สาเหตุแห่งชัยชนะเหนือศัตรู
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
สาเหตุแห่งชัยชนะเหนือศัตรู
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2012 - 1433
﴿أسباب النصر على الأعداء﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่องที่ 143
สาเหตุแห่งชัยชนะเหนือศัตรู
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่าน ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่า มุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
แท้จริงแล้วดุนยาสำหรับมุอ์มินนั้นเปรียบเสมือนโลกแห่งการทดสอบ ซึ่งแน่นอนว่าการทดสอบนั้นก็จะต้องมีทั้งเรื่องดีและเรื่องที่ไม่ดี และมีทั้งทุกข์และสุข อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿وَنَبۡلُوكُم بِٱلشَّرِّ وَٱلۡخَيۡرِ فِتۡنَةٗۖ وَإِلَيۡنَا تُرۡجَعُونَ ٣٥﴾ [الأنبياء: ٣٥]
ความว่า “และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความชั่วและความดี และพวกเจ้าจะต้องกลับไปหาเราอย่างแน่นอน” (อัล-อัมบิยาอ์ : 35)
และตรัสอีกว่า
﴿ إِن يَمۡسَسۡكُمۡ قَرۡحٞ فَقَدۡ مَسَّ ٱلۡقَوۡمَ قَرۡحٞ مِّثۡلُهُۥۚ وَتِلۡكَ ٱلۡأَيَّامُ نُدَاوِلُهَا بَيۡنَ ٱلنَّاسِ ١٤٠ ﴾ [آل عمران: ١٤٠]
ความว่า “หากประสบแก่พวกเจ้าซึ่งบาดแผลหนึ่งบาดแผลใด แน่นอนก็ย่อมประสบแก่พวกนั้นซึ่งบาดแผลเยี่ยงเดียวกัน และบรรดาวันเหล่านั้นเราได้ให้มันหมุนเวียนไประหว่างมนุษย์” (อาละอิมรอน : 140)
อิบนุกะษีรได้อธิบายขยายความว่า: "หมายถึง ถ้าหากบุคคลใดในหมู่พวกเจ้าต้องถูกทำร้ายหรือถูกฆ่าตาย แท้จริงแล้วบรรดาศัตรูของพวกเจ้าก็ถูกฆ่าตายหรือถูกทำร้ายเช่นเดียวกัน และในบางช่วงเวลาเราอาจจะให้ศัตรูของพวกเจ้ามีชัยชนะเหนือพวกเจ้า แม้ว่าในท้ายที่สุดแล้วพวกเจ้าจะเป็นผู้ชนะที่แท้จริง ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลที่เรารู้ดียิ่ง" (จากตัฟสีรอิบนุกะษีรฺ เล่ม 1 หน้า 408)
ความเป็นปฏิปักษ์ของเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อบรรดามุอ์มินผู้ศรัทธานั้นเป็นสิ่งที่มีมาช้านานและจะไปเป็นตราบชั่วนิรันดร ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَلَا يَزَالُونَ يُقَٰتِلُونَكُمۡ حَتَّىٰ يَرُدُّوكُمۡ عَن دِينِكُمۡ إِنِ ٱسۡتَطَٰعُواْۚ ٢١٧ ﴾ [البقرة: ٢١٧]
ความว่า “และพวกเขาจะยังคงต่อสู้ประหัตประหารพวกเจ้าต่อไป จนกว่าพวกเขาจะทำให้พวกเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของพวกเจ้า หากพวกเขาสามารถ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 217)
และตรัสอีกว่า
﴿لَا يَرۡقُبُونَ فِي مُؤۡمِنٍ إِلّٗا وَلَا ذِمَّةٗۚ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُعۡتَدُونَ ١٠﴾ [التوبة: ١٠]
ความว่า “พวกเขาจะไม่คำนึงถึงความเป็นเครือญาติหรือพันธะสัญญาต่อผู้ศรัทธาคนหนึ่งคนใด และชนเหล่านี้แหละคือพวกผู้ละเมิด” (อัตเตาบะฮฺ: 10)
ซึ่งการจะมีชัยชนะเหนือศัตรูได้นั้น มีปัจจัยและสาเหตุมากมายหลายประการ นั่นก็คือ
ข้อแรก: การศรัทธาในพระองค์อัลลอฮฺ ตะอาลา และหมั่นทำความดี อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ إِنَّا لَنَنصُرُ رُسُلَنَا وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ فِي ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا وَيَوۡمَ يَقُومُ ٱلۡأَشۡهَٰدُ ٥١ ﴾ [غافر: ٥١]
ความว่า “แท้จริงเราจะช่วยเหลือบรรดาเราะสูลของเรา และบรรดาผู้ศรัทธาอย่างแน่นอน ทั้งในชีวิตแห่งโลกนี้ และวันซึ่งบรรดาพยานจะยืนขึ้นเป็นพยาน” (ฆอฟิร : 51)
และตรัสอีกว่า
﴿ وَكَانَ حَقًّا عَلَيۡنَا نَصۡرُ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ ٤٧ ﴾ [الروم: ٤٧]
ความว่า “และหน้าที่ของเราคือการช่วยเหลือบรรดาผู้ศรัทธา” (อัรรูม: 47)
ซึ่งบรรดามุอ์มินที่ได้รับสัญญาแห่งชัยชนะนั้น คือผู้ที่มีคุณลักษณะดังเช่นที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ إِنَّمَا ٱلۡمُؤۡمِنُونَ ٱلَّذِينَ إِذَا ذُكِرَ ٱللَّهُ وَجِلَتۡ قُلُوبُهُمۡ وَإِذَا تُلِيَتۡ عَلَيۡهِمۡ ءَايَٰتُهُۥ زَادَتۡهُمۡ إِيمَٰنٗا وَعَلَىٰ رَبِّهِمۡ يَتَوَكَّلُونَ ٢ ٱلَّذِينَ يُقِيمُونَ ٱلصَّلَوٰةَ وَمِمَّا رَزَقۡنَٰهُمۡ يُنفِقُونَ ٣﴾ [الأنفال: ٣ -٢]
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้น คือผู้ที่เมื่ออัลลอฮฺถูกกล่าวขึ้นแล้วหัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา โองการเหล่านั้นก็เพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา และแด่พระเจ้าของพวกเขานั้นพวกเขามอบหมายกัน พวกเขาคือบรรดาผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาพวกเขาก็บริจาค” (อัล-อันฟาล: 2-3)
และตรัสว่า
﴿وَعَدَ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مِنكُمۡ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ لَيَسۡتَخۡلِفَنَّهُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ كَمَا ٱسۡتَخۡلَفَ ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِهِمۡ وَلَيُمَكِّنَنَّ لَهُمۡ دِينَهُمُ ٱلَّذِي ٱرۡتَضَىٰ لَهُمۡ وَلَيُبَدِّلَنَّهُم مِّنۢ بَعۡدِ خَوۡفِهِمۡ أَمۡنٗاۚ يَعۡبُدُونَنِي لَا يُشۡرِكُونَ بِي شَيۡٔٗاۚ وَمَن كَفَرَ بَعۡدَ ذَٰلِكَ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡفَٰسِقُونَ ٥٥ ﴾ [النور : ٥٥]
ความว่า “อัลลอฮฺทรงสัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้าและบรรดาผู้กระทำความดีทั้งหลายว่า แน่นอนพระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงในแผ่นดิน เสมือนดังที่พระองค์ทรงให้บรรดาชนก่อนพวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงมาก่อนแล้ว และพระองค์จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขาซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานเป็นที่มั่นคงเป็นเกียรติแก่พวกเขา และแน่นอนพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาได้รับความปลอดภัยหลังจากความกลัวของพวกเขา โดยที่พวกเขาจะต้องเคารพภักดีข้าไม่ตั้งภาคีอื่นใดต่อข้า และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาหลังจากนั้น ชนเหล่านั้นคือผู้ฝ่าฝืน” (อันนูร : 55)
ข้อที่สอง: ความบริสุทธิ์ใจและความเชื่อมั่นในชัยชนะของศาสนาแห่งพระองค์อัลลอฮฺ ตะอาลา พระองค์ได้ตรัสว่า
﴿ وَلَيَنصُرَنَّ ٱللَّهُ مَن يَنصُرُهُۥٓۚ إِنَّ ٱللَّهَ لَقَوِيٌّ عَزِيزٌ ٤٠ ٱلَّذِينَ إِن مَّكَّنَّٰهُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ أَقَامُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتَوُاْ ٱلزَّكَوٰةَ وَأَمَرُواْ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَنَهَوۡاْ عَنِ ٱلۡمُنكَرِۗ وَلِلَّهِ عَٰقِبَةُ ٱلۡأُمُورِ ٤١ ﴾ [الحج : ٤١ -٤٠]
ความว่า “และแน่นอน อัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือผู้ที่สนับสนุนศาสนาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงเดชานุภาพอย่างแท้จริง บรรดาผู้ที่หากเราให้พวกเขามีอำนาจในแผ่นดินพวกเขาจะดำรงการละหมาดและบริจาคซะกาต และกำชับใช้ให้กระทำความดี และห้ามปรามให้ละเว้นความชั่ว และบั้นปลายของกิจการทั้งหลายย่อมกลับไปหาอัลลอฮฺ” (อัล-ฮัจญฺ : 40-41)
และตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِن تَنصُرُواْ ٱللَّهَ يَنصُرۡكُمۡ وَيُثَبِّتۡ أَقۡدَامَكُمۡ ٧ ﴾ [محمد : ٧]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย หากพวกเจ้าสนับสนุนอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงสนับสนุนพวกเจ้าและจะทรงตรึงเท้าของพวกเจ้าให้มั่นคง” (มุหัมมัด : 7)
ข้อที่สาม: การมอบหมายการงานทุกอย่างต่ออัลลอฮฺ พระองค์ตรัสว่า
﴿ إِن يَنصُرۡكُمُ ٱللَّهُ فَلَا غَالِبَ لَكُمۡۖ وَإِن يَخۡذُلۡكُمۡ فَمَن ذَا ٱلَّذِي يَنصُرُكُم مِّنۢ بَعۡدِهِۦۗ وَعَلَى ٱللَّهِ فَلۡيَتَوَكَّلِ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ ١٦٠ ﴾ [آل عمران: ١٦٠]
ความว่า “หากว่าอัลลอฮฺทรงช่วยเหลือพวกเจ้า ก็ไม่มีผู้ใดเอาชนะพวกเจ้าได้ และหากพระองค์ทรงทอดทิ้งพวกเจ้าแล้ว ผู้ใดเล่าจะช่วยเหลือพวกเจ้าได้โดยปราศจากพระองค์ และแด่อัลลอฮฺนั้นผู้ศรัทธาทั้งหลายจงมอบหมายเถิด” (อาละอิมรอน: 160)
และตรัสว่า
﴿ قُل لَّن يُصِيبَنَآ إِلَّا مَا كَتَبَ ٱللَّهُ لَنَا هُوَ مَوۡلَىٰنَاۚ وَعَلَى ٱللَّهِ فَلۡيَتَوَكَّلِ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ ٥١ ﴾ [التوبة: ٥١]
ความว่า “จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า จะไม่ประสบแก่เราเป็นอันขาด นอกจากสิ่งที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้แก่เราเท่านั้น พระองค์เป็นผู้คุ้มครองเรา และแด่อัลลอฮฺนั้นมุอ์มินทั้งหลายจงมอบหมายเถิด” (อัตเตาบะฮฺ : 51)
อิมามอัล-บุคอรียฺบันทึกในหนังสือเศาะหีหฺของท่าน จาก อบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«تَكَفَّلَ اللهُ لِمَنْ جَاهَدَ فِي سَبِيْلِهِ لا يُخْرِجُهُ إِلا الجِهَادُ في سَبِيْلِهِ، وَتَصْدِيْقُ كَلِمَاتِهِ بَأَنْ يُدْخِلَهُ الجَنَّةَ، أَوْ يُرْجِعَهُ إلى مَسْكَنِهِ الذِي خَرَجَ مِنْهُ مَعَ ما نَالَ مِنْ أَجْرٍ أَوْ غَنِيْمَةٍ» [البخاري برقم 3123]
ความว่า “ แท้จริงอัลลอฮฺทรงให้คำมั่นสัญญาต่อผู้ที่ต่อสู้ญิฮาดในหนทางของพระองค์ โดยที่เขามิได้ออกจากบ้านไปเพื่อเหตุผลอื่นใดนอกจากเพื่อการญิฮาดและด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาในบัญชาแห่งพระองค์ ว่าจะทรงให้เขาผู้นั้นได้เข้าสรวงสวรรค์ หรือให้เขาได้กลับไปยังบ้านของเขาพร้อมกับผลบุญหรือทรัพย์สินที่ได้จากสงคราม" (อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 3123)
ข้อที่สี่: การยืนหยัดอย่างหนักแน่นมั่นคงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับข้าศึกศัตรู อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا لَقِيتُمۡ فِئَةٗ فَٱثۡبُتُواْ وَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ كَثِيرٗا لَّعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٤٥ ﴾ [الأنفال: ٤٥]
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้าพบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็จงยืนหยัดเถิด และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺมากๆเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (อัล-อันฟาล : 45)
อิมามอัล-บุคอรียฺ และอิมามมุสลิม ได้บันทึกรายงานหะดีษ จากอับดุลลอฮฺ บิน อบีเอาฟา เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَيُّهَا النَاسُ ، لا تَتَمَنَّوا لِقَاءَ العَدُوِّ ، وَسَلُوْا اللهَ العَافِيَةَ ، فَإِذَا لَقِيْتُمُوْهُمْ فَاصْبِرُوا ، وَاعْلَمُوا أَنَّ الجَنَّةَ تَحْتَ ظِلالِ السُيُوْفِ» [البخاري برقم 2966، ومسلم برقم 1742]
ความว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงอย่าวิงวอนให้พบเจอกับข้าศึกศัตรู และจงขอต่ออัลลอฮฺให้มีความปลอดภัย แต่เมื่อใดที่พวกท่านต้องเผชิญหน้ากับข้าศึกศัตรูก็จงอดทน และพึงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงแล้วสรวงสวรรค์นั้นอยู่ใต้ร่มเงาแห่งคมดาบ” (อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 2966 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1742)
ข้อที่ห้า: มีความกล้าหาญ และไม่ถอยหนีเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู และตระหนักมั่นใจว่าความตายนั้นได้ถูกกำหนดไว้แล้ว อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงกล่าวถึงพวกมุนาฟิกีนว่า
﴿ يَقُولُونَ لَوۡ كَانَ لَنَا مِنَ ٱلۡأَمۡرِ شَيۡءٞ مَّا قُتِلۡنَا هَٰهُنَاۗ قُل لَّوۡ كُنتُمۡ فِي بُيُوتِكُمۡ لَبَرَزَ ٱلَّذِينَ كُتِبَ عَلَيۡهِمُ ٱلۡقَتۡلُ إِلَىٰ مَضَاجِعِهِمۡۖ ١٥٤ ﴾ [آل عمران: ١٥٤]
ความว่า “พวกเขากล่าวว่า หากว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากกิจการนั้นเป็นสิทธิของเราแล้วไซร้ พวกเราก็ไม่ถูกฆ่าตายที่นี่ จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า แม้ว่าพวกท่านอยู่ในบ้านของพวกท่านก็ตาม แน่นอนบรรดาผู้ที่การฆ่าได้ถูกกำหนดแก่พวกเขา ก็จะออกไปสู่ที่นอนตายของพวกเขา” (อาละอิมรอน : 154)
กวีท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า
تأخرت أستبق الحياة فلم أجد
لنفسي حياة مثل أن أتقدما
ฉันถอยด้วยหวังจะยื้อชีวิตไว้แต่กลับพบว่า
การมีชีวิตอยู่ที่แท้จริงคือการพุ่งไปข้างหน้า
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ และมีหัวใจที่เด็ดเดี่ยวแข็งแกร่งที่สุดในยามที่ต้องเผชิญหน้ากับข้าศึกศัตรู จากรายงานที่บันทึกโดยอิมามมุสลิมในเศาะหีหฺของท่าน อัล-บะรออ์ บิน อาซิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ในยามที่สมรภูมิปะทุดุเดือด พวกเราแทบจะหลบอยู่ข้างหลังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และคนที่ถือว่าเป็นผู้แกร่งกล้าในหมู่พวกเราก็คือคนที่สู้รบอยู่ในแนวเดียวกับท่าน" (มุสลิม หะดีษเลขที่ 1776)
ข้อที่หก: การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และวิงวอนขอดุอาอ์ให้มาก พระองค์ ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا لَقِيتُمۡ فِئَةٗ فَٱثۡبُتُواْ وَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ كَثِيرٗا لَّعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٤٥ ﴾ [الأنفال: ٤٥]
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้าพบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็จงยืนหยัดเถิด และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺมากๆเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (อัล-อันฟาล : 45)
และตรัสอีกว่า
﴿ إِذۡ تَسۡتَغِيثُونَ رَبَّكُمۡ فَٱسۡتَجَابَ لَكُمۡ أَنِّي مُمِدُّكُم بِأَلۡفٖ مِّنَ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ مُرۡدِفِينَ ٩ ﴾ [الأنفال: ٩]
ความว่า “จงรำลึกขณะที่พวกเจ้าขอความช่วยเหลือยามคับขันต่อพระเจ้าของพวกเจ้า แล้วพระองค์ก็ได้ทรงรับสนองแก่พวกเจ้าว่า แท้จริงข้าจะช่วยพวกเจ้าด้วยมลาอิกะฮฺหนึ่งพันตนซึ่งจะทยอยกันลงมา” (อัล-อันฟาล : 9)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็ได้วิงวอนขอดุอาอ์และขอความช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺในทุกๆศึกสงคราม เช่น ในสงครามบัดรฺและสงครามอื่นๆ ส่วนหนึ่งจากดุอาอ์ของท่านก็เช่น
«اللهم مُنْزِلَ الكِتَابِ، وَمُجْرِيَ السَحَابِ، وَهَازِمَ الأَحْزَابِ، اهْزِمْهُم وَانْصُرْنَا عَلَيْهِم» [مسلم برقم 1742]
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺผู้ทรงประทานอัลกุรอาน ผู้ทรงทำให้ก้อนเมฆเคลื่อนไหว ผู้ทรงทำให้บรรดาข้าศึกศัตรูพ่ายแพ้ ขอพระองค์ทรงให้ความพ่ายแพ้จงประสบแก่ศัตรูของข้าพระองค์ และให้พวกเราได้รับชัยชนะเหนือพวกเขาด้วยเถิด” (มุสลิม หะดีษเลขที่ 1742)
ข้อที่เจ็ด: ต้องเชื่อฟังพระองค์อัลลอฮฺ และเราะสูล และพึงระวังการฝ่าฝืนและแตกแยก อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَأَطِيعُواْ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ وَلَا تَنَٰزَعُواْ فَتَفۡشَلُواْ وَتَذۡهَبَ رِيحُكُمۡۖ وَٱصۡبِرُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ مَعَ ٱلصَّٰبِرِينَ ٤٦ ﴾ [الأنفال: ٤٦]
ความว่า “และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เถิด และจงอย่าขัดแย้งกัน มิเช่นพวกเจ้าจะล้มเหลว และความเข้มแข็งของพวกเจ้าจะหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับบรรดาผู้ที่มีความอดทน” (อัล-อันฟาล : 46)
อิมามอะหฺมัดบันทึกในมุสนัดของท่าน จากท่านอิบนุ อุมัร เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«بُعِثْتُ بَيْنَ يَدَيِ السَاعَةِ بِالسَيْفِ ، حَتَّى يُعْبَدَ اللهُ وَحْدَهُ لا شَرِيْكَ لَهُ ، وَجُعِلَ رِزْقِيْ تَحْتَ ظِلِّ رُمْحِي ، وَجُعِلَ الذُلُّ وَالصَغَارُ على مَنْ خَالَفَ أَمْرِيْ ، وَمَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُم» [أحمد في المسند 9/123 برقم 5114]
ความว่า “ฉันถูกส่งมาก่อนวันสิ้นโลกด้วยคมดาบ กระทั่งอัลลอฮฺได้รับการเคารพสักการะเพียงพระองค์เดียวโดยปราศจากภาคีอื่นใด และริสกีของฉันอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งคมหอกของฉัน ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งและแนวทางของฉันย่อมประสบกับความต่ำต้อยด้อยค่า และผู้ใดเลียนแบบกลุ่มชนใดเขาก็คือคนหนึ่งจากกลุ่มชนนั้น” (หะดีษเลขที่ 5114)
ข้อที่แปด: จำเป็นที่จะต้องเชื่อฟังผู้นำ และพึงระวังการขัดขืนคำสั่งผู้นำ ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ أَطَاعَنِيْ فَقَدْ أَطَاعَ اللهُ ، وَمَنْ عَصَانِي فَقَدْ عَصَى اللهُ ، وَمَنْ أَطاعَ أَمِيْرِيْ فَقَدْ أطاعَنِي ، وَمَنْ عَصَى أَمِيْرِي فَقَدْ عَصَاني» [البخاري برقم 7137، ومسلم برقم 1835]
ความว่า “ผู้ใดเชื่อฟังฉัน แน่นอนเขาคือผู้ที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งฉัน เขาคือผู้ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และผู้ใดเชื่อฟังผู้นำที่ฉันแต่งตั้ง แน่นอนเขาคือผู้ที่เชื่อฟังฉัน และผู้ใดที่ฝ่าฝืนผู้นำที่ฉันแต่งตั้ง เขาคือผู้ที่ฝ่าฝืนฉัน” (อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 7137 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1835)
ข้อที่เก้า: การอดทนต่ออุปสรรคความยากเข็ญในการทำสงคราม โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรู อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱصۡبِرُواْ وَصَابِرُواْ وَرَابِطُواْ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٢٠٠ ﴾ [آل عمران: ٢٠٠]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงมีความอดทน และจงต่างอดทนซึ่งกันและกันเถิด และจงประจำอยู่ชายแดน และพึงกลัวเกรงอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (อาละอิมรอน : 200)
และตรัสอีกว่า
﴿ وَكَأَيِّن مِّن نَّبِيّٖ قَٰتَلَ مَعَهُۥ رِبِّيُّونَ كَثِيرٞ فَمَا وَهَنُواْ لِمَآ أَصَابَهُمۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَمَا ضَعُفُواْ وَمَا ٱسۡتَكَانُواْۗ وَٱللَّهُ يُحِبُّ ٱلصَّٰبِرِينَ ١٤٦﴾ [آل عمران: ١٤٦]
ความว่า “และนบีกี่มากน้อยแล้ว ที่กลุ่มชนอันมากมายได้ต่อสู้ร่วมกับเขา แล้วพวกเขาหาได้ท้อแท้ไม่ต่อสิ่งที่ได้ประสบแก่พวกเขาในทางของอัลลอฮฺ และพวกเขาหาได้อ่อนกำลังลงและหาได้สยบไม่ และอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้ที่อดทนทั้งหลาย” (อาละอิมรอน : 146)
ท่านอิบนุ อับบาส เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวกับท่านว่า
«وَاعْلَم أَنَّ فِي الصَبْرِ عَلى مَا تَكْرَهُ خَيْراً كَثِيْراً ، وَأَنَّ النَصْرَ مَعَ الصَبْرِ ، وَأَنَّ الفَرَجَ مَعَ الكرْبِ ، وَأَنَّ مَعَ العُسْرِ يُسْراً» [أحمد في المسند 5/19 برقم 2803، وقال محققه : حديث صحيح]
ความว่า “จงรู้ไว้เถิดว่าแท้จริงแล้วการอดทนต่อสิ่งที่ท่านรังเกียจนั้นจะนำมาซึ่งความดีอันใหญ่หลวง และชัยชนะนั้นจะมาพร้อมกับความอดทน และเมื่อมีปัญหาก็ย่อมมีทางออก และภายหลังความยากลำบากย่อมมีความง่าย” (อะหฺมัด หะดีษเลขที่ 2803)
ข้อที่สิบ: การอิคลาศบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ ทั้งนี้ ผู้ที่ต่อสู้ทำสงครามนั้นจะไม่ถือว่าเป็นผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของพระองค์อย่างแท้จริงหากปราศจากความบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَكَأَيِّن مِّن نَّبِيّٖ قَٰتَلَ مَعَهُۥ رِبِّيُّونَ كَثِيرٞ فَمَا وَهَنُواْ لِمَآ أَصَابَهُمۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَمَا ضَعُفُواْ وَمَا ٱسۡتَكَانُواْۗ وَٱللَّهُ يُحِبُّ ٱلصَّٰبِرِينَ ١٤٦﴾ [آل عمران: ١٤٦]
ความว่า “และนบีกี่มากน้อยแล้วที่กลุ่มชนอันมากมายได้ต่อสู้ร่วมกับเขา แล้วพวกเขาหาได้ท้อแท้ไม่ต่อสิ่งที่ได้ประสบแก่พวกเขาในทางของอัลลอฮฺ และพวกเขาหาได้อ่อนกำลังลงและหาได้สยบไม่ และอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้ที่อดทนทั้งหลาย” (อาละอิมรอน : 146)
ท่านอบูมูซา อัล-อัชอะรียฺ เล่าว่า : มีผู้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงชายคนหนึ่งที่ต่อสู้โดยหวังในทรัพย์สินที่จะได้จากสงคราม อีกคนหนึ่งต่อสู้เพื่อให้ตนเป็นที่โจษขาน และอีกคนหนึ่งต่อสู้เพื่อให้ผู้คนเห็นถึงความแกร่งกล้าของเขา ผู้ใดเล่าคือผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ? ท่านตอบว่า
«مَنْ قَاتَلَ لَتَكُونَ كَلِمَةُ اللهِ هِيَ العُلْيَا فَهُوَ في سَبِيْلِ اللهِ» [البخاي برقم 2810، ومسلم برقم 1904]
ความว่า “ผู้ที่ต่อสู้เพื่อเชิดชูศาสนาแห่งพระองค์อัลลอฮฺให้สูงส่ง เขาผู้นั้นคือผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของพระองค์” (อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 2810 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1904)
ข้อสุดท้าย: จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَأَعِدُّواْ لَهُم مَّا ٱسۡتَطَعۡتُم مِّن قُوَّةٖ وَمِن رِّبَاطِ ٱلۡخَيۡلِ تُرۡهِبُونَ بِهِۦ عَدُوَّ ٱللَّهِ وَعَدُوَّكُمۡ وَءَاخَرِينَ مِن دُونِهِمۡ لَا تَعۡلَمُونَهُمُ ٱللَّهُ يَعۡلَمُهُمۡۚ وَمَا تُنفِقُواْ مِن شَيۡءٖ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ يُوَفَّ إِلَيۡكُمۡ وَأَنتُمۡ لَا تُظۡلَمُونَ ٦٠ ﴾ [الأنفال: ٦٠]
ความว่า “และพวกเจ้าจงเตรียมไว้สำหรับพวกเขาซึ่งสิ่งที่พวกเจ้าสามารถ อันได้แก่กำลังอย่างหนึ่งอย่างใด และการผูกม้าไว้ เพื่อที่พวกเจ้าจะทำให้ศัตรูของอัลลอฮฺและศัตรูของพวกเจ้าหวั่นเกรงด้วย และพวกอื่นๆนอกจากพวกเขา ซึ่งพวกเจ่ายังไม่รู้จักพวกเขา แต่อัลลอฮฺทรงรู้จักพวกเขาดี และสิ่งที่พวกเจ้าบริจาคในทางของอัลลอฮฺนั้นไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นจะถูกตอบแทนแก่พวกเจ้าโดยครบถ้วนโดยที่พวกเจ้าจะไม่ถูกอธรรม” (อัล-อันฟาล : 60)
ท่านอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวขณะที่ท่านยืนอยู่บนมิมบัรฺว่า:
«وَأَعِدُّوا لَهُم مَا اسْتَطَعْتُم مِن قُوَّةٍ ، أَلا إِنَّ القُوَّةَ الرَمْيُ ، أَلا إِنَّ القُوَّةَ الرَمْيُ ، أَلا إِنَّ القُوَّةَ الرَمْيُ» [مسلم برقم 1917]
ความว่า "และพวกเจ้าจงเตรียมไว้สำหรับพวกเขาซึ่งกำลังความเข้มแข็งที่พวกเจ้าสามารถ พึงทราบเถิดว่าส่วนหนึ่งของกำลังก็คือการขว้างหอก ส่วนหนึ่งของกำลังก็คือการขว้างหอก ส่วนหนึ่งของกำลังก็คือการขว้างหอก" (มุสลิม หะดีษเลขที่ 1917)
และสาเหตุสำคัญของความพ่ายแพ้และตกต่ำนั้น ก็คือการฝ่าฝืนคำสั่งและบาปความผิด อัลลอฮฺ ได้ทรงระบุถึงสาเหตุสำคัญแห่งความพ่ายแพ้ของบรรดามุสลิมในสงครามหนึ่งว่า
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ تَوَلَّوۡاْ مِنكُمۡ يَوۡمَ ٱلۡتَقَى ٱلۡجَمۡعَانِ إِنَّمَا ٱسۡتَزَلَّهُمُ ٱلشَّيۡطَٰنُ بِبَعۡضِ مَا كَسَبُواْۖ وَلَقَدۡ عَفَا ٱللَّهُ عَنۡهُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٌ حَلِيمٞ ١٥٥ ﴾ [آل عمران: ١٥٥]
ความว่า “บรรดาผู้หันหลังหนีในหมู่พวกเจ้าในวันที่สองกลุ่มเผชิญหน้ากันนั้น แท้จริงชัยฎอนต่างหากที่ทำให้พวกเขาพลั้งพลาดไป อันเนื่องจากบางสิ่งที่พวกเขาได้ประกอบไว้ และแน่นอนอัลลอฮฺก็ทรงอภัยให้แก่พวกเขาแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นทรงอภัยโทษ ผู้ทรงหนักแน่น” (อาละอิมรอน : 155)
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอความสุข ความจำเริญและความศานติจงประสบแด่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่านโดยทั่วกัน