การครองชีวิตคู่
หมวดหมู่
Full Description
การครองชีวิตคู่
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : ฟารีด พุกมะหะหมัด
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2014 - 1435
العشرة الزوجية
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: فريد فوك محمد
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การครองชีวิตคู่
มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความศานติและความจำเริญจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์
สิ่งหนึ่งที่ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือครอบครัว ทั้งยามที่อยู่ในบ้านและอยู่นอกบ้าน พื้นฐานของครอบครัวนั้นประกอบจากสามีและภรรยา ซึ่งศาสนาอิสลามได้กำหนดบทบัญญัติและขอบเขตต่าง ๆ ที่คู่สามีภรรยาจะต้องดำรงไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งจะนำไปสู่ความสงบสุขในสังคมนั่นเอง ดังนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงสิ่งสำคัญบางประการที่จะนำคู่สามีภรรยาไปสู่การครองชีวิตคู่ให้เติบโตอยู่อย่างมั่นคง
ประการแรก อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงสร้างสตรีมาจากบุรุษเพื่อให้เขาเคียงคู่กับนาง พระองค์ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ ٱتَّقُواْ رَبَّكُمُ ٱلَّذِي خَلَقَكُم مِّن نَّفۡسٖ وَٰحِدَةٖ وَخَلَقَ مِنۡهَا زَوۡجَهَا ﴾ [النساء : ١]
ความว่า “มนุษยชาติทั้งหลาย จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง (อาดัม) และได้ทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา” (อันนิสาอ์: 1)
อิบนุกะษีร กล่าวว่า “และพระองค์อัลลอฮฺได้ทรงสร้างคู่ครองของชีวิตนั้น คือหะวา อะลัยฮัสสลาม ขึ้นจากชีวิตนั้นเอง กล่าวคือ นางถูกสร้างจากกระดูกซี่โครงด้านซ้ายส่วนหลังของอาดัมในขณะที่ท่านนอนหลับ ครั้นเมื่อท่านตื่นขึ้นมาพบนาง ท่านก็แปลกใจในตัวนาง จากนั้นไม่นานท่านก็มีใจให้นาง และนางก็มีใจให้ท่านเช่นกัน” (ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 3 หน้า 333)
และมีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« اسْتَوْصُوْا بِالنِّسَاءِ، فَإِنَّ الْمَرْأَةَ خُلِقَتْ مِنْ ضِلَعٍ، وَإِنَّ أَعْوَجَ شَيْءٍ فِي الضِّلَعِ أَعْلَاهُ » [رواه البخاري برقم 3331 ومسلم برقم 1468]
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามคำสั่งเสียของฉันเกี่ยวกับบรรดาสตรี แท้จริงสตรีนั้นถูกสร้างมาจากกระดูกซี่โครง และส่วนที่คดงอที่สุดของซี่โครงนั้นคือส่วนบนของมัน" (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 3331 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1468)
ประการต่อมาคือ พระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้สตรีนั้นเป็นที่พักพิงของบุรุษ พระองค์ตรัสว่า
﴿۞هُوَ ٱلَّذِي خَلَقَكُم مِّن نَّفۡسٖ وَٰحِدَةٖ وَجَعَلَ مِنۡهَا زَوۡجَهَا لِيَسۡكُنَ إِلَيۡهَاۖ ﴾ [الأعراف: ١٨٨]
ความว่า “พระองค์นั้นคือผู้ที่ได้ทรงบังเกิดพวกเจ้าจากชีวิตเดียว และได้ทรงให้มีขึ้นจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของชีวิตนั้นเพื่อชีวิตนั้นจะได้มีความสงบสุขกับนาง” (อัลอะอฺรอฟ: 189)
หากมนุษย์เราใช้บ้านหรือที่พักอาศัยเพื่อปกปิดร่างกาย และเพื่อป้องกันพวกเขาในยามร้อนและหนาว เช่นเดียวกันนี้ ภรรยาก็เป็นเหมือนที่พำนักของสามี เพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจเมื่อมีนาง และรู้สึกอบอุ่นและสบายใจเมื่ออยู่ใกล้นาง
ประการต่อมาคือ สามีและภรรยานั้นปกปิดและ ป้องกันซึ่งกันและกัน ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงกล่าวเปรียบเทียบสามีภรรยาไว้ โดยพระองค์ตรัสว่า
﴿ هُنَّ لِبَاسٞ لَّكُمۡ وَأَنتُمۡ لِبَاسٞ لَّهُنَّۗ ﴾ [البقرة: ١٨٧]
ความว่า “นางทั้งหลายนั้นคือเครื่องนุ่มห่มของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง” (อัลบะเกาะเราะฮฺ: 187)
ประการต่อมาคือ สามีจะต้องให้เกียรติสตรี และไม่ดูถูกเหยียดหยามพวกนาง อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงสั่งใช้ให้สามีจัดหาที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่มแก่นางในลักษณะเดียวกับที่ตนมี พระองค์ตรัสว่า
﴿ أَسۡكِنُوهُنَّ مِنۡ حَيۡثُ سَكَنتُم مِّن وُجۡدِكُمۡ ﴾ [الطلاق : ٦]
ความว่า “จงให้พวกนางพำนักอยู่ ณ ที่พวกเจ้าพำนักอยู่ตามฐานะของพวกเจ้า” (อัฏเฏาะลาก: 6)
เมื่อมุอาวิยะฮฺ อิบนฺ หัยดะฮฺ ได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับสิทธิของภรรยาที่พึงได้รับจากสามี ท่านกล่าวว่า
« أَنْ تُطْعِمَهَا إِذَا طَعِمْتَ، وَتَكْسُوَهَا إِذَا اكْتَسَيْتَ – أَوْ : اكْتَسَبْتَ – وَلَا تَضْرِبِ الْوَجْهَ، وَلَا تُقَبِّحْ، وَلَا تَهْجُرْ إِلَّا فِي الْبَيْتِ » [رواه أبو داود برقم 2142]
ความว่า “ท่านจะต้องให้อาหารแก่นางเมื่อท่านรับประทานอาหาร ให้เครื่องนุ่มห่มแก่นางเมื่อท่านสวมใส่เครื่องนุ่งห่ม อย่าตบหน้านาง อย่าด่าทอนาง และอย่าทิ้งนางไว้ลำพังนอกบ้าน” (บันทึกโดยอบูดาวุด หะดีษเลขที่ 2142 (
ประการต่อมาคือ สามีภรรยาจะต้องมีความรักความเมตตาซึ่งกันและกัน อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَمِنۡ ءَايَٰتِهِۦٓ أَنۡ خَلَقَ لَكُم مِّنۡ أَنفُسِكُمۡ أَزۡوَٰجٗا لِّتَسۡكُنُوٓاْ إِلَيۡهَا وَجَعَلَ بَيۡنَكُم مَّوَدَّةٗ وَرَحۡمَةًۚ إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَأٓيَٰتٖ لِّقَوۡمٖ يَتَفَكَّرُونَ ٢١ ﴾ [الروم: ٢١]
ความว่า “และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และทรงให้มีความรักใคร่และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริงสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ” (อัรรูม: 21)
อบุล อัสวัด อัดดุอะลีย์ กล่าวว่า
خُذِي العَفْـوَ مِنِّي تَسْتَـدِيْمِي مَوَدَّتِي وَلا تَنْطِقِي فِي سَوْرَتي حِينَ أَغْضَب
فَإِنِّي رَأَيتُ الحُبَّ فِي الصَدْرِ وَالأذَى إِذَا اجْتَمَعَا لَمْ يَلْبَث الحُبُّ يَذْهَب
เธอจงอภัยให้แก่ฉันเพื่อที่รักเราจะได้ยืนยาว
อย่าได้พูดสิ่งฉันไม่ชอบขณะที่ฉันกำลังโกรธ
เพราะความรักกับความขุ่นเคืองไม่พอใจนั้น
หากมีอยู่ด้วยกันไม่นานความรักก็คงจางหายไป
ส่วนหนึ่งจากแนวทางการปฏิรูปชีวิตการแต่งงานคือ สิทธิและหน้าที่ที่สามีภรรยาพึงปฏิบัติต่อกันนั้นจะต้องมีพื้นฐานจากขนบธรรมเนียม มารยาทอันดีงาม และความชอบธรรม อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَعَاشِرُوهُنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ ﴾ [النساء : ١٩]
ความว่า “และจงอยู่ร่วมกับพวกนางด้วยดี” (อันนิสาอ์: 19)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَلَهُنَّ مِثۡلُ ٱلَّذِي عَلَيۡهِنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ ﴾ [البقرة: ٢٢٨]
ความว่า “และพวกนางก็มีสิทธิพึงได้โดยชอบธรรม เฉกเช่นที่พวกนางมีหน้าที่ต้องพึงกระทำ” (อัลบะเกาะเราะฮฺ: 228)
และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ ฮินดฺ บินติ อุตบะฮฺ ว่า
« خُذِيْ مَا يَكْفِيْكِ وَوَلَدُكِ بِالْمَعْرُوْفِ » [رواه البخاري برقم 5264 ومسلم برقم 1714]
ความว่า “เธอจงนำสิ่งที่พอเพียงจะยังชีพเธอและลูกของเธอไปด้วยความชอบธรรม” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 5264 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1714)
และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงระบุสิทธิที่ภรรยาพึงมีต่อสามีไว้ว่า นางจะได้รับการปฏิบัติจากสามี เช่นที่นางปฏิบัติต่อเขา โดยที่พระองค์ได้เจาะจงสิทธิของสามีซึ่งจะได้รับมากกว่าภรรยาขั้นหนึ่ง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในอายะฮฺที่ว่า
﴿ وَلَهُنَّ مِثۡلُ ٱلَّذِي عَلَيۡهِنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ وَلِلرِّجَالِ عَلَيۡهِنَّ دَرَجَةٞۗ ﴾ [البقرة: ٢٢٨]
ความว่า “และพวกนางนั้นจะได้รับการปฏิบัติ (จากสามี) เหมือนดังที่นางปฏิบัติ (ต่อสามี) โดยชอบธรรม และสำหรับบรรดาชายนั้นมีฐานะเหนือพวกนางขั้นหนึ่ง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 228)
และพระองค์ได้ทรงอธิบายหนึ่งขั้นดังกล่าวในอีกอายะฮฺหนึ่ง พระองค์ตรัสว่า
﴿ ٱلرِّجَالُ قَوَّٰمُونَ عَلَى ٱلنِّسَآءِ بِمَا فَضَّلَ ٱللَّهُ بَعۡضَهُمۡ عَلَىٰ بَعۡضٖ وَبِمَآ أَنفَقُواْ مِنۡ أَمۡوَٰلِهِمۡۚ ﴾ [النساء : ٣٤]
ความว่า “บรรดาชายนั้นคือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง เนื่องด้วยการที่อัลลอฮฺได้ทรงให้บางคนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางคน และด้วยการที่พวกเขาได้จ่ายไปจากทรัพย์ของพวกเขา” (อันนิสาอฺ: 34)
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า สิทธิและหน้าที่ที่สามีภรรยาพึงปฏิบัติต่อกันนั้นจะต้องมีพื้นฐานจากขนบธรรมเนียม มารยาทอันดีงาม และความชอบธรรม ทั้งนี้ศาสนาอิสลามยังได้บัญญัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่ผู้เป็นภรรยาจำเป็นจะต้องเอาใจใส่และปฏิบัติตาม อาทิ
หนึ่ง ภรรยาต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามสามีในสิ่งที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสว่า
﴿ فَٱلصَّٰلِحَٰتُ قَٰنِتَٰتٌ حَٰفِظَٰتٞ لِّلۡغَيۡبِ بِمَا حَفِظَ ٱللَّهُۚ ﴾ [النساء : ٣٤]
ความว่า “และบรรดากุลสตรีนั้นคือผู้จงรักภักดี ผู้รักษาความลับด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักษาไว้” (อันนิสาอ์: 34)
และพระองค์ตรัสอีกว่า
﴿ فَإِنۡ أَطَعۡنَكُمۡ فَلَا تَبۡغُواْ عَلَيۡهِنَّ سَبِيلًاۗ ﴾ [النساء : ٣٤]
ความว่า “หากว่านางเชื่อฟังเชื่อฟังเจ้าแล้วก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นาง” (อันนิสาอ์: 34)
และมีบันทึกซางรายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا دَعَا الرَّجُلُ امْرَأَتَهُ إِلَى فِرَاشِهِ فَأَبَتْ، فَبَاتَ غَضْبَانَ عَلَيْهَا، لَعَنَتْهَا الْمَلَائِكَةُ حَتَّى تُصْبِحَ » [رواه البخاري برقم 3237 ومسلم برقم 1436]
ความว่า “เมื่อชายคนหนึ่งได้ชักชวนภรรยาของเขาให้ร่วมหลับนอนด้วยแล้วนางปฏิเสธ แล้วเขาก็หลับไปอย่างขุ่นเคือง บรรดา มลาอิกะฮฺจะสาปแช่งนางจนกระทั่งรุ่งเช้า” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 3237 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1436)
และในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า
« وَالَّذِيْ نَفْسِيْ بِيَدِهِ مَا مِنْ رَجُلٍ يَدْعُوْ امْرَأَتَهُ إِلَى فِرَاشِهَا فَتَأْبَى عَلَيْهِ، إِلَّا كَانَ الَّذِيْ فِي السَّمَاءِ سَاخِطًا عَلَيْهَا، حَتَّى يَرْضَى عَنْهَا » [رواه مسلم برقم 1436]
ความว่า “ขอสาบานต่อผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า ไม่มีชายคนใดชักชวนภรรยาของเขาให้ร่วมหลับนอนกับเขาแล้วนางปฏิเสธเขา เว้นแต่ผู้ที่อยู่บนชั้นฟ้าจะโกรธกริ้วนางจนกว่าสามีของนางจะกลับมาพอใจนาง” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1436)
และมีบันทึกจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อบีเอาฟา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَوْ كُنْتُ آمِراً أَحَداً أَنْ يَسْجُدَ لِأَحَدٍ، لَأَمَرْتُ المرْأَةَ أَنْ تَسْجُدَ لِزَوْجِهَا، وَلَا تُؤَدِّي المرْأَةُ حَقَّ اللهِ عَزَّ وَجَلَّ عَلَيْهَا كُلَّهُ حَتَّى تُؤَدِّيَ حَقَّ زَوْجِهَا عَلَيْهَا كُلَّهُ، حَتَّى لَوْ سَأَلَهَا نَفْسَهَا وَهِيَ عَلَى ظَهْرِ قَتَبٍ لَأَعْطَتْهُ إِيَّاهُ » [رواه أحمد برقم 19403]
ความว่า “หากฉันสามารถสั่งให้คนหนึ่งสุญูดให้อีกคนหนึ่งได้ ฉันก็จะสั่งให้ภรรยาสุญูดให้สามีของนาง และสตรีคนหนึ่งจะยังไม่ปฏิบัติหน้าที่ของนางต่ออัลลอฮฺอย่างสมบูรณ์ได้ จนกว่านางจะปฏิบัติหน้าที่ของนางต่อสามีของนางอย่างสมบูรณ์เสียก่อน แม้หากว่าสามีของนางเรียกร้องที่จะร่วมหลับนอนกับนางในขณะที่นางกำลังคลอดบุตรอยู่ นางก็จะต้องปฏิบัติตามเขา” (บันทึกโดย อิมามอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 19403)
และอีกรายงานหนึ่งจากอับดุรเราะหฺมาน อิบนฺ เอาฟฺ ซึ่งบันทึกโดยอิมามอะหฺมัด ระบุว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا صَلَّتِ المرْأَةُ خَمْسَهَا، وَصَامَتْ شَهْرَهَا، وَحَفِظَتْ فَرْجَهَا، وَأَطَاعَتْ زَوْجَهَا، قِيْلَ لَهَا : اُدْخُلِي الْجَنَّةَ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ شِئْتِ »
ความว่า “เมื่อสตรีคนหนึ่งทำการละหมาดครบห้าเวลา ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน รักษาอวัยวะเพศของนาง และเชื่อฟังปฏิบัติตามสามีของนาง จะมีเสียงกล่าวแก่นางว่า เธอจงเข้าสวนสวรรค์ทางประตูใดก็ได้ที่เธอประสงค์” (มุสนัด อิมามอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 1661)
สอง ภรรยาจะต้องมีความรักความเสน่หาต่อสามี คอยสอดส่อง ปรนนิบัติรับใช้สามี และอบรมเลี้ยงดูลูก ๆ ดังมีหะดีษรายงานโดยอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อัมรฺ ระบุว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« الدُّنْيَا مَتَاعٌ وَخَيْرُ مَتَاعِ الدُّنْيَا المرْأَةُ الصَّالِحَةُ »
ความว่า “ดุนยาคือความสุขชั่วคราว และความสุขชั่วคราวที่ดีที่สุดในดุนยาก็คือภรรยาที่เป็นกุลสตรี” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1467)
คุณลักษณะของกุลสตรีนั้น ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้ในอีกหะดีษหนึ่ง ซึ่งรายงานโดย อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า มีคนถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า “สตรีใดถือว่าประเสริฐที่สุด ?” ท่านเราะสูล ตอบว่า
« الَّتِيْ تَسُرُّهُ إِذَا نَظَرَ، وَتُطِيْعُهُ إِذَا أَمَرَ، وَلَا تُخَالِفُهُ فِيْ نَفْسِهَا وَمَالِهَا بِمَا يَكْرَهُ »
ความว่า “คือสตรีที่ทำให้สามีสุขใจเมื่อได้มองนาง เมื่อสามีบอกกล่าวอะไรก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม และไม่ขัดใจสามี ทั้งด้วยตัวของนางและทรัพย์สินของนาง” (บันทึกโดยอันนะสาอีย์ หะดีษเลขที่ 1231)
และมีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَا يَحِلُّ لِلْمَرْأَةِ أَنْ تَصُوْمَ وَزَوْجُهَا شَاهِدٌ إِلَّا بِإِذْنِهِ وَلَا تَأْذَنَ فِيْ بَيْتِهِ إِلَّا بِإِذْنِهِ »
ความว่า “ไม่อนุญาตให้สตรีคนใดถือศีลอดในขณะที่สามีอยู่กับนาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อน และไม่อนุญาตให้สตรีอนุญาตให้ใครเข้าบ้านเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 5195 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1026)
อันนะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “เหตุที่ไม่อนุญาตแก่สตรีในเรื่องดังกล่าวนั้นคือ สามีมีสิทธิ์จะหาความสุขกับภรรยาได้ทุก ๆ วัน ซึ่งสิทธิ์ของสามีนั้นจำเป็น (วาญิบ) แก่ภรรยาจะต้องปฏิบัติตามโดยทันที ไม่สามารถปล่อยทิ้งไว้เพื่อไปทำสิ่งที่เป็นสุนัต หรือสิ่งจำเป็น (วาญิบ) อื่นที่สามารถกระทำในคราวหลังได้” (ชัรหฺ เศาะฮีหฺมุสลิม เล่ม 3 หน้า 115)
อุมมุลมุอ์มินีน ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องดังกล่าว เมื่อนางประวิงการถือศีลอดใช้ของเราะมะฎอนปีก่อน กระทั่งเวลาล่วงเลยถึงเดือนชะอฺบานปีถัดไป โดยนางให้เหตุผลว่า
« أَنْشَغِلُ مِنْ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ – أَوْ بِرَسُوْلِ اللهِ - صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ »
ความว่า “ฉันต้องวุ่นอยู่กับการปรนนิบัติท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 1950 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1146)
สาม ภรรยาจะต้องรักนวลสงวนตัว และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้สามีเกิดความสงสัยในตัวของนาง ดังมีบันทึกรายงานจากอัมรฺ อิบนุลอะหฺวัศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวในคุฏบะฮฺเมื่อตอนทำหัจญ์อำลา (หัจญะตุลวะดาอฺ) ว่า
« فَأَمَّا حَقُّكُمْ عَلَى نِسَائِكُمْ: فَلَا يُوْطِئْنَ فُرُشَكُمْ مَنْ تَكْرَهُوْنَ، وَلَا يَأْذَنَّ فِيْ بُيُوْتِكُمْ لِمَنْ تَكْرَهُوْنَ »
ความว่า “สิทธิของภรรยาของพวกเจ้าพึงมีต่อพวกเจ้าคือ นางจะต้องไม่ให้ใครก็ตามที่พวกเจ้ารังเกียจขึ้นไปอยู่บนที่นอนของพวกเจ้า และจะต้องไม่อนุญาตให้ใครก็ตามที่เจ้ารังเกียจเข้าไปในบ้านของพวกเจ้า” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 1163)
สี่ ภรรยานั้นจะไม่ออกนอกบ้านเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสามีแม้กระทั่งออกไปมัสญิด ดังมีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا اسْتَأْذَنَكُمْ نِسَاؤُكُمْ بِاللَّيْلِ إِلِى الْمَسْجِدِ فَأْذَنُوْا لَهُنَّ »
ความว่า “เมื่อภรรยาของพวกท่านขออนุญาตออกไปมัสญิดในยามกลางคืน พวกท่านก็จงอนุญาตเถิด” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 865 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 442)
อิบนุ หะญัร ได้ถ่ายทอดคำพูดของอันนะวะวีย์ซึ่งให้คำอธิบายหะดีษบทนี้ว่า “บางคนใช้หะดีษนี้เป็นหลักฐานว่า สตรีนั้นจะต้องไม่ออกนอกบ้านสามีของนาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเขาเสียก่อน ตามที่ในหะดีษมีคำสั่งแก่บรรดาสามีว่าให้อนุญาตแก่ภรรยา ให้นางออกไปมัสยิดในยามกลางคืน” (ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 347-348)
และจากหะดีษของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม
« اسْتَوْصُوْا بِالنِّسَاءِ خَيْرًا فَإِنَّمَا هُنَّ عَوَانٌ عِنْدَكُمْ »
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามคำสั่งเสียของฉันเกี่ยวกับบรรดาภรรยา เพราะนางทั้งหลายนั้นเปรียบเสมือนเชลยศึกสำหรับพวกท่าน” (อัตติรมีซีย์ หะดีษเลขที่ 1163)
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ ได้อธิบายหะดีษดังกล่าวว่า “สำหรับสามีนั้น ภรรยามีลักษณะบางส่วนคล้ายกับทาสหรือเชลยศึก คือนางไม่สามารถออกจากบ้านไปไหนได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเขาเสียก่อน แม้ว่าจะเป็นคำสั่งของบิดาหรือมารดาของนางหรือคนอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งในประเด็นนี้อุละมาอ์มีความเห็นตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์” (มัจมูอฺ อัลฟะตาวา เล่ม 32 หน้า 263)
แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นสำหรับสามีที่จะต้องเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับประเด็นต่อไปนี้ด้วยเช่นกันคือ
หนึ่ง จ่ายมะฮัร (ทรัพย์จำนวนหนึ่งที่ฝ่ายชายให้แก่ผู้หญิงเป็นการตอบแทนที่นางยินดีเป็นคู่ครอง – ผู้แปล) จนครบตามที่ได้สัญญาไว้ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَءَاتُواْ ٱلنِّسَآءَ صَدُقَٰتِهِنَّ نِحۡلَةٗۚ ﴾ [النساء : ٤]
ความว่า “และจงให้แก่บรรดาภรรยาซึ่งมะฮัรของนาง” (อันนิสาอ์: 34)
สอง จ่ายค่าใช้จ่ายแก่ภรรยาด้วยความยินดีและเต็มใจ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ لِيُنفِقۡ ذُو سَعَةٖ مِّن سَعَتِهِۦۖ ﴾ [الطلاق : ٧]
ความว่า “ผู้ที่มีฐานะร่ำรวยก็จงจ่ายตามฐานะของเขา” (อัฏเฏาะลาก: 7)
และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวแก่สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า
« وَلَسْتَ تُنْفِقُ نَفَقَةً تَبْتَغِيْ بِهَا وَجْهَ اللهِ إِلَّا أُجِرْتَ بِهَا، حَتَّى اللُّقْمَةَ تَجْعَلُهَا فِيْ فِي امْرَأَتِكَ »
ความว่า “และท่านมิได้จ่ายทรัพย์สินใด ๆ ที่หวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ เว้นแต่ท่านจะได้รับผลบุญในการจ่ายนั้น แม้จะเป็นแค่อาหารเพียงคำหนึ่งที่ท่านป้อนให้ภรรยาของท่าน” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 5668 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1628)
สาม ไม่ทำร้ายหรือดูถูกนางทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ أَسۡكِنُوهُنَّ مِنۡ حَيۡثُ سَكَنتُم مِّن وُجۡدِكُمۡ وَلَا تُضَآرُّوهُنَّ لِتُضَيِّقُواْ عَلَيۡهِنَّۚ﴾ [الطلاق : ٦]
ความว่า “จงให้พวกนางพำนักอยู่ ณ ที่พวกเจ้า และอย่าทำอันตรายพวกนางเพื่อให้เกิดความอึดอัดแก่พวกนาง” (อัฏเฏาะล๊าก: 6)
สี่ ให้เกียรตินาง ชื่นชมนางต่อสิ่งที่นางทำ เช่น การดูแลรับใช้สามี เลี้ยงดูอบรมลูก ๆ เป็นต้น และมองข้ามความพลั้งพลาดของนาง ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« خَيْرُكُمْ خَيْرُكُمْ لِأَهْلِهِ وَأَنَا خَيْرُكُمْ لِأَهْلِيْ »
ความว่า “ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่ประเสริฐที่สุดต่อครอบครัวของเขา ส่วนฉันนั้นก็เป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่านต่อครอบครัวของฉัน” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 2895)
และยังมีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَا يَفْرَكْ مُؤْمِنٌ مُؤْمِنَةً إِنْ كَرِهَ مِنْهَا خُلُقًا رَضِيَ مِنْهَا آخَرَ »
ความว่า “ชายผู้ศรัทธา (สามี) อย่าได้รังเกียจเดียดฉันท์หญิงผู้ศรัทธา (ภรรยา) ถ้าหากเขาไม่ชอบลักษณะนิสัยข้อหนึ่งข้อใดในตัวนาง ก็อาจจะมีข้ออื่นที่เขาชอบ” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1469)
ห้า ประคับประคองนางให้ดำรงอยู่ในหลักการศาสนา สนับสนุนนางให้ทำความดี และอบรมสั่งสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่นาง เช่น ไม่นำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวทำลายมารยาทอันดีงามเข้ามาในบ้าน กำชับนางให้ใส่หิญาบจนชิน สอนนางให้ละหมาดให้ตรงเวลา และการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่าง ๆ และสอนมารยาทอิสลามแก่นาง เป็นต้น อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَأۡمُرۡ أَهۡلَكَ بِٱلصَّلَوٰةِ وَٱصۡطَبِرۡ عَلَيۡهَاۖ ﴾ [طه: ١٣٢]
ความว่า “และเจ้าจงใช้ครอบครัวของเจ้าให้ทำละหมาด และอดทนในการปฏิบัติ” (ฏอฮา: 132)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَٱذۡكُرۡ فِي ٱلۡكِتَٰبِ إِسۡمَٰعِيلَۚ إِنَّهُۥ كَانَصَادِقَ ٱلۡوَعۡدِ وَكَانَ رَسُولٗا نَّبِيّٗا ٥٤ وَكَانَ يَأۡمُرُ أَهۡلَهُۥ بِٱلصَّلَوٰةِوَٱلزَّكَوٰةِ وَكَانَ عِندَ رَبِّهِۦ مَرۡضِيّٗا ٥٥ ﴾ [مريم: ٥٤، ٥٥]
ความว่า “และจงกล่าวถึงเรื่องของอิสมาอีลที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริงเขาเป็นผู้ซื่อสัตย์ต่อสัญญา และเขาเป็นเราะสูล เป็นนบี และเขาใช้ครอบครัวของเขาให้ปฏิบัติละหมาดและจ่ายซะกาต และเขาเป็นที่โปรดปราณ ณ ที่พระเจ้าของเขา” (มัรยัม: 54-55)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ قُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَأَهۡلِيكُمۡ نَارٗا وَقُودُهَا ٱلنَّاسُ وَٱلۡحِجَارَةُ ﴾ [التحريم: ٦]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวให้พ้นจากไฟนรก ซึ่งเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน” (อัตตะหฺรีม: 6)
ท่านอะลี อิบนฺ อบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวอธิบายว่า “พวกท่านจงอบรมสั่งสอนสิ่งที่ดีแก่พวกเขา”
ทั้งนี้ สิทธิหน้าที่ที่พึงปฏิบัติระหว่างสามีภรรยานั้นมีมากมาย มีทั้งสิ่งที่จำเป็น สิ่งที่ควรปฏิบัติและอื่น ๆ มากมาย เพียงแต่ข้าพเจ้าอยากจะย้ำเตือนก่อนจบบทนี้ว่า ทั้งคู่สามีภรรยาจะต้องดำรงตนอยู่ในคำสั่งของอัลลอฮฺ และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นสิทธิและหน้าที่ต่อกัน ภรรยาต้องไม่เรียกร้องที่จะทำตัวเสมอเท่าสามีในทุก ๆ เรื่อง และสามีต้องไม่ฉวยโอกาสจากที่อัลลอฮฺทรงให้เขามีอำนาจและมีสิทธิมากกว่าภรรยาในแง่การเป็นผู้นำ โดยการกดขี่ข่มเหง และทำร้ายนางโดยไม่เป็นธรรม อัลลอฮฺ
ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَلَهُنَّ مِثۡلُ ٱلَّذِي عَلَيۡهِنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ ﴾ [البقرة: ٢٢٨]
ความว่า “และพวกนางนั้นจะได้รับเช่นเดียวกับสิ่งที่เป็นหน้าที่ของพวกนาง ที่จะต้องปฏิบัติโดยชอบธรรม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 228)
والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد،
وعلى آله وصحبه أجمعين.