×
รวมหะดีษต่างๆ ของนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าด้วยเตาบะฮฺ การกลับเนื้อกลับตัว จำนวนสิบกว่าหะดีษ จากหนังสือริยาฎุศศอลิฮีน ของอิมาม อัน-นะวะวีย์

    หะดีษริยาฎุศศอลิฮีน : บทว่าด้วยการเตาบะฮฺ

    ﴿باب التوبة﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    อิมาม อัน-นะวะวีย์

    แปลโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือ ริยาฎุศ เศาะลิฮีน

    2011 - 1432

    ﴿باب التوبة﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الإمام يحيى بن شرف النووي رحمه الله

    ترجمة: فيصل عبدالهادي

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: كتاب رياض الصالحين

    2011 - 1432

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    บทที่ 2 การเตาบะฮฺ (กลับเนื้อกลับตัว)

    بَابُ التَوْبَةِ

    อุละมาอ์กล่าวว่า: การเตาบะฮฺเป็นสิ่งที่จำเป็นจากปวงบาปทั้งหลาย และถ้าหากความผิดนั้นเป็นความผิดระหว่างบ่าวกับอัลลอฮฺ โดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิของมนุษย์ มีเงื่อนไข 3 ประการ คือ

    หนึ่ง: ละทิ้งจากความผิดนั้นๆ

    สอง: มีความเสียใจและรู้สึกผิดจากการกระทำความผิด

    สาม: มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่กลับไปทำความผิดนั้นตลอดไป

    และหากขาดเงื่อนไขหนึ่งในสามประการนั้น ถือว่าการเตาบะฮฺไม่ถูกต้อง และถ้าหากความผิดนั้นเกี่ยวข้องกับลูกหลานอาดัมแล้วมีเงื่อนไขสี่ประการ นั่นคือ สามประการดังที่กล่าวมา และเงื่อนไขที่สี่คือให้ลบล้างความผิดจากสิทธิของเจ้าของ หากเป็นทรัพย์สินหรือสิ่งในทำนองเดียวกันก็ให้คืนทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าของ และหากความผิดนั้นเป็นข้อหาการใส่ร้ายว่าผิดประเวณี (ซินา) หรือข้อหาในทำนองเดียวกันก็ให้เขามอบตัวรับผิดหรือขอโทษจากผู้ที่เขาใส่ความ และหากเป็นความผิดการนินทาก็ให้เขาขอขมา และจำเป็นของเตาบะฮฺจากทุกๆ ความผิด และหากเขาเตาบะฮฺเพียงความผิดบางประการ การเตาบะฮฺของเขานั้นถือว่าใช้ได้เฉพาะความผิดนั้นๆ ตามทัศนะของอะฮฺลุลฮัก(บรรดาผู้ที่เดินบนเส้นทางอันสัจจริง) และยังคงเหลือความผิดอื่นๆ มีตัวบทหลักฐานมากมายจากคำภีร์อัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนบีและมติเอกฉันท์ของประชาชาติถึงความจำเป็นในการเตาบะฮฺ

    อัลลอฮฺตรัสว่า:

    ﭽ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﭼ

    ความว่า: “และพวกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ”[1]

    อัลลอฮฺตรัสว่า:

    ﭽ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﭼ

    ความว่า: “และพวกท่านจงขอนิรโทษจากพระเจ้าของพวกท่าน แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์”[2]

    อัลลอฮฺตรัสว่า:

    ﭽ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭼ

    ความว่า: “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงขอลุแก่โทษแด่อัลลอฮฺด้วยการลุแก่โทษอย่างจริงจังเถิด”[3]

    وعن أبي هريرةَ ت قَالَ : سمعْتُ رسولَ الله ص يقول : «والله إنِّي لأَسْتَغْفِرُ الله وأَتُوبُ إِلَيْه في اليَوْمِ أَكْثَرَ مِنْ سَبْعِينَ مَرَّةً» رَوَاهُ البُخَارِيُّ .

    ความว่า: และจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ت เล่าว่า: ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอลุแก่โทษ (อิสติฆฟารฺ) และกลับตัว (เตาบัต) ต่ออัลลอฮฺมากกว่า 70 ครั้งในหนึ่งวัน” (หะดีษบันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ)[4]

    وعن الأَغَرِّ بنِ يسار المزنِيِّ ت قَالَ : قَالَ رَسُول الله ص : «يَا أَيُّهَا النَّاسُ ، تُوبُوا إِلى اللهِ واسْتَغْفِرُوهُ ، فإنِّي أتُوبُ في اليَومِ مئةَ مَرَّةٍ » رَوَاهُ مُسْلِم.

    ความว่า: และจากท่านอัล-อะฆ็อรฺ อิบนุ ยะสารฺ อัล-มุซะนียฺ ت เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “โอ้มนุษย์เอ๋ย! พวกท่านจงกลับเนื้อกลับตัว(เตาบะฮฺ)สู่อัลลอฮฺเถิด และพวกท่านจงขอลุแก่โทษ (อิสติฆฟารฺ) ต่อพระองค์ เพราะแท้จริงฉันกล่าวอิสติฆฟารฺกลับตัวไปยังพระองค์วันละ 100 ครั้ง” (หะดีษบันทึกโดยมุสลิม)[5]

    وعن أبي حمزةَ أنسِ بنِ مالكٍ الأنصاريِّ- خادِمِ رسولِ الله ص - ت قَالَ : قَالَ رَسُولُ الله ص : «للهُ أفْرَحُ بِتَوْبَةِ عَبْدِهِ مِنْ أَحَدِكُمْ سَقَطَ عَلَى بَعِيرهِ وقد أضلَّهُ في أرضٍ فَلاةٍ» مُتَّفَقٌ عليه .

    وفي رواية لمُسْلمٍ : «للهُ أَشَدُّ فَرَحاً بِتَوبَةِ عَبْدِهِ حِينَ يتوبُ إِلَيْهِ مِنْ أَحَدِكُمْ كَانَ عَلَى رَاحِلَتهِ بأرضٍ فَلاةٍ ، فَانْفَلَتَتْ مِنْهُ وَعَلَيْهَا طَعَامُهُ وَشَرَابهُ فأَيِسَ مِنْهَا ، فَأَتى شَجَرَةً فاضطَجَعَ في ظِلِّهَا وقد أيِسَ مِنْ رَاحلَتهِ ، فَبَينَما هُوَ كَذَلِكَ إِذْ هُوَ بِها قائِمَةً عِندَهُ ، فَأَخَذَ بِخِطامِهَا ، ثُمَّ قَالَ مِنْ شِدَّةِ الفَرَحِ : اللَّهُمَّ أنْتَ عَبدِي وأنا رَبُّكَ ! أَخْطَأَ مِنْ شِدَّةِ الفَرَحِ» .

    ความว่า: และจากท่านอบูหัมซะฮฺ อนัส อิบนุ มาลิก อัล-อันศอรีย์ ت – คนรับใช้ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص- เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “อัลลอฮฺทรงดีใจต่อการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของบ่าวของพระองค์ยิ่งกว่าความดีใจของคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านที่ได้พบอูฐของเขาโดยบังเอิญซึ่งมันได้จากเขาไปในแผ่นดินที่เวิ้งกว้าง[6]” มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ[7]

    และในการรายงานของมุสลิมมีสำนวนว่า: “อัลลอฮฺทรงดีใจต่อการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของบ่าวของพระองค์ในขณะที่เขาทำการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ยิ่งกว่าคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านซึ่งได้นั่งอยู่บนสัตว์พาหนะของเขาในแผ่นดินที่เวิ้งกว้าง แล้วมันก็หลุดหนีไปโดยที่อาหารและน้ำดื่มติดไปด้วย เขาหมดหวังที่จะได้เจอมันอีก แล้วเขาก็ไปลงนอนใต้ร่มเงาไม้ในสภาพที่หมดหวังจะเจอกับพาหนะของเขาอีก และในขณะที่เขาอยู่ในสภาพนั้นจู่ๆ มันก็ยืนอยู่ต่อหน้าเขา แล้วเขาก็จับเชือก และได้กล่าวเนื่องจากความดีใจอย่างที่สุดว่า โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือบ่าวของฉัน และฉันคือพระเจ้าของพระองค์ เขาพูดผิดไปเนื่องจากความหลงดีใจอย่างที่สุด”

    وعن أبي موسَى عبدِ اللهِ بنِ قَيسٍ الأشْعريِّ ت عن النَّبيّ ص قَالَ : «إنَّ الله تَعَالَى يَبْسُطُ يَدَهُ بالليلِ لِيَتُوبَ مُسِيءُ النَّهَارِ ، ويَبْسُطُ يَدَهُ بالنَّهَارِ لِيَتُوبَ مُسِيءُ اللَّيلِ ، حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ مِنْ مَغْرِبِها» رواه مسلم.

    ความว่า: และจากท่านอบูมูซา อับดุลลอฮฺ อิบนุ ก็อสฺ อัล-อัชอะรีย์ ت จากท่านนบี ص ท่านกล่าวว่า: “แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงแบพระหัตถ์ของพระองค์ในเวลากลางคืนเพื่อรับการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของผู้ทำผิดในเวลากลางวัน และทรงแบพระหัตถ์ในเวลากลางวันเพื่อรับการกลับตัวของผู้ทำผิดในเวลากลางคืน จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก(หมายถึงปรากฏสัญญาณวันกิยามะฮฺ) (หะดีษบันทึกโดยมุสลิม)[8]

    وعن أبي هُريرةَ ت قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ ص : «مَنْ تَابَ قَبْلَ أنْ تَطْلُعَ الشَّمْسُ مِنْ مَغْرِبِها تَابَ اللهُ عَلَيهِ» رواه مسلم .

    ความว่า: และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ ت เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “ใครก็ตามที่กลับตัว (เตาบะฮฺ) ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันตก อัลลอฮฺจะทรงรับการกลับตัวของเขา” (หะดีษบันทึกโดยมุสลิม)[9]

    وعن أبي عبد الرحمان عبد الله بنِ عمَرَ بنِ الخطابِ ب عن النَّبي ص قَالَ : «إِنَّ الله ﻷ يَقْبَلُ تَوبَةَ العَبْدِ مَا لَمْ يُغَرْغِرْ» رواه الترمذي، وَقالَ : حديث حسن.

    ความว่า: และจากท่านอบูอับดิรฺเราะหฺมาน อับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ อิบนุ อัล-ค็อฏฏอบ ب จากท่านนบี ص กล่าวว่า: “แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงตอบรับการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของบ่าวของพระองค์ตราบใดที่วิญญานยังไม่ออกถึงลูกกระเดือก” (หะดีษบันทึกโดยอัต-ติรฺมิซียฺ และท่านกล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน)[10]

    - وعن زِرِّ بن حُبَيْشٍ ، قَالَ : أَتَيْتُ صَفْوَانَ بْنَ عَسَّالٍ ت أسْألُهُ عَن الْمَسْحِ عَلَى الخُفَّيْنِ ، فَقالَ : ما جاءَ بكَ يَا زِرُّ ؟ فقُلْتُ : ابتِغَاء العِلْمِ ، فقالَ : إنَّ المَلائكَةَ تَضَعُ أجْنِحَتَهَا لطَالبِ العِلْمِ رِضىً بِمَا يطْلُبُ . فقلتُ : إنَّهُ قَدْ حَكَّ في صَدْري المَسْحُ عَلَى الخُفَّينِ بَعْدَ الغَائِطِ والبَولِ ، وكُنْتَ امْرَءاً مِنْ أَصْحَابِ النَّبيِّ ص فَجئتُ أَسْأَلُكَ هَلْ سَمِعْتَهُ يَذكُرُ في ذلِكَ شَيئاً ؟ قَالَ : نَعَمْ ، كَانَ يَأْمُرُنا إِذَا كُنَّا سَفراً - أَوْ مُسَافِرينَ - أنْ لا نَنْزعَ خِفَافَنَا ثَلاثَةَ أَيَّامٍ وَلَيالِيهنَّ إلاَّ مِنْ جَنَابَةٍ ، لكنْ مِنْ غَائطٍ وَبَولٍ ونَوْمٍ . فقُلْتُ : هَلْ سَمِعْتَهُ يَذْكرُ في الهَوَى شَيئاً ؟ قَالَ : نَعَمْ ، كُنّا مَعَ رسولِ اللهِ ص في سَفَرٍ ، فبَيْنَا نَحْنُ عِندَهُ إِذْ نَادَاه أَعرابيٌّ بصَوْتٍ لَهُ جَهْوَرِيٍّ : يَا مُحَمَّدُ ، فأجابهُ رسولُ الله ص نَحْواً مِنْ صَوْتِه : «هَاؤُمْ» فقُلْتُ لَهُ : وَيْحَكَ ! اغْضُضْ مِنْ صَوتِكَ فَإِنَّكَ عِنْدَ النَّبي ص وَقَدْ نُهِيتَ عَنْ هذَا ! فقالَ : والله لاَ أغْضُضُ . قَالَ الأعرَابيُّ : المَرْءُ يُحبُّ القَوْمَ وَلَمَّا يلْحَقْ بِهِمْ ؟ قَالَ النَّبيُّ ص : «المَرْءُ مَعَ مَنْ أَحَبَّ يَومَ القِيَامَةِ» . فَمَا زَالَ يُحَدِّثُنَا حَتَّى ذَكَرَ بَاباً مِنَ المَغْرِبِ مَسيرَةُ عَرْضِهِ أَوْ يَسِيرُ الرَّاكبُ في عَرْضِهِ أرْبَعينَ أَوْ سَبعينَ عاماً - قَالَ سُفْيانُ أَحدُ الرُّواةِ : قِبَلَ الشَّامِ - خَلَقَهُ الله تَعَالَى يَوْمَ خَلَقَ السَّمَاواتِ والأَرْضَ مَفْتوحاً للتَّوْبَةِ لا يُغْلَقُ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ مِنْهُ. رواه الترمذي وغيره، وَقالَ: حديث حسن صحيح.

    ความว่า: และจากท่านซิรฺ อิบนุ หุบัยชฺ เล่าว่า: “ฉันได้ไปหาท่านศ็อฟวาน อิบนุ อัสสาล ت เพื่อที่ฉันจะได้ถามเขาเรื่องการเช็ดบนรองเท้าคุฟ แล้วท่านก็ได้ถามฉันว่า ด้วยเหตุใดท่านจึงมาหาฉัน? ฉันตอบว่า เพื่อแสวงหาความรู้ แล้วเขาก็กล่าวว่า แท้จริงบรรดามลาอิกะฮฺจะวางปีกของเขาบนผู้แสวงหาความรู้เพื่อเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อสิ่งที่เขาได้แสวงหา ต่อมาฉันก็กล่าวว่า: ฉันรู้สึกตะขิดตะขวงใจเรื่องการเช็ดบนรองเท้าคุฟหลังจากการอุจจาระและปัสสาวะ และท่านก็เป็นหนึ่งจากบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ص ดังนั้นฉันจึงมาถามท่านว่าท่านเคยได้ยินท่านนบี ص พูดถึงเรื่องนี้ไหม? เขาตอบว่า เคย ท่านได้สั่งใช้ให้พวกเรา –เมื่อพวกเราเดินทาง- มิให้ถอดรองเท้าคุฟของพวกเราเป็นระยะเวลา 3 วัน 3 คืนนอกจากจะมีญะนาบะฮฺ[11] แต่ทว่า (มิให้ถอด) เนื่องจากการอุจจาระ ปัสสาวะ และนอน และฉันก็ถามเขาต่ออีกว่า: ท่านเคยได้ยินท่านนบี ص พูดถึงเรื่องความรักไหม? เขาตอบว่า: เคย ในขณะที่พวกเราอยู่กับท่านนั้น จู่ๆ ก็มีชายชนบทคนหนึ่งเรียกท่านด้วยเสียงอันดังว่า โอ้มุหัมมัด แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ก็ขานตอบด้วยเสียงพอๆ กับเสียงเขาว่า “เราอยู่นี่” และฉันก็กล่าวแก่เขา (ชายอาหรับชนบท) ว่า นี่ จงลดเสียงของท่านซะ เพราะท่านยืนอยู่ต่อหน้านบี ص และท่านก็ถูกห้ามมิให้กระทำเช่นนี้! ชายคนนั้นตอบว่า: ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันไม่ลดเสียง ชายอาหรับคนนั้นกล่าวว่า: คนๆ หนึ่งรักคนกลุ่มหนึ่งแต่เขาไม่ทันพบกับพวกเขา? ท่านนบี ص ตอบว่า: “คนๆ หนึ่งจะอยู่กับบุคคลที่เขารักในวันกิยามะฮฺ” ต่อมาท่านก็ยังคงสนทนากับพวกเราจนกระทั่งท่านพูดถึงประตูบานหนึ่งจากทางทิศตะวันตก ซึ่งมีความกว้างหรือระยะทางความกว้างเท่ากับการเดินทางของผู้ขี่พาหนะเป็นเวลา 40 หรือ 70 ปี ท่านสุฟยาน[12]นักรายงานหะดีษคนหนึ่งกล่าวว่า: อยู่ทางประเทศชาม อัลลอฮฺได้สร้างมันในวันที่พระองค์สร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินเปิดไว้เพื่อตอบรับการกลับตัว (เตาบะฮฺ) มันจะไม่ปิดจนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันตก” (หะดีษบันทึกโดยอัต-ติรฺมิซียฺ และท่านกล่าวว่าเป็นหะดีษหะสันเศาะหี้หฺ)[13]

    وعن أبي سَعيد سَعْدِ بنِ مالكِ بنِ سِنَانٍ الخدريِّ ت : أنّ نَبِيَّ الله ص قَالَ : «كَانَ فِيمَنْ كَانَ قَبْلَكمْ رَجُلٌ قَتَلَ تِسْعَةً وتِسْعينَ نَفْساً ، فَسَأَلَ عَنْ أعْلَمِ أَهْلِ الأرضِ ، فَدُلَّ عَلَى رَاهِبٍ ، فَأَتَاهُ . فقال : إنَّهُ قَتَلَ تِسعَةً وتِسْعِينَ نَفْساً فَهَلْ لَهُ مِنْ تَوبَةٍ ؟ فقالَ : لا ، فَقَتَلهُ فَكَمَّلَ بهِ مئَةً ، ثُمَّ سَأَلَ عَنْ أَعْلَمِ أَهْلِ الأَرضِ ، فَدُلَّ عَلَى رَجُلٍ عَالِمٍ . فقَالَ : إِنَّهُ قَتَلَ مِئَةَ نَفْسٍ فَهَلْ لَهُ مِنْ تَوْبَةٍ ؟ فقالَ : نَعَمْ ، ومَنْ يَحُولُ بَيْنَهُ وبَيْنَ التَّوْبَةِ ؟ انْطَلِقْ إِلى أرضِ كَذَا وكَذَا فإِنَّ بِهَا أُناساً يَعْبُدُونَ الله تَعَالَى فاعْبُدِ الله مَعَهُمْ ، ولاَ تَرْجِعْ إِلى أَرْضِكَ فَإِنَّهَا أرضُ سُوءٍ ، فانْطَلَقَ حَتَّى إِذَا نَصَفَ الطَّرِيقَ أَتَاهُ الْمَوْتُ ، فاخْتَصَمَتْ فِيهِ مَلائِكَةُ الرَّحْمَةِ ومَلائِكَةُ العَذَابِ . فَقَالتْ مَلائِكَةُ الرَّحْمَةِ : جَاءَ تَائِباً ، مُقْبِلاً بِقَلبِهِ إِلى اللهِ تَعَالَى ، وقالتْ مَلائِكَةُ العَذَابِ : إنَّهُ لمْ يَعْمَلْ خَيراً قَطُّ ، فَأَتَاهُمْ مَلَكٌ في صورَةِ آدَمِيٍّ فَجَعَلُوهُ بَيْنَهُمْ - أيْ حَكَماً - فقالَ : قِيسُوا ما بينَ الأرضَينِ فَإلَى أيّتهما كَانَ أدنَى فَهُوَ لَهُ . فَقَاسُوا فَوَجَدُوهُ أدْنى إِلى الأرْضِ التي أرَادَ ، فَقَبَضَتْهُ مَلائِكَةُ الرَّحمةِ» مُتَّفَقٌ عليه .

    وفي رواية في الصحيح : «فَكَانَ إلى القَريَةِ الصَّالِحَةِ أقْرَبَ بِشِبْرٍ فَجُعِلَ مِنْ أهلِهَا» .

    وفي رواية في الصحيح : «فَأَوحَى الله تَعَالَى إِلى هذِهِ أَنْ تَبَاعَدِي ، وإِلَى هذِهِ أَنْ تَقَرَّبِي ، وقَالَ : قِيسُوا مَا بيْنَهُما ، فَوَجَدُوهُ إِلى هذِهِ أَقْرَبَ بِشِبْرٍ فَغُفِرَ لَهُ» . وفي رواية : «فَنَأى بصَدْرِهِ نَحْوَهَا» .

    ความว่า: และจากท่านอบูสะอีด สะอัด อิบนุ มาลิก อิบนุ สินาน อัล-คุดรียฺ ت เล่าว่า: ท่านนบี ص กล่าวว่า: “ในประชาชาติก่อนหน้าพวกท่านนั้นมีชายคนหนึ่งได้เข่นฆ่าผู้คนมา 99 ชีวิต ต่อมาเขาได้ถามหาถึงปราชญ์ที่มีความรู้มากที่สุดบนผืนแผ่นดิน และเขาก็ถูกแนะให้ไปหาบาทหลวงท่านหนึ่ง แล้วเขาก็ได้ไปหาและได้ถามบาทหลวงท่านนั้นว่า เขาได้ฆ่าคนมา 99 ชีวิต เขามีสิทธิ์ที่จะกลับตัว (เตาบะฮฺ) หรือไม่? บาทหลวงคนนั้นตอบว่า ไม่มีสิทธิ์เลย แล้วชายคนนั้นก็ฆ่าบาทหลวงครบเป็นคนที่ 100 หลังจากนั้นเขาก็ถามหาถึงปราชญ์ที่มีความรู้ที่สุดบนผืนแผ่นดิน แล้วเขาก็ถูกแนะยังชายคนหนึ่งที่มีความรู้ และเขาก็ได้ถามว่า เขาได้ฆ่าคนมา 100 ชีวิต เขามีสิทธิ์ที่จะกลับตัว (เตาบะฮฺ) ไหม? ชายที่มีความรู้นั้นตอบว่า มีสิ แล้วใครเล่าจะมาขวางกั้นระหว่างท่านกับการกลับตัว แต่ว่า ท่านจงเดินทางออกไปยังแผ่นดินนั้นๆ เพราะแท้จริง ณ ที่นั่นมีผู้คนที่สักการะอัลลอฮฺ ـ ดังนั้นท่านจงสักการะพร้อมๆ กับพวกเขา และท่านจงอย่ากลับไปยังดินแดนของท่านอีกเด็ดขาด เพราะมันเป็นดินแดนที่ชั่วช้า แล้วเขาก็ได้เดินทางออกจนกระทั่งถึงครึ่งทางความตายก็มาเยือนเขา และแล้วมลาอิกะฮฺแห่งความเมตตาปรานี(เราะหฺมะฮฺ) กับมลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษ(อะซาบ) ก็เกิดโต้เถียงกัน(ว่าผู้ใดที่ควรจะเป็นผู้รับวิญญาณเขาไป) มลาอิกะฮฺแห่งความเมตตาปรานีกล่าวว่า ชายคนนี้ได้เดินทางมาในสภาพที่กลับตัวและด้วยหัวใจที่มุ่งสู่อัลลอฮฺ ـ และมลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษก็กล่าวว่า เขาไม่เคยประกอบคุณงามความดีเลย แล้วมีมลาอิกะฮฺท่านหนึ่งในร่างมนุษย์ได้มาหาพวกเขา และพวกเขาก็ขอให้เขาตัดสินข้อโต้แย้ง เขาตอบไปว่า พวกท่านจงวัดระยะทางระหว่างสองดินแดนนั้นว่าศพของชายผู้นี้อยู่ใกล้ดินแดนไหนก็ให้ถือว่าเขาอยู่ในดินแดนนั้น แล้วพวกเขาก็ได้วัดและปรากฏว่าเขาอยู่ใกล้ดินแดนที่เขาต้องการ(เดินทางไป) จากนั้นมลาอิกะฮฺแห่งความเมตตาปรานีจึงได้เอาวิญญาณเขาไป” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ)[14]

    และมีรายงานหนึ่งในหนังสือ “อัศ-เศาะหี้หฺ”[15] ระบุว่า: “ปรากฏว่าระยะทางสู่เมืองที่ดีนั้นใกล้กว่าหนึ่งคืบ ดังนั้นเขาจึงถูกถือว่าเป็นชาวเมืองนั้น”

    และมีอีกรายงานหนึ่งในหนังสือ “อัศ-เศาะหี้หฺ”[16] ระบุว่า: “แล้วอัลลอฮฺ ـ ทรงประทานวะหฺยูแก่ดินแดนที่เขาจากมาให้ยืดห่างออกไปไกล และแก่ดินแดนที่เขามุ่งไปให้หดเข้ามาใกล้ และเขาก็กล่าวว่า พวกท่านจงวัดระยะทางระหว่างทั้งสองเถิด ต่อมาพวกเขาก็พบว่าเขาอยู่ใกล้กับดินแดนที่เขากำลังจะเดินทางไปหนึ่งคืบ แล้วอัลลอฮฺก็ทรงอภัยโทษให้แก่เขา”

    และมีสายรายงานหนึ่ง[17]ระบุว่า: “และเขาได้พยายามลุกขึ้นด้วยหน้าอกของเขาหันสู่ดินแดนที่เขาต้องการเดินทางไป”

    وعن عبدِ الله بن كعبِ بنِ مالكٍ ، وكان قائِدَ كعبٍ ت مِنْ بَنِيهِ حِينَ عمِيَ ، قَالَ : سَمِعتُ كَعْبَ بنَ مالكٍ ت يُحَدِّثُ بحَديثهِ حينَ تَخلَّفَ عن رسولِ اللهِ ص في غَزْوَةِ تَبُوكَ . قَالَ كعبٌ : لَمْ أتَخَلَّفْ عَنْ رسولِ الله ص في غَزْوَةٍ غزاها قط إلا في غزوة تَبُوكَ ، غَيْرَ أنّي قَدْ تَخَلَّفْتُ في غَزْوَةِ بَدْرٍ ، ولَمْ يُعَاتَبْ أَحَدٌ تَخَلَّفَ عَنْهُ ؛ إِنَّمَا خَرَجَ رسولُ الله ص والمُسْلِمُونَ يُريدُونَ عِيرَ قُرَيْشٍ حَتَّى جَمَعَ الله تَعَالَى بَيْنَهُمْ وبَيْنَ عَدُوِّهمْ عَلَى غَيْر ميعادٍ . ولَقَدْ شَهِدْتُ مَعَ رسولِ الله - صلى الله عليه وسلم - لَيلَةَ العَقَبَةِ حينَ تَوَاثَقْنَا عَلَى الإِسْلامِ ، وما أُحِبُّ أنَّ لي بِهَا مَشْهَدَ بَدْرٍ ، وإنْ كَانَتْ بدرٌ أذْكَرَ في النَّاسِ مِنْهَا . وكانَ مِنْ خَبَري حينَ تَخَلَّفْتُ عَنْ رسولِ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - في غَزْوَةِ تَبُوكَ أنِّي لم أكُنْ قَطُّ أَقْوى ولا أَيْسَرَ مِنِّي حِينَ تَخَلَّفْتُ عنْهُ في تِلكَ الغَزْوَةِ ، وَالله ما جَمَعْتُ قَبْلَهَا رَاحِلَتَيْنِ قَطُّ حَتَّى جَمَعْتُهُمَا في تِلْكَ الغَزْوَةِ وَلَمْ يَكُنْ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - يُريدُ غَزْوَةً إلاَّ وَرَّى بِغَيرِها حَتَّى كَانَتْ تلْكَ الغَزْوَةُ ، فَغَزَاها رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - في حَرٍّ شَديدٍ ، واسْتَقْبَلَ سَفَراً بَعِيداً وَمَفَازاً ، وَاستَقْبَلَ عَدَداً كَثِيراً ، فَجَلَّى للْمُسْلِمينَ أمْرَهُمْ ليتَأهَّبُوا أُهْبَةَ غَزْوِهمْ فأَخْبرَهُمْ بوَجْهِهِمُ الَّذِي يُريدُ ، والمُسلِمونَ مَعَ رسولِ الله كثيرٌ وَلاَ يَجْمَعُهُمْ كِتَابٌ حَافِظٌ ( يُريدُ بذلِكَ الدّيوَانَ) قَالَ كَعْبٌ : فَقَلَّ رَجُلٌ يُريدُ أنْ يَتَغَيَّبَ إلاَّ ظَنَّ أنَّ ذلِكَ سيخْفَى بِهِ ما لَمْ يَنْزِلْ فِيهِ وَحْيٌ مِنَ الله ، وَغَزا رَسُول الله - صلى الله عليه وسلم - تِلْكَ الغَزوَةَ حِينَ طَابَت الثِّمَارُ وَالظِّلالُ ، فَأنَا إلَيْهَا أصْعَرُ ، فَتَجَهَّزَ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - وَالمُسْلِمُونَ مَعَهُ وطَفِقْتُ أغْدُو لكَيْ أتَجَهَّزَ مَعَهُ ، فأرْجِعُ وَلَمْ أقْضِ شَيْئاً ، وأقُولُ في نفسي : أنَا قَادرٌ عَلَى ذلِكَ إِذَا أَرَدْتُ ، فَلَمْ يَزَلْ يَتَمادى بي حَتَّى اسْتَمَرَّ بالنَّاسِ الْجِدُّ ، فأصْبَحَ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - غَادياً والمُسْلِمُونَ مَعَهُ وَلَمْ أقْضِ مِنْ جِهَازي شَيْئاً ، ثُمَّ غَدَوْتُ فَرَجَعْتُ وَلَمْ أقْضِ شَيئاً ، فَلَمْ يَزَلْ يَتَمَادَى بي حَتَّى أسْرَعُوا وتَفَارَطَ الغَزْوُ ، فَهَمَمْتُ أنْ أرْتَحِلَ فَأُدْرِكَهُمْ ، فَيَا لَيْتَني فَعَلْتُ ، ثُمَّ لم يُقَدَّرْ ذلِكَ لي ، فَطَفِقْتُ إذَا خَرَجْتُ في النَّاسِ بَعْدَ خُرُوجِ رَسُولِ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - يَحْزُنُنِي أنِّي لا أرَى لي أُسْوَةً ، إلاّ رَجُلاً مَغْمُوصَاً عَلَيْهِ في النِّفَاقِ ، أوْ رَجُلاً مِمَّنْ عَذَرَ اللهُ تَعَالَى مِنَ الضُّعَفَاءِ ، وَلَمْ يَذْكُرْنِي رَسُولُ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - حَتَّى بَلَغَ تَبُوكَ ، فَقَالَ وَهُوَ جَالِسٌ في القَوْمِ بِتَبُوكَ : «ما فَعَلَ كَعْبُ بْنُ مَالِكٍ ؟ » فَقَالَ رَجُلٌ مِنْ بَنِي سَلِمَةَ : يا رَسُولَ اللهِ ، حَبَسَهُ بُرْدَاهُ والنَّظَرُ في عِطْفَيْهِ . فَقَالَ لَهُ مُعَاذُ بْنُ جَبَلٍ - رضي الله عنه - : بِئْسَ مَا قُلْتَ ! واللهِ يا رَسُولَ اللهِ مَا عَلِمْنَا عَلَيْهِ إلاَّ خَيْرَاً ، فَسَكَتَ رَسُولُ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - . فَبَيْنَا هُوَ عَلى ذَلِكَ رَأى رَجُلاً مُبْيِضاً يَزُولُ بِهِ السَّرَابُ ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - : «كُنْ أَبَا خَيْثَمَةَ» ، فَإذَا هُوَ أبُو خَيْثَمَةَ الأنْصَارِيُّ وَهُوَ الَّذِي تَصَدَّقَ بِصَاعِ التَّمْرِ حِيْنَ لَمَزَهُ المُنَافِقُونَ.

    قَالَ كَعْبٌ : فَلَمَّا بَلَغَنِي أنَّ رَسُولَ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - قَدْ تَوَجَّهَ قَافِلاً مِنْ تَبُوكَ حَضَرَنِي بَثِّي ، فَطَفِقْتُ أتَذَكَّرُ الكَذِبَ وأقُولُ : بِمَ أخْرُجُ مِنْ سَخَطِهِ غَدَاً ؟ وأسْتَعِيْنُ عَلى ذَلِكَ بِكُلِّ ذِي رأْيٍ مِنْ أهْلِي ، فَلَمَّا قِيْلَ : إنَّ رَسُولَ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - قّدْ أظَلَّ قَادِمَاً ، زَاحَ عَنّي البَاطِلُ حَتَّى عَرَفْتُ أَنِّي لَنْ أَنْجُوَ مِنْهُ بِشَيءٍ أَبَداً ، فَأجْمَعْتُ صدْقَهُ وأَصْبَحَ رَسُولُ الله - صلى الله عليه وسلم - قَادِماً ، وَكَانَ إِذَا قَدِمَ مِنْ سَفَرٍ بَدَأَ بِالمَسْجِدِ فَرَكَعَ فِيهِ رَكْعَتَيْنِ ثُمَّ جَلَسَ لِلنَّاسِ ، فَلَمَّا فَعَلَ ذلِكَ جَاءهُ المُخَلَّفُونَ يَعْتَذِرونَ إِلَيْه ويَحْلِفُونَ لَهُ ، وَكَانُوا بِضْعاً وَثَمانينَ رَجُلاً ، فَقَبِلَ مِنْهُمْ عَلانِيَتَهُمْ وَبَايَعَهُمْ واسْتَغْفَرَ لَهُمْ وَوَكَلَ سَرَائِرَهُمْ إِلى الله تَعَالَى ، حَتَّى جِئْتُ، فَلَمَّا سَلَّمْتُ تَبَسَّمَ تَبَسُّمَ المُغْضَبِ. ثُمَّ قَالَ : «تَعَالَ» ، فَجِئْتُ أمْشي حَتَّى جَلَسْتُ بَيْنَ يَدَيْهِ ، فقالَ لي : «مَا خَلَّفَكَ ؟ ألَمْ تَكُنْ قَدِ ابْتَعْتَ ظَهْرَكَ ؟» قَالَ : قُلْتُ : يَا رسولَ الله ، إنّي والله لَوْ جَلَسْتُ عِنْدَ غَيْرِكَ مِنْ أهْلِ الدُّنْيَا لَرَأيتُ أنِّي سَأخْرُجُ مِنْ سَخَطِهِ بِعُذْرٍ ؛ لقَدْ أُعْطِيتُ جَدَلاً ، ولَكِنِّي والله لَقَدْ عَلِمْتُ لَئِنْ حَدَّثْتُكَ اليوم حَدِيثَ كَذبٍ تَرْضَى به عنِّي لَيُوشِكَنَّ الله أن يُسْخِطَكَ عَلَيَّ ، وإنْ حَدَّثْتُكَ حَدِيثَ صِدقٍ تَجِدُ عَلَيَّ فِيهِ إنّي لأَرْجُو فِيهِ عُقْبَى الله - عز وجل - ، والله ما كَانَ لي مِنْ عُذْرٍ ، واللهِ مَا كُنْتُ قَطُّ أَقْوَى وَلاَ أَيْسَرَ مِنِّي حِينَ تَخَلَّفْتُ عَنْكَ . قَالَ : فقالَ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - : «أمَّا هَذَا فقَدْ صَدَقَ ، فَقُمْ حَتَّى يَقْضِيَ اللهُ فيكَ» . وَسَارَ رِجَالٌ مِنْ بَنِي سَلِمَة فاتَّبَعُوني فَقالُوا لِي : واللهِ مَا عَلِمْنَاكَ أذْنَبْتَ ذَنْباً قَبْلَ هذَا لَقَدْ عَجَزْتَ في أنْ لا تَكونَ اعتَذَرْتَ إِلَى رَسُول الله - صلى الله عليه وسلم - بما اعْتَذَرَ إليهِ المُخَلَّفُونَ ، فَقَدْ كَانَ كَافِيكَ ذَنْبَكَ اسْتِغْفَارُ رَسُول الله - صلى الله عليه وسلم - لَكَ . قَالَ : فَوالله ما زَالُوا يُؤَنِّبُونَنِي حَتَّى أَرَدْتُّ أَنْ أرْجعَ إِلَى رسولِ الله - صلى الله عليه وسلم - فأُكَذِّبَ نَفْسِي ، ثُمَّ قُلْتُ لَهُمْ : هَلْ لَقِيَ هذَا مَعِيَ مِنْ أَحَدٍ ؟ قَالُوا : نَعَمْ ، لَقِيَهُ مَعَكَ رَجُلانِ قَالاَ مِثْلَ مَا قُلْتَ ، وَقيلَ لَهُمَا مِثْلَ مَا قيلَ لَكَ ، قَالَ : قُلْتُ : مَنْ هُما ؟ قَالُوا : مُرَارَةُ بْنُ الرَّبيع الْعَمْرِيُّ ، وهِلاَلُ ابنُ أُمَيَّةَ الوَاقِفِيُّ ؟ قَالَ : فَذَكَرُوا لِي رَجُلَينِ صَالِحَينِ قَدْ شَهِدَا بَدْراً فيهِما أُسْوَةٌ ، قَالَ : فَمَضَيْتُ حِينَ ذَكَرُوهُما لِي . ونَهَى رَسُول الله - صلى الله عليه وسلم - عَنْ كَلامِنا أيُّهَا الثَّلاثَةُ مِنْ بَيْنِ مَنْ تَخَلَّفَ عَنْهُ ، فاجْتَنَبَنَا النَّاسُ - أوْ قَالَ : تَغَيَّرُوا لَنَا - حَتَّى تَنَكَّرَتْ لي في نَفْسي الأَرْض ، فَمَا هِيَ بالأرْضِ الَّتي أعْرِفُ ، فَلَبِثْنَا عَلَى ذلِكَ خَمْسِينَ لَيْلَةً . فَأمّا صَاحِبَايَ فَاسْتَكَانا وقَعَدَا في بُيُوتِهِمَا يَبْكيَان . وأمَّا أنَا فَكُنْتُ أشَبَّ الْقَومِ وأجْلَدَهُمْ فَكُنْتُ أخْرُجُ فَأشْهَدُ الصَّلاَةَ مَعَ المُسْلِمِينَ ، وأطُوفُ في الأَسْوَاقِ وَلا يُكَلِّمُنِي أَحَدٌ ، وَآتِي رسولَ الله - صلى الله عليه وسلم - فأُسَلِّمُ عَلَيْهِ وَهُوَ في مَجْلِسِهِ بَعْدَ الصَّلاةِ ،

    فَأَقُولُ في نَفسِي : هَلْ حَرَّكَ شَفَتَيْه برَدِّ السَّلام أَمْ لاَ ؟ ثُمَّ أُصَلِّي قَريباً مِنْهُ وَأُسَارِقُهُ النَّظَرَ ، فَإِذَا أقْبَلْتُ عَلَى صَلاتِي نَظَرَ إلَيَّ وَإِذَا الْتَفَتُّ نَحْوَهُ أعْرَضَ عَنِّي ، حَتَّى إِذَا طَال ذلِكَ عَلَيَّ مِنْ جَفْوَةِ المُسْلِمينَ مَشَيْتُ حَتَّى تَسَوَّرْتُ جِدارَ حائِط أبي قَتَادَةَ وَهُوَ ابْنُ عَمِّي وأَحَبُّ النَّاس إِلَيَّ ، فَسَلَّمْتُ عَلَيهِ فَوَاللهِ مَا رَدَّ عَليَّ السَّلامَ ، فَقُلْتُ لَهُ : يَا أَبَا قَتَادَةَ ، أنْشُدُكَ بالله هَلْ تَعْلَمُنِي أُحِبُّ الله وَرَسُولَهُ - صلى الله عليه وسلم - ؟ فَسَكَتَ ، فَعُدْتُ فَنَاشَدْتُهُ فَسَكَتَ ، فَعُدْتُ فَنَاشَدْتُهُ، فَقَالَ : اللهُ ورَسُولُهُ أَعْلَمُ. فَفَاضَتْ عَيْنَايَ ، وَتَوَلَّيْتُ حَتَّى تَسَوَّرْتُ الجِدَارَ، فَبَيْنَا أَنَا أمْشِي في سُوقِ الْمَدِينة إِذَا نَبَطِيٌّ مِنْ نَبَطِ أهْلِ الشَّام مِمّنْ قَدِمَ بالطَّعَامِ يَبيعُهُ بِالمَدِينَةِ يَقُولُ : مَنْ يَدُلُّ عَلَى كَعْبِ بْنِ مَالِكٍ ؟ فَطَفِقَ النَّاسُ يُشِيرُونَ لَهُ إلَيَّ حَتَّى جَاءنِي فَدَفَعَ إِلَيَّ كِتَاباً مِنْ مَلِكِ غَسَّانَ ، وَكُنْتُ كَاتباً . فَقَرَأْتُهُ فإِذَا فِيهِ : أَمَّا بَعْدُ، فإِنَّهُ قَدْ بَلَغَنا أنَّ صَاحِبَكَ قَدْ جَفَاكَ وَلَمْ يَجْعَلْكَ اللهُ بدَارِ هَوانٍ وَلاَ مَضْيَعَةٍ ، فَالْحَقْ بنَا نُوَاسِكَ ، فَقُلْتُ حِينَ قَرَأْتُهَا : وَهَذِهِ أَيضاً مِنَ البَلاءِ ، فَتَيَمَّمْتُ بهَا التَّنُّورَ فَسَجَرْتُهَا ، حَتَّى إِذَا مَضَتْ أَرْبَعُونَ مِنَ الْخَمْسينَ

    وَاسْتَلْبَثَ الْوَحْيُ إِذَا رسولُ رسولِ الله - صلى الله عليه وسلم - يَأتِيني ، فَقالَ : إنَّ رسولَ الله - صلى الله عليه وسلم - يَأمُرُكَ أنْ تَعْتَزِلَ امْرَأتَكَ ، فَقُلْتُ : أُطَلِّقُهَا أمْ مَاذَا أفْعَلُ ؟ فَقالَ : لاَ ، بَلِ اعْتَزِلْهَا فَلاَ تَقْرَبَنَّهَا ، وَأَرْسَلَ إِلَى صَاحِبَيَّ بِمِثْلِ ذلِكَ . فَقُلْتُ لامْرَأتِي : الْحَقِي بِأهْلِكِ فَكُوني عِنْدَهُمْ حَتَّى يَقْضِيَ اللهُ في هَذَا الأمْرِ . فَجَاءتِ امْرَأةُ هِلاَلِ بْنِ أُمَيَّةَ رسولَ الله - صلى الله عليه وسلم - فَقَالَتْ لَهُ : يَا رَسُولَ الله ، إنَّ هِلاَلَ بْنَ أمَيَّةَ شَيْخٌ ضَائِعٌ لَيْسَ لَهُ خَادِمٌ ، فَهَلْ تَكْرَهُ أنْ أخْدُمَهُ ؟ قَالَ : «لاَ ، وَلَكِنْ لاَ يَقْرَبَنَّكِ» فَقَالَتْ : إِنَّهُ واللهِ ما بِهِ مِنْ حَرَكَةٍ إِلَى شَيْءٍ ، وَوَالله مَا زَالَ يَبْكِي مُنْذُ كَانَ مِنْ أمْرِهِ مَا كَانَ إِلَى يَومِهِ هَذَا . فَقَالَ لي بَعْضُ أهْلِي : لَو اسْتَأْذَنْتَ رسولَ الله - صلى الله عليه وسلم - في امْرَأَتِكَ فَقَدْ أَذِن لاِمْرَأةِ هلاَل بْنِ أمَيَّةَ أنْ تَخْدُمَهُ ؟ فَقُلْتُ : لاَ أسْتَأذِنُ فيها رسولَ الله - صلى الله عليه وسلم - ، وَمَا يُدْرِيني مَاذَا يقُول رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - إِذَا اسْتَأْذَنْتُهُ ، وَأَنَا رَجُلٌ شَابٌ ! فَلَبِثْتُ بِذَلِكَ عَشْرَ لَيَالٍ فَكَمُلَ لَنا خَمْسُونَ لَيْلَةً مِنْ حِينَ نُهِيَ عَنْ كَلاَمِنا ، ثُمَّ صَلَّيْتُ صَلاَةَ الْفَجْرِ صَبَاحَ خَمْسِينَ لَيْلَةً عَلَى ظَهْرِ بَيْتٍ مِنْ بُيُوتِنَا ، فَبَيْنَا أَنَا جَالِسٌ عَلَى الْحالِ الَّتي ذَكَرَ الله تَعَالَى مِنَّا ، قَدْ ضَاقَتْ عَلَيَّ نَفْسي وَضَاقَتْ عَلَيَّ الأرْضُ بِمَا رَحُبَتْ ، سَمِعْتُ صَوْتَ صَارِخٍ أوفَى عَلَى سَلْعٍ يَقُولُ بِأعْلَى صَوتِهِ : يَا كَعْبَ بْنَ مَالِكٍ أبْشِرْ ، فَخَرَرْتُ سَاجِداً ، وَعَرَفْتُ أنَّهُ قَدْ جَاءَ فَرَجٌ . فآذَنَ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - النَّاسَ بِتَوْبَةِ الله - عز وجل - عَلَيْنَا حِينَ صَلَّى صَلاةَ الفَجْر فَذَهَبَ النَّاسُ يُبَشِّرُونَنَا ، فَذَهَبَ قِبَلَ صَاحِبَيَّ مُبَشِّرونَ وَرَكَضَ رَجُلٌ إِلَيَّ فَرَساً وَسَعَى سَاعٍ مِنْ أسْلَمَ قِبَلِي ، وَأَوْفَى عَلَى الْجَبَلِ ، فَكانَ الصَّوْتُ أسْرَعَ مِنَ الفَرَسِ ، فَلَمَّا جَاءني الَّذِي سَمِعْتُ صَوْتَهُ يُبَشِّرُني نَزَعْتُ لَهُ ثَوْبَيَّ فَكَسَوْتُهُمَا إيَّاهُ بِبشارته، وَاللهِ مَا أمْلِكُ غَيْرَهُمَا يَوْمَئِذٍ ، وَاسْتَعَرْتُ ثَوْبَيْنِ فَلَبسْتُهُما ، وَانْطَلَقْتُ أتَأمَّمُ رسولَ الله - صلى الله عليه وسلم - يَتَلَقَّاني النَّاسُ فَوْجاً فَوْجاً يُهنِّئونَني بالتَّوْبَةِ وَيَقُولُونَ لِي : لِتَهْنِكَ تَوْبَةُ الله عَلَيْكَ . حَتَّى دَخَلْتُ الْمَسْجِدَ فَإِذَا رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - جَالِسٌ حَوْلَه النَّاسُ ، فَقَامَ طَلْحَةُ بْنُ عُبَيْدِ اللهِ - رضي الله عنه - يُهَرْوِلُ حَتَّى صَافَحَني وَهَنَّأَنِي ، والله مَا قَامَ رَجُلٌ مِنَ المُهَاجِرينَ غَيرُهُ - فَكَانَ كَعْبٌ لاَ يَنْسَاهَا لِطَلْحَةَ - .

    قَالَ كَعْبٌ : فَلَمَّا سَلَّمْتُ عَلَى رَسُولِ الله - صلى الله عليه وسلم - قَالَ وَهُوَ يَبْرُقُ وَجْهُهُ مِنَ السُّرُور : «أبْشِرْ بِخَيْرِ يَومٍ مَرَّ عَلَيْكَ مُذْ وَلَدَتْكَ أُمُّكَ» فَقُلْتُ : أمِنْ عِنْدِكَ يَا رَسُول الله أَمْ مِنْ عِندِ الله ؟ قَالَ : «لاَ ، بَلْ مِنْ عِنْدِ الله - عز وجل - » ، وَكَانَ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - إِذَا سُرَّ اسْتَنَارَ وَجْهُهُ حَتَّى كَأَنَّ وَجْهَهُ قِطْعَةُ قَمَرٍ وَكُنَّا نَعْرِفُ ذلِكَ مِنْهُ ، فَلَمَّا جَلَسْتُ بَيْنَ يَدَيْهِ قُلْتُ : يَا رسولَ الله ، إنَّ مِنْ تَوْبَتِي أنْ أنْخَلِعَ مِنْ مَالِي صَدَقَةً إِلَى اللهِ وَإِلَى رَسُولهِ . فَقَالَ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - : «أمْسِكَ عَلَيْكَ بَعْضَ مَالِكَ فَهُوَ خَيْرٌ لَكَ» . فقلتُ : إِنِّي أُمْسِكُ سَهْمِي الَّذِي بِخَيبَر . وَقُلْتُ : يَا رسولَ الله ، إنَّ الله تَعَالَى إِنَّمَا أنْجَانِي بالصِّدْقِ ، وإنَّ مِنْ تَوْبَتِي أنْ لا أُحَدِّثَ إلاَّ صِدْقاً مَا بَقِيتُ ، فوَالله مَا عَلِمْتُ أَحَداً مِنَ المُسْلِمينَ أبْلاهُ الله تَعَالَى في صِدْقِ الحَدِيثِ مُنْذُ ذَكَرْتُ ذلِكَ لِرسولِ الله - صلى الله عليه وسلم - أحْسَنَ مِمَّا أبْلانِي الله تَعَالَى ، واللهِ مَا تَعَمَّدْتُ كِذْبَةً مُنْذُ قُلْتُ ذلِكَ لِرسولِ الله - صلى الله عليه وسلم - إِلَى يَومِيَ هَذَا ، وإنِّي لأرْجُو أنْ يَحْفَظَنِي الله تَعَالَى فيما بَقِيَ ، قَالَ : فأَنْزَلَ الله تَعَالَى : ﴿لَقَدْ تَابَ اللهُ عَلَى النَّبِيِّ وَالْمُهَاجِرِينَ وَالأَنْصَارِ الَّذِينَ اتَّبَعُوهُ فِي سَاعَةِ الْعُسْرَةِ﴾ حَتَّى بَلَغَ : ﴿إِنَّهُ بِهِمْ رَؤُوفٌ رَحِيم وَعَلَى الثَّلاثَةِ الَّذِينَ خُلِّفُوا حَتَّى إِذَا ضَاقَتْ عَلَيْهِمُ الأَرْضُ بِمَا رَحُبَتْ﴾ حَتَّى بَلَغَ : ﴿اتَّقُوا اللهَ وَكُونُوا مَعَ الصَّادِقِينَ﴾ [ التوبة : 117-119 ] قَالَ كَعْبٌ : واللهِ ما أنْعَمَ الله عَليَّ مِنْ نعمةٍ قَطُّ بَعْدَ إذْ هَدَاني اللهُ للإِسْلامِ أَعْظَمَ في نَفْسِي مِنْ صِدقِي رسولَ الله - صلى الله عليه وسلم - أنْ لا أكونَ كَذَبْتُهُ ، فَأَهْلِكَ كما هَلَكَ الَّذينَ كَذَبُوا ؛ إنَّ الله تَعَالَى قَالَ للَّذِينَ كَذَبُوا حِينَ أنْزَلَ الوَحْيَ شَرَّ مَا قَالَ لأَحَدٍ ، فقال الله تَعَالَى : ﴿سَيَحْلِفُونَ بِاللهِ لَكُمْ إِذَا انْقَلَبْتُمْ إِلَيْهِمْ لِتُعْرِضُوا عَنْهُمْ فَأَعْرِضُوا عَنْهُمْ إِنَّهُمْ رِجْسٌ وَمَأْوَاهُمْ جَهَنَّمُ جَزَاءً بِمَا كَانُوا يَكْسِبُونَ يَحْلِفُونَ لَكُمْ لِتَرْضَوْا عَنْهُمْ فَإِنْ تَرْضَوْا عَنْهُمْ فَإِنَّ اللهَ لا يَرْضَى عَنِ الْقَوْمِ الْفَاسِقِينَ﴾ [ التوبة : 95-96 ] قَالَ كَعْبٌ : كُنّا خُلّفْنَا أيُّهَا الثَّلاَثَةُ عَنْ أمْرِ أُولئكَ الذينَ قَبِلَ مِنْهُمْ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - حِينَ حَلَفُوا لَهُ فَبَايَعَهُمْ وَاسْتَغْفَرَ لَهُمْ وأرجَأَ رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - أمْرَنَا حَتَّى قَضَى الله تَعَالَى فِيهِ بذِلكَ . قَالَ الله تَعَالَى : ﴿وَعَلَى الثَّلاثَةِ الَّذِينَ خُلِّفُوا﴾ وَليْسَ الَّذِي ذَكَرَ مِمَّا خُلِّفْنَا تَخلُّفُنَا عن الغَزْو ، وإنَّمَا هُوَ تَخْلِيفُهُ إيّانا وإرْجَاؤُهُ أمْرَنَا عَمَّنْ حَلَفَ لَهُ واعْتَذَرَ إِلَيْهِ فقبِلَ مِنْهُ. (مُتَّفَقٌ عليه).

    وفي رواية : أنَّ النَّبيّ ص خَرَجَ في غَزْوَةِ تَبْوكَ يَومَ الخَميسِ وكانَ يُحِبُّ أنْ يخْرُجَ يومَ الخمِيس .

    وفي رواية : وكانَ لاَ يقْدمُ مِنْ سَفَرٍ إلاَّ نَهَاراً في الضُّحَى ، فإِذَا قَدِمَ بَدَأَ بالمَسْجِدِ فَصَلَّى فِيهِ رَكْعَتَيْنِ ثُمَّ جَلَسَ فِيهِ

    ความว่า: และจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ กะอับ อิบนุ มาลิก –ท่านเป็นผู้นำทางให้กับท่านกะอับ تตอนที่เขาตาบอด- เล่าว่า: เขาได้ยินกะอับ อิบนุ มาลิก تได้เล่าเรื่องของเขาตอนที่มิได้เข้าร่วมสงครามตะบูกกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ว่า: ฉันไม่เคยพลาดในการเข้าร่วมสงครามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ได้ออกสมรภูมิเลยนอกจากสงครามตะบูก และฉันก็ไม่ได้เข้าร่วมสงครามบัดรฺมาแล้วและท่านก็ไม่ได้ตำหนิผู้ใดที่ไม่ได้เข้าร่วมสงครามนั้น เพราะท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص และบรรดามุสลิมได้ออกไป (จากนครมะดีนะฮฺ) โดยมีจุดมุ่งหมายที่กองคาราวานเผ่ากุร็อยชฺ จนกระทั่งอัลลอฮฺ ـ ทรงให้พวกเขาและศัตรูต้องมาเผชิญกันโดยมิได้นัดหมาย และแท้จริงฉันได้ให้สัตยาบันกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ในคืนอัล-อะเกาะบะฮฺว่าจะยึดมั่นในศาสนาอิสลาม และฉันไม่ปรารถนาจะแลกคืนนั้นด้วยกับออกศึกบัดรฺเลย ถึงแม้นว่าสมรภูมิบัดรฺจะถูกกล่าวขานมากกว่าในหมู่ผู้คน

    เรื่องของฉันตอนที่ไม่ได้ออกสมรภูมิตะบูกพร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص นั้น คือฉันไม่เคยเข้มแข็งและร่ำรวยเท่าตอนที่ฉันไม่ได้ออกสมรภูมินั้นเลย ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันไม่เคยมีสัตว์พาหนะสองตัวมาก่อนเลยนอกจากในช่วงสงครามนี้ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص จะไม่ออกศึกนอกจากท่านจะใช้เล่ห์กลยุทธ์ จนกระทั่งในสงครามนั้น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ได้ทำศึกในช่วงที่อากาศร้อนระอุ และท่านได้เดินทางไกลและมีน้ำดื่มน้อยนิด และท่านก็เผชิญกับข้าศึกจำนวนมหาศาล ท่านได้ประกาศให้มุสลิมได้ทราบเพื่อเตรียมตัวพร้อมในสงคราม ท่านได้บอกให้พวกเขารู้ว่าจะมุ่งไปทางไหน มุสลิมที่ออกไปกับท่านเราะสูลุลลอฮฺมีจำนวนมากมาย โดยไม่มีการรวบรวมในสมุดบันทึก หมายถึงบัญชีรายชื่อกองทหาร

    กะอับเล่าต่อว่า: มีผู้ชายน้อยคนนักที่จะไม่ออกไป นอกจากเขาคิดว่าเขาจะปิดบังไว้ได้ตราบใดที่วะหฺยูยังคงถูกประทานจากอัลลอฮฺ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ได้เข้าร่วมสงครามนั้นช่วงผลไม้กำลังสุกและอากาศกำลังดีและฉันก็ชอบมันเป็นอย่างยิ่ง ท่านเราะสูลุลลอฮฺและบรรดามุสลิมที่อยู่กับท่านได้เตรียมตัว และฉันก็ได้ไปแต่เช้าเพื่อเตรียมตัวพร้อมกับท่าน แต่ฉันก็กลับไปโดยไม่ได้ทำอะไรเลย ฉันพูดกับตัวเองว่า: ฉันมีความสามารถพร้อมเมื่อฉันต้องการ และมันยังคงยืนกรานกับฉันเช่นนั้นจนผู้คนได้พากันเอาจริงเอาจัง รุ่งเช้าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص พร้อมกับบรรดามุสลิมได้ออกเดินทาง ฉันก็ยังไม่ได้จัดการกับอุปกรณ์ใดๆ ของฉันเลย พอรุ่งเช้าฉันออกไปและกลับมา และสงครามได้ล่วงผ่านไป ฉันตั้งใจว่าจะเดินทางและตามไปทันพวกเขา ฉันก็ได้แต่หวังว่าจะทำ จนฉันหมดโอกาสที่จะทำเช่นนั้น ต่อมาเมื่อฉันเดินออกไปพบผู้คน หลังจากนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ได้ออกไปแล้ว ที่ทำให้ฉันเสียใจก็คือ ฉันไม่ได้พบเห็นผู้ที่จะยึดถือเป็นแบบอย่างได้เลยนอกจากพบกับคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนหน้าไว้หลังหลอกหรือไม่ก็คนที่อัลลอฮฺ ตะอาลา อภัยให้เขา เพราะเป็นพวกที่อ่อนแอ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ก็ไม่ได้เอ่ยถึงฉันเลยจนท่านเดินทางถึงตะบูก ท่านได้พูดขึ้นขณะนั่งอยู่ท่ามกลางประชาชนที่ตะบูกว่า: “กะอับ อิบนุ มาลิกทำอะไรอยู่หนอ?” ชายคนหนึ่งจากตระกูลสาลิมิยฺยะฮฺ กล่าวขึ้นว่า: โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ผ้าห่มสองผืนของเขาและการมองดูสีข้างของเขาอย่างลำพองคงฉุดตัวเขาไว้แน่ มุอาซ อิบนุ ญะบัล ت ได้กล่าวแก่เขาว่า: ที่ท่านพูดมานั้นเลวมาก ! ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ฉันไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเขานอกจากความดีเท่านั้น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص หยุดนิ่งขณะที่ท่านอยู่ในสภาพเช่นนั้น ท่านได้เห็นชายคนหนึ่งสวมชุดขาวกลืนหายไปกับเปลวแดด ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “ขอให้เป็นอบู ค็อยษะมะฮฺเถิด” ก็ปรากฏชายคนหนึ่งนั้นคือ อบู ค็อยษะมะฮฺ อัล-อันศอรียฺ ซึ่งเป็นผู้ที่บริจาคอินทผลัมจำนวนหนึ่งศออฺเป็นทานขณะพวกมุนาฟิกพูดจาทิ่มแทงเขา

    กะอับเล่าต่อว่า: พอฉันได้ข่าวว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กำลังมุ่งหน้ากลับมาจากตะบูก ความเศร้าโศกเสียใจได้บังเกิดขึ้นกับฉัน และฉันเริ่มนึกถึงการโกหก ฉันพูดว่า: พรุ่งนี้ฉันจะรอดจากความกริ้วโกรธของท่านนบีด้วยสิ่งใด? และฉันจะขอความช่วยเหลือจากทุกคนในครอบครัวของฉันที่มีความคิดดีๆ ในเรื่องดังกล่าว เมื่อมีผู้กล่าวว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กลับมาถึงแล้ว ความคิดเหลวไหลก็หายไปจากฉัน จนฉันรู้ว่าไม่มีทางที่จะใช้สิ่งใดทำให้ตนเองรอดพ้นไปได้อย่างแน่นอน ฉันจึงตัดสินใจว่าต้องพูดความจริง พอรุ่งเช้าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ก็มาถึง เป็นธรรมดาเมื่อมาถึงท่านจะเริ่มต้นที่มัสญิด ท่านจะละหมาดในมัสญิดสองร็อกอัต แล้วนั่งลงเพื่อเพื่อให้ผู้คนเข้าพบ เมื่อท่านได้กระทำดังนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พวกที่ไม่ได้ออกไปสงครามก็ได้เข้ามาหาท่านแจ้งข้อขัดข้องและสาบานแก่ท่าน พวกเขามี 80 กว่าคน ท่านรับข้อแก้ตัวของพวกเขา และได้ให้สัตยาบันแก่พวกเขาและขออภัยโทษให้แก่พวกเขา และได้มอบหมายสิ่งที่พวกเขาแฝงเร้นไว้ให้แก่อัลลอฮฺตะอาลาจนเมื่อฉันเข้ามา เมื่อฉันให้สลาม ท่านแสดงอาการยิ้มเหมือนอาการยิ้มของคนที่กำลังโกรธ แล้วท่านก็กล่าวว่า “เชิญ!” ฉันเดินเข้าไปจนนั่งลงต่อหน้าท่าน ท่านกล่าวแก่ฉันว่า “อะไรทำให้ท่านไม่ออกไปสงคราม? ท่านไม่ได้ซื้อพาหนะไว้หรือ?”

    กะอับเล่าว่า: ฉันกล่าวว่า: โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ความจริงฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ถ้าหากฉันนั่งอยู่กับชาวโลกคนใดที่มิใช่ท่าน ฉันเห็นว่าฉันสามารถรอดพ้นจากความโกรธของเขาไปได้ด้วยข้อแก้ตัว ความจริงฉันมีพรสวรรค์ในเรื่องการโต้คารม แต่ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าฉันรู้ดีว่าถ้าหากฉันพูดปดกับท่านในวันนี้ ซึ่งอาจจะทำให้ท่านพอใจ แต่อัลลอฮฺก็จะทรงทำให้ท่านรู้และท่านก็จะโกรธฉัน และถ้าหากฉันพูดความจริงกับท่าน ท่านก็จะต้องโกรธฉัน ทว่าฉันหวังที่จะได้รับบั้นปลายที่ดีจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันไม่เคยเข้มแข็งและร่ำรวยเหมือนเช่นนี้มาก่อนขณะที่ฉันไม่ได้ออกไปกับท่าน

    กะอับเล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “สำหรับคนนี้นั้น เขาได้พูดความจริง ดังนั้นท่านจงลุกขึ้นเถิดจนกว่าอัลลอฮฺจะตัดสินในเรื่องของท่าน” มีผู้ชายหลายคนจากตระกูลบนี สาลิมะฮฺเดินตามฉันแล้วพูดกับฉันว่า พวกเราไม่เคยรู้ว่าท่านทำผิดมาก่อนหน้านี้เลย แล้วท่านหมดสภาพแล้วหรือที่จะไม่แก้ตัวกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ด้วยข้อแก้ตัวอย่างเดียวกับพวกที่ไม่ได้ออกไปทำสงครามทั้งหลายแก้ตัว เพราะน่าจะเป็นการเพียงพอแล้วถ้าหากท่านขอให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص วิงวอนขออภัยโทษให้ท่าน

    กะอับเล่าว่า: ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า พวกเขาเฝ้าพูดกับฉัน จนฉันเกิดความรู้สึกต้องการจะกลับไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص แล้วไปโกหกตัวเอง ฉันถามพวกเขาว่า: มีใครประสบเหตุการณ์เช่นนี้ร่วมกับฉันบ้าง? พวกเขาตอบว่า: มีสองคนที่ประสบเหตุการณ์เดียวกับท่าน

    กะอับเล่าว่า: ฉันถามว่า: เขาทั้งสองเป็นใคร? พวกเขาตอบว่าคือ มุรอเราะฮฺ อิบนุ เราะบีอฺ อัล-อัมรียฺ และฮิลาล อิบนุ อุมัยยะฮฺ อัล-วากิฟียฺ

    กะอับเล่าว่า: พวกเขาได้เอ่ยถึงชายสองคนที่เป็นคนดีเคยออกไปร่วมในสมรภูมิบัดฺรฺ ซึ่งบุคคลทั้งสองเป็นแบบอย่างที่ดี

    กะอับเล่าว่า: ฉันจึงเดินจากไป เมื่อพวกเขากล่าวถึงคนทั้งสองให้ฉันฟัง ขณะเดียวกันท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ก็ได้ห้ามผู้คนไม่ให้พูดคุยกับเราเพียงสามคน จากจำนวนพวกที่ไม่ได้ออกไปทำสงครามพร้อมกับท่าน

    กะอับเล่าว่า: ผู้คนได้พากับหลีกหนีพวกเรา หรือเขาได้กล่าวว่า: พวกเขามีท่าทีต่อเราเปลี่ยนแปลงไปจนฉันเกิดความรู้สึกว่าแปลกถิ่น มันเหมือนไม่ใช่ถิ่นเดิมที่ฉันเคยรู้จัก ฉันต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นเป็นเวลาถึง 50 วัน ส่วนเพื่อนอีกสองคนของฉัน เขาชราแล้วทั้งคู่ และได้แต่นั่งร้องไห้อยู่ในบ้าน ส่วนฉันเป็นคนหนุ่มที่สุดและแข็งแรงที่สุด ฉันออกไปร่วมละหมาดกับบรรดามุสลิม ฉันตระเวนไปตลาด โดยไม่มีใครพูดกับฉันแม้สักคนเดียว ฉันไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص คารวะท่านด้วยสลาม ขณะที่ท่านยังคงนั่งอยู่ในที่ของท่านภายหลังละหมาด ฉันพูดกับตัวเองว่า: ท่านได้ขยับริมฝีปากของท่านตอบสลามฉันหรือเปล่า? จากนั้นฉันได้ละหมาดใกล้ๆ กับท่าน และแอบมองท่าน เมื่อฉันหันมาสู่ละหมาด ท่านก็มองดูที่ฉัน เมื่อฉันหันไปทางท่าน ท่านก็หันหน้าหนี เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนานที่ต้องเผชิญกับความเมินเฉยของบรรดามุสลิม ฉันเดินไปจนขึ้นไปบนกำแพงสวนของอบู เกาะตาดะฮฺ ซึ่งเขาเป็นลูกของลุงฉัน เขาเป็นคนที่ฉันรักที่สุด ฉันให้สลามเขา ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าเขาไม่ได้ตอบสลามฉัน ฉันพูดกับเขาว่า: อบู เกาะตาดะฮฺเอ๋ย ด้วยอัลลอฮฺ ฉันขอให้ท่านช่วย ท่านก็รู้มิใช่หรือว่าฉันรักอัลลอฮฺและเราะสูลุลลอฮฺ ص ? เขานิ่ง หลังจากนั้นฉันได้กลับไปขอความช่วยเหลือจากเขาอีก แต่เขาก็นิ่งเงียบ หลังจากนั้นฉันได้กลับไปขอความช่วยเหลือจากเขาอีก แต่เขาก็นิ่งเงียบอีก หลังจากนั้นฉันได้กลับไปขอความช่วยเหลือจากเขาอีก เขากล่าวว่า: อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ย่อมรู้ดี ดวงตาทั้งสองของฉันเอ่อนองด้วยน้ำตา ฉันหันกลับจนเดินขึ้นไปบนกำแพงสวน ขณะฉันเดินอยู่ในตลาดของมะดีนะฮฺ ได้มีชาวนาคนหนึ่งจากพวกขาวนาชาวชามที่นำอาหารมาขายในนครมะดีนะฮฺพูดขึ้นว่า: จะมีใครชี้ทางให้ฉันไปหากะอับ อิบนุ มาลิกบ้าง? ผู้คนพากันชี้ให้เขามาที่ฉัน จนเขาได้มาหาฉัน และยื่นสาส์นฉบับหนึ่งจากกษัตริยิ์ฆ็อสสานให้ฉัน และโดยที่ฉันเป็นคนที่รู้หนังสือ ฉันจึงอ่านมัน ในนั้นมีใจความว่า: เราได้ทราบข่าวว่าเพื่อนของท่านกระทำกับท่านอย่างหยาบคาย อัลลอฮฺมิได้กำหนดให้ท่านต้องอยู่ในถิ่นที่ต่ำต้อยและคับแค้น จงไปอยู่กับเราเถิด เราจะให้ความช่วยเหลือท่าน ฉันพูดขึ้นขณะที่ฉันอ่านสาส์นนั้นว่า: นี้ก็เป็นการทดสอบอีกเช่นกัน ฉันได้นำสาส์นนั้นไปที่เตาไฟและเผามัน จนเวลาผ่านไปสี่สิบวันจากจำนวนห้าสิบวัน โดยที่วะหฺยูยังได้ได้ถูกประทานลงมา ได้มีผู้แทนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص มาหาฉันและแจ้งว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص มีคำสั่งให้ท่านเลิกอยู่กับภรรยาของท่าน ฉันถามว่า: ฉันต้องหย่าภรรยาของฉันไหม? หรือจะให้ฉันทำประการใด? เขาตอบว่า: ไม่ต้องหย่า แต่ท่านต้องเลิกยุ่งกับภรรยาและอย่าเข้าใกล้ตัวนางเป็นเด็ดขาด และท่านเราะสูลุลลอฮฺได้ส่งผู้แทนไปแจ้งข่าวเดียวกันแก่เพื่อนทั้งสองของฉัน ฉันได้กล่าวแก่ภรรยาว่า: เธอจงไปอยู่กับครอบครัวของเธอเถิด เธอจงอยู่กับพวกเขาจนกว่าอัลลอฮฺจะทรงตัดสินในเรื่องนี้ ภรรยาของฮิลาล อิบนุ อุมัยยะฮฺ ได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص แล้วกล่าวแก่ท่านว่า: โอ้เราะสูลุลลอฮฺ ฮิลาล อิบนุ อุมัยยะฮฺ เป็นคนชราที่ยากจน เขาไม่มีทาสรับใช้ ท่านจะรังเกียจไหมหากฉันจะรับใช้เขา? ท่านตอบว่า: ไม่หรอก, แต่อย่าให้เขาเข้าใกล้เธอ นางตอบว่า: ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า เขาเคลื่อนไหวทำอะไรไม่ได้แล้ว และขอสาบานต่ออัลลอฮฺอีกว่า เขายังคงร้องไห้ตั้งแต่เกิดเรื่องนี้ขึ้นจนถึงบัดนี้ ได้มีญาติบางคนของฉันบอกแก่ฉันว่า: ท่านควรเข้าไปขออนุญาตท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ในเรื่องภรรยาของท่านบ้าง เพราะท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ได้อนุญาตให้ภรรยาของฮิลาล อิบนุ อุมัยยะฮฺรับใช้เขา? ฉันตอบว่า: ฉันจะไม่ขออนุญาตท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ในเรื่องภรรยาของฉัน และฉันก็ไม่อาจรู้ได้ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص จะพูดอย่างไรเมื่อฉันขออนุญาตท่านในเรื่องภรรยา เพราะฉันยังเป็นคนหนุ่มแน่น ฉันจึงอยู่ในสภาพเช่นนั้นเป็นระยะเวลา 10 วัน และพวกเราก็อยู่มาครบ 50 วันนับตั้งแต่ได้ห้ามพูดกับพวกเรา ต่อมาฉันได้ไปละหมาดศุบหฺในเช้าของวันที่ 50 บนดาดฟ้าบ้านหลังหนึ่งของเรา ในขณะที่ฉันนั่งอยู่ในอาการที่อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวถึงพวกเราไว้ หัวใจของฉันรู้สึกตีบตัน และแผ่นดินที่กว้างขวางก็ดูแคบลง ฉันได้ยินคนที่ขึ้นไปบนภูเขาสัลอฺ ส่งเสียงตะโกนเต็มที่ว่า: กะอับ อิบนุ มาลิกเอ๋ย จงรับทราบข่าวดีเถิด ฉันได้ทรุดตัวลงสุญูดและรู้ว่าพ้นภัยแล้ว ต่อมาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ได้ประกาศให้ผู้คนทราบว่า อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกรได้รับการเตาบะฮฺของพวกเราแล้ว และขณะท่านได้ละหมาดศุบหฺ และผู้คนได้พากันไปแจ้งข่าวดีให้พวกเราทราบ ได้มีกลุ่มผู้แจ้งข่าวดีไปหาเพื่อนทั้งสองคนของฉัน มีคนหนึ่งควบม้าเร็วมาหาฉัน และมีคนหนึ่งจากเผ่าอัสลัม พยายามมาหาฉัน เขาขึ้นไปบนภูเขา และปราฏว่าเสียงของเขาเร็วกว่าม้า เมื่อคนที่ฉันได้ยินเสียงแจ้งข่าวดีมาถึงฉัน ฉันได้ถอดเสื้อผ้าของฉันออกสวมให้เขาเป็นค่าตอบแทนการแจ้งข่าวดีของเขา ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ในยามนั้นฉันไม่มีสมบัติใดอื่นนอกจากเสื้อผ้าสองชิ้นนั้น ฉันได้ขอยืมเสื้อผ้ามาสวม และตั้งใจจะไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ผู้คนได้เข้ามาแสดงความยินดีแก่ฉันที่อัลลอฮฺได้ทรงรับการเตาบะฮฺเป็นกลุ่มๆ พวกเขากล่าวแก่ฉันว่า ขอให้ท่านรับคำอวยพรเถิดว่าอัลลอฮฺรับการเตาบะฮฺของท่านแล้ว หลังจากนั้นฉันได้เข้าไปในมัสญิด พบว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กำลังนั่งอยู่โดยที่มีผู้คนห้อมล้อมรอบตัวท่าน ฏ็อลหะฮฺ อิบนุ อุบัยดุลลอฮฺ ت ได้ปรี่เข้ามาหาฉันสัมผัสมือและอวยพรให้ฉัน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าไม่มีบรรดามุญาฮิรีนคนใดลุกขึ้นเลยนอกจากเขาเท่านั้น และกะอับไม่เคยลืมน้ำใจของฏ็อลหะฮฺเลย

    กะอับเล่าว่า: เมื่อฉันกล่าวสลามแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ت ท่านได้พูดขึ้นด้วยใบหน้าที่แจ่มใสเพราะความยินดีว่า: “จงรับข่าวดีด้วยวันที่ดีที่สุดที่ผ่านท่านไปนับแต่มารดาได้ให้กำเนิดท่านมา” ฉันถามว่า: มันมาจากท่านหรือมาจากอัลลอฮฺ? ท่านตอบว่า: “หามิได้ แต่มันมาจากอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร” ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص เมื่อเกิดความปิติยินดีนั้นใบหน้าของท่านจะแจ่มใสดุจดวงจันทร์ และเราเห็นสิ่งดังกล่าวนั้นจากท่าน เมื่อฉันนั่งลงต่อหน้าท่าน ฉันได้กล่าวขึ้นว่า: โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ อันเนื่องจากการรับเตาบะฮฺของฉัน ฉันจะสละทรัพย์ของฉันทั้งหมดเป็นทานเพื่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “จงเก็บทรัพย์ของท่านไว้บ้างเถิด มันจะเป็นการดีแก่ท่าน” ฉันกล่าวว่า: ฉันจะเก็บส่วนของฉันที่ได้จากค็อยบัรฺไว้ และฉันได้กล่าวว่า: โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ความจริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ให้ฉันรอดพ้นด้วยสัจจะและอันเนื่องจากการรับเตาบะฮฺของฉัน ฉันจะไม่พูดนอกจากคำพูดที่สัจจะเท่านั้นตราบที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีมุสลิมคนใดที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงทดสอบในเรื่องสัจจะ นับตั้งแต่ฉันได้เล่าเรื่องดังกล่าวแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ดียิ่งกว่าที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงทดลองฉัน และขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันไม่เคยคิดโกหกอีกเลยนับตั้งแต่ที่ฉันได้เล่าเรื่องนั้นให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ทราบจนถึง ณ วันนี้ และฉันหวังว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา จะคุ้มครองฉันตลอดไปตราบที่ยังมีชีวิตอยู่

    กะอับเล่าว่า: และอัลลอฮฺได้ประทานอัลกุรอานลงมา

    ﭽ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﭼ

    ความว่า: “แท้จริงอัลลอฮฺทรงอภัยโทษให้แก่ท่านนะบี ชาวมุฮาญิรีน และชาวอันศอรแล้ว ซึ่งเขาเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามเขา(นบี)ในยามคับขัน”

    จนถึงอายะฮฺที่ว่า

    ﭽ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭼ

    ความว่า: “แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาอยู่เสมอ และอัลลอฮฺทรงอภัยโทษให้แก่ชายสามคน (คือ กะอับ อิบนุ มาลิก, มุรอเราะฮฺ อิบนุ อัร-เราะบีอฺ, และฮิลาล อิบนุ อุมัยยะฮฺ) ที่ไม่ได้ออกไปสงคราม จนกระทั่งแผ่นดินได้คับแคบแก่พวกเขาทั้งๆ ที่มันกว้างใหญ่ไพศาล”

    จนถึง

    ﭽ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭼ

    ความว่า: “พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงอยู่อยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่สัจจริง”

    กะอับเล่าว่า: ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ไม่มีสิ่งใดที่อัลลอฮฺให้ความโปรดปรานแก่ฉันภายหลังจากที่พระองค์ทรงชี้นำฉันเข้าสู่อิสลามจะมีความยิ่งใหญ่ในจิตใจของฉันยิ่งกว่าการที่ฉันพูดความจริงกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص โดยไม่ได้โกหกท่าน อันจะทำให้ฉันต้องพินาศเหมือนกับพวกที่โป้ปดทั้งหลายพินาศไปแล้ว อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสแก่พวกที่โป้ปดขณะที่พระองค์ได้ประทานวะหฺยูลงมาด้วยถ้อยคำที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยตรัสแก่ผู้ใดเลย อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า:

    ﭽﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹﭺ ﭻ ﭼﭽ ﭾ ﭿﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﭼ

    ความว่า: “พวกเขาจะสาบานต่ออัลลอฮฺแก่พวกท่านเมื่อพวกท่านได้กลับมายังพวกเขา เพื่อให้พวกท่านยกโทษให้พวกเขา ดังนั้นพวกท่านจงผินหลังให้พวกเขาเถิด แท้จริงพวกเขานั้นชั่วร้าย และที่พำนักของพวกเขาคือนรก ทั้งนี้เป็นการตอบแทนในสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้ พวกเขาจะสาบานแก่พวกท่าน เพื่อให้พวกท่านพอใจต่อพวกเขา แล้วหากพวกท่านพอใจต่อพวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงพอพระทัยต่อกลุ่มชนที่ละเมิดฝ่าฝืน”[18]

    กะอับเล่าว่า: พวกเราทั้งสามถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังเรื่องของพวกที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص รับข้อแก้ตัวของพวกเขาขณะที่ได้สาบานต่อท่าน ท่านได้ให้สัตยาบันและวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกเขา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ได้ปล่อยเรื่องของเราไว้ จนในที่สุดอัลลอฮฺได้ทรงตัดสินเรื่องให้เป็นไปตามที่กล่าว

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า:

    ﭽ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭼ

    ความว่า: “และ(พระองค์ได้รับเตาบะฮฺ) สามคนที่ถูกทอดทิ้ง”[19]

    ที่ถูกระบุนั้นเป็นเรื่องที่พวกเราถูกทอดทิ้ง(ไม่ได้รับการตัดสินโดยทันทีที่สารภาพผิด) ไม่ใช่เรื่องที่พวกเราไม่ได้ออกทำสงคราม แท้ที่จริงมันเป็นเพียงการที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ทอดทิ้งพวกเรา และปล่อยเรื่องของเราไว้ ไม่เอาไปรวมกับพวกที่มาสาบานและแก้ตัว ซึ่งท่านได้ยอมรับการแก้ตัวนั้น (หะดีษบันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม)[20]

    และในสายรายงานหนึ่ง[21]ระบุว่า: “ท่านนบี ص ได้ออกไปสงครามตะบูกในวันพฤหัสบดี และท่านมักจะออกไปในวันพฤหัสบดี”

    และในอีกสายรายงานหนึ่ง[22]ระบุอีกว่า: “โดยปกติท่านจะไม่กลับมาจากการเดินทาง นอกจากเป็นเวลากลางวันในยามสาย และเมื่อท่านเข้ามา ท่านจะเริ่มต้นที่มัสญิด ละหมาดสองร็อกอัต แล้วนั่งลงในมัสญิด”

    وَعَنْ أبي نُجَيد - بضَمِّ النُّونِ وفتحِ الجيم - عِمْرَانَ بنِ الحُصَيْنِ الخُزَاعِيِّ ب : أنَّ امْرَأةً مِنْ جُهَيْنَةَ أتَتْ رسولَ الله ص وَهِيَ حُبْلَى مِنَ الزِّنَى ، فقالتْ : يَا رسولَ الله ، أصَبْتُ حَدّاً فَأَقِمْهُ عَلَيَّ ، فَدَعَا نَبيُّ الله ص وَليَّها ، فقالَ : «أَحْسِنْ إِلَيْهَا ، فإذا وَضَعَتْ فَأْتِني» فَفَعَلَ فَأَمَرَ بهَا نبيُّ الله ص ، فَشُدَّتْ عَلَيْهَا ثِيَابُهَا، ثُمَّ أَمَرَ بِهَا فَرُجِمَتْ، ثُمَّ صَلَّى عَلَيْهَا. فقالَ لَهُ عُمَرُ: تُصَلِّي عَلَيْهَا يَا رَسُول الله وَقَدْ زَنَتْ ؟ قَالَ: «لَقَدْ تَابَتْ تَوْبَةً لَوْ قُسِمَتْ بَيْنَ سَبْعِينَ مِنْ أهْلِ المَدِينَةِ لَوَسِعَتْهُمْ، وَهَلْ وَجَدْتَ أَفضَلَ مِنْ أنْ جَادَتْ بنفْسِها لله ﻷ ؟! » رواه مسلم .

    ความว่า: และจากท่านอบู นุญัยดฺ อิมรอน อิบนุ อัล-หุศ็อยนฺ อัล-คุซาอียฺ ب เล่าว่า: มีผู้หญิงนางหนึ่งจากเผ่าญุฮัยนะฮฺได้มาหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص ในขณะที่นางตั้งครรภ์จากการผิดประเวณี (ซินา) แล้วนางก็พูดขึ้นว่า: โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันต้องถูกลงโทษ[23] ดังนั้นท่านจงลงโทษฉันเถิด ต่อมาท่านนบี ص ก็ได้เรียกผู้ปกครอง (วะลีย์) ของนาง และกล่าวกับเขาว่า “จงทำดีต่อนางเถิดและเมื่อนางคลอดแล้วก็จงนำตัวนางมาให้ฉัน” แล้วเขาก็ทำตามนั้น (จนกระทั่งนางได้คลอดเสร็จและเวลาผ่านไปสักระยะ) ท่านนบี ص ก็ได้สั่งใช้ให้รัดเสื้อผ้านางในแน่น และท่านนบีก็สั่งใช้ให้ปานาง หลังจากนั้นท่านก็ได้ละหมาดญะนาซะฮฺให้แก่นาง ต่อมาท่านอุมัรฺก็ได้กล่าวแก่ท่านว่า ท่านละหมาดให้แก่นางหรือทั้งๆ ที่นางทำผิดประเวณี? ท่านตอบว่า “แท้จริงนางได้กลับตัว (เตาบะฮฺ) ซึ่งเป็นการกลับตัวหากแม้นถูกแบ่งให้กับชาวมะดีนะฮฺ 70 คนก็ย่อมพอเพียง และท่านเคยพบสิ่งใดที่ยิ่งใหญ่กว่าการที่นางสละตัวเองเพื่อแสวงหาความพึงพอใจจากอัลลอฮฺ อีกกระนั้นหรือ?” (หะดีษบันทึกโดยมุสลิม)[24]

    وعن ابنِ عباسٍ ب أنَّ رَسُولَ الله ص قَالَ : «لَوْ أنَّ لابنِ آدَمَ وَادِياً مِنْ ذَهَبٍ أحَبَّ أنْ يكُونَ لَهُ وَادِيانِ ، وَلَنْ يَمْلأَ فَاهُ إلاَّ التُّرَابُ ، وَيَتْوبُ اللهُ عَلَى مَنْ تَابَ» مُتَّفَقٌ عليه .

    ความว่า: และจากท่านอิบนุ อับบาส ب เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “หากแม้นมนุษย์มีทองคำเต็มหนึ่งหุบเขา เขาก็ยังปรารถนาที่จะมีสองหุบเขา และไม่มีอะไรที่จะทำให้ปากของเขาเต็มได้นอกจากดิน[25] และอัลลอฮฺทรงรับการกลับตัวของผู้ที่กลับตัว(เตาบะฮฺ)(มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ)[26]

    وعن أبي هريرة ت أنَّ رسولَ الله ص قَالَ : «يَضْحَكُ اللهُ ـ إِلَى رَجُلَيْنِ يقْتلُ أَحَدهُمَا الآخَرَ يَدْخُلانِ الجَنَّةَ ، يُقَاتِلُ هَذَا في سَبيلِ اللهِ فَيُقْتَلُ ، ثُمَّ يتُوبُ اللهُ عَلَى القَاتلِ فَيُسْلِم فَيُسْتَشْهَدُ» مُتَّفَقٌ عليه.

    ความว่า: และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ ت เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ص กล่าวว่า: “อัลลอฮฺ ـ ทรงหัวเราะกับชายสองคน ที่คนหนึ่งฆ่าอีกคน แล้วทั้งสองก็เข้าสวรรค์ กล่าวคือ ชายคนที่หนึ่งได้ออกต่อสู้เพื่อหนทางของอัลลอฮฺแล้วเขาก็ถูกฆ่า(โดยชายคนที่สอง) หลังจากนั้นอัลลอฮฺก็รับการกลับตัวของผู้ที่ฆ่า(ชายคนที่สอง)ด้วยการที่เขาได้เข้ารับอิสลาม แล้วต่อมาเขา(ชายคนที่เพิ่งรับอิสลาม)ก็ตายในหนทางของอัลลอฮฺ(ตายชะฮีด)(มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ)[27]

    [1] อัน-นูร, 24 : 31

    [2] ฮูด, 11 : 3

    [3] อัต-ตะหฺรีม, 66 : 8

    [4] อัล-บุคอรียฺ, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: อัด-ดะอฺวาต, บรรพ: การอิสติฆฟารฺของท่านนบี ص ในหนึ่งวันและหนึ่งคืน, เลขที่: 6307

    [5] มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: การซิกิรฺ การดุอาอ์ การเตาบะฮฺ และการอิสติฆฟารฺ, บรรพ: ส่งเสริมให้มีการอิสติฆฟารฺและปฏิบัติให้มาก, เลขที่: 2702. โดยไม่ได้สำนวน “และพวกท่านจงขอลุแก่โทษ (อิสติฆฟารฺ) ต่อพระองค์”

    [6] โล่งกว้าง ไม่มีแหล่งน้ำ และต้นไม้ขึ้น

    [7] อัล-บุคอรียฺ, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: อัด-ดะอฺวาต, บรรพ: การเตาบะฮฺ, เลขที่: 6309. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: การเตาบะฮฺ, บรรพ: ส่งเสริมให้เตาบะฮฺและปลื้มปิติกับมัน, เลขที่: 2747

    [8] มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: การเตาบะฮฺ, บรรพ: อัลลอฮฺทรงตอบรับการกลับตัวจากความผิดถึงแม้ว่าจะทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า, เลขที่: 2759

    [9] มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: การเตาบะฮฺ, บรรพ: ส่งเสริมให้มีการอิสติฆฟารฺและปฏิบัติให้มาก, เลขที่: 2703

    [10] อัต-ติรฺมิซียฺ, อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: อัด-ดะอฺวาต, บรรพ: ความประเสริฐของการเตาบะฮฺ อิสติฆฟารฺ และความเมตตาปราณีของอัลลอฮฺต่อบ่าวของพระองค์, เลขที่: 3537

    [11] สิ่งที่ทำให้ต้องอาบน้ำยกหะดัษ เช่นการร่วมหลับนอนระหว่างสามีภรรยา

    [12] นั่นคือ อิบนุ อุยัยนะฮฺ

    [13] อัต-ติรฺมิซียฺ, อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: อัด-ดะอฺวาต, บรรพ: ความประเสริฐของการเตาบะฮฺ อิสติฆฟารฺ และความเมตตาปราณีของอัลลอฮฺต่อบ่าวของพระองค์, เลขที่: 3535

    [14] อัล-บุคอรียฺ, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: อัล-อันบิยาอ์, บรรพ: เรื่องว่าด้วยชาวถ้ำ, เลขที่: 3470. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: การเตาบะฮฺ, บรรพ: ตอบรับการกลับตัวของอาชญากรฆ่าคนถึงแม้จะผ่านการฆ่ามามากครั้ง, เลขที่: 2766.

    [15] หมายถึงหนังสืออัศ-เศาะฮีหฺของมุสลิม

    [16] หมายถึงหนังสืออัศ-เศาะฮีหฺของอัล-บุคอรียฺ

    [17] คือสายรายงานของมุสลิม

    [18] อัต-เตาบะฮฺ, 9 : 95-96

    [19] อัต-เตาบะฮฺ, 9 : 118

    [20] อัล-บุคอรียฺ, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: ประวัติของชาวอันศอรฺ, บรรพ: เรื่องราวของกะอับ อิบนุ มาลิก, เลขที่: 4418. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: การเตาบะฮฺ, บรรพ: เรื่องการเตาบะฮฺของกะอับ อิบนุ มาลิกและสหายทั้งสองของเขา, เลขที่: 2769

    [21] อัน-นะสาอียฺ, อัส-สุนัน อัล-กุบรอ, บท: ประวัติ, บรรพ: วันที่ชอบให้เดินทางในวันนั้น, เลขที่: 8785. อัฏ-เฏาะบะรอนียฺ, อัล-มุอฺญัม อัล-เอาสัฏ, เลขที่: 1291

    [22] มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: บทลงโทษ, การละหมาดของผู้เดินทางและการละหมาดย่อ: ส่งเสริมให้ละหมาดสองร็อกอัตที่มัสญิดสำหรับผู้ที่กลับมาจากการเดินทางในวันแรก, เลขที่: 716

    [23] เนื่องจากทำผิดประเวณี (ซินา)

    [24] มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: บทลงโทษ, บรรพ: ผู้ที่ยอมรับว่าทำผิดประเวณี, เลขที่: 1696

    [25] มนุษย์คงยังละโมบในทรัพย์สินเงินทองจนกระทั่งดินกลบหน้า

    [26] อัล-บุคอรียฺ, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: อัรฺ-ริกอก, บรรพ: สิ่งที่ช่วยป้องกันจากฟิตนะฮฺของทรัพย์สิน, เลขที่: 6439. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: ซะกาต, บรรพ: หากมนุษย์มีทองคำเต็มสองหุบเขา, เลขที่: 1048

    [27] อัล-บุคอรียฺ, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: ประวัติของชาวอันศอรฺ, บรรพ: เรื่องราวของกะอับ อิบนุ มาลิก, เลขที่: 4418. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะฮีหฺ, บท: การเตาบะฮฺ, บรรพ: เรื่องการเตาบะฮฺของกะอับ อิบนุ มาลิกและสหายทั้งสองของเขา, เลขที่: 2769