×
กล่าวถึงความประเสริฐของการตัสบีหฺ ตะฮฺลีล ตะห์มีด ตักบีร อิสติฆฟาร และบทซิกิรเยี่ยงเดียวกันที่มีบัญญัติให้กล่าวได้ทุกเวลา ตามแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    บทซิกิรทั่วไป

    الأذكار المطلقة

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: صافي عثمان

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي


    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    บทซิกิรทั่วไป

    ในบรรพนี้ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงความประเสริฐของการตัสบีหฺ(การกล่าว สุบหานัลลอฮฺ หมายถึง มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์อัลลอฮฺ) ตะฮฺลีล(การกล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ) ตะห์มีด(การกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ หมายถึง มวลการสรรเสริญแด่พระองค์อัลลอฮฺ) ตักบีร(การกล่าว อัลลอฮุอักบัร หมายถึง อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่) อิสติฆฟาร(การกล่าว อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ หมายถึง ข้าขออภัยโทษยังพระองค์อัลลอฮฺ) และบทซิกิรเยี่ยงเดียวกันที่มีบัญญัติให้กล่าวได้ทุกเวลา

    จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «كَلِمَتَانِ خَفِيفَتَانِ عَلَى اللِّسَانِ ثَقِيلَتَانِ فِي الْمِيزَانِ حَبِيبَتَانِ إِلَى الرَّحْمَن:ِ سُبْحَانَ اللهِ وَبِحَمْدِهِ، سُبْحَانَ اللهِ الْعَظِيمِ».

    ความว่า "สองคำที่เบาแก่ลิ้น(ที่จะกล่าว) หนักบนตาชั่ง(ในวันกิยามะฮฺ) เป็นที่รักแก่อัร-เราะห์มาน(อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตา) นั่นคือ สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ และ สุบหานัลลอฮิลอะซีม"

    (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6682 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 2694)

    จากสะมุเราะฮฺ อิบนุ ญุนดุบ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «أَحَبُّ الكَلامِ إلَى اللهِ أَرْبَـعٌ: سُبْـحَانَ اللهِ، وَالحَـمْدُ للهِ، وَلا إلٰـهَ إلَّا اللهُ، وَاللهُ أَكْبَرُ، لا يَضُرُّكَ بِأَيِّهِنَّ بَدَأْتَ».

    ความว่า "ถ้อยคำที่เป็นที่รักที่สุดแก่อัลลอฮฺนั้นมีสี่อย่าง คือ สุบหานัลลอฮฺ, อัลหัมดุลิลลาฮฺ, ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ และ อัลลอฮุอักบัร ไม่เป็นปัญหาแก่ท่านว่าจะเริ่มกล่าวด้วยคำใดก่อนก็ได้"

    (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2137)

    จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «لأَنْ أَقُولَ: سُبْـحَانَ اللهِ، وَالحَـمْدُ للهِ، وَلا إلٰـهَ إلَّا اللهُ، وَاللهُ أَكْبَرُ، أَحَبُّ إلَيَّ مِـمَّا طَلَعَتْ عَلَيهِ الشَّمْسُ».

    ความว่า "การที่ฉันกล่าว สุบหานัลลอฮฺ วัลหัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วัลลลอฮุอักบัร นั้นย่อมเป็นที่รักแก่ฉันมากกว่าสิ่งที่ดวงอาทิตย์ได้ขึ้นมาเหนือมัน(หมายถึงโลกดุนยา)"

    (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2695)

    จากอบู มาลิก อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «الطُّهُورُ شَطْرُ الإيْـمَانِ، وَالحَـمْدُ لله تَـمْلأُ المِيزَانَ، وَسُبْـحَانَ الله وَالحَـمْدُ لله تَـمْلآنِ أَوْ تَـمْلأُ مَا بَينَ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ، وَالصَّلاةُ نُورٌ، وَالصَّدَقَةُ بُرْهَانٌ، وَالصَّبْرُ ضِيَاءٌ، وَالقُرآنُ حُجَّةٌ لَكَ أَوْ عَلَيكَ، كُلُّ النَّاسِ يَـغْدُو، فَبَايِـعٌ نَفْسَهُ، فَمُعْتِقُهَا أَوْ مُوْبِقُهَا».

    ความว่า "ความสะอาดนั่นคือส่วนหนึ่งของความศรัทธา(นักอธิบายบางท่านให้ความหมายว่า การอาบน้ำละหมาดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของละหมาด) ถ้อยคำ อัลหัมดุลิลลาฮฺ นั้น(ผลบุญของมัน)เติมเต็มตาชั่ง(ในวันกิยามะฮฺ) และ สุบหานัลลอฮฺ วัล หัมดุลิลลาฮฺ นั้น(ผลบุญของมัน)เต็มระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน การละหมาดนั้นเป็นนูรฺ(แสงรัศมีที่แพรวพราวหรือแสงนวล) การเศาะดะเกาะฮฺ(การจ่ายซะกาต)นั้นเป็นหลักฐาน(ถึงการศรัทธาที่แท้จริง) ความอดทนนั้นเป็นแสงสว่างเจิดจ้า อัลกุรอานนั้นเป็นหลักฐานให้กับท่าน(หากปฏิบัติตามมัน) หรือเป็นพยานเหนือตัวท่าน(หากไม่ปฏิบัติตามมัน) มนุษย์ทุกคนตื่นเช้าเพื่อแลกตัวเอง บางคนได้ปลดปล่อยตัวเองจากการลงโทษ(ด้วยการภักดีต่ออัลลอฮฺและทำความดี) และบางคนได้ทำลายตัวเอง(ด้วยการภักดีต่อชัยฎอนและทำความชั่ว)"

    (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 223)

    จากอบู ซัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามว่า "ถ้อยคำใดที่ประเสริฐที่สุด?" ถามตอบว่า

    «مَا اصْطَفَى الله لِـمَلائِكَتِـهِ أَوْ لِعِبَادِهِ: سُبْـحَانَ الله وَبِـحَـمْدِهِ».

    ความว่า "คือสิ่งที่อัลลอฮฺได้เลือกสรรให้ปวงมลาอิกะฮฺหรือปวงบ่าวของพระองค์ นั่นคือ สุบหานัลลอฮฺ วะ บิหัมดิฮฺ"

    (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2731)

    จาสะอัด อิบนุ อบี วักกอศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ครั้งหนึ่งเราได้อยู่พร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า

    «أَيَـعْجِزُ أَحَدُكُمْ أَنْ يَكْسِبَ كُلَّ يَومٍ أَلْفَ حَسَنَةٍ؟» فَسَأَلَـهُ سَائِلٌ مِنْ جُلَسَائِهِ: كَيْفَ يَكْسِبُ أَحَدُنَا أَلْفَ حَسَنَةٍ؟ قَالَ: «يُسَبِّحُ مِائَةَ تَسْبِيحَةٍ، فَيُكْتَبُ لَـهُ أَلْفُ حَسَنَةٍ، أوْ يُـحَطُّ عَنْـهُ أَلْفُ خَطِيئَةٍ».  أخرجه مسلم، وفي لفظ: «تُكْتَبُ لَـهُ أَلْفُ حَسَنَةٍ، وَتُـحَطُّ عَنْـهُ أَلْفُ سَيِّئَةٍ».

    ความว่า "พวกท่านแต่ละคนอ่อนแอหรือที่จะเก็บเกี่ยวหนึ่งพันความดีในแต่ละวัน?" คนที่นั่งอยู่ด้วยคนหนึ่งได้ถามท่านว่า พวกเราแต่ละคนจะเก็บเกี่ยวหนึ่งพันความดีในแต่ละวันได้อย่างไร? ท่านตอบว่า "ให้เขากล่าวตัสบีห์ สุบหานัลลอฮฺ หนึ่งร้อยครั้ง เขาก็จะถูกบันทึกหนึ่งพันความดีให้ หรือจะถูกลบหนึ่งพันความผิดจากเขา" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2698) ในรายงานหนึ่งมีว่า "จะถูกบันทึกหนึ่งพันความดีให้กับเขา และจะถูกลบหนึ่งพันความผิดจากเขา"

    (บันทึกโดยอะหฺมัด หมายเลข 1496 และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 3463 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

    จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าวว่า

    «مَنْ قَالَ سُبْـحاَنَ الله العَظِيمِ وَبِـحَـمْدِهِ غُرِسَتْ لَـهُ نَخْلَةٌ فِي الجَنَّةِ».

    ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่า สุบหานัลลอฮิลอะซีม วะบิหัมดิฮฺ จะถูกปลูกต้นอินทผลัมหนึ่งต้นเตรียมไว้แก่เขาในสวรรค์"

    (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 3465 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ หมายเลข 64)

    จากญุวัยริยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ละออกไปจากบ้านนางในยามเช้าตรู่ในขณะที่นางนั่งในที่ละหมาดของนาง แล้วท่านก็กลับมาในยามสายในขณะที่นางยังนั่งอยู่ที่เดิม ท่านกล่าวว่า "เธอยังนั่งเช่นในสภาพเดิมตอนที่ฉันออกไปกระนั้นหรือ?" นางตอบว่า "ใช่" ท่านจึงกล่าวว่า

    «لَقَدْ قُلْتُ بَـعْدَكِ أَرْبَـعَ كَلِـمَاتٍ ثَلاثَ مَرَّاتٍ لَوْ وُزِنَتْ بِمَا قُلْتِ مُنْذُ اليَومِ لَوَزَنَتْـهُنَّ: سُبْـحَانَ الله وَبِـحَـمْدِهِ، عَدَدَ خَلْقِهِ، وَرِضَا نَفْسِهِ، وَزِنَةَ عَرْشِهِ، وَمِدَادَ كَلِـمَاتِـهِ».

    ความว่า "แท้จริง หลังจากที่ออกไป ฉันได้กล่าวถ้อยคำสี่คำสามครั้ง ซึ่งถ้านำไปชั่งเทียบกับสิ่งที่เธอกล่าวทั้งหมดตั้งแต่เริ่มวันนี้ แน่นอนสี่คำนั้นย่อมหนักกว่า นั่นคือ สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ, อะดะดา ค็อลกิฮฺ, วะ ริฎอ นัฟซิฮฺ, วะ ซินะตะ อัรชิฮฺ, วะ มิดาดะ กะลิมาติฮฺ (ความหมาย มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺ และด้วยการสรรเสริญแด่พระองค์ มากเท่าสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และเท่าที่ตัวพระองค์โปรดปราน และเท่ากับน้ำหนักของอัรชฺแห่งพระองค์ และเท่ากับน้ำหมึกแห่งถ้อยคำของพระองค์)"  (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2726)

    จากอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ قَالَ لا إلَـهَ إلَّا الله وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ المُلْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلٰى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ، عَشْرَ مِرَارٍ كَانَ كَمَنْ أَعْتَقَ أَرْبَـعَةَ أَنْفُسٍ مِنْ وَلَدِ إسْمَاعِيلَ».

    ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะห์ดะฮุ ลาชะรีกะละฮฺ, ละฮุลมุลกุ วะละฮุลหัมด์, วะฮุวะ อะลา กุลลิชัยอิน กอดีร (ความว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ สำหรับพระองค์คืออำนาจการครอบครองและมวลการสรรเสริญ และพระองค์ทรงมีเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง) จำนวนสิบครั้ง เขาจะได้รับผลบุญประหนึ่งไถ่ทาสสี่คนจากลูกหลานของอิสมาอีล"

    (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2693)

    จากสะอัด บิน อบี วักกอศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า มีชายเบดูอินคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และได้กล่าวแก่ท่านว่า "จงสอนถ้อยคำแก่ฉันสักประการที่ฉันจะได้ใช้กล่าว" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตอบว่า  

    «قُلْ : لَا إلٰـهَ إلَّا الله وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَـهُ، اللهُ أَكْبَرُ كَبِيراً، وَالحَـمْدُ للهِ كَثِيراً، سُبْـحَانَ اللهِ رَبِّ العَالَـمِينَ، لا حَولَ وَلا قُوَّةَ إلَّا بِاللهِ العَزِيزِ الحَكِيمِ»، قَالَ: فَهٰؤلَاءِ لِرَبِّي فَمَا لِي؟ قَالَ: «قُلْ: اللّٰهُـمَّ اغْفِرْ لِي وَارْحَـمْنِي وَاهْدِنِي وَارْزُقْنِي».

    ความว่า "ท่านจงกล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะห์ดะฮุ ลาชะรีกะละฮฺ, อัลลอฮุ อักบัร กะบีรอ, วัลหัมดุลิลลาฮิ กะษีรอ, สุบหานัลลอฮิ ร็อบบิล อาละมีน, ลาเหาละ วะลา กุว์วะตา อิลลา บิลลาฮิล อะซีซิล หะกีม (ความว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ สำหรับพระองค์คืออำนาจการครอบครองและมวลการสรรเสริญ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ มวลการสรรเสริญอันมากมายเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์ยิ่งเถิดผู้อภิบาลแห่งจักรวาลทั้งมวล ไม่มีความสามารถและพละกำลังใดที่เกิดขึ้นเว้นแต่ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ)" ชายผู้นั้นกล่าวต่อไปว่า "นั่นสำหรับพระเจ้าของฉัน แล้วสำหรับตัวฉันล่ะ?" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า "จงกล่าวว่า อัลลอฮุมมัฆฟิรลี วัรหัมนี วะฮฺดินี วัรซุกนี (ความว่า โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ได้โปรดอภัยให้ข้าพระองค์ และเมตตาข้าพระองค์ และชี้ทางข้าพระองค์ และประทานปัจจัยริสกีแก่ข้าพระองค์)"

    (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2696)

    จากอบู ซัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าวว่า

    «يُصْبِـحُ عَلَى كُلِّ سُلامَى مِنْ أَحَدِكُمْ صَدَقَةٌ، فَكُلُّ تَسْبِيحَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـحْـمِيدَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـهْلِيلَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـكْبِيرَةٍ صَدَقَةٌ، وَأَمْرٌ بِالمعْرُوفِ صَدَقَةٌ، وَنَـهْيٌ عَنِ المنْكَرِ صَدَقَةٌ، وَيُـجْزِئُ مِنْ ذَلِكَ رَكْعَتَانِ يَرْكَعُهُـمَا من الضُّحَى».

    ความว่า "ในแต่ละเช้านั้นพวกท่านแต่ละคนมีหน้าที่ต้องจ่ายเศาะดะเกาะฮฺสำหรับทุกๆ ข้อต่อในร่างกาย การตัสบีหฺ(กล่าว สุบหานัลลอฮฺ)ครั้งหนึ่งก็ถือเป็นหนึ่งเศาะดะเกาะฮฺ การตะห์มีด(กล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ)ครั้งหนึ่งก็ถือเป็นหนึ่งเศาะดะเกาะฮฺ การสั่งเสียให้ทำความดีก็เป็นหนึ่งเศาะดะเกาะฮฺ การห้ามจากความชั่วก็เป็นหนึ่งเศาะดะเกาะฮฺ และเป็นการทดแทนอย่างพอเพียงสำหรับสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดด้วยการละหมาดฎุหาสองร็อกอะฮฺ"

    (บันทึกโดยมุสลิม 720)

    จากอบู สะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ قَالَ: رَضِيْتُ بِالله رَبّـاً، وَبِالإسْلامِ دِيناً، وَبِمُـحَـمَّدٍ رَسُولاً وَجَبَتْ لَـهُ الجَنَّةُ».

    ความว่า "ผู้ใดกล่าวว่า เราะฎิตุ บิลลาฮิ ร็อบบา, วะบิลอิสลามิ ดีนา, วะบิมุหัมมะดิร รอซูลา, (ความว่า ฉันพอใจด้วยอัลลอฮฺเป็นองค์อภิบาลของฉัน พอใจด้วยอิสลามเป็นศาสนาของฉัน และพอใจด้วยท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นศาสนทูตของฉัน) แน่แท้สวรรค์จำต้องได้แก่เขา"

    (บันทึกโดยมุสลิม 1884 และ อบู ดาวูด 1529 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

    จากอบู มูซา เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «يَا عبْدَالله بْنَ قَيسٍ أَلا أَدُلُّكَ عَلَى كَنْزٍ مِنْ كُنُوزِ الجَنَّةِ؟» فَقُلْتُ: بَلَى يَا رَسُولَ الله، قَالَ: «قُلْ: لا حَولَ وَلا قُوَّةَ إلَّا بِاللهِ٬».

    ความว่า "โอ้ อับดุลลอฮฺ อิบนุ ก็อยส์ จะให้ฉันบอกแก่ท่านถึงคลังหนึ่งในจำนวนคลังทั้งหลายของสวรรค์ไหม?" ฉันจึงตอบว่า "เอาสิ โอ้ ผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ" ท่านนบีกล่าวว่า "จงกล่าวเถิดว่า  ลาเหาละ วะลา กุวฺวะตะ อิลลา บิลลาฮฺ (ไม่มีความสามารถและพละกำลังใดที่เกิดขึ้นเว้นแต่ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ)".       (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6384 และมุสลิม 2704)

    จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ฟังศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «وَاللهِ إنِّي لأَسْتَغْفِرُ الله وَأَتُوبُ إلَيهِ فِي اليَومِ أَكْثَرَ مِنْ سَبْعِينَ مَرَّةً».

    ความว่า "ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ แท้จริงฉันได้กล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺและเตาบะฮฺต่อพระองค์ (อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ วะอะตูบุ อิลัยฮิ) ในแต่ละวันมากกว่าเจ็ดสิบครั้ง"

    (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6307)

    จาก อัล-อะฆ็อร อัล-มุซะนีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «إنَّهُ لَيُـغَانُ عَلَى قَلْبِي وَإنِّي لأَسْتَغْفِرُ الله فِي اليَومِ مِائَةَ مَرَّةٍ».

    ความว่า "แท้จริง มันมีเยื่อบางๆ ที่ปกคลุมหัวใจของฉัน(หมายถึงการลืมเป็นบางครั้งบางคราว หรือบางครั้งที่ล้าไปบ้าง) และแท้จริงฉันกล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺในแต่ละวันหนึ่งร้อยครั้ง"

     (บันทึกโดย มุสลิม 2702)

    จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ صَلَّى عَلَيَّ وَاحِدَةً صَلَّى الله عَلَيهِ عَشْراً».

    ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวเศาะละวาตแก่ฉันหนึ่งครั้ง อัลลอฮฺจะทรงประทานเมตตาและผลบุญแก่เขาสิบครั้ง"

     (บันทึกโดยมุสลิม 408)

    จากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าได้ฟังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَنْ قَالَ أَسْتَغْفِرُ اللهَ الَّذِي لَا إلـٰهَ إلَّا هُوَ الحَيُّ القَيُّومُ وَأَتُوبُ إلَيهِ ثلاثاً، غُفِرَتْ ذُنُوبُـهُ وَإنْ كَانَ فَارّاً مِنَ الزَّحْفِ».

    ความว่า "ผู้ใดกล่าวว่า อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ อัลละซี ลาอิลาฮะ อิลลา ฮุวัลหัยยุล ก็อยยูม วะอะตูบุ อิลัยฮิ (ฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ ผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพภักดีนอกจากพระองค์ผู้ทรงชีวินและทรงยืนหยัดจัดการสรรพสิ่งของพระองค์ และขอเตาบะฮฺต่อพระองค์) จำนวนสามครั้ง แน่นอนบาปต่างๆ ของเขาย่อมต้องได้รับการอภัย แม้ว่าเขาจะหนีจากกองทัพในยามสงครามมา"

    (บันทึกโดย อัล-หากิม 2550 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 2727)