คำชี้แนะของท่านนบีในการอบรมลูกหลาน
หมวดหมู่
Full Description
คำชี้แนะของท่านนบีในการอบรมลูกหลาน
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ทีมงานภาษาไทยเว็บอิสลามเฮ้าส์
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
2014 - 1435
توجيهات نبوية في تربية الأولاد
« باللغة التايلاندية »
د. راشد بن حسين العبد الكريم
ترجمة: سعد واري
مراجعة: فريق اللغة التايلاندية بموقع دار الإسلام
المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
คำชี้แนะของท่านนบีในการอบรมลูกหลาน
หน้าที่ของพ่อที่มีต่อลูกๆ และคำเตือนไม่ให้ละเลยเรื่องดังกล่าว
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ قُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَأَهۡلِيكُمۡ نَارٗا وَقُودُهَا ٱلنَّاسُ وَٱلۡحِجَارَةُ ﴾ [التحريم: ٦]
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์ และก้อนหิน” {อัต-ตะห์รีม : 6}
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า
﴿ إِنَّمَآ أَمۡوَٰلُكُمۡ وَأَوۡلَٰدُكُمۡ فِتۡنَةٞۚ ﴾ [التغابن : ١٥]
“แท้จริง ทรัพย์สมบัติของพวกเจ้า และลูกหลานของพวกเจ้านั้นเป็นเครื่องทดสอบ” {อัต-ตะฆอบุน :15 }
ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« أَلَا كُلُّكُمْ رَاعٍ، وَكُلُّكُمْ مَسْئُولٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ، فَالْأَمِيرُ الَّذِي عَلَى النَّاسِ رَاعٍ، وَهُوَ مَسْئُولٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ، وَالرَّجُلُ رَاعٍ عَلَى أَهْلِ بَيْتِهِ، وَهُوَ مَسْئُولٌ عَنْهُمْ، وَالْمَرْأَةُ رَاعِيَةٌ عَلَى بَيْتِ بَعْلِهَا وَوَلَدِهِ، وَهِيَ مَسْئُولَةٌ عَنْهُمْ، وَالْعَبْدُ رَاعٍ عَلَى مَالِ سَيِّدِهِ وَهُوَ مَسْئُولٌ عَنْهُ، أَلَا فَكُلُّكُمْ رَاعٍ، وَكُلُّكُمْ مَسْئُولٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ » [متفق عليه]
“พวกท่านทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ และพวกท่านทุกคนจะถูกสอบถามถึงหน้าที่รับผิดชอบนั้น ผู้นำมีหน้าที่รับผิดชอบ และเขาจะถูกสอบถามถึงหน้าที่รับผิดชอบของเขา ผู้ชายก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อคนในครอบครัวของเขา และเขาจะถูกสอบถามถึงหน้าที่รับผิดชอบนั้นของเขา และผู้หญิงก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านของสามี และนางจะถูกสอบถามถึงหน้าที่รับผิดชอบนั้นของนาง และคนใช้ก็มีหน้าที่รับผิดชอบทรัพย์สินนายของเขา และเขาจะถูกสอบถามถึงหน้าที่รับผิดชอบนั้นของเขา และพวกท่านแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบ และจะถูกสอบถามถึงหน้าที่รับผิดชอบนั้นของเขา” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม
ท่านมะอฺกิล บิน ยะสารฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« مَا مِنْ عَبْدٍ يَسْتَرْعِيهِ اللهُ رَعِيَّةً، يَمُوتُ يَوْمَ يَمُوتُ وَهُوَ غَاشٌّ لِرَعِيَّتِهِ، إِلَّا حَرَّمَ اللهُ عَلَيْهِ الْجَنَّةَ » [أخرجه مسلم]
“ไม่มีบ่าวคนใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขามีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในวันที่เขาเสียชีวิตนั้น เขาเสียชีวิตในขณะที่เขาคดโกงต่อหน้าที่รับผิดชอบของเขา เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงห้ามสวรรค์แก่เขา” บันทึกโดยมุสลิม
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« إِذَا مَاتَ الْإِنْسَانُ انْقَطَعَ عَنْهُ عَمَلُهُ إِلَّا مِنْ ثَلَاثَةٍ: إِلَّا مِنْ صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ، أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ، أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ يَدْعُو لَهُ » [أخرجه مسلم]
“เมื่อคนเราสิ้นชีวิต การงานของเขาก็ขาดตอนลง นอกจากจากสามประการ จากการบริจาคที่ยังดำเนิน(ผล)อยู่ หรือความรู้ที่ยังประโยชน์ หรือลูกหลานที่ดีขอดุอาอ์ให้” บันทึกโดยมุสลิม
คำอธิบาย
ลูกๆ นั้น เป็นความรับผิดชอบที่อยู่บนภาระรับผิดชอบของบิดาของพวกเขา และการอบรมบ่มนิสัยก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเขา พวกเขาคือความรับผิดชอบของเขา และเขาจะถูกสอบถามถึงหน้าที่รับผิดชอบนั้น เป็นเรื่องจำเป็นที่เขาจะต้องคอยตักเตือนพวกเขา และต้องคอยสร้างคอยปรับ ต้องคอยสั่งสอนพวกเขาให้เป็นไปตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ มันเป็นหน้าที่ที่เขาต้องทำ เป็นภาระต้นๆ ของเขา และไม่ใช่เพียงแค่การหาอาหาร เครื่องดื่ม และเสื้อผ้าให้ แล้วก็ยุ่งกับงานดุนยาจนปล่อยปละละเลยพวกเขา และหากเขาทำเช่นนั้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เขาจะต้องมานั่งโศกเศร้าเสียใจในดุนยาเมื่อพวกเขาโตขึ้นมา และในวันอาคิเราะฮฺเมื่อเขาถูกถามถึงเหตุที่ปล่อยปะละเลยหน้าที่รับผิดชอบต่อพวกเขานั้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
· ลูกๆ เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้เป็นพ่อ และเขาจะถูกสอบถามในวันปรโลกถึงการอบรมเลี้ยงดูพวกเขา
· อันตราย และภัยของการละเลยอบรมเลี้ยงดูบุตรทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ
· ความประเสริฐของการอบรมเลี้ยงดูลูกๆ เป็นอย่างดี และการทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์กับผู้เป็นพ่อภายหลังที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว