×
กล่าวถึงข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นกับผู้ถือศีลอด อาทิ การละเลยเวลาละหมาด การละทิ้งละหมาดญะมาอะฮฺ การอดนอนเพื่อดูสิ่งที่ไร้สาระ การสูบบุหรี่ การนอนกลางวันมากเกินไป การไม่ระวังคำพูดที่ไม่ดี ฯลฯ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

    สิ่งต่างๆ ที่ผู้ถือศีลอดบางคนมักจะละเมิด

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อุษมาน อิดรีส

    ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

    2012 - 1433

    ﴿مخالفات يقع فيها بعض الصائمين﴾

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبدالله الشقاوي

    ترجمة: عثمان إدريس

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2012 - 1433

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เรื่องที่ 16

    สิ่งต่างๆ ที่ผู้ถือศีลอดบางคนมักจะละเมิด

    มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความศานติสถาพรขอจงประสบแด่ศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยปราศจากภาคีใดๆ และฉันขอปฏิญาณตนว่ามุฮัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    วันนี้ประชาชาติมุสลิมกำลังใช้ชีวิตอยู่กับฤดูกาลหนึ่งที่ยิ่งใหญ่จากบรรดาฤดูกาลแห่งความดีทั้งหลาย

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ ١٨٣ ﴾ [البقرة: ١٨٣]

    ความว่าโอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พวกเจ้าถูกกำหนดให้ถือศีลอด (ในเดือนเราะมะฎอน) เช่นเดียวกับที่การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2:183)

    แต่เนื่องจากผู้ถือศีลอดบางท่านมักจะล่วงละเมิด (ขอบเขตของการถือศีลอด) ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอปลุกจิตสำนึก เพื่อเป็นการปฏิบัติต่อสิทธิของอัลลอฮฺ และทำหน้าที่ในการตักเตือนดังนี้

    อบู ฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «رُبَّ صَائِمٍ لَيْسَ لَهُ مِنْ صِيَامِهِ إِلَّا الْجُوعُ، وَرُبَّ قَائِمٍ لَيْسَ لَهُ مِنْ قِيَامِهِ إِلَّا السَّهَرُ» [ابن ماجه برقم 1690]

    ความว่าบางครั้งผู้ถือศีลอดจะไม่ได้อะไรจากการถือศีลอดของเขานอกจากความหิว และบางครั้งผู้ลุกขึ้นละหมาดในยามค่ำคืนจะไม่ได้อะไรจากการละหมาดของเขานอกจากการอดนอน(บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ เล่ม 1หน้า 539 หมายเลข 1690)

    ในหะดีษข้างต้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แจงว่าชนกลุ่มหนึ่งทำการถือศีลอดแต่พวกเขากลับไม่ได้รับการบันทึก ณ อัลลอฮฺว่าจะได้รับผลบุญของผู้ถือศีลอด แต่ทว่าสิ่งที่พวกเขาจะได้รับจากการถือศีลอดดังกล่าวเป็นเพียงความหิวและกระหาย เนื่องจากว่าอวัยวะต่างๆ ของพวกเขาไม่ได้หักห้ามจากการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ สายตาของพวกเขาจะจ้องมองในสิ่งที่อัลลอฮฺห้าม หูของพวกเขาจะสดับฟังในสิ่งที่อัลลอฮฺห้าม ลิ้นของเขาจะพูดจาในสิ่งที่ทำให้อัลลอฮฺโกรธกริ้ว

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿إِنَّ ٱلسَّمۡعَ وَٱلۡبَصَرَ وَٱلۡفُؤَادَ كُلُّ أُوْلَٰٓئِكَ كَانَ عَنۡهُ مَسۡ‍ُٔولٗا ٣٦ ﴾ [الإسراء: ٣٦]

    ความว่า “แท้จริงหู ตา และหัวใจ ทั้งหมดล้วนต้องถูกสอบสวน (ในวันกิยามะฮฺ) (อัล-อิสรออ์ 36)

    อีกกลุ่มหนึ่งทำการละหมาดยามค่ำคืนแต่พวกเขากลับไม่ได้รับผลบุญของผู้ละหมาดยามค่ำคืน อาจจะเป็นเพราะขาดความอิคลาศ (บริสุทธิ์ใจ) ในการทำอิบาดะฮฺ หรืออาจไม่สอดคล้องกับแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรืออื่นๆ

    ด้วยเหตุนี้ ผู้ถือศีลอดจึงควรระวังตัวจากการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืน เพราะการถือศีลอดมิใช่เป็นเพียวการงดจากการกินดื่มเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมการยับยั้งอวัยวะทุกส่วนจากสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม

    ส่วนหนึ่งของการละเมิดที่มักเกิดขึ้นกับผู้ถือศีลอดคือ

    1. ละหมาดหลังจากเลยเวลาแล้ว ผู้ถือศีลอดบางคนจะนอนหลับหลังจากทานอาหารสะหูรฺ และตื่นจากนอนหลังจากที่ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ทำให้เขาต้องพลาดจากละหมาดศุบหฺ และบางคนจะนอนก่อนเวลาอัศริ และตื่นจากนอนหลังจากที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้ว ทำให้เขาต้องพลาดละหมาดอัศริ

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ فَإِذَا قَضَيۡتُمُ ٱلصَّلَوٰةَ فَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ قِيَٰمٗا وَقُعُودٗا وَعَلَىٰ جُنُوبِكُمۡۚ فَإِذَا ٱطۡمَأۡنَنتُمۡ فَأَقِيمُواْ ٱلصَّلَوٰةَۚ إِنَّ ٱلصَّلَوٰةَ كَانَتۡ عَلَى ٱلۡمُؤۡمِنِينَ كِتَٰبٗا مَّوۡقُوتٗا ١٠٣﴾ [النساء: ١٠٣]

    ความหมายเมื่อพวกเจ้าละหมาด (ในสภาพที่กลัว) เสร็จแล้ว ก็จงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ในทุกสภาพการณ์) ทั้งในสภาพยืน นั่ง และนอนตะแคง ครั้นเมื่อพวกเจ้าปลอดภัย (จากศัตรูและหายจากความกลัว) ก็จงดำรงละหมาด (อย่างเต็มรูปแบบ) แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย” (อัน-นิสาอ์ 103)

    ท่าน บุร็อยดะฮฺ เล่าว่า ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

    «مَنْ تَرَكَ صَلاَةَ العَصْرِ حَبِطَ عَمَلُهُ» [البخاري برقم 553]

    ความหมาย ผู้ใดละทิ้งละหมาดอัศริโดยเจตนา (จนกระทั่งเลยเวลา) เขาก็จะไม่ได้รับผลบุญจากการงาน (การละหมาด) ของเขา(เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ เล่ม 1 หน้า 195 หมายเลข 553)

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ فَوَيۡلٞ لِّلۡمُصَلِّينَ ٤ ٱلَّذِينَ هُمۡ عَن صَلَاتِهِمۡ سَاهُونَ ٥ ﴾ [الماعون: ٤-٥]

    ความหมาย ดังนั้น ความหายนะจงประสบแด่บรรดาผู้ละหมาดที่หลงลืมและละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา” (อัล-มาอูน 4-5)

    มีรายงานจากมุศอับ บิน สะอัด ท่านกล่าวว่าฉันได้ถามบิดาของฉันว่า: โอ้ท่านบิดา ท่านสังเกตคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า ﴿ٱلَّذِينَ هُمۡ عَن صَلَاتِهِمۡ سَاهُونَ ٥ พวกเราคนใดบ้างที่ไม่หลงลืม และไม่พูดในใจ (ขณะละหมาด)” ท่านตอบว่า ไม่ใช่เช่นนั้น แต่ความหมายของมันคือ การใช้เวลาโดยเปล่าประโยชน์จนกระทั่งเวลาละหมาดหมดไป(มุสนัด อบู ยะอฺลา เล่ม 1 หน้า 336 หมายเลข 700 อัล-มุนซิรีย์ได้กล่าวในหนังสืออัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ เล่ม 1 หน้า 441 ว่า สายรายงานนี้หะสัน)

    อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มีสภาพเช่นเดียวกับบรรดาผู้ที่ละทิ้งละหมาดข้างต้นว่า

    ﴿ ۞فَخَلَفَ مِنۢ بَعۡدِهِمۡ خَلۡفٌ أَضَاعُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَٱتَّبَعُواْ ٱلشَّهَوَٰتِۖ فَسَوۡفَ يَلۡقَوۡنَ غَيًّا ٥٩ ﴾ [مريم: ٥٩]

    ความหมายภายหลังจากกลุ่มชนก่อนหน้าได้จากไป ก็ได้บังเกิดกลุ่มชนที่ละทิ้งละหมาด และปฏิบัติตามอารมณ์ตัณหาสืบต่อ แล้วพวกเขาก็จะประสบกับความหายนะ” (มัรยัม 59)

    2. ขาดละหมาดญะมาอะฮฺ ผู้ถือศีลอดบางคนปฏิบัติละหมาดในเวลา แต่ขาดละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิด

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ وَإِذَا كُنتَ فِيهِمۡ فَأَقَمۡتَ لَهُمُ ٱلصَّلَوٰةَ فَلۡتَقُمۡ طَآئِفَةٞ مِّنۡهُم مَّعَكَ وَلۡيَأۡخُذُوٓاْ أَسۡلِحَتَهُمۡۖ فَإِذَا سَجَدُواْ فَلۡيَكُونُواْ مِن وَرَآئِكُمۡ وَلۡتَأۡتِ طَآئِفَةٌ أُخۡرَىٰ لَمۡ يُصَلُّواْ فَلۡيُصَلُّواْ مَعَكَ وَلۡيَأۡخُذُواْ حِذۡرَهُمۡ وَأَسۡلِحَتَهُمۡۗ وَدَّ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ لَوۡ تَغۡفُلُونَ عَنۡ أَسۡلِحَتِكُمۡ وَأَمۡتِعَتِكُمۡ فَيَمِيلُونَ عَلَيۡكُم مَّيۡلَةٗ وَٰحِدَةٗۚ وَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ إِن كَانَ بِكُمۡ أَذٗى مِّن مَّطَرٍ أَوۡ كُنتُم مَّرۡضَىٰٓ أَن تَضَعُوٓاْ أَسۡلِحَتَكُمۡۖ وَخُذُواْ حِذۡرَكُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ أَعَدَّ لِلۡكَٰفِرِينَ عَذَابٗا مُّهِينٗا ١٠٢ ﴾ [النساء: ١٠٢]

    ความหมายและเมื่อพวกเจ้าอยู่ในหมู่พวกเขา(ท่ามกลางกองทัพในสมรภูมิ) แล้วเจ้าได้ให้มีการปฏิบัติละหมาดขึ้นแก่พวกเขา ดังนั้น กลุ่มหนึ่งจากพวกเขาก็จงยืนละหมาดร่วมกับเจ้า และก็จงเอาอาวุธของพวกเขาถือไว้ด้วย ครั้นเมื่อพวกเขาสุญูดแล้ว พวกเขาก็จงอยู่เบื้องหลังของพวกเจ้าและอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังมิได้ละหมาดก็จงมา และจงละหมาดร่วมกับเจ้า และจงยึดถือไว้ซึ่งการระมัดระวังของพวกเขา และอาวุธของพวกเขา บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้น หากว่าพวกเจ้าละเลยอาวุธของพวกเจ้า และสัมภาระของพวกเจ้าแล้ว พวกเขาก็จะจู่โจมพวกเจ้าอย่างรวดเดียว และไม่มีบาปใดๆ แก่พวกเจ้า หากว่าที่พวกเจ้ามีความเดือดร้อน เนื่องจากฝนตกหรือพวกเจ้าป่วย ในการที่พวกเจ้าจะวางอาวุธของพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงเตรียมไว้แล้ว ซึ่งการลงโทษที่ยังความอัปยศแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย (อัน-นิสาอ์ 102)

    ในอายะฮฺข้างต้นบ่งบอกถึงการละหมาดยามหวาดกลัว (เคาฟฺ) ขณะทำสงคราม ยังถือว่าจำเป็น (วาญิบ) ต้องปฏิบัติเป็นญะมาอะฮฺ ดังนั้นการละหมาดเป็นญะมาอะฮฺในยามที่สงบและไม่มีสงครามจึงยิ่งจำเป็น (วาญิบ) ต้องปฏิบัติ

    อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

    «إِنَّ أَثْقَلَ صَلَاةٍ عَلَى الْمُنَافِقِينَ صَلَاةُ الْعِشَاءِ، وَصَلَاةُ الْفَجْرِ، وَلَوْ يَعْلَمُونَ مَا فِيهِمَا لَأَتَوْهُمَا وَلَوْ حَبْوًا، وَلَقَدْ هَمَمْتُ أَنْ آمُرَ بِالصَّلَاةِ، فَتُقَامَ، ثُمَّ آمُرَ رَجُلًا فَيُصَلِّيَ بِالنَّاسِ، ثُمَّ أَنْطَلِقَ مَعِي بِرِجَالٍ مَعَهُمْ حُزَمٌ مِنْ حَطَبٍ إِلَى قَوْمٍ لَا يَشْهَدُونَ الصَّلَاةَ، فَأُحَرِّقَ عَلَيْهِمْ بُيُوتَهُمْ بِالنَّارِ» [البخاري برقم 657، ومسلم برقم 252]

    ความหมายแท้จริงละหมาดที่ลำบากที่สุดสำหรับบรรดาผู้กลับกลอกคือละหมาดอิชาอ์และละหมาดฟัจญ์รฺ(ศุบหฺ) หากพวกเขาทราบถึงความประเสริฐและความดีงามในการละหมาด (ญะมาอะฮฺของ) ทั้งสองเวลา แน่นอนว่าพวกเขาต้องไปละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดถึงแม้ว่าต้องคลานไปก็ตาม และแท้จริง ฉันตั้งใจที่จะสั่งให้ดำเนินการละหมาด แล้วสั่งให้คนใดคนหนึ่งเป็นอิหม่ามนำละหมาด หลังจากนั้นฉันจะพาชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งที่พร้อมด้วยไม้ฟืนไปยังบ้านของกลุ่มชนที่ไม่ไปละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดแล้วฉันจะเผาบ้านของพวกเขาด้วยไฟ(อัล-บุคอรีย์ เล่ม 1 หน้า 218 หมายเลข 657, มุสลิม เล่ม 1 หน้า 451 หมายเลข 252)

    3. อดนอนกลางคืนหรือตลอดทั้งคืน ด้วยการจดจ้องอยู่หน้าจอทีวีหรืออินเตอร์เน็ตที่เผยแพร่สิ่งไม่ดีต่างๆ ซึ่งจะนำเสนอรายการต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเคลือบแคลงแก่ชาวมุสลิมเกี่ยวกับศาสนาของพวกเขา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่าเกรงขามของผู้ปฏิเสธศรัทธา และเพื่อให้เกิดความชื่นชมในอารยธรรมของพวกเขา เช่นการแสดงต่างๆ ที่งมงาย การร้องรำที่บ้าคลั่ง และรูปภาพที่เปลือยและไม่เหมาะสม

    4. การปฏิบัติขณะละศีลอดของผู้ถือศีลอดที่ติดบุหรี่บางคน โดยแทนที่พวกเขาจะละศีลอดกับอาหารหรือเครื่องที่หะลาลและมีประโยชน์ พวกเขากลับละศีลอดด้วยการสูบบุหรี่ ขณะที่อัลลอฮฺได้ส่งศาสนทูตของพระองค์เพื่อห้ามปรามสิ่งนั้น

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ ٱلَّذِينَ يَتَّبِعُونَ ٱلرَّسُولَ ٱلنَّبِيَّ ٱلۡأُمِّيَّ ٱلَّذِي يَجِدُونَهُۥ مَكۡتُوبًا عِندَهُمۡ فِي ٱلتَّوۡرَىٰةِ وَٱلۡإِنجِيلِ يَأۡمُرُهُم بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَيَنۡهَىٰهُمۡ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ وَيُحِلُّ لَهُمُ ٱلطَّيِّبَٰتِ وَيُحَرِّمُ عَلَيۡهِمُ ٱلۡخَبَٰٓئِثَ وَيَضَعُ عَنۡهُمۡ إِصۡرَهُمۡ وَٱلۡأَغۡلَٰلَ ٱلَّتِي كَانَتۡ عَلَيۡهِمۡۚ فَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ بِهِۦ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَٱتَّبَعُواْ ٱلنُّورَ ٱلَّذِيٓ أُنزِلَ مَعَهُۥٓ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ١٥٧ ﴾ [الأعراف: ١٥٧]

    ความหมายบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามเราะสูลผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็น ที่พวกเขาพบเขาถูกจารึกไว้ในคัมภีร์ของพวกเขา ทั้งในอัต-เตารอต และในอัล-อินญีล ซึ่ง (ลักษณะเด่นของนบีท่านนั้นคือ) เขาจะสั่งสอนพวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามปรามพวกเขามิให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบ และจะอนุมัติให้พวกเขาทานสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ และจะห้ามพวกเขาไม่ให้ทานสิ่งที่เลวทรามและเป็นอันตราย และจะปลดเปลื้องภาระอันหนักอึ้งและบ่วงที่ติดอยู่กับคอออกจากพวกเขา ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และเทอดทูนเขา ช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่าง (คำสอน) ที่ถูกประทานลงมาแก่เขา ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่ได้รับความสำเร็จ(อัล-อะอฺรอฟ 157)

    5. การพูดจาที่หยาบคายการฝ่าฝืนอื่นๆ

    อบู ฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

    «مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّورِ وَالعَمَلَ بِهِ، فَلَيْسَ لِلَّهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ» [البخاري برقم 1903]

    ความหมายผู้ใดไม่เลิกคำพูดที่มดเท็จและปฏิบัติอยู่กับสิ่งนั้น จึงไม่มีความจำเป็นสำหรับอัลลอฮฺต่อการอดอาหารและเครื่องของเขา(อัล-บุคอรีย์ เล่ม 2 หน้า 31 หมายเลข 1903)

    อบู ฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

    «إِذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِ أَحَدِكُمْ فَلاَ يَرْفُثْ وَلاَ يَصْخَبْ، فَإِنْ سَابَّهُ أَحَدٌ أَوْ قَاتَلَهُ، فَلْيَقُلْ إِنِّي امْرُؤٌ صَائِمٌ» [البخاري برقم 1904، ومسلم برقم 1151]

    ความหมาย เมื่อถึงวันถือศีลอดของพวกเจ้าแต่ละคน ก็จงอย่าพูดจาเกี้ยวพาราสี และอย่าพูดจาที่หยาบคาย และหากมีผู้ใดด่าว่าเขา หรือจะต่อสู้กับเขา ก็จงกล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นคนที่กำลังถือศีลอด” (อัล-บุคอรีย์ เล่ม 2 หน้า 31 หมายเลข 1904 มุสลิม เล่ม 2 หน้า 806 หมายเลข 1151)

    6. การนอนกลางวันเป็นเวลานาน ส่วนหะดีษที่ระบุว่าการนอนของผู้ถือศีลอดเป็นอิบาดะฮฺนั้น เป็นหะดีษที่อ่อนและไม่มีรายงานที่ถูกต้องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

    ดังนั้น จึงไม่เป็นที่บังควรสำหรับมุสลิมที่จะปล่อยให้เวลาแห่งการถือศีลอดหมดไปโดยเปล่าประโยชน์ด้วยการนอนเป็นเวลานาน เพราะมุสลิมทุกคนจะถูกสอบสวนเกี่ยวกับการใช้เวลาของเขาในวันกิยามะฮฺ

    อบู บัรซะฮฺ อัล-อัสละมีย์ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

    «لَا تَزُولُ قَدَمَا عَبْدٍ يَوْمَ القِيَامَةِ حَتَّى يُسْأَلَ عَنْ عُمُرِهِ فِيمَا أَفْنَاهُ، وَعَنْ عِلْمِهِ فِيمَ فَعَلَ، وَعَنْ مَالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ وَفِيمَ أَنْفَقَهُ، وَعَنْ جِسْمِهِ فِيمَ أَبْلَاهُ» [الترمذي برقم 2417، وقال : حديث حسن صحيح]

    ความหมายในวันกิยามะฮฺสองเท้าของบ่าวแต่ละคนจะไม่ขยับไปไหนจนกว่าเขาจะถูกถามเกี่ยวกับอายุว่าได้หมดไปกับสิ่งใด เกี่ยวกับความรู้ว่านำไปใช้ทำอะไร เกี่ยวกับทรัพย์สินว่าได้มาจากไหน และได้ใช้จ่ายไปในทางใด และเกี่ยวกับร่างกายของเขาว่าได้ทรุดโทรมไปกับสิ่งใด(สุนัน อัต-ติรมิซีย์ เล่ม 4 หน้า 612 หมายเลข 2417 และท่านกล่าวว่า หะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ)

    กวีอาหรับกล่าวว่า

    وَالْوَقْتُ أَنْفَسُ مَا عُنِيْتَ بِحِفْظِهِ وَأَرَاهُ أَسْهَلَ مَا عَلَيْكَ يَضِيْعُ

    เวลาเป็นสิ่งมีค่าที่สุดที่จำเป็นต้องดูแลรักษา

    แต่เวลากลับถูกทำลายได้อย่างง่ายดายที่สุด

    และมวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ความศานติสถาพรขอจงประสบแด่ท่านนบีมุฮัมมัด ตลอดวงศ์วานของท่าน และบรรดามิตรสหายทุกคน

    والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وأصحابه أجمعين.