รากฐานของศาสนาอิสลาม
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
รากฐานของศาสนาอิสลาม
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อันวา สะอุ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
2012 - 1433
﴿ أصل الدين وقاعدته ﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبد الله الشقاوي
ترجمة: أنور إسماعيل
مراجعة: صافي عثمان
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่องที่ 31
รากฐานของศาสนาอิสลาม
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ การประสาทพรและความสันติจงประสบแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวและไม่มีการตั้งภาคีใดๆ เคียงคู่พระองค์ และข้าขอปฏิญาณตนว่ามุหัมหมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
แท้จริงแล้ว หน้าที่ประการแรกที่อัลลอฮฺได้บัญชาแก่ลูกหลานของอาดัม (มนุษย์ทุกคน) คือการปฏิเสธศรัทธาต่อบรรดาเจว็ดและให้ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า
﴿فَمَن يَكۡفُرۡ بِٱلطَّٰغُوتِ وَيُؤۡمِنۢ بِٱللَّهِ فَقَدِ ٱسۡتَمۡسَكَ بِٱلۡعُرۡوَةِ ٱلۡوُثۡقَىٰ لَا ٱنفِصَامَ لَهَاۗ وَٱللَّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ ٢٥٦ ﴾ [البقرة: ٢٥٦]
ความว่า "... ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อฏอฆูต(สิ่งเคารพอื่นนอกจากอัลลอฮฺ) และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว โดยไม่มีการขาดใดๆ เกิดขึ้นแก่มัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ :256)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَلَقَدۡ بَعَثۡنَا فِي كُلِّ أُمَّةٖ رَّسُولًا أَنِ ٱعۡبُدُواْ ٱللَّهَ وَٱجۡتَنِبُواْ ٱلطَّٰغُوتَۖ فَمِنۡهُم مَّنۡ هَدَى ٱللَّهُ وَمِنۡهُم مَّنۡ حَقَّتۡ عَلَيۡهِ ٱلضَّلَٰلَةُۚ فَسِيرُواْ فِي ٱلۡأَرۡضِ فَٱنظُرُواْ كَيۡفَ كَانَ عَٰقِبَةُ ٱلۡمُكَذِّبِينَ ٣٦ ﴾ [النحل: ٣٦]
ความว่า "และโดยแน่นอน เราได้ส่งศาสนทูตมาในทุกประชาชาติ (โดยให้พวกเขาเชิญชวนมนุษย์ว่า) พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ และจงหลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ด ดังนั้น ในหมู่ประชาชาติเหล่านั้นมีผู้ที่อัลลอฮฺทรงชี้แนะทางให้และในหมู่พวกเขามีผู้ที่ประสบกับการหลงผิด ฉะนั้น พวกเจ้าจงตระเวนไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่าบั้นปลายของผู้ปฏิเสธนั้นเป็นเช่นใด" (อัน-นะหฺลุ :36)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَغۡفِرُ أَن يُشۡرَكَ بِهِۦ وَيَغۡفِرُ مَا دُونَ ذَٰلِكَ لِمَن يَشَآءُۚ وَمَن يُشۡرِكۡ بِٱللَّهِ فَقَدۡ ضَلَّ ضَلَٰلَۢا بَعِيدًا ١١٦ ﴾ [النساء: ١١٦]
ความว่า "แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับพระองค์ แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้บาปอื่นๆ นอกจากสิ่งดังกล่าวสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดให้มีภาคีขึ้นแก่อัลลอฮฺแล้ว แน่นอน เขาก็ได้หลงทางไปแล้วอย่างไกลลิบ" (อัน-นิสาอ์ :116)
อิหม่ามมุหัมหมัด บิน อับดุลวะฮฺฮาบ กล่าวว่า “และคุณลักษณะของการปฏิเสธศรัทธาต่อบรรดาเจว็ดคือ การเชื่อมั่นว่าการภักดีต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺนั้นเป็นสิ่งที่โมฆะ ซึ่งต้องละเว้นการกระทำเช่นนั้น ตลอดจนต้องตักฟิรฺ (ตัดสินผู้กระทำเช่นนั้นเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา) และต้องเป็นปฏิปักษ์กับพวกเขาเหล่านั้น ส่วนความหมายของคำว่าศรัทธาต่ออัลลอฮฺนั้นคือ การเชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงเป็นที่เคารพสักการะโดยไม่มีสิ่งอื่นมาเทียบเคียงพระองค์ การแสดงความบริสุทธิ์ใจในการภักดีต่ออัลลอฮในทุกรูปแบบ ปฏิเสธการเคารพภักดีต่อสิ่งที่ถูกกราบไหว้อื่นๆ การแสดงความรักและความเป็นมิตรต่อผู้ที่บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ ตลอดจนกริ้วโกรธต่อผู้ที่ตั้งภาคีกับพระองค์และเป็นปฏิปักษ์กับพวกเขา ดังนี้คือแนวทางที่ท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ยึดถือ และผู้ใดหันเหจากหนทางนี้ถือว่าเป็นคนที่ทำให้ตัวเองเบาปัญญา”
และนี่คือเตาฮีด อัล-อิบาดะฮฺ (การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺในเชิงการภักดี) ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรดาศาสนทูตทั้งหลายต่างดำเนินการเชิญชวนประชาชาติของพวกเขา โดยกล่าวว่า
﴿ٱعۡبُدُواْ ٱللَّهَ مَا لَكُم مِّنۡ إِلَٰهٍ غَيۡرُهُۥٓ ﴾ [الأعراف: ٥٩]
ความว่า “จงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิดไม่มีผู้ได้รับการเคารพสักการะใด ๆ สำหรับพวกท่านอีกแล้วอื่นจากพระองค์” (อัล-อะอฺร็อฟ :59)
ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นประการแรกคือการปฏิเสธการตั้งภาคีในอิบาดะฮฺ(การภักดีต่ออัลลอฮฺ) และตัดเยื่อใยความผูกพันกับผู้ที่กระทำการตั้งภาคีกับพระองค์ ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสถึงนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ว่า
﴿وَإِذۡ قَالَ إِبۡرَٰهِيمُ لِأَبِيهِ وَقَوۡمِهِۦٓ إِنَّنِي بَرَآءٞ مِّمَّا تَعۡبُدُونَ ٢٦ إِلَّا ٱلَّذِي فَطَرَنِي فَإِنَّهُۥ سَيَهۡدِينِ ٢٧﴾ [الزخرف: ٢٦- ٢٧]
ความว่า "และจงรำลึกถึงเมื่ออิบรอฮีมได้กล่าวแก่บิดาของเขาและหมู่ชนของเขาว่า แท้จริงฉันขอปลีกตัวจากสิ่งที่พวกท่านเคารพภักดี นอกจาก (อัลลอฮฺ) ซึ่งทรงบังเกิดฉันเท่านั้น เพราะแท้จริงพระองค์จะทรงชี้แนะทางที่ถูกต้องแก่ฉัน" (อัซ-ซุครุฟ :26-27)
ดังนั้น จำเป็นที่ต้องตัดความสัมพันธ์จากการเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นที่ถูกกราบไหว้นอกจากอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿وَأَعۡتَزِلُكُمۡ وَمَا تَدۡعُونَ مِن دُونِ ٱللَّهِ﴾ [مريم: ٤٨]
ความว่า "และฉันจะปลีกตัวออกจากพวกท่านและสิ่งที่พวกท่านวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺ" (มัรยัม :48)
จำเป็นต้องหลีกห่างการตั้งภาคี และออกห่างจากผู้ที่ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺตลอดจนต้องประกาศตัดความเกี่ยวข้องจากทั้งสองประการ ดังที่อัลลอฮฺได้ยืนยันในอัลกุรอานว่า
﴿ قَدۡ كَانَتۡ لَكُمۡ أُسۡوَةٌ حَسَنَةٞ فِيٓ إِبۡرَٰهِيمَ وَٱلَّذِينَ مَعَهُۥٓ إِذۡ قَالُواْ لِقَوۡمِهِمۡ إِنَّا بُرَءَٰٓؤُاْ مِنكُمۡ وَمِمَّا تَعۡبُدُونَ مِن دُونِ ٱللَّهِ كَفَرۡنَا بِكُمۡ وَبَدَا بَيۡنَنَا وَبَيۡنَكُمُ ٱلۡعَدَٰوَةُ وَٱلۡبَغۡضَآءُ أَبَدًا حَتَّىٰ تُؤۡمِنُواْ بِٱللَّهِ وَحۡدَهُۥٓ ﴾ [الممتحنة: ٤]
ความว่า "แน่นอนได้มีแบบอย่างอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้วใน (ตัว) อิบรอฮีม และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เมื่อพวกเขากล่าวแก่หมู่ชนของพวกเขาว่า แท้จริงพวกเราขอปลีกตัวจากพวกท่านและสิ่งที่พวกท่านเคารพบูชาอื่นจากอัลลอฮฺ เราขอปฏิเสธศรัทธาต่อ (ศาสนาของ) พวกท่าน และการเป็นปฏิปักษ์และความโกรธระหว่างพวกเรากับพวกท่านได้ปรากฏขึ้นแล้ว (และจะคงอยู่) ตลอดไปจนกว่าพวกท่านจะศรัทธาต่ออัลลอฮฺองค์เดียว " (อัล-มุมตะหะนะฮฺ :4)
ประโยคที่ว่า “และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา” คือบรรดาศาสนทูต ตามทัศนะของอิบนุ ญะรีรฺ และโองการนี้ได้กำชับถึงการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ปฏิเสธการตั้งภาคี มอบความรักแก่ผู้ที่ให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ตลอดจนให้ตักฟีรฺ(ตัดสินว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา)แก่ผู้ที่ละทิ้งเตาฮีด(การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ)ด้วยการตั้งภาคีต่อพระองค์ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับเตาฮีด ดังนั้นผู้ที่ตั้งภาคีต่อพระองค์เท่ากับว่าเขาได้ละทิ้งเตาฮีดโดยปริยาย
“อัล-อุรวะฮฺ อัล-วุษกอ” หรือ ห่วงอันมั่นคง ก็คือ การกล่าวปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ ซึ่งสาระสำคัญของคำกล่าวนี้มีทั้งคำยืนยันและคำปฏิเสธ กล่าวคือปฏิเสธการเคารพภักดีทุกชนิดที่มีต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ และยืนยันการเคารพภักดีทุกชนิดต่ออัลลอฮฺเพียงองค์เท่านั้น โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ (หนังสือมัจญ์มูอะฮฺ อัต-เตาฮีด หน้า 11-14)
ท่านอิหม่ามมุหัมหมัด บิน อับดุลวะฮฺฮาบ ได้อธิบายในหนังสือของท่านถึงหลักการและกฎเกณฑ์ของศาสนาว่ามีสองประการ
ประการแรกคือ การบัญญัติให้เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺเพียงองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคี การกำชับถึงการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ การแสดงความรักต่อผู้มีเตาฮีด ตลอดจนการตักฟีรฺ(ชี้ว่าผู้ละทิ้งอเตาฮีดคือผู้ปฏิเสธศรัทธา) ส่วนหลักฐานในเรื่องนี้มีกล่าวมากมายในคัมภีร์อัลกุรอาน เช่นที่พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ قُلۡ يَٰٓأَهۡلَ ٱلۡكِتَٰبِ تَعَالَوۡاْ إِلَىٰ كَلِمَةٖ سَوَآءِۢ بَيۡنَنَا وَبَيۡنَكُمۡ أَلَّا نَعۡبُدَ إِلَّا ٱللَّهَ وَلَا نُشۡرِكَ بِهِۦ شَيۡٔٗا وَلَا يَتَّخِذَ بَعۡضُنَا بَعۡضًا أَرۡبَابٗا مِّن دُونِ ٱللَّهِۚ فَإِن تَوَلَّوۡاْ فَقُولُواْ ٱشۡهَدُواْ بِأَنَّا مُسۡلِمُونَ ٦٤ ﴾ [آل عمران: ٦٤]
ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า โอ้บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ ! จงมายังถ้อยคำหนึ่งซึ่งเท่าเทียมกัน ระหว่างเราและพวกท่าน คือว่า เราจะไม่เคารพสักการะนอกจากพระองค์อัลลอฮฺผู้เป็นเจ้าเท่านั้น และเราจะไม่ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และพวกเราบางคนก็จะไม่ยึดถืออีกบางคนเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮฺ แล้วหากพวกเขาผินหลังให้ ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเราเป็นบรรดามุสลิมผู้มอบตนต่ออัลลอฮฺแล้ว” (อาลิ อิมรอน :64)
อัลลอฮฺได้บัญชาให้ศาสนทูตของพระองค์เชิญชวนชาวคัมภีร์ (ยิวและคริสเตียน) สู่การเข้าใจความหมายของคำว่า “ลา อิลาฮฺ อิลลัลลอฮฺ” ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นคำเรียกร้องเช่นเดียวกับที่ใช้ในการเชิญชวนชาวอาหรับทั้งหลาย คำว่า “กะลิมะฮฺ” (ถ้อยคำ) ในที่นี้หมายถึงคำกล่าว “ลา อิลาฮฺ อิลลัลลอฮฺ” (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ) ซึ่งประโยคนี้พระองค์ได้อรรถาธิบายด้วยสำนวนว่า “เราจะไม่เคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น” ประโยคที่ว่า “เราจะไม่เคารพสักการะ” นั้นคือความหมายของคำว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะ” นั่นเอง เป็นการปฏิเสธการเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นทั้งปวงนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น ส่วนคำว่า “อิลลัลลอฮฺ” คือคำสันธานแสดงถึงการยกเว้น คือบัญชาให้เคารพภักดีต่อพระองค์เพียงพระองค์เดียวและปฏิเสธการภักดีต่อสิ่งอื่นจากพระองค์
เนื่องจากสองประการนี้คือสิ่งที่ตรงกันข้าม เพราะ ณ ที่ใดมีการตั้งภาคี ณ ที่นั้นจะปราศจากการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ (อัต-เตาฮีด)ทันที พระองค์ได้กล่าวถึงผู้ที่ตั้งภาคีต่อพระองค์ในอัลกุรอานว่า
﴿ ۞وَإِذَا مَسَّ ٱلۡإِنسَٰنَ ضُرّٞ دَعَا رَبَّهُۥ مُنِيبًا إِلَيۡهِ ثُمَّ إِذَا خَوَّلَهُۥ نِعۡمَةٗ مِّنۡهُ نَسِيَ مَا كَانَ يَدۡعُوٓاْ إِلَيۡهِ مِن قَبۡلُ وَجَعَلَ لِلَّهِ أَندَادٗا لِّيُضِلَّ عَن سَبِيلِهِۦۚ قُلۡ تَمَتَّعۡ بِكُفۡرِكَ قَلِيلًا إِنَّكَ مِنۡ أَصۡحَٰبِ ٱلنَّارِ ٨ ﴾ [الزمر: ٨]
ความว่า “และเมื่อทุกข์ภัยใด ๆ ประสบแก่มนุษย์ เขาก็จะวิงวอนขอต่อพระเจ้าของเขาเป็นผู้หันหน้าเข้าสู่พระองค์อย่างนอบน้อม ครั้นเมื่อพระองค์ทรงประทานความโปรดปรานจากพระองค์ให้แก่เขา เขาก็ลืมสิ่งที่เขาได้เคยวิงวอนขอต่อพระองค์มาแต่ก่อน และเขาได้ตั้งภาคีคู่เคียงกับอัลลอฮฺเพื่อให้หลงจากทางของอัลลอฮฺ จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) ท่านจงร่าเริงเพียงระยะหนึ่งต่อการปฏิเสธของท่านเถิด แท้จริงท่านนั้นอยู่ในหมู่ชาวนรก” (อัซ-ซุมัรฺ :8)
โองการข้างต้น อัลลอฮฺได้ระบุว่าบุคคลดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เนื่องจากเขาได้ตั้งภาคีกับพระองค์ในการเคารพภักดี โองการของพระองค์เฉกเช่นทำนองนี้มีกล่าวมากมายในอัลกุรอาน ดังนั้น คนหนึ่งคนใดจะไม่ถือว่าเขาเป็นมุวัฮฮิด (ผู้ที่ให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺอย่างสมบูรณ์) เว้นเสียแต่เขาได้ปฏิเสธและตัดความสัมพันธ์กับการตั้งภาคีในทุกรูปแบบ และตักฟีรฺ(ตัดสินว่าผู้ที่กระทำการเช่นนั้นเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา)
ประการที่สอง คือ การเตือนให้ระวังจากการตั้งภาคีต่อัลลอฮฺ การกำชับและประกาศความเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งนั้น ตลอดจนการตัดสินว่าผู้ที่กระทำการตั้งภาคีนั้นเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา การมอบความเอกภาพแด่อัลลอฮฺจะไม่สมบูรณ์นอกเสียจากต้องมีปัจจัยเหล่านี้เสียก่อน ซึ่งเป็นหลักคำสอนของศาสนาที่บรรดาศาสนทูตทั้งหลายต่างเฝ้าระวังประชาชาติของท่านจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَمَآ أَرۡسَلۡنَا مِن قَبۡلِكَ مِن رَّسُولٍ إِلَّا نُوحِيٓ إِلَيۡهِ أَنَّهُۥ لَآ إِلَٰهَ إِلَّآ أَنَا۠ فَٱعۡبُدُونِ ٢٥ ﴾ [الأنبياء: ٢٥]
ความว่า “และเรามิได้ส่งศาสนทูตคนใดก่อนหน้าเจ้านอกจากเราได้ประทานวะฮีย์(วิวรณ์)แก่เขาว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้าเท่านั้น” (อัล-อันบิยาอ์ :25)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ ۞وَٱذۡكُرۡ أَخَا عَادٍ إِذۡ أَنذَرَ قَوۡمَهُۥ بِٱلۡأَحۡقَافِ وَقَدۡ خَلَتِ ٱلنُّذُرُ مِنۢ بَيۡنِ يَدَيۡهِ وَمِنۡ خَلۡفِهِۦٓ أَلَّا تَعۡبُدُوٓاْ إِلَّا ٱللَّهَ إِنِّيٓ أَخَافُ عَلَيۡكُمۡ عَذَابَ يَوۡمٍ عَظِيمٖ ٢١ ﴾ [الأحقاف: ٢١]
ความว่า “จงรำลึกถึง (ฮูด) พี่น้องคนหนึ่งของพวกอ๊าด ขณะที่เขากล่าวเตือนหมู่ชนของเขาที่เนินเขา อัล-อะหฺก๊อฟ และแน่นอน บรรดาผู้ตักเตือน (ศาสนทูต) ก่อนหน้าเขาและภายหลังเขา (ได้กล่าวตักเตือนว่า) พวกท่านอย่าเคารพอิบาดะฮฺผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ แท้จริง ฉันกลัวแทนพวกท่านถึงการลงโทษแห่งวันอันยิ่งใหญ่” (อัล-อะหฺกอฟ :21)
การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ เป็นสิ่งลบล้างการงาน ความดีงามต่างๆ ที่กระทำมาไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ และอัลลอฮฺจะไม่รับการงานของผู้กระทำการตั้งภาคีไม่ว่าจะเป็นการงานที่เป็นฟัรฎูหรือสุนัต
พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَقَدِمۡنَآ إِلَىٰ مَا عَمِلُواْ مِنۡ عَمَلٖ فَجَعَلۡنَٰهُ هَبَآءٗ مَّنثُورًا ٢٣ ﴾ [الفرقان: ٢٢]
ความว่า “และเรามุ่งสู่ส่วนหนึ่งของการงานที่พวกเขาได้ปฏิบัติไป แล้วเราจะทำให้มันไร้คุณค่ากลายเป็นละอองฝุ่นที่ปลิวว่อน” (อัล-ฟุรกอน :23)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَلَقَدۡ أُوحِيَ إِلَيۡكَ وَإِلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكَ لَئِنۡ أَشۡرَكۡتَ لَيَحۡبَطَنَّ عَمَلُكَ وَلَتَكُونَنَّ مِنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ ٦٥ ﴾ [الزمر: ٦٥]
ความว่า “และโดยแน่นอน ได้มีวิวรณ์มายังเจ้า (มุหัมมัด) และมายังบรรดาศาสนทูตก่อนหน้าเจ้าว่า หากเจ้าตั้งภาคี (กับอัลลอฮฺ) แน่นอนการงานของเจ้าก็จะไร้ผล และแน่นอนเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (อัซ-ซุมัร :65)
และพระองค์ตรัสถึงบรรดาศาสนทูตและบุคคลที่พระองค์ทรงโปรดว่า
﴿ ذَٰلِكَ هُدَى ٱللَّهِ يَهۡدِي بِهِۦ مَن يَشَآءُ مِنۡ عِبَادِهِۦۚ وَلَوۡ أَشۡرَكُواْ لَحَبِطَ عَنۡهُم مَّا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٨٨ ﴾ [الأنعام: ٨٨]
ความว่า “นั่นแหละคือ คำแนะนำของอัลลอฮฺ โดยที่พระองค์จะทรงแนะนำผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์ด้วยคำแนะนำนั้น และหากพวกเขาได้ให้มีการตั้งภาคีขึ้นมาแล้วไซร้ แน่นอนสิ่งที่พวกเขาเคยกระทำกันมา ก็สูญสิ้นไปจากพวกเขา” (อัล-อันอาม : 88)
สิ่งหนึ่งที่ทำเราสลดใจเป็นอย่างยิ่ง คือการที่พวกปฏิเสธศรัทธาได้ใช้ช่องทางเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อเชิญชวนและสร้างความคลางแคลงใจให้แก่ชาวมุสลิมผู้ศรัทธาต่อศาสนาที่เขายึดมั่น โดยใช้เล่ห์กลต่างๆ เพื่อให้ชาวมุสลิมสลัดตัวเองจากอิสลาม ดังนั้น พึงระวังจากภัยอันตรายของสิ่งนี้ และยังมีภัยอันตรายอื่นอีกมากมายซึ่งเราไม่สามารถที่จะปกป้องตนเองให้หลุดพ้นไปได้นอกจากจะต้องยึดมั่นกับหลักเตาฮีดอย่างแรงกล้าตามที่เราได้กล่าวมาแล้ว ต้องรู้จักว่าสิ่งใดคือการตั้งภาคี และสิ่งใดคือการปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ พร้อมทั้งพยายามหลีกห่างจากสิ่งเหล่านั้น ตลอดจนตัดความสัมพันธ์กับผู้ประพฤติตนเช่นนั้น
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และการประสาทพรและความศานติจงประสพแด่ท่านนบีมุหัมมัด ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่านด้วยเทอญ
والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.