เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ
หมวดหมู่
Full Description
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ฟุอาด ซัยดาน
แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อะฮฺดาฟ กุลลิ สูเราะฮฺ มิน อัลกุรอาน
2012 - 1433
أهداف سورة الأعراف
« باللغة التايلاندية »
فؤاد زيدان
ترجمة: محمد صبري يعقوب
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب أهداف كل سورة من القرآن
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขปลอดภัยจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
เป้าหมายของสูเราะฮฺ
มีจุดยืนที่ชัดเจนและอย่าเป็นคนในแง่ลบ
สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ เป็นหนึ่งในสูเราะฮฺมักกียะฮฺที่มีเนื้อหายืดยาวที่สุด และถือเป็นสูเราะฮฺแรกที่นำเสนอเรื่องราวของบรรดานบีอย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่เรื่องราวการสร้างนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม จนถึงช่วงสุดท้ายของการสร้าง ตามด้วยเรื่องราวของท่านนบีนูหฺ ท่านนบีฮูด ท่านนบีศอลิหฺ ท่านนบีลูฏ ท่านนบีชุอัยบฺ ท่านนบีมูซา และท่านนบีมุหัมมัดของเรา อัฟเฎาะลุศเศาะลาติวัสลาม (ขออัลลอฮฺประทานการสดุดีที่ดีที่สุดและความสันติสุขแก่ท่าน)
และสูเราะฮฺนี้ มักนำเสนอเนื้อหาของการเผชิญหน้าระหว่างสัจธรรมกับความเท็จ และนำเสนอบทบาทของความเท็จที่จะนำไปสู่ความเสียหายบนหน้าแผ่นดินได้อย่างไร โดยที่เรื่องราวของบรรดานบีแต่ละท่านที่สูเราะฮฺนี้ได้นำเสนอนั้นทำให้เราได้ประจักษ์ถึงการเผชิญหน้าระหว่างความดีกับความชั่ว และมีการเปิดเผยถึงเล่ห์กลของอิบลีสในการล่อลวงท่านนบีอาดัมและลูกหลานของท่าน ด้วยเหตุนี้ จึงมีสำนวนเรียกขานจากอัลลอฮฺถึงลูกหลานอาดัมถึง 4 สำนวนอย่างต่อเนื่องด้วยกัน นั่นคือ (ยาบนีอาดัม-โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย) ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นข้อเตือนสติถึงการเป็นศัตรูของพวกมัน ด้วยการกระซิบกระซาบบิดาของพวกเขานั่นคือท่านนบีอาดัม กระทั่งท่านได้ตกหลุมพรางของการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา
เช่นเดียวกัน สูเราะฮฺที่มีเกียรตินี้ยังได้นำเสนอจำพวกต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งพวกเขามี 3 จำพวกด้วยกัน ได้แก่ ผู้ศรัทธาที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ, ผู้ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ, และอัส-สัลบียูน คือคนที่ความเพียบพร้อมในทุกสิ่ง แต่ไม่ทำหน้าที่ เอาแต่นิ่งเงียบ อาจจะเป็นเพราะความอาย หรือมีนิสัยไม่แยแสและไม่ชอบเอาใจใส่ต่อสิ่งใดเลย
อัส-สัลบียะฮฺ (พวกที่ใช้ชีวิตแบบคิดลบ) ถือเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดที่ได้ประสบกับปัจเจกบุคคล สังคม และประชาชาติโดยรวม ซึ่งการมาของอายะฮฺเหล่านี้ก็เพื่อเตือนสติให้เรามีความเข้มแข็งต่อจุดยืนในการดำรงชีวิตนี้ และให้เราเป็นผู้ศรัทธาที่จะได้ประสบกับความสำเร็จในวันกิยามะฮฺ และอย่าให้เราประหนึ่งพวกอัล-อะอฺรอฟ คือพวกที่ความดีและความชั่วของพวกเขานั้นเท่ากัน ซึ่งพวกเขาต้องรอคอยการตัดสินจากอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาในวันกิยามะฮฺ
การตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ว่า (อัล-อะอฺรอฟ)
เนื่องจากในเนื้อหาของสูเราะฮฺมีการกล่าวถึงชื่อ “อัล-อะอฺรอฟ” นั่นคือ กำแพงสูงที่ตั้งตระหง่านระหว่างสวรรค์กับนรก และเป็นที่กั้นระหว่างชาวสวรรค์และชาวนรก ดังที่มีรายงานจากท่านญะรีรฺ จากท่านหุซัยฟะฮฺ ซึ่งท่านได้ถูกถามเกี่ยวกับชาวอัล-อะอฺรอฟ ท่านได้ตอบว่า “พวกเขาคือกลุ่มชนที่ความดีกับความชั่วเท่ากัน ซึ่งความชั่วที่พวกเขามีอยู่เป็นสิ่งยับยั้งไม่ให้เขาเข้าสวรรค์ ส่วนความดีที่พวกเขามีอยู่ก็เป็นตัวถ่วงไม่ให้เขาต้องเข้านรก โดยที่พวกเขาถูกกักไว้บนส่วนสูงของกำแพง จนกว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงตัดสินในกิจการของพวกเขา” (ตัฟสีรอัฏ-เฏาะบะรีย์ เล่ม 12 หน้า 453)
สูเราะฮฺได้เริ่มด้วยกับความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานอันทรงเกียรติซึ่งถูกประทานลงมาให้กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ด้วยการอธิบายว่าอัลกุรอานนี้ คือ ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน ดังนั้น จำเป็นที่พวกเขาต้องยึดมั่นในคำชี้แนะและข้อแนะนำต่างๆ ของมัน ทั้งนี้ เพื่อพวกเขาจะได้ประสบกับความสำเร็จด้วยกับการได้รับความเปี่ยมสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่รอดพ้นในวันกิยามะฮฺ และเป็นหนึ่งในชาวสวรรค์
﴿كِتَٰبٌ أُنزِلَ إِلَيۡكَ فَلَا يَكُن فِي صَدۡرِكَ حَرَجٞ مِّنۡهُ لِتُنذِرَ بِهِۦ وَذِكۡرَىٰ لِلۡمُؤۡمِنِينَ ٢ ﴾ [الأعراف: ٢]
ความว่า “นี่คัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า ดังนั้น จงอย่าให้ความรู้สึกอึดอัดคลางแคลงต่อคัมภีร์นั้นมีอยู่ในหัวอกของเจ้า ทั้งนี้เพื่อเจ้าจะได้ใช้คัมภีร์นั้นตักเตือน (ผู้คน) และเพื่อเป็นข้อเตือนใจ แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 2)
ตัวอย่างแรกของการเผชิญหน้าระหว่างสัจธรรมกับความมดเท็จ
นั่นคือ เรื่องราวของท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม กับอิบลีส ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ให้ข้อกระจ่างแก่เราในเรื่องราวนี้และเนื้อหาอื่นๆ ของสูเราะฮฺว่า แน่นอนที่สุด สุดท้ายแล้วสัจธรรมย่อมต้องมีชัยเหนือความมดเท็จทั้งหลาย และการที่มีคำว่า
﴾ فَدَلَّىٰهُمَا بِغُرُورٖۚ ﴿ ในอายะฮฺนี้
﴿فَدَلَّىٰهُمَا بِغُرُورٖۚ فَلَمَّا ذَاقَا ٱلشَّجَرَةَ بَدَتۡ لَهُمَا سَوۡءَٰتُهُمَا وَطَفِقَا يَخۡصِفَانِ عَلَيۡهِمَا مِن وَرَقِ ٱلۡجَنَّةِۖ وَنَادَىٰهُمَا رَبُّهُمَآ أَلَمۡ أَنۡهَكُمَا عَن تِلۡكُمَا ٱلشَّجَرَةِ وَأَقُل لَّكُمَآ إِنَّ ٱلشَّيۡطَٰنَ لَكُمَا عَدُوّٞ مُّبِينٞ ٢٢ ﴾ [الأعراف: ٢٢]
ความว่า “แล้วมัน(อิบลีส)ก็ยุแหย่ทั้งสอง(อาดัมกับเฮาวาอ์)ให้ตกหลุมพรางด้วยความรู้สึกลำพอง(ในการทำผิด) ครั้นเมื่อทั้งสองได้ลิ้มรสต้นไม้ต้นนั้นแล้ว อวัยวะอันพึงละอายของเขาทั้งสองก็เผยให้ประจักษ์แก่เขาทั้งสอง และเขาทั้งสองก็เริ่มปกปิดบน(อวัยวะส่วนที่น่าละอาย)ของเขาทั้งสองจากใบไม้แห่งสวนสวรรค์นั้น และพระเจ้าของเขาทั้งสองจึงได้เรียกเขาทั้งสอง (โดยกล่าวว่า) ข้ามิได้ห้ามเจ้าทั้งสองเกี่ยวกับต้นไม้นั้นดอกหรือ? และข้ามิได้กล่าวแก่เจ้าทั้งสองดอกหรือว่า แท้จริงชัยฏอนนั้นคือศัตรูที่ชัดแจ้งแก่เจ้าทั้งสอง ” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 22)
ซึ่งเป็นการพรรณนาถึงการล่อลวงของชัยฏอนที่มีต่อท่านนบีอาดัม เพื่อให้ข้อกระจ่างแก่เราว่า ผู้ที่ไม่มีความชัดเจนในกิจการและจุดยืนของพวกเขานั้น ประหนึ่งพวกเขาถูกแขวนในบ่อน้ำ พวกเขาไม่ถึงกับพินาศแต่ก็ยังไม่แน่ใจได้ว่าจะปลอดภัย ซึ่งเป็นการเน้นย้ำแก่เราถึงความจำเป็นของการประกาศจุดยืนได้การเผชิญหน้าระหว่างสัจธรรมกับความมดเท็จ สุบหานัลลอฮฺ มันช่างเป็นการอธิบายอันวิจิตรของอัลกุรอาน ความประณีตในการสาธยายและการใช้ถ้อยคำสำนวน
สูเราะฮฺได้นำเสนอภาพของวันกิยามะฮฺและเรื่องราวของชาวอัล-อะอฺรอฟ
ในอายะฮฺที่ 44-51 (ซึ่งมีเนื้อหาของอายะฮฺดังนี้ -ผู้แปล)
﴿ وَنَادَىٰٓ أَصۡحَٰبُ ٱلۡجَنَّةِ أَصۡحَٰبَ ٱلنَّارِ أَن قَدۡ وَجَدۡنَا مَا وَعَدَنَا رَبُّنَا حَقّٗا فَهَلۡ وَجَدتُّم مَّا وَعَدَ رَبُّكُمۡ حَقّٗاۖ قَالُواْ نَعَمۡۚ فَأَذَّنَ مُؤَذِّنُۢ بَيۡنَهُمۡ أَن لَّعۡنَةُ ٱللَّهِ عَلَى ٱلظَّٰلِمِينَ ٤٤ ٱلَّذِينَ يَصُدُّونَ عَن سَبِيلِ ٱللَّهِ وَيَبۡغُونَهَا عِوَجٗا وَهُم بِٱلۡأٓخِرَةِ كَٰفِرُونَ ٤٥ وَبَيۡنَهُمَا حِجَابٞۚ وَعَلَى ٱلۡأَعۡرَافِ رِجَالٞ يَعۡرِفُونَ كُلَّۢا بِسِيمَىٰهُمۡۚ وَنَادَوۡاْ أَصۡحَٰبَ ٱلۡجَنَّةِ أَن سَلَٰمٌ عَلَيۡكُمۡۚ لَمۡ يَدۡخُلُوهَا وَهُمۡ يَطۡمَعُونَ ٤٦ ۞وَإِذَا صُرِفَتۡ أَبۡصَٰرُهُمۡ تِلۡقَآءَ أَصۡحَٰبِ ٱلنَّارِ قَالُواْ رَبَّنَا لَا تَجۡعَلۡنَا مَعَ ٱلۡقَوۡمِ ٱلظَّٰلِمِينَ ٤٧ وَنَادَىٰٓ أَصۡحَٰبُ ٱلۡأَعۡرَافِ رِجَالٗا يَعۡرِفُونَهُم بِسِيمَىٰهُمۡ قَالُواْ مَآ أَغۡنَىٰ عَنكُمۡ جَمۡعُكُمۡ وَمَا كُنتُمۡ تَسۡتَكۡبِرُونَ ٤٨ أَهَٰٓؤُلَآءِ ٱلَّذِينَ أَقۡسَمۡتُمۡ لَا يَنَالُهُمُ ٱللَّهُ بِرَحۡمَةٍۚ ٱدۡخُلُواْ ٱلۡجَنَّةَ لَا خَوۡفٌ عَلَيۡكُمۡ وَلَآ أَنتُمۡ تَحۡزَنُونَ ٤٩ وَنَادَىٰٓ أَصۡحَٰبُ ٱلنَّارِ أَصۡحَٰبَ ٱلۡجَنَّةِ أَنۡ أَفِيضُواْ عَلَيۡنَا مِنَ ٱلۡمَآءِ أَوۡ مِمَّا رَزَقَكُمُ ٱللَّهُۚ قَالُوٓاْ إِنَّ ٱللَّهَ حَرَّمَهُمَا عَلَى ٱلۡكَٰفِرِينَ ٥٠ ٱلَّذِينَ ٱتَّخَذُواْ دِينَهُمۡ لَهۡوٗا وَلَعِبٗا وَغَرَّتۡهُمُ ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَاۚ فَٱلۡيَوۡمَ نَنسَىٰهُمۡ كَمَا نَسُواْ لِقَآءَ يَوۡمِهِمۡ هَٰذَا وَمَا كَانُواْ بَِٔايَٰتِنَا يَجۡحَدُونَ ٥١ ﴾ [الأعراف: ٤٤-٥١]
ความว่า “และชาวสวรรค์ได้ร้องเรียกชาวนรกว่าแท้จริงพวกเราได้พบแล้วว่าสิ่งที่พระเจ้าของเราได้สัญญาแก่เราไว้นั้นเป็นความจริง และพวกท่านได้พบสิ่งที่พระเจ้าของพวกท่านได้ทรงสัญญาไว้เป็นความจริงไหม? พวกเขากล่าวว่า ใช่ มันเป็นความจริง แล้วก็มีผู้ประกาศคนหนึ่งได้ประกาศขึ้นในระหว่างพวกเขาว่า ขอการสาปแช่งของอัลลอฮฺจงมีแด่ผู้อธรรมทั้งหลายเถิด คือบรรดาผู้ที่ขัดขวางทางของอัลลอฮฺ และปรารถนาให้ทางนั้นคดเคี้ยว และต่อวันปรโลกนั้นพวกเขาปฏิเสธศรัทธา และระหว่างพวกเขานั้นมีกำแพงกั้น และบนส่วนสูงของกำแพงนั้นมีบรรดาชายกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพวกเขารู้จัก (พวกนั้น) ทั้งหมด ด้วยเครื่องหมายของพวกเขา (ชาวสวรรค์) และพวกเขาได้เรียกชาวสวรรค์ (โดยกล่าวว่า) ขอความปลอดภัยจงมีแด่พวกท่านเถิด โดยที่พวกเขายังมิได้เข้าสวนสวรรค์ ทั้งๆ ที่พวกเขาก็ปรารถนาอย่างแรงกล้า และเมื่อบรรดาสายตาของพวกเขาถูกหันไปทางชาวนรก พวกเขาก็กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ โปรดอย่าได้ทรงให้พวกข้าพระองค์ร่วมอยู่กับกลุ่มผู้อธรรมเหล่านั้นเลย และบรรดาผู้ที่อยู่บนส่วนสูงของกำแพงนั้นได้ร้องเรียกชายกลุ่มหนึ่งซึ่งพวกเขารู้จักพวกนั้นได้ด้วยเครื่องหมายของพวกเขา (ชาวนรก) โดยกล่าวว่ามันย่อมไม่อำนวยประโยชน์แก่พวกท่านเลยซึ่งการสะสม(ทรัพย์)ของพวกท่านและการที่พวกท่านหยิ่งยโส ชนเหล่านี้ใช่ไหมคือผู้ที่พวกเจ้าได้สาบานไว้ว่า อัลลอฮฺจะไม่ทรงให้ได้แก่พวกเขาซึ่งความเอ็นดูเมตตาใดๆ (แล้วชาวอัล-อะอฺรอฟก็จะได้รับคำสั่งว่า)พวกเจ้าจงเข้าสวรรค์กันเถิดโดยปราศจากความกลัวใดๆ แก่พวกเจ้า และทั้งพวกเจ้าก็จะไม่เสียใจ และชาวนรกก็ได้ร้องเรียกชาวสวรรค์ว่า จงเทน้ำมาให้แก่พวกเราด้วยเถิด หรือไม่ก็ด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกท่านด้วย เขาเหล่านั้น(ชาวสวรรค์)กล่าวตอบว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงให้สิ่งทั้งสองนั้นเป็นที่ต้องห้ามแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย คือบรรดาผู้ที่ยึดเอาศาสนาของพวกเขาเป็นสิ่งให้ความเพลิดเพลิน และเป็นของเล่น และชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ก็ได้หลอกลวงพวกเขาด้วย ดังนั้นวันนี้เราจะลืมพวกเขาบ้าง ดังที่พวกเขาได้ลืมการพบกับวันของพวกเขานี้และการที่พวกเขาปฏิเสธบรรดาโองการของเรา” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 44-51)
อายะฮฺอัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวของชาว อัล-อะอฺรอฟ ซึ่งพวกเขามีความดีและความชั่วเท่ากัน ทำให้พวกเขาต้องถูกกักอยู่บนอัล-อะอฺรอฟหรือกำแพงที่สูงตระหง่าน โดยรอคอยการตัดสินของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่มีต่อพวกเขา
อัล-อะอฺรอฟ คือสถานที่สูงที่ทำให้รู้ว่าสวรรค์และนรกนั้นมีสภาพอย่างไร โดยที่พวกเขาต้องพำนัก ณ ที่นั่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะมนุษย์ในวันอาคิเราะฮฺนั้นถ้าไม่อยู่ในนรกก็จะอยู่ในสวรรค์ ซึ่งชาวอัล-อะอฺรอฟ นั้นพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่รู้ว่าอะไรคือสัจธรรมและอะไรคือความเท็จ แต่พวกเขาไม่มีความเข้มแข็งต่อจุดยืนของพวกเขา ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้พวกเขาต้องถูกกักตัวระหว่างสวรรค์และนรก จนกระทั่งอัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงตัดสินในกิจการงานของพวกเขา
﴿وَبَيۡنَهُمَا حِجَابٞۚ وَعَلَى ٱلۡأَعۡرَافِ رِجَالٞ يَعۡرِفُونَ كُلَّۢا بِسِيمَىٰهُمۡۚ وَنَادَوۡاْ أَصۡحَٰبَ ٱلۡجَنَّةِ أَن سَلَٰمٌ عَلَيۡكُمۡۚ لَمۡ يَدۡخُلُوهَا وَهُمۡ يَطۡمَعُونَ ٤٦ ﴾ [الأعراف: ٤٦]
ความว่า “และระหว่างพวกเขานั้นมีกำแพงกั้น และบนส่วนสูงของกำแหงนั้นมีบรรดาชายกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพวกเขารู้จัก (พวกนั้น) ทั้งหมด ด้วยเครื่องหมายของพวกเขา (ชาวสวรรค์) และพวกเขาได้เรียกชาวสวรรค์ (โดยกล่าวว่า) ขอความปลอดภัยจงมีแด่พวกท่านเถิด โดยที่พวกเขา(ชาวอัล-อะอฺรอฟ)ยังมิได้เข้าสวนสวรรค์ ทั้งๆ ที่พวกเขาก็ปรารถนาอย่างแรงกล้า(ที่จะเข้าสวรรค์ด้วย)” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 46)
ดังนั้น มีความจำเป็นสำหรับเราที่ต้องไม่วางตัวเหมือนสภาพเช่นนี้ แต่ให้เราปฏิบัติความดีด้วยความมุ่งมั่นเพื่อที่เราจะได้เป็นหนึ่งในชาวสวรรค์ และกระทั่งไม่ทำให้เราต้องมีสภาพเช่นนี้บนกำแพงอัล-อะอฺรอฟ
อายะฮฺอัลกุรอานได้นำเสนอตัวอย่างของการเผชิญหน้าระหว่างสัจธรรมกับความมดเท็จ ด้วยเรื่องราวของบรรดานบีในทุกยุคทุกสมัย
อายะฮฺอัลกุรอานได้นำเสนอเรื่องราวของนบีแต่ละท่านกับกลุ่มชนของท่าน และการเผชิญหน้าระหว่างความดีกับความชั่ว และนำเสนอวิธีการที่อัลลอฮฺได้ทำให้นบีของพระองค์และผู้ที่เจริญรอยตามนั้นปลอดภัยจากศัตรูของพวกเขา
เรื่องราวของนบีนูหฺกับกลุ่มชนของท่าน
﴿فَكَذَّبُوهُ فَأَنجَيۡنَٰهُ وَٱلَّذِينَ مَعَهُۥ فِي ٱلۡفُلۡكِ وَأَغۡرَقۡنَا ٱلَّذِينَ كَذَّبُواْ بَِٔايَٰتِنَآۚ إِنَّهُمۡ كَانُواْ قَوۡمًا عَمِينَ ٦٤ ﴾ [الأعراف: ٦٤]
ความว่า “แล้วพวกเขาได้ปฏิเสธนูหฺ แล้วเราก็ได้ช่วยเขาและบรรดาผู้ที่อยู่กับเขาในเรือให้รอด และเราได้ให้บรรดาผู้ที่ปฏิเสธโองการทั้งหลายของเราจมน้ำ แท้จริงพวกเขานั้นเป็นกลุ่มชนที่มืดบอด” (สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : 64)
เรื่องราวของนบีฮูด
﴿فَأَنجَيۡنَٰهُ وَٱلَّذِينَ مَعَهُۥ بِرَحۡمَةٖ مِّنَّا وَقَطَعۡنَا دَابِرَ ٱلَّذِينَ كَذَّبُواْ بَِٔايَٰتِنَاۖ وَمَا كَانُواْ مُؤۡمِنِينَ ٧٢﴾ [الأعراف: ٧٢]
ความว่า “แล้วเราได้ช่วยเขา(ฮูด) และบรรดาผู้ที่ร่วมอยู่กับเขาให้รอดพ้น ด้วยความเอ็นดูเมตตาจากเรา และเราได้ตัดขาด(ทำลาย)ซึ่งคนสุดท้ายของบรรดาผู้ที่ปฏิเสธโองการทั้งหลายของเรา และมิเคยปรากฏว่าพวกเขาเป็นผู้ศรัทธา” (สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : 72)
เรื่องราวของนบีศอลิหฺ ในอายะฮฺที่ 73-79 (ซึ่งมีเรื่องราวดังนี้ -ผู้แปล-)
﴿ وإِلَىٰ ثَمُودَ أَخَاهُمۡ صَٰلِحٗاۚ قَالَ يَٰقَوۡمِ ٱعۡبُدُواْ ٱللَّهَ مَا لَكُم مِّنۡ إِلَٰهٍ غَيۡرُهُۥۖ قَدۡ جَآءَتۡكُم بَيِّنَةٞ مِّن رَّبِّكُمۡۖ هَٰذِهِۦ نَاقَةُ ٱللَّهِ لَكُمۡ ءَايَةٗۖ فَذَرُوهَا تَأۡكُلۡ فِيٓ أَرۡضِ ٱللَّهِۖ وَلَا تَمَسُّوهَا بِسُوٓءٖ فَيَأۡخُذَكُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٞ ٧٣ وَٱذۡكُرُوٓاْ إِذۡ جَعَلَكُمۡ خُلَفَآءَ مِنۢ بَعۡدِ عَادٖ وَبَوَّأَكُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ تَتَّخِذُونَ مِن سُهُولِهَا قُصُورٗا وَتَنۡحِتُونَ ٱلۡجِبَالَ بُيُوتٗاۖ فَٱذۡكُرُوٓاْ ءَالَآءَ ٱللَّهِ وَلَا تَعۡثَوۡاْ فِي ٱلۡأَرۡضِ مُفۡسِدِينَ ٧٤ قَالَ ٱلۡمَلَأُ ٱلَّذِينَ ٱسۡتَكۡبَرُواْ مِن قَوۡمِهِۦ لِلَّذِينَ ٱسۡتُضۡعِفُواْ لِمَنۡ ءَامَنَ مِنۡهُمۡ أَتَعۡلَمُونَ أَنَّ صَٰلِحٗا مُّرۡسَلٞ مِّن رَّبِّهِۦۚ قَالُوٓاْ إِنَّا بِمَآ أُرۡسِلَ بِهِۦ مُؤۡمِنُونَ ٧٥ قَالَ ٱلَّذِينَ ٱسۡتَكۡبَرُوٓاْ إِنَّا بِٱلَّذِيٓ ءَامَنتُم بِهِۦ كَٰفِرُونَ ٧٦ فَعَقَرُواْ ٱلنَّاقَةَ وَعَتَوۡاْ عَنۡ أَمۡرِ رَبِّهِمۡ وَقَالُواْ يَٰصَٰلِحُ ٱئۡتِنَا بِمَا تَعِدُنَآ إِن كُنتَ مِنَ ٱلۡمُرۡسَلِينَ ٧٧ فَأَخَذَتۡهُمُ ٱلرَّجۡفَةُ فَأَصۡبَحُواْ فِي دَارِهِمۡ جَٰثِمِينَ ٧٨ فَتَوَلَّىٰ عَنۡهُمۡ وَقَالَ يَٰقَوۡمِ لَقَدۡ أَبۡلَغۡتُكُمۡ رِسَالَةَ رَبِّي وَنَصَحۡتُ لَكُمۡ وَلَٰكِن لَّا تُحِبُّونَ ٱلنَّٰصِحِينَ ٧٩ ﴾ [الأعراف: ٧٣-٧٩]
ความว่า “และยังประชาชาติษะมูดนั้น เราได้ส่งศอลิหฺซึ่งเป็นพี่น้องของพวกเขาไป เขากล่าวว่าโอ้ประชาชาติของฉัน! จงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด ไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใดๆ สำหรับพวกท่านอีกแล้วอื่นจากพระองค์ แน่นอนได้มีหลักฐานอันชัดเจนจากพระเจ้าของพวกท่านมายังพวกท่านแล้ว นี่คืออูฐตัวเมียของอัลลอฮฺในฐานะเป็นสัญญาณหนึ่งสำหรับพวกท่าน ดังนั้น พวกท่านจงปล่อยมันกินในแผ่นดินของอัลลอฮฺเถิด และจงอย่าแตะต้องมันด้วยการทำร้ายใดๆเลย จะเป็นเหตุให้การลงโทษอันเจ็บแสบคร่าพวกท่านเสีย และพวกท่านจงรำลึกขณะที่พระองค์ได้ทรงให้พวกท่านเป็นผู้สืบช่วงแทนมาหลังจากชาวอ๊าด(พวกนบีฮูด) และได้ทรงให้พวกท่านตั้งหลักแหล่งอยู่ในแผ่นดินส่วนนั้น โดยยึดเอาจากที่ราบของมันเป็นวัง และสกัดภูเขาเป็นบ้าน พวกท่านพึงรำลึกถึงความกรุณาของอัลลอฮฺเถิด และจงอย่าก่อกวนในแผ่นดินในฐานะผู้บ่อนทำลาย บรรดาชนชั้นนำที่แสดงโอหังจากประชาชาติของเขาได้กล่าวแก่บรรดาผู้ที่ถูกนับว่าอ่อนแอ (กล่าวคือ) แก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเขาว่า พวกท่านรู้กระนั้นหรือว่าแท้จริงศอลิหฺนั้นเป็นผู้ถูกส่งมาจากพระเจ้าของเขา พวกเขากล่าวว่าแท้จริงพวกเราเป็นผู้ศรัทธาต่อสิ่งที่เขาถูกส่งให้นำสิ่งนั้นมา บรรดาผู้ที่แสดงโอหังกล่าวว่า แท้จริงเราเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อสิ่งที่พวกท่านได้ศรัทธากัน และพวกเขาก็ทำลายอูฐตัวเมียตัวนั้นและได้ละเมิดคำสั่งแห่งพระเจ้าของพวกเจ้า และได้กล่าวว่าโอ้ศอลิหฺ ! จงนำสิ่งที่ท่านได้สัญญาแก่พวกเราไว้มาให้แก่พวกเราเถิด ถ้าหากท่านอยู่ในหมู่ผู้ที่ถูกส่งมาเป็นเราะสูลจริง และความสั่นไหวอย่างแรงของแผ่นดินก็ได้คร่าชีวิตพวกเขา แล้วพวกเขาก็กลายเป็นผู้นั่งคุกเข่าตายในบ้านของพวกเขา แล้วเขาก็หันออกไปจากพวกนั้น และกล่าวว่า โอ้ประชาชาติของฉัน แท้จริงฉันได้ประกาศแก่พวกท่านแล้ว ซึ่งสารแห่งพระเจ้าของฉัน และฉันก็ได้ชี้แจงแนะนำแก่พวกท่านด้วย แต่ทว่าพวกท่านกลับไม่ชอบบรรดาผู้ชี้แจงแนะนำ” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 73-79)
เรื่องราวของนบีลูฏ
﴿ فَأَنجَيۡنَٰهُ وَأَهۡلَهُۥٓ إِلَّا ٱمۡرَأَتَهُۥ كَانَتۡ مِنَ ٱلۡغَٰبِرِينَ ٨٣ ﴾ [الأعراف: ٨٣]
ความว่า “และเราได้ช่วยเขาและครอบครัวของเขาให้รอดพ้น นอกจากภรรยาของเขาเท่านั้น ซึ่งนางปรากฏอยู่ในหมู่ที่คงอยู่(เพื่อรับการลงโทษ)” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 83)
เรื่องราวของนบีชุอัยบฺ
﴿ ۞قَالَ ٱلۡمَلَأُ ٱلَّذِينَ ٱسۡتَكۡبَرُواْ مِن قَوۡمِهِۦ لَنُخۡرِجَنَّكَ يَٰشُعَيۡبُ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مَعَكَ مِن قَرۡيَتِنَآ أَوۡ لَتَعُودُنَّ فِي مِلَّتِنَاۚ قَالَ أَوَلَوۡ كُنَّا كَٰرِهِينَ ٨٨ ﴾ [الأعراف: ٨٨]
ความว่า “บรรดาชนชั้นนำที่แสดงโอหังจากประชาชาติของเขาได้กล่าวว่า แน่นอนเราจะขับไล่ท่านออกไปโอ้ ชุอัยบฺ! และบรรดาผู้ที่ศรัทธากับท่านด้วยให้ออกไปจากเมืองของเรา หรือไม่ก็แน่นอนท่านจะต้องกลับมาในลัทธิของเรา เขากล่าวว่า แม้ว่าพวกเราจะรังเกียจสิ่งดังกล่าวก็ตามกระนั้นหรือ? ” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 88)
ข้อเปรียบเทียบระหว่างจุดยืนที่ชัดเจนกับความลังเล ที่ปรากฏในเรื่องราวของท่านนบีมูซา ฟิรเอาน์ และนักมายากล
อายะฮฺของอัลกุรอานได้ชี้ชัดถึงจุดยืนที่ชัดเจนของนักมายากลที่มีต่อนบีของอัลลอฮฺนั่นคือท่านนบีมูซา ภายหลังที่พวกเขาได้เห็นสัจธรรม และพวกเขาได้ประกาศจุดยืนที่ชัดเจนต่อฟิรเอาน์และพลพรรคของมัน โดยที่พวกเขาได้ศรัทธาต่ออัลลออฮฺและในสิ่งที่นบีมูซาได้นำมา
﴿ لَأُقَطِّعَنَّ أَيۡدِيَكُمۡ وَأَرۡجُلَكُم مِّنۡ خِلَٰفٖ ثُمَّ لَأُصَلِّبَنَّكُمۡ أَجۡمَعِينَ ١٢٤ قَالُوٓاْ إِنَّآ إِلَىٰ رَبِّنَا مُنقَلِبُونَ ١٢٥ وَمَا تَنقِمُ مِنَّآ إِلَّآ أَنۡ ءَامَنَّا بَِٔايَٰتِ رَبِّنَا لَمَّا جَآءَتۡنَاۚ رَبَّنَآ أَفۡرِغۡ عَلَيۡنَا صَبۡرٗا وَتَوَفَّنَا مُسۡلِمِينَ ١٢٦ ﴾ [الأعراف: ١٢٤-١٢٦]
ความว่า “ข้า(ฟิรเอาน์)สาบานว่า ข้าจะตัดมือของท่านและเท้าของพวกท่านโดยสลับข้างกัน แล้วข้าจะตรึงพวกท่านทั้งหมดไว้ (ที่ลำต้นอินทผลัม) พวกเขา(นักมายากลที่ศรัทธา)กล่าวว่า แท้จริงพวกเราจะเป็นผู้กลับไปยังพระเจ้าของเรา และท่านไม่ได้แก้แค้นเรา นอกเสียจากเพราะว่าเราได้ศรัทธาต่อบรรดาสัญญาณแห่งพระเจ้าของเราเมื่อมันได้มายังเราแล้ว โอ้พระเจ้าของเราโปรดรดรินความอดทนลงมาบนพวกเราด้วยเถิด และโปรดทรงให้พวกเราตายในฐานะผู้สวามิภักดิ์ด้วย ” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 124-126)
ความลังเลของบนีอิสรออีลในการเจริญรอยตามท่านนบีมูซา
﴿قَالَ مُوسَىٰ لِقَوۡمِهِ ٱسۡتَعِينُواْ بِٱللَّهِ وَٱصۡبِرُوٓاْۖ إِنَّ ٱلۡأَرۡضَ لِلَّهِ يُورِثُهَا مَن يَشَآءُ مِنۡ عِبَادِهِۦۖ وَٱلۡعَٰقِبَةُ لِلۡمُتَّقِينَ ١٢٨ قَالُوٓاْ أُوذِينَا مِن قَبۡلِ أَن تَأۡتِيَنَا وَمِنۢ بَعۡدِ مَا جِئۡتَنَاۚ قَالَ عَسَىٰ رَبُّكُمۡ أَن يُهۡلِكَ عَدُوَّكُمۡ وَيَسۡتَخۡلِفَكُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ فَيَنظُرَ كَيۡفَ تَعۡمَلُونَ ١٢٩ ﴾ [الأعراف: ١٢٨-١٢٩]
ความว่า “มูซาได้กล่าวแก่พวกพ้องของเขาว่า จงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮฺเถิด และจงอดทนด้วย แท้จริงแผ่นดินนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะทรงให้มันสืบทอดแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ และบั้นปลายนั้นย่อมเป็นของผู้ยำเกรงทั้งหลาย พวกเขากล่าวว่า พวกเราได้รับการทารุณทั้งก่อนจากที่ท่านจะมายังพวกเราและหลังจากที่ท่านได้มายังเรา เขากล่าวว่าหวังว่าพระเจ้าของพวกท่านจะทรงทำลายศัตรูของพวกท่านและจะทรงให้พวกท่านสืบช่วงแทนในแผ่นดิน แล้วพระองค์จะทรงดูว่าพวกท่านจะทำอย่างไร?” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 128-129)
เหล่านี้คือบทเรียนแก่เราว่า ความลังเลนั้นย่อมไม่นำไปสู่สัจธรรมและสวรรค์วิมาน
เรื่องราวของชาวสับบะโต(ชาวยิว)
อายะฮฺอัลกุรอานได้นำเสนอความเจ้าเล่ห์ของพวกเขาที่มีต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เนื่องจากพวกเขาไม่มีจุดยืนที่ชัดเจนในการน้อมรับในทุกสิ่งเพื่ออัลลอฮฺ รวมถึงไม่ยอมปฏิบัติในสิ่งที่พวกเขาได้เชื่อมั่นเพื่อให้พวกเขาเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ประสบความสำเร็จ แต่ในทางกลับกัน พวกเขาเชื่ออย่างหนึ่งและปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง
﴿ وَسَۡٔلۡهُمۡ عَنِ ٱلۡقَرۡيَةِ ٱلَّتِي كَانَتۡ حَاضِرَةَ ٱلۡبَحۡرِ إِذۡ يَعۡدُونَ فِي ٱلسَّبۡتِ إِذۡ تَأۡتِيهِمۡ حِيتَانُهُمۡ يَوۡمَ سَبۡتِهِمۡ شُرَّعٗا وَيَوۡمَ لَا يَسۡبِتُونَ لَا تَأۡتِيهِمۡۚ كَذَٰلِكَ نَبۡلُوهُم بِمَا كَانُواْ يَفۡسُقُونَ ١٦٣ ﴾ [الأعراف: ١٦٣]
ความว่า “และเจ้าจงถามพวกเขาถึงเมืองที่เคยอยู่ใกล้ทะเล ขณะที่พวกเขาละเมิดในวันสับบะโต ทั้งนี้ขณะที่บรรดาปลาของพวกเขามายังพวกเขาในวันสับบะโตของพวกเขาในสภาพลอยตัวให้เห็นบนผิวน้ำ และวันที่พวกเขาไม่ถือว่าเป็นวันสับบะโตนั้น ปลาเหล่านั้นหาได้มายังพวกเขาไม่ ในทำนองนั้นแหละเราจะทดสอบพวกเขา เนื่องด้วยการที่พวกเขาละเมิด ” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 163)
กลุ่มต่างๆ ของบนีอิสรออีล
สูเราะฮฺได้นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มต่างๆ ของบนีอิสรออีลซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน นั่นคือ กลุ่มที่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ, กลุ่มที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและห้ามปรามในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืน, และกลุ่มที่ไม่แยแสต่อความชั่วร้ายที่มีอยู่ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ยังคงมีอยู่ในทุกๆ สังคม
กลุ่มที่ไม่สนใจในความชั่วร้าย ได้กล่าวว่า
﴿ وَإِذۡ قَالَتۡ أُمَّةٞ مِّنۡهُمۡ لِمَ تَعِظُونَ قَوۡمًا ٱللَّهُ مُهۡلِكُهُمۡ أَوۡ مُعَذِّبُهُمۡ عَذَابٗا شَدِيدٗاۖ ١٦٤ ﴾ [الأعراف: ١٦٤]
ความว่า “และจงรำลึกขณะที่กลุ่มหนึ่งในพวกเขากล่าวว่า เพราะเหตุใดเล่าพวกท่านจึงตักเตือนกลุ่มชนที่อัลลอฮฺจะทรงเป็นผู้ทำลายพวกเขาหรือเป็นผู้ลงโทษพวกเขาอย่างรุนแรง?” (สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : 164)
กลุ่มที่ศรัทธา ได้ตอบว่า
﴿ قَالُواْ مَعۡذِرَةً إِلَىٰ رَبِّكُمۡ وَلَعَلَّهُمۡ يَتَّقُونَ ١٦٤ ﴾ [الأعراف: ١٦٤]
ความว่า “พวกเขากล่าวว่า (การที่เราตักเตือนนั้น) เพื่อเป็นข้ออ้างต่อพระเจ้าของพวกเจ้า และเพื่อว่าพวกเขาจะได้ยำเกรง ” (สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : 164)
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวแก่เราถึงแนวทางที่กลุ่มผู้ศรัทธาประสบกับความสำเร็จและบทลงโทษของกลุ่มที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ ดังที่มีระบุในเรื่องราวของชาวอัล-อะอฺรอฟ
﴿ فَلَمَّا نَسُواْ مَا ذُكِّرُواْ بِهِۦٓ أَنجَيۡنَا ٱلَّذِينَ يَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلسُّوٓءِ وَأَخَذۡنَا ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ بِعَذَابِۢ بَِٔيسِۢ بِمَا كَانُواْ يَفۡسُقُونَ ١٦٥ ﴾ [الأعراف: ١٦٥]
ความว่า “ครั้นเมื่อพวกเขาลืมสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนในสิ่งนั้น เราก็ช่วยเหลือบรรดาผู้ที่ห้ามปรามการทำชั่วให้รอดพ้น และได้จัดการแก่บรรดาผู้ที่อธรรมเหล่านั้น ด้วยการลงโทษอันรุนแรงเนื่องด้วยการที่พวกเขาละเมิด ” (สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : 165)
การที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ไม่ได้กล่าวถึงผลตอบแทนของกลุ่มที่ไม่แยแสต่อความชั่วร้ายในอายะฮฺนี้ นักวิชาการบางท่านได้กล่าวว่า “แท้จริงพวกเขารวมอยู่ในกลุ่มชนที่หลงผิดและอธรรมอยู่แล้ว เหตุเพราะพวกเขาไม่ห้ามปรามในความชั่วร้าย” และนักวิชาการบางท่านได้กล่าวว่า “เพราะพวกเขานิ่งเงียบต่อสัจธรรม อัลลอฮฺ ตะอาลา จึงจะทรงตัดสินชี้ขาดพวกเขาในวันกิยามะฮฺ ด้วยเหตุนี้ในสูเราะฮฺจึงไม่มีกล่าวถึงพวกเขา” วัลลอฮุอะลัม
ในการนี้เอง หลังจากที่สูเราะฮฺได้นำเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่ทำให้เราได้รับรู้ว่าเราต้องหลีกห่างจากการไม่สนใจต่อความชั่วร้ายที่มีอยู่ และจำเป็นสำหรับเราที่ต้องประกาศจุดยืนให้ชัดเจนตั้งแต่บัดนี้ เพราะเราทั้งหลายต่างก็ปรารถนาในสวนสวรรค์ด้วยกับพระประสงค์ของอัลลอฮฺ และเราต่างก็ไม่ต้องการเป็นผู้ที่เลื่อนลอยไม่รู้ว่าจะอยู่ในกลุ่มไหน และจำเป็นสำหรับเราที่ต้องไม่ขัดขวางจากการช่วยเหลือสัจธรรม จะต้องไม่รู้สึกอาย และต้องปราศจากการไม่แยแสหรือไม่สนใจหรืออ่อนแอต่อสิ่งดังกล่าว
บางทีความเผอเรอหรือหลงลืมอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความลังเลและทำให้ไม่เอาใจใส่ต่อความชั่วร้ายที่มีอยู่ก็ได้ ดังนั้น สมควรอย่างยิ่งที่เราต้องพยายามไม่ให้เป็นหนึ่งในผู้ที่เผอเรอและหลงลืม เพราะความเผอเรอนั้นบางทีมีความเลวร้ายยิ่งกว่าการฝ่าฝืนเสียอีก เพราะการฝ่าฝืนอาจมีการเตาบัตตัว เหมือนที่นักมายากลของฟิรเอาน์ได้เตาบัตตัว แต่คนที่หลงลืมเขาก็จะยังคงความหลงลืมนั้นตลอดไป จนกระทั่งถึงเวลาที่ความเสียใจหรือการกลับตัวนั้นไม่เอื้อประโยชน์ต่อเขาใดๆ อีก (นั่นคือหลังจากที่เขาเสียชีวิต)
﴿ وَلَقَدۡ ذَرَأۡنَا لِجَهَنَّمَ كَثِيرٗا مِّنَ ٱلۡجِنِّ وَٱلۡإِنسِۖ لَهُمۡ قُلُوبٞ لَّا يَفۡقَهُونَ بِهَا وَلَهُمۡ أَعۡيُنٞ لَّا يُبۡصِرُونَ بِهَا وَلَهُمۡ ءَاذَانٞ لَّا يَسۡمَعُونَ بِهَآۚ أُوْلَٰٓئِكَ كَٱلۡأَنۡعَٰمِ بَلۡ هُمۡ أَضَلُّۚ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡغَٰفِلُونَ ١٧٩ ﴾ [الأعراف: ١٧٩]
ความว่า “และแน่นอนเราได้บังเกิดสำหรับนรกญะฮันนัม ซึ่งจำนวนมากมายจากญินและมนุษย์(ที่จะต้องถูกลงโทษในนรกนั้น) โดยที่พวกเขามีหัวใจซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันทำความเข้าใจ และพวกเขามีตาซึ่งพวกเขาไม่ใช่มันมอง และพวกเขามีหูซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันฟังชน พวกเขาเหล่านี้แหละเปรียบประหนึ่งปศุสัตว์ ใช่แต่เท่านั้น พวกเขาเป็นผู้หลงผิดยิ่งกว่าสัตว์เสียอีก ชนเหล่านี้แหละคือพวกที่หลงลืม” (สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : 179)
ซึ่งการมาของอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺ ก็เพื่อเป็นการเน้นย้ำต่อบ่าวจากความหลงลืมและชี้ชัดถึงสิ่งนี้
﴿ وَٱذۡكُر رَّبَّكَ فِي نَفۡسِكَ تَضَرُّعٗا وَخِيفَةٗ وَدُونَ ٱلۡجَهۡرِ مِنَ ٱلۡقَوۡلِ بِٱلۡغُدُوِّ وَٱلۡأٓصَالِ وَلَا تَكُن مِّنَ ٱلۡغَٰفِلِينَ ٢٠٥ ﴾ [الأعراف: ٢٠٥]
ความว่า “และเจ้า (มุหัมมัด) จงรำลึกถึงพระเจ้าของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อมและยำเกรงและโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็น และจงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่หลงลืม” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 205)
ส่วนอายะฮฺสัจญ์ดะฮฺที่มีอยู่ในอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺ ประหนึ่งเป็นการมาเพื่อเป็นการเติมเต็มให้กับจิตวิญญาณ ด้วยการตระเตรียมเพื่อประกาศจุดยืนที่ชัดเจน เพราะบางทีการสุญูดนั้นอาจทำให้ผู้ที่หลงลืมนั้นได้หลุดพ้นจากความหลงลืมที่มีอยู่ในตัวเขา และสามารถประกาศจุดยืนที่ชัดเจนของเขา ซึ่งหากเขารู้ว่าผู้ที่อยู่ต่อหน้าการสุญูดของเขานั้นเป็นใคร เขาก็จะกลับไปหาสัจธรรมอีกครั้ง
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ عِندَ رَبِّكَ لَا يَسۡتَكۡبِرُونَ عَنۡ عِبَادَتِهِۦ وَيُسَبِّحُونَهُۥ وَلَهُۥ يَسۡجُدُونَۤ۩ ٢٠٦ ﴾ [الأعراف: ٢٠٦]
ความว่า “แท้จริงบรรดา ผู้ที่อยู่ ณ ที่พระเจ้าของเจ้านั้น พวกเขาจะไม่หยิ่งต่อการเคารพสักการะพระองค์ และกล่าวให้ความบริสุทธิ์แก่พระองค์ และแด่พระองค์เท่านั้นที่พวกเขาสุญูดให้” (สูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ : 206)
สูเราะฮฺนี้ได้ปิดท้ายด้วยการปักหลักการให้เอกภาพแด่อัลลอฮให้มั่นคง ดังที่สูเราะฮฺได้เริ่มต้น ในการนี้เอง การเรียกร้องไปสู่การศรัทธาต่อความเป็นเอกภาพของอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นจึงมีอยู่ทั้งในการเริ่มต้นและปิดท้ายของสูเราะฮฺ
และสูเราะฮฺนี้มีข้อเกี่ยวพันกับสูเราะฮฺ อัล-อันอาม เนื่องจากการหลีกห่างจากการเป็นคนในแง่ลบที่ไม่สนใจต่อความชั่วร้ายที่มีอยู่และการประกาศจุดยืนที่ชัดเจนนั้น คือส่วนหนึ่งของการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ตะอาลา (ซึ่งปรากฏในสูเราะฮฺ อัล-อันอาม)ทั้งในภาคการศรัทธาเชื่อมั่นและในภาคการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
والله أعلم بالصواب ، وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم، والحمد لله رب العالمين.