เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์
หมวดหมู่
Full Description
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ฟุอาด ซัยดาน
แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
2012 - 1433
﴿ أهداف سورة النساء ﴾
« باللغة التايلاندية »
فؤاد زيدان
ترجمة: محمد صبري يعقوب
مراجعة: صافي عثمان
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสถาพรอันประเสริฐและความศานติจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
เป้าหมายของสูเราะฮฺ
การผดุงความยุติธรรมและความเมตตาแก่บรรดาผู้ที่อ่อนแอทั้งหลาย
สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺได้กำหนดวิถีทางที่จำเป็นแก่ผู้ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงคัดเลือกให้เขาเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ต้องปฏิบัติตาม และสูเราะฮฺอาลิ อิมรอนก็ได้ให้การเน้นย้ำในประเด็นของการยืนหยัดบนวิถีทางดังกล่าว ส่วนการมาของสูเราะฮฺอัน-นิสาอ์นั้นก็เป็นการบ่งชี้แก่เราว่าการผดุงความยุติธรรมและความเมตตาแก่บรรดาผู้ที่อ่อนแอทั้งหลายนั้นถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดำเนินตามวิถีทางนี้ โดยที่บรรดาอายะฮฺในสูเราะฮฺอัน-นิสาอ์นั้นได้กล่าวถึงประเภทต่างๆ ของบรรดาผู้ที่อ่อนแอ ในจำนวนนั้นคือ บรรดาเด็กกำพร้า ผู้หญิง ทาส ทาสี ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ผู้ศรัทธาซึ่งได้อาศัยอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งพวกเขาได้รับความอธรรมจากผู้คนทั้งหลาย ดังนั้น การผดุงความยุติธรรมและความเมตตาต่อบรรดาผู้ที่อ่อนแอทั้งหลายนั้นคือพื้นฐานของการรับผิดชอบในการทำหน้าที่บนหน้าแผ่นดินนี้
การผดุงความยุติธรรมโดยเริ่มแรกนั้นต้องให้เกิดขึ้นในบ้านกับผู้หญิง ซึ่งหากมนุษย์ได้ผดุงความยุติธรรมกับภรรยาของเขา และให้ความเมตตาแก่นางแล้วไซร้ แน่นอนเขาย่อมมีความสามารถที่จะผดุงความยุติธรรมแก่ผู้คนอื่นๆ ในสังคมได้ ไม่ว่าระดับของชนชั้นในสังคมนั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างไรก็ตามที ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงประสงค์ที่จะเห็นความยุติธรรมในหมู่มนุษย์โดยเฉพาะกับผู้หญิง ก่อนที่จะมีการรับผิดชอบในการทำหน้าที่บนหน้าแผ่นดินนี้
สูเราะฮฺอาลิ อิมรอน ได้ปูทางเพื่อการเทิดเกียรติต่อผู้หญิงในเรื่องราวของภรรยาท่านอิมรอน และท่านหญิงมัรยัม อะลัยฮัสสลาม ซึ่งทั้งสองท่านนั้นคือตัวอย่างของการยืนหยัดบนหน้าแผ่นดินนี้ ก็เนื่องจากผู้หญิงนั้นเป็นแหล่งผลิตเหล่าบุรุษและอนุชนรุ่นต่างๆ ซึ่งแม่นั้นมีบทบาทในการอบรมสั่งสอนเด็กน้อยของประชาชาตินี้จนกระทั่งพวกเขาได้กลายเป็นชายชาตรี ส่วนการเรียกชื่อสูเราะฮฺนี้ด้วย “อัน-นิสาอ์” ก็เพื่อเป็นการเทิดเกียรติแก่พวกนางในบทบาทของพวกนางที่มีต่อประชาชาติอิสลามนั่นเอง
ซึ่งเราจะขอนำเสนออายะฮฺต่างๆ ในสูเราะฮฺอัน-นิสาอ์และความหมายของมัน โดยในแต่ละอายะฮฺของสูเราะฮฺนี้ก็จะมีเนื้อหาที่กล่าวถึงความยุติธรรมและความเมตตาอยู่
เริ่มต้นด้วยกับอายะฮฺแรกของสูเราะฮฺนี้ ซึ่งเป็นอายะฮฺที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวถึงการสร้างสรรค์เราจากชีวิตหนึ่ง(และทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา และทรงให้มีลูกหลานซึ่งมีทั้งชายและหญิงอย่างมากมาย -ผู้แปล-) ก็ในเมื่อดั้งเดิมของเรานั้นมาจากชีวิตเดียว แล้วทำไมเรายังมีความอธรรมซึ่งกันและกันอีก
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ ٱتَّقُواْ رَبَّكُمُ ٱلَّذِي خَلَقَكُم مِّن نَّفۡسٖ وَٰحِدَةٖ وَخَلَقَ مِنۡهَا زَوۡجَهَا وَبَثَّ مِنۡهُمَا ٗا كَثِيرٗا وَنِسَآءٗۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ ٱلَّذِي تَسَآءَلُونَ بِهِۦ وَٱلۡأَرۡحَامَۚ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلَيۡكُمۡ رَقِيبٗا ١﴾ [النساء : 1]
ความว่า “มนุษยชาติทั้งหลาย ! จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าที่ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง และได้ทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา และได้ทรงให้แพร่สะพัดไปจากทั้งสองนั้น ซึ่งบรรดาชายและบรรดาหญิงอันมากมาย และจงยำเกรงอัลลอฮฺที่ซึ่งพวกเจ้าต่างขอกันด้วยพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ แท้จริงอัลลอฮฺทรงสอดส่องดูพวกเจ้าอยู่เสมอ” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 1)
ประเภทต่างๆ ของผู้ที่อ่อนแอ
คือบรรดาที่เป็นเด็กกำพร้า ผู้หญิง ผู้ที่เบาปัญญา และอื่นๆ จากนี้ รวมทั้งได้ส่งเสริมให้ผดุงความยุติธรรมและความเมตตาแก่พวกเขาเหล่านั้น
หนึ่ง...
﴿وَءَاتُواْ ٱلۡيَتَٰمَىٰٓ أَمۡوَٰلَهُمۡۖ وَلَا تَتَبَدَّلُواْ ٱلۡخَبِيثَ بِٱلطَّيِّبِۖ وَلَا تَأۡكُلُوٓاْ أَمۡوَٰلَهُمۡ إِلَىٰٓ أَمۡوَٰلِكُمۡۚ إِنَّهُۥ كَانَ حُوبٗا كَبِيرٗا ٢﴾ [النساء : 2]
ความว่า “และจงให้แก่บรรดาเด็กกำพร้า ซึ่งทรัพย์สมบัติของพวกเขา และจงอย่าเปลี่ยนของเลวด้วยของดี และจงอย่ากินทรัพย์ของพวกเขาร่วมกับทรัพย์ของพวกเจ้า แท้จริงมันเป็นบาปอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 2)
สอง...
﴿وَإِنۡ خِفۡتُمۡ أَلَّا تُقۡسِطُواْ فِي ٱلۡيَتَٰمَىٰ فَٱنكِحُواْ مَا طَابَ لَكُم مِّنَ ٱلنِّسَآءِ مَثۡنَىٰ وَثُلَٰثَ وَرُبَٰعَۖ فَإِنۡ خِفۡتُمۡ أَلَّا تَعۡدِلُواْ فَوَٰحِدَةً أَوۡ مَا مَلَكَتۡ أَيۡمَٰنُكُمۡۚ ذَٰلِكَ أَدۡنَىٰٓ أَلَّا تَعُولُواْ ٣﴾ [النساء : 3]
ความว่า “และหากพวกเจ้าเกรงว่าจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมในบรรดาเด็กกำพร้าได้ ก็จงแต่งงานกับผู้ที่ดีสำหรับพวกเจ้าในหมู่สตรี สองคน หรือสามคน หรือสี่คน แต่ถ้าพวกเจ้าเกรงว่าพวกเจ้าจะให้ความยุติธรรมไม่ได้ ก็จงมีแต่หญิงเดียว หรือไม่ก็หญิง(ทาส)ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครองอยู่ นั่นเป็นสิ่งที่ใกล้ยิ่งกว่าในการที่พวกเจ้าจะไม่ลำเอียง” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 3)
สาม...
﴿وَءَاتُواْ ٱلنِّسَآءَ صَدُقَٰتِهِنَّ نِحۡلَةٗۚ فَإِن طِبۡنَ لَكُمۡ عَن شَيۡءٖ مِّنۡهُ نَفۡسٗا فَكُلُوهُ هَنِيٓٔٗا مَّرِيٓٔٗا ٤﴾ [النساء : 4]
ความว่า “และจงให้มะฮัรฺแก่บรรดาหญิง(ภรรยา)ทั้งหลายด้วยความเต็มใจ แต่ถ้านางเห็นชอบที่จะให้สิ่งหนึ่งแก่พวกเจ้าจากมะฮัรฺนั้นแล้ว ก็จงบริโภคสิ่งนั้นด้วยความเอร็ดอร่อยและโอชา” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 4)
สี่...
﴿وَلَا تُؤۡتُواْ ٱلسُّفَهَآءَ أَمۡوَٰلَكُمُ ٱلَّتِي جَعَلَ ٱللَّهُ لَكُمۡ قِيَٰمٗا وَٱرۡزُقُوهُمۡ فِيهَا وَٱكۡسُوهُمۡ وَقُولُواْ لَهُمۡ قَوۡلٗا مَّعۡرُوفٗا ٥﴾ [النساء : 5]
ความว่า “และจงอย่ามอบทรัพย์ของพวกเจ้าแก่บรรดาผู้ที่เบาปัญญา ซึ่งเป็นทรัพย์ที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เป็นสิ่งค้ำจุนแก่พวกเจ้า และจงให้ปัจจัยยังชีพและเครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขาในทรัพย์นั้น และจงกล่าววาจาแก่พวกเขาอย่างดี” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 5)
ห้า...
﴿وَٱبۡتَلُواْ ٱلۡيَتَٰمَىٰ حَتَّىٰٓ إِذَا بَلَغُواْ ٱلنِّكَاحَ فَإِنۡ ءَانَسۡتُم مِّنۡهُمۡ رُشۡدٗا فَٱدۡفَعُوٓاْ إِلَيۡهِمۡ أَمۡوَٰلَهُمۡۖ وَلَا تَأۡكُلُوهَآ إِسۡرَافٗا وَبِدَارًا أَن يَكۡبَرُواْۚ وَمَن كَانَ غَنِيّٗا فَلۡيَسۡتَعۡفِفۡۖ وَمَن كَانَ فَقِيرٗا فَلۡيَأۡكُلۡ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ فَإِذَا دَفَعۡتُمۡ إِلَيۡهِمۡ أَمۡوَٰلَهُمۡ فَأَشۡهِدُواْ عَلَيۡهِمۡۚ وَكَفَىٰ بِٱللَّهِ حَسِيبٗا ٦﴾ [النساء : 6]
ความว่า “และจงทดสอบบรรดาเด็กกำพร้าดู จนกระทั่งพวกเขาบรรลุวัยสมรส ถ้าพวกเจ้าเห็นว่าในหมู่พวกเขานั้นมีไหวพริบรู้ผิดรู้ถูกแล้ว ก็จงมอบทรัพย์ของพวกเขาให้แก่พวกเขาไป และจงอย่ากินทรัพย์นั้นโดยฟุ่มเฟือยและรีบเร่งให้ทันก่อนที่พวกเขาจะเติบโต และผู้ใดเป็นผู้มั่งมีก็จงงดเว้นเสีย และผู้ใดเป็นผู้ยากจนก็จงกินโดยชอบธรรม ครั้นเมื่อพวกเจ้าได้มอบทรัพย์ของพวกเขาให้แก่พวกเขาไปแล้ว ก็จงให้มีพยานยืนยันแก่พวกเขา และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสอบสวน” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 6)
หก...
﴿وَإِذَا حَضَرَ ٱلۡقِسۡمَةَ أُوْلُواْ ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينُ فَٱرۡزُقُوهُم مِّنۡهُ وَقُولُواْ لَهُمۡ قَوۡلٗا مَّعۡرُوفٗا ٨﴾ [النساء : 8]
ความว่า “และหากว่ามีบรรดาญาติที่ใกล้ชิด และบรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ที่ขัดสนมาร่วมอยู่ด้วยในการแบ่งมรดก ก็จงปันส่วนหนึ่งจากสิ่งนั้นให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา และจงกล่าวแก่พวกเขาอย่างดี” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 8)
เจ็ด...
﴿وَلۡيَخۡشَ ٱلَّذِينَ لَوۡ تَرَكُواْ مِنۡ خَلۡفِهِمۡ ذُرِّيَّةٗ ضِعَٰفًا خَافُواْ عَلَيۡهِمۡ فَلۡيَتَّقُواْ ٱللَّهَ وَلۡيَقُولُواْ قَوۡلٗا سَدِيدًا ٩﴾ [النساء : 9]
ความว่า “และพึงวิตกเถิด บรรดาผู้ที่หากพวกเขาละทิ้งลูกๆ ที่ยังอ่อนแออยู่ไว้เบื้องหลังของพวกเขา ซึ่งพวกเขากลัวว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้นแก่ลูกๆ ของพวกเขานั้น พวกเขาจงเกรงกลัวอัลลอฮฺเถิด และจงกล่าววาจาอย่างเที่ยงตรง” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 9)
เตือนสำทับแก่ผู้ที่อธรรมทั้งหลายถึงบทลงโทษของความอธรรมนั้น
﴿إِنَّ ٱلَّذِينَ يَأۡكُلُونَ أَمۡوَٰلَ ٱلۡيَتَٰمَىٰ ظُلۡمًا إِنَّمَا يَأۡكُلُونَ فِي بُطُونِهِمۡ نَارٗاۖ وَسَيَصۡلَوۡنَ سَعِيرٗا ١٠﴾ [النساء : 10]
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่กินทรัพย์ของบรรดาเด็กกำพร้าด้วยความอธรรมนั้น แท้จริงพวกเขากินไฟเข้าไปในท้องของพวกเขาต่างหากและพวกเขาก็จะเข้าไปสู่เปลวเพลิง” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 10)
บรรดาอายะฮฺที่กล่าวถึงทรัพย์มรดก และการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกที่เป็นส่วนของลูกๆ บิดามารดา และสามีภรรยา ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการณ์และการเสียชีวิตของแต่ละคนในหมู่พวกเขา
หนึ่ง...
﴿يُوصِيكُمُ ٱللَّهُ فِيٓ أَوۡلَٰدِكُمۡۖ لِلذَّكَرِ مِثۡلُ حَظِّ ٱلۡأُنثَيَيۡنِۚ فَإِن كُنَّ نِسَآءٗ فَوۡقَ ٱثۡنَتَيۡنِ فَلَهُنَّ ثُلُثَا مَا تَرَكَۖ وَإِن كَانَتۡ وَٰحِدَةٗ فَلَهَا ٱلنِّصۡفُۚ وَلِأَبَوَيۡهِ لِكُلِّ وَٰحِدٖ مِّنۡهُمَا ٱلسُّدُسُ مِمَّا تَرَكَ إِن كَانَ لَهُۥ وَلَدٞۚ فَإِن لَّمۡ يَكُن لَّهُۥ وَلَدٞ وَوَرِثَهُۥٓ أَبَوَاهُ فَلِأُمِّهِ ٱلثُّلُثُۚ فَإِن كَانَ لَهُۥٓ إِخۡوَةٞ فَلِأُمِّهِ ٱلسُّدُسُۚ مِنۢ بَعۡدِ وَصِيَّةٖ يُوصِي بِهَآ أَوۡ دَيۡنٍۗ ءَابَآؤُكُمۡ وَأَبۡنَآؤُكُمۡ لَا تَدۡرُونَ أَيُّهُمۡ أَقۡرَبُ لَكُمۡ نَفۡعٗاۚ فَرِيضَةٗ مِّنَ ٱللَّهِۗ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلِيمًا حَكِيمٗا ١١﴾ [النساء : 11]
ความว่า “อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้ในลูกๆ ของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน แต่ถ้าลูกๆ เป็นหญิงเกินกว่าสองคน พวกนางก็จะได้สองในสามของสิ่งที่เขา ได้ทิ้งไว้ และถ้าลูกเป็นหญิงคนเดียว นางก็จะได้ครึ่งหนึ่ง และสำหรับบิดาและมารดาของเขานั้น แต่ละคนในทั้งสองนั้นจะได้หนึ่งในหกจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้หากเขามีบุตร แต่ถ้าเขาไม่มีบุตรและมีบิดามารดาของเขาเท่านั้นที่รับมรดกของเขาแล้ว มารดาของเขาก็ได้รับหนึ่งในสาม ถ้าเขามีพี่น้องหลายคน มารดาของเขาก็ได้รับหนึ่งในหก ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่เขาได้สั่งเสียมันไว้หรือหลังจากหนี้สิน บรรดาบิดาของพวกเจ้าและลูกๆ ของพวกเจ้านั้น พวกเจ้าไม่รู้ดอกว่าฝ่ายไหนในพวกเขานั้นเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์แก่พวกเจ้าใกล้กว่ากัน ทั้งนี้เป็นบัญญัติที่มาจากอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 11)
สอง....
﴿وَلَكُمۡ نِصۡفُ مَا تَرَكَ أَزۡوَٰجُكُمۡ إِن لَّمۡ يَكُن لَّهُنَّ وَلَدٞۚ فَإِن كَانَ لَهُنَّ وَلَدٞ فَلَكُمُ ٱلرُّبُعُ مِمَّا تَرَكۡنَۚ مِنۢ بَعۡدِ وَصِيَّةٖ يُوصِينَ بِهَآ أَوۡ دَيۡنٖۚ وَلَهُنَّ ٱلرُّبُعُ مِمَّا تَرَكۡتُمۡ إِن لَّمۡ يَكُن لَّكُمۡ وَلَدٞۚ فَإِن كَانَ لَكُمۡ وَلَدٞ فَلَهُنَّ ٱلثُّمُنُ مِمَّا تَرَكۡتُمۚ مِّنۢ بَعۡدِ وَصِيَّةٖ تُوصُونَ بِهَآ أَوۡ دَيۡنٖۗ وَإِن كَانَ رَجُلٞ يُورَثُ كَلَٰلَةً أَوِ ٱمۡرَأَةٞ وَلَهُۥٓ أَخٌ أَوۡ أُخۡتٞ فَلِكُلِّ وَٰحِدٖ مِّنۡهُمَا ٱلسُّدُسُۚ فَإِن كَانُوٓاْ أَكۡثَرَ مِن ذَٰلِكَ فَهُمۡ شُرَكَآءُ فِي ٱلثُّلُثِۚ مِنۢ بَعۡدِ وَصِيَّةٖ يُوصَىٰ بِهَآ أَوۡ دَيۡنٍ غَيۡرَ مُضَآرّٖۚ وَصِيَّةٗ مِّنَ ٱللَّهِۗ وَٱللَّهُ عَلِيمٌ حَلِيمٞ ١٢﴾ [النساء : 12]
ความว่า “และสำหรับพวกเจ้านั้นจะได้รับครึ่งหนึ่งของสิ่งที่บรรดาภรรยาของพวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากมิได้ปรากฏว่าพวกนางมีบุตร แต้ถ้าพวกนางมีบุตรพวกเจ้าก็จะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกนางได้สั่งเสียมันไว้ หรือหลังจากหนี้สิน และสำหรับพวกนางนั้นจะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกเจ้าได้ทิ้งไว้หากมิปรากฏว่าพวกเจ้ามีบุตร แต่ถ้าพวกเจ้ามีบุตรอยู่ด้วยพวกนางก็จะได้รับหนึ่งในแปดจากสิ่งที่พวกเจ้าทิ้งไว้ ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่พวกเจ้าสั่งเสียมันไว้ หรือหลังจากหนี้สิน และถ้ามีชายคนหนึ่งหรือหญิงคนหนึ่งถูกรับมรดก ในฐานะเป็นผู้ที่ไม่มีบิดาและบุตร แต่เขามีพี่ชายหรือน้องชายคนหนึ่ง หรือมีพี่สาวหรือน้องสาวคนหนึ่งแล้ว แต่ละคนจากสองคนนั้น จะได้รับหนึ่งในหก แต่ถ้าพี่น้องของเขามีมากกว่านั้น พวกเขาก็เป็นผู้รับร่วมกันในหนึ่งในสาม ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่ถูกสั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สินโดยมิใช่สิ่งที่นำมาซึ่งผลร้ายใดๆ เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ผู้ทรงหนักแน่น” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 12)
สาธยายถึงอันตรายของการไร้ความยุติธรรม
﴿وَمَن يَعۡصِ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ وَيَتَعَدَّ حُدُودَهُۥ يُدۡخِلۡهُ نَارًا خَٰلِدٗا فِيهَا وَلَهُۥ عَذَابٞ مُّهِينٞ١٤﴾ [النساء : 13]
ความว่า “และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ และละเมิดขอบเขตของพระองค์แล้วไซร้ พระองค์ก็จะทรงให้เขาเข้านรก โดยที่เขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล และเขาจะได้รับการลงโทษที่ยังความอัปยศให้(แก่เขา)” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 13)
ข้อสั่งใช้ต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้หญิง
และส่งเสริมให้ใช้ชีวิตกับพวกนางด้วยดี โดยไม่สร้างความอธรรมแก่พวกนาง แบกรับความทุกข์ระทมของนาง อดทนต่อนาง มีความละเอียดอ่อนต่อจิตใจของนาง ทั้งนี้ก็เพื่อออกห่างจากการอธรรมและทำร้ายนาง โดยให้เริ่มต้นด้วยการใช้ชีวิตร่วมกับนางด้วยดี แล้วให้มีความอดทนต่อพวกนาง แต่หากท่านไม่พึงพอใจต่อพวกนางก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดที่จะหาคนอื่นมาแทนที่นาง(ด้วยการนิกาหฺใหม่) แต่ก็อย่าเอาทรัพย์สินของนางโดยไม่ชอบธรรมเป็นอันขาด และเพื่อให้รำลึกถึงช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตและมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างกันและกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีคำว่า “أَفۡضَىٰ” หมายถึง “แนบกาย” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายที่สวยงามยิ่งนัก และเพื่อให้ผู้ชายได้รำลึกว่าการที่พวกเขาได้รับอนุญาต(ให้ใช้ชีวิตและมีความสัมพันธ์)กับบรรดาผู้หญิงนั้นก็ด้วยกับคำมั่นสัญญาอันหนักแน่นบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านศาสนทูตของพระองค์
หนึ่ง...
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا يَحِلُّ لَكُمۡ أَن تَرِثُواْ ٱلنِّسَآءَ كَرۡهٗاۖ وَلَا تَعۡضُلُوهُنَّ لِتَذۡهَبُواْ بِبَعۡضِ مَآ ءَاتَيۡتُمُوهُنَّ إِلَّآ أَن يَأۡتِينَ بِفَٰحِشَةٖ مُّبَيِّنَةٖۚ وَعَاشِرُوهُنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ فَإِن كَرِهۡتُمُوهُنَّ فَعَسَىٰٓ أَن تَكۡرَهُواْ شَيۡٔٗا وَيَجۡعَلَ ٱللَّهُ فِيهِ خَيۡرٗا كَثِيرٗا ١٩﴾ [النساء : 19]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ไม่อนุมัติแก่พวกเจ้าการที่พวกเจ้าจะเอาบรรดาหญิงเป็นมรดกด้วยการบังคับ และไม่อนุมัติเช่นเดียวกันการที่พวกเจ้าจะรังแกบรรดานางเหล่านั้นเพื่อพวกเจ้าจะเอาบางส่วนของสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนางกลับคืนมา นอกจากว่าพวกนางจะกระทำสิ่งลามกอันชัดแจ้งเท่านั้น และจงอยู่ร่วมกับพวกนางด้วยดี หากพวกเจ้าเกลียดพวกนาง ก็อาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น อัลลอฮฺจะทรงให้มีความดีอันมากมายอยู่ในสิ่งนั้น” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 19)
สอง....
﴿وَإِنۡ أَرَدتُّمُ ٱسۡتِبۡدَالَ زَوۡجٖ مَّكَانَ زَوۡجٖ وَءَاتَيۡتُمۡ إِحۡدَىٰهُنَّ قِنطَارٗا فَلَا تَأۡخُذُواْ مِنۡهُ شَيًۡٔاۚ أَتَأۡخُذُونَهُۥ بُهۡتَٰنٗا وَإِثۡمٗا مُّبِينٗا ٢٠ ﴾ [النساء : 20]
ความว่า “และหากพวกเจ้าต้องการเปลี่ยนคู่ครองคนหนึ่งแทนที่ของคู่ครองอีกคนหนึ่ง และพวกเจ้าได้ให้แก่นางหนึ่งในหมู่นางเหล่านั้นซึ่งทรัพย์อันมากมาย ก็จงอย่าได้เอาสิ่งใดจากทรัพย์นั้นคืน พวกเจ้าจะเอามันคืนด้วยการอุปโลกน์ความเท็จและการกระทำบาปอันชัดเจนกระนั้นหรือ” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 20)
สาม...
﴿وَكَيۡفَ تَأۡخُذُونَهُۥ وَقَدۡ أَفۡضَىٰ بَعۡضُكُمۡ إِلَىٰ بَعۡضٖ وَأَخَذۡنَ مِنكُم مِّيثَٰقًا غَلِيظٗا ٢١﴾ [النساء : 21]
ความว่า “และพวกเจ้าจะเอามันคืนได้อย่างไร ทั้งๆ ที่บางคนของพวกเจ้าได้แนบกายกับอีกบางคนแล้ว และพวกนางก็ได้เอาคำมั่นสัญญาอันหนักแน่นจากพวกเจ้าแล้วด้วย” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 21)
การมุ่งเน้นให้มีความยุติธรรมต่อบรรดาทาสี
ในจำนวนความเมตตาของอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น คือการใช้คำว่า “أَهۡلِهِنَّ” (หมายถึงครอบครัวของพวกนาง) กับบรรดาทาสหญิง แทนที่จะใช้คำว่า “أَسْياَدِهِنَّ” (ผู้เป็นนายของพวกนาง) และได้ให้ข้อตักเตือนแก่สามีว่าอย่าได้เอาหญิงอื่นใดเป็นเพื่อนสนิทอีก เพื่อไม่ให้เกิดความทุกข์ใจแก่ภรรยา เนื่องจากจิตใจของผู้หญิงนั้นบอบบางยิ่งนัก(กับเรื่องนี้) และมันจะมีผลกระทบที่รุนแรงอย่างมาก
﴿وَمَن لَّمۡ يَسۡتَطِعۡ مِنكُمۡ طَوۡلًا أَن يَنكِحَ ٱلۡمُحۡصَنَٰتِ ٱلۡمُؤۡمِنَٰتِ فَمِن مَّا مَلَكَتۡ أَيۡمَٰنُكُم مِّن فَتَيَٰتِكُمُ ٱلۡمُؤۡمِنَٰتِۚ وَٱللَّهُ أَعۡلَمُ بِإِيمَٰنِكُمۚ بَعۡضُكُم مِّنۢ بَعۡضٖۚ فَٱنكِحُوهُنَّ بِإِذۡنِ أَهۡلِهِنَّ وَءَاتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِ مُحۡصَنَٰتٍ غَيۡرَ مُسَٰفِحَٰتٖ وَلَا مُتَّخِذَٰتِ أَخۡدَانٖۚ فَإِذَآ أُحۡصِنَّ فَإِنۡ أَتَيۡنَ بِفَٰحِشَةٖ فَعَلَيۡهِنَّ نِصۡفُ مَا عَلَى ٱلۡمُحۡصَنَٰتِ مِنَ ٱلۡعَذَابِۚ ذَٰلِكَ لِمَنۡ خَشِيَ ٱلۡعَنَتَ مِنكُمۡۚ وَأَن تَصۡبِرُواْ خَيۡرٞ لَّكُمۡۗ وَٱللَّهُ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ٢٥﴾ [النساء : 25]
ความว่า “และผู้ใดในหมู่พวกเจ้าไม่สามารถมีกำลังที่จะแต่งงานกับบรรดาหญิงอิสระที่มีศรัทธาได้ ก็จงแต่งงานกับทาสสาวของพวกเจ้าที่เป็นผู้ศรัทธาในหมู่ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ยิ่งกว่าถึงการศรัทธาของพวกเจ้า ระหว่างพวกเจ้ากลุ่มหนึ่งกับอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้น จงแต่งงานกับพวกนางด้วยการอนุมัติจากผู้เป็นนายของพวกนาง และจงมอบสินตอบแทนแก่พวกนางโดยชอบธรรม ในฐานะที่พวกนางเป็นหญิงที่ได้รับการแต่งงานมิใช่เป็นหญิงที่ค้าประเวณี และไม่ใช่หญิงที่ยึดเอาผู้ชายเป็นเพื่อนสนิท เมื่อพวกนางได้รับการแต่งงานแล้ว หากพวกนางกระทำความชั่ว พวกนางก็จะได้รับโทษครึ่งหนึ่งจากโทษที่บรรดาหญิงอิสระได้รับ นั่นสำหรับผู้คนในหมู่พวกเจ้าที่กลัวการทำชั่ว และการที่พวกเจ้าอดกลั้นไว้ได้นั้น เป็นการดีกว่าสำหรับพวกเจ้า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 25)
กล่าวถึงความเมตตาของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ซึ่งมันกว้างขวางเหนือสิ่งใด
หนึ่ง...
﴿يُرِيدُ ٱللَّهُ لِيُبَيِّنَ لَكُمۡ وَيَهۡدِيَكُمۡ سُنَنَ ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ وَيَتُوبَ عَلَيۡكُمۡۗ وَٱللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٞ ٢٦ ﴾ [النساء : 26]
ความว่า “อัลลอฮฺ ทรงปรารถนาที่จะแจกแจงแก่พวกเจ้า และแนะนำพวกเจ้าซึ่งแนวทางต่างๆ ของบรรดาผู้ที่มาก่อนหน้าพวกเจ้า และพระองค์ประสงค์ที่จะอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้และเป็นผู้ทรงปรีชาญาณ” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 26)
สอง...
﴿وَٱللَّهُ يُرِيدُ أَن يَتُوبَ عَلَيۡكُمۡ وَيُرِيدُ ٱلَّذِينَ يَتَّبِعُونَ ٱلشَّهَوَٰتِ أَن تَمِيلُواْ مَيۡلًا عَظِيمٗا ٢٧﴾ [النساء : 27]
ความว่า “และอัลลอฮฺ ทรงปรารถนาที่จะอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า ในขณะที่บรรดาผู้ปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำนั้นปรารถนาที่จะให้พวกเจ้าเอนเอียงออกไปอย่างมากมาย” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 27)
สาม...
﴿يُرِيدُ ٱللَّهُ أَن يُخَفِّفَ عَنكُمۡۚ وَخُلِقَ ٱلۡإِنسَٰنُ ضَعِيفٗا ٢٨﴾ [النساء : 28]
ความว่า “อัลลอฮฺ ทรงปรารถนาที่จะผ่อนผันให้แก่พวกเจ้า ซึ่งมนุษย์นั้นถูกบังเกิดขึ้นในสภาพที่อ่อนแอยิ่ง” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 28)
ให้ความยุติธรรมต่อชีวิตและทรัพย์สิน
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَأۡكُلُوٓاْ أَمۡوَٰلَكُم بَيۡنَكُم بِٱلۡبَٰطِلِ إِلَّآ أَن تَكُونَ تِجَٰرَةً عَن تَرَاضٖ مِّنكُمۡۚ وَلَا تَقۡتُلُوٓاْ أَنفُسَكُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ بِكُمۡ رَحِيمٗا ٢٩﴾ [النساء : 29]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้า ในระหว่างพวกเจ้ากันเองโดยมิชอบ นอกจากมันจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่พวกเจ้า และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 29)
กฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อดำรงความยุติธรรมให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว
พร้อมๆ กับข้อสั่งใช้ให้มีความยุติธรรมนั้น ได้มีการควบคุมอย่างรัดกุมหนักแน่นขึ้นด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้สามารถดำรงคำสั่งใช้ต่างๆ ได้ โดยไม่ละเมิดขอบเขตที่อนุญาตให้ปฏิบัติ ดังในอายะฮฺนี้
﴿ٱلرِّجَالُ قَوَّٰمُونَ عَلَى ٱلنِّسَآءِ بِمَا فَضَّلَ ٱللَّهُ بَعۡضَهُمۡ عَلَىٰ بَعۡضٖ وَبِمَآ أَنفَقُواْ مِنۡ أَمۡوَٰلِهِمۡۚ فَٱلصَّٰلِحَٰتُ قَٰنِتَٰتٌ حَٰفِظَٰتٞ لِّلۡغَيۡبِ بِمَا حَفِظَ ٱللَّهُۚ وَٱلَّٰتِي تَخَافُونَ نُشُوزَهُنَّ فَعِظُوهُنَّ وَٱهۡجُرُوهُنَّ فِي ٱلۡمَضَاجِعِ وَٱضۡرِبُوهُنَّۖ فَإِنۡ أَطَعۡنَكُمۡ فَلَا تَبۡغُواْ عَلَيۡهِنَّ سَبِيلًاۗ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلِيّٗا كَبِيرٗا ٣٤﴾ [النساء : 34]
ความว่า “บรรดาชายนั้น คือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง เนื่องด้วยการที่อัลลอฮฺได้ทรงให้บางคนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางคน และด้วยการที่พวกเขาได้จ่ายไปจากทรัพย์ของพวกเขา บรรดากุลสตรีนั้นคือผู้ที่ภักดี ผู้รักษาทุกสิ่งทุกอย่างเมื่ออยู่ลับหลังสามี ด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักษาไว้ และบรรดาหญิงที่พวกเจ้าหวั่นเกรงในความดื้อดึงของนางนั้น ก็จงกล่าวตักเตือนนางและทอดทิ้งนางไว้แต่ลำพังบนที่นอน และจงโบยพวกนาง แต่ถ้านางเชื่อฟังพวกเจ้าแล้ว ก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นาง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงเกรียงไกร” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 34)
ซึ่งการลำดับกฎเกณฑ์ต่างๆ มีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่งในอายะฮฺนี้ โดยในอันดับแรกให้เริ่มต้นด้วยการกล่าวตักเตือน หลังจากนั้นก็ให้ทอดทิ้งนางไว้แต่ลำพังในที่นอน และสุดท้ายคือการเฆี่ยนหรือโบยเพื่อตักเตือน(ซึ่งต้องโบยเพียงเล็กน้อยมิให้เกิดบาดแผล มิใช่โบยเพื่อความสาใจหรือระบายแค้น) ซึ่งการเฆี่ยนนั้นมาในกรณีของความดื้อดึง และเป็นการมาในลำดับสุดท้าย มันเป็นการมาหลังจากการกล่าวตักเตือน การทอดทิ้งนางไว้แต่ลำพัง ซึ่งหากขั้นตอนทั้งหมดไม่ก่อประโยชน์ใดๆ เลยก็ให้หย่ากับนางได้ และหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนหญิงอื่นให้แก่เขาที่ดีกว่านาง
ความยุติธรรมในสังคมโดยรวม
﴿وَٱعۡبُدُواْ ٱللَّهَ وَلَا تُشۡرِكُواْ بِهِۦ شَيۡٔٗاۖ وَبِٱلۡوَٰلِدَيۡنِ إِحۡسَٰنٗا وَبِذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينِ وَٱلۡجَارِ ذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡجَارِ ٱلۡجُنُبِ وَٱلصَّاحِبِ بِٱلۡجَنۢبِ وَٱبۡنِ ٱلسَّبِيلِ وَمَا مَلَكَتۡ أَيۡمَٰنُكُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يُحِبُّ مَن كَانَ مُخۡتَالٗا فَخُورًا ٣٦﴾ [النساء : 36]
ความว่า “และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง แท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงชอบผู้ยิ่งยโส ผู้โอ้อวด” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 36)
เราจะสังเกตได้ว่าในอายะฮฺอันทรงเกียรตินี้ได้ระบุถึงประเภทต่างๆของผู้ที่อ่อนแออย่างหลากหลายทีเดียว
อุปสรรคต่างๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผดุงความยุติธรรมและความเมตตาแก่ผู้ที่อ่อนแอ
ในจำนวนนั้นคือ
ความตระหนี่ถี่เหนี่ยว
﴿ٱلَّذِينَ يَبۡخَلُونَ وَيَأۡمُرُونَ ٱلنَّاسَ بِٱلۡبُخۡلِ وَيَكۡتُمُونَ مَآ ءَاتَىٰهُمُ ٱللَّهُ مِن فَضۡلِهِۦۗ وَأَعۡتَدۡنَا لِلۡكَٰفِرِينَ عَذَابٗا مُّهِينٗا ٣٧﴾ [النساء : 37]
ความว่า “(คนที่ยโสโอ้อวดดังกล่าวในอายะฮฺข้างต้นนั้น)คือบรรดาผู้ที่ตระหนี่ และใช้ผู้คนให้ตระหนี่ และปกปิดสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานให้แก่พวกเขาจากความกรุณาของพระองค์ และเราได้เตรียมไว้แล้ว ซึ่งการลงโทษที่ยังความอัปยศแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 37)
การโอ้อวด
﴿وَٱلَّذِينَ يُنفِقُونَ أَمۡوَٰلَهُمۡ رِئَآءَ ٱلنَّاسِ وَلَا يُؤۡمِنُونَ بِٱللَّهِ وَلَا بِٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِۗ وَمَن يَكُنِ ٱلشَّيۡطَٰنُ لَهُۥ قَرِينٗا فَسَآءَ قَرِينٗا ٣٨﴾ [النساء : 38]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์ของพวกเขาเพื่อโอ้อวดผู้คน และพวกเขาก็ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และไม่ศรัทธาต่อวันปรโลก ซึ่งผู้ใดที่มีชัยฏอนเป็นเพื่อนของเขาแล้วไซร้ มันก็ย่อมเป็นเพื่อนที่เลวที่สุดแล้ว” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 38)
อัลลอฮฺ วะตะอาลา ได้ปฏิบัติต่อเราด้วยความกรุณาก่อนความยุติธรรม
﴿إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَظۡلِمُ مِثۡقَالَ ذَرَّةٖۖ وَإِن تَكُ حَسَنَةٗ يُضَٰعِفۡهَا وَيُؤۡتِ مِن لَّدُنۡهُ أَجۡرًا عَظِيمٗا ٤٠﴾ [النساء : 40]
ความว่า “แท้จริง อัลลอฮฺจะไม่ทรงอธรรมแม้เพียงน้ำหนักเท่าผงธุลี และถ้ามันเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์ก็จะทรงเพิ่มพูนความดีนั้นเป็นทวีคูณ และทรงประทานให้จากที่พระองค์ซึ่งรางวัลอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 40)
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็จะเป็นพยานถึงความยุติธรรมของเรา
﴿فَكَيۡفَ إِذَا جِئۡنَا مِن كُلِّ أُمَّةِۢ بِشَهِيدٖ وَجِئۡنَا بِكَ عَلَىٰ هَٰٓؤُلَآءِ شَهِيدٗا ٤١﴾ [النساء : 41]
ความว่า “แล้วจะเป็นอย่างไรเล่า เมื่อเรานำพยานคนหนึ่งจากแต่ละประชาชาติมา และเราได้นำเจ้ามาเป็นพยานต่อชนเหล่านี้” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 41)
อายะฮฺที่อยู่ใจกลางของสูเราะฮฺ คือหัวใจของภาพลักษณ์ที่แสดงถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามสัญญา(อะมานะฮฺ)ที่ให้ไว้
﴿إِنَّ ٱللَّهَ يَأۡمُرُكُمۡ أَن تُؤَدُّواْ ٱلۡأَمَٰنَٰتِ إِلَىٰٓ أَهۡلِهَا وَإِذَا حَكَمۡتُم بَيۡنَ ٱلنَّاسِ أَن تَحۡكُمُواْ بِٱلۡعَدۡلِۚ إِنَّ ٱللَّهَ نِعِمَّا يَعِظُكُم بِهِۦٓۗ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ سَمِيعَۢا بَصِيرٗا ٥٨﴾ [النساء : 58]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม แท้จริง อัลลอฮฺทรงแนะนำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริงๆ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยินและเห็น” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 58)
เนื้อหาของสูเราะฮฺได้ดำเนินไปสู่เรื่องราวใหม่นั้นคือ การดิ้นรนต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิ์ของบรรดาผู้ที่อ่อนแอทั้งหลาย
﴿فَلۡيُقَٰتِلۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ ٱلَّذِينَ يَشۡرُونَ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا بِٱلۡأٓخِرَةِۚ وَمَن يُقَٰتِلۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ فَيُقۡتَلۡ أَوۡ يَغۡلِبۡ فَسَوۡفَ نُؤۡتِيهِ أَجۡرًا عَظِيمٗا ٧٤ وَمَا لَكُمۡ لَا تُقَٰتِلُونَ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَٱلۡمُسۡتَضۡعَفِينَ مِنَ ٱلرِّجَالِ وَٱلنِّسَآءِ وَٱلۡوِلۡدَٰنِ ٱلَّذِينَ يَقُولُونَ رَبَّنَآ أَخۡرِجۡنَا مِنۡ هَٰذِهِ ٱلۡقَرۡيَةِ ٱلظَّالِمِ أَهۡلُهَا وَٱجۡعَل لَّنَا مِن لَّدُنكَ وَلِيّٗا وَٱجۡعَل لَّنَا مِن لَّدُنكَ نَصِيرًا ٧٥﴾ [النساء : 74-75]
ความว่า “ดังนั้น ขอให้บรรดาผู้ขายชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ด้วยปรโลกได้สู้รบในทางของอัลลอฮฺเถิด และผู้ใดสู้รบในทางของอัลลอฮฺ และเขาถูกฆ่าหรือได้รับชัยชนะ เราก็จะให้รางวัลอันใหญ่หลวงแก่เขา มีเหตุใดเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ? ที่พวกเจ้าไม่สู้รบในทางของอัลลอฮฺ ทั้งๆ ที่บรรดาผู้อ่อนแอ ไม่ว่าชายและหญิง และเด็กๆ ต่างกล่าวกันว่า โอ้พระเจ้าของเรา ! โปรดนำพวกเราออกไปจากเมืองนี้ ซึ่งชาวเมืองเป็นผู้ข่มเหงรังแก และโปรดให้มีขึ้นแก่พวกเราซึ่งผู้คุ้มครองคนหนึ่งจาก ณ ที่พระองค์ และโปรดให้มีขึ้นแก่พวกเราซึ่งผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งจาก ณ ที่พระองค์ด้วยเถิด” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 74-75)
โดยแน่แท้ อาจจะมีบางคนได้แปลกใจถึงการปรากฏของอายะฮฺต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบในสูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ (สูเราะฮฺที่มีความหมายว่าผู้หญิง) ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วการที่อายะฮฺเหล่านี้ได้ปรากฏในสูเราะฮฺที่ชื่อว่า “ผู้หญิง” เช่นนี้ถือว่าเหมาะสมยิ่ง เนื่องเพราะว่าบรรดาผู้หญิงนั้นคือ “แหล่งผลิตบรรดานักสู้ทั้งหลาย” โดยที่ผู้หญิงนั้นเป็นผู้ที่ดิ้นรนต่อสู้ในบ้านของนาง ด้วยความอดทนของนาง และการเชื่อฟังสามีของนาง
ส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในการทำญิฮาด
และให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนด้วยความเมตตา ถึงแม้จะอยู่ในช่วงของการสู้รบก็ตาม และนี่คือส่วนหนึ่งของมารยาทในการทำสงคราม
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا ضَرَبۡتُمۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ فَتَبَيَّنُواْ وَلَا تَقُولُواْ لِمَنۡ أَلۡقَىٰٓ إِلَيۡكُمُ ٱلسَّلَٰمَ لَسۡتَ مُؤۡمِنٗا تَبۡتَغُونَ عَرَضَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا فَعِندَ ٱللَّهِ مَغَانِمُ كَثِيرَةٞۚ كَذَٰلِكَ كُنتُم مِّن قَبۡلُ فَمَنَّ ٱللَّهُ عَلَيۡكُمۡ فَتَبَيَّنُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٗا ٩٤﴾ [النساء : 94]
ความว่า “ผู้ที่ศรัทธาทั้งหลาย ! เมื่อพวกเจ้าเดินทางไป(เพื่อทำสงคราม)ในทางของอัลลอฮฺ ก็จงตรวจสอบ(คู่อริ)ให้ประจักษ์ชัดเสียก่อน และจงอย่ากล่าวแก่ผู้ที่กล่าวสลามแก่พวกเจ้าว่า “ท่านมิใช่เป็นผู้ศรัทธา” เพียงแค่เพื่อแสวงหาสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวแห่งชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้ แต่ ณ ที่อัลลอฮฺนั้นมีปัจจัยยังชีพอันมากมาย ในทำนองเดียวกันนั้นพวกเจ้าก็เคยเป็นมาก่อน แล้วอัลลอฮฺได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงตรวจสอบให้ประจักษ์เสียก่อน แท้จริง อัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกันอยู่” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 94)
อันตรายของบรรดาผู้กลับกลอก(มุนาฟิกีน)
หลายๆ อายะฮฺ(จากสูเราะฮฺนี้)ได้ดำเนินเรื่องหนึ่งส่วน(รุบุอฺ)เต็มๆ เพื่อเตือนสำทับถึงอันตรายของบรรดาผู้กลับกลอก เพราะอุปสรรคส่วนใหญ่ที่ทำให้ความยุติธรรมไม่มีความสมบูรณ์นั้นคือการแพร่หลายของบรรดาผู้กลับกลอก
คำสั่งเสียแด่ชนกลุ่มน้อยที่อ่อนแอ
﴿إِنَّ ٱلَّذِينَ تَوَفَّىٰهُمُ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ ظَالِمِيٓ أَنفُسِهِمۡ قَالُواْ فِيمَ كُنتُمۡۖ قَالُواْ كُنَّا مُسۡتَضۡعَفِينَ فِي ٱلۡأَرۡضِۚ قَالُوٓاْ أَلَمۡ تَكُنۡ أَرۡضُ ٱللَّهِ وَٰسِعَةٗ فَتُهَاجِرُواْ فِيهَاۚ فَأُوْلَٰٓئِكَ مَأۡوَىٰهُمۡ جَهَنَّمُۖ وَسَآءَتۡ مَصِيرًا ٩٧ إِلَّا ٱلۡمُسۡتَضۡعَفِينَ مِنَ ٱلرِّجَالِ وَٱلنِّسَآءِ وَٱلۡوِلۡدَٰنِ لَا يَسۡتَطِيعُونَ حِيلَةٗ وَلَا يَهۡتَدُونَ سَبِيلٗا ٩٨﴾ [النساء : 97-98]
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่มะลาอิกะฮฺได้เอาชีวิตของพวกเขาไป โดยที่พวกเขาเป็นผู้อธรรมแก่ตัวของพวกเขาเองนั้น มลาอิกะฮฺได้กล่าวว่า พวกเจ้าเคยอยู่กันในสิ่งใด พวกเขากล่าวว่าพวกเราเป็นผู้ที่ถูกนับว่าอ่อนแอในแผ่นดิน มลาอิกะฮฺกล่าวว่า แผ่นดินของอัลลอฮฺมิได้กว้างขวางดอกหรือ? ซึ่งพวกเจ้าสามารถที่จะอพยพไปอยู่ในที่ต่างๆ ได้ ชนเหล่านี้แหละมีที่อยู่ของพวกเขาในนรกญะฮันนัม และเป็นที่กลับไปอันชั่วร้าย นอกจากบรรดาผู้ที่ถูกนับว่าอ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นชายและหญิง และเด็ก ที่ไม่สามารถมีช่องทางหลีกเลี่ยงใดๆ ได้ และทั้งไม่รู้ทางออกทางหนึ่งทางใดด้วย” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 97-98)
ความเมตตาของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์
ในจำนวนนั้นคือความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อเรา กระทั่งในเรื่องการละหมาดพระองค์ก็ยังมีบัญญัติให้ย่อละหมาดได้
การละหมาดย่อ(ก็อศรฺ)
﴿وَإِذَا ضَرَبۡتُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ فَلَيۡسَ عَلَيۡكُمۡ جُنَاحٌ أَن تَقۡصُرُواْ مِنَ ٱلصَّلَوٰةِ إِنۡ خِفۡتُمۡ أَن يَفۡتِنَكُمُ ٱلَّذِينَ كَفَرُوٓاْۚ إِنَّ ٱلۡكَٰفِرِينَ كَانُواْ لَكُمۡ عَدُوّٗا مُّبِينٗا ١٠١﴾ [النساء : 101]
ความว่า “และเมื่อพวกเจ้าเดินทางไปในผืนแผ่นดินก็ไม่มีบาปใดๆ แก่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะย่อการละหมาด หากพวกเจ้ากลัวว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะข่มเหงรังแกพวกเจ้า แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น เป็นศัตรูอันชัดเจนแก่พวกเจ้า” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 101)
การละหมาดเคาฟ์(การละหมาดในสภาวะที่หวาดกลัว เช่นในการทำสงคราม)
﴿وَإِذَا كُنتَ فِيهِمۡ فَأَقَمۡتَ لَهُمُ ٱلصَّلَوٰةَ فَلۡتَقُمۡ طَآئِفَةٞ مِّنۡهُم مَّعَكَ وَلۡيَأۡخُذُوٓاْ أَسۡلِحَتَهُمۡۖ فَإِذَا سَجَدُواْ فَلۡيَكُونُواْ مِن وَرَآئِكُمۡ وَلۡتَأۡتِ طَآئِفَةٌ أُخۡرَىٰ لَمۡ يُصَلُّواْ فَلۡيُصَلُّواْ مَعَكَ وَلۡيَأۡخُذُواْ حِذۡرَهُمۡ وَأَسۡلِحَتَهُمۡۗ وَدَّ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ لَوۡ تَغۡفُلُونَ عَنۡ أَسۡلِحَتِكُمۡ وَأَمۡتِعَتِكُمۡ فَيَمِيلُونَ عَلَيۡكُم مَّيۡلَةٗ وَٰحِدَةٗۚ وَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ إِن كَانَ بِكُمۡ أَذٗى مِّن مَّطَرٍ أَوۡ كُنتُم مَّرۡضَىٰٓ أَن تَضَعُوٓاْ أَسۡلِحَتَكُمۡۖ وَخُذُواْ حِذۡرَكُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ أَعَدَّ لِلۡكَٰفِرِينَ عَذَابٗا مُّهِينٗا ١٠٢﴾ [النساء : 102]
ความว่า “และเมื่อเจ้าอยู่ในหมู่พวกเขา แล้วเจ้าได้ให้มีการปฏิบัติละหมาดขึ้นแก่พวกเขา ดังนั้น กลุ่มหนึ่งจากพวกเขาก็จงยืนละหมาดร่วมกับเจ้า และก็จงให้พวกเขาถืออาวุธของพวกเขาไว้ด้วย ครั้นเมื่อพวกเขาสุญูดเรียบร้อยแล้ว ก็ให้พวกเขาอยู่เบื้องหลังของพวกเจ้า แล้วให้อีกกลุ่มหนึ่งที่ยังมิได้ละหมาดมาละหมาดร่วมกับเจ้า และจงยึดถือไว้ซึ่งการระมัดระวังของพวกเขาและอาวุธของพวกเขา บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้น หากว่าพวกเจ้าละเลยอาวุธของพวกเจ้า และสัมภาระของพวกเจ้าแล้ว พวกเขาก็จะจู่โจมพวกเจ้าอย่างรวดเร็ว และไม่มีบาปใดๆ แก่พวกเจ้า หากว่าที่พวกเจ้ามีความเดือดร้อน เนื่องจากฝนตกหรือพวกเจ้าป่วย ในการที่พวกเจ้าจะวางอาวุธของพวกเจ้า และพวกเจ้าจงยึดถือไว้ซึ่งการระมัดระวังของพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงเตรียมไว้แล้วซึ่งการลงโทษที่ยังความอัปยศแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 102)
มีความยุติธรรมแก่ชนกลุ่มน้อยผู้ไม่ใช่มุสลิมที่ได้อาศัยอยู่ร่วมกับบรรดามุสลิม
ซึ่งความยุติธรรมนั้นมีความจำเป็นสำหรับมุสลิมทั้งหลายและคนอื่นๆ เช่นเดียวกัน
﴿إِنَّآ أَنزَلۡنَآ إِلَيۡكَ ٱلۡكِتَٰبَ بِٱلۡحَقِّ لِتَحۡكُمَ بَيۡنَ ٱلنَّاسِ بِمَآ أَرَىٰكَ ٱللَّهُۚ وَلَا تَكُن لِّلۡخَآئِنِينَ خَصِيمٗا ١٠٥﴾ [النساء : 105]
ความว่า “แท้จริง เราได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่เจ้าเป็นความจริง เพื่อเจ้าจะได้ตัดสินระหว่างผู้คน ด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เจ้ารู้เห็น และเจ้าจงอย่าเป็นผู้เถียงแก้ให้แก่ผู้บิดพลิ้วทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 105)
﴿وَلَوۡلَا فَضۡلُ ٱللَّهِ عَلَيۡكَ وَرَحۡمَتُهُۥ لَهَمَّت طَّآئِفَةٞ مِّنۡهُمۡ أَن يُضِلُّوكَ وَمَا يُضِلُّونَ إِلَّآ أَنفُسَهُمۡۖ وَمَا يَضُرُّونَكَ مِن شَيۡءٖۚ وَأَنزَلَ ٱللَّهُ عَلَيۡكَ ٱلۡكِتَٰبَ وَٱلۡحِكۡمَةَ وَعَلَّمَكَ مَا لَمۡ تَكُن تَعۡلَمُۚ وَكَانَ فَضۡلُ ٱللَّهِ عَلَيۡكَ عَظِيمٗا ١١٣﴾ [النساء : 113]
ความว่า “และหากไม่มีความกรุณาของอัลลอฮฺและความเมตตาของพระองค์แก่เจ้าแล้ว แน่นอนกลุ่มหนึ่งจากพวกเขาก็มุ่งแล้วที่จะให้เจ้าหลงผิดไป แต่พวกเขาจะไม่ทำให้ใครหลงผิดไปได้ นอกจากตัวของพวกเขาเองเท่านั้น และพวกเขาก็จะไม่ทำอันตรายแก่เจ้าได้แต่อย่างใด และอัลลอฮฺได้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้า และความเข้าใจในบทบัญญัติแห่งคัมภีร์นั้นด้วย และได้ทรงสอนเจ้าในสิ่งที่เจ้าไม่เคยรู้มาก่อน และความกรุณาของอัลลอฮฺที่มีแก่เจ้านั้นใหญ่หลวงนัก” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 113)
ให้ข้อตักเตือนในเรื่องความยุติธรรม
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُونُواْ قَوَّٰمِينَ بِٱلۡقِسۡطِ شُهَدَآءَ لِلَّهِ وَلَوۡ عَلَىٰٓ أَنفُسِكُمۡ أَوِ ٱلۡوَٰلِدَيۡنِ وَٱلۡأَقۡرَبِينَۚ إِن يَكُنۡ غَنِيًّا أَوۡ فَقِيرٗا فَٱللَّهُ أَوۡلَىٰ بِهِمَاۖ فَلَا تَتَّبِعُواْ ٱلۡهَوَىٰٓ أَن تَعۡدِلُواْۚ وَإِن تَلۡوُۥٓاْ أَوۡ تُعۡرِضُواْ فَإِنَّ ٱللَّهَ كَانَ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٗا ١٣٥﴾ [النساء : 135]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในการเป็นพยานเพื่ออัลลอฮฺ ถึงแม้ว่าจะต้องเป็นสักขีเหนือตัวของพวกเจ้าเอง หรือผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและญาติที่ใกล้ชิดก็ตาม หากเขาจะเป็นคนมั่งมีหรือคนยากจน อัลลอฮฺก็สมควรยิ่งกว่าเขาทั้งสอง ดังนั้นจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำในการที่พวกเจ้าจะมีความยุติธรรม และหากพวกเจ้าบิดเบือนหรือผินหลังให้ แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน” (สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ : 135)
ความสละสลวยบางประการของสูเราะฮฺอันทรงเกียรตินี้
อายะฮฺส่วนมากของสูเราะฮฺนี้ได้จบท้ายด้วยพระนามอันวิจิตรของอัลลอฮฺ (เช่น ผู้ทรงรอบรู้, ผู้ทรงปรีชาญาณ, หรือเป็นคุณลักษณะที่แสดงถึงความสามารถ ความเมตตา และการให้อภัย) ซึ่งปรากฏพระนามของอัลลอฮฺในอายะฮฺต่างๆ ของสูเราะฮฺนี้ ทั้งหมด 42 พระนาม ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความยุติธรรมและความเมตตาในสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ เนื่องจากว่า ความรอบรู้ ความสามารถ ความปรีชาญาณ การให้อภัยและความเมตตานั้น เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความยุติธรรม ... สุบหานัลลอฮฺ พระองค์ผู้ทรงผดุงความยุติธรรม ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงเมตตา และผู้ทรงให้อภัยเสมอ
والله أعلم بالصواب
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم
والحمد لله رب العالمين.