การละหมาดและสถานะของมันในอิสลาม
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
การละหมาดและสถานะของมันในอิสลาม
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อิสมาน จารง
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
2012 - 1433
﴿ الصلاة ومكانتها في الإسلام ﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: عثمان جارونج
مراجعة: صافي عثمان
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่อง ที่ 57
การละหมาดและสถานะของมันในอิสลาม
มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการเจริญพรและความสันติมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
แท้จริงอิสลามได้ให้ความสำคัญกับการละหมาดเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับให้มีการประกาศและยกฐานะอันสูงส่งให้กับการละหมาด ละหมาดถือเป็นรุก่นหรือองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของอิสลามถัดจากการกล่าวกะลิมะฮฺ ชะฮาดะฮฺ(กล่าวปฏิญาณตน) มีรายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ وَإِقَامِ الصَّلَاةِ وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ وَالْحَجِّ وَصَوْمِ رَمَضَانَ» [البخاري برقم 8، ومسلم برقم 16]
ความว่า “อิสลามถูกก่อตั้งอยู่บนห้าสิ่ง คือ การปฏิญาณตนว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และท่านศาสนทูตมุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ การทำการละหมาด การจ่ายซะกาต การทำหัจญ์ และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน“ (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/20 หมายเลข 8, เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/45 หมายเลข 16)
ละหมาดจะเป็นสิ่งแรกที่บ่าวจะถูกถามในวันกิยามะฮฺ รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน ก็อรฏ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَوَّلُ مَا يُحَاسَبُ بِهِ العَبْدُ يَوْمَ القِيَامَةِ الصَّلَاةُ ، فَإِنْ صَلَحَتْ صَلَحَ لَهُ سَائِرُ عَمَلِهِ ، وَإِنْ فَسَدَتْ فَسَدَ سَائِرُ عَمَلِهِ» [الطبراني في الأسط برقم 1859، وصححه الألباني في الصحيحة برقم 1358]
ความว่า “สิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺนั้นคือละหมาด หากละหมาดของเขาดีการงานอื่นทั้งหมดก็จะดีด้วย และหากละหมาดของเขาไม่ดีการงานอื่นทั้งหมดก็จะไม่ดีด้วย“ (อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ในหนังสือ อัล-เอาสัฏ 1/240 หมายเลข 1859 และเชค อัล-อัลบานีย์กล่าวว่า เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ใน อัศ-เศาะฮีหะฮฺ หมายเลข 1358)
การละหมาดเป็นข้อแตกต่างระหว่างคนมุสลิมและกาฟิรฺ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
ﮋ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦﮊ التوبة: ١١
ความว่า “แล้วหากพวกเขาสำนึกผิดกลับตัว และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาตแล้วไซร้ พวกเขาก็เป็นพี่น้องของพวกเจ้าในศาสนา และเราจะแจกแจงบรรดาโองการไว้แก่กลุ่มชนที่รู้ “ (อัต-เตาบะฮฺ 11)
รายงานจากท่านญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« بَيْنَ الرَّجُلِ وَبَيْنَ الشِّرْكِ وَالْكُفْرِ تَرْكُ الصَّلاَةِ » [مسلم برقم 82]
ความว่า “(ข้อแบ่งแยก) ระหว่างชายคนหนึ่งกับการตั้งภาคีและการปฏิเสธศรัทธานั้นคือการละหมาด” (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/88 หมายเลข 82)
การละหมาดเป็นสิ่งขวางกั้นระหว่างบ่าว(มนุษย์)กับสิ่งที่เป็นบาปกรรมต่างๆ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
ﮋ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨﯩ ﮊ العنكبوت: ٤٥
ความว่า “แท้จริงการละหมาดนั้น จะยับยั้งการทำลามกและความชั่ว“ (อัล-อังกะบูต 45)
และสิ่งสุดท้ายที่ท่านนบีสั่งเสียในขณะที่ท่านใกล้สิ้นลมนั้นก็คือ
«الصَّلَاةَ الصَّلَاةَ وَمَا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ» [ابن ماجه برقم 2697]
ความว่า “(จงดูแล)การละหมาด (จงดูแล)การละหมาด และ(จงดูแล)คนที่อยู่ในการครอบครองของพวกท่าน(ทาส)” (สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ 2/900 หมายเลข 2697)
การละหมาดนั้นมีประโยชน์ใหญ่หลวงนัก ส่วนหนึ่งก็คือ
สิ่งแรก ช่วยไถ่บาปและความผิดต่างๆ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
ﮋ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﮊ هود: ١١٤
ความว่า “และเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ในปลายช่วงทั้งสองของกลางวัน และยามต้นจากกลางคืน แท้จริงความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลาย นั่นคือข้อเตือนสำหรับบรรดาผู้ที่รำลึก” (ฮูด 114)
รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« أَرَأَيْتُمْ لَوْ أَنَّ نَهْرًا بِبَابِ أَحَدِكُمْ يَغْتَسِلُ مِنْهُ كُلَّ يَوْمٍ خَمْسَ مَرَّاتٍ هَلْ يَبْقَى مِنْ دَرَنِهِ شَىْءٌ ». قَالُوا لاَ يَبْقَى مِنْ دَرَنِهِ شَىْءٌ. قَالَ « فَذَلِكَ مَثَلُ الصَّلَوَاتِ الْخَمْسِ يَمْحُو اللَّهُ بِهِنَّ الْخَطَايَا» [البخاري برقم 528، ومسلم برقم 667]
ความว่า “พวกท่านลองนึกซิว่า หากหน้าประตูบ้านของคนๆหนึ่งในหมู่พวกท่านมีแม่น้ำไหลผ่าน เขาได้อาบน้ำในแม่น้ำนั้นวันละห้าครั้ง จะเหลือสิ่งสกปรกใดๆอีกใหม?” พวกเขากล่าวว่า ไม่เหลือสิ่งสกปรกใดๆ อีก ท่านนบีก็กล่าวว่า “เช่นนั้นแหละคือการเปรียบเทียบการละหมาดห้าเวลา อัลลอฮฺให้มันทำการลบล้างบาปต่างๆ” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/184 หมายเลข 528, เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/463 หมายเลข 667)
สิ่งที่สอง การละหมาดเป็นรัศมีสำหรับผู้ปฏิบัติ รายงานจากท่านอบู มาลิก อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«الطُّهُورُ شَطْرُ الإِيمَانِ، وَالْحَمْدُ لِلَّهِ تَمْلأُ الْمِيزَانَ. وَسُبْحَانَ اللَّهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ تَمْلآنِ - أَوْ تَمْلأُ - مَا بَيْنَ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ، وَالصَّلاَةُ نُورٌ، وَالصَّدَقَةُ بُرْهَانٌ، وَالصَّبْرُ ضِيَاءٌ، وَالْقُرْآنُ حُجَّةٌ لَكَ أَوْ عَلَيْكَ، كُلُّ النَّاسِ يَغْدُو فَبَائِعٌ نَفْسَهُ فَمُعْتِقُهَا أَوْ مُوبِقُهَا» [مسلم برقم 223]
ความว่า “ความสะอาดเป็นกึ่งหนึ่งของการศรัทธา และการกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ มีผลบุญเต็มตาชั่ง(ตาชั่งความดีในวันกิยามะฮฺ) การกล่าวสุบหานัลลอฮฺ วัลหัมดุลิลลาฮฺ ทั้งสองประโยคนี้ หรือ คำกล่าวนี้ทำให้ได้ผลบุญเต็มระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน การละหมาดเป็นรัศมี การบริจาคทานเป็นหลักฐาน การอดทนเป็นแสงสว่างจ้า และอัลกุรอ่านเป็นข้อโต้แย้งสำหรับท่าน(ช่วยเหลือท่านหากท่านปฏิบัติตาม) หรือเป็นข้อโต้แย้งเหนือตัวท่าน(เป็นสิ่งปรักปรำท่านหากท่านไม่ปฏิบัติตาม) มนุษย์ทุกคนย่อมขวนขวาย (ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยเพื่อตัวเอง) บางคนเป็นผู้ที่ขายหรือเสียสละตัวเอง (เพื่ออัลลอฮฺ) ดังนั้นเขาก็คือผู้ปลดปล่อยตัวเขาเอง (จากการถูกลงโทษในไฟนรก) และบางคนก็เป็นผู้ขายตัวเองให้กับชัยฏอนและตัณหาของเขา ดังนั้นเขาคือผู้ทำลายตัวเขาเองให้พินาศ” (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/203 หมายเลข 223)
สิ่งที่สาม มุสลิมคนหนึ่งจะสามารถบรรลุระดับ ศิดดีกีน(ผู้สัจจริง)และผู้เป็นชะฮีด(ตายในหนทางของอัลลอฮฺ) ได้ด้วยการละหมาด จ่ายซะกาตและถือศีลอด รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ได้มีชายสองคนจากบะลีย์ จากเผ่ากุฎออะฮฺ ทั้งสองได้รับอิสลามกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วคนหนึ่งได้ตายชะฮีดในหนทางของอัลลอฮฺ และอีกคนอยู่ต่อไปได้อีกหนึ่งปี ฏ็อลหะฮฺ บิน อุบัยดิลลาฮฺ ได้กล่าวว่า ฉันได้ฝันเห็นสวรรค์ และฉันพบว่าในนั้นคนที่เสียชีวิตในภายหลัง(จากสองคนที่กล่าวไปแล้ว)ได้เข้าสวรรค์ก่อนคนที่ตายชะฮีด ฉันประหลาดใจมาก รุ่งเช้าฉันจึงไปถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือได้มีการไปเล่าให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้รู้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَلَيْسَ قَدْ صَامَ بَعْدَهُ رَمَضَانَ، وَصَلَّى سِتَّةَ آلَافِ رَكْعَةٍ أَوْ كَذَا وَكَذَا رَكْعَةً صَلَاةَ السَّنَةِ» [مسند الإمام أحمد 2/333]
ความว่า “ชายคนที่ตายภายหลังนั้นได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอนหลังจากนั้นมิใช่หรือ และได้ละหมาดหกพันร็อกอะฮฺ หรือเท่านั้นเท่านี้ ในเวลาหนึ่งปี ไม่ใช่หรือ?” (มุสนัด อิมามอะหฺมัด 2/333)
.
ละหมาดต้องทำในเวลาที่ศาสนากำหนด อัลลอฮฺตะอาลา กล่าวว่า
ﮋ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮊ النساء: ١٠٣
ความว่า “แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นวาญิบ(จำเป็นต้องปฏิบัติ)เหนือบรรดาผู้ศรัทธาในเวลาที่ถูกกำหนด” (อัน-นิสาอ์ 103)
ท่านอิมามอัล-บุคอรีย์ได้อธิบายว่า ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนให้แก่พวกเขา และการทำละหมาดในเวลาของมันนั้นเป็นการงานที่อัลลอฮฺรักที่สุด
عن عبدالله بن مسعود قَالَ : سَأَلْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : أَيُّ الْعَمَلِ أَحَبُّ إِلَى اللَّهِ؟ قَالَ : «الصَّلَاةُ عَلَى وَقْتِهَا» قَالَ ثُمَّ أَيٌّ؟ قَالَ : «ثُمَّ بِرُّ الْوَالِدَيْنِ» قَالَ ثُمَّ أَيٌّ؟ قَالَ : «الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ». [البخاري برقم 527، ومسلم برقم 85]
ความว่า รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า การงานใดที่อัลลอฮฺรักมากที่สุด? ท่านนบีได้ตอบว่า “การละหมาดในเวลาของมัน” ฉันถามต่อว่า แล้วอะไรอีก? ท่านนบีตอบว่า “ทำดีต่อบิดามารดา“ ฉันถามต่อว่า แล้วอะไรอีก? ท่านนบีตอบว่า “การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ“ (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/184 หมายเลข 527, เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/89 หมายเลข 85)
ส่วนหนึ่งจากบรรดาหลักฐานที่เตือนภัยในเรื่องการละเลยการละหมาดจนเลยเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็คือ หะดีษบทยาวที่เล่าถึงการฝันเห็นของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในหะดีษ ท่านนบีกล่าวว่า
«أَتَانِي اللَّيْلَةَ آتِيَانِ وَإِنَّهُمَا ابْتَعَثَانِي وَإِنَّهُمَا قَالَا لِي : انْطَلِقْ، وَإِنِّي انْطَلَقْتُ مَعَهُمَا، وَإِنَّا أَتَيْنَا عَلَى رَجُلٍ مُضْطَجِعٍ، وَإِذَا آخَرُ قَائِمٌ عَلَيْهِ بِصَخْرَةٍ وَإِذَا هُوَ يَهْوِي عَلَيْهِ بِالصَّخْرَةِ لِرَأْسِهِ، فَيَثْلَغُ بِهَا رَأْسَهُ فَيَتَدَهْدَهُ الْحَجَرُ هَاهُنَا، فَيَتْبَعُ الْحَجَرَ يَأْخُذُهُ، فَلَا يَرْجِعُ إِلَيْهِ حَتَّى يَصِحَّ رَأْسُهُ كَمَا كَانَ، ثُمَّ يَعُودُ عَلَيْهِ فَيَفْعَلُ بِهِ مِثْلَ مَا فَعَلَ الْمَرَّةَ الْأُولَى، ثم قالا له : أَمَّا الرَّجُلُ الْأَوَّلُ الَّذِي أَتَيْتَ عَلَيْهِ يُثْلَغُ رَأْسُهُ بِالْحَجَرِ فَإِنَّهُ الرَّجُلُ يَأْخُذُ الْقُرْآنَ فَيَرْفُضُهُ وَيَنَامُ عَنْ الصَّلَوَاتِ الْمَكْتُوبَةِ» [البخاري برقم 7047]
ความว่า “ได้มีคนสองคนมาหาฉันเมื่อคืนนี้ ทั้งสองได้ชวนฉัน และกล่าวว่า ออกไปกันเถอะ และฉันก็ได้ออกไปกับทั้งสองคน แล้วเรา(ทั้งสาม)ได้มาถึงยังชายคนหนึ่งที่นอนพิงอยู่ แล้วมีชายอีกคนหนึ่งถือก้อนหินเหนือเขา และชายคนนั้นก็เอาหินทุบก้อนหินลงบนศรีษะของคนที่นอนพิงอยู่นั้น ศีรษะของเขาก็แตกกระจาย หินก็กลิ้งไป ชายคนนั้นตามไปแล้วเก็บหินนั้นแล้วกลับมา ขณะที่ศีรษะของชายที่นอนอยู่นั้นได้กลับมาเหมือนดังเดิม ชายคนนั้นก็กลับทำเหมือนที่ได้ทำไปครั้งแรก (เป็นเช่นนี้เรื่อยไป) แล้วชายทั้งสองที่พาท่านนบีมาได้กล่าวกับท่านนบีว่า ชายคนแรกที่ท่านพบเขา ถูกทุบหัวด้วยหินนั้น คือคนที่รับ(ท่อง)อัลกุรอานแต่ปฏิเสธ(การปฏิบัติตาม)มัน และนอนโดยละทิ้งละหมาดที่วาญิบ“ (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 4/311 หมายเลข 7047)
การละหมาดนี้จะต้องทำที่มัสยิดบ้านของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺกล่าวว่า
ﮋ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈﮉ ﮊ ﮋﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮊ النساء: ١٠٢
ความว่า “และเมื่อเจ้าอยู่ในหมู่พวกเขา แล้วเจ้าได้ให้มีการปฏิบัติละหมาดขึ้นแก่พวกเขา ดังนั้น กลุ่มหนึ่งจากพวกเจาก็จงยืนละหมาดร่วมกับเจ้า และก็จงเอาอาวุธของพวกเขาถือไว้ด้วย ครั้นเมื่อพวกเขาสุญูดแล้ว พวกเขาก็จงอยู่เบื้องหลังของพวกเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังมิได้ละหมาดก็จงมา และจงละหมาดร่วมกับเจ้า และจงยึดถือไว้ซึ่งการระมัดระวังของพวกเขา และอาวุธของพวกเขา บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้น หากว่าพวกเจ้าละเลยอาวุธของพวกเจ้า และสัมภาระของพวกเจ้าแล้ว พวกเขาก็จะจู่โจมพวกเจ้าอย่างรวดเร็ว และไม่มีบาปใดๆ แก่พวกเจ้าหากว่าพวกเจ้ามีความเดือดร้อน เนื่องจากฝนตกหรือพวกเจ้าป่วย ในการที่พวกเจ้าจะวางอาวุธของพวกเจ้า และพวกเจ้าจงยึดถือไว้ ซึ่งการระมัดระวังของพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงเตรียมไว้แล้ว ซึ่งการลงโทษที่ยังความอัปยศแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย“ (อัน-นิสาอ์ 102)
อายะฮฺนี้ได้ชี้แจงว่าการละหมาดญะมาอะฮฺ(ละหมาดเป็นกลุ่ม)เป็นสิ่งวาญิบแม้กระทั่งในภาวะสงคราม ดังนั้นในภาวะสงบก็ย่อมจำเป็นมากกว่า รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِنَّ أَثْقَلَ صَلاَةٍ عَلَى الْمُنَافِقِينَ صَلاَةُ الْعِشَاءِ وَصَلاَةُ الْفَجْرِ وَلَوْ يَعْلَمُونَ مَا فِيهِمَا لأَتَوْهُمَا وَلَوْ حَبْوًا وَلَقَدْ هَمَمْتُ أَنْ آمُرَ بِالصَّلاَةِ فَتُقَامَ ثُمَّ آمُرَ رَجُلاً فَيُصَلِّىَ بِالنَّاسِ ثُمَّ أَنْطَلِقَ مَعِى بِرِجَالٍ مَعَهُمْ حُزَمٌ مِنْ حَطَبٍ إِلَى قَوْمٍ لاَ يَشْهَدُونَ الصَّلاَةَ فَأُحَرِّقَ عَلَيْهِمْ بُيُوتَهُمْ بِالنَّارِ» [البخاري برقم 657، ومسلم برقم 653]
ความว่า “ละหมาดที่หนัก(ลำบาก)ที่สุดสำหรับบรรดาคนมุนาฟิกนั้นคือละหมาดอิชาอ์และละหมาดศุบหฺหากพวกเขารู้คุณค่าที่มีอยู่ใน(ละหมาด)ทั้งสอง พวกเขาจะมาละหมาดแม้จะต้องคลานมาก็ตาม แท้จริงฉันมีความตั้งใจที่จะเรียกให้มีการทำละหมาดขึ้นแล้ว ฉันจะมอบหน้าที่ให้คนคนหนึ่งนำละหมาดให้แก่ผู้คนแทนฉัน แล้วฉันจะออกไปพร้อมกับชายกลุ่มหนึ่งพร้อมกับไม้ฟืน ไปยังกลุ่มที่ไม่มาละหมาดแล้วฉันก็จะเผาบ้านของพวกเขาด้วยไฟเสีย” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/218 หมายเลข 657, เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/452 หมายเลข 653)
นักวิชาการบางท่านได้กล่าวว่า ท่านนบีจะไม่ตั้งใจเช่นนั้นเช่นยกเว้นด้วยสาเหตุที่ว่าผู้ที่ไม่มาละหมาดนั้นเป็นผู้ที่ได้ทำบาปที่ใหญ่ยิ่ง
ได้มีการกล่าวถึงกลุ่มคนเจ็ดประเภทที่จะได้อยู่ใต้ร่มเงาของอัลลอฮฺในวันที่ไม่มีร่มเงาใดๆ นอกจากร่มเงาของพระองค์ (วันกิยามะฮฺ) หนึ่งใน(เจ็ด)นั้นคือ ชายที่จิตใจของเขาผูกพันอยู่กับมัสยิด(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 660 และมุสลิม หมายเลข 1031)
มัสยิดเป็นบ้านของอัลลอฮฺใครที่ไปเขาได้เป็นแขกของอัลลอฮฺ คงไม่มีหัวใจและชีวิตใดที่โชคดีและเป็นสุขมากกว่าผู้ที่ได้เป็นแขกของอัลลอฮฺในบ้านของพระองค์ ภายใต้การดูแลของพระองค์ รายงานจากท่านอบู อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«الْمَسْجِدُ بَيْتُ كُلِّ تَقِيٍّ، وَقَدْ ضَمِنَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ لِمَنْ كَانَ الْمَسَاجِدُ بُيُوتَهُ الرَّوْحَ، وَالرَّحْمَةَ، وَالْجَوَازَ عَلَى الصِّرَاطِ» [الطبراني في الكبير برقم 6143، وحسنه الألباني في صحيح الترغيب والترهيب برقم 330]
ความว่า “มัสยิดเป็นบ้านสำหรับผู้ยำเกรงทุกคน อัลลอฮฺได้ค้ำประกันแก่ผู้ที่มัสยิดเป็นเสมือนบ้านของเขา ด้วยกับความผ่อนคลายและความเมตตา และข้ามผ่านสะพานศิรอฏ ไปสู่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ไปสู่สรวงสวรรค์” (รายงานโดย อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-กะบีรฺ 6/254 ท่านอัล-มุนซิรีย์ กล่าวในหนังสือ อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ 1/298 ว่า รายงานโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-กะบีรฺ และ อัล-เอาสัฏ และรายงานโดย อัล-บัซซารฺ และท่านกล่าวว่า สายรายงานของมันดี และมันก็เป็นจริงอย่างที่ท่านกล่าว ท่านอัล-อัลบานีย์ ตัดสินว่าเป็นหะดีษที่หะซัน ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ 1/253 หมายเลข 330)
และการเป็นแขกของอัลลอฮฺนั้น ในดุนยาก็ได้รับความสงบ ความสุขและผ่อนคลาย ส่วนในอาคิเราะฮฺก็ด้วยการเตรียมความมีเกียรติและนิอฺมัตต่างๆ สำหรับพวกเขาอย่างมากมาย
والحمد لله رب العالمين
وصلّى الله وسلم على نبيّنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.