ความพึงพอใจ
หมวดหมู่
Full Description
ดวามพึงพอใจ
﴿القناعة﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : นะอีม วงศ์เสงี่ยม
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดีย์
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2011 - 1432
﴿القناعة﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: نعيم وونج سغيام
مراجعة: فيصل عبد الهادي
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2011 - 1432
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ความพึงพอใจ
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การขอพรและความสันติสุขจงมีแด่เราะสูลของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณตนว่ามุฮัมมัดนั้นเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์
คุณลักษณะหนึ่งที่น่าสรรเสริญซึ่งอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ส่งเสริมให้มีคือ “ความพึงพอใจ”
อัร-รอฆิบ กล่าวว่า : ความพึงพอใจคือการเพียงพอเพียงน้อยนิดจากบรรดาวัตถุหรือปัจจัยต่างๆ ที่มีความจำเป็น[1]
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า :
ﭽ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﭼ
ความว่า: และจงอย่าปรารถนาในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้แก่บางคนในหมู่พวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคน สำหรับผู้ชายนั้นมีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้ และสำหรับหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกนางได้ขวนขวายไว้ และพวกเจ้าจงขอต่ออัลลอฮฺเถิด จากความกรุณาของพระองค์แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง”[2]
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสอีกว่า :
ﭽ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﭼ
ความว่า: ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดีและแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้”[3]
อะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : “ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีความพึงพอใจ”[4]
รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
«لَيْسَ الْغِنَى عَنْ كَثْرَةِ الْعَرَضِ، وَلَكِنَّ الْغِنَى غِنَى النَّفْسِ»
ความว่า: ความร่ำรวยไม่ใช่การมีทรัพย์สินอย่างมากมาย แต่ความร่ำรวยคือความพึงพอใจ[5]
ทรัพย์สินคือวัตถุบนโลกบนดุนยา และความหมายของหะดีษคือ : ความร่ำรวยที่ถูกสรรเสริญคือความร่ำรวยทางจิตใจ ความอิ่มเอิบใจ มีความโลภน้อย ไม่ใช่การมีทรัพย์มากพร้อมกับความปรารถนาอยากได้เพิ่มเติม เพราะคนที่ต้องการเพิ่มเติมย่อมไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ดังนั้นจึงไม่ใช่คนที่มีความร่ำรวย
รายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า :
«قَدْ أَفْلَحَ مَنْ أَسْلَمَ، وَرُزِقَ كَفَافًا، وَقَنَّعَهُ اللهُ بِمَا آتَاهُ»
ความว่า: ผู้ที่เข้ารับอิสลาม ผู้ได้รับปัจจัยยังชีพอย่างพอเพียง และผู้ที่อัลลอฮฺให้เขาพอใจต่อสิ่งที่พระองค์ประทานให้ย่อมได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน[6]
รายงานจากอุบัยดุลลอฮฺ อิบนุ มุหฺซิน อัล-คอฏอมียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า :
«مَنْ أَصْبَحَ مِنْكُمْ آمِنًا فِي سِرْبِهِ، مُعَافًى فِي جَسَدِهِ، عِنْدَهُ قُوتُ يَوْمِهِ، فَكَأَنَّمَا حِيزَتْ لَهُ الدُّنْيَا»
ความว่า: ใครในหมู่พวกท่านที่เช้าขึ้นมาเป็นผู้ศรัทธาในหมู่ชนของเขา มีร่างกายที่สมบูรณ์ มีอาหารกินของวันนี้ ดังกล่าวนั้นประหนึ่งว่าเขาได้ครอบครองโลกดุนยาแล้ว[7]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แนะนำผู้ศรัทธาให้มองดูบุคคลที่ต่ำกว่าตนจนกระทั่งรู้สึกถึงความโปรดปรานอันมากมายของอัลลอฮฺที่ประทานให้แก่เรา
รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
«انْظُرُوا إِلَى مَنْ أَسْفَلَ مِنْكُمْ، وَلاَ تَنْظُرُوا إِلَى مَنْ هُوَ فَوْقَكُمْ، فَهُوَ أَجْدَرُ أَنْ لاَ تَزْدَرُوا نِعْمَةَ اللهِ»
ความว่า: พวกท่านจงมองดูบุคคลที่ต่ำกว่าพวกท่าน อย่าได้ดูผู้ที่อยู่เหนือกว่า มันเป็นสิ่งที่สมควรมากกว่า ในการที่พวกท่านจะไม่ดูถูกความโปรดปรานของอัลลอฮฺ[8]
อิบนุ ญะรีรฺและคนอื่นๆ กล่าวว่า : นี่คือหะดีษที่รวมเอาความดีไว้ทุกประการเพราะมนุษย์เมื่อเห็นผู้ที่มีความประเสริฐเหนือกว่าตนในเรื่องของโลกนี้จิตใจย่อมปรารถนาต่อสิ่งนั้น โดยมองว่าความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่ตนเองมีอยู่นั้นน้อย ต้องการได้เพิ่มเติมเพื่อบรรลุสู่สิ่งนั้นหรือได้รับสิ่งที่ใกล้เคียงกัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่ผู้คนทั่วไป แต่หากเขามองดูผู้ที่ต่ำกว่าตนในเรื่องของโลกนี้ ความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อเขาย่อมปรากฏชัดขึ้นทำให้เขาขอบคุณต่อความโปรดปรานนั้น นอบน้อมและทำความดีเพื่อพระองค์[9]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือบุคคลที่มีความพึงพอใจและสมถะในเรื่องราวของโลกนี้มากที่สุด รายงานจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา นางเคยกล่าวแก่อุรวะฮฺ ลูกชายของพี่สาวนาง ว่า : “พวกเรามองดูจันทร์เสี้ยวกัน 3 ครั้งใน 2 เดือน ไม่มีไฟจุดขึ้นที่บ้านของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเลย ฉัน (อุรวะฮฺ) จึงถามว่า : ท่านนบีอยู่กับพวกท่านอย่างไร? นางกล่าวว่า : อัล-อัสวะดาน (อินทผลัมกับน้ำ) นอกจากท่านเราะสูลนั้นมีเพื่อนบ้านเป็นชาวอันซอรพวกเขามีอูฐที่ให้นม พวกเขาจะนำเอา(น้ำนมอูฐ) จากบ้านพวกเขามาให้กับท่านเราะสูล แล้วท่านเราะสูลก็ให้พวกเราดื่มมัน”[10]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยขอต่ออัลลอฮฺให้พระองค์ทำให้ปัจจัยยังชีพของท่านเป็นที่พอเพียง กล่าวคือ เท่ากับปริมาณที่ต้องการ
รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเคยกล่าวว่า :
«اللهم اجْعَلْ رِزْقَ آلِ مُحَمَّدٍ قُوتاً»
ความว่า: โอ้อัลลอฮฺได้โปรดให้ปัจจัยยังชีพของครอบครัวมุฮัมมัดเป็นเพียงอาหารมื้อหลัก[11]
เหล่าเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ได้ยึดเอาแนวทางอันทรงเกียรตินี้ของท่านนบี รายงานจากอะนัส อิบนุมาลิก กล่าวว่า : ซัลมานได้แสดงอาการเจ็บปวดออกมา สะอฺดฺจึงไปเยี่ยมเขาเห็นเขากำลังร้องไห้ สะอัดจึงเอ่ยถามซัลมานว่า : ท่านร้องไห้ทำไม? ท่านไม่เคยอยู่ร่วมกับท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อย่างนั้นหรือ? ท่านไม่เคย..? ท่านไม่เคย..หรือ?
ซัลมานจึงกล่าวว่า : ฉันไม่เคยร้องไห้เพราะสองประการ ฉันไม่เคยร้องไห้เพราะรัก(การมีชีวิตอยู่บน)โลกนี้ และไม่เคยร้องไห้เพราะรังเกียจโลกหน้า ทว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยสัญญาไว้กับพวกเราแต่ฉันเห็นว่าตัวเองเป็นคนที่ละเมิด(สัญญา)
สะอัดกล่าวว่า : ท่านนบีเคยสัญญาอะไรไว้กับท่านหรือ?
ซัลมานตอบว่า : ท่านนบีสัญญากับฉันว่าแท้จริงเพียงแค่เสบียงของผู้ขับขี่พาหนะคนเดียวก็เพียงพอแล้วสำหรับคนใดในหมู่พวกท่าน ษาบิตกล่าวว่า : พวกเขาได้นับมรดกที่ซัลมานทิ้งไว้ (หลังจากที่ซัลมานเสียชีวิต) ปรากฏว่ามีเพียงยี่สิบกว่าดิรฮัมเท่านั้น”[12]
อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : “ความละโมบนั้นคือความยากจน การหมดหวังคือความร่ำรวย แท้จริงแล้วใครที่หมดหวังจากสิ่งที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของคนอื่นเขายอมเพียงพอ (ไม่ต้องการ) จากพวกเขา”[13]
ความพึงพอใจคือคลังทรัพย์อันยิ่งใหญ่ เป็นสัญลักษณ์หนึ่งจากสัญลักษณ์แห่งความยำเกรง ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “ความพึงพอใจคือคลังที่ไม่มีวันเสียหาย”
อะลี อิบนุ อบีฏอลิบ กล่าวว่า : “ความยำเกรง คือความเกรงกลัวต่อผู้ทรงสูงส่ง (อัลลอฮฺ) การปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกประทานลงมา ความพึงพอใจต่อสิ่งที่มีน้อยนิด และการเตรียมความพร้อมเพื่อวันแห่งการกลับไป”
ชาวบนี อุมัยยะฮฺบางคนได้เขียนจดหมายขอให้อบู ฮาชิมช่วยเหลือ ครั้นเมื่อเขาได้ช่วยจัดการความปรารถนาต่างๆ ให้พวกเขาแล้วจึงเขียนจดหมายตอบกลับมาว่า : ความจริงฉันเคยนำความปรารถนาต่างๆ ของฉันเสนอต่ออัลลอฮฺ ดังนั้น สิ่งใดที่พระองค์ประทานให้ฉันก็รับมันไว้ ส่วนสิ่งใดที่พระองค์ไม่ให้ฉันก็พึงพอใจเท่าที่มีอยู่แค่นั้น[14]
มีคำถามถึงนักปราชญ์บางท่านทำนองว่า : อะไรคือความร่ำรวย? เขาตอบว่า : คือการที่ท่านหวังแต่น้อยและพอใจต่อสิ่งที่ให้ความพอเพียงแก่ท่าน
นักกวีกล่าวว่า :
ยึดดุนยาให้มั่น จงพอใจ มันไม่ให้สิ่งใดท่านเว้นสุขกาย
ดูสิผู้ครองดุนยามีมากหลาย แต่ชีพวายไยกลับเพียงผ้าผืนเดียว
อีกท่านหนึ่งกล่าวว่า :
ชีวิตนี้จะพอใจหากยินดี แม้ท่านมีเพียงน้อยนิดพอใจหวัง
อัล-เฆาะซาลียฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า : มุฮัมมัด อิบนุ วาสิอฺ ได้เอาน้ำใส่ขนมปังแห้งแล้วกิน และกล่าวว่า: ใครที่เพียงพอต่อสิ่งนี้เขาย่อมไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺองค์อภิบาลแห่งสากลโลก ขออัลลอฮฺประทานพรและความสันติสุขแด่ท่านนบีมุฮัมมัดและเครือญาติของท่านตลอดจนเหล่าเศาะหาบะฮฺทั้งมวล
[1] มุอฺญัม มุฟรอดาต อัลฟาซิลกุรอาน, หน้า 429
[2] สูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์, อายะฮฺที่ 32
[3] สูเราะฮฺ อัน-นะหฺลุ, อายะฮฺที่ 97
[4] ตัฟซีร อิบนิ กะษีร, เล่ม 2 หน้า 585
[5] เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ, (4/182) เลขที่ 6446, เศาะฮีหฺ มุสลิม (2/726) เลขที่ 1051
[6] เศาะฮีหฺ มุสลิม (2/730) เลขที่ 1054
[7] สุนัน อัต-ติรมีซียฺ (4/547) เลขที่ 2346
[8] เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ (4/189) เลขที่ 6490, เศาะฮีหฺ มุสลิม (4/2275) เลขที่ 2963
[9] เศาะฮีหฺ มุสลิม ชัรหุนนะวะวียฺ (97/6)
[10] เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ (4/184) เลขที่ 6459, เศาะฮีหฺ มุสลิม (4/2283) เลขที่ 2972
[11] สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ (2/1410) เลขที่ 4217
[12] มุสนัด อิหม่ามอะหมัด (5/438), และหิลยะตุลเอาลิยาอ์ ของอบี นุอัยมฺ (1/196 - 197)
[13] อิหฺยาอ์ อุลูมิดดีน (3/239)
[14] อิหฺยาอ์ อุลูมิดดีน (3/239)