×
คำถาม: ฉันทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง แล้วผู้จัดการขอให้ฉันเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่บรรดาพนักงานพูดถึงเขาเป็นการส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่เรื่องบางเรื่องที่พนักงานพูดนั้นเป็นเรื่องจริง ฉะนั้นแล้วอะไรคือหุก่ม ของค่าตอบแทนที่ฉันได้รับจากการสอดแนมนี้ เป็นที่หะล้าลหรือหะรอม ?

ไม่อนุญาตให้สอดแนมเรื่องของคนอื่น

تحريم التجسس على الآخرين

เว็บไซต์อิสลาม ถามตอบ

แปลโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

موقع الإسلام سؤال وجواب

ترجمة: فيصل عبدالهادي


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

ไม่อนุญาตให้สอดแนมเรื่องของคนอื่น

คำถาม:

ฉันทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง แล้วผู้จัดการขอให้ฉันเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่บรรดาพนักงานพูดถึงเขาเป็นการส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่เรื่องบางเรื่องที่พนักงานพูดนั้นเป็นเรื่องจริง ฉะนั้นแล้วอะไรคือหุก่ม ของค่าตอบแทนที่ฉันได้รับจากการสอดแนมนี้ เป็นที่หะล้าลหรือหะรอม ?

คำตอบ:

อัลหัมดุลิลลาฮฺ

ไม่อนุญาตให้คุณทำงานที่หะรอมนี้ เพราะมันเข้าข่ายกรณี "อัน-นะมีมะฮฺ" (การยุแหย่ให้เกิดการทะเลาะกัน) และ "การสอดแนม" และค่าตอบแทนจากสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม

และพึงทราบเถิดว่า "อัน-นะมีมะฮฺ" นั้นเป็นบาปใหญ่จากบรรดาบาปใหญ่ต่าง ๆ นั่นคือการเอาคำพูดของบางคนไปเล่าให้อีกคนฟังเพื่อให้เกิดความเสียหายระหว่างพวกเขา และนี่คือนิยามที่เป็นที่รู้จักของคำว่า "อัน-นะมีมะฮฺ" และคือนิยามที่ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ได้ระบุไว้ในหนังสือ "อัซ-ซะวาญิรฺ อัน อิกติรอฟ อัล-กะบาอิรฺ" และหลังจากนั้นท่านก็กล่าวอีกว่า: "และในหนังสือ "อัล-อิหฺยาอ์" กล่าวว่า "และอัน-นะมีมะฮฺไม่ได้เจาะจงเฉพาะสิ่งดังกล่าวเท่านั้น แต่มันรวมถึงการเปิดเผยในสิ่งที่เขารังเกียจให้เปิดเผย ไม่ว่าบุคคลที่รังเกียจนั้นจะเป็นผู้ที่ถูกเล่าถึงหรือผู้ที่ถูกเล่าหรือบุคคลที่สาม และไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะเป็นคำพูด ข้อความเขียน หรือแม้แต่รหัสหรือสัญลักษณ์ก็ตาม และไม่ว่าสิ่งที่นำมาเล่าหรือเปิดเผยนั้นจะเป็นการกระทำ คำพูด ข้อละอาย และธาตุแท้ของอัน-นะมีมะฮฺคือการแพร่งพรายความลับ และการเปิดโปงสิ่งที่เขารังเกียจให้เปิดเผย ฉะนั้นแล้วจำเป็นที่จักต้องเงียบหรือหยุดจากการเล่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้เห็นจากพฤติกรรมของมนุษย์ นอกจากเป็นการเล่าที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่มุสลิมหรือเป็นการปัดป้องโทษ เช่นหากเขาเห็นคนหนึ่งเอาทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยทุจริต เขาก็จงเป็นพยาน ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่เขาเห็นคน ๆ หนึ่งเก็บหรือซ่อนทรัพย์สิน แล้วเขาก็นำเรื่องดังกล่าวไปบอกคนอื่น เช่นนี้มันก็คือ "อัน-นะมีมะฮฺ" และเป็นการแพร่งพรายความลับ ส่วนหากการแพร่งพรายเป็นสิ่งที่ลดเกียรติหรือสร้างความอับอายแก่ผู้ถูกเปิดโปง เช่นนี้ถือเป็นอัล-ฆีบะฮฺ(นินทา)และอัน-นะมีมะฮฺด้วย" [บาปใหญ่ลำดับที่ 252, อัน-นะมีมะฮฺ].

และท่านได้อ้างคำพูดของอัล-หาฟิซ อัล-มุนซิรีย์ว่า: "ประชาชาติเห็นพ้องกันว่า อัน-นะมีมะฮฺเป็นที่ต้องห้าม และมันคือหนึ่งในบรรดาความผิดที่ใหญ่ ณ พระองค์อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล"

และด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ประจักษ์ว่า การที่คุณเอาคำพูดของเพื่อนร่วมงานไปเล่าให้ผู้จัดการฟังถือเป็นการแพร่งพรายความลับ เป็นความพยายามที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และตกอยู่ในบาปใหญ่ อีกทั้งการสอดแนมก็เป็นที่ต้องห้าม.

ได้มีตัวบทหลักฐานตำหนิ อัน-นะมีมะฮฺ การสอดแนม และการสืบค้นความลับของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นที่เพียงพอแล้วที่จะเป็นการสำทับมุสลิมมิให้ประกอบกรรมชั่วที่หะรอมนี้.

1- ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

" لا يدخل الجنة نمام " . وفي رواية : " قتّات "

ความว่า: ผู้ที่ทำการอัน-นะมีมะฮฺจะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์ และในบางรายงานกล่าวว่า "ก็อตตาต" [บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์, เลขที่: 6056 และมุสลิม, เลขที่: 105]

ก็อตตาต คือ นัมนาม (ผู้ที่ทำการยุแหย่ให้เกิดการทะเลาะกัน) และมีบางทัศนะกล่าวว่า นัมมาม คือผู้ที่อยู่รวมกันหลายคนพูดคุยกันแล้วเขาก็ทำการยุแหย่เพื่อให้ทะเลาะกัน.

2- ในหนังสือ "อัศ-เศาะฮีหัยนฺ" ของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากท่านอิบนุ อับบาส ได้เล่าว่า:

خرج النبي صلى الله عليه وسلم من بعض حيطان المدينة فسمع صوت إنسانين يعذبان في قبورهما فقال : " يعذبان وما يعذبان في كبير، وإنه لكبير، كان أحدهما لا يستتر من البول ، وكان الآخر يمشي بالنميمة "

ความว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เดินออกมาจากกำแพงมะดีนะฮฺแห่งหนึ่ง แล้วท่านก็ได้ยินเสียงของคนสองคนกำลังถูกลงโทษอยู่ในสุสาน แล้วท่านก็กล่าวว่า “ทั้งสองกำลังถูกลงโทษ และทั้งสองไม่ได้ถูกลงโทษเพราะเรื่องที่ใหญ่โต(ในสายตาของมนุษย์)แต่แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ใหญ่โต(ในข้อตัดสินของอัลลอฮฺ) คนหนึ่งนั้นไม่ปกปิด(หรือไม่ทำให้เสร็จ)ในการปัสสาวะของเขา ส่วนอีกคนนั้น เขาเที่ยวเดินยุแหย่ตะแคงรั่ว" [บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์, เลขที่: 216 และมุสลิม, เลขที่: 292]

3- จากหนังสือ "อัศ-เศาะฮีหัยนฺ" เช่นเดียวกัน จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺได้เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งท่านได้กล่าวว่า:

" إياكم والظن فإن الظن أكذب الحديث ، ولا تحسسوا ، ولا تجسسوا ، ولا تحاسدوا ، ولا تدابروا ، ولا تباغضوا ، وكونوا عباد الله إخوانا"

ความว่า: “พวกท่านจงระวังจากคาดเดา เพราะแท้จริงการคาดเดานั้นเป็นคำพูดที่โกหกที่สุด ท่านจงอย่าฟังเรื่องเล่า (นินทาว่าร้าย) อย่าสอดแนม อย่าอิจฉา อย่าหนีหน้าซึ่งกัน อย่าโกรธเคือง และจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่เป็นพี่น้องกัน" [บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์, เลขที่: 5144, และมุสลิม, เลขที่: 2563]

4- จาการบันทึกของอิมามอัล-บุคอรีย์ (เลขที่ 7042) จากท่านอิบนุ อับบาสได้เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งท่านได้กล่าวว่า:

" من تحلم بحُلم لم يره كلف أن يعقد بين شعيرتين ولن يفعل، ومن استمع إلى حديث قوم وهم له كارهون أو يفرون منه صب في أذنه الآنك يوم القيامة، ومن صور صورة عذب وكلف أن ينفخ فيها وليس بنافخ"

ความว่า: “ใครก็ตามที่อ้างว่าตัวได้ฝัน ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ฝัน เขาจะถูกบังคับให้นั่งระหว่างเมล็ดข้าวบาร์เล่ย์สองเมล็ด และเขาไม่สามารถที่จะทำได้โดยเด็ดขาด และใครก็ตามที่ฟังคำพูดของชนกลุ่มหนึ่ง ทั้งๆ ที่พวกเขารังเกียจหรือต่างเดินหนีจากเขา(ไม่ปรารถนาให้เขาได้ฟังด้วย) ในวันกิยะมะฮฺเปลวไฟจะถูกเทเข้าที่หูของเขา และใครที่ปั้นรูป เขาจะถูกลงโทษและถูกบังคับให้เป่าวิญญาณในรูปนั้น และเขาก็ไม่สามารถเป่าวิญญาณนั้นได้"

ที่มา