คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม (6)
หมวดหมู่
Full Description
คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม (6)
] ไทย – Thai – تايلاندي [
อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ
แปลโดย : อิบนุรอมลี ยูนุส
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
2011 – 1432
﴿خصائص الدين الإسلامي - 6﴾
« باللغة التايلاندية »
عبدالرحمن بن عبدالكريم الشيحة
ترجمة: ابن رملي يونس
مراجعة: صافي عثمان
2011 – 1432
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม (6)
ศาสนาแห่งความรู้
อิสลามคือศาสนาแห่งความรู้ สนับสนุนให้แสวงหาความรู้และเรียนรู้ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿أَمَّنۡ هُوَ قَٰنِتٌ ءَانَآءَ ٱلَّيۡلِ سَاجِدٗا وَقَآئِمٗا يَحۡذَرُ ٱلۡأٓخِرَةَ وَيَرۡجُواْ رَحۡمَةَ رَبِّهِۦۗ قُلۡ هَلۡ يَسۡتَوِي ٱلَّذِينَ يَعۡلَمُونَ وَٱلَّذِينَ لَا يَعۡلَمُونَۗ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٩﴾ (الزمر : 9)
ความว่า : “ผู้ที่เขาเป็นผู้ภักดีในยามค่ำคืน ในสภาพของผู้สุญูด และผู้ยืนละหมาดโดยที่เขาหวั่นเกรงต่อโลกอาคิเราะฮฺและหวังความเมตตาของพระเจ้าของเขา (จะเหมือนกับผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺกระนั้นหรือ?) จงกล่าวเถิดมุหัมมัด บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ? แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ" (อัซ-ซุมัร 9)
อิสลามได้แบ่งความรู้ที่ต้องแสวงหาออกเป็นสองประเภทด้วยกัน หนึ่ง ความรู้ที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน คือ เรื่องของศาสนาและการดำเนินชีวิตของเขา สอง ความรู้ที่จำเป็นต่อส่วนรวม คือ ความรู้ที่บุคคลในสังคมได้เรียนรู้แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ระหว่างกัน ไม่มีสิ่งใดทางโลกที่อัลลอฮฺสั่งให้ท่านศาสนทูตแสวงหามัน นอกจากว่าสิ่งนั้นย่อมเป็นความรู้ประการหนึ่ง ดังนั้น อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿وَقُل رَّبِّ زِدۡنِي عِلۡمٗا ١١٤﴾ (طه : 114)
ความว่า : “และจงกล่าวเถิด ข้าแต่พระเจ้าของข้า พระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วย" (ฏอฮา 114)
อิสลามให้เกียรติความรู้และบรรดาผู้รอบรู้ทั้งหลาย ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَيْسَ مِنْ أُمَّتِي مَنْ لَمْ يُجِلَّ كَبِيرَنَا وَيَرْحَمْ صَغِيرَنَا وَيَعْرِفْ لِعَالِمِنَا حَقَّهُ» (مسند الإمام أحمد/ ج 5 ص323 رقم الحديث 22807)
“ผู้ใดไม่เคารพผู้ใหญ่ หรือไม่เมตตาคนที่อ่อนวัยกว่า และไม่รู้จักสิทธิที่บรรดาผู้รอบรู้ของเราควรได้รับ ถือว่าเขาไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากประชาชาติฉัน" (มุสนัด อิมาม อะหมัด 5/323 เลขที่ 22807)
อิสลามได้ยกฐานะบรรดาผู้มีความรู้ทั้งหลาย และให้เกียรติพวกเขาอย่างมาก ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«فَضْلُ الْعَالِمِ عَلَى الْعَابِدِ كَفَضْلِي عَلَى أَدْنَاكُمْ» (سنن الترمذي ج5 ص50 رقم الحديث 2685)
ความว่า : ความประเสริฐของคนที่มีความรู้ย่อมมากกว่าความประเสริฐของคนที่ขยันทำการภักดีเพื่อส่วนตัวเท่านั้น เปรียบได้เหมือนกับความประเสริฐของฉันกับคนที่ต่ำต้อยที่สุดในหมู่พวกท่าน" (ดู สุนัน อัต-ติรมิซีย์ 5/50 เลขที่ 2685)
อิสลามเน้นหนักในการเผยแพร่ความรู้และการแสวงหาความรู้ ถือว่าการเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ และการเผยแพร่ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺที่ดียิ่ง ซึ่งผลตอบแทนสำหรับเขานั้นมีมากมาย และอิสลามถือว่าการแสวงความรู้คือหนทางหนึ่งสู่ประตูสวรรค์ ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ خَرَجَ فِي طَلَبِ الْعِلْمِ كَانَ فِي سَبِيلِ اللَّهِ حَتَّى يَرْجِعَ» (سنن الترمذي ج5 ص29 رقم الحديث 2647)
ความว่า : “ใครที่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เขาย่อมอยู่ในหนทางอัลลอฮฺ จนกระทั่งเขากลับถึงบ้าน" (สุนัน อัต-ติรมิซีย์ 5/29 เลขที่ 2647)
และท่านได้กล่าวอีกว่า
«مَا مِنْ رَجُلٍ سَلَكَ طَرِيقًا يَطْلُبُ فِيهِ عِلْمًا إِلَّا سَهَّلَ اللَّهُ لَهُ بِهِ طَرِيقَ الْجَنَّةِ، وَمَنْ أَبْطَأَ بِهِ عَمَلُهُ لَمْ يُسْرِعْ بِهِ نَسَبُهُ» (المستدرك على الصحيحين ج1 ص165 رقم الحديث 299)
“ไม่มีผู้ใดที่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ นอกจากว่าอัลลอฮฺจะให้ความสะดวกแก่เขาเนื่องจากการกระทําดังกล่าวในการเดินทางไปสู่สวรรค์ และผู้ใดที่การงานของเขามีความล่าช้าเเละเถลไถล(เพราะความมักง่ายของเขา) ต้นตระกูลของเขาจะไม่ทำให้มันรวดเร็วได้ (หมายถึงการงานของเเต่ละคน จะดีหรือชั่วหรือมากน้อยเพียงใดไม่ได้ขึ้นอยู่กับญาติตระกูลของเขา แต่ขึ้นอยู่กับตัวของเขาเอง)" (อัล-มุสตัดร็อก 1/165 เลขที่ 229)
อิสลามไม่ได้ส่งเสริมเฉพาะการศึกษาความรู้ด้านศาสนาเท่านั้น แต่ส่งเสริมให้แสวงหาความรู้ในด้านอื่นๆ ด้วย เพราะการแสวงหาความรู้ต่างๆ ถือว่าเป็นการกระทำที่แสดงถึงความภักดีต่ออัลลอฮฺเช่นกัน ความรู้ดังกล่าวคือความรู้ที่จำเป็นต้องแสวงหาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มนุษย์มีความจำเป็นต่อมัน อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿أَلَمۡ تَرَ أَنَّ ٱللَّهَ أَنزَلَ مِنَ ٱلسَّمَآءِ مَآءٗ فَأَخۡرَجۡنَا بِهِۦ ثَمَرَٰتٖ مُّخۡتَلِفًا أَلۡوَٰنُهَاۚ وَمِنَ ٱلۡجِبَالِ جُدَدُۢ بِيضٞ وَحُمۡرٞ مُّخۡتَلِفٌ أَلۡوَٰنُهَا وَغَرَابِيبُ سُودٞ﴾ (فاطر : 27)
ความว่า : “เจ้ามิได้พิจารณาดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วเราได้ให้พืชผลงอกเงยออกมาด้วยกัน(จากน้ำ) สีสันของมันแตกต่างกันไป และในหมู่ภูเขาทั้งหลายมีชนิดต่างๆ ขาวและแดง หลากหลายสี และสีดำสนิท" (ฟาฏิรฺ 27)
จากโองการข้างต้นชวนให้คิดและใคร่ครวญเพื่อให้ได้ซึ่งการยอมรับว่าสิ่งเหล่านั้นย่อมมีผู้สร้าง และขณะเดียวกันก็เป็นการเชิญชวนให้เราใช้ประโยชน์ของมันอย่างคุ้มค่า เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ที่มีความรู้เกี่ยวเนื่องกับโองการข้างต้นมิใช่นักวิชาการศาสนา แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาเฉพาะซึ่งมีความสามารถที่จะค้นคว้าสิ่งต่างๆ ในจักรวาล และชี้แนะประโยชน์จากสิ่งนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องนี้ เช่น เราไม่สามารถรับรู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเมฆ หรือการเกิดเมฆ แล้วกลายเป็นฝนได้ นอกจากจะเรียนรู้วิชาเคมีและฟิสิกส์ เราไม่สามารถรับรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกต้นไม้ พืชผัก นอกจากเราต้องเรียนรู้วิชาเกษตร เราจะไม่สามารถรับรู้เกี่ยวกับภูเขาและเเผ่นดินตลอดจนความหลากหลายของมันได้นอกจากว่าเราจะต้องเรียนรู้วิชาธรณีวิทยา และเราไม่สามารถรับรู้ธรรมชาติของมนุษย์ และเชื้อชาติของพวกเขา หรือเกี่ยวกับสัตว์มีชีวิตนานาและธรรมชาติของมันได้นอกจากเราจำต้องเรียนรู้วิชาชีววิทยา เป็นต้น
ศาสนาที่มีระบบควบคุมตนเอง
อิสลาม คือศาสนาที่มีระบบการควบคุมและตรวจสอบตนโดยเจ้าของเอง ด้วยเหตุนี้ มุสลิมทุกคนจึงต้องพยายามควบคุมวาจาและการงานของเขาให้อยู่ในกรอบที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานหรือห่างไกลจากสิ่งพระองค์กริ้ว เพราะมุสลิมรู้ว่าเขาอยู่ภายใต้การมองเห็นของอัลลอฮฺตลอดเวลา ดังนั้น เขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ และจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่อัลลอฮทรงห้าม เช่น มุสลิมหลีกห่างจากการขโมยเพราะยําเกรงอัลลอฮฺ ไม่ใช่เพราะหวาดกลัวต่อตํารวจเช่นนี้เป็นต้น อัลลอฮฺได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿وَإِن تَجۡهَرۡ بِٱلۡقَوۡلِ فَإِنَّهُۥ يَعۡلَمُ ٱلسِّرَّ وَأَخۡفَى ٧﴾ (طه : 7)
ความว่า : “และหากว่าเจ้ากล่าวเสียงดัง เพราะแท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้ทั้งสิ่งเร้นลับ และสิ่งซ่อนเร้นด้วยซ้ำ" (ฏอฮา 7)
ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวอธิบายคำว่า “อิหฺซาน" ว่า
«أَنْ تَعْبُدَ اللَّهَ كَأَنَّكَ تَرَاهُ فَإِنْ لَمْ تَكُنْ تَرَاهُ فَإِنَّهُ يَرَاكَ» (صحيح البخاري ج1 ص27 رقم الحديث 50)
“(อิหฺซานคือ ระดับหนึ่งของการภักดีต่ออัลลอฮฺ) ในขณะที่ท่านกระทำการงานที่แสดงถึงความภักดีต่ออัลลอฮฺ (เช่นละหมาด) จงกระทำเสมือนกับว่าท่านมองเห็นอัลลอฮฺ ถ้าท่านไม่รู้สึกว่าท่านกำลังมองเห็นพระองค์ ให้นึกเถิดว่าพระองค์ทรงเห็นท่านอยู่เสมอ" (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/27 เลขที่ 50)
อิสลามได้เสนอหลักการการควบคุมตัวเองดังนี้ :
1- การศรัทธาว่า มีพระเจ้าผู้ทรงเดชานุภาพเพียงองค์เดียวเท่านั้น ผู้ทรงสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในจักรวาล ทุกอย่างเป็นไปด้วยความปรารถนาของพระองค์ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿يَعۡلَمُ مَا يَلِجُ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَمَا يَخۡرُجُ مِنۡهَا وَمَا يَنزِلُ مِنَ ٱلسَّمَآءِ وَمَا يَعۡرُجُ فِيهَاۖ وَهُوَ مَعَكُمۡ أَيۡنَ مَا كُنتُمۡۚ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ بَصِيرٞ ٤﴾ (الحديد : 4)
ความว่า : “พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่เข้าไปในแผ่นดิน และสิ่งที่ออกมาจากแผ่นดิน และสิ่งที่ลงมาจากฟากฟ้าและสิ่งที่ขึ้นไปสู่ฟากฟ้าและพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และ อัลลอฮฺทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ" (อัล-หะดีด 4)
การรอบรู้ของพระองค์จะครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่ไม่มองเห็นกับตาได้ เช่นจิตใจและการกระซิบกระซาบของมัน อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿وَلَقَدۡ خَلَقۡنَا ٱلۡإِنسَٰنَ وَنَعۡلَمُ مَا تُوَسۡوِسُ بِهِۦ نَفۡسُهُۥۖ وَنَحۡنُ أَقۡرَبُ إِلَيۡهِ مِنۡ حَبۡلِ ٱلۡوَرِيدِ ١٦﴾ (ق : 16)
ความว่า : “และโดยแน่นอน เราได้บังเกิดมนุษย์มา และเรารู้ดียิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก" (กอฟ 16)
2- การศรัทธาต่อวันแห่งการฟื้นชีพและการกลับไปสู่อัลลอฮฺ อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿وَهُوَ ٱلَّذِي يَتَوَفَّىٰكُم بِٱلَّيۡلِ وَيَعۡلَمُ مَا جَرَحۡتُم بِٱلنَّهَارِ ثُمَّ يَبۡعَثُكُمۡ فِيهِ لِيُقۡضَىٰٓ أَجَلٞ مُّسَمّٗىۖ ثُمَّ إِلَيۡهِ مَرۡجِعُكُمۡ ثُمَّ يُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمۡ تَعۡمَلُونَ ٦٠﴾ (الأنعام : 60)
ความว่า : “และพระองค์คือผู้ที่ทรงให้พวกเจ้าตายในเวลากลางคืน และทรงรู้สิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำขึ้นในเวลากลางวัน แล้วก็ทรงให้พวกเจ้าฟื้นคืนชีพในเวลานั้น เพื่อว่าเวลาแห่งอายุที่ถูกกำหนดไว้นั้นจะได้ถูกใช้ให้หมดไป แล้วยังพระองค์นั้นคือการกลับไปของพวกเจ้า แล้วพระองค์จะทรงบอกแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน" (อัล-อันอาม 60)
3- การศรัทธาต่อวันแห่งการสอบสวนเป็นการส่วนตัว อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿وَلَا تَزِرُ وَازِرَةٞ وِزۡرَ أُخۡرَىٰۚ﴾ (الأنعام : 164)
ความว่า “และไม่มีผู้แบกภาระคนใดจะแบกภาระของผู้อื่นได้" (อัล-อันอาม 164)
ทุกคนย่อมได้รับการสอบสวนในทุกการกระทำและการพูดของเขา การงานที่ดีย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดี การงานที่เลวย่อมได้รับการลงโทษที่สาสม อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿فَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٍ خَيۡرٗا يَرَهُۥ ٧ وَمَن يَعۡمَلۡ مِثۡقَالَ ذَرَّةٖ شَرّٗا يَرَهُۥ ٨﴾ (الزلزلة : 7-8)
ความว่า : “ดังนั้นผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าละอองธุลีเขาก็จะเห็นมัน" (อัล-ซัลซะละฮฺ 7-8)
4- การยอมรับว่า ความรักเละการภักดีต่อเอกองค์อัลลอฮฺและท่านศาสนทูตพระองค์ต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿قُلۡ إِن كَانَ ءَابَآؤُكُمۡ وَأَبۡنَآؤُكُمۡ وَإِخۡوَٰنُكُمۡ وَأَزۡوَٰجُكُمۡ وَعَشِيرَتُكُمۡ وَأَمۡوَٰلٌ ٱقۡتَرَفۡتُمُوهَا وَتِجَٰرَةٞ تَخۡشَوۡنَ كَسَادَهَا وَمَسَٰكِنُ تَرۡضَوۡنَهَآ أَحَبَّ إِلَيۡكُم مِّنَ ٱللَّهِ وَرَسُولِهِۦ وَجِهَادٖ فِي سَبِيلِهِۦ فَتَرَبَّصُواْ حَتَّىٰ يَأۡتِيَ ٱللَّهُ بِأَمۡرِهِۦۗ وَٱللَّهُ لَا يَهۡدِي ٱلۡقَوۡمَ ٱلۡفَٰسِقِينَ ٢٤﴾ (التوبة : 24)
ความว่า : “จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า หากบรรดาบิดาของพวกเจ้า และบรรดาลูก ๆ ของพวกเจ้า และบรรดาพี่น้องของพวกเจ้า และบรรดาคู่ครองของพวกเจ้า และบรรดาญาติของพวกเจ้า และบรรดาทรัพย์สมบัติที่พวกเจ้าแสวงหาไว้ และสินค้าที่พวกเจ้ากลัวว่าจะจำหน่ายมันไม่ออก และบรรดาที่อยู่อาศัยที่พวกเจ้าพึงพอใจมันนั้น เป็นที่รักใคร่แก่พวกเจ้ายิ่งกว่าอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ และการต่อสู้ในทางของพระองค์แล้วไซร้ ก็จงรอคอยกันเถิดจนกว่าอัลลอฮฺจะทรงนำมาซึ่งกำหนดการของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ละเมิด" (อัต-เตาบะฮฺ 24)
ศาสนาที่เพิ่มผลบุญของการงานที่ดี
ศาสนาอิสลามได้เพิ่มผลบุญของการงานที่ดีเท่าตัว หรือเป็นหลายเท่า ส่วนการงานที่เลวนั้น การตอบแทนก็เพียงเท่าตัวของมัน อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿مَن جَآءَ بِٱلۡحَسَنَةِ فَلَهُۥ عَشۡرُ أَمۡثَالِهَاۖ وَمَن جَآءَ بِٱلسَّيِّئَةِ فَلَا يُجۡزَىٰٓ إِلَّا مِثۡلَهَا وَهُمۡ لَا يُظۡلَمُونَ ١٦٠﴾ (الأنعام : 160)
ความว่า : “ผู้ใดที่นำความดีมา เขาก็จะได้รับสิบเท่าของความดีนั้น และผู้ใดนำความชั่วมาเขาจะไม่ถูกตอบแทน นอกจากเท่าความชั่วนั้นเท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรม" (อัล-อันอาม 160)
อิสลามได้ให้ผลตอบแทนกับเนียตที่ดี(เจตนาที่ดี) แม้นว่ายังไม่ลงมือทำ ถ้าเขาเนียตอยากทำสิ่งดีแต่ยังไม่ได้ทำเขาย่อมได้ผลบุญส่วนนี้หรืออาจจะเกินกว่านี้ เมื่อใดที่มุสลิมปรารถนาจะกระทำสิ่งที่ไม่ดีแต่เขายังไม่ได้ลงมือกระทำเนื่องจากความหวาดกลัวต่อการลงโทษของอัลลอฮฺ เขาย่อมได้รับการตอบแทนส่วนนี้ เพราะเขาได้ละทิ้งสิ่งดังกล่าวด้วยเจตนาที่ดีเพื่ออัลลอฮฺ ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِذَا أَرَادَ عَبْدِي أَنْ يَعْمَلَ سَيِّئَةً فَلَا تَكْتُبُوهَا عَلَيْهِ حَتَّى يَعْمَلَهَا، فَإِنْ عَمِلَهَا فَاكْتُبُوهَا بِمِثْلِهَا، وَإِنْ تَرَكَهَا مِنْ أَجْلِي فَاكْتُبُوهَا لَهُ حَسَنَةً، وَإِذَا أَرَادَ أَنْ يَعْمَلَ حَسَنَةً فَلَمْ يَعْمَلْهَا فَاكْتُبُوهَا لَهُ حَسَنَةً، فَإِنْ عَمِلَهَا فَاكْتُبُوهَا لَهُ بِعَشْرِ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعِ مِائَةِ ضِعْفٍ» (صحيح البخاري ج6 ص2724 رقم الحديث 7062)
“อัลลอฮฺได้ตรัสความว่า : “เมื่อบ่าวของข้าปรารถนาจะกระทำสิ่งที่ไม่ดี พวกเจ้าอย่าได้บันทึกมันจนกว่าเขาจะลงมือทำ หากเขาลงมือทำก็จงบันทึกทันที และถ้าเขาละทิ้งมันเพื่อข้า พวกเจ้าจงบันทึกมันด้วยการตอบแทนที่ดีต่อเขา และหากบ่าวของข้าปรารถนากระทำสิ่งที่ดีแต่ยังไม่ได้ลงมือทำ พวกเจ้าจงบันทึกแก่เขาซึ่งผลตอบแทนที่ดี และถ้าเขาได้ลงมือทำมัน พวกเจ้าจงบันทึกแก่เขาเป็นสิบเท่าของการตอบแทน จนถึงเจ็ดร้อยเท่า" (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 6/2724 เลขที่ 7062)
บางครั้งความต้องการทางอารมณ์ที่อิสลามอนุมัติย่อมเปลี่ยนไปเป็นการภักดีอย่างหนึ่งถ้าได้ทำมันด้วยเนียตและความตั้งใจที่ดี ตัวอย่างเช่น การกินการดื่มของมุสลิมถ้าเขาทำเพื่อหวังรักษาสุขภาพร่างกายหรือต้องการเสริมสร้างพลังเพื่อให้สามารถใช้ในการแสวงปัจจัยยังชีพได้ หรือ เพื่อใช้พลังส่วนนั้นในการปฏิบัติตามคําสั่งของอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่แสดงถึงการภักดีต่ออัลลอฮฺหรือการงานอื่นๆ อาทิ การเลี้ยงดูครอบครัวและคนที่อยู่ภายใต้ความผิดชอบของเขา การกระทำของเขาในเชิงที่ว่านี้ถือว่าได้รับการตอบแทน ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِذَا أَنْفَقَ الرَّجُلُ عَلَى أَهْلِهِ يَحْتَسِبُهَا فَهُوَ لَهُ صَدَقَةٌ» (صحيح البخاري ج1 ص30 رقم الحديث 55)
ความว่า : “เมื่อใดที่ชายคนหนึ่งได้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อครอบครัวของเขาด้วยความหวังในผลบุญ(จากอัลลอฮฺ) ดังนั้น การใช้จ่ายดังกล่าวก็จะมีผลบุญเท่ากับการบริจาคทานเศาะดะเกาะฮฺ" (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/30 เลขที่ 55)
กรณีเดียวกันถ้ามุสลิมได้ปฏิบัติเพื่อตอบสนองอารมณ์ทางเพศกับภรรยาของเขาซึ่งเป็นวิธีการที่อนุญาตให้กระทำ โดยจุดประสงค์ของเขาคือ ต้องการให้ตัวเองบริสุทธิ์และห่างไกลจากการประพฤติชั่ว เขาจะได้รับการตอบแทนที่ดีและการกระทำของเขาถือว่าเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺประการหนึ่ง ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«وَفِى بُضْعِ أَحَدِكُمْ صَدَقَةٌ ». قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّهِ أَيَأْتِى أَحَدُنَا شَهْوَتَهُ وَيَكُونُ لَهُ فِيهَا أَجْرٌ ؟ ، قَالَ: «أَرَأَيْتُمْ لَوْ وَضَعَهَا فِى حَرَامٍ أَكَانَ عَلَيْهِ فِيهَا وِزْرٌ، فَكَذَلِكَ إِذَا وَضَعَهَا فِى الْحَلاَلِ كَانَ لَهُ أَجْرٌ» (صحيح مسلم ج2 ص697 رقم الحديث 1006)
“ณ ที่อวัยวะเพศของพวกท่าน คือการบริจาคทานอย่างหนึ่ง" พวกสาวกถามว่า โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ บางคนในหมู่พวกเราได้แสวงหาความสุขทางเพศของเขา เขาจะได้ผลบุญเพราะการกระทำดังกล่าวด้วยหรือ ? ท่านตอบว่า “พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่า ถ้าเขาใช้มันในหนทางที่ไม่อนุญาต เขาจะได้รับบาปจากการกระทำนั้น ดังนั้น ถ้าเขาใช้มันในหนทางที่อนุญาตให้กระทำ เขาย่อมได้ผลบุญด้วย" (มุสลิม 2/297 เลขที่ 1006)
เช่นกัน ทุกการกระทำของมุสลิม หากได้ลงมือทำมันด้วยความตั้งใจที่ที่ดี ถือว่าเป็นเศาะดะเกาะฮฺ (การบริจาคทานอย่างหนึ่ง) ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«عَلَى كُلِّ مُسْلِمٍ صَدَقَةٌ»، قَالُوا فَإِنْ لَمْ يَجِدْ ؟، قَالَ: «فَيَعْمَلُ بِيَدَيْهِ فَيَنْفَعُ نَفْسَهُ وَيَتَصَدَّقُ»، قَالُوا : فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ أَوْ لَمْ يَفْعَلْ؟، قَالَ: «فَيُعِينُ ذَا الْحَاجَةِ الْمَلْهُوفَ»، قَالُوا: فَإِنْ لَمْ يَفْعَلْ ؟، قَالَ: «فَيَأْمُرُ بِالْخَيْرِ» ـ أَوْ قَالَ: ـ «بِالْمَعْرُوفِ» قَالوا: فَإِنْ لَمْ يَفْعَلْ؟، قَالَ: «فَلْيُمْسِكْ عَنْ الشَّرِّ فَإِنَّهُ لَهُ صَدَقَةٌ» (صحيح البخاري ج5 ص2241 رقم الحديث 5676)
“มุสลิมทุกคนต้องบริจาคทาน พวกเขาถามว่า ถ้าไม่มีสิ่งใดเล่า ? ท่านตอบว่า ดังนั้นจงทำงานด้วยสองมือของท่านที่เป็นประโยชน์แก่ตัวท่าน แล้วจึงบริจาคทาน พวกเขาถามอีกว่า: จะทำอย่างไรหากไม่สามารถกระทำได้ ? ท่านตอบว่า : ดังนั้นให้ท่านช่วยเหลือคนที่ยากไร้ พวกเขาถามอีกว่า : ถ้าไม่สามารถกระทำได้ ? ท่านตอบว่า : ดังนั้นให้ชักชวนคนให้ทำดี พวกเขาถามอีกว่า : ถ้ากระทำไม่ได้อีกเล่า ? ท่านตอบว่า ให้เขาหยุดการกระทำสิ่งที่ไม่ดี สำหรับเขานั่นคือการเศาะดะเกาะฮฺเช่นกัน" (อัล-บุคอรีย์ 5/2241 เลขที่ 5676)
ศาสนาที่สามารถเปลี่ยนความผิดให้เป็นบุญได้ถ้ากลับใจ
อัลลอฮฺทรงอภัยโทษให้แก่ผู้ที่เตาบะฮฺ (สำนึกผิดและกลับใจ) กับสิ่งที่ได้กระทำผิดไป และเสียใจกับกระทำที่ผ่านมา และมีความรู้สึกว่าจะไม่กลับไปหามันอีกแล้ว ซึ่งพระองค์จะเปลี่ยนมันให้เป็นความดีแทน อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿وَٱلَّذِينَ لَا يَدۡعُونَ مَعَ ٱللَّهِ إِلَٰهًا ءَاخَرَ وَلَا يَقۡتُلُونَ ٱلنَّفۡسَ ٱلَّتِي حَرَّمَ ٱللَّهُ إِلَّا بِٱلۡحَقِّ وَلَا يَزۡنُونَۚ وَمَن يَفۡعَلۡ ذَٰلِكَ يَلۡقَ أَثَامٗا ٦٨ يُضَٰعَفۡ لَهُ ٱلۡعَذَابُ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَيَخۡلُدۡ فِيهِۦ مُهَانًا ٦٩ إِلَّا مَن تَابَ وَءَامَنَ وَعَمِلَ عَمَلٗا صَٰلِحٗا فَأُوْلَٰٓئِكَ يُبَدِّلُ ٱللَّهُ سَئَِّاتِهِمۡ حَسَنَٰتٖۗ وَكَانَ ٱللَّهُ غَفُورٗا رَّحِيمٗا ٧٠﴾ (الفرقان : 68-70)
ความว่า : “และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮฺ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม เละพวกเขาไม่ผิดประเวณี เเละผู้ใดกระทําเช่นนั้นเขาจะได้พบกับความผิดอันมหันต์ การลงโทษในวันกิยามะฮฺจะถูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ เว้นแต่ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว ศรัทธาและประกอบการงานที่ดี เขาเหล่านั้นแหละอัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนความชั่วของพวกเขาเป็นความดี และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ" (อัล-
ฟุรกอน 68-70)
ทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของอัลลอฮฺ ส่วนสิทธิของมนุษย์นั้นแน่นอนต้องคืนสิทธิให้มนุษย์ตามที่เขาสมควรได้รับ หรือขออภัยในสิ่งที่ได้กระทำผิดต่อเขา
อิสลามได้เสนอทางออกที่ดีแก่คนที่กระทำผิดและได้แนะนำวิธีการแก้ปัญหาจิตใจของคนประเภทนี้โดยการเปิดประตูเตาบะฮฺ(กลับตัว)แก่เขา ให้เขารู้สึกเข็ดกลัวและไม่อยากกลับไปหามันอีก อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿قُلۡ يَٰعِبَادِيَ ٱلَّذِينَ أَسۡرَفُواْ عَلَىٰٓ أَنفُسِهِمۡ لَا تَقۡنَطُواْ مِن رَّحۡمَةِ ٱللَّهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ يَغۡفِرُ ٱلذُّنُوبَ جَمِيعًاۚ إِنَّهُۥ هُوَ ٱلۡغَفُورُ ٱلرَّحِيمُ ٥٣﴾ (الزمر : 53)
ความว่า : “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด ปวงบ่าวของข้าเอ๋ย! บรรดาผู้ละเมิดต่อตัวของพวกเขาเอง พวกท่านอย่าได้หมดหวังต่อพระเมตตาของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ" (อัซ-ซุมัร 53)
อิสลามได้เปิดประตูเตาบะฮฺแก่เขาด้วยความสะดวกง่ายดาย อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿وَمَن يَعۡمَلۡ سُوٓءًا أَوۡ يَظۡلِمۡ نَفۡسَهُۥ ثُمَّ يَسۡتَغۡفِرِ ٱللَّهَ يَجِدِ ٱللَّهَ غَفُورٗا رَّحِيمٗا ١١٠﴾ (النساء : 110)
ความว่า : “และผู้ใดที่กระทำความชั่วหรืออธรรมแก่ตัวเอง แล้วเขาขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ เขาก็จะพบว่า อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษเป็นผู้ทรงเมตตา" (อัน-นิสาอ์ 110)
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คือกรณีของผู้ที่เป็นมุสลิม ส่วนผู้ที่รับอิสลามใหม่ อิสลามได้ให้รางวัลแก่เขาด้วยการตอบแทนแก่เขาเป็นสองเท่าเนื่องจากความศรัทธาที่เขามีต่อท่านศาสนทูตมุหัมมัดหรือต่อสาส์นของท่าน อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
﴿ٱلَّذِينَ ءَاتَيۡنَٰهُمُ ٱلۡكِتَٰبَ مِن قَبۡلِهِۦ هُم بِهِۦ يُؤۡمِنُونَ ٥٢ وَإِذَا يُتۡلَىٰ عَلَيۡهِمۡ قَالُوٓاْ ءَامَنَّا بِهِۦٓ إِنَّهُ ٱلۡحَقُّ مِن رَّبِّنَآ إِنَّا كُنَّا مِن قَبۡلِهِۦ مُسۡلِمِينَ ٥٣ أُوْلَٰٓئِكَ يُؤۡتَوۡنَ أَجۡرَهُم مَّرَّتَيۡنِ بِمَا صَبَرُواْ وَيَدۡرَءُونَ بِٱلۡحَسَنَةِ ٱلسَّيِّئَةَ وَمِمَّا رَزَقۡنَٰهُمۡ يُنفِقُونَ ٥٤﴾ (القصص : 52-54)
ความว่า : “บรรดาผู้ที่เราประทานคัมภีร์แก่พวกเขามาก่อนมัน(อัลกุรอาน) พวกเขาศรัทธาในมัน(อัลกุรอาน) และเมื่อ(อัลกุรอาน)ได้ถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขากล่าวว่า 'เราศรัทธาต่อมัน แท้จริง มันคือสัจธรรมมาจากพระเจ้าของเรา แท้จริงเราเป็นผู้นอบน้อมมาก่อนนี้' ชนเหล่านั้นจะได้รับรางวัลของพวกเขาสองครั้งเนื่องจากเขาได้อดทนและพวกเขาทดแทนความชั่วด้วยความดี และพวกเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นเครื่องยังชีพแก่พวกเขา" (อัล-เกาะศ็อศ 52-54)
ไม่เฉพาะสิ่งดังกล่าวเท่านั้นที่เขาสมควรได้รับ เพราะนอกจากนั้นแล้วเขาจะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺทั้งหมด รวมทั้งความผิดที่เขาได้กระทำมาก่อนเข้ารับอิสลาม เพราะท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวต่ออัมรฺ บิน อัล-อาศ ครั้นที่เขาให้สัตยาบันกับท่านด้วยเงื่อนไขคือต้องการให้ปลดบาปว่า
«أَمَا عَلِمْتَ أَنَّ الإِسْلاَمَ يَهْدِمُ مَا كَانَ قَبْلَهُ» (صحيح مسلم ج1 ص112 رقم الحديث 121)
“ท่านไม่ทราบดอกหรือว่าการเข้ารับอิสลามนั้นจะขจัดบาปทั้งหมดที่ผ่านมา" (มุสลิม 1/112 เลขที่ 121)
ศาสนาที่รับประกันความต่อเนื่องของผลบุญแม้จะเสียชีวิตไปแล้ว
อิสลามให้ประกันการงานที่ดีของผู้นับถือด้วยการตอบแทนที่ดีหลังความตาย โดยยึดเอาการงานที่ดีของเขาเป็นหลักในการตอบแทน ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِذَا مَاتَ الإِنْسَانُ انْقَطَعَ عَنْهُ عَمَلُهُ إِلاَّ مِنْ ثَلاَثَةٍ، إِلاَّ مِنْ صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ، أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ، أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ يَدْعُو لَهُ» (صحيح مسلم ج3 ص1255 رقم الحديث 1631)
“เมื่อใดที่มนุษย์ตายไป ทุกการงานของเขาจะจบสิ้นนอกจากสามสิ่งเท่านั้น คือ การบริจาคทานที่ให้ประโยชน์ต่อเนื่อง ความรู้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นเรื่อยไป และลูกที่ดีที่วิงวอนขอพรเพื่อเขา" (มุสลิม 3/1255 เลขที่ 1631)
และท่านได้กล่าวว่า
«مَنْ دَعَا إِلَى هُدًى كَانَ لَهُ مِنَ الأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنْ تَبِعَهُ لاَ يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا، وَمَنْ دَعَا إِلَى ضَلاَلَةٍ كَانَ عَلَيْهِ مِنَ الإِثْمِ مِثْلُ آثَامِ مَنْ تَبِعَهُ لاَ يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ آثَامِهِمْ شَيْئًا» (صحيح مسلم ج4 ص2060 رقم الحديث 2674)
“ใครที่ชักชวนคนไปสู่ทางนำแห่งอิสลาม เขาย่อมได้ผลบุญเท่ากับผลบุญของคนที่ตามเขา โดยไม่มีการลดผลบุญออกจากผู้คนที่เขาเชิญชวนแม้แต่น้อย ส่วนใครที่ชักชวนคนไปในทางที่หลงผิด สำหรับเขาคือบาปกรรมเท่ากับบาปกรรมของคนที่ตามเขา โดยไม่ลดจากบาปของผู้คนที่เขาเชิญชวนให้ทำตามแม้แต่น้อยนิด" (มุสลิม 4/2060 เลขที่ 2674)
เหล่านี้ คือสิ่งที่ผลักดันให้มุสลิมทุกคนหมั่นพัฒนาสังคมด้วยการเสนอสิ่งดีๆ หรือ ช่วยเหลือในสิ่งที่ดี หรือ ขจัดและต่อสู้กับสิ่งต่างๆ ที่จะนำมาหรือแพร่กระจายความเสื่อมเสียในสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้สมุดบันทึกของเขาในวันปรโลกนั้นใสสะอาดและบริสุทธิ์จากบาปทั้งปวง