พินัยกรรมและหลักการของมัน
หมวดหมู่
Full Description
พินัยกรรมและหลักการของมัน
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
2014 - 1435
الوصية وأحكامها
« باللغة التايلاندية »
د. راشد بن حسين العبد الكريم
ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
พินัยกรรมและหลักการของมัน
ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا حَقُّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ لَهُ شَيْءٌ يُوصِي فِيهِ يَبِيتُ لَيْلَتَيْنِ إِلَّا وَوَصِيَّتُهُ مَكْتُوبَةٌ عِنْدَهُ » [متفق عليه]
“ไม่เป็นความชอบธรรมแก่คนมุสลิมคนใดที่เขามีสิ่งใดต้องการสั่งเสีย แล้วเขาอยู่ได้ถึง 2 คืน เว้นแต่ ต้องให้คำสั่งเสียของเขาถูกบันทึก ณ ที่เขาไว้แล้ว” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม
ท่านสะอฺด์ บินอบูวักกอศ (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ)ได้กล่าวว่า
«قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَنَا ذُو مَالٍ وَلاَ يَرِثُنِى إِلاَّ ابْنَةٌ لِى وَاحِدَةٌ أَفَأَتَصَدَّقُ بِثُلُثَىْ مَالِى؟ قَالَ : « لاَ ». قَالَ قُلْتُ : أَفَأَتَصَدَّقُ بِشَطْرِهِ؟ قَالَ « لاَ، الثُّلُثُ، وَالثُّلُثُ كَثِيرٌ، إِنَّكَ أَنْ تَذَرَ وَرَثَتَكَ أَغْنِيَاءَ خَيْرٌ مِنْ أَنْ تَذَرَهُمْ عَالَةً يَتَكَفَّفُونَ النَّاسَ» [متفق عليه[
“ฉันได้กล่าวถามว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ผู้เป็นคนมีเงินมีทอง และฉันไม่มีทายาทอื่นใดนอกจากบุตรีของฉันเพียงคนเดียว ฉันจะบริจาคสองในสามของทรัพย์สินฉันได้ไหม?” ท่านกล่าวตอบว่า “ไม่ได้” ฉันกล่าวถามต่อว่า “ฉันจะบริจาคครึ่งหนึ่งได้ไหม?” ท่านกล่าวตอบว่า “ไม่ได้ ให้บริจาคแค่หนึ่งในสามได้ และหนึ่งในสามก็มากแล้ว การที่ท่านปล่อยให้ทายาทผู้รับมรดกของท่านร่ำรวยดีกว่าปล่อยให้พวกเขายากจนต้องแบมือของผู้อื่น” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม
ท่านอบู อุมามะฮฺ อัล-บาฮิลียฺ (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ)ได้กล่าวว่า
«سمعت رسول الله صلّى الله عليه وسلّم يقول: إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَعْطَى كُلَّ ذِي حَقٍّ حَقَّهُ، فَلَا وَصِيَّةَ لِوَارِثٍ» [أخرجه أبو داود والترمذي[
“ฉันได้ยิน ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงให้เจ้าของสิทธิ์ ได้รับตามสิทธิ์ของเขาแล้ว ดังนั้น ไม่มีการสั่งเสียใดๆ แก่ทายาทมรดก” บันทึกโดยอบู ดาวูด และอัต-ติรมิซียฺ
ท่านอาอิชะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮา) ได้กล่าวว่ามีชายคนหนึ่งถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«يا رسول الله، إِنَّ أُمِّىَ افْتُلِتَتْ نَفْسَهَا وَلَمْ تُوصِ، وَأَظُنُّهَا لَوْ تَكَلَّمَتْ تَصَدَّقَتْ، أَفَلَهَا أَجْرٌ إِنْ تَصَدَّقْتُ عَنْهَا؟، قَالَ: « نَعَمْ ». [متفق عليه[
“โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงมารดาของฉันเสียชีวิตอย่างกระทันหัน ไม่ทันได้สั่งเสีย และฉันคิดว่า หากนางพูดได้ นางจะ(ขอให้)บริจาค นางจะได้รับผลบุญไหมหากฉันจะบริจาคแทนนาง?” ท่านกล่าวตอบว่า “ได้สิ” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม
อธิบาย
คนเราบางทีอาจสิทธิ์ที่ต้องทำให้คนอื่น และเขาไม่รู้ว่าความตายจะมาจู่โจมเมื่อไหร่ ด้วยเหตุนี้ท่านรซูล (ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม)จึงใช้ให้เขียนบันทึกคำสั่งเสีย และได้กำหนดกฏเกณฑ์ที่มุสลิมควรเรียนรู้เอาไว้
ประโยชน์ที่ได้รับ
· สั่งใช้ให้เขียนพินัยกรรม สำหรับผู้ที่มีสิ่งใดอยากสั่งเสีย และไม่ให้สะเพร่าเรื่องดังกล่าว
· อนุญาตให้คนเราใช้จ่ายเงินทองในพินัยกรรมได้ไม่เกินหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินของเขาก่อนที่เขาจะเสียชีวิต
· ห้ามเจาะจงทายาทคนใดให้ได้รับเกินสิทธิ์ของเขาในเขียนพินัยกรรม
· อนุญาตให้บริจาคแทนคนตายได้ ถึงแม้เขาจะไม่ได้สั่งเสียไว้ก็ตาม