ใคร่ครวญเนื้อหาจากหะดีษบทหนึ่ง
หมวดหมู่
Full Description
ใคร่ครวญเนื้อหาจากหะดีษบทหนึ่ง
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย :อิสมาน จารง
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
2012 - 1433
﴿ وقفة مع حديث شريف ﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبد الله الشقاوي
ترجمة: عثمان جارونج
مراجعة: صافي عثمان
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่อง ที่ 65
ใคร่ครวญเนื้อหาจากหะดีษบทหนึ่ง
มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการประทานพรและความสันติมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
รายงานจากท่านสะฮ์ลฺ บิน สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านญิบรีลได้มาหา ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และได้กล่าวว่า
«يَا مُحَمَّدُ، عِشْ مَا شِئْتَ فَإِنَّكَ مَيِّتٌ، وَأَحْبِبْ مَنْ شِئْتَ فَإِنَّكَ مُفَارِقُهُ، وَاعْمَلْ مَا شِئْتَ فَإِنَّكَ مَجْزِيٌّ بِهِ، ثُمَّ قال: يَا مُحَمَّدُ شَرَفُ الْمُؤْمِنِ قِيَامُ اللَّيْلِ، وَعِزُّهُ استِغْنِاؤُهُ عَنِ النَّاسِ» [مستدرك الحاكم 4/360-361، وقال المنذري في كتابه الترغيب والترهيب 1/485، رواه الطبراني في الأوسط وإسناده حسن، وصححه الألباني في صحيح الجامع الصغير 1/76 برقم 73]
ความว่า “โอ้มุหัมมัด เจ้าจงมีชีวิตอยู่ตามที่เจ้าประสงค์ เพราะแท้จริงแล้วสักวันเจ้าก็ต้องตาย เจ้าจงรักคนที่เจ้ารักเพราะแท้จริงสักวันเจ้าจะต้องจากเขาไป และเจ้าจงทำการงานที่เจ้าประสงค์ แท้จริงแล้วเจ้าจะถูกตอบแทนในการงานนั้น แล้วท่านญิบรีลก็ได้กล่าวต่อไปว่า โอ้มุหัมมัด เกียรติยศของผู้ศรัทธานั้น อยู่ที่การยืนละหมาดในเวลากลางคืน และศักดิ์ศรีของเขาก็คือการที่เขามีความเพียงพอ ไม่หวังในทรัพย์ของผู้อื่น(ไม่ขอจากผู้อื่น)” (ดู อัล-มุสตัดร็อก ของ อัล-หากิม 4/360-361 ท่านมุนซิรีย์ได้กล่าวในหนังสือ อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ ของท่านว่ารายงานโดย อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ในอัล-เอาสัฏ โดยสายรายงานที่ดี และท่านเชคอัล-อัลบานีย์ได้กล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺในหนังสือเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ 1/76 หมายเลข 73)
หะดีษบทนี้มีเนื้อหาที่มีข้อคิดข้อเตือนใจที่สำคัญและเป็นประโยชน์ยิ่งจากท่านมะลาอิกะฮฺญิบรีล อะลัยฮิสสะลาม ที่เราควรจะนำมาคิดและพิจารณา
คำพูดของท่านที่ว่า “เจ้าจงมีชีวิตอยู่ตามที่เจ้าประสงค์” หมายความว่า ถึงแม้อายุของเจ้าจะยืดยาวแค่ไหนบนโลกนี้ ความตายก็คือจุดจบของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿كُلُّ نَفۡسٖ ذَآئِقَةُ ٱلۡمَوۡتِۗ وَإِنَّمَا تُوَفَّوۡنَ أُجُورَكُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِۖ فَمَن زُحۡزِحَ عَنِ ٱلنَّارِ وَأُدۡخِلَ ٱلۡجَنَّةَ فَقَدۡ فَازَۗ وَمَا ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَآ إِلَّا مَتَٰعُ ٱلۡغُرُورِ ١٨٥﴾ [آل عمران: ١٨٥]
ความว่า “แต่ละชีวิตนั้น จะได้ลิ้มรสแห่งความตาย และแท้จริง พวกเจ้าจะได้รับรางวัลของพวกเจ้าโดยครบถ้วนในวันปรโลก แล้วผู้ใดที่ถูกให้ห่างไกลจากไฟนรกและถูกให้เข้าสวรรค์แล้วไซร้ แน่นอน เขาก็ได้รับชัยชนะแล้ว และชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้น มิใช่อะไรอื่นนอกจากสิ่งอำนวยประโยชน์แห่งการหลอกลวงเท่านั้น” (อาล อิมรอน 185)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿إِنَّكَ مَيِّتٞ وَإِنَّهُم مَّيِّتُونَ ٣٠ ثُمَّ إِنَّكُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ عِندَ رَبِّكُمۡ تَخۡتَصِمُونَ ٣١ ﴾ [الزمر: ٣٠-٣١]
ความว่า “แท้จริง เจ้าจะต้องตาย และแท้จริงพวกเขาก็จะต้องตาย แล้วแท้จริง พวกเจ้าในวันกิยามะฮฺจะถกเถียงกันต่อหน้าพระเจ้าของพวกเจ้า” (อัซ-ซุมัรฺ 30-31)
นักกวีกล่าวในบทกลอนว่า
كلُّ ابنِ أُنْثى وإنْ طالَتْ سَلامَتُه يوماً على آلَةٍ حَدْباءَ مَحْمولُ
ความว่า ลูกของสตรี(มนุษย์)ทุกคน แม้จะมีความปลอดภัยยาวนานแค่ไหน วันหนึ่งเขาก็จะต้องถูกแบกบนที่แบกศพ(ตาย)
กวีท่านอื่นกล่าวว่า
المَوْتُ بَابٌ وَكُلُّ النَّاسِ دَاخِلُهُ فَلَيْتَ شِعْرِيْ بَعْدَ المَوْتِ مَا الدَّارُ
ความว่า ความตายนั้นเป็นประตูหนึ่งที่ทุกคนต้องผ่านเข้าไป โอ้ หากว่าฉันได้รู้ล่วงหน้า ว่าหลังความตายที่ไหนคือบ้านที่พำนักของฉัน
عن أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه، قَالَ: أُرْسِلَ مَلَكُ الْمَوْتِ إِلَى مُوسى عَلَيهِ السَّلاَمُ، فَلَمَّا جَاءَهُ صَكَّهُ، فَرَجَعَ إِلَى رَبِّهِ، فَقَالَ: أَرْسَلْتَنِي إِلَى عَبْدٍ لا يُرِيدُ الْمَوْتَ، فَرَدَّ اللهُ عَلَيْهِ عَيْنَهُ، وَقَالَ: ارْجِعْ فَقُلْ لَهُ يَضَعُ يَدَهُ عَلَى مَتْنِ ثَوْرٍ فَلَهُ بِكُلِّ مَا غَطَّتْ بِهِ يَدُهُ، بِكُلِّ شَعْرَةٍ سَنَةٌ، قَالَ: أَيْ رَبِّ ثُمَّ مَاذَا؟ قَالَ: ثُمَّ الْمَوْتُ، قَالَ: فَالآنَ. فَسَأَلَ اللهَ أَنْ يُدْنِيَهُ مِنَ الأَرْضِ الْمُقَدَّسَةِ رَمْيَةً بِحَجَرٍ، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم: «فَلَوْ كُنْتُ ثَمَّ لَأَرَيْتُكُمْ قَبْرَهُ إِلَى جَانِبِ الطَّرِيقِ، عِنْدَ الْكَثِيبِ الأَحْمَرِ» [البخاري برقم 1339]
ความว่า มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า มะลาอิกะฮฺผู้ปลิดวิญญานได้ถูกส่งมายังนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม เมื่อมะลาอิกะฮฺมาถึง มูซาก็ได้ทุบตีมะลาอิกะฮฺนั้น (จนนัยน์ตาถลนออกมาเพราะไม่รู้จัก) เขา(มะลาอิกะฮฺ)ก็กลับไปหาอัลลอฮฺและกล่าวว่า พระองค์ได้ส่งฉันไปยังคนที่ไม่ยอมตาย อัลลอฮฺทรงให้นัยน์ตาของมะลาอิกะฮฺกลับคืนเป็นปรกติ และกล่าวว่า จงกลับไปหาเขาแล้วกล่าวกับเขา(นบีมูซา)ว่าให้เขานั้นวางมือลงบนหลังวัวตัวผู้ แล้วสำหรับเขาแล้วส่วนที่มือของเขาปกปิดหลังวัวนั้นเส้นทุกเส้นบนหนังวัวส่วนนั้นจะต่ออายุให้หนึ่งปี มะลาอิกะฮฺกล่าวว่า โอ้ ผู้อภิบาล แล้วหลังจากนั้นล่ะ? อัลลอฮฺตรัสว่า จากนั้นก็คือความตายของเขา (พอถึงเวลาที่กำหนด)มูซากล่าวว่า ตอนนี้แล้วสินะ แล้วมูซาก็ได้ขอต่ออัลลอฮฺให้พระองค์ให้เขาเข้าใกล้แผ่นดินบริสุทธิ์ใกล้ในระยะขว้างด้วยหินถึง(ให้เขาตายใกล้บัยตุลมักดิสมากที่สุด) ท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “หากฉันอยู่ที่นั่น ฉันจะให้พวกท่านดูสุสานของเขา(นบีมูซา)ที่อยู่ริมถนน ตรงกองทรายแดง” (อัล-บุคอรีย์ 1339)
ส่วนหนึ่งของประโยชน์จากคำกล่าวที่ว่า “จงมีชีวิตอยู่ตามที่เจ้าประสงค์เพราะแท้จริงแล้วสักวันเจ้าก็ต้องตาย” นั่นคือ มุสลิมพึงรู้ว่าความตายนั้นอาจมาอย่างกะทันหันในขณะที่เขาอยู่ในภาวะที่ไม่นึกถึงมัน อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَأَنفِقُواْ مِن مَّا رَزَقۡنَٰكُم مِّن قَبۡلِ أَن يَأۡتِيَ أَحَدَكُمُ ٱلۡمَوۡتُ فَيَقُولَ رَبِّ لَوۡلَآ أَخَّرۡتَنِيٓ إِلَىٰٓ أَجَلٖ قَرِيبٖ فَأَصَّدَّقَ وَأَكُن مِّنَ ٱلصَّٰلِحِينَ ١٠ وَلَن يُؤَخِّرَ ٱللَّهُ نَفۡسًا إِذَا جَآءَ أَجَلُهَاۚ وَٱللَّهُ خَبِيرُۢ بِمَا تَعۡمَلُونَ ١١ ﴾ [المنافقون: ١٠-١١]
ความว่า “และจงบริจาคจากสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ก่อนที่ความตายจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใดในหมู่พวกเจ้า แล้วเขาก็จะกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ มาตรว่าพระองค์ท่านทรงผ่อนผันให้แก่ข้าพระองค์อีกชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เพื่อที่ข้าพระองค์จะได้บริจาคและข้าพระองค์ก็จะอยู่ในหมู่คนดีทั้งหลาย แต่อัลลอฮฺจะไม่ทรงผ่อนผันให้แก่ชีวิตใด เมื่อกำหนดของมันได้มาถึงแล้ว และอัลลอฮฺนั้นทรงรู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (อัล-มุนาฟิกูน 10-11)
ดังนั้น มุสลิมควรมีความพร้อมอยู่เสมอที่จะกลับไปพบกับอัลลอฮฺ ไม่หลงไปกับชีวิตดุนยา อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿مَن كَانَ يَرۡجُواْ لِقَآءَ ٱللَّهِ فَإِنَّ أَجَلَ ٱللَّهِ لَأٓتٖۚ وَهُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ ٥﴾ [العنكبوت: ٥]
ความว่า “ผู้ใดหวังที่จะพบอัลลอฮฺ ดังนั้น แท้จริงกำหนดของอัลลอฮฺย่อมมาถึงแน่นอน และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อัล-อันกะบูต 5)
และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿فَلَا تَغُرَّنَّكُمُ ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَا وَلَا يَغُرَّنَّكُم بِٱللَّهِ ٱلۡغَرُورُ ٥﴾ [فاطر: ٥]
ความว่า “โอ้มนุษย์เอ๋ย ! แท้จริงสัญญาของอัลลอฮฺนั้นเป็นจริงเสมอ ดังนั้น อย่าให้การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ล่อลวงพวกเจ้า และอย่าให้การหลอกล่อ (ชัยฏอน) มาล่อลวงพวกเจ้าเกี่ยวกับอัลลอฮฺเป็นอันขาด” (ฟาฏิรฺ 5)
ส่วนประโยคที่ว่า “เจ้าจงรักคนที่เจ้ารัก เพราะแท้จริงสักวันเจ้าต้องจากเขาไป” หมายความว่า ท่านจงรักใครก็ตามที่ท่านต้องการ จะเป็นภรรยา ลูกๆ ทรัพย์สินเงินทอง ตำแหน่ง เกียรติยศ หรือสิ่งอื่นๆ จากสรรพสิ่งบนโลกนี้ แท้จริงแล้วไม่ช้าไม่นานท่านก็จะต้องจากมันไป
รายงานจากท่านอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَتْبَعُ الْمَيِّتَ ثَلاَثَةٌ، فَيَرْجِعُ اثْنَانِ وَيَبْقَى وَاحِدٌ : يَتْبَعُهُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ وَعَمَلُهُ، فَيَرْجِعُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ، وَيَبْقَى عَمَلُهُ» [البخاري برقم 6514، ومسلم 4/2273]
ความว่า “สามสิ่งจะตามศพไปที่สุสาน คือ ครอบครัว ทรัพย์สินและการงาน(ความดีความชั่ว) สองสิ่งจะกลับมา และคงเหลืออยู่กับเขาสิ่งเดียว ครอบครัวและทรัพย์สินจะกลับมา คงเหลืออยู่กับเขา(ในสุสาน)คือการงานของเขา(ที่ดีและชั่วที่เขาเคยปฏิบัติมาในขณะที่เขามีชีวิต)” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 4/194 หมายเลข 6514 เศาะฮีหฺ มุสลิม 4/2273)
ส่วนหนึ่งจากประโยชน์ที่ได้จากประโยคของหะดีษส่วนนี้ คือการเตรียมพร้อมสำหรับการจากลากันไปของคนรัก เพื่อว่าเมื่อการจากลา(ตาย)เกิดขึ้นในขณะที่มุสลิมมีความพร้อมและเตรียมใจอยู่แล้ว จะทำให้มันลดความรุนแรงของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นลงได้
ประโยชน์ส่วนหนึ่งก็คือ ผู้ศรัทธาต้องให้ความสำคัญกับเพื่อนสนิทที่ไม่เคยแยกจากเขาเลยทั้งในโลกดุนยานี้และโลกอาคิเราะฮฺ นั่นก็คือ การงานที่ดีต่างๆ ของเขานั่นเอง
ประโยคจากส่วนของหะดีษที่ว่า “และเจ้าจงทำการงานที่เจ้าประสงค์ แท้จริงแล้วเจ้าจะถูกตอบแทนในการงานนั้น” อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿فَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٍ خَيۡرٗا يَرَهُۥ ٧ وَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٖ شَرّٗا يَرَهُۥ ٨﴾ [الزلزلة: ٧-٨]
ความว่า “ดังนั้น ผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าละอองธุลีเขาก็จะเห็นมัน” อัล-ซัลซะละฮฺ 7-8)
และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿لَّيۡسَ بِأَمَانِيِّكُمۡ وَلَآ أَمَانِيِّ أَهۡلِ ٱلۡكِتَٰبِۗ مَن يَعۡمَلۡ سُوٓءٗا يُجۡزَ بِهِۦ وَلَا يَجِدۡ لَهُۥ مِن دُونِ ٱللَّهِ وَلِيّٗا وَلَا نَصِيرٗا ١٢٣﴾ [النساء: ١٢٣]
ความว่า “มิใช่ความเพ้อฝันของพวกเจ้า และมิใช่ความเพ้อฝันของผู้ที่ได้รับคัมภีร์ ผู้ใดที่กระทำชั่ว เขาก็ถูกตอบแทนด้วยความชั่วนั้น และเขาจะไม่พบผู้คุ้มครองและผู้ช่วยเหลือใดๆ สำหรับเขาอื่นจากอัลลอฮฺ” (อัน-นิสาอ์ 123)
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿مَنۡ عَمِلَ صَٰلِحٗا مِّن ذَكَرٍ أَوۡ أُنثَىٰ وَهُوَ مُؤۡمِنٞ فَلَنُحۡيِيَنَّهُۥ حَيَوٰةٗ طَيِّبَةٗۖ وَلَنَجۡزِيَنَّهُمۡ أَجۡرَهُم بِأَحۡسَنِ مَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٩٧﴾ [النحل: ٩٧]
ความว่า “ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้น เราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้” (อัน-นะห์ลฺ 97)
อัลลอฮฺได้เตือนด้วยการเตือนที่ยิ่งใหญ่ จงพิจารณาพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَٱتَّقُواْ يَوۡمٗا تُرۡجَعُونَ فِيهِ إِلَى ٱللَّهِۖ ثُمَّ تُوَفَّىٰ كُلُّ نَفۡسٖ مَّا كَسَبَتۡ وَهُمۡ لَا يُظۡلَمُونَ ٢٨١﴾ [البقرة: ٢٨١]
ความว่า “และพวกเจ้าจงยำเกรงวันหนึ่ง ซึ่งพวกเจ้าจะถูกนำกลับไปยังอัลลอฮฺในวันนั้น แล้วหลังจากนั้น แต่ละชีวิตจะถูกตอบแทนโดยครบถ้วนตามที่ชีวิตนั้นได้แสวงหาไว้ และพวกเขาจะ ไม่ถูกอธรรม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 281)
ประโยคจากส่วนของหะดีษที่ว่า “โอ้มุหัมมัด เกียรติยศของผู้ศรัทธานั้นอยู่ที่การยืนละหมาดในเวลากลางคืน” เป็นการส่งสัญญานบอกแก่ผู้ศรัทธาถึงการทดแทนสิ่งที่เขาพลาดโอกาสไปจากเกียรติยศ ชื่อเสียง ที่ไม่ถูกหลักการบนโลกนี้ โดยเขาจะได้รับการทดแทนด้วยเกียรติและฐานันดรสูงส่ง(ในวันกิยามะฮฺ)ด้วยกับการกิยามุลลัยลฺ(ลุกขึ้นละหมาดในเวลาค่ำคืน) อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿تَتَجَافَىٰ جُنُوبُهُمۡ عَنِ ٱلۡمَضَاجِعِ يَدۡعُونَ رَبَّهُمۡ خَوۡفٗا وَطَمَعٗا وَمِمَّا رَزَقۡنَٰهُمۡ يُنفِقُونَ ١٦ فَلَا تَعۡلَمُ نَفۡسٞ مَّآ أُخۡفِيَ لَهُم مِّن قُرَّةِ أَعۡيُنٖ جَزَآءَۢ بِمَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ١٧﴾ [السجدة: ١٦-١٧]
ความว่า “สีข้างของพวกเขาเคลื่อนห่างจากที่นอน พลางวิงวอนต่อพระเจ้าของพวกเขาด้วยความกลัวและความหวัง และพวกเขาบริจาค สิ่งที่เราได้ให้เป็นเครื่องยังชีพแก่พวกเขา ดังนั้น จึงไม่มีชีวิตใดรู้สิ่งที่ถูกซ่อนไว้สำหรับพวกเขา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตา เป็นการตอบแทนในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้” (อัส-สัจญ์ดะฮฺ 16-17)
และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿كَانُواْ قَلِيلٗا مِّنَ ٱلَّيۡلِ مَا يَهۡجَعُونَ ١٧ وَبِٱلۡأَسۡحَارِ هُمۡ يَسۡتَغۡفِرُونَ ١٨﴾ [الذاريات: ١٧-١٨]
ความว่า “พวกเขาเคยหลับนอนแต่เพียงส่วนน้อยของเวลากลางคืน และในยามรุ่งสางพวกเขาขออภัยโทษ(ต่อพระองค์)” (อัซ-ซาริยาต 17-18)
รายงานจากท่านอบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«عَلَيْكُمْ بِقِيَامِ اللَّيْلِ، فَإِنَّهُ دَأَبُ الصَّالِحِينَ قَبْلَكُمْ، وَهُوَ قُرْبَةٌ إِلَى رَبِّكُمْ، وَمَكْفَرَةٌ لِلسَّيِّئَاتِ، وَمَنْهَاةٌ لِلْإِثْمِ» [ رواه الترمذي 5/553، برقم 3549، قَالَ أَبُو عِيسَى: وَهَذَا أَصَحُّ مِنْ حَدِيثِ أَبِي إِدْرِيسَ عَنْ بِلَالٍ، وصححه الألباني في صحيح الترمذي 3/178، برقم 3801]
ความว่า “(เป็นสิ่งสำคัญ)เหนือพวกท่านนั้นคือการกิยามุลลัยลฺ (ลุกขึ้นละหมาดในเวลาค่ำคืน) เพราะมันเป็นวิสัย ธรรมเนียมของคนดีคนศอลิหฺก่อนหน้าพวกท่าน เป็นสิ่งที่ให้ได้ใกล้ชิดกับผู้อภิบาลของพวกท่าน เป็นสิ่งลบล้างบาปต่างๆ และเป็นสิ่งที่ป้องกันมิให้กระทำบรรดาความชั่วต่างๆ” (สุนัน อัต-ติรมิซีย์ 5/553 หมายเลข 3549 ท่านอัต-ติรมิซีย์ กล่าวว่า หะดีษนี้ถูกต้องกว่าหะดีษอบู อิดรีส จากท่านบิลาล เชคอัล-อัลบานีย์ตัดสินว่าเศาะฮีหฺใน เศาะฮีหฺ อัต-ตัรมิซีย์ 3/178 หมายเลข 3801)
ส่วนของหะดีษที่ว่า “และศักดิ์ศรีของเขาก็คือการที่เขามีความเพียงพอไม่หวังในทรัพย์ของผู้อื่น” นั่นหมายถึงว่า เกียรติและศักดิ์ศรีนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนที่ต่างใฝ่หา และสาเหตุสำคัญของการได้รับเกียรติศักดิ์ศรีก็คือการมีใจผูกพันกับอัลลอฮฺ ผู้ที่เกียรติและศักดิ์ศรีอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ และต้องละทิ้งการผูกพันกับผู้อื่นที่การผูกพันกับเขาไม่ได้เพิ่มอะไรนอกจากความตกต่ำและอัปยศ
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَلِلَّهِ ٱلۡعِزَّةُ وَلِرَسُولِهِۦ وَلِلۡمُؤۡمِنِينَ﴾ [المنافقون: ٨]
ความว่า “อำนาจนั้นเป็นของอัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธา” (อัล-มุนาฟิกูน 8)
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿مَن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡعِزَّةَ فَلِلَّهِ ٱلۡعِزَّةُ جَمِيعًاۚ﴾ [فاطر: ١٠]
ความว่า “ผู้ใดต้องการอำนาจ ดังนั้น อำนาจทั้งมวลเป็นของอัลลอฮฺ” (ฟาฏิรฺ 10)
และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿بَشِّرِ ٱلۡمُنَٰفِقِينَ بِأَنَّ لَهُمۡ عَذَابًا أَلِيمًا ١٣٨ ٱلَّذِينَ يَتَّخِذُونَ ٱلۡكَٰفِرِينَ أَوۡلِيَآءَ مِن دُونِ ٱلۡمُؤۡمِنِينَۚ أَيَبۡتَغُونَ عِندَهُمُ ٱلۡعِزَّةَ فَإِنَّ ٱلۡعِزَّةَ لِلَّهِ جَمِيعٗا ١٣٩﴾ [النساء: ١٣٨- ١٣٩]
ความว่า “จงแจ้งข่าวดีแก่พวกมุนาฟิกเถิดว่า แท้จริงพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ บรรดาผู้ที่ยึดเอาบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเป็นมิตรอื่นจากผู้ศรัทธาทั้งหลายนั้น พวกเขาจะแสวงหากำลังอำนาจที่พวกเขากระนั้นหรือ แท้จริง กำลังอำนาจนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺทั้งหมด” (อัน-นิสาอ์ 138-139)
มีรายงานจากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
أَنَّ نَاسًا مِنَ الأَنْصَارِ سَأَلُوا رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَأَعْطَاهُمْ، ثُمَّ سَأَلُوهُ فَأَعْطَاهُمْ، حَتَّى إِذَا نَفِدَ مَا عِنْدَهُ، قَالَ : «مَا يَكُنْ عِنْدِى مِنْ خَيْرٍ فَلَنْ أَدَّخِرَهُ عَنْكُمْ، وَمَنْ يَسْتَعْفِفْ يُعِفَّهُ اللَّهُ، وَمَنْ يَسْتَغْنِ يُغْنِهِ اللَّهُ، وَمَنْ يَتَصَبَّرْ يُصَبِّرْهُ اللَّهُ، وَمَا أُعْطِىَ أَحَدٌ مِنْ عَطَاءٍ خَيْرٌ وَأَوْسَعُ مِنَ الصَّبْرِ» [البخاري برقم 1469، ومسلم برقم 1053].
ความว่า มีคนกลุ่มหนึ่งจากชาวอันศอรฺ ได้ร้องขอสิ่งของจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านก็ได้ให้แก่พวกเขา แล้วพวกเขาก็ขออีก ท่านก็ให้แก่พวกเขาอีก จนสิ่งที่อยู่กับท่านนั้นหมดสิ้น แล้วท่านนบีก็ได้กล่าวว่า “ทรัพย์ใดก็ตามที่อยู่กับฉัน แน่นอนว่า ฉันจะไม่กักเก็บมันไว้โดยไม่ยอมมอบให้พวกท่านโดยเด็ดขาด และผู้ใดที่ไม่ร้องขอ อัลลอฮฺก็จะให้เขาพ้นจากการขอ และผู้ใดที่เพียงพอกับสิ่งที่เขามี อัลลอฮฺก็จะให้เขามีความพอเพียง และผู้ใดที่พยายามอดทน อัลลอฮฺก็จะให้เขามีความอดทน ไม่มีผู้ใดที่ได้รับการประทานให้สิ่งใดที่ดียิ่งไปกว่าความอดทน” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/455 หมายเลข 1469, เศาะฮีหฺมุสลิม 2/729 หมายเลข 1053)
มีรายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«اسْتَغْنُوا عَنِ النَّاسِ وَلَوْ بِشَوْصِ السِّوَاكِ» [الطبراني في الكبير 11/444، برقم 12257، وقال المنذري في كتابه الترغيب والترهيب 1/636: رواه البزار والطبراني بإسناد جيد]
ความว่า “พวกท่านจงเพียงพอกับสิ่งที่มี ไม่ขอจากผู้อื่น แม้จะเป็นเพียงการถูฟันด้วยไม้แปรงฟันก็ตาม” (อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-กะบีรฺ 11/444 หมายเลข 12257 ท่านอัล-มุนซิรีย์ได้กล่าวในหนังสือของท่าน อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ 1/636 ว่า รายงานโดย อัล-บัซซารฺ และอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ด้วยสายรายงานที่ดี)
นักกวีได้กล่าวว่า
لَا تَسْأَلَنَّ بَنِي آدَمَ حَاجَةً وَسَلِ الَّذِيْ أَبْوَابُهُ لَا تُغْلَقُ
فَاللهُ يَغْضَبُ إِنْ تَرَكْتَ سُؤَالَهُ وَبَنِيْ آدَمَ حِيْنَ يُسَأَلُ يَغْضَبُ
ท่านจงอย่าขอสิ่งที่ท่านต้องการจากมวลมนุษย์บุตรหลานอาดัม
แต่จงวอนขอจากองค์ผู้ที่บรรดาบานประตูของพระองค์นั้นไม่เคยถูกปิดกั้น
เอกองค์อัลลอฮฺนั้นทรงกริ้วหากเราไม่ขอต่อพระองค์
แต่มนุษย์บุตรหลานอาดัมนั้นมักจะเกลียดชังเมื่อเขาถูกขอ
ท่านอุมัรฺกล่าวไว้ความว่า แท้จริงความละโมบนั้นคือความยากจน ความสิ้นหวังคือความร่ำรวย แท้จริงผู้ที่สิ้นหวังกับสิ่งที่อยู่ในมือมนุษย์ เขาก็จะไม่ต้องพึ่งพาพวกเขาอีก (อิหฺยาอ์ อุลูมิดดีน 3/239)
ท่านมุหัมมัด บิน วาสิอฺ ได้เอาขนมปังที่แห้งจุ่มน้ำแล้วรับประทาน และท่านกล่าวว่า ใครที่พอเพียงด้วยสิ่งนี้ เขาก็ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งใคร (อิหฺยาอ์ อุลูมิดดีน 3/239)
والحمد لله رب العالمين، وصلّى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.