×
อธิบายความหมายของ อัล-วะดีอะฮฺ (การฝากทรัพย์) เคล็ดลับ(วิทยปัญญา)ในการบัญญัติการฝาก หุก่มของการฝากทรัพย์ หุก่มการรับฝาก การประกันของฝาก การส่งคืนสิ่งที่รับฝาก จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    อัล-วะดีอะฮฺ (การฝากทรัพย์)

    ﴿الوديعة﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : อิสมาน จารง

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือ มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2009 - 1430

    ﴿الوديعة﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: عثمان جارونج

    مراجعة: صافي عثمان

    مصدر : كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2009 - 1430

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    อัล-วะดีอะฮฺ (การฝากทรัพย์)

    อัล-วะดีอะฮฺ คือ ทรัพย์สินที่ถูกมอบให้แก่ผู้ที่จะทำการเก็บรักษามันไว้โดยไม่มีสิ่งตอบแทน

    เคล็ดลับ(วิทยปัญญา)ในการบัญญัติการฝาก

    บางครั้งเกิดสภาวะการณ์ที่มนุษย์บางคนไม่สามารถที่จะดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองได้ อาจเป็นเพราะไม่มีสถานที่(ที่จะใช้เก็บรักษา)หรือไม่มีความสามารถในการเก็บรักษา ในขณะที่คนอื่นที่เป็นเพื่อนพ้องของเขามีความสามารถที่จะดูแลรักษาทรัพย์ของเขาได้ ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงอนุญาตให้มีการฝากโดยเป้าหมายหนึ่งก็คือเพื่อรักษาทรัพย์สิน และยังเป็นการได้ผลบุญสำหรับฝ่ายผู้ที่รับฝากด้วย โดยในการรับฝากนั้นจะมีผลบุญที่ใหญ่หลวงยิ่งนัก อัลลอฮจะทรงช่วยบ่าวคนหนึ่งตราบที่บ่าวคนนั้นได้ช่วยเหลือพี่น้องของเขา

    หุก่มของการฝากทรัพย์

    การฝากเป็นข้อตกลงสัญญาที่เป็นที่อนุญาต และเมื่อใดที่เจ้าของได้มาขอคืน วาญิบที่(ผู้รับฝาก)จะต้องส่งคืน และเมื่อผู้รับฝากส่งคืนวาญิบที่เจ้าของจะต้องรับคืน

    หุก่มการรับฝาก

    สุนัต(ส่งเสริม)ให้มีการรับฝากสำหรับบุคคลที่รู้ตัวว่ามีความสามารถที่จะเก็บรักษาของฝากได้ เพราะถือว่าเป็นการช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นความดีและการยำเกรง การรับฝากนั้นมีผลบุญใหญ่หลวง และผู้ฝากต้องเป็นผู้ที่สามารถใช้สิทธิในลักษณะดังกล่าวได้

    การประกันของฝาก

    1. ถ้าหากของที่ฝากเกิดเสียหายรวมถึงทรัพย์ของเขา(ผู้รับฝาก)ด้วย โดยที่เขาไม่ได้ละเมิด และไม่ได้ละเลยถือว่าเขาไม่ต้องชดใช้ แต่ต้องเป็นการเก็บรักษาในสถานที่ที่เหมาะสมกับทรัพย์สินประเภทนั้นๆ

    2. ถ้าหากเกิดความกลัวขึ้นและผู้รับฝากต้องการที่จะเดินทางถือว่าวาญิบที่เขาจะต้องคืนของที่รับฝากแก่เจ้าของหรือตัวแทนของเจ้าของ และถ้าหากไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ก็ให้ส่งมอบให้ผู้มีอำนาจปกครองหากเห็นว่าเขาเป็นคนที่ยุติธรรม(ไม่คดโกง) และถ้ายังไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ก็ให้ฝากไว้กับบุคคลที่เชื่อถือได้เพื่อให้เขาส่งคืนแก่เจ้าของต่อไป

    3. ผู้ใดที่รับฝากสัตว์แล้วเขาได้ขับขี่มันโดยการขี่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของมัน หรือเขารับฝากเงินแล้วเขาได้นำเงินนั้นออกจากที่ที่เก็บรักษามัน(เช่นนำออกมาจากตู้เซฟ)หรือเอาไปมันไปปะปนกันเงินอื่นที่ไม่อาจแยกแยะได้(ว่าอันไหนเป็นเงินฝาก) แล้ว(สัตว์หรือเงินนั้น)เกิดหายทั้งหมดหรือเสียหายถือว่าผู้รับฝากจะต้องรับผิดชอบชดใช้

    4. ผู้รับฝากถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ(มีอามานะฮฺ) ดังนั้นเขาจะไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ยกเว้นหากเขาละเมิด หรือละเลย(ต่อทรัพย์ที่รับฝากจนเกิดความเสียหาย) และถือว่าต้องยอมรับคำพูดของเขาพร้อมกับการสาบานในเรื่องการส่งคืนของที่รับฝากหรือการเสียหายของมันโดยไม่ได้ละเลย ตราบใดที่ไม่มีหลักฐาน(ว่าเขาไม่ได้ส่งคืนหรือเขาละเลยจนทำให้ของเสียหาย)

    การส่งคืนสิ่งที่รับฝาก

    1. สิ่งที่ฝากไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือไม่เป็นทรัพย์สินถือว่าเป็นของฝากที่เป็นอะมานะฮฺ ณ ผู้รับฝาก จึงวาญิบ(จำเป็น)ที่เขาจะต้องส่งคืนเมื่อเจ้าของมาทวงถาม และถ้าหากเขาไม่ส่งคืนหลังจากที่เจ้าของได้มาทวงถามคืนโดยไม่มีเหตุจำเป็นใดๆ แล้วของฝากเกิดเสียหายถือว่าผู้รับฝากต้องรับผิดชอบชดใช้

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ( ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ) [النساء/58].

    ความว่า “ แท้จริงอัลลอฮฺได้บัญชาใช้พวกท่านให้ส่งคืนของฝากแก่เจ้าของ” .(ซูเราะอัน-นิสาอฺ อายะห์ที่58)

    2. เมื่อผู้ฝากคนใดคนหนึ่ง(จากหลายคนที่มาฝากของที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน) มาทวงส่วนของตนจากสิ่งที่เป็นของที่สามารถตวง ชั่ง หรือนับจำนวนได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถแบ่งได้ก็ให้ผู้รับฝากส่งคืนส่วนของคนคนนั้นไป