×
ชัยคฺครับ, ท่านได้กล่าวถึงความหมายของซะกาตทางภาษาและทางวิชาการ ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายทั้งสอง และต่อจากนั้น ท่านได้พูดถึงประโยชน์ของซะกาตต่อปัจเจกบุคคล ในเมื่อเราได้ทราบถึงประโยชน์ของซะกาตที่มีต่อปัจเจกบุคคลแล้ว จึงอยากทราบว่าซะกาตมีประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจอิสลามอย่างไรบ้าง ฟัตวาตอบโดยชัยคฺชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน จากหนังสือ “ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต”

    ประโยชน์ของซะกาตต่อสังคมและเศรษฐกิจ

    آثار الزكاة على المجتمع والاقتصاد

    < تايلانديไทย – Thai - >

    มุหัมมัด บิน ศอลิหฺอัล-อุษัยมีน

    محمد بن صالح العثيمين

    —™

    ผู้แปล:ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ผู้ตรวจทาน:อุษมาน อิดรีส

    ترجمة: فيصل عبد الهادي

    مراجعة: عثمان إدريس

    ประโยชน์ของซะกาตต่อสังคมและเศรษฐกิจ

    คำถาม (112): ชัยคฺครับ, ท่านได้กล่าวถึงความหมายของซะกาตทางภาษาและทางวิชาการ ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายทั้งสอง และต่อจากนั้น ท่านได้พูดถึงประโยชน์ของซะกาตต่อปัจเจกบุคคล ในเมื่อเราได้ทราบถึงประโยชน์ของซะกาตที่มีต่อปัจเจกบุคคลแล้ว จึงอยากทราบว่าซะกาตมีประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจอิสลามอย่างไรบ้าง?

    ตอบ: ประโยชน์ของซะกาตต่อสังคมและเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน เพราะซะกาตเป็นความเอื้อาทรต่อคนยากจนและเป็นการสร้างประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของกลุ่มผู้มีสิทธิ์รับซะกาต

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِلْفُقَرَاءِ وَالْمَسَاكِينِ وَالْعَامِلِينَ عَلَيْهَا وَالْمُؤَلَّفَةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي الرِّقَابِ وَالْغَارِمِينَ وَفِي سَبِيلِ اللَّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ﴾ [التوبة : 60]

    “แท้จริงซะกาตนั้นจำเป็นต้องแจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้ยากจน ผู้ขัดสน เจ้าหน้าที่บริหารซะกาต ผู้ที่ต้องการโน้มน้าวจิตใจของเขา การไถ่ทาส ผู้มีหนี้สินล้นตัว ผู้ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ และผู้เดินทาง" [อัต-เตาบะฮฺ 60]

    กลุ่มผู้มีสิทธิ์รับซะกาตทั้ง 8 จำพวกดังกล่าว บางคนรับซะกาตเพื่อสนองความจำเป็นของตัวเอง และบางคนรับซะกาตเพื่อสนองความจำเป็นของชาวมุสลิมที่ต้องอาศัยความช่วยเหลือของเขา ในกรณีของคนยากจน ผู้ขัดสน ผู้มีหนี้สินล้นตัว คนเดินทางที่ขาดเสบียง และการไถ่ทาส พวกเขาเหล่านี้รับซะกาตเพื่อขจัดความจำเป็นของพวกเขาเอง และบางคนรับซะกาตเนื่องจากความจำเป็นของบุคคลอื่นที่ต้องอาศัยความเชื่อเหลือของพวกเขา เช่น บรรดาผู้มีหนี้สินล้นตัวเนื่องจากการการใช้ทรัพย์สินของตนเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างสองฝ่ายที่ทะเลาะกันให้กลับมาคืนดี เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่บริหารซะกาต และบรรดาผู้ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ

    เมื่อเราทราบแล้วว่า การจ่ายซะกาตให้แก่กลุ่มบุคคลทั้ง 8 จำพวกดังกล่าว มีผลทำให้สามารถขจัดความจำเป็นและความเดือดร้อนแก่ผู้รับซะกาตเป็นการเฉพาะ และเป็นการขจัดความจำเป็นทั่วไปของบรรดามุสลิม เราจึงทราบได้ว่าซะกาตเป็นประโยชน์ต่อสังคมขนาดไหน

    ส่วนประโยชน์ในทางเศรษฐกิจนั้น ซะกาตเป็นการกระจายความมั่งคั่งทางทรัพย์สินระหว่างคนรวยกับคนจน ด้วยการรับเอาทรัพย์สินของคนรวยในปริมาณที่กำหนดเพื่อแบ่งปันแก่คนจน ซึ่งเป็นการกระจายความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมทับถมของทรัพย์สินคนรวย ในขณะที่คนจนต้องเผชิญกับความทุกข์ยากและขัดสน

    และซะกาตยังทำให้สังคมเกิดความดีงามด้านการสร้างจิตใจให้มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน เพราะเมื่อคนจนได้เห็นคนรวยให้ความช่วยเหลือด้วยทรัพย์สินแก่พวกเขา และบริจาคซะกาตแก่พวกเขาโดยไม่จำเป็นต้องมีค่าตอบแทนใดๆ เนื่องจากซะกาตเป็นข้อบังคับของอัลลอฮฺที่พวกเขาจำเป็นต้องปฏิบัติ ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่า บรรดาคนจนเหล่านั้นต้องรู้สึกชอบใจคนรวยและมีความรู้สึกที่ดีต่อพวกเขา และหวังการบริจาคและเสียสละของคนรวย ซึ่งต่างกันมากถ้าหากคนรวยมีความตระหนี่ถี่เหนียวโดยไม่ยอมจ่ายซะกาตและหวงแหนทรัพย์สิน เพราะพฤติกรรมดังกล่าวบางทีอาจจะทำให้คนจนเกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์และเคียดแค้นต่อคนรวย

    อัลลอฮฺได้ตรัสถึงประเด็นนี้ ในตอนท้ายของอายะฮฺที่กล่าวถึงกลุ่มผู้มีสิทธิ์รับซะกาตว่า

    ﴿فَرِيضَةً مِنَ اللَّهِ وَاللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ﴾ [البقرة : 60]

    (ซะกาต) เป็นข้อบังคับจากอัลลอฮฺ และพระองค์ทรงรอบรู้ ทรงปรีชาญาณ" [อัล-บะเกาะเราะฮฺ 60]