×
เราะมะฎอน คือโอกาสที่ดีสำหรับผู้ศรัทธาที่จะคืนดีกับอัลกุรอาน ด้วยการอ่าน ตะดับบุร และศึกษาความหมาย รวมทั้งการนำมันมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะหากไม่ใช่เดือนนี้แล้วก็คงเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ง่ายอย่างแน่นอน ดังนั้น เรามาคืนดีกับอัลกุรอานกันเถิด ด้วยการอ่านอัลกุรอานให้จบเล่มอย่างน้อยหนึ่งครั้งในเดือนนี้

    วิธีง่ายๆ ในการเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน

    أسهل طريقة لختم القرآن في شهر رمضان

    < تايلاندية >

    แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

    محمد صبري يعقوب

    —™

    ผู้ตรวจทาน: ทีมงานภาษาไทยเว็บอิสลามเฮ้าส์

    مراجعة: فريق اللغة التايلاندية بموقع دار الإسلام

    วิธีง่ายๆ ในการเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน

    การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขปลอดภัยจงมีแด่ผู้เป็นศาสนทูตที่ประเสริฐที่สุดและเป็นผู้นำของเรานั่นคือท่านนบีมุฮัมมัด และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทุกคน

    เราะมะฎอน คือโอกาสที่ดีสำหรับผู้ศรัทธาที่จะคืนดีกับอัลกุรอาน ด้วยการอ่าน ตะดับบุร และศึกษาความหมาย รวมทั้งการนำมันมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะหากไม่ใช่เดือนนี้แล้วก็คงเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ง่ายอย่างแน่นอน ดังนั้น เรามาคืนดีกับอัลกุรอานกันเถิด

    ความสำคัญของการอ่านอัลกุรอาน

    อัลลอฮฺได้สั่งใช้ให้บรรดาผู้ศรัทธาอ่านและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน พร้อมทั้งให้ตะดับบุรเนื้อหางที่มีอยู่ในอัลกุรอาน ดังที่พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ يَتۡلُونَ كِتَٰبَ ٱللَّهِ وَأَقَامُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَأَنفَقُواْ مِمَّا رَزَقۡنَٰهُمۡ سِرّٗا وَعَلَانِيَةٗ يَرۡجُونَ تِجَٰرَةٗ لَّن تَبُورَ ٢٩ لِيُوَفِّيَهُمۡ أُجُورَهُمۡ وَيَزِيدَهُم مِّن فَضۡلِهِۦٓۚ إِنَّهُۥ غَفُورٞ شَكُورٞ ٣٠ ﴾ [فاطر: ٢٩، ٣٠]

    ความว่า แท้จริง บรรดาผู้อ่านคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และดำรงการละหมาด และบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา ทั้งโดยซ่อนเร้นและเปิดเผย เพื่อหวังการค้าที่ไม่ซบเซา (หมายถึงผลบุญในอาคิเราะฮฺ) เพื่อพระองค์จะทรงตอบแทนรางวัลของพวกเขาให้แก่พวกเขาอย่างครบถ้วนและจะทรงเพิ่มความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่พวกเขา แท้จริง พระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงชื่นชม (เพราะการภักดีของพวกเขา)" (สูเราะฮฺ ฟาฏิรฺ : 29-30)

    และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

    ﴿ إِنَّا جَعَلۡنَٰهُ قُرۡءَٰنًا عَرَبِيّٗا لَّعَلَّكُمۡ تَعۡقِلُونَ ٣ وَإِنَّهُۥ فِيٓ أُمِّ ٱلۡكِتَٰبِ لَدَيۡنَا لَعَلِيٌّ حَكِيمٌ ٤ ﴾ [الزخرف: ٣، ٤]

    ความว่า “แท้จริงเราได้ทำให้คัมภีร์เป็นกุรอานภาษาอาหรับ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา และแท้จริงอัลกุรอานซึ่งอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ ณ ที่เรานั้นคือสิ่งที่สูงส่ง พรั่งพร้อมด้วยปรัชญา" (สูเราะฮฺ อัซ-ซุครุฟ : 3-4)

    ส่วนความดีงามที่ผู้อ่านอัลกุรอานจะได้รับนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ قَرَأَ حَرْفًا مِنْ كِتَابِ اللَّهِ فَلَهُ بِهِ حَسَنَةٌ، وَالْحَسَنَةُ بِعَشْرِ أَمْثَالِهَا، لاَ أَقُولُ الم حَرْفٌ، وَلَكِنْ أَلِفٌ حَرْفٌ، وَلاَمٌ حَرْفٌ، وَمِيمٌ حَرْفٌ»

    ความว่าผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานหนึ่งตัวอักษรเขาจะได้รับหนึ่งความดีงาม โดยหนึ่งความดีงามนั้นจะเพิ่มทวีคูณเป็นสิบเท่า ฉันไม่ได้บอกว่า อลิฟ ลาม มีม เป็นหนึ่งอักษร แต่อลิฟ เป็นหนึ่งอักษร ลาม เป็นหนึ่งอักษร มีม ก็เป็นอีกหนึ่งอักษร" (บันทึกโดย อัต-ติรมิซี : 2910 ท่านได้กล่าวว่า เป็นหะดีษหะสัน เศาะฮีหฺ เฆาะรีบ)

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า

    «المَاهِرُ بِالقُرْآنِ مَعَ السَّفَرَةِ الكِـَرامِ البَرَرَةِ، وَالَّذِي يَـقْرَأُ القُرْآنَ وَيَتَتَعْتَعُ فِيهِ، وَهُوَ عَلَيهِ شَاقٌّ، لَـهُ أَجْرَانِ». متفق عليه.

    ความว่า “ผู้ที่ชำนาญในการอ่านอัลกุรอานนั้นจะอยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺผู้จดบันทึกอีกทั้งมีเกียรติ และผู้ที่อ่านอัลกุรอานอย่างตะกุกตะกัก (ไม่คล่อง) แต่เขาก็พยามยามอ่าน เขาจะได้สองผลบุญ" (บันทึกโดย อัล-บุคอรี : 4937 , มุสลิม : 798)

    อัลกุรอานจะให้ความช่วยเหลือต่อผู้ที่อ่าน และจะยกระดับชั้นสวรรค์แก่เขา ตามที่เขาได้อ่าน ดังกล่าวนี้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «اقْرَؤُوا القُرْآنَ، فَإنَّهُ يِأتِي يَوْمَ القِيَامَةِ شَفِيعاً لأَصْحَابِـهِ»

    ความว่า “พวกท่านทั้งหลายจงอ่านอัลกุรอาน เพราะอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือต่อสหายของมันในวันกิยามะฮฺ" (บันทึกโดยมุสลิม : 804)

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า

    «يُـقَالُ لِصَاحِبِ القُرآنِ اقْرَأ وَارْتَقِ وَرَتِّلْ كَمَا كُنْتَ تُرَتِّلُ فِي الدُّنْيَا، فَإنَّ مَنْزِلَكَ عِنْدَ آخِرِ آيَةٍ تَقْرَؤُهَا». أخرجه أبو داود والترمذي.

    ความว่า (ในวันอาคิเราะฮฺ)จะถูกกล่าวแก่ผู้ที่อ่านอัลกุรอานว่า จงอ่านและจงเลื่อนขึ้นตามระดับขั้น (ในสวรรค์) และจงอ่านอย่างชัดถ้อยชัดคำ ดังที่ท่านเคยอ่านในโลกดุนยามาก่อน เพราะชั้นสวรรค์ที่เจ้าจะได้รับคืออายะฮฺสุดท้ายที่ท่านได้อ่านอัลกุรอานจบ" (บันทึกโดยอัต-ติรมิซี หมายเลขหะดีษ 2914 ท่านได้กล่าวว่าเป็นหะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ)

    ปัจจัยที่ช่วยให้สามารถเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอนได้อย่างง่ายดาย

    1. ฝึกอ่านอัลกุรอานให้มีความคล่องแคล่วก่อนที่เดือนเราะมะฎอนจะมาถึง เพราะถ้าท่านใช้เวลาในเดือนเราะมะฎอนเพื่อการฝึกอ่านแล้ว ท่านจะเสียโอกาสในการเคาะตัมอัลกุรอานอย่างแน่นอน

    2. เรียนรู้เทคนิคการจัดสรรเวลาอ่านอัลกุรอานในแต่ละวัน โดยแน่นอนว่าการไม่มีเทคนิคในการทำสิ่งหนึ่งย่อมทำให้เกิดอุปสรรคในการบรรลุสิ่งนั้น การอ่านอัลกุรอานก็เช่นกัน ถ้าท่านไม่เรียนรู้เทคนิคการจัดสรรเวลาท่านอาจจะประสบกับความยากลำบากในการบรรลุเป้าหมายที่ท่านได้วางไว้ หรือบางทีท่านอาจจะพลาดไปเลยก็ว่าได้

    3. พกพาอัลกุรอานอยู่กับตัวเสมอหรือดาวน์โหลดแอพอัลกุรอานลงในมือถือ ซึ่งการเตรียมพร้อมเช่นนี้จะทำให้สามารถอ่านอัลกุรอาน ณ ที่ใดก็ตามที่ท่านอยู่ (ยกเว้นสถานที่ที่ศาสนาไม่อนุญาตให้นำอัลกุรอานเข้าไปหรืออ่านในนั้น) ไม่ว่าท่านกำลังจอดรถรอไฟแดงหรือกำลังรอรถโดยสาร ช่วงที่ท่านว่างจากการทำงานหรือช่วงที่พักระหว่างคาบเรียน เป็นต้น

    4. สร้างบรรยากาศของการอัลกุรอานในเดือนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นคนในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมห้อง หรืออาจจะชวนคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่สนิทมาร่วมแข่งกันอ่านว่าในเดือนเราะมะฎอนนี้ใครอ่านได้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อเป็นสร้างความกระตือรือร้นให้แก่เราและคนที่มาร่วมแข่ง ซึ่งศาสนาก็ส่งเสริมให้เราแข่งขันในการทำความดีอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญคืออย่าให้การแข่งครั้งนี้เป็นการโอ้อวดซึ่งกันและกัน เพราะไม่เช่นนั้นแล้วผลบุญที่เราได้อ่านไปก็จะสูญสิ้นโดยทันที

    สาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอนได้

    1. คนโดยส่วนใหญ่ ตลอดช่วงเวลาทั้งปีที่ผ่านมามักจะไม่ค่อยอ่านอัลกุรอานเว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่พอถึงช่วงเวลาของเดือนเราะมะฎอนเขากลับมีความมุ่งมั่นในการอ่านในช่วงวันแรกๆ ซึ่งบางคนอ่านได้ 1 ยุซหรือ 2 ยุซแบบรวดเดียว แต่ด้วยกับการที่เขาไม่มีความมักคุ้นต่อการอ่านอัลกุรอานจำนวนมากๆ เช่นนี้ จึงทำให้เขามีความรู้สึกที่เหนื่อยล้าและยากลำบาก สุดท้ายแล้วก็จะเกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งทำให้ในวันถัดๆ ไป ความมุ่งมั่นของเขาในการอ่านก็จะลดน้อยลงเรื่อยๆ ในที่สุดเขาก็ไม่สามารถที่จะเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนที่จำเริญนี้ได้ – ขออัลลอฮฺทรงประทานเตาฟีกให้เรามีความมักคุ้นต่อการอ่านอัลกุรอานด้วยเถิด -

    2. ไม่จัดสรรตารางเวลาอ่านให้ดี ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถเคาะตัมอัลกุรอานได้คือ การที่เราอ่านอย่างสะเปะสะปะ ซึ่งบางทีก็อ่านกลางคืนอย่างเดียว บางทีก็อ่านกลางวัน บางทีก็อ่านช่วงสะหูร และบางทีก็อ่านเพียงช่วงระหว่างอะซานและอิกอมะฮฺ แน่นอนว่าการไม่จัดสรรเวลาอ่านให้ดีนั้นย่อมทำให้เราไม่สามารถที่จะควบคุมการอ่านของเราให้ตรงตามเป้าหมายได้

    3. ไม่กำหนดระยะเวลาอ่านเป็นการเฉพาะ ซึ่งใครที่ต้องการเคาะตัมอัลกุรอานหนึ่งครั้งในเดือนที่จำเริญนี้ อย่างน้อยๆ เขาต้องกำหนดเวลาอ่านในแต่ละวันไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง ส่วนคนที่ต้องการเคาะตัมอัลกุรอานมากกว่าหนึ่งครั้ง เขาก็ต้องกำหนดเวลาอ่านให้ชัดเจนโดยยึดตามความสามารถในการอ่านของเขาว่าต่อหนึ่งยุซนั้นต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด ทั้งนี้ทั้งนั้นระยะเวลาของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนใช้เวลาเพียงยี่สิบนาทีต่อหนึ่งยุซ และก็มีบางคนที่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงต่อหนึ่งยุซ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ดังนั้น ถ้าเราตั้งเป้าหมายจำนวนครั้งในการเคาะตัมอัลกุรอานแล้ว เราก็ต้องมากำหนดให้ชัดเจนว่าเราต้องใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด แล้วจัดสรรเวลาในการอ่านให้ดีและมีวินัยในการจัดสรรนั้น

    4. ตั้งเป้าหมายจำนวนครั้งในการเคาะตัมอัลกุรอานที่มากจนเกินความสามารถ ซึ่งจะทำให้เกิดความยากลำบากและย่อท้อได้ แต่ที่ดีที่สุดคือให้เราประเมินความสามารถของตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา ความคล่องในการอ่าน ฯลฯ แล้วตั้งเป้าหมายให้เป็นไปตามความเป็นจริง ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่น้อยๆ แต่ทำอย่างสม่ำเสมอย่อมดีกว่าการตั้งเป้าหมายอย่างสวยหรูแต่สุดท้ายก็หยุดระหว่างทาง

    และต่อไปนี้คือข้อแนะนำต่างๆ ที่กล่าวถึงวิธีการเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน ขออัลลอฮฺทรงประทานเตาฟีกให้เราสามารถเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนที่จำเริญนี้ และขอให้การอ่านอัลกุรอานยังประโยชน์ให้แก่เราในการใช้ชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    วิธีง่ายๆ ในการเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน

    สิ่งที่เราต้องทราบอันดับแรกคือ อัลกุรอานมีประมาณ 600 กว่าหน้า

    ถ้าเอา 600 หน้าหารด้วย 30 วัน ก็จะเท่ากับ 20 หน้าต่อวัน

    20 หน้าต่อวันหารด้วย 5 เวลาละหมาด (เฉพาะเวลาละหมาดอิชาอ์ ให้ไปอ่านหลังจากละหมาดตะรอวีหฺก็ได้) ก็จะเท่ากับ 4 หน้าต่อ 1 เวลาละหมาด

    ดังนั้น เพียงแค่ท่านอ่านอัลกุรอาน 4 หน้าในทุกครั้งก่อนหรือหลังละหมาด (ตามที่ท่านได้จัดสรรเวลา) ท่านก็จะสามารถเคาะตัมอัลกุรอานได้ 1 ครั้งในเดือนเราะมะฎอนนี้

    ส่วนคนที่ต้องการเคาะตัมอัลกุรอาน 2 ครั้งใน 1 เดือนก็มีวิธีง่ายๆ ที่จะแนะนำคือ ให้อ่านอัลกุรอานก่อนทุกเวลาละหมาด 4 หน้า และหลังจากทุกเวลาละหมาด 4 หน้า ซึ่งผลที่ได้คือท่านก็จะสามารถเคาะตัมอัลกุรอาน 2 ครั้งในเดือนที่จำเริญนี้ได้

    ถ้ามีคนถามว่าในเมื่ออัลกุรอานมีทั้งหมดจำนวน 604 หน้าแล้วจะแบ่งอ่านยังไง วิธีที่ง่ายที่สุดคือให้ท่านอ่านตามที่ได้นำเสนอในข้างต้น ส่วน 4 หน้าสุดท้ายนั้นให้ท่านอ่านในขณะที่จะเคาะตัมอัลกุรอานพร้อมกับขอดุอาอ์ ซึ่ง 4 หน้าสุดท้ายนั้นเริ่มตั้งแต่สูเราะฮฺอัล-อัศริ จนถึงสูเราะฮฺอัน-นาส ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่ามันเป็นเพียงสูเราะฮฺสั้นๆ ที่อ่านง่าย ขออัลลอฮฺทรงประทานเตาฟีกแก่เราตามที่พระองค์ทรงรักและพึงพระทัยด้วยเถิด

    และนี่คือตัวอย่างตารางการจัดสรรเวลาอ่านอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน



    การเคาะตัมอัลกุรอานภายใน 3 วัน

    วันที่

    หลังศุบุหฺ

    ก่อนหรือ

    หลังซุฮฺริ

    ก่อนหรือหลังอัศริ

    ก่อนหรือหลังมัฆริบ

    หลังตะรอวีหฺหรือก่อนสะหูร

    1

    ยุซที่ 1-2

    ยุซที่ 3-4

    ยุซที่ 5-6

    ยุซที่ 7-8

    ยุซที่ 9-10

    2

    ยุซที่ 11-12

    ยุซที่ 13-14

    ยุซที่ 15-16

    ยุซที่ 17-18

    ยุซที่ 19-20

    3

    ยุซที่ 21-22

    ยุซที่ 23-24

    ยุซที่ 25-26

    ยุซที่ 27-28

    ยุซที่ 29-30

    การเคาะตัมอัลกุรอานภายใน 5 วัน

    วันที่

    หลังศุบุหฺ

    ก่อนหรือ
    หลังซุฮฺริ

    ก่อนหรือหลังอัศริ

    ก่อนหรือหลังมัฆริบ

    หลังตะรอวีหฺหรือก่อนสะหูร

    1

    ยุซที่ 1

    ยุซที่ 2

    ยุซที่ 3-4

    ยุซที่ 5

    ยุซที่ 6

    2

    ยุซที่ 7

    ยุซที่ 8

    ยุซที่ 9-10

    ยุซที่ 11

    ยุซที่ 12

    3

    ยุซที่ 13

    ยุซที่ 14

    ยุซที่ 15-16

    ยุซที่ 17

    ยุซที่ 18

    4

    ยุซที่ 19

    ยุซที่ 20

    ยุซที่ 21-22

    ยุซที่ 23

    ยุซที่ 24

    5

    ยุซที่ 25

    ยุซที่ 26

    ยุซที่ 27-28

    ยุซที่ 29

    ยุซที่ 30

    การเคาะตัมอัลกุรอานภายใน 7 วัน

    วันที่

    หลังศุบุหฺ

    ก่อนหรือ
    หลังซุฮฺริ

    ก่อนหรือหลังอัศริ

    ก่อนหรือหลังมัฆริบ

    หลังตะรอวีหฺหรือก่อนสะหูร

    1

    อัล-ฟาติหะฮฺ ถึงอัล-บะเกาะเราะฮฺ 1-141

    อัล-บะเกาะเราะฮฺ 142-252

    อัล-บะเกาะเราะฮฺ 252-286 ถึงอาลิอิมรอน 1-91

    อาลิอิมรอน 92-200 ถึงอัน-นิสาอ์ 1-23

    อัน-นิสาอ์ 24-176

    2

    อัล-มาอิดะฮฺ 1-105

    อัล-มาอิดะฮฺ 106-120 ถึงอัล-อันอาม 1-134

    อัล-อันอาม 135-165 ถึงอัล-อะอฺรอฟ 1-131

    อัล-อะอฺรอฟ 132-206 ถึงอัล-อันฟาล 1-70

    อัล-อันฟาล 71-75 ถึงอัต-เตาบะฮฺ 1-129

    3

    ยูนุส

    ฮูด

    ยูสุฟ ถึง อัร-เราะอฺด์ 1-13

    อัร-เราะอฺดุ 14-43 ถึง อิบรอฮีม และ อัล-หิจญรฺ 1-77

    อัล-หิจญรฺ 78-99 ถึง อัน-นะหฺล์

    4

    อัล-อิสรออ์ ถึง อัล-กะฮฺฟิ 1-41

    อัล-กะฮฺฟิ 42-110 ถึงมัรยม และฏอฮา 1-54

    ฏอฮา 55-135 ถึงอัล-อัมบิยาอ์ 1-100

    อัล-อัมบิยาอ์ 101-112 ถึงอัล-หัจญฺ และอัล-มุอ์มินูน 1-74

    อัล-มุอ์มินูน 75-118 ถึงอัน-นูร และอัล-ฟุรกอน

    5

    อัช-ชุอะรออ์ ถึง อัน-นัมล์ 1-55

    อัน-นัมล์ 56-93 ถึง อัล-เกาะศ็อศ และอัล-อันกะบูต 1-7

    อัล-อันกะบูต 8-69 ถึง อัร-รูมและลุกมาน 1-21

    ลุกมาน 22-34 ถึงอัส-สะญะดะฮฺและอัล-อะหฺซาบ 1-59

    อัล-อะหฺซาบ 60-73 ถึงสะบะอ์, ฟาฏิร และยาสีน

    6

    อัศ-ศ็อฟฟาต ถึงศ็อด และอัซ-ซุมัร 1-7

    อัซ-ซุมัร 8-75 ถึงฆอฟิร 1-52

    ฆอฟิร 53-85 ถึงฟุศศิลัต และอัช-ชูรอ 1-26

    อัช-ชูรอ 27-53 ถึงอัซ-ซุครุฟ, อัด-ดุคอน และอัล-ญาษิยะฮฺ

    อัล-อะหฺกอฟ, มุฮัมมัด, อัล-ฟัตห์ และอัล-หุญุรอต

    7

    ตั้งแต่ก็อฟถึงอัร-เราะหฺมาน

    ตั้งแต่อัล-วากิอะฮฺถึงอัล-มุมตะหะนะฮฺ

    ตั้งแต่อัศ-ศ็อฟ ถึงอัล-เกาะลัม

    ตั้งแต่อัล-หากเกาะฮฺ ถึงอัล-มุรสะลาต

    ตั้งแต่อัน-นะบะอ์ถึงอัน-นาส

    การเคาะตัมอัลกุรอานภายใน 10 วัน

    วันที่

    หลังศุบุหฺ

    ก่อนหรือ
    หลังซุฮฺริ

    ก่อนหรือหลังอัศริ

    ก่อนหรือหลังมัฆริบ

    หลังตะรอวีหฺหรือก่อนสะหูร

    1

    ครึ่งยุซที่ 1

    ครึ่งยุซที่ 1

    ยุซที่ 2

    ครึ่งยุซที่ 3

    ครึ่งยุซที่ 3

    2

    ครึ่งยุซที่ 4

    ครึ่งยุซที่ 4

    ยุซที่ 5

    ครึ่งยุซที่ 6

    ครึ่งยุซที่ 6

    3

    ครึ่งยุซที่ 7

    ครึ่งยุซที่ 7

    ยุซที่ 8

    ครึ่งยุซที่ 9

    ครึ่งยุซที่ 9

    4

    ครึ่งยุซที่ 10

    ครึ่งยุซที่ 10

    ยุซที่ 11

    ครึ่งยุซที่ 12

    ครึ่งยุซที่ 12

    5

    ครึ่งยุซที่ 13

    ครึ่งยุซที่ 13

    ยุซที่ 14

    ครึ่งยุซที่ 15

    ครึ่งยุซที่ 15

    6

    ครึ่งยุซที่ 16

    ครึ่งยุซที่ 16

    ยุซที่ 17

    ครึ่งยุซที่ 18

    ครึ่งยุซที่ 18

    7

    ครึ่งยุซที่ 19

    ครึ่งยุซที่ 19

    ยุซที่ 20

    ครึ่งยุซที่ 21

    ครึ่งยุซที่ 21

    8

    ครึ่งยุซที่ 22

    ครึ่งยุซที่ 22

    ยุซที่ 23

    ครึ่งยุซที่ 24

    ครึ่งยุซที่ 24

    9

    ครึ่งยุซที่ 25

    ครึ่งยุซที่ 25

    ยุซที่ 26

    ครึ่งยุซที่ 27

    ครึ่งยุซที่ 27

    10

    ครึ่งยุซที่ 28

    ครึ่งยุซที่ 28

    ยุซที่ 29

    ครึ่งยุซที่ 30

    ครึ่งยุซที่ 30

    การเคาะตัมอัลกุรอาน 1 ครั้งในเดือนเราะมะฎอนพร้อมกับศึกษาความหมาย

    คงจะไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่เราได้อ่านดำรัสของอัลลอฮฺแล้วเข้าใจในเนื้อหาที่พระองค์ได้ประทานลงมาไปด้วย แต่การที่จะสามารถอ่านอัลกุรอานพร้อมศึกษาความหมายของมันนั้น ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ แต่การจัดสรรเวลาและหาหนังสือที่เหมาะสมย่อมเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้

    ก่อนหน้านี้เรารู้แล้วว่า อัลกุรอานมีประมาณ 600 กว่าหน้า ถ้าเอา 600 หน้าหารด้วย 30 วัน ก็จะเท่ากับ 20 หน้าต่อวัน ก็จะเท่ากับ 4 หน้าต่อ 1 เวลาละหมาด ซึ่งถ้าเราต้องใช้เวลาอ่านอัลกุรอานในแต่ละหน้า 2 นาที ก็แสดงว่าเราต้องใช้เวลาประมาณ 8 นาที แต่ไม่ใช่เพียงแค่เท่านี้ เพราะเราะต้องใช้เวลาในการศึกษาความหมายของมันอีก ซึ่งถ้าเป็นหนังสือที่มีการแปลความหมายสั้นๆ อย่างเช่น หนังสือแปลความหมายอัลกุรอาน ของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ เราก็จะต้องใช้เวลาทั้งการอ่านและศึกษาความหมายประมาณ 20-30 นาที ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับหนังสือที่เราเลือกมาศึกษา ซึ่งหนังสือที่จะขอแนะนำ ถ้าเป็นภาษาไทยไม่ค่อยมีตัวเลือกมากนัก ที่มีอยู่ก็อย่างเช่น “หนังสือแปลความหมายอัลกุรอาน โดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ, ตัฟฮีมุลกุรอาน โดยอบุลอะลา อัล-เมาดูดี" เป็นต้น แต่ถ้าเป็นภาษาอาหรับก็มีหนังสือ “อัล-มิศบาหุลมุนีร โดยท่านอิบนุกะษีร, อัยสัร อัต-ตะฟาสีร โดยชัยคฺอบูบักรฺ อัล-ญะซาอิรี, ตัฟสีรอัล-มุยัสสัร โดยคณะอุละมาอ์" เป็นต้น

    และนี่คือตัวอย่างตารางเวลาอ่านอัลกุรอานพร้อมกับศึกษาความหมาย

    วันที่

    หลังศุบุหฺ

    ก่อนหรือ
    หลังซุฮฺริ

    ก่อนหรือหลังอัศริ

    ก่อนหรือหลังมัฆริบ

    หลังตะรอวีหฺหรือก่อนสะหูร

    1-30

    4 หน้า

    4 หน้า

    4 หน้า

    4 หน้า

    4 หน้า

    สุดท้ายนี้ ขอเพียงเรามีความตั้งใจและเต็มที่ไปกับมัน แน่นอนว่าการเคาะตัมอัลกุรอานก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป โดยเฉพาะการใช้โอกาสของเดือนเราะมะฎอนมาเป็นช่วงเวลาที่เราจะคืนดีกับอัลกุรอาน เพราะเราไม่รู้ว่าเราะมะฎอนในปีหน้า เราจะมีโอกาสใช้ชีวิตต่อไปอีกหรือไม่

    ขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขปลอดภัยจงมีแด่ผู้เป็นศาสนทูตที่ประเสริฐที่สุดและเป็นผู้นำของเรานั่นคือท่านนบีมุฮัมมัด และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทุกคน

    และการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก