โอวาทแด่ผู้แสวงหาความรู้
หมวดหมู่
Full Description
โอวาท แด่ผู้แสวงหาวิชาความรู้
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
2011 – 1432
﴿وصايا لطلبة العلم﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: يوسف أبوبكر
مراجعة: صافي عثمان
2011 – 1432
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
บทที่ 75
โอวาท แด่ผู้แสวงหาวิชาความรู้
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การเศาะละวาตและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...
ต่อไปนี้เป็นโอวาทบางประการที่ขอสั่งเสียตัวฉันเองและพี่น้องที่รักยิ่งของฉัน ขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺให้เราได้รับคุณูปการจากคำโอวาทนี้ และได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการงานที่ทรงคุณค่า (อะมัล เศาะลิฮฺ)
คำโอวาทประการที่หนึ่ง..จงมีความมุ่งมั่นในการแสวงหาวิชาการอิสลาม อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿قُلۡ هَلۡ يَسۡتَوِي ٱلَّذِينَ يَعۡلَمُونَ وَٱلَّذِينَ لَا يَعۡلَمُونَۗ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ﴾ (الزمر : 9)
ความหมาย “จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ” (อัซ-ซุมัร, 39:9)
อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿يَرۡفَعِ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مِنكُمۡ وَٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡعِلۡمَ دَرَجَٰتٖۚ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٞ﴾ (المجادلة : 11)
ความหมาย “อัลลอฮฺจะทรงยกย่องเทิดทูนเกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ที่ได้รับความรู้หลายชั้น” (อัล-มุญาดะละฮฺ, 58:11)
ในบันทึกของอิมามอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากหะดีษมุอาวียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ يُرِدْ اللهُ بِهِ خَيْرًا يُفَقِّهْهُ فِي الدِّينِ»
ความหมาย “ผู้ใดที่อัลลอฮฺต้องการให้เขาได้รับความดีงาม พระองค์จะให้เขาเข้าใจในเรื่องศาสนา” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หน้า 596 หมายเลขหะดีษ 3116 และเศาะฮีหฺ มุสลิม หน้า 398 หมายเลขหะดีษ 1037)
มีบางส่วนจากบรรดานักวิชาการกล่าวว่า “ผู้ที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องศาสนา อัลลอฮฺไม่ประสงค์ให้เขาได้รับความดีงาม” ในบันทึกของอัด-ดาริมีย์ ด้วยสายรายงานที่หะซัน จากหะดีษอบู อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ فَضْلَ الْعَالِمِ عَلَى الْعَابِدِ كَفَضْلِ الْقَمَرِ لَيْلَةَ الْبَدْرِ عَلَى سَائِرِ الْكَوَاكِبِ وَإِنَّ الْعُلَمَاءَ وَرَثَةُ الْأَنْبِيَاءِ وَإِنَّ الْأَنْبِيَاءَ لَمْ يُوَرِّثُوا دِينَارًا وَلَا دِرْهَمًا وَرَّثُوا الْعِلْمَ فَمَنْ أَخَذَهُ أَخَذَ بِحَظٍّ وَافِرٍ» (أبو داود برقم 3641، وصححه الألباني في صحيح وضعيف سنن أبي داود بالرقم نفسه)
ความว่า “แท้จริง ความประเสริฐของผู้ที่มีความรู้(อาลิม)เหนือผู้ที่เคารพภักดีเพียงอย่างเดียว(อาบิด) เปรียบเสมือนดวงจันทร์เต็มดวงที่เหนือกว่าบรรดาหมู่ดวงดาว แท้จริงบรรดาผู้ที่มีความรู้(อุละมาอ์)พวกเขาเป็นทายาทของบรรดานบี(อันบิยาอ์) บรรดานบีไม่ได้ทิ้งมรดกไว้เป็นเงินดีนารฺหรือดิรฮัม แต่ทว่าได้ทิ้งวิชาความรู้ไว้เป็นมรดก ดังนั้น ผู้ใดที่ได้ครอบครองมันไว้ถือว่าเขาได้ครอบครองส่วนที่ดีเลิศมากมายแล้ว” (อบู ดาวูด หะดีษเลขที่ 3641)
อัล-เอาซาอีย์ กล่าวว่า “มนุษย์ตามทัศนะของเรา พวกเขาเป็นผู้ที่มีความรู้ ส่วนผู้อื่นนอกเหนือจากพวกเขาถือว่าไม่มีอะไรเลย”
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “มนุษยชาติมีความจำเป็นต่อวิชาความรู้ทางด้านศาสนามากยิ่งกว่าที่พวกเขามีความจำเป็นในด้านอาหารและเครื่องดื่มซะอีก”
บรรดาผู้ที่มีความรู้พวกเขาดำรงตนตามคำสั่งใช้ของพระองค์อัลลอฮฺจนกระทั่งถึงกาลอวสาน มีบันทึกในเศาะฮีหฺของอิมามอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากหะดีษมุอาวียะฮฺและเษาบาน แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِى ظَاهِرِينَ عَلَى الْحَقِّ، لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ حَتَّى يَأْتِىَ أَمْرُ اللَّهِ وَهُمْ كَذَلِكَ» (مسلم برقم 1920 ، والبخاري برقم 71) وفي رواية : «قَائِمَةً عَلَى أمرِ اللهِ» (البخاري برقم 71)
ความหมาย “บุคคลกลุ่มหนึ่งจากบรรดาประชาชาติของฉันยังคงดำรงตนอยู่บนสัจธรรม ผู้ที่ละทิ้งพวกเขาจะไม่ทำให้พวกเขาได้รับอันตรายจนกระทั่งการงานแห่งอัลลอฮฺมาถึง พวกเขายังคงดำรงตนอยู่บนสัจธรรม” (เศาะฮีหฺ มุสลิม หน้า 795 หมายเลขหะดีษ 1920 และเศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หน้า 39 หมายเลขหะดีษ 71) ในอีกสายรายงาน “ดำรงตนอยู่บนคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หน้า 39 หมายเลขหะดีษ 71)
อิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า “หากว่าพวกเขาไม่ได้เป็นชาวหะดีษแล้ว ฉันก็ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร?”
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้บอกไว้ว่าในช่วงท้ายก่อนจะถึงกาลอวสานวิชาความรู้จะถูกยก ความอวิชชาจะแพร่หลาย วิชาความรู้จะถูกยกด้วยกับการเสียชีวิตของบรรดาผู้ที่มีวิชาความรู้
ในบันทึกของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากหะดีษอับดุลลอฮฺ บิน อัมรู บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ اللَّهَ لاَ يَقْبِضُ الْعِلْمَ انْتِزَاعًا يَنْتَزِعُهُ مِنَ العِبَادِ، وَلَكِنْ يَقْبِضُ الْعِلْمَ بِقَبْضِ الْعُلَمَاءِ، حَتَّى إِذَا لَمْ يُبْقِ عَالِمًا اتَّخَذَ النَّاسُ رُءُوسًا جُهَّالًا فَسُئِلُوا فَأَفْتَوْا بِغَيْرِ عِلْمٍ فَضَلُّوا وَأَضَلُّوا» (البخاري برقم 100، ومسلم برقم 2673)
ความหมาย “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่เก็บความรู้ด้วยการถอดถอนออกจากมนุษย์ แต่ทว่าจะเก็บความรู้ด้วยการให้บรรดาผู้รู้เสียชีวิต จนกระทั่งไม่มีผู้รู้หลงเหลืออยู่ ผู้คนก็จะยึดเอาคนโง่เขลาเป็นผู้นำ แล้วพวกเขาถูกถามปัญหา พวกเขาเหล่านั้นก็ออกคำวินิจฉัยโดยไม่มีความรู้ ตัวพวกเขาเองก็ผิดพลาด และทำให้ผู้อื่นผิดพลาดไปด้วย” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หน้า 45 หมายเลขหะดีษ 100 และเศาะฮีหฺ มุสลิม หน้า 1072 หมายเลขหะดีษ 2673)
และในสถานการณ์เช่นที่กล่าวในหะดีษนี้การศึกษาวิชาความรู้และการสอนนับว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดมากกว่าในสถานการณ์ปกติทั่วไป พึงรู้เถิดว่าศาสตร์สูงสุดของวิชาความรู้ทั้งมวลคือ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ(กิตาบุลลอฮฺ) ดังนั้นจงเอาใจใส่ในการท่องจำ ทำความเข้าใจ พิจารณาใคร่ครวญ และปฏิบัติตาม ในทำนองเดียวกันต้องเรียนรู้ถึงจริยวัตร(สุนนะฮฺ)ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และพยายามทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง จงเอาความรู้มาจากบรรดาผู้ที่มีความรู้ที่แท้จริงอันได้แก่ บรรพชนรุ่นก่อน(ชาวสะลัฟ) บรรดาอิมามผู้เชี่ยวชาญ เพื่อว่าจะได้ไม่วินิจฉัยปัญหาอย่างผิดพลาด หรือสนองตอบอารมณ์ใฝ่ต่ำแห่งตน
คำโอวาทประการที่สอง..จงเรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ -อัซซะ วะ ญัลล์- พระองค์ตรัสว่า
﴿قُلۡ هَٰذِهِۦ سَبِيلِيٓ أَدۡعُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِۚ عَلَىٰ بَصِيرَةٍ أَنَا۠ وَمَنِ ٱتَّبَعَنِيۖ وَسُبۡحَٰنَ ٱللَّهِ وَمَآ أَنَا۠ مِنَ ٱلۡمُشۡرِكِينَ﴾ (يوسف : 108)
ความหมาย “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ซึ่งฉันเรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺอย่างประจักษ์แจ้งทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน และมหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮฺ ฉันมิได้อยู่ในบรรดกลุ่มชนตั้งภาคี” (ยูซุฟ,12:108)
และอัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿وَمَنۡ أَحۡسَنُ قَوۡلٗا مِّمَّن دَعَآ إِلَى ٱللَّهِ وَعَمِلَ صَٰلِحٗا وَقَالَ إِنَّنِي مِنَ ٱلۡمُسۡلِمِينَ﴾ (فصلت : 33)
ความหมาย “และผู้ใดเล่าจะมีคำพูดที่ดีเลิศยิ่งไปกว่าผู้เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ และเขาได้ปฏิบัติการงานที่ดี และกล่าวว่าแท้จริงฉันเป็นคนหนึ่งในบรรดามุสลิมผู้นอบน้อม” (ฟุศศิลัต, 41:33)
มีปรากฏในเศาะฮีหฺมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับท่านอะลีย์ว่า
«لأَنْ يَهْدِىَ اللَّهُ بِكَ رَجُلاً وَاحِدًا خَيْرٌ لَكَ مِنْ حُمْرِ النَّعَمِ»
ความหมาย “แน่แท้ การที่อัลลอฮฺให้คนๆ หนึ่งได้รับทางนำอันเนื่องจากตัวท่านเป็นสาเหตุ มีความประเสริฐดียิ่งกว่าการที่ท่านได้รับอูฐแดงเสียอีก” (เศาะฮีหฺ มุสลิม 4/1872 หมายเลขหะดีษ 2406)
จากหะดีษนี้มีผู้คนบางส่วนเข้าใจคาดเคลื่อนโดยได้ทำหน้าที่เรียกร้องเชิญชวนผู้อื่น บางครั้งได้วินิจฉัยปัญหาทั้งที่เป็นคนที่ไม่ได้มีวิชาความรู้ โดยการอ้างอิงหลักฐานจากหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า
«بَلِّغُوا عَنِّيْ وَلَوْ آيَةً» (البخاري برقم 3462)
ความหมาย “จงเอาจากฉันไปเผยแผ่ แม้เป็นเพียงแค่หนึ่งอายะฮฺก็ตาม” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หน้า 666 หมายเลขหะดีษ 3462)
สามัญชนทั่วไปที่ไม่มีความรู้ เขาไม่สามารถที่จะเผยแผ่ได้แม้เพียงโองการเดียวของอัลกุรอานหรือเพียงหะดีษบทเดียวของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นอกจากว่าเขาจะต้องมีความเข้าใจในสองอย่างนั้นเสียก่อน โดยการกลับไปค้นคว้าทบทวนจากคำพูดของบรรดานักอรรถาธิบาย และจากคำอธิบายหะดีษด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามแนวทางของผู้ที่มีความรู้ และที่พวกเขาได้อธิบายชี้แจงต่อบรรดาสานุศิษย์
การเรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺเป็นพันธกิจของบรรดานบีและศาสนทูต เป้าประสงค์คือ การเชิญชวนผู้คนไปสู่การยอมจำนนต่ออิสลามด้วยคำพูดและการกระทำอย่างศิโรราบ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้กล่าวกับมุอาซ บิน ญะบัล ขณะที่จะส่งเขาไปเรียกร้องเชิญชวนชาวเยเมนไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ว่า
«إِنَّكَ تَأْتِى قَوْمًا مِنْ أَهْلِ الْكِتَابِ، فَادْعُهُمْ إِلَى شَهَادَةِ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَنِّي رَسُولُ اللَّهِ، فَإِنْ هُمْ أَطَاعُوا لِذَلِكَ فَأَعْلِمْهُمْ أَنَّ اللَّهَ افْتَرَضَ عَلَيْهِمْ خَمْسَ صَلَوَاتٍ ... إلخ الحديث» (مسلم برقم 19، والبخاري برقم 1458)
ความหมาย “ท่านกำลังจะไปหากลุ่มชนหนึ่งจากบรรดาชาวคัมภีร์ ดังนั้น จงเชิญชวนพวกเขาไปสู่การกล่าวปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและฉันเป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ หากพวกเขาตอบรับท่านในเรื่องดังกล่าว จงบอกพวกเขาว่าอัลลอฮฺได้บัญญัติการละหมาดห้าเวลาให้แก่พวกเขา....” (เศาะฮีหฺ มุสลิม หน้า 42 หมายเลขหะดีษ 19 และเศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หน้า 284 หมายเลขหะดีษ 1458)
ในบันทึกของอัล-บุคอรีย์ จากหะดีษอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«بَلِّغُوا عَنِّيْ وَلَوْ آيَةً» (البخاري برقم 3462)
ความหมาย “จงเอาจากฉันไปเผยแผ่ แม้เป็นเพียงแค่หนึ่งอายะฮฺก็ตาม” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หน้า 666 หมายเลขหะดีษ 3462)
อิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “เมื่อการเชิญชวนเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺเป็นภารกิจที่มีเกียรติ สูงส่ง และประเสริฐยิ่งของปวงบ่าว ดังนั้นมันจะไม่บรรลุผลได้นอกจากด้วยวิชาความรู้ซึ่งเขาต้องใช้มันในการเชิญชวนเรียกร้อง ยิ่งกว่านั้น ในการเรียกร้องที่มีผลสมบูรณ์ จำเป็นที่เขาต้องพยายามเข้าถึงความรู้อย่างถ่องแท้ เป็นการเพียงพอหากว่าผู้ที่ทำหน้าที่เรียกร้องสามารถเข้าถึงจุดนี้ได้ และอัลลอฮฺจะประทานความโปรดปรานให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์” (อัต-ตัฟสีร อัล-ก็อยยิม หน้า 319)
ชัยค์ อับดุลอะซีซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “เป็นหน้าที่ของบรรดาผู้ที่มีความสามารถไม่ว่าจะเป็นผู้รู้ บรรดาผู้ปกครองมุสลิม และนักเผยแผ่(ดาอีย์)จะต้องทำหน้าที่เรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺจนเพื่อว่ามันสามารถกระจายไปถึงโลกทั้งผองให้ขจรไปทั่วทุกสารทิศ และนี่ก็คือ อัล-บะลาฆฺ หรือการประกาศชี้แจง ที่อัลลอฮฺได้มีคำสั่งไว้แก่ศาสนทูตของพระองค์ว่า
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلرَّسُولُ بَلِّغۡ مَآ أُنزِلَ إِلَيۡكَ مِن رَّبِّكَۖ وَإِن لَّمۡ تَفۡعَلۡ فَمَا بَلَّغۡتَ رِسَالَتَهُ﴾ (المائدة : 67)
ความหมาย “โอ้ผู้เป็นศาสนทูตเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระเจ้าของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสาส์นของพระองค์” (อัล-มาอิดะฮฺ, 5:67)
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น มีหน้าที่เผยแผ่ชี้แจงให้ทั่วถึง เช่นเดียวกันกับบรรดาศาสนทูตคนอื่นๆ และผู้ติดตามศาสนทูตก็ต้องทำหน้าที่นี้ด้วยเช่นกัน... (มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา วะ มะกอลาต ชัยค์ อับดิลอะซีซ บิน บาซ 1/333 คัดลอกจากหนังสือนัฎเราะตุนนะอีม 5/1959, 1960)
คำโอวาทประการที่สาม..รักษาเวลา ส่วนหนึ่งจากข้อสังเกตพบว่าคนหนุ่มสาวบางส่วนไม่ได้เอาใจใส่ต่อเวลาว่าง ไม่ได้ฉกฉวยโอกาสในวัยหนุ่มในช่วงที่มีความกระฉับกระเฉง บางส่วนใช้เวลาหมดไปกับการนอนเป็นช่วงระยะเวลายาวนานโดยไม่มีความจำเป็น บางส่วนหมดเวลาไปกับการอ่านวารสาร หนังสือพิมพ์เป็นเวลานานๆ และบางส่วนใช้เวลาส่วนมากให้หมดไปกับการท่องเที่ยว...ฯลฯ
มีหะดีษปรากฏในหนังสือสุนัน บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ จากอบู บัรซะฮฺ อัล-อัสละมีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا تَزُولُ قَدَمَا ابنِ آدَمَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ حَتَّى يُسْأَلَ عَنْ خَمْسٍ : عَنْ عُمُرِهِ فِيمَا أَفْنَاهُ، وَعَنْ شَبَابِهِ فِيْمَا أَبْلَاهُ، وَعَنْ مَالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ؟ وَفِيْمَ أَنْفَقَهُ؟ وَمَاذَا عَمِلَ فَيْمَا عَلِمَ؟» (الترمذي برقم 2416، وحسنه الألباني في صحيح الجامع برقم 7299)
ความหมาย “ในวันกิยามะฮฺเท้าของลูกหลานอาดัมจะยังไม่ถูกเคลื่อนย้ายจากพระผู้อภิบาลของเขา จนกว่าเขาจะถูกสอบถามถึงเรื่องราวห้าประการ อายุของเขาถูกใช้ให้หมดไปอย่างไร? วัยหนุ่มของเขาได้ใช้ให้หมดไปอย่างไร? ทรัพย์สินของเขาหามาจากที่ใดและได้ใช้จ่ายไปในหนทางใด? และความรู้ของเขาได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร?” (อัต-ติรมิซีย์ 4/612 หมายเลขหะดีษ 2416)
ในหะดีษซึ่งบันทึกโดยอัล-หากิมในหนังสืออัล-มุสตัดร็อก จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
«اغتنم خمسا قبل خمس : شبابك قبل هرمك، وفراغك قبل شغلك ، وحياتك قبل موتك، وصحتك قبل سقمك، وغناك قبل فقرك» (المستدرك للحاكم برقم 7846، وصححه الألباني في صحيح الجامع برقم 1077)
ความหมาย “จงฉวยโอกาสกระทำห้าประการ ก่อนอีกห้าประการจะมาถึง วัยหนุ่มของท่าน ก่อนความชราจะมาหา การมีสุขภาพที่ดีของท่าน ก่อนความเจ็บป่วยจะมาหา ความร่ำรวยของท่าน ก่อนความยากจนจะมาหา เวลาว่างของท่าน ก่อนภาระที่ยุ่งเหยิงจะมาหา การมีชีวิตของท่านก่อนความตายจะมาหา” (มุสตัดร็อก อัล-หากิม 4/341 หมายเลขหะดีษ 7846)
มีบทกวีนิพนธ์ ความว่า
والوقت أنفَسُ ما عُنِيتَ بِحِفْظِهِ
وأراه أسْهلَ ما عَلَيكَ يَضِيعُ
“กาลเวลาเป็นสิ่งที่มีค่ามากสุดที่ท่านควรจะหวงแหนรักษา
แต่ฉันเห็นว่ามันเป็นเรื่องง่ายเหลือเกินที่ท่านปล่อยให้มันสูญเปล่า”
คำโอวาทประการที่สี่..ต้องมีลักษณะนิสัยที่ดีงาม อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿وَقُل لِّعِبَادِي يَقُولُواْ ٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُۚ إِنَّ ٱلشَّيۡطَٰنَ يَنزَغُ بَيۡنَهُمۡۚ إِنَّ ٱلشَّيۡطَٰنَ كَانَ لِلۡإِنسَٰنِ عَدُوّٗا مُّبِينٗا﴾ (الإسراء 67)
ความหมาย “และจงกล่าวแก่ปวงบ่าวของฉัน ให้พวกเขากล่าวแต่คำพูดที่ดียิ่ง เพราะแท้จริงชัยฏอนนั้นมันยุแหย่ระหว่างพวกเขา(ให้พวกเขาพูดโดยไม่ระวัง) แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูที่เปิดเผยของมวลมนุษย์” (อัล-อิสรออ์, 17:67)
มีหะดีษปรากฏในหนังสือสุนัน บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ จากอบูอัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا شَيْءٌ أَثْقَلُ فِي مِيزَانِ الْمُؤْمِنِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ مِنْ خُلُقٍ حَسَنٍ وَإِنَّ اللَّهَ لَيُبْغِضُ الْفَاحِشَ الْبَذِيءَ» (الترمذي برقم 2002 وقال حديث حسن صحيح)
ความหมาย “ในวันกิยามะฮฺ ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักยิ่งในตาชั่งของผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) มากไปกว่าการมีลักษณะนิสัยอันดีงาม และแท้จริงอัลลอฮฺทรงกริ้วผู้ที่พูดจาหยาบโลนลามก” (อัต-ติรมิซีย์ 4/362 หมายเลขหะดีษ 2002 ท่านบอกว่าเป็นหะดีษ หะซัน เศาะฮีหฺ)
อิบนุ อัล-มุบาร็อก กล่าวว่า “ลักษณะนิสัยที่ดี หมายถึง การมีใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ทุ่มเทในเรื่องของความดีงาม ปกป้องจากอันตราย และสามารถอดกลั้นต่อสิ่งที่เกิดจากเพื่อนมนุษย์”
ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงได้สั่งเสียต่อบรรดาสาวก ดั่งมีหะดีษปรากฏในหนังสือสุนันของอัต-ติรมิซีย์ จากอบู ซัรร์ และมุอาซ บิน ญะบัล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«اتَّقِ اللَّهِ حَيْثُمَا كُنْتَ، وَأَتْبِعْ السَّيِّئَةَ الْحَسَنَةَ تَمْحُهَا، وَخَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ» (الترمذي برقم 1987، وقال حديث حسن صحيح)
ความหมาย “จงยำเกรงอัลลอฮฺไม่ว่าท่านจะอยู่ ณ ที่ใด จงติดตามความชั่วโดยการเอาความดีมาลบล้าง และจงปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยลักษณะนิสัยอันดีงาม” (สุนันอัต-ติรมิซีย์ 4/355 หมายเลขหะดีษ 1987 ท่านบอกว่าเป็นหะดีษ หะซัน เศาะฮีหฺ)
อิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ถูกรวบรวมไว้ในตัวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ระหว่างการยำเกรงต่ออัลลอฮฺและการมีลักษณะนิสัยอันดีงาม เพราะว่าการยำเกรงต่ออัลลอฮฺจะมาปรับปรุงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างบ่าวกับพระผู้อภิบาลของเขา ส่วนการมีลักษณะนิสัยที่ดีงามจะเป็นสิ่งที่มาปรับปรุงระหว่างตัวเขากับเพื่อนมนุษย์” (อัล-ฟะวาอิด,หน้า 84-85) และการศรัทธาของบ่าวคนหนึ่งจะยังไม่สมบูรณ์ตราบใดที่ยังไม่สอดรับกับลักษณะนิสัยอันดีงาม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«أَكْمَلُ الْمُؤْمِنِينَ إِيمَانًا أَحْسَنُهُمْ خُلُقًا وَخِيَارُكُمْ خِيَارُكُمْ لِنِسَائِهِمْ خُلُقًا» (الترمذي برقم 1162، وقال حديث حسن صحيح)
ความหมาย “ผู้ศรัทธาที่มีความสมบูรณ์ยิ่งในการศรัทธาคือ ผู้ที่มีลักษณะนิสัยที่ดีงามยิ่ง และผู้ที่ดีเลิศในกลุ่มพวกท่านคือ ผู้ที่มีนิสัยดีต่อภรรยาของพวกเขา” (สุนันอัต-ติรมิซีย์ 3/466 หมายเลขหะดีษ 1162 ท่านบอกว่าเป็นหะดีษ หะซัน เศาะฮีหฺ)
แน่นอนที่สุด ท่านนบี ศ็อลลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นสุดยอดแห่งมวลมนุษยชาติที่มีลักษณะนิสัยอันดีงาม ดังนั้นผู้ใดรักที่จะดำเนินชีวิตบนทางนำสู่การมีลักษณะนิสัยอันสูงส่งก็จงปฏิบัติตามครรลองของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จากอนัส เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
«خَدَمْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَشْرَ سِنِينَ فَمَا قَالَ لِي أُفٍّ قَطُّ، وَمَا قَالَ لِشَيْءٍ صَنَعْتُهُ لِمَ صَنَعْتَهُ، وَلَا لِشَيْءٍ تَرَكْتُهُ لِمَ تَرَكْتَهُ» (الترمذي برقم 2015 وأصله في الصحيحين)
ความหมาย “ฉันได้รับใช้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นช่วงระยะเวลาสิบปี ท่านไม่เคยกล่าวคำว่า “อุฟ” เลยแม้แต่ครั้งเดียว และท่านไม่เคยกล่าวตำหนิสิ่งใดที่ฉันกระทำว่า เจ้าทำมันทำไม? และไม่มีสิ่งใดที่ฉันละทิ้งแล้วท่านจะกล่าวว่า เจ้าทิ้งมันทำไม?” (สุนันอัต-ติรมิซีย์ 4/368 หมายเลขหะดีษ 2015 เดิมทีเป็นหะดีษที่อยู่ในเศาะฮีหฺทั้งสอง)
คำโอวาทประการที่ห้า..จงยืนหยัดอย่างหนักแน่นมั่นคงอยู่บนหลักการศาสนา อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿وَٱعۡبُدۡ رَبَّكَ حَتَّىٰ يَأۡتِيَكَ ٱلۡيَقِينُ﴾ (الحجر : 99)
ความหมาย “และจงเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาลของเจ้า จนกว่าความแน่นอน(ความตาย)จะมาหาเจ้า” (อัล-หิจรฺ,15:99) หมายถึง จนกระทั่งเสียชีวิต
และอัลลอฮฺตรัสถึงท่านนบีอีซา อะลัยฮิสสลาม ว่า
﴿وَأَوۡصَٰنِي بِٱلصَّلَوٰةِ وَٱلزَّكَوٰةِ مَا دُمۡتُ حَيّٗا﴾ (مريم : 31)
ความหมาย “และทรงสั่งเสียให้ฉันทำการละหมาดและจ่ายซะกาต ตราบที่ฉันมีชีวิตอยู่” (มัรยัม, 19:31)
มีปรากฏในรายงานของอิมามอะหฺมัด จากหะดีษอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَا مُقَلِّبَ الْقُلُوبِ ثَبِّتْ قَلْبِي عَلَى دِينِكَ وَطَاعَتِكَ» (مسند الإمام أحمد 6/251)
ความหมาย “โอ้ ผู้ทรงเปลี่ยนแปลงหัวใจ โปรดให้หัวใจของฉันมั่นคงอยู่บนแนวทางศาสนาของท่านและเชื่อฟังปฏิบัติตามท่าน” (มุสนัด อิมามอะหฺมัด 6/251)
และยังมีหะดีษต่างๆ ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อีกมากมายที่มาอธิบายถึงบรรดาผู้ที่ยึดมั่นศาสนา ในช่วงท้ายก่อนโลกจะถึงกาลอวสาน ผู้ที่ยืนหยัดมั่นคงในหลักการจะเป็นดั่งคนแปลกหน้า แต่ทว่าพวกเขาจะได้รับภาคผลบุญเสมือนที่บรรดาสาวกของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยได้รับ ขณะที่อิสลามเริ่มต้นขึ้นอย่างคนแปลกหน้า สาเหตุดังกล่าวอันเนื่องจากความอดทนอดกลั้นต่อความเป็นคนแปลกหน้าของพวกเขา ดั่งมีหะดีษปรากฏในเศาะฮีหฺมุสลิม จากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«بَدَأَ الإِسْلاَمُ غَرِيبًا وَسَيَعُودُ كَمَا بَدَأَ غَرِيبًا فَطُوبَى لِلْغُرَبَاءِ»
ความหมาย “อิสลามได้เริ่มต้นอย่างคนแปลกหน้า และจะกลับไปอย่างคนแปลกหน้าเสมือนที่เริ่มต้น ดังนั้นความดีงามอันมากมายจะได้รับแก่บรรดาคนแปลกหน้า” (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/130 หมายเลขหะดีษ 145)
และในอีกหะดีษ แท้จริงพวกเขา
«أُنَاسٌ صَالِحُونَ فِي أُنَاسِ سُوءٍ كَثِيرٍ، مَنْ يَعْصِيهِمْ أَكْثَرُ مِمَّنْ يُطِيعُهُمْ»
ความหมาย “พวกเขาคือกลุ่มคนที่ดีซึ่งใช้ชีวิตท่ามกลางกลุ่มคนชั่วจำนวนมาก จำนวนคนที่ปฏิเสธพวกเขามีมากกว่าคนที่เชื่อฟัง” (มุสนัดอิมามอะหฺมัด 2/177)
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวเปรียบเทียบถึงสภาพของผู้ที่ยืนหยัดอยู่บนหลักการศาสนาในช่วงใกล้ถึงกาลอวสานเสมือนผู้ที่กำถ่านไฟไว้ในมือ และเขาจะได้รับภาคผลบุญเท่ากับการปฏิบัติตนของบรรดาสาวกของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถึงห้าสิบคน มีหะดีษในหนังสือสุนันอบูดาวูด จากอบู ษะอฺละบะฮฺ อัล-เคาะชะนีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ขณะที่มีคำสั่งใช้ให้ทำความดีและห้ามปรามให้ละเว้นจากความชั่ว ท่านได้กล่าวว่า
«فَإِنَّ مِنْ وَرَائِكُمْ أَيَّامَ الصَّبْرِ، الصَّبْرُ فِيهِ مِثْلُ قَبْضٍ عَلَى الْجَمْرِ، لِلْعَامِلِ فِيهِمْ مِثْلُ أَجْرِ خَمْسِينَ رَجُلًا يَعْمَلُونَ مِثْلَ عَمَلِهِ» وَزَادَنِي غَيْرُهُ قَالَ : يَا رَسُولَ اللَّهِ أَجْرُ خَمْسِينَ مِنْهُمْ؟، قَالَ: «أَجْرُ خَمْسِينَ مِنْكُمْ» (من حديث أبي داود برقم 4341)
ความหมาย “แท้จริงหลังยุคของพวกท่านจะมีวันแห่งความอดทน ความอดทนในวันนั้นเสมือนกับการกำถ่านไฟ สำหรับผู้ที่กระทำความดีเขาจะได้รับภาคผลบุญเท่ากับห้าสิบคนที่ได้กระทำเหมือนกับเขา” คนอื่นได้ถามเพิ่มเติมว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ภาคผลบุญเท่ากับห้าสิบคนจากหมู่พวกเขาเองหรือ? ท่านเราะสูลตอบว่า “ภาคผลบุญเท่ากับห้าสิบคนจากหมู่พวกท่าน(เศาะหาบะฮฺ)” (ส่วนหนึ่งจากหะดีษของอบู ดาวูด 4/123 หมายเลขหะดีษ 4341)
สุดท้ายขอสั่งเสียตัวฉันและพี่น้องผู้เป็นที่รักยิ่งของฉัน..จงยืนหยัดอย่างหนักแน่นมั่นคงอยู่บนแนวทางอันเที่ยงธรรมของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาสาวกของท่าน และจงอดทนอดกลั้นในแนวทางดังกล่าวให้สุดความสามารถ อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿وَٱلۡعَصۡرِ ١ إِنَّ ٱلۡإِنسَٰنَ لَفِي خُسۡرٍ ٢ إِلَّا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلۡحَقِّ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلصَّبۡرِ ٣﴾ (سورة العصر)
ความหมาย “ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริง มนุษย์นั้นอยู่ในการขาดทุน นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย และตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน” (อัล-อัศรฺ,103:1-3)
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿وَٱتَّبِعۡ مَا يُوحَىٰٓ إِلَيۡكَ وَٱصۡبِرۡ حَتَّىٰ يَحۡكُمَ ٱللَّهُۚ وَهُوَ خَيۡرُ ٱلۡحَٰكِمِينَ﴾ (يونس : 109)
ความหมาย “และเจ้าจงปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกบัญชาแก่เจ้า และจงอดทนจนกว่าอัลลอฮฺจะทรงตัดสิน และพระองค์ทรงเป็นผู้ตัดสินที่ดียิ่ง” (ยูนุส,10:109)
และอัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿وَٱلۡعَٰقِبَةُ لِلۡمُتَّقِينَ﴾ (القصص : 83)
ความหมาย “และบั้นปลายย่อมเป็นของบรรดาผู้ยำเกรง” (อัล-เกาะศ็อศ, 28:83)
และไม่เป็นที่สงสัยแต่ประการใดว่ามุสลิมในยุคปัจจุบันกำลังเผชิญหน้ากับความสับสนวุ่นวายนานัปการไม่ว่าจะเกิดจากอารมณ์ใฝ่ต่ำและความคลั่งไคล้ต่อมายาวัตถุอย่างเมามัน แต่ทว่าผู้ที่ขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงช่วยเหลือเขา และผู้ใดที่ขอต่ออัลลอฮฺให้มีความอดทน พระองค์ก็ทรงประทานความอดทนให้แก่เขา อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿وَٱلَّذِينَ جَٰهَدُواْ فِينَا لَنَهۡدِيَنَّهُمۡ سُبُلَنَاۚ وَإِنَّ ٱللَّهَ لَمَعَ ٱلۡمُحۡسِنِينَ﴾ (العنكبوت : 69)
ความหมาย “และบรรดาผู้ที่ต่อสู้ดิ้นรนในหนทางของเรา แน่นอนเราจะชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเขาสู่หนทางของเรา และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับผู้กระทำความดีทั้งหลาย”(อัล-อังกะบูต, 29:69)
ขอดุอาอ์จากพระองค์อัลลอฮฺ ทรงประทานให้พวกเราและพวกท่านเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขาเหล่านั้นด้วยเถิด
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล การเศาะละวาตและความศานติจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา รวมถึงบรรดาวงศาคณาญาติ และบรรดาอัครสาวกของท่านทั้งหมดด้วยเทอญ