×
การบริจาค และการใช้จ่ายทรัพย์สินในทางที่ดีคือการแสดงความเชื่อฟังปฏิบัติตามที่อัลลอฮฺ และเราะซูลส่งเสริมให้กระทำ เพราะเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์อย่างมหาศาลแก่บ่าวของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงทำให้มันเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งความจำเริญในทรัพย์สินที่ถูกจ่ายออกไป โดยที่มันจะไม่ลดน้อยลงไป และอัลลอฮฺจะทรงรับการบริจาคจาก(ทรัพย์สิน)ที่หามาโดยสุจริต(เท่านั้น) และจะทรงเพิ่มพูนมันให้แก่เจ้าของมันในวันกิยามะฮฺเป็นการตอบแทนเขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    ความประเสริฐของการบริจาค และการใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2013 - 1435

    فضل الصدقة والإنفاق في سبيل الله

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2013 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ความประเสริฐของการบริจาค และการใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

    «مَا مِنْ يَومٍ يَصْبَحُ العِبَادُ فِيهِ إِلّا مَلَكانِ يَنْزِلانِ فَيَقُولُ أَحَدُهُمَا: اللهم أعْطِ مُنْفِقًا خَلَفًا، وَيَقُولُ الآخَرُ: اللهم أعْطِ مُمْسِكاً تَلَفًا» [متفق عليه]

    “ไม่มีวันใดเมื่อยามเช้ามาถึงบ่าว เว้นแต่จะมีมะลัก 2 ตนลงมา แล้วตนหนึ่งก็กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้มี(สิ่งอื่น)ตามมาอีกแก่ผู้จ่าย(ในหนทางของอัลลอฮฺ)" และอีกตนก็กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้หมดไปแก่ผู้เก็บเอาไว้(ไม่ยอมบริจาค)"" บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

    «مَا نَقَصَتْ صَدَقَةٌ مِنْ مَالٍ، وَمَا زَادَ اللهُ عَبْداً بِعَفْوٍ إِلا عَزًّا، وَمَا تَوَاضَعَ أَحَدٌ لِلهِ إِلا رَفَعَهُ اللهُ » [أخرجه مسلم]

    “การบริจาคจะไม่ทำให้ทรัพย์สินพร่องลง และอัลลอฮฺไม่ทรงเพิ่มแก่บ่าวคนใดที่ให้อภัย(คนอื่น)นอกจากเกียรติยศ และไม่มีคนใดที่ถ่อมตนต่ำต้อยเพื่ออัลลอฮฺ เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงยกเกียรติเขา" บันทึกโดยมุสลิม

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

    «مَنْ تَصَدَّقَ بِعَدْلِ تَمْرَةٍ مِنْ كَسْبٍ طَيِّبٍ وَلَا يَقْبَلُ اللهُ إِلّا الطَيِّبَ، فَإِنَّ اللهَ يَقْبَلُها بِيَمِيْنِهِ ثُمَّ يُرْبِيها لِصَاحِبِها، كَمَا يُرْبي أَحَدُكُم فَلوَه حَتى تَكونَ مِثْلَ الجَبَلِ» [متفق عليه]

    “ผู้ใดที่เขาบริจาคเท่ากับอินทผลัมเม็ดเดียวที่หามาโดยสุจริต –และอัลลอฮฺไม่ทรงรับสิ่งใดเว้นแต่สิ่งที่ดี- ดังนั้นแท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับมันด้วยพระหัตถ์ขวาของพระองค์ จากนั้นพระองค์จะทรงฟูมฟักมันให้แก่เจ้าของมัน เหมือนที่พวกท่านคนหนึ่งฟูมฟักลูกม้าจนกระทั้งมันโตเท่าภูเขา" บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

    ท่านอิบนุมัสอู๊ด(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

    «لا حَسَدَ إِلاّ في اثْنَتَيْنِ: رَجُلٌ آتاهُ اللهُ مَالاً فَسَلَّطَهُ عَلى هَلَكَتِه بِالحَقِّ (أي: إنفاقه)، وَرَجُلٌ آتاهُ اللهُ الحِكْمَةَ فَهُوَ يَقْضِي بِها وَيُعَلِّمُها» [متفق عليه]

    “ไม่มีการอิจฉาใด(อนุญาตให้ทำได้)เว้นแต่สองประการ คือ คนๆหนึ่งอัลลอฮฺให้เขามีทรัพย์สิน(มากมาย) แล้วเขาก็ควบคุมมันให้หมดไปในทางอันชอบ(คือใช้ในหนทางของอัลลอฮฺ) และคนๆหนึ่งที่อัลลอฮฺให้เขามี ฮิกมะฮฺ (คือรู้จักใช้ปัญญา) แล้วเขาก็ใช้มัน(กับตัวเอง) และสอนมัน(ให้ผู้อื่น)" บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

    อธิบาย

    การบริจาค และการใช้จ่ายทรัพย์สินในทางที่ดีคือการแสดงความเชื่อฟังปฏิบัติตามที่อัลลอฮฺ และเราะซูลส่งเสริมให้กระทำ เพราะเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์อย่างมหาศาลแก่บ่าวของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงทำให้มันเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งความจำเริญในทรัพย์สินที่ถูกจ่ายออกไป โดยที่มันจะไม่ลดน้อยลงไป และอัลลอฮฺจะทรงรับการบริจาคจาก(ทรัพย์สิน)ที่หามาโดยสุจริต(เท่านั้น) และจะทรงเพิ่มพูนมันให้แก่เจ้าของมันในวันกิยามะฮฺเป็นการตอบแทนเขา

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · ความประเสริฐของการบริจาค และการใช้จ่ายเงินทองในหนทางของอัลลอฮฺ

    · การบริจาคจะไม่ถูกตอบรับเว้นแต่(จากเงิน)ที่หามาได้โดยสุจริตเท่านั้น

    · การบริจาคเป็นสาเหตุให้เกิดความจำเริญและการงอกเงยในทรัพย์สิน