บทตักเตือนทั่วไป
หมวดหมู่
Full Description
บทตักเตือนทั่วไป
﴿نصائح عامة﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2011 - 1432
﴿نصائح عامة﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: يوسف أبوبكر
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2011 - 1432
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
บทตักเตือนทั่วไป
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...
อัลลอฮฺตะอาลามีพระดำรัสว่า
ﮋ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﮊ الذاريات: ٥٥
ความหมาย “และจงตักเตือนกันเถิด เพราะแท้จริงการตักเตือนนั้นจะให้ประโยชน์แก่บรรดาผู้ศรัทธา” (อัซ-ซาริยาต/55)
มีบันทึกโดยมุสลิมในหนังสือเศาะฮีหฺจากตะมีม อัด-ดารีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«الدِّينُ النَّصِيحَةُ» قُلْنَا لِمَنْ قَالَ «لِلَّهِ، وَلِكِتَابِهِ، وَلِرَسُولِهِ، وَلأَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ وَعَامَّتِهِمْ».
“ศาสนาคือการตักเตือน” พวกเราถามว่า เพื่อผู้ใด ? ท่านตอบว่า “เพื่ออัลลอฮฺ เพื่อคัมภีร์ของพระองค์ เพื่อเราะสูลของพระองค์ เพื่อบรรดาผู้นำของบรรดามุสลิม และเพื่อบุคคลโดยทั่วไป” (เศาะฮีหฺมุสลิม 1/74 หมายเลขหะดีษ 55)
ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำตักเตือนบางประการซึ่งขอสั่งเสียตัวฉันเองและพี่น้องอันเป็นที่รักยิ่งของฉัน
ประการที่หนึ่ง ให้ดำรงรักษาการละหมาดที่มัสยิดของอัลลอฮฺ
อัลลอฮฺตะอาลามีพระดำรัสว่า
ﮋ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﮊ البقرة: ٢٣٨
ความหมาย “พวกเจ้าจงรักษาการละหมาด และการละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮฺด้วยความนอบน้อม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ/238)
และอัลลอฮฺตะอาลามีดำรัสอีกว่า
ﮋ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮊ البقرة: ٤٣
ความหมาย “และพวกเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจงชำระซะกาต และจงก้มรุกูอฺร่วมกับบรรดาผู้รุกูอฺทั้งหลาย” (อัลบะเกาะเราะฮฺ/43)
การละหมาด เป็นภารกิจชิ้นแรกที่บ่าวจะถูกสอบถามในวันกิยามะฮฺ มีบันทึกของอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ในหนังสืออัล-มุอฺญัม อัล-เอาสัฏ จากหะดีษอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَوَّلُ مَا يُحَاسَبُ بِهِ العَبْدُ يَوْمَ القِيَامَةِ الصَّلَاةُ، فَإِنْ صَلَحَتْ صَلَحَ لَهُ سَائِرُ عَمَلِهِ وَ إِنْ فَسَدَتْ فَسَدَ سَائِرُ عَمَلِهِ»
ความหมาย “ภารกิจชิ้นแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺคือการละหมาด หากการละหมาดดีการงานอย่างอื่นจะดีไปด้วย และหากการละหมาดเสียการงานอย่างอื่นก็จะเสียไปด้วย” (อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ 2/240) โดยที่เชคอัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ เห็นว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ตามที่มีปรากฏในเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ (1/503) หมายเลข 1358)
การละหมาดเป็นสิ่งที่มาแยกแยะระหว่างการเป็นผู้ศรัทธา (มุสลิม) กับการเป็นผู้ปฏิเสธ (กาฟิรฺ) มีบันทึกของมุสลิมในหนังสือเศาะฮีหฺจากหะดีษญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«بَيْنَ الرَّجُلِ وَبَيْنَ الشِّرْكِ وَالْكُفْرِ تَرْكُ الصَّلاَةِ »
ความหมาย “สิ่งที่จะมาแยกแยะระหว่างบุคคลคนหนึ่งกับการตั้งภาคีและการปฏิเสธคือการทิ้งการละหมาด” (เศาะฮีหฺมุสลิม 1/88 หมายเลขหะดีษ 82)
และการละหมาดเป็นภารกิจสุดท้ายที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งเสียขณะที่ท่านป่วยหนักก่อนจะเสียชีวิต โดยที่ท่านกล่าวว่า
«الصَّلَاةَ الصَّلَاةَ وَمَا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ»
ความหมาย “จงเอาใจใส่การละหมาด จงเอาใจใส่การละหมาด และผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองของพวกท่าน” (สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ 2/900 หมายเลข 2697)
ขณะที่ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุได้กล่าวในวันที่ถูกแทง ก่อนจะเสียชีวิตในสภาพที่บาดแผลโชกเลือดว่า
«لا حَظَّ في الإسلام لمن ترك الصلاة»
ความหมาย “ไม่มีส่วนใดๆ ที่จะได้รับจากศาสนาอิสลาม สำหรับผู้ที่ทิ้งละหมาด”
ประการที่สอง รักษาอะมานะฮฺ (ปฏิบัติตามหน้าที่ๆ ได้รับผิดชอบ)
อัลลอฮฺตะอาลามีพระดำรัสว่า
ﮋ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﮊ المعارج: ٣٢
ความหมาย “และบรรดาผู้ที่ระวังรักษาสิ่งที่ได้รับมอบหมาย (อะมานะฮฺ) ของพวกเขา และคำมั่นสัญญาของพวกเขา” (อัล-มะอาริจญ์/32)
อัลลอฮฺตะอาลามีดำรัสว่า
ﮋ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﮊ الأنفال: ٢٧
ความหมาย “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าทุจริตต่ออัลลอฮฺและเราะสูล และจงอย่าทุจริตต่อบรรดาของฝากของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าทั้งหลายรู้กันอยู่” (อัล-อันฟาล/27)
มีบันทึกของอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ในหนังสืออัล-มุอฺญัม อัล-กะบีรฺ จากหะดีษชัดดาด บิน เอาส์ ท่าน นบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَوَّلُ مَا تَفْقِدُوْنَ مِنْ دِيْنِكُمُ الأَمَانَةُ، وَآخِرُ مَا تَفْقِدُونَ مِنْ دِيْنِكُمُ الصَّلَاةُ»
ความหมาย “สิ่งแรกที่จะสูญหายไปจากศาสนาของพวกท่านคืออะมานะฮฺ และสิ่งสุดท้ายที่จะสูญหายไปจากศาสนาของพวกท่านคือการละหมาด” (อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีร 3/353 หมายเลขหะดีษ 9754 โดยที่เชคอัลบานีย์ เห็นว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ดังที่มีปรากฏในเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ (1/502) หมายเลขหะดีษ 2570)
อัล-กุรฏุบีย์กล่าวว่า “ตามทัศนะที่ถูกต้องและเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่า อะมานะฮฺจะครอบคลุมทุกๆ ภาระหน้าที่ทางด้านศาสนา” (อัล-ญามิอฺ ลิอะหฺกาม อัล-กุรอาน ของอัล-กุรฏุบีย์ 14/253)
นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า อะมานะฮฺคือทุกการงานที่ทำเพื่ออัลลอฮฺที่เป็นการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ (ฏออะฮฺ) และออกห่างจากทุกสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ (มะอฺศิยะฮฺ) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอิบาดะฮฺหรือเรื่องการปฏิสัมพันธ์ในสังคม ดังนั้นการละหมาดก็เป็นอะมานะฮฺ การจ่ายซะกาตก็เป็นอะมานะฮฺ การปกป้องรักษาอวัยวะในร่างกายก็เป็นอะมานะฮฺ และการปฏิบัติงานก็เป็นอะมานะฮฺ จำเป็นแก่มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มีความประณีต เพื่อให้เขารอดพ้นจากข้อตำหนิในงานที่ปฏิบัติดังกล่าว
การมีอะมานะฮฺเป็นจรรยามารยาทอันโดดเด่นอีกประการหนึ่งของบรรดาศาสนทูต –อะลัยฮิมุศเศาะลาตุวัสสลาม- อาทิ นูหฺ ฮูด ศอลิหฺ และลูฏ ดังที่อัลลอฮฺได้ดำรัสถึงพวกเขาในสูเราะฮฺอัช-ชุอะรออ์ ถึงคุณลักษณะของพวกเขาแต่ละคนว่า
ﮋ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﮊ الشعراء: ١٠٧
ความหมาย “แท้จริงฉันคือเราะสูลผู้ซื่อสัตย์สำหรับพวกท่าน” (อัช-ชุอะรออ์/107)
และท่านบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ของเราก่อนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูต และหลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นที่รู้จักกันในกลุ่มชนของท่านว่าเป็น “อัล-อะมีน” ผู้ที่ซื่อสัตย์มีอะมานะฮฺ
ประการที่สาม หลีกห่างจากการฝ่าฝืน จากการกระทำความผิดซึ่งมันเป็นรากเหง้าของความชั่วร้ายและเป็นที่มาของการถูกทดสอบ
อัลลอฮฺตะอาลามีพระดำรัสว่า
ﮋ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﮊ الروم: ٤١
ความหมาย “ความเสื่อมเสียได้อุบัติขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ อันเนื่องจากน้ำมือของมนุษย์เป็นผู้ได้ขวนขวายไว้ เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสบางส่วนที่พวกเขาได้กระทำเอาไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว” (อัร-รูม/41)
และอะไรกันเล่าที่ทำให้บิดาของพวกเราท่านนบีอาดัมต้องออกจากสวนสวรรค์อันสถาพร สถานที่ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยความรื่นรมย์เปี่ยมสุข แล้วลงมายังโลกที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว โศกศัลย์ และเป็นโลกแห่งการทดสอบ?
ดังที่นักกวีกล่าวว่า
تصل الذنوب إلى الذنوب وترتجي درج الجنان ونيل فوز العابد
أنسيت ربك حين أخرج آدم منها إلى الدنيا بذنب واحد
“จากมวลความผิดสู่มวลความผิดที่ได้ทำ ท่านยังมีความหวัง
จะได้รับสวนสวรรค์และได้รับชัยชนะเหมือนผู้ที่ทำความดี(อีกกระนั้นหรือ?)
ท่านลืมไปแล้วหรือว่าพระเจ้าของท่านให้อาดัมออกจาก
สวนสวรรค์มายังโลกดุนยา มิใช่เพราะอันเนื่องจากความผิดประการเดียวดอกหรือ?”
มีรายงานของอิมามอะหฺมัด จากหะดีษ สะฮัล บิน สะอัด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِيَّاكُمْ وَمُحَقَّرَاتِ الذُّنُوبِ، كَقَوْمٍ نَزَلُوا فِي بَطْنِ وَادٍ، فَجَاءَ ذَا بِعُودٍ وَجَاءَ ذَا بِعُودٍ حَتَّى أَنْضَجُوا خُبْزَتَهُمْ، وَإِنَّ مُحَقَّرَاتِ الذُّنُوبِ مَتَى يُؤْخَذْ بِهَا صَاحِبُهَا تُهْلِكْهُ»
ความหมาย “พวกท่านทั้งหลายพึงระวังความผิดเล็กๆ ทั้งหลาย เปรียบได้เสมือนกับคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ลงไปยังหุบเขา ต่างคนก็นำไม้มาคนละหนึ่งอันจนกระทั่งพวกเขาทำให้ขนมปังของพวกเขาสุกได้ และแท้จริงความผิดเล็กๆ ทั้งหลายเมื่อไหร่ก็ตามที่เจ้าของของมันถูกลงโทษมันจะทำให้เขาได้รับความพินาศ” (มุสนัด อิมาม อะหฺมัด 5/331 อัล-มุนซิรียฺกล่าวไว้ในหนังสืออัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ (3/279) ว่า โดยที่สายรายงานของพวกเขามีน้ำหนักไปทางเศาะฮีหฺ)
อัล-เอาซาอียฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
«لَا تَنْظُرْ إِلىٰ صِغَرِ المَعْصِيَةِ، وَلٰكِنْ انْظُرْ إِلىٰ عَظَمَةِ مَنْ عَصَيْتَ»
ความหมาย “ท่านอย่ามองถึงความจิ๊บจ๊อยของความผิดที่ท่านทำ แต่ทว่า จงพิจารณาถึงความยิ่งใหญ่ของผู้ที่ท่านฝ่าฝืน”
นักกวีกล่าวว่า
رأيت الذنوب تميت القلوب وقد يورث الذل إدمانها
وترك الذنوب حياة القلوب وخير لنفسك عصيانها
“ฉันเห็นความผิดทำให้หัวใจตายด้าน
และบางทีการเสพติดมันเป็นบ่อเกิดแห่งความต่ำต้อย
การละทิ้งจากความผิดทำให้หัวใจมีชีวิต
และเป็นการดีสำหรับตัวท่านเอง ในการที่ท่านจะระงับมัน”
ประการที่สี่ การมีจรรยามารยาทที่ดีงาม
อัลลอฮฺตะอาลามีพระดำรัสว่า
ﮋ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮊ الإسراء: ٥٣
ความหมาย “และจงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) แก่ปวงบ่าวของข้าที่พวกเขากล่าวแต่คำพูดที่ดียิ่ง ว่าแท้จริงชัยฏอนนั้นมันยุแหย่ระหว่างพวกเขา แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูที่เปิดเผยโจ่งแจ้งของมวลมนุษย์” (อัล-อิสรออ์/53)
มีบันทึกในสุนันอัต-ติรมิซียฺ จากหะดีษอบู อัด-ดัรดาอ์ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا شَيْءٌ أَثْقَلُ فِي مِيزَانِ الْمُؤْمِنِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ مِنْ خُلُقٍ حَسَنٍ، وَإِنَّ اللَّهَ لَيُبْغِضُ الْفَاحِشَ الْبَذِيءَ»
ความว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักยิ่งในตาชั่งของผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) ในวันกิยามะฮฺมากไปกว่าการมีจรรยามารยาทอันดีงาม แท้จริงอัลลอฮฺทรงกริ้วผู้ที่พูดจาหยาบโลนลามก” (4/362 หมายเลขหะดีษ 2002 และอัต-ติรมิซียฺ กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน เศาะฮีหฺ)
อิบนุ อัล-มุบาร็อกกล่าวว่า “การมีจรรยามารยาทที่ดี หมายถึง การมีใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ทุ่มเทในเรื่องความดีงาม ปกป้องจากอันตราย และสามารถอดกลั้นต่อสิ่งที่เกิดจากเพื่อนมนุษย์” (ญามิอฺ อัล-อุลูม วะ อัล-หิกัม หน้าที่ 160)
ขณะที่อิบนุ อัล-ก็อยยิม กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้รวบรวมไว้ระหว่างความยำเกรงต่ออัลลอฮฺกับการมีจรรยามารยาทที่ดีงาม เพราะว่าการยำเกรงต่ออัลลอฮฺเป็นสิ่งที่จะมาปรับปรุงสิ่งที่เกิดระหว่างบ่าวกับพระผู้เป็นเจ้า และการมีจรรยามารยาทที่ดีงามจะเป็นสิ่งที่มาปรับปรุงระหว่างตัวเขากับเพื่อนมนุษย์ การศรัทธาของบ่าวคนหนึ่งจะยังไม่สมบูรณ์ตราบใดที่ยังไม่สอดรับกับจรรยามารยาท” (อัล-ฟะวาอิด หน้าที่ 84-85)
มีบันทึกในสุนัน อัต-ติรมิซียฺ ซึ่งท่านบอกว่าเป็นหะดีษหะซันเศาะฮีหฺ จากหะดีษอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَكْمَلُ الْمُؤْمِنِينَ إِيمَانًا أَحْسَنُهُمْ خُلُقًا، وَخِيَارُكُمْ خِيَارُكُمْ لِنِسَائِهِمْ خُلُقًا»
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาที่มีความสมบูรณ์ยิ่งคือผู้ที่มีจรรยามารยาทที่ดี และผู้ที่ดีเลิศในกลุ่มพวกท่านคือผู้ที่มีมารยาทที่ดีต่อภรรยาของพวกเขา” (3/466 หมายเลขหะดีษ 1162)
แน่นอนที่สุด ท่านนบี ศ็อลลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นสุดยอดแห่งมวลมนุษยชาติที่มีจรรยามารยาทที่ดีงามมากสุด ดังนั้นผู้ใดรักที่จะดำเนินชีวิตบนทางนำสู่การมีจรรยามารยาทอันสูงส่งก็จงปฏิบัติตามครรลองของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
خَدَمْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَشْرَ سِنِينَ فَمَا قَالَ لِي أُفٍّ قَطُّ، وَمَا قَالَ لِشَيْءٍ صَنَعْتُهُ لِمَ صَنَعْتَهُ، وَلَا لِشَيْءٍ تَرَكْتُهُ لِمَ تَرَكْتَهُ
จากอนัส เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ฉันได้รับใช้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นช่วงระยะเวลาสิบปี ท่านไม่เคยกล่าวคำว่า ”อุฟ” เลยแม้แต่ครั้งเดียว และท่านไม่เคยกล่าวตำหนิสิ่งใดที่ฉันกระทำว่า เจ้าทำมันทำไม? และไม่มีสิ่งใดที่ฉันละทิ้งแล้วท่านจะกล่าวว่า เจ้าทิ้งมันทำไม?” (สุนัน อัต-ติรมิซียฺ 4/368 หมายเลขหะดีษ 2015 ซึ่งเดิมทีอยู่ในอัศ-เศาะฮีหฺทั้งสองเล่มของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.