×
บทความที่อธิบายถึงเป้าประสงค์สำคัญของอิบาดะฮฺหัจญ์ ซึ่งถือว่าเป็นอิบาดะฮฺอันยิ่งใหญ่ในอิสลาม และถูกกำหนดใหุ้มุสลิมที่มีความสามารถจำเป็นต้องปฏิบัติแม้เพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต การค้นหาจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของหัจญ์มีความสำคัญที่จะทำให้มุสลิมรู้จักนำบทเรียนในหัจญ์มาใช้ในทุกๆ ด้านของชีวิตประจำวัน ตามครรลองที่พระองค์อัลลอฮฺทรงพอพระทัย

    จุดมุ่งหมายอันแท้จริงของการทำหัจญ์

    ﴿المقصد الحقيقي من الحج﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    อะหมัด ยูนุส สมะดี

    ผู้ตรวจทาน : ทีมงานภาษาไทย เว็บอิสลามเฮ้าส์

    ที่มา : เว็บอิสลามอินไทยแลนด์ islaminthailand.org

    2009 - 1430

    ﴿المقصد الحقيقي من الحج

    « باللغة التايلاندية »

    أحمد يونس صمدي

    مراجعة: فريق اللغة التايلاندية بموقع دار الإسلام

    مصدر: موقع الإسلام في تايلاند islaminthailand.org

    2009 - 1430

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    จุดมุ่งหมายอันแท้จริงของการทำหัจญ์

    อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงกล่าวเกี่ยวกับเรื่องของการทำหัจญ์ไว้ในอัลกรุอานุล การีม หลายต่อหลายอายะฮฺ

    (وَلِلهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلاً وَمَن كَفَرَ فَإِنَّ الله غَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِينَ) (آل عمران : 97 )

    ความว่า “และกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺเหนือมวลมนุษย์นั้น คือการทำหัจญ์ ณ อัลบัยต์ (บ้านของอัลลอฮฺ) สำหรับผู้ที่มีความสามารถหาทางไปสู่มัน (บ้านหลังนั้น) ได้ และผู้ใดปฏิเสธ (การทำหัจญ์) แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงพอเพียงจากประชาชาติทั้งหลาย” (3:97)

    (وَأَتِمُّواْ الْحَجَّ وَالْعُمْرَةَ لِلهِ فَإِنْ أُحْصِرْتُمْ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ وَلاَ تَحْلِقُواْ رُؤُوسَكُمْ حَتَّى يَبْلُغَ الْهَدْيُ مَحِلَّهُ فَمَن كَانَ مِنكُم مَّرِيضاً أَوْ بِهِ أَذًى مِّن رَّأْسِهِ فَفِدْيَةٌ مِّن صِيَامٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ نُسُكٍ فَإِذَا أَمِنتُمْ فَمَن تَمَتَّعَ بِالْعُمْرَةِ إِلَى الْحَجِّ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ فَمَن لَّمْ يَجِدْ فَصِيَامُ ثَلاثَةِ أَيَّامٍ فِي الْحَجِّ وَسَبْعَةٍ إِذَا رَجَعْتُمْ تِلْكَ عَشَرَةٌ كَامِلَةٌ ذَلِكَ لِمَن لَّمْ يَكُنْ أَهْلُهُ حَاضِرِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ وَاتَّقُواْ اللهَ وَاعْلَمُواْ أَنَّ اللهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ) (البقرة : 196 )

    ความว่า “และพวกเจ้าจงให้สมบูรณ์ ซึ่งการทำหัจญ์และการทำอุมเราะฮฺเพื่ออัลลอฮฺเถิด แล้วถ้าพวกเจ้าถูกสกัดกั้นก็ให้เชือดสัตว์พลีที่จะหาได้ง่าย และจงอย่าโกนศีรษะของพวกเจ้าจนกว่าสัตว์พลีนั้นจะถึงที่ของมัน แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยลง หรือมีความเจ็บปวดที่ศีรษะของเขา ก็ให้มีการชดเชยด้วยการถือศีลอด หรือการทำทานหรือการเชือดสัตว์ ครั้นเมื่อพวกเจ้าปลอดภัยแล้ว ถ้าผู้ใดประสงค์จะทำอุมเราะฮฺต่อเนื่องไปจนถึงเวลาทำหัจญ์ (ตะมัตตั๊วะ) แล้ว ก็ให้เชือดสัตว์พลีที่พอหาได้ ผู้ใดที่หาไม่ได้ก็ให้ถือศีลอดสามวันในระหว่างการทำหัจญ์ และอีกเจ็ดวันเมื่อพวกเจ้ากลับถึงบ้านแล้ว นั่นคือครบสิบวัน ดังกล่าวนั้น สำหรับผู้ที่มิได้เป็นชาวมัสยิดิลหะรอม และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และพึงรู้ด้วยว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเข้มงวดในการลงโทษ” (2:196)

    (الْحَجُّ أَشْهُرٌ مَّعْلُومَاتٌ فَمَن فَرَضَ فِيهِنَّ الْحَجَّ فَلاَ رَفَثَ وَلاَ فُسُوقَ وَلاَ جِدَالَ فِي الْحَجِّ وَمَا تَفْعَلُواْ مِنْ خَيْرٍ يَعْلَمْهُ اللهُ وَتَزَوَّدُواْ فَإِنَّ خَيْرَ الزَّادِ التَّقْوَى وَاتَّقُونِ يَا أُوْلِي الأَلْبَابِ) (البقرة : 197 )

    ความว่า (เวลาสำหรับ) การทำหัจญ์นั้นมีหลายเดือนเป็นที่ทราบกัน ดังนั้นผู้ใดที่ให้การทำหัจญ์จำเป็นแก่เขาในเดือนเหล่านั้นแล้ว ก็ต้องไม่มีการสมสู่และไม่มีการละเมิด และไม่มีการวิวาทใด ๆ ในระหว่างการทำหัจญ์ และความดีใด ๆ ที่พวกเจ้ากระทำนั้นอัลลอฮฺทรงรู้ดี และพวกเจ้าจงเตรียมเสบียงเถิด แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดนั้นคือความยำเกรง และพวกเจ้าจงยำเกรงเถิด โอ้ผู้มีปัญญาทั้งหลาย” (2:197)

    (لَيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ أَن تَبْتَغُواْ فَضْلاً مِّن رَّبِّكُمْ فَإِذَا أَفَضْتُم مِّنْ عَرَفَاتٍ فَاذْكُرُواْ اللهَ عِندَ الْمَشْعَرِ الْحَرَامِ وَاذْكُرُوهُ كَمَا هَدَاكُمْ وَإِن كُنتُم مِّن قَبْلِهِ لَمِنَ الضَّآلِّينَ) (البقرة : 198 )

    ความว่า “ไม่มีโทษใด ๆ แก่พวกเจ้า การที่พวกเจ้าจะแสวงหาความกรุณาอย่างหนึ่งอย่างใดจากพระเจ้าของพวกเจ้า ครั้นเมื่อพวกเจ้าได้หลั่งไหลกันออกจากอะร่อฟาตแล้ว ก็จงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ณ อัลมัชอะริลฮะรอม และจงกล่าวรำลึกถึงพระองค์ตามที่พระองค์ทรงแนะนำพวกเจ้าไว้ และแท้จริงก่อนหน้านั้น พวกเจ้าอยู่ในหมู่ผู้ที่หลงทาง” (2:198)

    (ثُمَّ أَفِيضُواْ مِنْ حَيْثُ أَفَاضَ النَّاسُ وَاسْتَغْفِرُواْ اللهَ إِنَّ اللّهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ) (البقرة : 199 )

    ความว่า “แล้วพวกเจ้าจงหลั่งไหลกัน ออกไปจากที่ที่ผู้คนได้หลั่งไหลกันออกไป และจงขออภัยต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (2:199)

    (فَإِذَا قَضَيْتُم مَّنَاسِكَكُمْ فَاذْكُرُواْ اللهَ كَذِكْرِكُمْ آبَاءكُمْ أَوْ أَشَدَّ ذِكْراً فَمِنَ النَّاسِ مَن يَقُولُ رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا وَمَا لَهُ فِي الآخِرَةِ مِنْ خَلاَقٍ) (البقرة : 200 )

    ความว่า “ครั้นเมื่อพวกเจ้าประกอบ พิธีหัจญ์ของพวกเจ้าเสร็จแล้วก็กล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺ ดังที่พวกเจ้ากล่าวรำลึกถึงบรรพบุรุษของพวกเจ้า หรือกล่าวรำลึกถึงให้มากยิ่งกว่า ในหมู่มนุษย์นั้นมีผู้กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของเราโปรดประทานให้แก่พวกเราในโลกนี้เถิดและเขาจะไม่ได้รับส่วน ดีใด ๆ ในปรโลก” (2:200)

    (وِمِنْهُم مَّن يَقُولُ رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ) (البقرة : 201 )

    ความว่า “และในหมู่พวกเขานั้นมีผู้ กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของเราโปรดประทานให้แก่พวกเราซึ่งสิ่งดีงามในโลกนี้ และสิ่งดีงามในปรโลก และโปรดคุ้มครองพวกเราให้พ้นจากความทรมานแห่งไฟนรกด้วยเถิด” (2:201)

    (أُولَـئِكَ لَهُمْ نَصِيبٌ مِّمَّا كَسَبُواْ وَاللهُ سَرِيعُ الْحِسَابِ) (البقرة : 202 )

    ความว่า “ชนเหล่านั้นแหละ พวกเขาจะได้รับส่วนดีจากสิ่งที่พวกเขาได้แสวงหาไว้ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรวดเร็วในการชำระสอบสวน” (2:202)

    (وَاذْكُرُواْ اللهَ فِي أَيَّامٍ مَّعْدُودَاتٍ فَمَن تَعَجَّلَ فِي يَوْمَيْنِ فَلاَ إِثْمَ عَلَيْهِ وَمَن تَأَخَّرَ فَلا إِثْمَ عَلَيْهِ لِمَنِ اتَّقَى وَاتَّقُواْ اللهَ وَاعْلَمُوا أَنَّكُمْ إِلَيْهِ تُحْشَرُونَ) (البقرة : 203 )

    ความว่า “และพวกเจ้าจงรำลึกถึงอัลลอฮฺในวันทั้งหลายที่ได้ถูกนับไว้ ดังนั้นผู้ใดรีบกลับในสองวันก็ไม่มีบาปแก่เขา และผู้ใดกลับล่าไปอีกก็ไม่มีบาปแก่เขา (เช่นกัน) ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ยำเกรง และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺ และพึงรู้เถิดว่าพวกเจ้านั้นจะถูกนำไปชุมนุมยังพระองค์” (2:203)

    (وَأَذِّن فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالاً وَعَلَى كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِن كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ، لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللهِ فِي أَيَّامٍ مَّعْلُومَاتٍ عَلَى مَا رَزَقَهُم مِّن بَهِيمَةِ الْأَنْعَامِ فَكُلُوا مِنْهَا وَأَطْعِمُوا الْبَائِسَ الْفَقِيرَ، ثُمَّ لْيَقْضُوا تَفَثَهُمْ وَلْيُوفُوا نُذُورَهُمْ وَلْيَطَّوَّفُوا بِالْبَيْتِ الْعَتِيقِ) (الحج : 27 - 29)

    ความว่า “และจงประกาศไปในหมู่มนุษย์ถึงเรื่องอัลหัจญ์เถิด พวกเขาจะมายังสูเจ้าโดยการเดินเท้า และโดยการขี่อูฐที่เตรียมไว้ ซึ่งต่างจะเดินทางมาจากทุกหนทางที่ห่างไกล เพื่อพวกเขาจะได้พบเห็นประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับพวกเขา และเพื่อกล่าวพระนามอัลลอฮฺในวันที่เป็นรู้กันต่อสิ่งที่พระองค์ทรงประทาน เป็นริซกีของพวกเขาจากสัตว์เลี้ยง ดังนั้นพวกเจ้าจงกินส่วนหนึ่งของมัน และจงให้เป็นอาหารแก่คนยากจนและคนอนาถา ภายหลังพวกเขาพึงขจัดสิ่งสกปรกของพวกเขา และพึงแก้บนของพวกเขาและพึงฏอว้าฟ ณ อัลบัยติลอะตีก” (22:27-29)

    อายาตอัลกุรอ่านที่ได้นำมากล่าวข้างต้นแจ้งให้เราทราบว่า อัลหัจญ์เป็นวายิบที่มุสลิมมุอฺมินทุกคนที่มีความสามารถทั้งทางกำลังร่างกาย กำลังทรัพย์ และความปลอดภัยในการเดินทาง จักต้องปฏิบัติครั้งหนึ่งในชีวิต ผู้ใดปฏิเสธว่าการทำหัจญ์ไม่เป็นวายิบ หรือเป็นผู้ที่มีความสามารถตามคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น แต่ไม่ยอมปฏิบัติเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม จงเลือกเอาเถิดว่าเขาจะตายในสภาพของชาวยิวหรือชาวคริสต์

    ในอายาตต่อมาได้กล่าวถึงวิธีการทำหัจญ์โดยสรุป สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์หรือต้องการจะทราบโดย ละเอียด ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสละเวลาเพื่อศึกษาให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง และนำไปปฏิบัติศาสนกิจประเภทนี้ให้ตรงกับที่บัญญัติศาสนาได้ระบุไว้

    ในระยะเดือนหัจญ์ บรรดาพี่น้องมุสลิมที่มีโอกาสได้ตอบรับการเรียกร้องของอัลลอฮฺตะอาลา ก็นับได้ว่าเป็นผู้ที่ได้รับความโปรดปรานอย่างใหญ่หลวงจากพระองค์ จึงจำเป็นที่เขาจักต้องขอบคุณต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ให้มาก ๆ อย่าหลงลืมหรือกระทำตนเป็นผู้เนรคุณต่อพระองค์เป็นอันขาด มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลที่พระองค์ทรงลืมเขาเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความอวิชชาของเขานั่นเอง เขาก็จะไม่ได้ดำเนินชีวิตอยู่ในวิถีทางอันชอบธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผลงานของเขาที่ได้ปฏิบัติมาแรมเดือนแรมปีก็จะพลอยสูญ เสียไปอย่างน่าเสียดาย

    มุสลิมทุกคนที่ได้มีโอกาสไปประกอบพิธีหัจญ์มาแล้วก็ดี ผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะไปก็ดี ย่อมรู้จักรุกุ่นต่าง ๆ ของการทำหัจญ์ แต่มีใครบ้างหรือถ้าจะมีก็เป็นส่วนน้อยที่พิจารณาหรือตั้งข้อสงสัยแก่ตัวเอง เพื่อหาคำตอบที่จะนำพาตัวของเราให้เกิดความศรัทธาอีมานต่ออัลลอฮฺตะอาลาให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

    บางคนอาจจะถามว่าทำไมจึงต้องปฏิบัติศาสนกิจเช่นนี้ ซึ่งมีทั้งการสูญเสียเงินทอง และความยากลำบากนานาประการ? มีอะไรบ้างที่จะนำไปสู่ความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ? มีความหมายอย่างไรหรือที่มนุษย์จะต้องไปยังทุ่งอะร่อฟาตด้วยเครื่องแต่งกาย แบบเดียวกันทุกคน เพื่อพำนักเพียงชั่วเวลาหนึ่งหรือเพียงชั่วโมงหนึ่ง หน้าที่ของเขาที่จะปฏิบัติ ณ ที่นั้นก็คือ การปฏิบัติเช่นเดียวกับกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ เป็นการพอเพียงแก่เขาที่จะไปยังทุ่งอะรอฟาตโดยเตรียมที่พัก เพื่อนอน กิน และปฏิบัติละหมาด เช่นเดียวกับที่ได้เคยปฏิบัติมา เป็นการพอเพียงเช่นเดียวกัน ที่เขาจะปรากฏตัวอยู่ ณ ส่วนหนึ่งส่วนใดของสถานที่แห่งนี้ก่อนตะวันตกดินในวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ ถึงแม้เพียงเวลาไม่กี่นาทีแล้วก็ออกไป ทั้งนี้เพราะการทำหัจญ์นั้นคือการพักอยู่ที่อะร่อฟะฮฺ (الحجُّ عَرَفَة)

    ทำไมทุกคนจึงต้องปฏิบัติศาสนกิจเช่นนี้ ทำไมจึงต้องไปค้างแรมที่ “มินา” ทุ่งที่คับแคบ และเนืองแน่นไปด้วยฝูงชนเพื่อประกอบอิบาดะฮฺ ? เรามีความเข้าใจอย่างไรต่อการพักแรมในสถานที่อันคับแคบเช่นนี้ ? ซึ่งเป็นการพำนักเช่นเดียวกันกับที่ทุ่งอะร่อฟาต แต่อาจจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายมาเป็นแต่งกายธรรมดาแล้วก็แออัดกันไปยังสถาน ที่ขว้างเสาหิน มือที่ชูนับจำนวนไม่ถ้วนเพื่อขว้างเสาหิน 7 ครั้งก็เป็นอันเสร็จพิธีในวันแรก แล้วเขาก็กลับที่พักด้วยความสงสัยในการปฏิบัติศาสนกิจเช่นนั้น!

    ต่อจากนั้นก็ลงไป “ซะอฺยุ (สะแอ) ระหว่างเขา “อัศศ่อฟา” กับ “อัลมัรวะฮฺ” เราได้เดินระยะทางระหว่างเขาทั้งสอง ทั้งไปและกลับรวม 7 เที่ยว การอิบาดะฮฺเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญหรือว่าเป็นแต่เพียงการรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญ ?

    เมื่อเรารู้จักหรือมีความเข้าใจในการปฏิบัติศาสนากิจบางอย่างว่าเป็น สัญลักษณ์ชนิดหนึ่งของการปฏิบัติศาสนกิจในอดีตตั้งแต่สมัยของท่านนะบีอิบรอ ฮีม อะลัยฮิสสลาม ความเข้าใจของเราเช่นนี้ไม่เป็นการพอเพียงที่จะทำให้การปฏิบัติดังกล่าวเป็น สัญลักษณ์และการอิบาดะฮฺ ซึ่งหมายถึงว่าอัลลอฮฺตะอาลาก็ต้องยกโทษหรืออภัยโทษให้แก่เราเมื่อได้ ปฏิบัติเช่นนั้น ดังนั้นอะไรเล่าที่หมายถึงการกระทำอิบาดะฮฺที่จะลบล้างความผิดของมนุษย์ เสมือนกับวันแรกที่เขาคลอดออกมาจากครรภ์มารดา ?

    ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเป็นการพอเพียงละหรือที่เราจะยอมรับตามคำกล่าว ของบรรดานักปราชญ์ทางอิสลาม (อัลฟุก็อฮาอฺ) ที่ว่าเป็นการงาน “ตะอั๊บบุดี” คือเป็นคำใช้ของพระองค์ที่เราจักต้องปฏิบัติโดยไม่ต้องถาม หรือเป็นเรื่องของพระองค์เท่านั้นที่เราไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงความหมายแท้ จริงได้ เราต้องไม่ลืมว่าพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาหรือผู้บัญญัติศาสนาย่อมมีเหตุผล และจุดมุ่งหมายอยู่เบื้องหลังการบังคับที่ยากลำบากเช่นนี้ แน่นอนทีเดียวที่ผู้บัญญัติศาสนาจักต้องมีความมุ่งหมายจากการปฏิบัติศาสนกิจ ประเภทนี้ ซึ่งผลของมันคือการตอบแทนอย่างใหญ่หลวงขนาดที่ไม่มีการอิบาดะฮฺอื่นใดได้รับ ส่วนแห่งการตอบแทน เช่นเดียวกับ “อัลหัจญ์” เพราะ “ผู้ใดที่ประกอบการหัจญ์แล้วเขาไม่สมสู่และไม่ละเมิดแล้วเขาจะกลับ (สู่มาตุภูมิอย่างผู้สะอาดบริสุทธิ์) ประดุจดังวันที่มารดาของเขาได้คลอดเขาออกมา” ก็ถ้าเช่นนั้นอะไรเล่าคือจุดมุ่งหมายอันแท้จริง ?

    จากประสบการณ์ของผู้ที่ได้ประกอบพิธีหัจญ์มาแล้ว ขอให้เรามาพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายอันแท้จริงนอกเหนือไปจากการกล่าวรำลึกถึง อัลลอฮฺ และการหวนกลับไปรำลึกถึงความหลังในอดีตของท่านนะบีอิบรอฮีม และบุตรของท่านคือท่านนะบีอิสมาอีล อะลัยฮิมัสสะลาม เราจะพบว่าจุดมุ่งหมายที่สำคัญนั้นคือ “การอดทนและปฏิบัติตาม”

    การอดทนต่อความยากลำบากจากการเดินทางการโยกย้ายจากสถานที่ที่เคยได้รับความ สุขสบาย และความอบอุ่นเพียบพร้อมไปด้วยญาติพี่น้อง และสิ่งที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่เขาทุกกาลเวลา ไปยังสถานที่ที่แตกต่างกับสิ่งที่เขาเคยอยู่และพักพิงอาศัยมาแต่ก่อน สถานที่ที่แห้งแล้งเต็มไปด้วยโขดหิน มีแต่ความร้อนเกือบตลอดปี ดังนั้นผู้ที่เดินทางจะต้องประสบกับความยากลำบากนานาประการ ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะบรรเทาความหนักใจของเขาได้นอกจากความศ่อบัรฺอดทน การอดทนอย่างแท้จริง อดทนต่อความหนาแน่นและการเบียดเสียดของผู้คน อดทนต่อสภาพของผู้ที่แข่งขันกันหาความสะดวกสบายเพื่อตัวเอง อดทนต่อความกลัวที่ไม่เคยประสบพบเห็นมาก่อน อดทนต่อการพำนักอาศัยอยู่ในนครมักกะฮฺ เมืองที่เต็มไปด้วยความดีเด่นนานาประการ แต่ต้องคับแคบเพราะความคับคั่งของมวลมนุษย์ที่หลั่งไหลมาจากทิศทางต่าง ๆ อดทนต่อการพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไม่เคยพำนักอยู่ หรือบางทีก็เกิดความไม่พอใจถึงแม้จะเป็นประเทศของตนก็ตาม อดทนต่อการแก่งแย่งและการก่อเหตุร้ายนานาชนิด เพราะผลประโยชน์หรือการปฏิบัติซึ่งกันและกัน ไม่อาจเข้ากันได้จากผู้ที่เดินทางมาจากทิศทางต่าง ๆ แม้กระทั่งชาวมักกะฮฺเองซึ่งเฝ้าคอยฤดูกาลของการทำหัจญ์ เพื่อประกอบอาชีพหรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในระยะนั้น

    ดังนั้น ถ้าเราพิจารณาดูทุก ๆ ขณะของความเบียดเสียดของผู้คนในเวลาประกอบพิธีหัจญ์ตลอดจนบรรยากาศในระยะ นั้นแล้ว เราก็จะทวีความเข้าใจความมุ่งหมายที่อยู่เบื้องหลังของคำตรัสที่ว่า

    (فَمَن فَرَضَ فِيهِنَّ الْحَجَّ فَلاَ رَفَثَ وَلاَ فُسُوقَ وَلاَ جِدَالَ فِي الْحَجِّ) (البقرة : 197 )

    ความว่า “ดังนั้น ผู้ใดที่ได้ให้การทำหัจญ์จำเป็นแก่เขา ในเดือนเหล่านั้นแล้ว จะต้องไม่มีการสมสู่และไม่มีการละเมิด และไม่มีการทะเลาะวิวาทใด ๆ ในระหว่างการทำหัจญ์” (2:197)

    และเราก็จะเพิ่มความศรัทธาอีมานต่อพระผู้ทรงไว้ซึ่งภูมิปัญญา และรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้ทรงบังเกิดมนุษย์มาแล้วก็ให้ความเท่าเทียมกัน พระผู้ทรงหยั่งรู้ถึงสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในทรวงอกของมนุษย์ทุกคน

    นี่คือการอดทน อดทนต่อความยากลำบากอดทนต่อสภาพ และสิ่งที่ได้พบเห็น โดยมิได้เปิดปากพร่ำบนต่อสิ่งไม่ดีงามที่ได้พบเห็นมาแก่ผู้ที่ยังไม่คยพบ เห็นมาก่อนแต่มีใครบ้างที่สามารถปฏิบัติได้?

    ความมุ่งหมายที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ “การปฏิบัติตาม” คือการยอมจำนนปฏิบัติตามคำใช้ของพระองค์โดยที่พระองค์มิได้เปิดเผยหรือชี้ แจงเคล็ดลับที่มีอยู่เบื้องหลังงานนั้น ๆ เช่น การทำหัจญ์ เพราะการปฏิบัติงานชนิดหนึ่งชนิดใดซึ่งพระองค์เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าจะได้ รับการตอบแทนอย่างแน่นอน เราต้องมีความจงรักภักดีพร้อมทั้งมีความมั่นใจต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว อันนี้นับได้ว่าเป็นการแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์แห่งการเป็นบ่าวที่ดีของพระองค์ ยอมอดทนต่อความยากลำบากนานาประการ โดยที่เขาไม่ทราบเคล็ดลับซึ่งจะทำให้เขาได้รับส่วนดีจากความยากลำบากดัง กล่าว ดังนั้นเขาจึงมุ่งหน้าเข้าสู่ความยากลำบากนั้นด้วยความอดทน โดยหวังความโปรดปรานและยินยอมปฏิบัติตามด้วยความบริสุทธิ์ใจ

    ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เราอาจกล่าวได้ว่า จุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ของการหัจญ์ก็คือการปฏิบัติตามคำใช้ของพระองค์เพียงองค์เดียว ซึ่งพระองค์ก็ได้ให้สัญญาไว้แล้ว นอกจากนี้ยังมีความหมายอันดีงามอื่นจากนี้อีกมากมาย ซึ่งผู้ที่ได้ผ่านการทดสอบมาแล้วจะประสบพบเห็นด้วยตัวของเขาเอง แต่จะมีใครบ้างที่พินิจพิจารณาถึงความหมายของการทำหัจญ์แล้วนำมาปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตของเขาบ้าง?

    นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด เราจะต้องไม่ลืมว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ได้กล่าวย้ำและยืนยันหลังจากได้ปฏิบัติศาสนกิจทุกชนิดให้บรรดาศ่อฮาบะฮฺได้ เห็นเป็นตัวอย่างและยึดถือเป็นแบบฉบับว่า

    «خُذُواعَنِّي مَنَاسِكَكُم»

    ความว่า “ท่านทั้งหลายจงยึดเอาพิธีกรรมต่าง ๆ ของท่านจากฉันเท่านั้น”

    ดังนั้น พึงทราบเถิดว่าการปฏิบัติศาสนกิจชนิดใดก็ตาม หากเรามิได้ยึดแนวทางของท่านร่อซูลุลลอฮฺ และบรรดาศ่อฮาบะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุม เป็นแบบฉบับและบรรทัดฐานแล้ว แน่นอนทีเดียวกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราได้เสียสละกระทำไปก็จะไม่บังเกิดผล และไม่เป็นที่รับรองว่าจะได้รับการตอบแทน

    ที่มา : หนังสือการทำหัจญ์และอุมเราะฮฺตามบัญญัติอิสลาม, อาจารย์อะหมัด ยูนุส สมะดี (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ)

    คัดลอกจาก: เว็บอิสลามอินไทยแลนด์ http://www.islaminthailand.org/dp6/?q=story/1178