×
ศาสนาของชาวมุสลิมเป็นศาสนาที่ดำรงอยู่บนความเมตตา พระผู้อภิบาลของพวกเขาก็เมตตาต่อพวกเขา นบีของพวกเขาก็เมตตาต่อพวกเขา และอัลลอฮฺทรงกล่าวถึงลักษณะของพวกเขาไว้ว่าพวกเขานั้นมีเมตตาต่อกัน และคุณธรรมของความเมตตานั้นเป็นคุณธรรมที่น่ายกย่องที่อัลลอฮฺรัก และทรงบอกผ่านทางท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ว่า ผู้ที่มีเมตตาเท่านั้นที่จะเมตตาต่อบ่าวของพระองค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

    เมตตาต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2014 - 1435

    الرحمة بالخلق

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เมตตาต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสเกี่ยวกับมุหัมมัด นบีของพระองค์ไว้ว่า

    ﴿ بِٱلۡمُؤۡمِنِينَ رَءُوفٞ رَّحِيمٞ ١٢٨ ﴾ [التوبة : ١٢٨]

    “เป็นผู้เมตตา ผู้กรุณาสงสาร ต่อบรรดาผู้ศรัทธา” { อัตเตาบะฮฺ:128 }

    และทรงตรัสเกี่ยวกับบรรดาผู้ศรัทธาว่า

    ﴿ رُحَمَآءُ بَيۡنَهُمۡۖ ﴾ [الفتح: ٢٩]

    “เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง” { อัลฟัตห์:29 }

    ท่านญะรีร บินอับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « لاَ يَرْحَمُ اللَّهُ مَنْ لاَ يَرْحَمُ النَّاسَ » [أخرجه البخاري]

    “อัลลอฮฺไม่ทรงเมตตาต่อผู้ที่ไม่มีความเมตตาต่อผู้อื่น” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ

    ท่านอุสามะฮฺ บินซัยด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า

    « أَرْسَلَتْ بِنْتُ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَيْهِ أَنَّ ابْنِي قَدِ احْتَضَرَ فَاشْهَدْنَا فَأَرْسَلَ يَقْرَأُ السَّلَامَ وَيَقُولُ: «إِنَّ لِلَّهِ مَا أَخَذَ، وَلَهُ مَا أَعْطَى، وَكُلُّ شَيْءٍ عِنْدَ اللَّهِ بِأَجَلٍ مُسَمًّى، فَلْتَصْبِرْ وَلْتَحْتَسِبْ»، فَأَرْسَلَتْ إِلَيْهِ تُقْسِمُ عَلَيْهِ لَيَأْتِيَنَّهَا، فَقَامَ وَمَعَهُ سَعْدُ بْنُ عُبَادَةَ، وَمُعَاذُ بْنُ جَبَلٍ، وَأُبَيُّ بْنُ كَعْبٍ، وَزَيْدُ بْنُ ثَابِتٍ، وَرِجَالٌ رَضِيَ اللهُ عَنْهُم، فَرُفِعَ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الصَّبِيُّ وَنَفْسُهُ تَقَعْقَعُ، فَفَاضَتْ عَيْنَاهُ، فَقَالَ سَعْدٌ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، مَا هَذَا؟ قَالَ: «هَذَا رَحْمَةٌ، يَجْعَلُهَا اللَّهُ فِي قُلُوبِ عِبَادِهِ، وَإِنَّمَا يَرْحَمُ اللَّهُ مِنْ عِبَادِهِ الرُّحَمَاء » [متفق عليه]

    “บุตรีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่ง(คน)มาแจ้งว่า “แท้จริงบุตรของฉันใกล้จะสิ้นใจแล้ว ท่านโปรดมาร่วมอยู่กับเรา” แล้วท่านเราะสูลก็ได้ส่ง(คน)ไปกล่าวสลาม และให้กล่าวว่า “แท้จริงเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺสิ่งที่พระองค์จะเอาไป และเป็นของพระองค์สิ่งที่พระองค์ให้มา และทุกสิ่ง ณ ที่ของพระองค์เป็นไปตามอายุขัยที่ถูกกำหนด ดังนั้นเธอจงอดทนเถิด และจงหวังในผลบุญตอบแทน” แล้วนางก็ได้ส่ง(คน)มาบอกว่านางสาบานว่าท่านต้องมา แล้วท่านก็ได้ลุกออกไปพร้อมกับท่านสะอัด บินอุบาดะฮฺ ท่านมุอาซ บินญะบัล ท่านอุบัยด์ บินกะอฺบ์ ท่านซัยด์ บินษาบิต และคนอื่นๆ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม แล้วเด็กก็ถูกอุ้มยกไปให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ท่านก็วางเขาไว้บนตักของท่าน และตัวของท่านก็สะอื้น แล้วตาทั้งสองของท่านก็มีน้ำตาไหลรินออกมา แล้วท่านสะอัดก็ได้กล่าวว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ นี่อันใดกันหรือ?” ท่านกล่าวตอบว่า “มันความความเมตตาที่อัลลอฮฺสร้างมันขึ้นในหัวใจของบ่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ และอันที่จริงนั้น อัลลอฮจะทรงเมตตาต่อผู้มีความเมตตาในหมู่บ่าวของพระองค์” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม

    คำว่า ตะเกาะอฺเกาะอะ (สะอื้น) หมายถึง ตัวขยับ และสั่น

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    « سَمِعْتُ أَبَا القَاسِمِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ: «لَا تُنْزَعُ الرَّحْمَةُ إِلَّا مِنْ شَقِيّ » [أخرجه الترمذي]

    “ฉันได้ยินท่านอบูกอสิม ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ความเมตตาจะไม่ถูกดึงไป(จากผู้ใด)นอกจากจากผู้ที่อับโชคเท่านั้น” บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « بَيْنَمَا رَجُلٌ يَمْشِي بِطَرِيقٍ، اشْتَدَّ عَلَيْهِ العَطَشُ، فَوَجَدَ بِئْرًا فَنَزَلَ فِيهَا، فَشَرِبَ ثُمَّ خَرَجَ، فَإِذَا كَلْبٌ يَلْهَثُ، يَأْكُلُ الثَّرَى مِنَ العَطَشِ، فَقَالَ الرَّجُلُ: لَقَدْ بَلَغَ هَذَا الكَلْبَ مِنَ العَطَشِ مِثْلُ الَّذِي كَانَ بَلَغَ بِي، فَنَزَلَ البِئْرَ فَمَلَأَ خُفَّهُ ثُمَّ أَمْسَكَهُ بِفِيهِ، فَسَقَى الكَلْبَ فَشَكَرَ اللَّهُ لَهُ فَغَفَرَ لَهُ» قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ، وَإِنَّ لَنَا فِي البَهَائِمِ أَجْرًا؟ فَقَالَ: «نَعَمْ، فِي كُلِّ ذَاتِ كَبِدٍ رَطْبَةٍ أَجْرٌ » [متفق عليه]

    “ระหว่างที่ชายคนหนึ่งกำลังเดินบนทางสัญจร เขาก็เกิดความกระหายน้ำอย่างหนัก แล้วเขาก็เจอบ่อน้ำหนึ่ง เขาก็ลงไปดื่มน้ำ จากนั้นเขาก็ออกมา ทันใดเขาก็เห็นสุนัขตัวหนึ่งกำหลังแล็บลิ้นเลียดินด้วยความกระหาย เขาก็กล่าวว่า สุนัขตัวนี้คงกระหายน้ำจัดอย่างเดียวที่ฉันได้กระหายเป็นแน่ แล้วเขาก็ลงไปในบ่อ ตักน้ำจนเต็มรองเท้าของเขา แล้วใช้ปากคาบไว้เพื่อปีนขึ้นมา แล้วก็เอาให้สุนัขดื่ม อัลลอฮฺจึงทรงขอบคุณเขาและทรงอภัยโทษให้เขา” พวกเขากล่าวถามว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ กับสัตว์เราก็ได้ผลบุญด้วยกระนั้นหรือ? ท่านกล่าวตอบว่า “ใช่ ในทุกๆสิ่งที่มีตับสดก็มีผลบุญตอบแทน” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

    คำอธิบาย

    ศาสนาของชาวมุสลิมเป็นศาสนาที่ดำรงอยู่บนความเมตตา พระผู้อภิบาลของพวกเขาก็เมตตาต่อพวกเขา นบีของพวกเขาก็เมตตาต่อพวกเขา และอัลลอฮฺทรงกล่าวถึงลักษณะของพวกเขาไว้ว่าพวกเขานั้นมีเมตตาต่อกัน และคุณธรรมของความเมตตานั้นเป็นคุณธรรมที่น่ายกย่องที่อัลลอฮฺรัก และทรงบอกผ่านทางท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ว่า ผู้ที่มีเมตตาเท่านั้นที่จะเมตตาต่อบ่าวของพระองค์

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · การมีเมตตาเป็นลักษณะของผู้ศรัทธา

    · การเมตตาต่อผู้อื่นเป็นสาเหตุให้ได้เข้าไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺ

    · การถอนความเมตตาออกไปจากหัวใจนั้นเป็นสัญญาณบอกถึงถึงความอับโชคของคนๆนั้น