللَّهُ

    (แปลว่า ไม่เป็นไรแล้ว (ไม่มีบาปแล้ว) หายแล้ว (มันได้ชำระล้างบาปแล้ว) อินชาอัลลอฮฺ) (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 3616)

    ผู้หญิงเยี่ยมผู้ป่วยชายได้เมื่อปลอดจากฟิตนะฮฺ

    จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า :

    لَمَّا قَدِمَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - وُعِكَ أَبُو بَكْرٍ وَبِلاَلٌ قَالَتْ فَدَخَلْتُ عَلَيْهِمَا فَقُلْتُ يَا أَبَتِ كَيْفَ تَجِدُكَ ؟ وَيَا بِلاَلُ كَيْفَ تَجِدُكَ ؟...قَالَتْ عَائِشَةُ فَجِئْتُ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - فَأَخْبَرْتُهُ فَقَالَ «اللَّهُمَّ حَبِّبْ إِلَيْنَا الْمَدِينَةَ كَحُبِّنَا مَكَّةَ أَوْ أَشَدَّ وَصَحِّحْهَا وَبَارِكْ لَنَا فِى صَاعِهَا وَمُدِّهَا وَانْقُلْ حُمَّاهَا فَاجْعَلْهَا بِالْجُحْفَةِ » .

    ความว่า : เมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไปถึงยังมะดีนะฮฺใหม่ ๆ นั้น อบูบักรฺและบิลาลได้ป่วย นางเล่าต่อว่า ฉันจึงเข้าหาทั้งสองและถามว่า โอ้ท่านพ่อ ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง ? โอ้ท่านบิลาล ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง ? ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าต่อว่า แล้วฉันเลยไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺและเล่าเรื่องความป่วยของทั้งสองแก่ท่าน ท่านจึงกล่าวว่า “โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ! ขอโปรดทรงให้เรารักเมืองมะดีนะฮฺเหมือนความรักของเราที่มีต่อเมืองมักกะฮฺหรือมากกว่านั้น โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ! ขอโปรดทรงประทานพลานามัยที่ดี โปรดทรงประทานความจำเริญให้แก่เราในกอบกำและทะนาน (การค้าขาย) ของมัน (เมืองมะดีนะฮฺ) และขอโปรดทรงย้ายโรคภัยของมันออกไปอยู่ที่ญุหฺฟะฮฺ” (ญุหฺฟะฮฺ คือ สถานที่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองมักกะฮฺราวหกไมล์ เป็นมีก้อตหรือสถานที่เริ่มต้นประกอบอุมเราะฮฺสำหรับชาวชาม (ซีเรีย จอร์แดน เลบานอน ปาเลสไตน์) และเป็นสถานที่ที่มีกิตติศัพท์ในด้านโรคภัยไข้เจ็บซึ่งทุกคนที่ผ่านที่นั่นส่วนใหญ่จะป่วยเป็นไข้ - ดู ฟัตหุลบารีย์ ในการอธิบายหะดีษที่ 1524 – ผู้แปล) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5654 และมุสลิม หมายเลข 1376)

    การเยี่ยมคนมุชริก (ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม)

    จากอนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :

    كَانَ غُلاَمٌ يَهُودِىٌّ يَخْدُمُ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - فَمَرِضَ ، فَأَتَاهُ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - يَعُودُهُ، فَقَعَدَ عِنْدَ رَأْسِهِ فَقَالَ لَهُ « أَسْلِمْ » . فَنَظَرَ إِلَى أَبِيهِ وَهْوَ عِنْدَهُ فَقَالَ لَهُ أَطِعْ أَبَا الْقَاسِمِ - صلى الله عليه وسلم - . فَأَسْلَمَ ، فَخَرَجَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - وَهْوَ يَقُولُ « الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِى أَنْقَذَهُ مِنَ النَّارِ »

    ความว่า : มีเด็กชายชาวยิวคนหนึ่งที่รับใช้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ป่วยลง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงไปเยี่ยมเขา ซึ่งท่านได้นั่งลงตรงศีรษะของเขาและกล่าวกับเขาว่า “จงรับอิสลามเถิด” เขาเลยจ้องมองบิดาซึ่งอยู่ใกล้ ๆเขา (เพื่อขอความเห็นจากบิดา) แล้วบิดาของเขาก็กล่าวว่า “เจ้าจงเชื่อฟังอบูลกอซิม(หมายถึงท่านนบี) ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมเถอะ” เขาจึงเข้ารับอิสลาม แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ออกมาพร้อมกับกล่าวว่า “ขอบคุณอัลลอฮฺ ผู้ทรงกู้เขาให้รอดพ้นจากไฟนรก” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1356)

    การเป่าตัวผู้ป่วย

    มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่า :

    أَنَّ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ يَنْفُثُ عَلَى نَفْسِهِ فِى الْمَرَضِ الَّذِى مَاتَ فِيهِ بِالْمُعَوِّذَاتِ ، فَلَمَّا ثَقُلَ كُنْتُ أَنْفِثُ عَلَيْهِ بِهِنَّ، وَأَمْسَحُ بِيَدِ نَفْسِهِ لِبَرَكَتِهَا.

    ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เป่าตัวของท่านด้วยอัลมุเอามิซาต(อัลมุเอามิซาต คือ สูเราะฮฺอัลฟะลัก และสูเราะฮฺอันนาส ซึ่งเป็นสองสูเราะฮฺสุดท้ายของอัลกุรอาน บางท่านกล่าวว่ารวมสูเราะฮฺ อัลอิคลาศ อีกหนึ่งสูเราะฮฺด้วยซึ่งเป็นความเห็นที่อิบนุ หะญัรรับรอง - ดู ฟัตหุลบารีย์) ในการป่วยครั้งที่ท่านเสียชีวิตลงซึ่งเมื่ออาการป่วยของท่านหนักขึ้นฉันจึงใช้มันเป่าลงบนตัวท่านและฉันใช้มือท่านลูบตัวท่านเอง เพราะความบะเราะกะฮฺของมือท่าน (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5735 และมุสลิม หมายเลข 2192)

    การแนะนำผู้ป่วยในสิ่งเป็นประโยชน์

    1.มีรายงานจากอุสมาน บินอบิลอาศ อัซซะเกาะฟียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า:

    أَنَّهُ شَكَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- وَجَعًا يَجِدُهُ فِى جَسَدِهِ مُنْذُ أَسْلَمَ. فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « ضَعْ يَدَكَ عَلَى الَّذِى تَأَلَّمَ مِنْ جَسَدِكَ وَقُلْ بِاسْمِ اللَّهِ. ثَلاَثًا. وَقُلْ سَبْعَ مَرَّاتٍ أَعُوذُ بِاللَّهِ وَقُدْرَتِهِ مِنْ شَرِّ مَا أَجِدُ وَأُحَاذِرُ ».

    ความว่า : เขาได้ระบายต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถึงความเจ็บปวดที่เกิดในตัวของเขานับตั้งแต่เข้ารับอิสลาม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงบอกกับเขาว่า “ท่านจงเอามือวางลงบนอวัยวะส่วนที่เจ็บปวดของร่างกายและกล่าวว่า “บิสมิลลาฮฺ” สามครั้ง และกล่าวว่า

    أَعُوذُ بِاللَّهِ وَقُدْرَتِهِ مِنْ شَرِّ مَا أَجِدُ وَأُحَاذِرُ

    (แปลว่า ฉันขอความคุ้มครองด้วยอัลลอฮฺและความสามารถของพระองค์จากพิษภัยที่ฉันพานพบและหวาดกลัว) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2202)

    2.มีรายงานจากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

    « الشِّفَاءُ فِى ثَلاَثَةٍ شَرْطَةِ مِحْجَمٍ، أَوْ شَرْبَةِ عَسَلٍ ، أَوْ كَيَّةٍ بِنَارٍ ، وَأَنْهَى أُمَّتِى عَنِ الْكَىِّ »

    ความว่า : “การบำบัดรักษานั้นมีอยู่สามวิธี คือ การเอาเลือดออก(กรอกเลือด) การดื่มน้ำผึ้ง หรือการประคบด้วยไฟ และฉันขอห้ามประชาชาติของฉันไม่ให้ใช้วิธีประคบไฟ (การที่ท่านนบีบอกถึงวิธีการรักษาด้วยการใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อโรคแต่ท่านห้ามนั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าสิ่งดังกล่าวเป็นที่อนุมัติเฉพาะเท่าที่จำเป็น เช่นการฉายแสงเลเซอร์ที่ใช้ในวงการแพทย์ในสมัยปัจจุบัน ดู ฟัตหุลบารีย์ในคำอธิบายหะดีษนี้ - ผู้แปล) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5681 และมุสลิม หมายเลข 2205)

    3.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าเขาได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า :

    « إِنَّ فِى الْحَبَّةِ السَّوْدَاءِ شِفَاءً مِنْ كُلِّ دَاءٍ إِلاَّ السَّامَ ». .

    ความว่า : “แท้จริงในเมล็ดอัลหับบะตุสเสาดาอ์(เมล็ดยี่หร่าดำ) นั้นมียารักษาสำหรับทุกโรคยกเว้นความตาย” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5688 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2215)

    4.จากอุมมุรอฟิอฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา คนรับใช้ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เล่าว่า :

    كَانَ لاَ يُصِيبُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- قَرْحَةٌ وَلاَ شَوْكَةٌ إِلاَّ وَضَعَ عَلَيْهِ الْحِنَّاءَ.

    ความว่า : “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ทุกครั้งที่ได้รับบาดแผลหรือโดนหนามตำท่านจะทาด้วยอัลหินนาอ์(อัลหินนาอ์ (al-Henna) คือ พืชที่ใช้ย้อมผมหรือเล็บให้เป็นสีแดง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีโดยเฉพาะในหมู่ผู้หญิง – ผู้แปล) (หะสัน บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2054 เศาะฮีหสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1676 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺตามสำนวนนี้ หมายเลข 3502 เศาะฮีหฺสุนันอิบนิมาญะฮฺ หมายเลข 2821)

    คำที่ควรกล่าวกับผู้ป่วยหรือผู้ตาย

    1.มีรายงานจากอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า:

    « إِذَا حَضَرْتُمُ الْمَرِيضَ أَوِ الْمَيِّتَ فَقُولُوا خَيْرًا فَإِنَّ الْمَلاَئِكَةَ يُؤَمِّنُونَ عَلَى مَا تَقُولُونَ ». قَالَتْ فَلَمَّا مَاتَ أَبُو سَلَمَةَ أَتَيْتُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- فَقُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّ أَبَا سَلَمَةَ قَدْ مَاتَ قَالَ « قُولِى اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِى وَلَهُ وَأَعْقِبْنِى مِنْهُ عُقْبَى حَسَنَةً ». قَالَتْ فَقُلْتُ فَأَعْقَبَنِى اللَّهُ مَنْ هُوَ خَيْرٌ لِى مِنْهُ مُحَمَّدًا -صلى الله عليه وسلم-.

    ความว่า : “เมื่อพวกท่านไปเยี่ยมผู้ป่วยหรือคนตายก็จงกล่าวแต่สิ่งดี ๆ เพราะมะลาอิกะฮฺจะกล่าว”อามีน” ต่อสิ่งที่พวกท่านได้กล่าวไว้” (อามีน แปลว่า โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ขอโปรดทรงตอบรับ ซึ่งการกล่าวอามีนของมะลาอิกะฮฺต่อคำพูดหรือคำขอใด ๆ จะทำให้คำขอนั้น ๆ ถูกตอบรับโดยง่าย) นางเล่าต่อว่า ครั้น เมื่ออบูสะละมะฮฺ (สามีของนาง) เสียชีวิตลงฉันก็ได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺและพูดว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ อบูสะละมะฮฺได้สิ้นชีวิตแล้ว ท่านเลยกล่าวว่า เธอจงกล่าวซิว่า

    اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِى وَلَهُ وَأَعْقِبْنِى مِنْهُ عُقْبَى حَسَنَةً

    (แปลว่า โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ขอโปรดทรงประทานอภัยให้แก่ฉันและเขา และให้ฉันมีปลายทางที่ดีหลังจากเขา) นางเล่าว่า “แล้วอัลลอฮฺก็ทดแทนคนที่ดีกว่าเขาให้แก่ฉันนั้น นั่นคือมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 919)

    2.จากอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า :

    دَخَلَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلَى أَبِى سَلَمَةَ وَقَدْ شَقَّ بَصَرُهُ فَأَغْمَضَهُ ثُمَّ قَالَ «إِنَّ الرُّوحَ إِذَا قُبِضَ تَبِعَهُ الْبَصَرُ ». فَضَجَّ نَاسٌ مِنْ أَهْلِهِ فَقَالَ «لاَ تَدْعُوا عَلَى أَنْفُسِكُمْ إِلاَّ بِخَيْرٍ فَإِنَّ الْمَلاَئِكَةَ يُؤَمِّنُونَ عَلَى مَا تَقُولُونَ ». ثُمَّ قَالَ «اللَّهُمَّ اغْفِرْ لأَبِى سَلَمَةَ وَارْفَعْ دَرَجَتَهُ فِى الْمَهْدِيِّينَ وَاخْلُفْهُ فِى عَقِبِهِ فِى الْغَابِرِينَ وَاغْفِرْ لَنَا وَلَهُ يَا رَبَّ الْعَالَمِينَ وَافْسَحْ لَهُ فِى قَبْرِهِ. وَنَوِّرْ لَهُ فِيهِ».

    ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เข้าหาอบีสะละมะฮฺในสภาพที่ดวงตาของเขาได้เบิกค้าง ท่านจึงลูบมันให้ปิดลงแล้วกล่าวว่า “ดวงวิญญาณนั้น เมื่อมันถูกจับ (สิ้นชีวิต) ดวงตาก็จะมองตาม” แล้วคนในครอบครัวของเขาคนหนึ่งก็ตะโกนครวญคราง ท่านเลยกล่าวว่า “จงอย่ากล่าวขอสิ่งใดให้เกิดกับตัวพวกท่านนอกจากสิ่งดี ๆ เพราะเหล่ามะลาอิกะฮฺจะกล่าว ”อามีน” ต่อสิ่งที่พวกท่านกล่าว” หลังจากนั้นท่านก็ได้ขอดุอาว่า

    اللَّهُمَّ اغْفِرْ لأَبِى سَلَمَةَ وَارْفَعْ دَرَجَتَهُ فِى الْمَهْدِيِّينَ، وَاخْلُفْهُ فِى عَقِبِهِ فِى الْغَابِرِينَ، وَاغْفِرْ لَنَا وَلَهُ يَا رَبَّ الْعَالَمِينَ، وَافْسَحْ لَهُ فِى قَبْرِهِ، وَنَوِّرْ لَهُ فِيهِ

    (แปลว่า โอ้พระองค์อัลลอฮฺ !ขอโปรดทรงประทานอภัยให้แก่อบีสะละมะฮฺ (เมื่อเราต้องการจะขอดุอาให้แก่ผู้ตายคนใดก็ให้เปลี่ยนชื่อจากอบีสะละมะฮฺให้เป็นชื่อคนตายที่เราต้องการ- ผู้แปล) โปรดทรงเลื่อนตำแหน่งของเขาให้อยู่ในกลุ่มผู้ได้รับทางนำ โปรดทรงสืบทอดทายาทของเขาให้อยู่ในหมู่คนที่หลงเหลือ โปรดทรงประทานอภัยแก่พวกเราและแก่เขาเถิดโอ้พระเจ้าแห่งสากลโลก และโปรดทรงขยายหลุมศพให้กว้างขวางและทำมันให้สว่างไสวสำหรับเขา) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 920)

    การจุมพิตคนตาย

    มีรายงานจากอิบนุอับบาสและท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม ว่า:

    أَنَّ أَبَا بَكْرٍ - رضى الله عنه - قَبَّلَ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - وَهْوَ مَيِّتٌ .

    ความว่า : อบูบักรฺได้จุมพิตท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ขณะที่ท่านได้เสียชีวิตลงแล้ว (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5709)

    การปัดเป่าผู้ป่วย

    1.มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่า:

    أَنَّ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ يُعَوِّذُ بَعْضَ أَهْلِهِ، يَمْسَحُ بِيَدِهِ الْيُمْنَى وَيَقُولُ «اللَّهُمَّ رَبَّ النَّاسِ أَذْهِبِ الْبَأْسَ، وَاشْفِهِ وَأَنْتَ الشَّافِى، لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ، شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا» . ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปัดเป่าคนในครอบครัวบางคนโดยท่านจะเอามือขวาลูบพร้อมกล่าวว่า

    اللَّهُمَّ رَبَّ النَّاسِ أَذْهِبِ الْبَأْسَ، وَاشْفِهِ وَأَنْتَ الشَّافِى، لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ، شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا

    (แปลว่า โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ! โอ้พระเจ้าของมนุษย์ ! ขอโปรดทรงให้ป่วยหายไปและโปรดทรงรักษาเขาด้วยเถิดเพราะพระองค์คือผู้รักษา ไม่มีการหายป่วยนอกจากด้วยการรักษาของพระองค์ เป็นการหายป่วยที่ไม่ทิ้งโรคข้างเคียงใด ๆ ตามมา (หรือเมื่อเป็นโรคอีกอัลลอฮฺก็จะทรงให้หายอีก)) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5743 และมุสลิม หมายเลข 2191)

    2.จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า :

    كَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - يَقُولُ فِى الرُّقْيَةِ « بسم اللهِ، تُرْبَةُ أَرْضِنَا، وَرِيقَةُ بَعْضِنَا، يُشْفَى سَقِيمُنَا، بِإِذْنِ رَبِّنَا»

    ความว่า : ท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวในตอนปัดเป่าว่า

    بسم اللهِ تُرْبَةُ أَرْضِنَا، وَرِيقَةُ بَعْضِنَا، يُشْفَى سَقِيمُنَا، بِإِذْنِ رَبِّنَا

    (แปลว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ นี่คือผงดินของแผ่นดินเราและน้ำลายของบางคนของเรา ทำให้การเจ็บปวดได้หายไป ด้วยการอนุมัติจากพระผู้อภิบาลของเรา)

    วิธีทำ : ให้เอานิ้วชี้จิ้มน้ำลายของตัวเองแล้ววางลงบนดิน จากนั้นนำผงดินที่ติดมากับนิ้วมาทาบาดแผลหรืออวัยวะส่วนที่เจ็บ โดยกล่าวดุอานี้ในขณะที่ทา (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5746 และมุสลิม หมายเลข 2194)

    3.มีรายงานจากอบีสะอีด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :

    أَنَّ جِبْرِيلَ أَتَى النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ يَا مُحَمَّدُ اشْتَكَيْتَ فَقَالَ « نَعَمْ ». قَالَ بِاسْمِ اللَّهِ أَرْقِيكَ مِنْ كُلِّ شَىْءٍ يُؤْذِيكَ مِنْ شَرِّ كُلِّ نَفْسٍ أَوْ عَيْنِ حَاسِدٍ، اللَّهُ يَشْفِيكَ بِاسْمِ اللَّهِ أَرْقِيكَ.

    ความว่า : มะลาอิกะฮฺญิบรีลได้ไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “โอ้มุหัมมัด ท่านเจ็บหรือ ?” ท่านตอบว่า “ใช่” เขาจึงกล่าวว่า

    ِاسْمِ اللَّهِ أَرْقِيكَ مِنْ كُلِّ شَىْءٍ يُؤْذِيكَ مِنْ شَرِّ كُلِّ نَفْسٍ أَوْ عَيْنِ حَاسِدٍ، اللَّهُ يَشْفِيكَ بِاسْمِ اللَّهِ أَرْقِيكَ

    (แปลว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺฉันขอปัดเป่าท่าน จากทุกสิ่งที่รังควาญท่าน จากความชั่วร้ายของทุกชีวิตหรือดวงตาผู้อิจฉา อัลลอฮฺจะบำบัดรักษาท่าน ด้วยพระนามของอัลลอฮฺฉันขอปัดเป่าท่าน) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2186)

    ข้อควรปฏิบัติสำหรับมุสลิมเมื่อเกิดโรคห่า

    มีรายงานจากอุสามะฮฺ บินซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า :

    « الطَّاعُونُ رِجْسٌ أُرْسِلَ عَلَى طَائِفَةٍ مِنْ بَنِى إِسْرَائِيلَ أَوْ عَلَى مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ ، فَإِذَا سَمِعْتُمْ بِهِ بِأَرْضٍ فَلاَ تَقْدَمُوا عَلَيْهِ ، وَإِذَا وَقَعَ بِأَرْضٍ وَأَنْتُمْ بِهَا فَلاَ تَخْرُجُوا فِرَارًا مِنْهُ »

    ความว่า : “โรคห่านั้น คือ สิ่งสกปรกที่ถูกส่งมายังชาวอิสรออีลกลุ่มหนึ่งหรือแก่คนก่อนหน้าพวกท่าน ดังนั้นเมื่อพวกท่านได้ยินข่าวคราวการเกิดขึ้นของมัน ณ แผ่นดินใดก็จงอย่าเข้าไปที่นั่น และเมื่อมันเกิด ณ แผ่นดินที่พวกท่านพำนักอยู่ก็จงอย่าเดินทางออกจากที่นั่นเพื่อที่จะหลีกหนีให้พ้นจากมัน” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3473 และมุสลิม หมายเลข 2218)