การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ
หมวดหมู่
Full Description
การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อัฟนาน เพ็ชรทองคำ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
2012 - 1433
﴿ صلة الأرحام ﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: أفنان بيتونكام
مراجعة: عصران نيومديشا
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่องที่ 121
การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอการสรรเสริญจากอัลลอฮฺและความสันติจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่าน ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่า มุหัมมัดเป็นบ่าวของพระองค์อัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์
การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติเป็นการงานที่ดีและการเชื่อฟังที่สูงส่งที่สุด และเป็นตำแหน่งอันมีเกียรติมีความจำเริญอย่างยิ่ง และก่อประโยชน์ครอบคลุมทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ
เครือญาติ คือผู้ใกล้ชิดกับคนๆหนึ่ง เช่น แม่ พ่อ ลูกชาย ลูกสาว พี่สาว พี่ชาย และทุกๆคนที่มีความเกี่ยวพันกับเขาทางด้านพ่อ แม่ ลูกสาว หรือลูกชาย แต่ไม่นับไปถึงญาติของสามีหรือภรรยา พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่เราควรจะทำดีด้วยโดยที่ไม่นับว่าเป็นเครือญาติ ทว่าพวกเขามีฐานะเป็นญาติทางการแต่งงาน อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مِنۢ بَعۡدُ وَهَاجَرُواْ وَجَٰهَدُواْ مَعَكُمۡ فَأُوْلَٰٓئِكَ مِنكُمۡۚ وَأُوْلُواْ ٱلۡأَرۡحَامِ بَعۡضُهُمۡ أَوۡلَىٰ بِبَعۡضٖ فِي كِتَٰبِ ٱللَّهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ بِكُلِّ شَيۡءٍ عَلِيمُۢ ٧٥﴾ [الأنفال: 75]
ความว่า "และบรรดาผู้ที่ศรัทธาทีหลัง และอพยพ และต่อสู้ร่วมกับพวกเจ้านั้น ชนเหล่านี้แหละเป็นส่วนหนึ่งของพวกเจ้า และบรรดาญาตินั้นบางส่วนของพวกเขาเป็นผู้สมควรต่ออีกบางส่วนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้น ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง” (อัล-อันฟาล: 75)
อัลลอฮฺทรงทรงแนะนำให้เชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ และทรงโยงการเชื่อมสัมพันธ์เข้ากับความยำเกรง อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ ٱلَّذِي تَسَآءَلُونَ بِهِۦ وَٱلۡأَرۡحَامَۚ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلَيۡكُمۡ رَقِيبٗا١﴾ [النساء: 1]
ความว่า“และจงยำเกรงอัลลอฮฺที่พวกเจ้าต่างขอกันด้วยพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ แท้จริงอัลลอฮฺทรงสอดส่องดูพวกเจ้าอยู่เสมอ" (อัน-นิสาอ์: 1)
คือ จงยำเกรงอัลลอฮฺด้วยการทำสิ่งที่เป็นการเชื่อฟังพระองค์ ละทิ้งการฝ่าฝืน และจงเกรงกลัวการตัดขาดเครือญาติ จงเชื่อมสัมพันธ์และทำดีกับพวกเขา เช่นดังที่ท่านอิบนิ อับบาส และบรรพชนหลายท่านในรุ่นก่อนกล่าวไว้
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ فََٔاتِ ذَا ٱلۡقُرۡبَىٰ حَقَّهُۥ وَٱلۡمِسۡكِينَ وَٱبۡنَ ٱلسَّبِيلِۚ ذَٰلِكَ خَيۡرٞ لِّلَّذِينَ يُرِيدُونَ وَجۡهَ ٱللَّهِۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ٣٨ ﴾ [الروم: ٣٨]
ความว่า “จงบริจาคแก่ญาติสนิทซึ่งสิทธิของเขา และแก่ผู้ขัดสนและผู้เดินทาง นั่นแหละเป็นการดียิ่งสำหรับบรรดาผู้ปรารถนาพระพักตร์ของอัลลอฮฺ และชนเหล่านั้นแหละพวกเขาเป็นผู้ประสบชัยชนะ" (อัร-รูม: 38)
อัลลอฮฺทรงอธิบายว่า การเชื่อมสัมพันธ์เป็นสิทธิผูกมัดที่จำเป็นต้องกระทำ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิด้านวัตถุหรือจิตใจ
การเชิญชวนสู่การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ เป็นสิ่งแรกๆ ที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เชิญชวนตั้งแต่เริ่มแรกของการถูกแต่งตั้งเป็นศาสนทูต
ดังมีรายงานเรื่องของ อบู สุฟยาน กับ ฮิร็อกกิล เมื่อฮิร็อกกิล ถามเขาว่า "สิ่งใดที่เขาสั่งใช้พวกเจ้า?” หมายถึง ท่าน
นบี มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
อบู สุฟยานตอบว่า: เขากล่าวว่า: พวกท่านจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียว และอย่าตั้งภาคีใดต่อพระองค์ จงละทิ้งสิ่งที่บรรพบุรุษของพวกท่านกล่าว และเขาสั่งให้ละหมาด ให้มีความสัจจริง ทำตนให้มีร่างกายและจิตใจที่บริสุทธิ์ และเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ (อัล-บุคอรียฺ: 7 และมุสลิม: 1773)
การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติเป็นสาเหตุของการเพิ่มพูน
ริสกี (ปัจจัยยังชีพ) และยืดชีวิตให้ยืนยาวในโลกนี้ และมีชัยในโลกหน้า คือได้เข้าสวรรค์และรอดพ้นจากนรก
รายงานจาก อบี อัยยูบ อัล-อันศอรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า: ชาวอาหรับชนบทผู้หนึ่งปรากฏตัวต่อหน้าท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ขณะที่ท่านอยู่ระหว่างการเดินทาง แล้วเขาก็จับเชือกผูกอูฐของท่าน และกล่าวว่า: โอ้เราะสูลุลลอฮฺ (หรือกล่าวว่า โอ้ มุหัมมัด) ช่วยบอกฉันถึงสิ่งที่จะทำให้ฉันเข้าใกล้สวนสวรรค์ และสิ่งที่จะทำให้ฉันห่างไกลจากนรก?
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็หยุดและมองไปที่บรรดาสหายของท่านแล้วกล่าวว่า "เขากล่าวถูกต้องแล้ว (หรือกล่าวว่า เขาได้รับการชี้แนะแล้ว)" แล้วท่านก็กล่าวถามว่า "ท่านว่าอย่างไรนะ?” ชายคนนั้นจึงทวนคำถามอีกครั้ง แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า
«تَعْبُدُ اللهَ لاَ تُشْرِكُ بِهِ شَيْئا، وَتُقِيمُ الصّلاَةَ، وَتُؤْتِي الزّكَاةَ، وَتَصِلُ الرّحِمَ، دَعِ النّاقَةَ» [البخاري برقم 1397، ومسلم برقم 13]
ความว่า "ก็ด้วยการที่ท่านเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ ดำรงการละหมาด บริจาคทานบังคับติดต่อเครือญาติ เมื่อท่านทราบเช่นนี้แล้วก็ปล่อยมือท่านจากอูฐเถิด (เพราะเขากำลังจับอูฐของท่านอยู่)) ”อัล-บุคอรียฺ: 1397 และมุสลิม: 13)
และในบางรายงานท่านกล่าวว่า "หากเขายึดมั่นในสิ่งที่เขาถูกสั่งใช้เขาจะได้เข้าสวรรค์" (มุสลิม: 13)
ท่านอนัส บิน มาลิก เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ سَرَّهُ أَنْ يُبْسَطَ لَهُ فِي رِزْقِهِ أَوْ يُنْسَأَ لَهُ فِي أَثَرِهِ فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ» [البخاري برقم 2067، ومسلم برقم 2557]
ความว่า "ผู้ใดที่ประสงค์ที่จะได้รับปัจจัยยังชีพอันมากมาย หรือร่นกำหนดความตายของเขาออกไปอีก ก็ให้เขาจงเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา" (อัล-บุคอรียฺ 2067 และมุสลิม 2557)
การตัดขาดเครือญาติเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ ที่อัลลอฮฺทรงสัญญาไว้กับผู้กระทำซึ่งการสัญญาร้ายหลายแบบ และบอกถึงการลงโทษทั้งในเวลาใกล้และไกล ในโลกนี้ และโลกหน้า อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿وَٱلَّذِينَ يَنقُضُونَ عَهۡدَ ٱللَّهِ مِنۢ بَعۡدِ مِيثَٰقِهِۦ وَيَقۡطَعُونَ مَآ أَمَرَ ٱللَّهُ بِهِۦٓ أَن يُوصَلَ وَيُفۡسِدُونَ فِي ٱلۡأَرۡضِ أُوْلَٰٓئِكَ لَهُمُ ٱللَّعۡنَةُ وَلَهُمۡ سُوٓءُ ٱلدَّارِ ٢٥﴾ [الرعد : 25]
ความว่า "และบรรดาผู้ทำลายพันธะของอัลลอฮฺ หลังจากที่ได้ให้คำมั่นสัญญาแก่พระองค์ และพวกเขาตัดขาดสิ่งที่อัลลอฮฺทรงใช้ให้เขาต่อ และบ่อนทำลายในแผ่นดิน ชนเหล่านี้แหละพวกเขาจะได้รับการสาปแช่ง และจะได้ที่พำนักอันชั่วช้า” (อัร-เราะอฺด์: 25)
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ اللَّهَ خَلَقَ الْخَلْقَ حَتَّى إِذَا فَرَغَ مِنْ خَلْقِهِ، قَالَتِ الرَّحِمُ : هَذَا مَقَامُ الْعَائِذِ بِكَ مِنَ الْقَطِيعَةِ . قَالَ: نَعَمْ، أَمَا تَرْضَيْنَ أَنْ أَصِلَ مَنْ وَصَلَكِ وَأَقْطَعَ مَنْ قَطَعَكِ . قَالَتْ: بَلَى يَا رَبِّ . قَالَ: فَهْوَ لَكِ» ، قال رسول الله صلّى الله عليه وسلّم : «فَاقْرَؤُوْا إِنْ شِئْتُم : ﴿فَهَلۡ عَسَيۡتُمۡ إِن تَوَلَّيۡتُمۡ أَن تُفۡسِدُواْ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَتُقَطِّعُوٓاْ أَرۡحَامَكُمۡ ٢٢﴾ [محمد: 22]» [البخاري برقم 5987، ومسلم برقم 2554]
ความว่า "แท้จริง อัลลอฮฺทรงสร้างสิ่งถูกสร้างทั้งหมดจนเสร็จสิ้น เมื่อนั้นเครือญาติกล่าวก็ขึ้นว่า: นี่เป็นการขอความคุ้มครองของฉันต่อพระองค์เพื่อว่าฉันจะไม่ถูกตัดขาด พระองค์กล่าวว่า ได้, เจ้าจะพอใจไหมที่ข้าจะเชื่อมสัมพันธ์กับผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์เจ้า และตัดสัมพันธ์กับผู้ที่ตัดขาดกับเจ้า เครือญาติกล่าวว่า ใช่แล้ว โอ้พระผู้อภิบาลของข้า พระองค์กล่าวว่า ดังนั้น (ข้าจะทำให้)มันเป็นสิทธิสำหรับเจ้า” และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “พวกท่านจงอ่านอายะฮฺนี้ หากพวกท่านปรารถนา
﴿فَهَلۡ عَسَيۡتُمۡ إِن تَوَلَّيۡتُمۡ أَن تُفۡسِدُواْ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَتُقَطِّعُوٓاْ أَرۡحَامَكُمۡ ٢٢﴾ [محمد : 22]
ความว่า "ดังนั้น หวังกันว่าหากพวกเจ้าผินหลังให้กับการศรัทธาแล้วพวกเจ้าก็จะก่อความเสียหายในแผ่นดินและตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพวกเจ้ากระนั้นหรือ?” (มุหัมมัด :22) (อัล-บุคอรียฺ: 5987 และมุสลิม: 2554)
รายงานโดยอบู บักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِنْ ذَنْبٍ أَجْدَرُ أَنْ يُعَجِّلَ اللَّهُ لِصَاحِبِهِ الْعُقُوبَةَ فِي الدُّنْيَا ، مَعَ مَا يَدَّخِرُ لَهُ فِي الآخِرَةِ ، مِنَ الْبَغْي وَقَطِيعَةِ الرَّحِمِ» [الترمذي برقم 2511 وقال حديث حسن صحيح]
ความว่า "ไม่มีบาปใดเหมาะสมที่อัลลอฮฺจะเร่งรีบลงโทษผู้ทำบาปนั้นในโลกนี้พร้อม ๆ กับสะสมการลงโทษไว้ให้เขาในโลกหน้า ยิ่งไปกว่า ความอยุติธรรม และการตัดสัมพันธ์เครือญาติ” (อัต-ติรมีซียฺ : 2511 เขากล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน เศาะฮีหฺ)
ผู้ที่ตัดขาดเครือญาติถูกขู่ขวัญด้วยกับการห้ามเข้าสวนสวรรค์ รายงานจากท่านญุเบรฺ บิน มุฏอิม เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لا يَدْخُلُ الْجَنَّةَ قَاطِعُ رَحِمٍ» [البخاري برقم 5984، ومسلم برقم 2556]
ความว่า "ผู้ที่ตัดขาดเครือญาติจะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์" (อัล-บุคอรียฺ: 5984 และมุสลิม: 2556)
และผู้ที่ติดต่อเครือญาติของเขา คือผู้ที่เมื่อเขาถูกตัดขาดเครือญาติเขาก็เชื่อมสัมพันธ์
อับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَيْسَ الْوَاصِلُ بِالْمُكَافِئِ وَلَكِنْ الْوَاصِلُ الَّذِي إِذَا قُطِعَتْ رَحِمُهُ وَصَلَه» [البخاري برقم 5991]
ความว่า "ผู้เชื่อมสัมพันธ์ที่แท้จริงไม่ใช่ผู้ที่ตอบรับความสัมพันธ์ที่ผู้อื่นยื่นมาให้ แต่ผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์ที่แท้จริงคือผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์เมื่อคนอื่นตัดขาดความสัมพันธ์กับเขา" (อัล-บุคอรียฺ: 5991)
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า: ชายผู้หนึ่งกล่าวว่า "โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงฉันมีญาติที่ฉันเชื่อมสัมพันธ์กับพวกเขา แต่เขาตัดขาดกับฉัน ฉันทำดีกับพวกเขา แต่พวกเขาทำร้ายฉัน ฉันสุขุมอดทนกับพวกเขา แต่พวกเขากลับไม่เคยแยแส ท่านเราะสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า
«لَئِنْ كُنْتَ كَمَا قُلْتَ؛ فَكَأَنَّمَا تُسِفُّهُمْ الْمَلَّ، ولا يَزَالُ مَعَكَ مِنْ اللَّهِ ظَهِيرٌ عَلَيْهِمْ ، مَا دُمْتَ عَلَى ذَلِكَ» [مسلم برقم 2558]
ความว่า "หากว่าท่านเป็นดังที่ท่านกล่าว ก็เปรียบดั่งท่านได้ทำให้พวกเขากลืนขี้เถ้าร้อนๆ และท่านจะมีผู้ช่วยเหลือที่ทำให้ท่านอยู่เหนือพวกเขาเหล่า ตราบใดที่ท่านยังดำรงอยู่กับการเชื่อมสัมพันธ์ " (มุสลิม: 2558)
ผู้อธิบายหะดีษกล่าวว่า คือ ประหนึ่งดังท่านให้ขี้เถ้าร้อนๆ เป็นอาหารกับพวกเขา นี่เป็นการเปรียบความบาปของพวกเขา กับความเจ็ดปวดของการกินขี้เถ้าร้อน และสิ่งนี้ไม่เกิดผลดีอะไรกับพวกเขา แต่ทว่าพวกเขาจะได้รับผลบาปอันยิ่งใหญ่ จากความบกพร่องของพวกเขาในสิทธิของเขา และการทำร้ายของพวกเขา
การเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติ ด้วยกับการทำความดีกับพวกเขา ด้วยแบบต่าง ๆ ของความดีตามที่เขาสะดวก
ท่านอิบนุ อบี ญุมเราะฮฺ กล่าวว่า "การเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติกระทำได้ด้วยทรัพย์สิน การช่วยเหลือเมื่อมีความต้องการ ช่วยกำจัดภัยอันตรายต่างๆ ด้วยรอยยิ้มที่อยู่บนใบหน้า และด้วยการขอดุอา”
ท่านอัล-กุรฏุบีย์กล่าวว่า "จำเป็นสำหรับผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติจะต้องมีความรักซึ่งกันและกัน ตักเตือนซึ่งกันและกัน มีความยุติธรรม ดำรงสิทธิที่จำเป็น และสิทธิที่พึงกระทำ ให้ค่าเลี้ยงดูกับญาติใกล้ชิด ติดตามสภาพของพวกเขา และมองข้ามความผิดพลาดของพวกเขา”
และความหมายโดยรวมของการเชื่อมสัมพันธ์ คือ การทำดีกับพวกเขาเท่าที่สามารถจะทำได้ และปกป้องพวกเขาจากสิ่งที่ไม่ดี เท่าที่กำลังและความสามารถของคนๆ หนึ่งจะมี ตามฐานะสภาพ ความเหมาะสมและความสะดวกของเขา อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า
﴿لَا يُكَلِّفُ ٱللَّهُ نَفۡسًا إِلَّا وُسۡعَهَاۚ﴾ [البقرة: ٢٨٦]
ความว่า "อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น” (อัลบะเกาะเราะฮฺ: 286)
อิหม่ามอัน-นะวะวีย์ กล่าวว่า "อุละมาอ์มัซฮับชาฟิอียฺของเรากล่าวว่า สมควรที่จะกระทำความดีกับแม่เป็นอันดับแรก หลังจากนั้นคือ พ่อ ต่อมาคือ ลูก ต่อมาคือปู่ย่าตายาย ต่อมาคือพี่น้องชาย และพี่น้องหญิง ต่อมาคือเครือญาติที่แต่งงานด้วยไม่ได้ เช่น พี่น้องของพ่อ พี่น้องของแม่ และเริ่มจากผู้ที่ใกล้ชิดและค่อย ๆ ถัดไป” (ชัรหฺเศาะฮีหฺมุสลิม เล่ม 6 หน้า 103)
รายงานจากอบี ริมษะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าฉันไปหาท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และได้ยินท่านกล่าวว่า
«أُمَّكَ وَأَبَاكَ، وَأُخْتَكَ وَأَخَاكَ، ثُمَّ أَدْنَاكَ أَدْنَاكَ» [الحاكم في المستدرك 4/167]
ความว่า "ให้เริ่มจากแม่ของท่าน พ่อของท่าน พี่น้องหญิงของท่าน พี่น้องชายของท่าน และหลังจากนั้นก็ผู้ใกล้ชิดกับท่านลงไปตามลำดับ” (อัล-หากิม ในอัล-มุสตัดร็อก เล่ม 4 หน้า 167)
และผู้ที่บริจาคให้กับเครือญาติจะได้รับผลบุญเพิ่มเป็นเท่าตัว ท่านสัลมาน บิน อามิรฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«الصَّدَقَةُ عَلَى الْمِسْكَيْنِ صَدَقَةٌ، وَهِيَ عَلَى ذِي الرَّحِمِ ثِنْتَانِ: صَدَقَةٌ وَصِلَةٌ» [الترمذي برقم 658، وقال الترمذي : حديث حسن]
ความว่า "การบริจาคแก่ผู้ยากจนขัดสนนั้นถือเป็นการบริจาค แต่การบริจาคแก่เครือญาตินั้นได้รับสองผลบุญ คือ ผลบุญของการบริจาคทาน และผลบุญของการเชื่อมสัมพันธ์” (อัต-ติรมีซีย์: 658 โดยกล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน)
มัยมูนะฮฺ บินตุ อัล-หาริษ เล่าว่านางปล่อยทาสหญิง โดยที่ไม่ได้ขออนุญาตจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อถึงวันของนาง นางกล่าวกับท่านว่า "ท่านรู้ไหม โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ว่าฉันปล่อยทาสหญิงของฉันแล้ว? ท่านกล่าวว่า "เธอทำเช่นนั้นหรือ?” นางกล่าวว่า “ค่ะ" ท่านกล่าวว่า
«أَمَا إِنَّكِ لَوْ كُنْتِ أَعْطَيْتِهَا أَخْوَالَكِ ، كَانَ أَعْظَمَ لِأَجْرِكِ» [البخاري برقم 2592، ومسلم برقم 999)
ความว่า "หากว่าเธอมอบทาสหญิงคนนั้นให้พี่น้องของแม่ของเธอ มันจะเป็นผลบุญที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับเธอ” (อัล-บุคอรียฺ: 2592 และมุสลิม: 999)
والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.