เป้าหมายของการสร้างมนุษย์
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
เป้าหมายของการสร้างมนุษย์
الغاية من خلق البشر
< تايلانديไทย – Thai - >
มุฮัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน
محمد بن صالح العثيمين
ผู้แปล: แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ผู้ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ترجمة: وي محمد صبري وي يعقوب
مراجعة: فيصل عبد الهادي
เป้าหมายของการสร้างมนุษย์
คำถามที่ 1 : ท่านชัยคฺที่เคารพ อะไรคือเป้าหมายของการสร้างมนุษย์ ?
คำตอบ : ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา กรุณาปรานียิ่ง การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ข้าพเจ้าขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขปลอดภัยจงมีแด่ท่านนบีของเรานั่นคือมุฮัมมัด และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกท่าน อนึ่ง ก่อนที่ข้าพเจ้าจะตอบคำถามนี้ ข้าพเจ้าขอชี้แจงหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ได้หยิบยกมาจากคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะ วะตะอาลา ที่ว่า
﴿ وَهُوَ ٱلۡعَلِيمُ ٱلۡحَكِيمُ ٢ ﴾ [التحريم: ٢]
ความว่า “และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ" (สูเราะฮฺอัต-ตะหฺรีม : 2)
และคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلِيمًا حَكِيمٗا ١ ﴾ [الأحزاب : ١]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ" (สูเราะฮฺอัล-อะหฺซาบ : 1)
และอายะฮฺอื่นๆ จากนี้ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งบ่งชี้ว่าอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ ทรงมีเหตุผล (หิกมะฮฺ) อย่างแน่นอนในการสร้างสรรค์และบัญญัติหลักการต่างๆ ของพระองค์ กล่าวคือมีเหตุผลในการสร้างสรรค์สรรพสิ่งและบทบัญญัติต่างๆ ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดที่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ ทรงสร้างเว้นแต่มันจะมีเหตุผลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้มันมีขึ้นหรือเป็นสิ่งที่ทำให้มันสูญสิ้นไป และไม่มีบทบัญญัติใดที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ทรงบัญญัติขึ้นมาเว้นแต่มันจะมีเหตุผลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบังคับ (วาญิบ) หรือทรงห้าม (หะรอม) หรือสิ่งที่พระองค์ทรงอนุญาต (มุบาหฺ) ให้ปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม เหตุผลของการสร้างสรรค์สรรพสิ่งและบทบัญญัติต่างๆ นั้น บางทีก็เป็นสิ่งที่เรารับรับรู้ได้ และบางทีก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถรับรู้ และบางทีก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับรู้เท่าที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ได้ประทานซึ่งความรู้และความเข้าใจแก่พวกเขา
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจึงขอกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ทรงสร้างญินและมนุษย์โดยมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ และถือเป็นเป้าหมายที่ควรค่ายิ่ง นั่นคือการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ ตะบาเราะกะ วะตะอาลา ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿ وَمَا خَلَقۡتُ ٱلۡجِنَّ وَٱلۡإِنسَ إِلَّا لِيَعۡبُدُونِ ٥٦ ﴾ [الذاريات: ٥٦]
ความว่า “และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า" (สูเราะฮฺอัซ-ซาริยาต : 56)
และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสอีกว่า
﴿ أَفَحَسِبۡتُمۡ أَنَّمَا خَلَقۡنَٰكُمۡ عَبَثٗا وَأَنَّكُمۡ إِلَيۡنَا لَا تُرۡجَعُونَ ١١٥ ﴾ [المؤمنون : ١١٥]
ความว่า “" (สูเราะฮฺอัล-มุอ์มินูน : 115)
พระองค์ ตะอาลา ได้ดำรัสอีกว่า
﴿ أَيَحۡسَبُ ٱلۡإِنسَٰنُ أَن يُتۡرَكَ سُدًى ٣٦ ﴾ [القيامة: ٣٦]
ความว่า “พวกเจ้าคิดว่า แท้จริงเราได้ให้พวกเจ้าบังเกิดมาโดยไร้ประโยชน์กระนั้นหรือ ?" (สูเราะฮฺอัล-กิยามะฮฺ : 36)
และอายะฮฺอื่นๆ จากนี้ ที่บ่งชี้ว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงมีเหตุผลที่ดียิ่งในการสร้างญินและมนุษย์ขึ้นมา นั่นคือการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์
ซึ่งการทำอิบาดะฮฺนั่นคือ การแสดงความนอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ อัซซะ วะญัลละ การมอบความรัก การแสดงถึงความเกรียงไกรด้วยการปฏิบัติคำสั่งใช้และละเว้นคำสั่งห้ามของพระองค์ ด้วยวิธีที่พระองค์ทรงกำหนดเท่านั้น
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสในเรื่องนี้ว่า
﴿ وَمَآ أُمِرُوٓاْ إِلَّا لِيَعۡبُدُواْ ٱللَّهَ مُخۡلِصِينَ لَهُ ٱلدِّينَ حُنَفَآءَ ٥ ﴾ [البينة: ٥]
ความว่า “และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง" (สูเราะฮฺอัล-บัยยินะฮฺ : 5)
ซึ่งนี่คือเหตุผลของการสร้างญินและมนุษย์ขึ้นมา และด้วยกับเหตุนี้เองผู้ใดก็ตามที่ฝ่าฝืนต่อพระผู้อภิบาลของเขา และเย่อหยิ่งจากการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ แน่นอนเขาได้ปลดเปลื้องตนเองจากเหตุผลนี้ ทั้งๆ ที่บ่าวทุกคนถูกสร้างด้วยเหตุผลนี้ และการกระทำของเขานั้นถือเป็นการยืนยันว่าอัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ได้สร้างสรรพสิ่งต่างๆ โดยไร้เป้าหมายและเปล่าประโยชน์ แม้ว่าในความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างนั้นก็ตาม แต่ถึงอย่างไรนี่ก็เป็นผลของการฝ่าฝืนและเย่อหยิ่งต่อการเคารพเชื่อฟังต่อพระผู้อภิบาลของเขา
คำถามที่ 2 : ท่านชัยคฺที่เคารพ เราสามารถเข้าใจความหมายของการทำอิบาดะฮฺได้อย่างไรบ้าง ? แล้วมันมีความหมายโดยทั่วไป (อาม) และความหมายโดยเฉพาะ (ค็อส) หรือไม่ ?
คำตอบ : ใช่แล้ว ความหมายโดยทั่วไปของมันนั้น ดังที่ข้าพเจ้าได้อธิบายมาหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ กล่าวคือ การแสดงความนอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ การมอบความรัก การแสดงถึงความเกรียงไกรด้วยการปฏิบัติคำสั่งใช้และละเว้นคำสั่งห้ามของพระองค์ ด้วยวิธีที่พระองค์ทรงกำหนดเท่านั้น ซึ่งนี่คือความหมายโดยทั่วไป
ส่วนความหมายโดยเฉพาะ -ข้าพเจ้าหมายถึงรายละเอียดของมัน- ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ ได้กล่าวว่า “คือชื่อที่รวมไว้ซึ่งสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักและพอพระทัย ไม่ว่าจะเป็นคำพูดต่างๆ หรือการกระทำที่แสดงออกมา และสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ เช่น ความหวาดกลัว ความยำเกรง การมอบหมาย การละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศีลอด และรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างทีมีอยู่ในบทบัญญัติอิสลาม"
แต่หากท่านหมายถึงความหมายโดยเฉพาะและโดยทั่วไปตามที่นักวิชาการบางท่านได้ระบุไว้เกี่ยวกับอิบาดะฮฺไม่ว่าจะเป็นอิบาดะฮฺเกานียะฮฺ หรืออิบาดะฮฺชัรอียะฮฺ หมายถึงมนุษย์นั้นได้แสดงความนอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ด้วยการนอบน้อมยอมรับในความเป็นไปของสรรพสิ่งต่างๆ และนอบน้อมยอมรับต่อบทบัญญัติต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งการนอบน้อมยอมรับในความเป็นไปของสรรพสิ่งต่างๆ นั้นถือเป็นอิบาดะฮฺโดยทั่วไป ที่หมายรวมถึงผู้ศรัทธาและผู้ปฏิเสธศรัทธา คนดีและคนไม่ดี ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿ إِن كُلُّ مَن فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ إِلَّآ ءَاتِي ٱلرَّحۡمَٰنِ عَبۡدٗا ٩٣ ﴾ [مريم: ٩٣]
ความว่า “ไม่มีผู้ใดในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเว้นแต่เขาจะมายังพระผู้ทรงกรุณาปรานีในฐานะบ่าวคนหนึ่ง" (สูเราะฮฺมัรยัม : 93)
ดังนั้นทุกสิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและแผ่นดินต่างก็นอบน้อมยอมรับต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา โดยดุษฎี ซึ่งเป็นไม่ได้อย่างแน่นอนที่จะสวนทางกับอัลลอฮฺ หรือต่อต้านในสิ่งพระองค์ สุบหานะฮู วะตะอาลา ทรงประสงค์ให้สรรพสิ่งเป็นไป
สำหรับการทำอิบาดะฮฺโดยเฉพาะ คือการทำอิบาดะฮฺชัรอียะฮฺ กล่าวคือเป็นการนอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา ด้วยวิธีที่พระองค์ทรงกำหนดเท่านั้น ซึ่งนี่คือสิ่งผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ปฏิบัติเป็นการเฉพาะ คือผู้ที่ดำรงในคำสั่งใช้ของพระองค์ และยังมีการทำอิบาดะฮฺที่เฉพาะเจาะจงอีก (ค็อส อะค็อส) และเฉพาะเจาะจงเข้าไปอีก
อิบาดะฮฺที่เฉพาะเจาะจงอีก (ค็อส อะค็อส) เช่นการทำอิบาดะฮฺของบรรดาเราะสูล อะลัยฮิศเศาะลาตุ วัสลาม ดังที่คำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
﴿ تَبَارَكَ ٱلَّذِي نَزَّلَ ٱلۡفُرۡقَانَ عَلَىٰ عَبۡدِهِۦ ١ ﴾ [الفرقان: ١]
ความว่า “ความจำเริญยิ่งแด่พระองค์ ผู้ทรงประทานอัล-ฟุรกอนแก่บ่าวของพระองค์ (มุฮัมมัด)" (สูเราะฮฺอัล-ฟุรกอน : 1)
อัลลอฮฺ ได้ดำรัสอีกว่า
﴿ وَٱذۡكُرۡ عِبَٰدَنَآ إِبۡرَٰهِيمَ وَإِسۡحَٰقَ وَيَعۡقُوبَ ٤٥ ﴾ [ص : ٤٥]
ความว่า “และจงรำลึกถึงปวงบ่าวของเรา อิบรอฮีม อิสหาก และยะอฺกู๊บ" (สูเราะฮฺศ็อด : 45)
และอายะฮฺอื่นจากนี้ที่พรรณนาถึงการทำอิบาดะฮฺของบรรดาเราะสูล อะลัยฮิศเศาะลาตุ วัสลาม
คำถามที่ 3 : ท่านชัยคฺที่เคารพ ผู้ที่ทำอิบาดะฮฺเฉพาะเกานียะฮฺเพียงอย่างเดียว โดยไม่ทำอิบาดะฮฺชัรอียะฮฺ เขาจะได้รับผลบุญหรือไม่ ?
คำตอบ : พวกเขาจะไม่ได้รับผลบุญใดๆ จากสิ่งที่ปฏิบัติไว้ เพราะพวกเขานอบน้อมยอมรับต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา (บนพื้นฐาน) ของความต้องการหรือไม่ต้องการของตน ทั้งๆ ที่มนุษย์มีโอกาสเจ็บป่วย ยากจนขัดสน และสูญเสียคนที่เขารักไป หรือสิ่งอื่นจากนี้ที่เขาไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้น ใช่แต่เท่านั้นพวกเขายังไม่ชอบที่จะให้เกิดเช่นนั้น ทว่าการนอบน้อมยอมรับต่ออัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ เช่นนี้เป็นการนอบน้อมยอมรับต่อสิ่งที่มันเป็นไป (ซึ่งพวกเขาไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธได้)