บทเรียนที่ได้รับจาก อายะฮฺ 33-35 สูเราะฮฺ อัซ-ซุครุฟ
หมวดหมู่
Full Description
บทเรียนที่ได้รับจาก อายะฮฺ 33-35
สูเราะฮฺ อัซ-ซุครุฟ
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อันวา สะอุ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ
2012 - 1434
دروس وعبر من الآية رقم 33-35 من سورة الزخرف
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبد الله الشقاوي
ترجمة: أنور إسماعيل
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2012 - 1434
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่องที่ 33
บทเรียนที่ได้รับจาก อายะฮฺ 33-35
สูเราะฮฺ อัซ-ซุครุฟ
﴿وَلَوۡلَآ أَن يَكُونَ ٱلنَّاسُ أُمَّةٗ وَٰحِدَةٗ لَّجَعَلۡنَا لِمَن يَكۡفُرُ بِٱلرَّحۡمَٰنِ لِبُيُوتِهِمۡ سُقُفٗا مِّن فِضَّةٖ وَمَعَارِجَ عَلَيۡهَا يَظۡهَرُونَ ٣٣ وَلِبُيُوتِهِمۡ أَبۡوَٰبٗا وَسُرُرًا عَلَيۡهَا يَتَّكُِٔونَ ٣٤ وَزُخۡرُفٗاۚ وَإِن كُلُّ ذَٰلِكَ لَمَّا مَتَٰعُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۚ وَٱلۡأٓخِرَةُ عِندَ رَبِّكَ لِلۡمُتَّقِينَ ٣٥ ﴾ [الزخرف: ٣٣ – ٣٥]
ความว่า "และหากมิใช่มนุษย์ทั้งหลายจะได้เป็นประชาชาติหนึ่งเดียวกันแล้ว แน่นอนเราจะให้ผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาต่อพระผู้ทรงกรุณาปรานีมีบ้านของพวกเขาหลังคาทำด้วยเงิน และบันไดที่พวกเขาขึ้น (ก็ทำด้วยเงิน) และบ้านของพวกเขามีประตูและเตียงนอน (ทำด้วยเงิน) ซึ่งพวกเขาจะนอนเอกเขนกบนมัน และ (เราจะให้เครื่องประดับแก่พวกเขาที่ทำด้วย) ทองคำ แต่ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวแห่งชีวิตในโลกนี้เท่านั้น ส่วนในปรโลก ณ ที่พระเจ้าของเจ้านั้นเป็นที่สำหรับบรรดาผู้ยำเกรง" (อัซ-ซุครุฟ : 33-35)
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ การยกย่องสรรเสริญและความสันติจงประสบ แด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺพระองค์เดียวเท่านั้นโดยปราศจากการตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์ และขอปฏิญานตนว่ามุหัมหมัดคือบ่าวและศาสนทูตของอัลลอฮฺ
ชัยคฺอับดุรเราะหฺมาน บิน สะอฺดีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า อัลลอฮฺได้บอกว่าแท้จริงโลกใบนี้ไม่มีค่าใดๆเลย ณ พระองค์ หากพระองค์ไม่มอบความเมตตา และความปรานีแก่ปวงบ่าวของพระองค์แล้ว ซึ่งสิ่งนั้นไม่สามารถนำมาเทียบค่ากับสิ่งใดๆ แน่นอนพระองค์จะแผ่โลกใบนี้ให้กับผู้ปฏิเสธศรัทธาอย่างกว้างขวาง พระองค์อาจจะให้คฤหาสน์ของพวกเขามีหลังคาและบันไดทำด้วยเงินที่สามารถเห็นเด่นชัด และคฤหาสน์ของพวกเขาจะมีช่องประตูหลายบาน พร้อมกับมีเก้าอี้ และเตียงสำหรับพวกเขาเอกเขนก พระองค์จะให้เครื่องประดับมากมายหลากหลายชนิด แต่พระองค์ไม่กระทำเช่นนั้นเนื่องด้วยความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อปวงบ่าว เกรงว่าพวกเขาจะประชันในเรื่องปฏิเสธศรัทธา กระทำบาป และฝ่าฝืนอัลลอฮฺเนื่องจากหลงระเริงในโลกดุนยา อายะฮฺนี้เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าการที่พระองค์พระองค์ทรงห้ามปวงบ่าวจากการกระทำบางอย่างในโลก ทั้งเพื่อผลประโยชน์แก่ตัวของบ่าวเอง และแท้จริงโลกนี้ไม่มีค่าใดๆ เลยแม้จะเทียบกับปีกของยุง ณ อัลลอฮฺ ทุกอย่างที่กล่าวมานั้นคือความสุขสบายทางโลกซึ่งมันต้องมีวันสูญสลายไป แต่ทว่าโลกอาคิเราะฮฺนั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ยำเกรงต่อพระผู้ทรงอภิบาล ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งและห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์ห้าม เนื่องจากสิ่งที่อัลลอฮฺจะประทานในโลกอาคิเราะฮฺนั้นช่างสมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ ในสวนสวรรค์จะมีแต่สิ่งที่อารมณ์ของมนุษย์ชื่นชอบ และมีแต่สิ่งที่ดูแล้วสบายตา แล้วชาวสวรรค์จะพำนักในนั้นอย่างนิรันดร ช่างเป็นสิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างสองโลกดังกล่าว (ตัฟสีรฺ อิบนุ สะอฺดีย์ หน้า 765)
ในอายะฮฺข้างต้นมีบทเรียนมากมาย ดังต่อไปนี้
- ความสุขสบายทางโลกที่อัลลอฮฺประทานแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น เนื่องจากโลกดุนยานี้ไม่มีค่าใดๆ ณ พระองค์ การที่พระองค์ให้ความสุขสบายแก่พวกเขาเนื่องจากพระองค์จะทดสอบพวกเขา ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า
﴿وَيَوۡمَ يُعۡرَضُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ عَلَى ٱلنَّارِ أَذۡهَبۡتُمۡ طَيِّبَٰتِكُمۡ فِي حَيَاتِكُمُ ٱلدُّنۡيَا وَٱسۡتَمۡتَعۡتُم بِهَا فَٱلۡيَوۡمَ تُجۡزَوۡنَ عَذَابَ ٱلۡهُونِ بِمَا كُنتُمۡ تَسۡتَكۡبِرُونَ فِي ٱلۡأَرۡضِ بِغَيۡرِ ٱلۡحَقِّ وَبِمَا كُنتُمۡ تَفۡسُقُونَ ٢٠﴾ [الأحقاف: ٢٠]
ความว่า "และวันที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะถูกนำมาอยู่ต่อหน้าไฟนรก (จะมีเสียงกล่าวแก่พวกเขาว่า) พวกเจ้าได้เอาสิ่งดีงามทั้งหลายของพวกเจ้าในโลกดุนยาไปแล้ว และพวกเจ้าได้มีความสำราญกับมันแล้ว ฉะนั้นวันนี้พวกเจ้าจะได้รับการตอบแทนด้วยการลงโทษอันอัปยศ เนื่องด้วย พวกเจ้าหยิ่งยโสในแผ่นดินโดยไม่เป็นธรรมและเนื่องด้วยพวกเจ้าฝ่าฝืน" (อัล-อะหฺกอฟ : 20)
รายงานจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวสัลลัมกล่าวว่า
«إنَّ اللهَ لا يَظْلِـمُ مُؤْمِنًا حَسَنَةً، يُـعْطىٰ بِـهَا فِي الدُّنْيَا، وَيُـجْزٰى بِـهَا فِي الآخِرَةِ، وَأَمَّا الكَافِرُ فَيُطْعَمُ بِـحَسَنَاتِ مَا عَمِلَ بِـهَا فِي الدُّنْيَا، حَتّٰى إذَا أَفْضٰى إلَى الآخِرَةِ، لَـمْ يَكُنْ لَـهُ حَسَنَةٌ يُـجْزٰى بِـهَا». [ أخرجه مسلم برقم 2808]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอยุติธรรมต่อผู้ศรัทธาแม้เพียงในเรื่องการงานที่ดีแค่อันเดียว เขาจะได้รับสิ่งที่ดี(จากพระองค์)ด้วยการงานนั้นในดุนยา และจะยังได้รับผลตอบแทนด้วยการงานดังกล่าวในวันอาคิเราะฮฺด้วย ในขณะที่กาฟิรผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น เขาจะได้รับปัจจัยในชีวิตเท่าที่พวกเขาทำความดีในโลกดุนยานี้ จนกระทั่งเมื่อถึงวันอาคิเราะฮฺแล้วก็จะไม่มีความดีหลงเหลือที่พอจะได้รับผลตอบแทน(จากอัลลอฮฺ)อีกต่อไป” (บันทึกโดยมุสลิม เล่ม 4 หน้า 2162 เลขที่หะดีษ 2808)
ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เคยปีนขึ้นไปบนห้องเก็บของ(ชั้นบนบ้าน)ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตอนที่ท่านนบีทำการอีลาอ์ (สาบานต่ออัลลอฮฺว่าจะไม่ร่วมหลับนอน) กับภริยาของท่านบางคน อุมัรเห็นรอยเสื่อติดอยู่บนสีข้างของท่านนบี ท่านอุมัรได้ร้องไห้ แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านศานทูตของอัลลอฮฺ กิสรอ(จักรพรรดิแห่งเปอร์เซีย) และกอยศ็อรหรือซีซาร์(จักรพรรดิแห่งโรมัน) ต่างเสพสุขอยู่ในวังของตน แต่ทำไมท่านเป็นถึงคนที่อัลลอฮฺคัดเลือก (เป็นศาสนทูต) มีสภาพอยู่เช่นนี้ ท่านเราะสูลซึ่งนอนเอกเขนกอยู่ ได้ลุกขึ้นนั่งและกล่าวว่า “โอ้ บุตรชายของอัล-ค็อฏฏอบ! ท่านยังสงสัยอยู่อีกหรือ ว่าพวกเขาเหล่านั้นอัลลอฮฺได้เร่งให้ความสุขสำราญบนโลกนี้แก่พวกเขา (ในบางสายรายงานนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า) ท่านไม่ยอมรับหรือว่าโลกนี้สำหรับเขาทั้งสอง ส่วนโลกหน้านั้นคือโลกสำหรับพวกท่าน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เล่ม 3 หน้า 313 เลขที่หะดีษ 4913 มุสลิม เล่ม 2 หน้า 1105 เลขที่หะดีษ 1479)
- และส่วนหนึ่งจากบทเรียนที่ได้รับคือ การที่อัลลอฮฺให้ความสุขสบายอย่างมากมายแก่บ่าวของพระองค์ในโลกนี้มิได้หมายถึงว่าพระองค์ทรงพอพระทัยและรักเขา
อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสว่า
﴿أَيَحۡسَبُونَ أَنَّمَا نُمِدُّهُم بِهِۦ مِن مَّالٖ وَبَنِينَ ٥٥ نُسَارِعُ لَهُمۡ فِي ٱلۡخَيۡرَٰتِۚ بَل لَّا يَشۡعُرُونَ ٥٦ ﴾ [المؤمنون : 55-56]
ความว่า “พวกเขาคิดหรือว่า แท้จริงสิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเขา เช่น ทรัพย์สมบัติ และลูกหลานนั้น เราได้รีบเร่งให้ความดีต่าง ๆ แก่พวกเขากระนั้นหรือ ? เปล่าเลย แต่ทว่าพวกเขาไม่มีความรู้สึกหรือ” (อัล-มุอ์มินูน : 55-56)
และจากท่านอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«إِذَا رَأَيْتَ اللَّهَ تَعَالى يُعْطِي الْعَبْدَ مِنَ الدُّنْيَا مَا يُحِبُّ، وَهُوَ مُقِيمٌ عَلَى مَعَاصِيهِ، فَإِنَّمَا ذَلِكَ مِنْهُ اسْتِدْرَاج» [أخرجه أحمد 4/145]
ความว่า “เมื่อท่านเห็นอัลลอฮฺประทานความสุขสบายทางโลกแก่บ่าวคนหนึ่งในขณะที่เขาผู้นั้นยังคงอยู่กับการฝ่าฝืนต่อพระองค์ตลอดเวลา นั่นคือ อิสติดรอจญ์(ความสุขสบายที่ทำให้หลงกลเพื่อรอการลงโทษอย่างฉับพลัน)” (บันทึกโดย อะหฺมัด 4/145)
- และส่วนหนึ่งจากบทเรียน คือ การส่งเสริมให้ความสำคัญกับเรื่องโลกอาคิเราะฮฺ และการใช้ชีวิตอย่างสมถะในโลกดุนยาอัลลอฮฮได้ตรัสว่า
﴿وَلَا تَمُدَّنَّ عَيۡنَيۡكَ إِلَىٰ مَا مَتَّعۡنَا بِهِۦٓ أَزۡوَٰجٗا مِّنۡهُمۡ زَهۡرَةَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا لِنَفۡتِنَهُمۡ فِيهِۚ وَرِزۡقُ رَبِّكَ خَيۡرٞ وَأَبۡقَىٰ ١٣١ ﴾ [طه : 131]
ความว่า "และเจ้าจงอย่าทอดสายตาของเจ้าไปยังสิ่งที่เราได้ให้ความเพลิดเพลินแก่บุคคลประเภทต่าง ๆ ของพวกปฏิเสธศรัทธา ซึ่งความสุขสำราญในโลกดุนยา เพื่อเราจะได้ทดสอบพวกเขาในการนี้ และการตอบแทนของพระเจ้านั้น ดียิ่งกว่าและจีรังยิ่งกว่า" (ฏอฮา : 131)
- และส่วนหนึ่งจากบทเรียน บ่งบอกถึงความต่ำต้อยและไร้ค่าของโลกดุนยา ณ อัลลอฮฺ จากท่านสะฮัล บิน สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«لَوْ كَانَتِ الدُّنْيَا تَزِنُ عِنْدَ اللَّهِ جَنَاحَ بَعُوضَةٍ ، مَا سَقَى كَافِرًا مِنْهَا شَرْبَةً مِنْ مَاءٍ» [أخرجه الترمذي برقم 2320]
ความว่า "หากว่าโลกนี้มีค่า ณ อัลลอฮฺ เทียบเท่าน้ำหนักปีกของยุงแล้ว แน่นอนพระองค์จะไม่ทรงให้คนกาฟิรฺ(ผู้ปฏิเสธศรัทธา)ได้ดื่มน้ำแม้เพียงอึกเดียว" (บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ เล่มที่ 4 หน้า 560 เลขที่หะดีษ 2320)
และจากท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ผ่านไปที่ตลาด และมีผู้คนมาอยู่ข้างๆท่าน และท่านนบีได้พบซากแกะตายตัวหนึ่ง ซึ่งมีหูสั้นมาก และท่านได้กล่าวว่า “ใครบ้างที่ต้องการซื้อซากแกะนี้ด้วยราคาหนึ่งดิรฮัมบ้าง?” บรรดาเศาะหาบะฮฺต่างตอบว่า พวกเราไม่ชอบสิ่งนี้และไม่รู้ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรบ้างจากมัน ท่านนบีได้ถามอีกว่า “ท่านจะเอาไหมหากจะให้มันแก่พวกท่าน(ให้เปล่าโดยไม่คิดราคา)?” บรรดาเศาะหาบะฮฺต่างตอบอีกว่า ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺว่า สัตว์ตัวนี้ในขณะยังมีชีวิต(พวกเราก็ไม่เอามัน) เพราะมีขอบกพร่องคือมีหูสั้น และหากมันตายไปแล้วยิ่งไม่มีค่าใดๆ อีกเลย ท่านนบีกล่าวว่า
«فَوَاللِّه! لَلدُنْيَا أهونُ عَلى اللّهِ، مِن هَذَا عَلَيْكُم» [ أخرجه مسلم برقم 2956]
ความว่า ดังนั้นแหละ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โลกนี้ไร้ค่า ณ ที่อัลลอฮ ยิ่งกว่าความไร้ค่าของสิ่งนี้ (ซากศพของแกะหูเล็ก) ในความคิดของพวกท่านเสียอีก (บันทึกโดยมุสลิม เล่มที่ 4 หน้า 2272 เลขที่หะดีษ 2956)
และจากท่านมุสเตาริด จากเผ่าฟิฮรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ แท้จริงท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«وَالله، ما الدُّنْيا فِي الآخِرَةِ إلَّا مِثْلُ مَا يَـجْعَلُ أَحَدُكُمْ إصْبَـعَهُ هَذِهِ (وأشارَ يَـحْيَى بالسَّبَّابَةِ) فِي اليَـمِّ فَلْيَنْظُرْ بمَ تَرْجِعْ؟» [أخرجه مسلم برقم 2858]
ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โลกดุนยานี้เมื่อเทียบกับอาคิเราะฮฺแล้วมันไม่มีค่าอะไรเลยนอกจากอุปมาคนหนึ่งใดในกลุ่มพวกท่านเอานิ้วมือ(ท่านยะห์ยา-ผู้รายงานหะดีษชี้ไปที่นิ้วชี้)จุ่มลงในน้ำทะเลแล้วจงดูว่ามีอะไรติดอยู่บ้าง” (บันทึกโดยมุสลิม เล่มที่ 4 หน้า 1293 หมายเลข 2858)
ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า หากแม้นว่าโลกนี้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงวาระสุดท้ายได้ถูกประทานให้แก่ชายคนหนึ่งแล้ว ครั้นเมื่อเขาได้เสียชีวิตไป ก็จะเหมือนกับผู้ที่นอนฝันเห็นสิ่งที่เขาชอบใจ แต่พอตื่นขึ้นมาจะพบว่าสิ่งที่เขาฝันนั้นไม่มีอะไรหลงเหลือเลยในกำมือของเขา (ดู หนังสือมะดาริจญ์ อัส-สาลิกีน 3/97)
ชาวสะลัฟคนหนึ่งได้กล่าวว่า อุปมาความสุขสบายในโลกนี้ทั้งมวลกับความสุขสบายในโลกอาคิเราะฮฺแล้ว อุปมัยดังเศษผงฝุ่นที่ติดอยู่บนภูเขาอันมหึมา (ดู แหล่งอ้างอิงเดียวกัน)
อิบนุ อัล-ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า ผู้ใดที่พิจารณาใคร่ครวญเกี่ยวกับโลกนี้และอาคิเราะฮฺเขาจะรู้ว่าแท้จริงสัจธรรมเป็นเช่นดังที่กล่าวมาข้างต้น (ดู แหล่งอ้างอิงเดียวกัน)
- และส่วนหนึ่งจากบทเรียน คือ อัลลอฮฺได้ห้ามบ่าวของพระองค์ในบางสิ่งบางอย่างในโลกนี้เพื่อเขาจะได้รับตำแหน่งอันสูงส่งในวันกิยามะฮฺ จากท่านอบู สะอีด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّ اللَّهَ لَيَحْمِيَ عَبْدَهُ الْمُؤْمِنَ مِنْ الدُّنْيَا وَهُوَ يُحِبُّهُ، كَمَا تَحْمُونَ مَرِيضَكُمْ الطَّعَامَ وَالشَّرَابَ تخافون عليه» [أخرجه الحاكم برقم 7465]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงปกป้องบ่าวผู้ศรัทธาต่อพระองค์ในโลกนี้ ซึ่งพระองค์ทรงรักเขาผู้นั้นดังเช่นที่พวกท่านได้ห่วงใยผู้ป่วยจากการกินหรือดื่ม ทั้งนี้เนื่องจากพวกท่าเกรงว่าผู้ป่วยจะได้รับอันตรายหรือหายช้า” (บันทึกโดยอัล-หากิม เล่มที่ 4 หน้า 231 หมายเลข 7465)
والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.