×
อธิบายถึงรายละเอียดว่าด้วยสิทธิต่างๆ ในการแต่งงานและการครองคู่เป็นสามีภรรยา อาทิ สิทธิของภรรยาเหนือสามี สิทธิของสามีเหนือภรรยา หุก่มการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีประจำเดือน การถ่ายอสุจิข้างนอก การนำเชื้อที่ปฏิสนธิแล้วออกจากครรภ์ การรวมภรรยาหลายคนในบ้านเดียวกัน ความยุติธรรมระหว่างบรรดาภรรยา เป็นต้น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    สิทธิของสามีและภรรยา

    ﴿حقوق الزوجين﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด อัต-ตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ริซัลย์ สะอะ

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2009 - 1430

    ﴿حقوق الزوجين﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: ريزال أحمد

    مراجعة: صافي عثمان

    مصدر : مختصر الفقه الإسلامي

    2009 - 1430

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    สิทธิของสามีและภรรยา

    การแต่งงานนั้นมีมารยาทและสิทธิระหว่างสามีภรรยาทั้งสองฝ่าย คือการที่แต่ละฝ่ายต้องดูแลสิทธิและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน เพื่อความสุขสมหวัง มีชีวิตที่ดี และเพื่อให้เกิดความอบอุ่นในชีวิตครอบครัว

    ( ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤﮥ) [البقرة/228].

    ความว่า "และพวกนางนั้นจะได้รับเช่นเดียวกับสิ่งที่เป็นหน้าที่ของพวกนางจะต้องปฎิบัติโดยธรรม และสำหรับผู้ชายนั้นมีฐานะเหนือพวกนางขั้นหนึ่งและอัลลอฮนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาน" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 228)

    สิทธิของภรรยาเหนือสามี

    1. สามีต้องรับผิดชอบเลี้ยงภรรยาและลูกๆ ต้องให้เสื้อผ้า ที่พักที่ดี ต้องมีใจโอบอ้อมอารี อยู่ร่วมกันอย่างดีเป็นเพื่อนร่วมชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตกับภรรยาด้วยความอ่อนโยนและยิ้มแย้ม ต้องอดกลั้นเมื่อภรรยาโกรธ เอาใจนางเมื่อนางไม่พอใจ และทนต่อบางสิ่งบางอย่างที่อาจจะเดือดร้อนเพราะนาง เวลาภรรยาป่วยสามีต้องพาภรรยาไปรักษา และต้องสั่งสอนให้ภรรยาทำในสิ่งต้องรับผิดชอบและละเว้นสิ่งที่ไม่ดี สอนภรรยาเกี่ยวกับศาสนาถ้าภรรยาไม่เข้าใจหรือละเลยต่อศาสนกิจ ไม่บังคับให้นางทำหน้าที่ที่เหนือความสามารถของนาง ไม่ห้ามนางจากการขอสิ่งที่อนุโลมให้ทำได้ ตลอดจนต้องรักษาเกียรติของครอบครัวภรรยาและไม่กีดกันนางจากพวกเขา

    2. สามีสามารถหาความสุขตามที่อนุญาตกับภรรยาของเขาได้ทุกเวลาทุกเวลาตราบใดที่ไม่ทำความเสียหายให้กับเธอหรือทำให้เธอยุ่งจากการทำสิ่งที่วาญิบ

    3. สามีต้องให้ภรรยาได้ทานอาหารเมื่อเขาทาน ต้องให้เครื่องนุ่งห่มแก่นางเมื่อเขาเองก็ได้สวมใส่ สามีไม่สามารถตบตีหน้าภรรยาและมากล่าวคำหยาบคายต่อภรรยา และไม่ละทิ้งนางไปยกเว้นการไม่ร่วมนอนกับนางเท่านั้น(คือในกรณีที่ต้องการลงโทษนางเพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง ไม่อนุญาตให้สามีลงโทษด้วยการหนีออกจากบ้านไปที่อื่น เป็นต้น)

    عن أبي هريرة رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه وسلم قال: «.. وَاسْتَوْصُوا بِالنِّسَاءِ خَيْراً، فَإنَّـهُنَّ خُلِقْنَ مِنْ ضِلَعٍ، وَإنَّ أعْوَجَ شَيْءٍ فِي الضِّلَعِ أعْلاهُ، فَإنْ ذَهَبْتَ تُقِيمُهُ كَسَرْتَـهُ، وَإنْ تَرَكْتَـهُ لَـمْ يَزَلْ أعْوَجَ، فَاسْتَوْصُوا بِالنِّسَاءِ خَيْراً». متفق عليه.

    ความว่า "จงปฏิบัติดีๆ กับผู้หญิง เพราะพวกนางถูกสร้างมาจากกระดูกซี่โครง และแท้จริง ส่วนที่งดที่สุดของกระดูกซี่โครงคือส่วนบน ถ้าท่านจะดัดมัน มันก็จะหัก และหากท่านปล่อยมันไว้มันก็จะงออยู่เช่นนั้น ดังนั้นจงปฏิบัติดีๆ กับผู้หญิง" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5186 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 1468)

    สิทธิของสามีเหนือภรรยา

    ภรรยาต้องรับผิดชอบปรนนิบัติสามี จัดบ้านเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย อบรมสั่งสอนลูกๆ ให้ดี และมีเจตนาที่ดีต่อสามีอยู่เสมอ

    ต้องดูแลรักษาตัวเองเพื่อสามี ดูทรัพย์สินเงินทองและบ้านของสามี ภรรยาต้องต้อนรับสามีด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสต่อเขา ต้องแต่งตัวให้สวยงามเพื่อเขา ต้องเคารพและอยู่ร่วมกับเขาด้วยดี ต้องรู้จักหาปัจจัยที่ทำให้สามีผ่อนคลายและมีความสุข เพื่อให้บังเกิดสันติสุขและความอบอุ่นในครอบครัว

    ภรรยาต้องเชื่อฟังสามีในสิ่งที่ไม่ใช่การฝ่าฝืนอัลลอฮฺ(มะอฺศิยะฮฺ) และต้องหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้สามีโกรธ รวมทั้งไม่ออกจากบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาติจากสามี ไม่เปิดเผยความลับของเขา ไม่ใช้ทรัพย์สินของเขาเว้นแต่เมื่อได้รับอนุญาต ไม่นำคนเข้าบ้านเว้นแต่เป็นคนที่เขารักและชอบ ต้องให้เกียรติครอบครัวของเขา และต้องคอยช่วยเหลือเท่าที่สามารถจะปรนนิบัติได้เมื่อเขาป่วยหรืออ่อนแอ

    ด้วยเหตุนี้ เราจึงทราบว่า แท้จริงแล้วสตรีนั้นมีหน้าที่ต่อครอบครัวและสังคมด้วยงานที่ใหญ่และหนักหนามาก ไม่น้อยไปกว่าหน้าที่ของผู้ชายที่ต้องทำนอกบ้านเลย ดังนั้น บรรดาผู้คนที่เรียกร้องให้นางออกมานอกบ้านและละทิ้งจากหน้าที่ของนางเพื่อมาร่วมปะปนกับผู้ชายนั้น พวกเขาได้หลงจากการรับรู้คุณค่าของศาสนาและผลประโยชน์ทางโลกที่แท้จริงด้วยการหลงทางที่ห่างไกลมาก แล้วยังทำให้คนอื่นหลงทางจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคม

    ห้ามไม่ให้มีการชักช้าในการตอบสนองระหว่างสามีภรรยาต่อสิ่งที่แต่ละฝ่ายต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งทำ หรือรังเกียจที่จะทุ่มเท การลำเลิกบุญคุณ และการทำร้ายสร้างความเดือดร้อน

    หุก่มการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีประจำเดือน

    1. ห้ามมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาในขณะที่นางมีประจำเดือน จนกว่านางจะหมดประจำเดือนและได้ชำระร่างกายแล้ว และหากได้มีเพศสัมพันธ์กับนางในช่วงนั้น ถือว่าเขาได้กระทำบาปอันใหญ่หลวง ต้องกลับตัวและขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ

    2. ห้ามมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาเมื่อนางมีประจำเดือนและทางทวารหนัก อัลลอฮฺไม่ทรงมองเหลียวแลผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับภรรยาทางทวารหนัก

    3. อนุญาตให้สามีมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาได้ เมื่อประจำเดือนของนางหมดแล้วและนางได้อาบน้ำชำระร่างกายเป็นที่เรียบร้อย

    (ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ) [البقرة/222].

    ความว่า "และพวกเขาจะถามเกี่ยวกับประจำเดือน จงกล่าวเถิดว่ามันเป็นสิ่งให้โทษ ดังนั้นพวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงจาก(การมีเพศสัมพันธ์)ในขณะที่ภรรยามีประจำเดือน และจงอย่าเข้าใกล้นางจนกว่านางจะสะอาด ครั้นเมื่อนางได้ชำระร่างกายสะอาดแล้วก็จงเข้าไปหานางตามที่อัลลอฮฺทรงใช้พวกท่าน แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่กลับตัวและทรงรักบรรดาผู้ทำความสะอาด" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 222)

    สามีสามารถที่จะบังคับให้ภรรยาล้างเลือดประจำเดือนและสิ่งที่นะญิส และกำจัดสิ่งที่เขารังเกียจไม่ว่าจะเป็นผมหรือขนและอื่นๆ

    ความลับของการมีลูกและความคล้ายคลึงของลูกกับพ่อแม่

    1. เมื่อสามีมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา ถ้าน้ำเชื้อของเขาเข้าไปหาก่อนน้ำเชื้อของภรรยาลูกก็จะมีความคล้ายคลึงกับเขา และถ้าหากน้ำเชื้อของภรรยาเข้าไปหาก่อนลูกก็จะมีความคล้ายคลึงกับนาง

    2. ถ้าน้ำเชื้อของสามีเข้มข้นกว่าน้ำเชื้อของภรรยา ลูกที่ได้มาจะเป็นลูกชาย ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ และถ้าหากน้ำเชื้อของภรรยามีความเข้มข้นกว่า ลูกที่ได้มาจะเป็นลูกสาว

    การถ่ายอสุจิข้างนอก

    อนุญาตให้สามีถ่ายอสุจิข้างนอกมดลูกของภรรยา และการไม่ทำเช่นนั้นถือว่าดีกว่า เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้ภรรยาหมดความสุข และเป็นการยับยั้งการมีบุตรเยอะซึ่งเป็นจุดประสงค์หนึ่งของการสมรส

    การนำเชื้อที่ปฏิสนธิแล้วออกจากครรภ์

    เมื่อมีความจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย อนุญาตให้นำเชื้อที่ปฏิสนธิแล้วออกจากครรภ์ ก่อนที่จะครบสี่สิบวัน ด้วยการทานยาที่อนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่าสามีต้องอนุญาตด้วย และต้องไม่ทำให้ภรรยาเกิดอันตราย และไม่อนุญาตให้นำเชื้อดังกล่าวออกจากครรภ์เนื่องจากสาเหตุไม่ต้องการมีลูกมาก หรือคิดว่าไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้

    การรวมภรรยาหลายคนในบ้านเดียวกัน

    ห้าม(หะะรอม)ให้สามีอยู่ร่วมกับภรรยาสองคนขึ้นไปในบ้านหลังเดียวกัน นอกเสียจากบรรดาภรรยาเหล่านั้นยินยอมกัน และเขาต้องไม่เดินทางกับภรรยาคนใดคนหนึ่งเว้นแต่ต้องมีการจับฉลาก ผู้ใดก็ตามที่มีภรรยาสองคนแล้วเขาได้ลำเอียงแก่คนใดคนหนึ่ง ในวันกิยามะฮฺเขาจะมาในสภาพที่สีข้างเอียงไปด้านหนึ่ง

    ความยุติธรรมระหว่างบรรดาภรรยา

    สามีต้องมีความยุติธรรมระหว่างบรรดาภรรยา ในการแบ่งวัน การค้างคืน ด้านการส่งเสียเลี้ยงดู ด้านการให้ที่พักอาศัย แต่สำหรับการร่วมประเวณีนั้นไม่เป็นการวาญิบว่าต้องให้เท่ากัน แต่ถ้าเขาสามารถทำได้ก็จะเป็นการดี สำหรับความรู้สึกด้านจิตใจในการรักใครคนใดคนหนึ่งมากกว่านั้นไม่เป็นสิ่งต้องห้าม เพราะเขาไม่สามารถบังคับใจได้

    อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ) [النساء/ 129].

    ความว่า "และพวกเจ้าไม่สามารถที่จะให้ความยุติธรรมในระหว่างบรรดาภรรยาได้เลย แม้ว่าพวกเจ้าจะมีความพยายามแค่ไหนก็ตาม ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าเอียงไปจนหมด แล้วพวกเจ้าจะปล่อยให้บรรดานาง(ที่ถูกทอดทิ้ง)นั้นประหนึ่งผู้ที่ถูกแขวนไว้ และหากพวกเจ้าประนีประนอมกันและมีความยำเกรงแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ" (อัน-นิสาอ์ 129)

    ถือเป็นซุนนะฮฺ หากผู้ชายคนหนึ่งแต่งงานกับสาวโสด ในขณะที่เขามีภรรยาอยู่แล้ว และได้พำนักอยู่กับภรรยาใหม่เจ็ดวันก่อนจึงค่อยแบ่งเวลาให้กับภรรยาก่อนๆ แต่ถ้าเขาแต่งงานใหม่กับหญิงหม้าย ก็ให้เขาอยู่กับภรรยาใหม่เพียงสามวัน แล้วแบ่งเวลาตามปกติ แต่ถ้าหากเขาพอใจที่จะอยู่กับภรรยาใหม่เจ็ดวันก็ทำได้ แต่ต้องต้องชดใช้ให้กับภรรยาก่อนๆ เหมือนกับที่เขาทำกับภรรยาใหม่นั้น เสร็จแล้วก็แบ่งเวลาหลังจากนั้นให้ทุกๆ คน คนละหนึ่งคืน

    จากอุมมุ สลามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อท่านแต่งงานกับอุมมุ สลามะฮฺ ท่านได้พำนักกับเธอสามวัน และท่านกล่าวว่า

    «إنَّـهُ لَيْسَ بِكِ عَلَى أَهْلِكِ هَوَانٌ، إنْ شِئْتِ سَبَّعْتُ لَكِ، وَإنْ سَبَّعْتُ لَكِ سَبَّعْتُ لِنِسَائِي». أخرجه مسلم.

    ความว่า "แท้จริงแล้ว เธอไม่ใช่คนที่น่าดูหมิ่นในสายตาของครอบครัวเธอ แต่ถ้าเธอต้องการให้ฉันอยู่กับเธอเจ็ดวัน ฉันก็จะอยู่ แต่ว่า ถ้าฉันอยู่กับเธอเจ็ดวัน ฉันก็จะอยู่กับบรรดาภรรยาคนอื่นของฉันเจ็ดวันเหมือนกัน” (บันทึกโดยมุสลิม 1460)

    การมีภรรยาเป็นหญิงโสดนั้น ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ต้องอยู่กับสามี และเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่เธอได้พลัดพรากจากครอบครัวเธอ เพราะฉะนั้น เธอจึงต้องการเพิ่มความคุ้นเคยเพื่อขจัดความรู้สึกว้าเหว่ไม่เหมือนกับหญิงหม้าย

    หากผู้ใดยอมมอบวันเวลาที่เป็นคราวของเธอให้กับภรรยาคนอื่นด้วยความยินยอมของสามี หรือมอบให้เป็นสิทธิของสามีแล้ว เขาก็จะใช้เวลาส่วนนั้นอยู่กับภรรยาคนอื่นได้

    สำหรับสามีที่มีภรรยาหลายคน เขาสามารถอยู่กับภรรยาคนใดคนหนึ่งแม้ไม่ใช่คราวของเธอ สามารถอยู่ใกล้กับนางได้ แต่ต้องไม่ร่วมประเวณีด้วย เพื่อถามข่าวคราวของนาง เมื่อถึงกลางคืนเขาต้องกลับไปอยู่กับภรรยาที่เป็นเจ้าของเวลานั้น

    เมื่อภรรยาออกเดินทางโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี หรือไม่อยากเดินทางร่วมกับสามี หรือไม่ยินยอมหลับนอนกับสามี สามีไม่ต้องจัดเวลาให้ และไม่ต้องส่งเสียเลี้ยงดู เพราะถือว่าเธอเป็นผู้ฝ่าฝืน เหมือนกับผู้ที่กระด้างกระเดื่องต่อสามี

    การกลับจากการเดินทางของสามี

    สำหรับสามีที่ไม่อยู่บ้าน ส่งเสริมไม่ให้เขาเข้าบ้านแบบพลการโดยไม่ได้บอกกล่าว เขาควรบอกให้ภรรยาเขารู้ก่อน เพื่อที่ภรรยาของเขาจะเตรียมตัวต้อนรับด้วยสภาพที่น่าพึงพอใจ หวีผมเรียบร้อย และได้ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น

    หุก่มจับมือกับหญิงอื่น

    หญิงอื่นที่ไม่สามารถจับมือหรืออยู่ด้วยกันสองต่อสอง คือหญิงที่ไม่ใช่ภรรยา หรือไม่ใช่ญาติสนิท(มะห์ร็อม)ของเขา

    หญิงที่เป็นญาติสนิท คือ หญิงที่เขาไม่สามารถทำการแต่งงานได้ตลอดกาล อาจเป็นเพราะเหตุทางสายโลหิต หรือเพราะเป็นพี่น้องร่วมแม่นม หรือเพราะเกี่ยวดองกันเพราะการแต่งงาน

    พี่น้องของสามี ลุงน้าอาของสามี หรือลูกของลุงน้าอาของสามี ไม่สามารถจับมือกับบรรดาภรรยาของพี่น้องของเขา หรือภรรยาของลุงน้าอาของเขา หรือภรรยาของลูกของลุงน้าอาของเขา เหมือนกับหญิงคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะห์ร็อม เพราะภรรยาของพี่น้องไม่ใช่มะห์ร็อมของเขา และเช่นเดียวกันกับคนที่ได้กล่าวมา

    ผู้ชายทุกคนไม่สามารถจับมือกับหญิงที่ไม่ใช่ญาติสนิท(มะห์ร็อม)ของเขา ยิ่งไปกว่านั้นคือการหอมแก้มเธอ จะไม่อนุญาตโดยเด็ดขาด ไม่ว่านางจะเป็นสาวหรือคนแก่ และไม่ว่าผู้ชายคนนั้นจะเป็นคนหนุ่มหรือชายแก่ก็ตาม และไม่ว่าการจับมือนั้นจะรองด้วยผ้าหรือไม่ก็ตาม ดังหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า

    «إنِّي لا أُصَافِحُ النِّسَاءَ». أخرجه النسائي وابن ماجه.

    ความว่า “แท้จริงแล้ว ฉันไม่จับมือทักทายกับผู้หญิง” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ 4181 และอิบนุ มาญะฮฺ 2874)

    ห้ามมุสลิมะฮฺจับมือกับชายที่ไม่ใช่มะห์ร็อม และห้ามขึ้นรถสองคนตามลำพังกับเขา เช่น กับคนขับรถซึ่งไม่ใช่มะห์ร็อม เป็นต้น

    ห้ามสองสามีภรรยาร่วมประเวณีในที่ๆ ให้คนเห็น และห้ามนำความลับของสามีภรรยาที่เกี่ยวกับการหลับนอนมาเผยแพร่ให้คนอื่นรู้

    หุก่มเมื่อสามีต้องการมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาแต่นางขัดขืน

    ถือเป็นหะรอมสำหรับผู้หญิงที่เมื่อสามีชวนร่วมหลับนอนแล้วนางไม่ยินยอม (ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในช่วงที่ห้ามมีเพศสัมพันธ์) ดังหะดีษจาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «إذَا دَعَا الرَّجُلُ امْرَأَتَـهُ إلَى فِرَاشِهِ فَلَـمْ تَأْتِـهِ، فَبَاتَ غَضْبَانَ عَلَيْـهَا، لَعَنَتْـها المَلائِكَةُ حَتَّى تُصْبِحَ». متفق عليه.

    ความว่า “เมื่อสามีชักชวนภรรยาเขาให้ร่วมหลับนอน แล้วนางไม่ทำตามจนสามีต้องนอนด้วยความโกรธในตัวนาง แท้จริงแล้วบรรดามลาอิกะฮฺ ต่างพากันสาปแช่งนาง ตราบจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 3237 และ มุสลิม 1436 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

    หุก่มผู้หญิงเดินทางไกล โดยไม่มีมะห์ร็อม

    ห้ามผู้หญิงเดินทางไกลโดยไม่มีมะห์ร็อม ถึงแม้การเดินทางนั้นจะเดินทางโดยรถ หรือเครื่องบิน หรือเรือ หรือรถไฟ หรือการโดยสารอื่นๆ ดังหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

    «لا تُسَافِرِ المَرْأَةُ إلا مَعَ ذِي مَـحْرَمٍ، وَلا يَدْخُلُ عَلَيْـهَا رَجُلٌ إلا وَمَعَهَا مَـحْرَمٌ». متفق عليه.

    ความว่า "ผู้หญิงต้องไม่เดินทางเว้นแต่พร้อมกับมะห์ร็อม และต้องไม่ให้ชายอื่นเข้าหานางเว้นแต่ต้องมีมะห์ร็อมอยู่กับนางด้วย" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 1862 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม 1341)

    รูปแบบของหิญาบตามหลักศาสนา

    1. หิญาบของสตรีต้องปกปิดร่างกายของนางทั้งหมด ต้องหนาและมองไม่เห็นสิ่งที่อยู่ใต้ผ้า ต้องกว้างไม่คับเห็นสัดส่วน ต้องไม่ตกแต่งประดับประดาชวนให้ผู้ชายมอง ต้องไม่ใช้น้ำหอม ต้องไม่ใช่เสื้อผ้าชุฮฺเราะฮฺหรือเสื้อผ้าที่แหวกแนวต้องการโชว์เช่นเสื้อผ้าตามแฟชั่น ต้องไม่เหมือนกับเสื้อผ้าผู้ชายหรือเสื้อผ้าของหญิงไม่ใช่มุสลิม และต้องไม่มีเครื่องหมายกางเขนและรูปภาพ

    2. การปกปิดร่างกายตามหลักศาสนานั้นถือเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมะฮฺทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะ เพราะมันคือสิ่งที่ปกป้องผู้หญิงจากการเกิดหายนะ(ฟิตนะฮฺ)เมื่อผู้ชายได้เห็น เช่น ใบหน้า มือ ผม คอ เท้า หน้าแข้ง ข้อศอก หรืออื่นๆ เช่นที่อัลกุรอานระบุว่า

    (ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ) [الأحزاب/53].

    ความว่า “และเมื่อพวกเจ้าขอสิ่งใดจากพวกนาง ก็จงของพวกนางหลังจากม่าน เช่นนั้นแหละเป็นการบริสุทธิ์อย่างยิ่งแก่หัวใจของพวกเจ้าและหัวใจของพวกนาง” (อัล-อะห์ซาบ 53)

    3. ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงอยู่ร่วมกับผู้ชายที่แต่งงานด้วยได้ ในสถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล และที่อื่นๆ เช่นที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงตะบัรรุจญ์(แต่งเสื้อผ้าที่ไม่ปกปิด) เปิดเผยทรวดทรงนาง หรือเปิดเผยความสวยงามในตัวนางให้กับผู้ชายอื่นที่ไม่ใช่สามี เพราะมันจะทำให้เกิดความหายนะ(ฟิตนะฮฺ)

    4. ผู้หญิงจำเป็นต้องปกปิดร่างกายเมื่ออยู่กับคนที่ไม่ใช่มะห์ร็อม เช่น สามีของพี่น้องสาวเธอเอง หรือลูกของลุงป้าน้าอาของเธอ และอื่นๆ เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่มะห์ร็อมของเธอ

    หุก่มการรับประทานสิ่งที่ป้องกันการตั้งครรภ์

    1. การได้มีเชื้อสายสืบทอดถือเป็นคุณอันยิ่งใหญ่ที่องค์อัลลอฮฺได้ประทานให้บ่าวของพระองค์ ดังนั้นอิสลามจึงส่งเสริมให้มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมจำกัดเผ่าพันธุ์ และไม่อนุญาตให้ป้องกันการตั้งครรภ์ เพียงเพราะว่ากลัวความยากจน ดังคำสั่งของพระองค์อัลลอฮฺที่ว่า

    (ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ) [الإسراء/31].

    ความว่า “และพวกเจ้าอย่าฆ่าลูกๆ ของพวกเจ้าเพราะความยากจน เราให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาและพวกเจ้า แท้จริงการฆ่าพวกเขานั้นเป็นความผิดอันใหญ่หลวง” (อัล-อิสรออ์ 31)

    2. ห้ามตัดตอนความสามารถในการมีลูกทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ การทำหมัน ยกเว้นมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

    3. อนุญาตให้ผู้หญิงรับประทานยาที่ป้องกันการตั้งครรภ์ (คุมกำเนิด) เพราะความเกรงจะเกิดอันตรายกับตนเอง (มีความจำเป็นจริงๆ) โดยได้รับอนุญาตจากสามีนาง เช่น ไม่สามารถคลอดปกติได้ หรือเป็นโรคที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวนาง หากต้องตั้งครรภ์ทุกๆ ปี จึงอนุญาตให้ผู้หญิงคุมกำเนิด หรือขยายเวลาการตั้งครรภ์ได้ เมื่อทั้งสามีภรรยายินยอม และใช้วิธีที่อนุญาตซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อภรรยา และได้รับการยืนยันรับรองจากแพทย์ที่เชื่อถือได้

    หุก่มการมีลูกด้วยการผสมเทียม

    1. ถ้าผู้หญิงตั้งครรภ์จากน้ำอสุจิและไข่ของบุคคลอื่น หรือจากไข่ของตนเองกับอสุจิของคนอื่น การตั้งครรภ์แบบนี้ ศาสนาถือเป็นสิ่งต้องห้าม

    2. เมื่อภรรยาตั้งครรภ์จากอสุจิของสามีที่สิ้นสุดการแต่งงานแล้ว(อดีตสามี) เพราะสามีเสียหรือหย่าร้าง ก็ถือว่าหะรอมเช่นกัน

    3. เมื่อนำอสุจิจากสามีภรรยาไปฝังในมดลูกคนอื่น ก็ถือว่าเป็นหะรอมเช่นกัน

    4. เมื่ออสุจิเป็นของสามีภรรยา แต่ไปฝังในมดลูกของภรรยาอีกคนหนึ่ง โดยการผสมข้างในหรือผสมข้างนอก ทั้งหมดนั้นถือเป็นหะรอมเช่นกัน

    5. เมื่ออสุจิเป็นของสามีภรรยา โดยเอาไข่จากสามีมาผสมกันภายในมดลูก หรือภายนอกในหลอดแก้ว แล้วนำไปฉีดใส่มดลูกของภรรยาเขาใหม่ การผสมเทียมแบบนี้ถือเป็นการเสี่ยง และควรระมัดระวังอย่างยิ่ง จึงอนุโลมให้กับผู้ที่มีความจำเป็นจริงๆ การกำหนดขอบเขตความจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญกำหนด และเมื่อเกิดกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องซักถามผู้ที่สามารถไว้วางใจได้ในศาสนาและความรู้ของเขา

    - ทารกชายหรือหญิง เมื่อเกิดมามีอวัยวะสมบูรณ์ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงให้เป็นเพศอื่น เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นความผิดที่สมควรได้รับโทษ เพราะเขาได้เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่อัลลอฮฺได้สร้างเขามา ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม

    - สำหรับคนที่มีอวัยวะเพศสองชนิดในร่างเดียวกัน ก็ให้มองถึงความเด่นของแต่ละเพศ หากทางชายเด่นกว่าทางหญิง เขาสามารถให้แพทย์ผ่าตัดส่วนที่เป็นหญิงหรือฮอร์โมนหญิงออกได้

    การตั้งครรภ์ของผู้หญิง

    1. ในแต่ละเดือนอัลลอฮฺกำหนดให้ผู้หญิงตกไข่หนึ่งฟอง เมื่อถึงลิขิตของพระองค์และมีการผสมกันระหว่างไข่กับเชื้ออสุจิแล้ว ก็จะรวมตัวเป็นเชื้อที่ปฏิสนธิและเกิดการตั้งครรภ์

    2. ผู้หญิงจะให้กำเนิดบุตรได้มากที่สุด คือหนึ่งคนต่อปี แต่บางทีอาจเป็นฝาแฝด ชายทั้งสองคน หรือหญิงทั้งสองคน หรือชายหนึ่งหญิงหนึ่ง หรือบางทีอาจให้กำเนิดแฝดสาม หรือมากกว่านั้น

    การกำเนิดแฝดนั้นมี 2 ชนิด

    หนึ่ง เกิดจากการผสมของอสุจิกับไข่สองฟอง ทำให้เกิดเป็นฝาแฝดที่หน้าตาคล้ายกันมาก

    สอง ฝาแฝดที่เกิดจากการผสมของอสุจิสองตัวกับไข่สองฟอง ทั้งคู่ต่างผสมกันเป็นคู่ๆ วัลลอฮฺอะอฺลัม

    1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱﭚ) [الإنسان/2]

    ความว่า “แท้จริงเราได้สร้างมนุษย์จากน้ำเชื้อผสมหยดหนึ่งเพื่อเราจะได้ทดสอบเขา ดังนั้น เราจึงทำให้เขาเป็นผู้ได้ยิน ผู้ได้เห็น” (อัล-อินซาน 2)

    2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ) [آل عمران/6].

    ความว่า “พระองค์ คือผู้ทรงทำให้พวกเจ้ามีรูปร่างขึ้นในมดลูก ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ไม่มีสิ่งใดที่ควรได้รับการเคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อาล อิมรอน 6)

    3. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ) [الشورى/49-50].

    ความว่า "อำนาจเด็ดขาดแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระองค์ทรงประทานลูกสาวแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงประทานลูกชายแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ หรือพระองค์ทรงประทานรวมให้แก่พวกเขาทั้งหลายเป็นแฝดชายและหญิง และพระองค์ทำให้เป็นหมันแก่ผู้ที่ทรงประสงค์ แท้จริง พระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ทรงอานุภาพ" (อัช-ชูรอ 49-50)