×
บทความเชิญชวนให้มุสลิมทุกคนมุ่งมั่นปฏิบัติความดีต่างๆ ในช่วง 10 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ ด้วยการนำเสนอโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าอีมานและอะมัลของผู้ศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาเวลาละหมาด การซิกรุลลอฮฺ การทำดีต่อผู้อื่น การบริจาค การถือศีลอด เป็นต้น

    สู่การสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงามใน 10 วัน

    ﴿ هل تريد النجاح في أفضل أيام العمر؟﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด มุศฏอฟา อัล-มิศรอตีย์

    แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

    ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดีย์

    ที่มา : www.saaid.net

    2010 - 1431

    ﴿ هل تريد النجاح في أفضل أيام العمر؟﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد مصطفى المصراتي

    ترجمة: وان محمد صبري وان يعقوب

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: موقع صيد الفوائد

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    สู่การสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงามใน 10 วัน

    ในขณะที่ชีวิตของเราดำเนินผ่านไปในแต่ละวัน ซึ่งมันมิอาจหวนกลับมาได้อีก และนับวันชีวิตของเราก็ยิ่งใกล้กับหลุมฝังศพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมันเป็นสัจธรรมที่เรามิอาจหนีพ้นไปได้

    อย่างไรก็ตาม เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาของบรรดาวันที่ดีที่สุดของชีวิต นั้นคือ 10 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ การมาของวันที่เปี่ยมไปด้วยความจำเริญเหล่านั้นก็เพื่อทำให้เราได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกับการเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ได้ให้โอกาสที่ทรงคุณค่ายิ่งแก่เราในการเปิดบันทึกหน้าใหม่ของชีวิต ที่มันเต็มไปด้วยการทำความดีงามที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย

    คือบรรดาวันที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ทรงสาบานด้วยคำตรัสที่ว่า

    ﴿وَالْفَجْرِ ، وَلَيَالٍ عَشْرٍ ﴾

    ความว่า “ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ” (สูเราะฮฺอัลฟัจรฺ : 1-2)

    เมื่อเป็นเช่นนี้...จงเพ่งพินิจไปยังสถานะที่ยิ่งใหญ่และสูงส่งของ 10 วันนั้นเถิด กระทั่งผู้ทรงสร้างสรรค์ ผู้ทรงให้บังเกิดสรรพสิ่งได้สาบานด้วยกับมัน นั้นคือ 10 วันแรกของเดือนที่มีเกียรติยิ่ง “ซุลหิจญะฮฺ”

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน ผู้เป็นที่รักของเรา บรมครูของเรา และแบบอย่างของเรา มุหัมมัด อะลัยฮิศเศาะลาตุวัสสลาม เคยกล่าวไว้ว่า

    «مَا مِنْ أَيَّامٍ الْعَمَلُ الصَّالِحُ فِيهِنَّ أَحَبُّ إِلَى اللهِ مِنْ هَذِهِ الْأَيَّامِ الْعَشْرِ، فَقَالُوا يَا رَسُولَ اللهِ وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللهِ؟، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللهِ، إِلَّا رَجُلٌ خَرَجَ بِنَفْسِهِ وَمَالِهِ فَلَمْ يَرْجِعْ مِنْ ذَلِكَ بِشَيْءٍ»

    ความว่า “ไม่มีการปฎิบัติอามัลศอลิหฺ-การงานที่ดีงาม-ในวันใดที่อัลลอฮฺทรงชอบมากกว่าการปฏิบัติในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ” บรรดาเศาะหาบะฮฺถามขึ้นมาว่า “แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ (ก็ไม่สามารถเทียบเท่า) กระนั้นหรือ ?” ท่านเราะสูลุลลอฮฺตอบว่า “แน่นอน แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ (ก็ยังไม่เป็นที่ชอบของอัลลอฮฺเท่ากับการปฎิบัติอามัลศอลิหฺในสิบวันแรกนี้) เว้น แต่ผู้ที่ออกญิฮาดด้วยตัวเขาเองและทรัพย์สินของเขาแล้วไม่กลับมาพร้อมกับ ทรัพย์สินดังกล่าว (เพราะเสียชีวิตในสงคราม และทรัพย์สินถูกศัตรูยึดไป) (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 757)

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน คำกล่าวของท่านเราะสูลุลลอฮฺข้างต้นนั้น ทำให้บรรดาเศาะหาบะฮฺถึงกับแปลกใจในในความยิ่งใหญ่ของมันที่สำคัญยิ่งกว่าการญิฮาด กระทั่งพวกเขาได้กล่าวว่า “แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ (ก็ไม่สามารถเทียบเท่า) กระนั้นหรือ ??”

    แล้วพี่น้องเชื่อฉันหรือยังล่ะ ? ที่ฉันบอกว่า มันคือช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยโอกาสที่ทรงคุณค่าที่เราจะปฏิบัติอามัลเพื่อวันโลกหน้า...

    เป็นโอกาสที่จะเปิดบันทึกหน้าใหม่ของชีวิตด้วยกับการเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ

    เป็นโอกาสที่จะกอบโกยความดีงามที่ไม่มีขีดจำกัด เพื่อเติมเต็มความว่างเปล่าที่เกิดจากการทำความผิดอันมากมาย

    เป็นโอกาสที่จะฟื้นฟูความศรัทธาที่มีอยู่ในหัวใจของพี่น้องอีกครั้ง 1

    แล้วเราได้เตรียมอะไรบ้างและจะทำอะไรบ้างล่ะใน 10 วันนั้น ??

    ด้วยเหตุผลข้างต้นและด้วยกับการพยายามที่จะน้อมรับในคำกล่าวของผู้เป็นที่รักของเรา “อัล-มุศเฏาะฟา อัล-มะหฺมูด มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” นำมาปฏิบัติ นั้นคือ

    «لَا يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لِأَخِيهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ»

    ควมว่า “ความศรัทธาของคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านยังไม่สมบูรณ์จนกว่าเขาจะรักพี่น้องของเขาเหมือนกับที่เขารักตัวเอง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 13)

    ฉันจึงพยายามเขียนบทความฉบับนี้เพื่อมันจะได้เข้ากสู่หัวใจที่ดีงามของพวกท่าน

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน พี่น้องรู้หรือไม่ ? ฉันพยายามเลือกสรรคำพูดที่ดีที่สุดแล้ว ในการเขียนบทความฉบับนี้ ซึ่งบทความชิ้น 1 ที่ฉันอ่านแล้วรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งและมันก็มีส่วนช่วยฉันเขียนบทความนี้อย่างมากมาย นั้นคือ “บทความที่เขียนโดยอุสตาซอับดุลมุนอิม หะรีชะฮฺ”... ฉันได้รับประโยชน์จากบทความฉบับนั้นในการเขียนบทความของฉันเป็นอย่างยิ่งและบทความนี้สำเร็จไปได้ก็ด้วยกับความประสงค์ของอัลลอฮฺและด้วยกับดุอาอ์..

    ในบทความนี้ ฉันได้นำเสนอตารางกิจวัตรประจำวันรูปแบบ 1 และนำเสนอแนวทางการเก็บเกี่ยวคุณประโยชน์ต่างๆด้วยการปฏิบัติอามัลที่มีอยู่ในวันเหล่านั้นให้แก่พี่น้อง

    โอ้พี่น้องที่รักและมีเกียรติยิ่งของฉัน... ก่อนหน้านี้เราต่างก็เห็นพ้องกันแล้วว่ามันคือโอกาสที่เราจะเติมเต็มความว่างเปล่า-ที่เกิดจากการทำความผิดอันมากมาย-

    เมื่อเป็นเช่นนั้น... สมควรยิ่งนักที่เราต้องอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺและจัดสรรเวลาของเราในแต่ละวัน เพื่อสู่ความสำเร็จในทุกๆการงานที่เรามีความตั้งใจจะทำมัน

    ซึ่งมีผู้คนจำนวนไม่น้อยเลย...ที่ได้ละเลยและปล่อยให้อายุผ่านพ้นไปโดยที่เขาไม่เคยคิดที่จะจัดสรรมัน-ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด-

    โอ้พี่น้องที่รักและมีเกียรติของฉัน...มันไม่ใช่เป็นการสมควรแก่เราหรอกหรือ ?? ที่ต้องมาจัดสรรเวลาของเราโดยเฉพาะการเตรียมตัวของเราเพื่อเข้าสู่บรรดาวันที่ยิ่งใหญ่เหล่านั้น เพราะหากเราบกพร่องต่อมันแล้วไซร้ เราไม่รู้หรอกว่า อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา จะยังให้อายุของเรามีชีวิตทันโอกาสครั้งหน้าอีกหรือไม่ ???

    -โอ้พี่น้องที่รักของฉัน-...ฉันขอมอบตารางกิจวัตรประจำวันนี้เพื่อเป็นตัวอย่างแก่พี่น้องทุกท่าน..ซึ่งฉันหวังว่ามันสามารถเป็นตารางกิจวัตรประจำวันของพี่น้องที่จะใช้ในการปฏิบัติอามัลใน 10 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺได้..

    ตารางกิจวัตรประจำวัน

    3.50-4.20 น. ตื่นนอนและละหมาดกิยามุลลัยลฺ(ละหมาดตะฮัจญุดฺและวิติร, อ่านอัลกุรฺอาน, ซิกรุลลอฮฺ, ขอดุอาอ์ และอื่นๆ)

    4.30-4.45 น. ทานข้าวสะหูร

    4.50-6.30 น. ไปมัสญิดและร่วมละหมาดศุบหฺและอ่านอัซการยามเช้า หลังจากนั้นให้ละหมาดฎุฮา

    6.45-7.15 น. กลับบ้านแล้วอ่านอัลกุรฺอาน

    7.20-8.00 น. เตรียมตัวและเดินทางไปที่ทำงานหรือโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

    12.00-13.00 น. เดินทางไปมัสญิดและร่วมละหมาดซุฮฺริและอ่านอัลกุรฺอาน

    13.10-13.30 น. นอนพักผ่อน(ก็อยลูละฮฺ)

    13.40-15.00 น. เวลาตามอัธยาศัย(เรียน,ทำงาน, และอื่นๆ)

    15.10-15.50 น. ไปมัสญิดและร่วมละหมาดอัศริและอ่านอัลกุรฺอาน

    16.00-16.15 น. อ่านอัซการยามเย็น

    16.20-17.20 น. เวลาตามอัธยาศัย(ออกกำลังกาย,เยี่ยมเยียนเครือญาติ, พี่น้อง และอื่นๆ)

    17.30-17.40 น. เตรียมตัวละศีลอด, ขอดุอาอ์ก่อนละศีลอด(ช่วงดุอาอ์ถูกตอบรับ)

    17.50-18.10 น. ละศีลอดด้วยอินทผาลัมและน้ำและร่วมละหมาดมัฆริบที่มัสญิด

    18.20-18.40 น. รับประทานอาหารพร้อมกับพี่น้องของท่านที่ถือศีลอดด้วยกัน

    18.50-19.20 น. ไปมัสญิดและร่วมละหมาดอิชาอ์และอ่านอัลกุรฺอาน

    19.30-21.50 น. เวลาตามอัธยาศัย(ศึกษาอัลกุรฺอาน, อ่านหนังสือ, ฟังบรรยาย, ทบทวนบทเรียน, เคลียร์การบ้าน, เคลียร์งาน และอื่นๆ)

    22.00-22.30 น. เตรียมตัวเข้านอน(ภารกิจส่วนตัว, อาบน้ำละหมาด, อ่านอัลกุรฺอาน, อ่านอัซการและดุอาอ์ก่อนนอน และอื่นๆ)

    22.15-3.50 น. เข้านอน

    ( อนึ่ง เวลาละหมาดที่อยู่ในตารางข้างต้นนี้ เป็นเพียงการประมาณจากปฏิทินเวลาละหมาดของกรุงเทพและปริมณฑล ในเดือนซุลหิจญะฮฺ ประจำปี ฮ.ศ. 1431 และเช่นเดียวกันรายละเอียดส่วนอื่นๆซึ่งพี่น้องสามารถที่จะปรับตารางเวลาและกิจกรรมตามความเหมาะสมได้ – ผู้แปล)

    สิ่งที่เราได้รับจากตารางกิจวัตรประจำวัน นั้นคือ

    1. การจัดสรรเวลาและประเภทอามัลต่างๆให้มันสมบูรณ์แบบในแต่ละวัน ระหว่างเวลาทำงาน เวลาพักผ่อน เวลาละหมาด เวลาอ่านอัลกุรฺอาน เวลาอ่านอัซการ และเวลาปฏิบัติอามัลที่ดี-ศอลิหฺ-อื่นๆอีกมากมายนั้น มันย่อมจะส่งผลให้เป็นสาเหตุที่จะทำให้ประสบกับความสำเร็จในการสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงามได้ –ด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ-

    สำหรับพี่น้องทุกท่านทั้งที่เป็นนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และอื่นๆ สมควรอย่างยิ่งสำหรับพวกท่านที่ต้องพยายามรักษาให้ตัวเองอยู่ในการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺและพยายามรักษาการละหมาดฟัรฎูต่างๆในเวลาของมันและที่มัสญิด(สำหรับมุสลีมีน) เพราะในมัสญิดนั้น อัลลอฮฺจะทรงประทานความเข้มแข็งในการทำงาน(สำหรับคนทำงาน) และการศึกษาหาความรู้(สำหรับนักเรียน นักศึกษา)... อย่างไรก็ตาม มันก็ต้องควบคู่กับความขยันและความมุ่งมุ่นของพี่น้องในการศึกษาหาความรู้อย่างจริงจังและเข้มข้น และการหาเวลาพักผ่อนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจของพี่น้องที่มากขึ้นในช่วงเวลาหลังจากนั้น

    2. การนอนและตื่นขึ้นมาตั้งแต่เนิ่นๆนั้น มีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการกระตุ้นความจำของเรา...และ-กิจวัตรต่างๆที่ฉันได้แนะนำในตารางข้างต้นนั้นมัน-เป็นการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุดจากทุกๆนาทีในแต่วัน กล่าวคือเป็นส่วนช่วยในการใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่ดีทีสุดก็ว่าได้...ทั้งนี้ พี่น้องก็สามารถปรับตารางเวลาตามความเหมาะสมและสภาพแวดล้อมของสังคมของพี่น้องได้

    3. ในตารางข้างต้นนั้นมีช่วงเวลาตามอัธยาศัยอยู่ ซึ่งพี่น้องสามารถใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการทบทวนบทเรียนสำหรับคนที่เป็นนักเรียน นักศึกษา หรือจะทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่จะส่งผลให้เป็นตารางกิจวัตรแห่งความศรัทธา

    4. สิ่งที่เราจะได้รับจากตารางข้างต้นอีกนั้นคือ การให้ความสำคัญต่อเวลาละหมาดต่างๆ ช่วงเวลาของการซิกรุลลอฮฺ และอื่นๆอีกมากมาย และทุกๆชั่วโมงนั้นหากพี่น้องเติมเต็มมันไปด้วยกับสิ่งที่มีประโยชน์ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง แน่นอนผลที่จะได้รับย่อมจะเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมอย่างแน่นอน –ด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ- และพี่น้องยังสามารถเพิ่มหรือลดช่วงเวลาของการพักผ่อนได้อีกตามความเหมาะสม

    5. ให้กำหนดตารางกิจวัตรประจำวันให้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด เพื่อให้พี่น้องสามารถปรับเปลี่ยนหรือตัดทิ้งมันได้ หากว่ามีภารกิจอื่นๆที่ต้องทำและสำคัญยิ่งกว่า...และให้ทำสัญลักษณ์ เช่นขีดถูกด้วยปากกา ในกิจวัตรที่พี่น้องได้ปฏิบัติแล้ว

    6. พี่น้องอาจจะขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาจากพ่อแม่ จากพี่น้อง หรือจากครอบครัว ในการกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมตารางกิจวัตรประจำวันของพี่น้องได้ และอาจจะขอความร่วมมือจากพวกเขาในการปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความตั้งใจและต้องการของพี่น้อง...และให้กำหนดตารางกิจวัตรประจำวันที่ใช้สำหรับคนในครอบครัวด้วย ซึ่งมันจะเป็นส่วนช่วยให้พี่น้องสามารถยึดมั่นในการปฏิบัติตนในสิ่งที่มีอยู่ในตารางกิจวัตรนั้น...เช่นเดียวกัน ในทุกๆ 2 วันก็ให้พี่น้องบันทึกในสิ่งที่ครอบครัวได้ปฏิบัติและให้บันทึกในสิ่งที่ครอบครัวจะร่วมมือกันปฏิบัติต่อในวันข้างหน้า...

    7. ในตารางนี้มีการวางเป้าหมายอย่างหลากหลายที่เป็นไปเพื่อการอบรมขัดเกลาและเป็นแบบแผนที่จะใช้ในการดำรงตนให้อยู่ในการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺและการทำให้ตัวเรามีความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺมากขึ้น และจะเป็นตัวนำสิ่งที่ดีงามไปสู่ทั้งปัจเจกบุคคลและสังคมโดยรวมอีกด้วย ดังนั้น เมื่อพี่น้องเชื่อมั่นว่ามันต้องประสบกับความสำเร็จในการสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงามอย่างแน่นอน แล้วทำไมพวกท่านถึงยังไม่วางแนวทางในการปฏิบัติอามัลทั้ง 10 วันอีกล่ะ ??

    พี่น้องอาจจะดูตารางกิจวัตรประจำวันข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่ธรรมดา แต่ขอให้รู้ว่ามันมีรายละเอียดของโครงการต่างๆที่ยิ่งใหญ่อย่างมากมายในนั้นอยู่ ซึ่งมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

    หนึ่ง : โครงการ “เพื่อให้ทุกการละหมาดเป็นการเลี้ยงฉลอง”

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ غَدَا إلَى المَسْجِدِ أَوْ رَاحَ، أَعَدَّ الله لَـهُ فِي الجَنَّةِ نُزُلاً كَلَّمَا غَدَا أَوْ رَاحَ»

    ความว่า “ใครก็ตามที่ไปกลับมัสญิดทุกๆเช้าหรือบ่ายเพื่อละหมาดญะมาอะฮฺแล้ว อัลลอฮฺจะเตรียมที่อยู่หนึ่งให้แก่เขาในสวรรค์ในทุกๆเช้าหรือบ่าย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 662 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1556 )

    คำว่า “ที่อยู่หนึ่ง” หมายถึงสถานที่ที่มีสำรับอาหารไว้สำหรับผู้ที่เข้าไป

    มากับฉันเถิด.... ฉันจะแนะนำโครงการการเลี้ยงฉลองให้พี่น้อง (มันคือการร่วมละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิด ซึ่งมีอยู่ในตารางกิจวัตรประจำวันข้างต้น)

    ฉันขอแนะนำให้พี่น้องออกจากบ้านก่อนการอะซานประมาณ 10 นาที แล้วอย่าลืมเอาน้ำละหมาดให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยออกไปมัสญิด ซึ่งในช่วงที่พี่น้องกำลังเดินไปนั้นก็ให้มั่นกล่าวตัสบีหฺ(สุบหานัลลอฮฺ) ตะหฺมีด(อัลหัมดุลิลลาฮฺ) ตะฮฺลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) และตักบีร(อัลลอฮุอักบัร)

    พอถึงมัสญิดแล้ว เมื่อเสียงอะซานดังขึ้นก็ให้พี่น้องกล่าวตามนั้นด้วย หลังจากนั้นก็ให้กล่าวเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และวิงวอนขอดุอาอ์ให้ท่าน ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้รับการประทานฐานะอันสูงส่งและความประเสริฐ แล้วให้ละหมาดสุนัตก่อนละหมาดฟัรฎุ(ก็อบลียะฮฺ)ด้วยความนิ่งสงบและด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่น

    เมื่อเสร็จแล้วก็ให้นั่งขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺต่อ เพราะการขอดุอาอ์ช่วงระหว่างการอะซานและการอิกอมะฮฺนั้นจะไม่ถูกปฏิเสธอย่างแน่นอน อย่าลืมต้องทำด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์และมุ่งตรงไปยังพระเจ้าของพี่น้อง หากเป็นไปได้ก็ให้น้ำตาของพี่น้องหลั่งออกมาด้วย และพี่น้องอย่าลืมขอดุอาอ์ในช่วงที่สุญูด เพราะมันคือสภาพที่การดุอาอ์ของพี่น้องจะถูกตอบรับจากอัลลอฮฺอย่างแน่นอน

    เมื่อการละหมาดได้เริ่มขึ้น ให้พี่น้องละหมาดแถวหน้าสุดและเบื้องขวาของอิมาม และพยายามปรับความรู้สึกให้มีความปิติยินดีในการละหมาด และเมื่อพี่น้องเสร็จจากการละหมาดแล้วก็ให้นั่งด้วยความสุขใจพร้อมกล่าวอิสติฆฟาร(ขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ) ชุกูร(ขอบคุณต่อพระองค์) และซิกรุลลอฮฺ(รำลึกถึงพระองค์ )หลังจากนั้นก็ให้ขึ้นละหมาดสุนัตหลังละหมาดฟัรฎุ(บะอฺดียะฮฺ) แต่ต้องหลังจากที่พี่น้องอ่านอัซการ(บทรำลึกถึงอัลลอฮฺหลังละหมาด)แล้ว ซึ่งหากพี่น้องทำเช่นนี้ได้แล้ว พี่น้องก็จะได้รับผลบุญอย่างมากมาย เช่น :

    - ผลบุญที่จะลบล้างความผิดทั้งหลายของพี่น้อง เนื่องด้วยการอาบน้ำละหมาด

    - ทุกๆการก้าวเดินเพื่อไปมัสญิดของพี่น้อง มันจะยกระดับพี่น้อง 1 ขั้น และจะลบล้าง 1 ความผิด

    - ผลบุญที่มาจากอัลลอฮฺโดยตรง เนื่องจากพี่น้องได้รำลึกถึงพระองค์ในช่วงที่เดินไปมัสญิด (เพราะอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า จงรำลึกถึงข้าเถิด ข้าก็จะรำลึกถึงพวกเจ้า 2:152-)

    - ผลบุญของการดุอาอ์ให้กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งพี่น้องจะได้รับชะฟาอะฮฺ-การช่วยเหลือจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในวันกิยามะฮฺ-

    - ผลบุญของการละหมาดสุนัตก่อนละหมาดฟัรฎุ

    - ผลบุญของการรอละหมาด ก็เสมือนอยู่ในละหมาด

    - ผลบุญของการขอดุอาอ์ระหว่างการอะซานและอิกอมะฮฺ และการขอดุอาอ์ในระหว่างสุญูด

    - ผลบุญของการตักบีเราะตุลอิหฺรอมพร้อมกับอิมาม(การตักบีรเพื่อเข้าการละหมาด), ผลบุญของการละหมาดญะมาอะฮฺ, ผลบุญของการยืนอยู่แถวแรก, และผลบุญของการยืนอยู่เบื้องขวาของแถว

    - ผลบุญของการอ่านอัซการหลังละหมาด, ผลบุญของการละหมาดสุนัตหลังละหมาดฟัรฎุ, และผลบุญของการอยู่ในมัสญิด, และ....และ...

    ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ...นี่มันไม่ใช่การเลี้ยงฉลองหรอกหรือ ? ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ...ผู้ที่ละเลยในการปฏิบัติมันทั้งๆที่เขามีความสามารถ เราจะเรียกเขาว่าอะไรดี ??

    สอง : โครงการ “ซิกรุลลอฮฺ” (การรำลึกถึงอัลลอฮฺ)

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَا مِنْ أَيَّامٍ أَعْظَمُ عِنْدَ اللهِ وَلَا أَحَبُّ إِلَيْهِ الْعَمَلُ فِيهِنَّ مِنْ هَذِهِ الْأَيَّامِ الْعَشْرِ، فَأَكْثِرُوا فِيهِنَّ مِنْ التَّسْبِيْح وَالتَّحْمِيدِ والتَّهْلِيلِ وَالتَّكْبِيرِ»

    ความว่า “ไม่มีบรรดาวันต่างๆที่จะมีความสำคัญยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ และเป็นที่รักยิ่งยังพระองค์มากไปกว่า การปฏิบัติอะมัลในวันเหล่านั้นจากสิบวัน(ของซุลฮิจญะฮฺ) ดังนั้น พวกท่านจงทำการซิกรุลลอฮฺให้มากๆจากการกล่าวตัสบีหฺ(สุบหานัลลอฮฺ) ตะหฺมีด(อัลหัมดุลิลลาฮฺ) ตะหฺลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) และตักบีร(อัลลอฮุอักบัร)-”

    (รายงานโดยท่านอิบนุ อับบาส บันทึกโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ หมายเลขหะดีษ 11116)

    คำกล่าวซิรุลลอฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่ใช้กล่าวในวันนั้นคือ สุบหานัลลอฮฺ, อัลหัมดุลิลลาฮฺ, ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ, อัลลอฮุอักบัร และคำกล่าวอื่นๆที่ดีงามทั้งหลาย ซึ่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกแก่เราอีกว่า ทุกๆคำกล่าวนั้นเท่ากับ ต้นไม้ 1 ต้นในสวนสวรรค์ และผลบุญของทุกๆคำกล่าวนั้น ณ ที่อัลลอฮฺแล้วเสมือนภูเขาอุหุดเลยทีเดียว

    โอ้พี่น้องที่รักของฉัน...ฉันเชื่อว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวก็เหมือนหลักสูตรการอบรมที่มีอยู่ในเดือนเราะมะฎอนที่เน้นหนักด้วยกับอัลกุรฺอาน แต่สำหรับ 10 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺแล้วมันคือหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมที่เน้นหนักด้วยการ “ซิกรุลลอฮฺ”

    ท่านอาจจะถามฉันว่า : แล้วเวลาใดบ้างล่ะ ที่ฉันจะอ่านคำกล่าวนั้นได้ ??

    ฉันขอตอบท่านว่า : ท่านตอบเองเถิด... ท่านตอบเองเถิด...ท่านตอบเองเถิด...

    แต่ฉันสามารถแนะนำช่วงเวลาที่ท่านสามารถกล่าวซิกรุลลอฮฺได้ เช่นในช่วงที่ท่านเดินทางไปทำงาน กำลังขับรถ ในช่วงที่ท่านว่าง หรือช่วงเวลาที่ท่านนอนเอกเขนกบนเตียงเพื่อรอเข้านอน

    อาจจะเป็นในช่วงที่ท่านไม่มีอะไรจะพูด ก็ให้ท่านกล่าวมัน หรือช่วงที่ท่านกำลังทานอาหาร

    และฉันขอแนะนำท่านอีกว่า ให้เดินไปมัสญิดตั้งแต่เนิ่นๆ และให้มั่นกล่าวซิรุลลอฮฺให้มากๆกระทั่งเข้าเวลาละหมาด... ฉันหมายความว่า ท่านสามารถจะกล่าวซิกรุลลอฮฺในเวลาใดก็ได้

    โอ้พี่น้องที่รักของฉัน หากว่าท่านตั้งใจปฏิบัติในสิ่งที่ฉันได้แนะนำแล้วไซร้ ฉันคิดว่าในแต่ละวันท่านสามารถที่จะซิกรุลลอฮฺได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ครั้งอย่างแน่นอน ซึ่งหมายความว่า ท่านกำลังปลูกต้นไม้ในสวนสวรรค์ถึง 1,000 ต้นต่อวัน แล้วท่านรู้หรือไม่ว่า...หากท่านมั่นกล่าวซิกรุลลอฮฺใน 10 วันแรกอย่างไม่ขาด เรือกสวนของท่านในสวรรค์จะเป็นเช่นไรบ้าง ? ท่านลองจินตนาการดูสิ...ท่านสามารถปลูกต้นไม้ในสวรรค์ถึง 100,000 ต้นภายในระยะเวลาเพียง 10 วันเท่านั้น แล้วคนที่เพิกเฉยต่อโอกาสเช่นนี้เขาไม่ใช่คนที่ขาดทุนที่สุดหรอกหรือ ???

    ท่านรู้มั้ย ? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า

    «مَنْ قَالَ سُبْحَانَ اللهِ وَبِحَمْدِهِ فِي يَوْمٍ مِائَةَ مَرَّةٍ حُطَّتْ خَطَايَاهُ وَإِنْ كَانَتْ مِثْلَ زَبَدِ الْبَحْرِ»

    ความว่า “ผู้ใดกล่าว สุบหานัลลอฮิวะบิหัมดิฮฺ หนึ่งร้อยครั้งต่อวัน บาปของเขาจะถูกลบล้างแม้ว่ามันจะมากดั่งฟองคลื่นทะเลก็ตาม” (รายงานโดยอบู ฮุร็อยเราะฮฺ บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 6405)

    โอ้พี่น้องที่รักและมีเกียรติของฉัน...หากเราได้คำนวณการกล่าวซิกรุลลอฮฺในแต่ละครั้งของเรา เช่น หากเรากล่าว “สุบหานัลลอฮิวะบิหัมดิฮฺ –มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺและการสรรเสริญมีแด่พระองค์ท่าน-” 1 ครั้งใช้เวลาประมาณ 3 วินาที แล้วหากเราได้กล่าวซ้ำไปซ้ำมา 100 ครั้ง ก็แสดงว่าเราได้ใช้เวลาประมาณ 300 วินาที หมายความว่าเพียงแค่ 5 นาทีแต่สามารถทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนสู่อีกสภาพหนึ่งได้เลย ความผิดของเราจะถูกลบล้างทั้งหมดแม้ว่ามันจะมากดั่งฟองคลื่นทะเลก็ตาม

    สาม : โครงการ “เคาะตัมอัลกุรฺอาน” (การอ่านอัลกุรฺอานให้จบทั้งเล่ม)

    อัลลอฮฺ ทรงตรัสในเรื่องนี้ว่า

    ﴿وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآنِ مَا هُوَ شِفَاءٌ وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ ۙوَلَا يَزِيدُ الظَّالِمِينَ إِلَّا خَسَارًا ﴾

    ความว่า “และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมาซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธาและมันมิได้เพิ่มอันใดแก่พวกอธรรม นอกจากการขาดทุนเท่านั้น” (สูเราะฮฺ อัล-อิสรออ์ : 82)

    และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้กล่าวอีกว่า

    «أَفَلاَ يَغْدُو أَحَدُكُمْ إِلَى الْمَسْجِدِ فَيَعْلَمَ أَوْ يَقْرَأَ آيَتَيْنِ مِنْ كِتَابِ اللهِ عَزَّ وَجَلَّ، خَيْرٌ لَهُ مِنْ نَاقَتَيْنِ وَثَلاَثٌ خَيْرٌ لَهُ مِنْ ثَلاَثٍ وَأَرْبَعٌ خَيْرٌ لَهُ مِنْ أَرْبَعٍ وَمِنْ أَعْدَادِهِنَّ مِنَ الإِبِلِ»

    ความว่า “ทำไมคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านถึงไม่ไปมัสญิดตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเรียนรู้หรืออ่านอัลกุรฺอาน 2 อายะฮฺ ซึ่งมันจะยิ่งดีกว่าอูฐ 2 ตัว และ(หากท่านเรียนรู้หรืออ่าน) 3 อายะฮฺ มันก็จะดียิ่งกว่าอูฐ 3 ตัว และ(หากท่านเรียนรู้หรืออ่าน) 4 อายะฮฺ มันก็จะดียิ่งกว่าอูฐ 4 ตัว และเป็นเช่นนั้นเรื่อยไปตามจำนวนของอูฐ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1909)

    คิดดูสิ..พี่น้องจะได้รับการตอบแทนมากเพียงใด ???

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า

    «مَنْ قَرَأَ حَرْفًا مِن كِتَابِ اللهِ فَلَهُ حَسَنَةٌ، وَالْحَسَنَة بِعَشْرِ أَمْثَالِهَا، لاَ أَقُوْلُ : آلم حَرْفٌ، وَلكِن : أَلِفُ حَرْفٌ، وَلاَمٌ حَرْفٌ، وَمِيْمٌ حَرْفٌ»

    ความว่า “ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานหนึ่งตัวอักษรเขาจะได้รับหนึ่งความดีงาม โดยหนึ่งความดีงามนั้นจะเพิ่มทวีคูณเป็นสิบเท่า ฉันไม่ได้บอกว่า อลิฟ ลาม มีม เป็นหนึ่งอักษร แต่อลิฟ เป็นหนึ่งอักษร ลาม เป็นหนึ่งอักษร มีม ก็เป็นอีกหนึ่งอักษร” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 2921)

    เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พี่น้องต้องพยายามอ่านอัลกุรฺอานใน 10 วันแรกนี้ให้จบ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อยให้ได้...แต่ พี่น้องอย่าได้ท้อหรือล้มเลิกจากการอ่านอัลกุรฺอานโดยเด็ดขาด เพราะอัลกุรฺอานถูกประทานลงมาเพื่อเข้าสู่หัวใจของพี่น้อง และมันจะเป็นยาบำบัดหัวใจของพี่น้องได้ดีที่สุด

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน...จงค้นหายาเพื่อใช้บำบัดหัวใจของพี่น้องในอัลกุรฺอาน... โดยการใคร่ครวญในทุกๆอายะฮฺ...ทุกๆคำ...และทุกๆอักษรเถิด

    ซึ่งแนวทางที่จะให้พี่น้องสามารถเคาะตัมอัลกุรฺอานภายใน 10 วันได้ ก็เพียงแค่พี่น้องอ่านวันละ 3 ยุซ(ส่วนย่อยของอัลกุรฺอาน รวมประมาณ 60 หน้าต่อวัน) และฉันขอแนะนำว่าให้พี่น้องกำหนดในตารางกิจวัตรประจำวันของพี่น้องด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นตัวพี่น้องให้ปฏิบัติสิ่งนั้นให้ได้

    (โอ้พี่น้องที่รักของฉัน การอ่านอัลกุรฺอาน) 3 ยุซต่อวัน ถ้าคำนวณแล้ว 1 อักษรเท่ากับ 10 ความดีงาม แสดงว่าเขาจะได้รับ 500,000 ความดีงามต่อวัน...

    ดังนั้น เรามาอ่านอัลกุรฺอานกันเถิด... แล้วเราจะได้รับ 500,000 ความดีงามต่อวันเพียงแค่จากการอ่านอัลกุรฺอานเท่านั้น...

    แล้วการงานอื่นๆที่เราทำไปในแต่ละวันที่เปี่ยมไปด้วยความจำเริญโดยที่เราไม่รู้ตัวล่ะ !!! มันจะไม่เพิ่มพูนความดีงามแก่เราหรอกหรือ ?...

    มาอ่านกันเถิด...แล้วเราจะได้ผลบุญเป็นล้านๆ...มา..มา..เรามาอ่านอัลกุรฺอานกันเถิด !!

    สี่ : โครงการ “การถือศีลอด”

    มีรายงานจากท่านฮุนัยดะฮฺ บินคอลิด จากภรรยาของท่าน จากภรรยาบางคนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้เล่าว่า

    أنَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَصُومُ تِسْعَ ذِي الْحِجَّةِ وَيَوْمَ عَاشُورَاءَ وَثَلَاثَةَ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ قَالَ عَفَّانُ أَوَّلَ اثْنَيْنِ مِنْ الشَّهْرِ وَخَمِيسَيْنِ

    ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือศีลอดเก้าวัน(แรก)ของเดือนซุลหิจญะฮฺ, วันอาชูรออ์, และสามวันของทุกเดือน วันจันทร์แรกของเดือน และวันพฤหัสบดีอีกสองวัน” (บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลขหะดีษ 2437 และอิมามอะหฺมัด หมายเลขหะดีษ 21829 “ท่านอัซ-ซัยละอีย์ ได้ระบุในนัศบุรรอยะฮฺ 2/180 ว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟ แต่ชัยคฺอัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ หมายเลขหะดีษ 2437 ถึงแม้ว่าบรรดานักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกันว่าหะดีษข้างต้นเศาะฮีหฺหรือไม่ ซึ่งฝ่ายที่เห็นว่าเศาะฮีหฺก็จะยึดหลักฐานนี้ส่งเสริมให้ถือศีลอดทั้ง 9 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ แต่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเห็นว่าหะดีษบทนี้เฎาะอีฟ ก็ได้กล่าวว่าจะยึดหะดีษนี้เพื่อส่งเสริมการถือศีลอดทั้ง 9 วันไม่ได้ แต่ทั้งนี้ แม้แต่อุละมาอ์ฝ่ายที่เห็นว่าหะดีษข้างต้นเฎาะอีฟ ก็ยังเห็นว่า ถ้าจะถือศีลอดตลอดทั้ง 9 วัน หรือถือเป็นบางวัน ก็สามารถกระทำได้ โดยยึดหะดีษอื่นๆที่ระบุถึงความประเสริฐของ 10 วันแรกเดือนซุลหิจญะฮฺ -ผู้แปล-”)

    ดังนั้น พี่น้องจงถือศีลอดทั้ง 9 วันเถิด และพยายามอย่าให้มันพลาดแม้เพียง 1 วันก็ตาม

    ซึ่งหากมีพวกที่เกียจคร้านได้ยับยั้งพี่น้องไม่ให้ถือศีลอดในวันเหล่านั้น แล้วพวกเขาก็กล่าวแก่พี่น้องอีกว่า “หะดีษนั้นมันเป็นหะดีษเฎาะอีฟ” (พี่น้องก็ไม่ต้องกังวลใดๆเลย เพราะ)อย่างไรก็ตามก็ยังมีหะดีษอื่นๆที่มารองรับเรื่องนี้อยู่ เช่น

    «مَنْ صَامَ يَوْمًا فِي سَبِيْلِ اللهِ بَاعَدَ اللهُ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ سَبْعِيْنَ خَرِيْفًا»

    ความว่า “ผู้ใดถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺหนึ่งวัน อัลลอฮฺจะทรงให้ใบหน้าของเขาห่างไกลจากไฟนรกเจ็ดสิบปี” (รายงานโดยท่านอบีสะอีด อัล-คุดรีย์ บันทึกโดยมุสลิม 2769)

    ด้วยกับความประเสริฐต่างๆที่มีอยู่ในวันเหล่านั้น พี่น้องก็จะเป็นผู้ที่ประสบกับความสำเร็จอย่างแน่นอน -อินชาอัลลอฮฺ- !!

    ห้า : โครงการ “การทำหัจญ์และอุมเราะฮฺ”

    พี่น้องสามารถประหยัดเงินถึง 4,000 ดีนารฺ และสามารถเก็บเกี่ยวถึง 4,000 ความดีงามได้...

    ยิ่งไปกว่านั้น...พี่น้องอาจจะเก็บเกี่ยวได้มากยิ่งกว่าการแสงที่ได้ทอจากดวงอาทิตย์เสียอีก

    ในขณะที่พี่น้องนั่งอยู่ในมัสญิดหลังจากละหมาดศุบหฺแล้ว เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นก็ให้พี่น้องละหมาดฎุฮา 2 เราะกะอะฮฺ ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ صَلَّى الْغَدَاةَ فِي جَمَاعَةٍ، ثُمَّ قَعَدَ يَذْكُرُ اللهَ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ ثُمَّ صَلَّى رَكْعَتَيْنِ كَانَتْ لَهُ كَأَجْرِ حَجَّةٍ وَعُمْرَةٍ، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: تَامَّةٍ تَامَّةٍ تَامَّةٍ»

    ความว่า “ผู้ใดที่ทำละหมาดญะมาอะฮฺศุบหฺ หลังจากนั้นเขาได้นั่งซิกรุลลอฮฺ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วเขาก็ทำการละหมาดสองเราะกะอะฮฺ แน่นอนเขาจะได้ผลตอบแทนเหมือนกับทำหัจญฺและอุมเราะฮฺ อย่างสมบูรณ์ สมบูรณ์ สมบูรณ์” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 586 ชัยคฺ อัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน)

    และช่วงเวลาที่พี่น้องนั่งอยู่ในมัสญิด ฉันขอแนะนำให้พี่น้องปฏิบัติอามัล ดังนี้

    - อ่านอัลกุรฺอาน

    - อ่านอัซการ(บทรำลึกถึงอัลลอฮฺ)ยามเช้า

    - มั่นเตาบัต(กลับเนื้อกลับตัว)

    - ขอดุอาอ์อย่างลับๆ

    - ให้อภัยต่อผู้ที่อธรรมต่อพี่น้อง

    - ขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ

    - ปฏิบัติอามัลอื่นๆ

    หก : โครงการ “เพื่อสวนสวรรค์อัลฟิรเดาส์”

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ قَامَ بِعَشْرِ آيَاتٍ لَمْ يُكْتَبْ مِنَ الْغَافِلِيْن ، وَمَنْ قَامَ بِمِائَةِ آيَةٍ كُتِبَ مِنَ الْقَانِتِيْن ، وَمَنْ قَامَ بِأَلْفِ آيَةٍ كُتِبَ مِنَ الْمُقَنْطِرِيْن»

    ความหมาย “ผู้ใดตื่นละหมาดกลางคืนด้วย 10 อายะฮฺ จะไม่ถูกบันทึกว่าเป็นผู้หลงลืม (จากหลักการของอัลลอฮฺ ) และผู้ใดตื่นละหมาดกลางคืนด้วย 100 อายะฮฺ จะถูกบันทึกว่าเป็นกอนิตีน (ผู้ที่ยืนละหมาดนาน) และผู้ใดละหมาดกลางคืนด้วย 1,000 อายะฮฺ จะถูกบันทึกว่าเป็นมุกอนฏิรีน (ได้รับผลบุญมหาศาล) (รายงานโดยท่านอัมรฺ บิน อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลขหะดีษ 1398 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ได้กล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

    -โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน- พี่น้องตื่นละหมาดกลางคืนด้วยการอ่านเพียง 1,000 อายะฮฺ ในทุกๆค่ำคืนพี่น้องก็จะได้รับผลบุญใหม่ๆด้วยสวนสวรรค์แล้ว แต่หากบางคืนที่พี่น้องอาจจะรู้สึกอ่อนเพลียหรือไม่ไหว พี่น้องก็สามารถตื่นขึ้นมาละหมาดได้โดยอ่านเพียง 100 อายะฮฺ ซึ่งพี่น้องก็จะถูกบันทึกว่าเป็นกอนิตีน(ผู้ที่ยืนละหมาดนาน) แล้ว

    เจ็ด : โครงการ “สร้างความเป็นพี่น้องในหนทางของอัลลอฮฺ”

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «إِنَّ مِنْ عِبَادِ اللهِ لأُنَاسًا مَا هُمْ بِأَنْبِيَاءَ وَلاَ شُهَدَاءَ يَغْبِطُهُمُ الأَنْبِيَاءُ وَالشُّهَدَاءُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِمَكَانِهِمْ مِنَ اللهِ تَعَالَى» قَالُوا : يَا رَسُولَ اللهِ تُخْبِرُنَا مَنْ هُمْ. قَالَ : «هُمْ قَوْمٌ تَحَابُّوا بِرُوحِ اللهِ عَلَى غَيْرِ أَرْحَامٍ بَيْنَهُمْ وَلاَ أَمْوَالٍ يَتَعَاطَوْنَهَا، فَوَاللهِ إِنَّ وُجُوهَهُمْ لَنُورٌ، وَإِنَّهُمْ عَلَى نُورٍ، لاَ يَخَافُونَ إِذَا خَافَ النَّاسُ، وَلاَ يَحْزَنُونَ إِذَا حَزِنَ النَّاسُ» وَقَرَأَ هَذِهِ الآيَةَ ﴿أَلاَ إِنَّ أَوْلِيَاءَ اللهِ لاَ خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلاَ هُمْ يَحْزَنُونَ﴾

    ความว่า “แท้จริงจากหมู่ปวงบ่าวของอัลลอฮฺนั้น มีชนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่บรรดานบี และไม่ใช่บรรดาชะฮีด แต่บรรดานบีและบรรดาชะฮีดยังต้องอิจฉาพวกเขาในวันกิยามะฮฺ อันเนื่องจากตำแหน่งของพวกเขา ณ ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา” พวกเขา(บรรดาเศาะหาบะฮฺ) กล่าวว่า : โอ้เราสูลุลลอฮฺ โปรดบอกพวกเราเถิดว่าพวกเขาเป็นใครกัน ท่านเราะสูลจึงกล่าวว่า “พวกเขาคือกลุ่มคนที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺ โดยที่พวกเขาไม่ได้รักกันด้วยสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ และไม่ได้รักกันด้วยทรัพย์สมบัติที่พวกเขาให้แก่กัน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริงใบหน้าของพวกเขามีรัศมี และพวกเขาก็อยู่บนรัศมี พวกเขาไม่หวาดกลัวในยามที่มนุษย์พากันหวาดกลัว และพวกเขาไม่ทุกข์ใจ ในยามที่มนุษย์พากันทุกข์ใจ แล้วท่านก็อ่านอายะฮฺที่ 62 ของสูเราะฮฺยูนุส ความว่า“พึงทราบเถิด แท้จริงบรรดาคนรักของอัลลอฮฺนั้น ไม่มีความหวาดกลัวใดใดสำหรับพวกเขา และพวกเขาจะไม่เสียใจ” (บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลขหะดีษ 3529)

    ฉันขอแนะนำพี่น้องว่า...ในช่วงระยะเวลา 10 วันนั้นให้พี่น้องเชิญเพื่อนๆมาละศีลอดร่วมกันอย่างน้อยเพียง 1 ครั้งก็ยังดี และก่อนถึงเวลาละหมาดมัฆริบประมาณครึ่งชั่วโมงอย่าลืมซิกรุลลอฮฺและขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺให้มากๆ ซึ่งหลังจากละศีลอดแล้วก็ให้ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อทำการตักเตือนซึ่งกันและกัน ฟังอัลกุรฺอานร่วมกัน หรืออาจจะดูวิดีโอที่เกี่ยวกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ภายหลังจากนั้นหากพี่น้องมีความสามารถก็ควรให้แนะนำหรือสั่งสอนพวกเขา ซึ่งอาจจะนำหนังสือมาอ่านหรือเปิดไฟล์เสียงให้ฟังก็ได้ ซึ่งสิ่งที่พี่น้องจะได้รับนั้นคือ :

    - ผลบุญของการเลี้ยงอาหาร(อิฟฏอรฺ)แก่คนที่ถือศีลอด

    - ผลบุญของการเชิญชวนผู้อื่นสู่แนวทางของอัลลอฮฺ

    - ผลบุญของการสั่งใช้ในความดีงามและห้ามปรามสิ่งที่ชั่วร้าย

    - ผลบุญของการช่วยเหลือกันในความดีงาม

    - ผลบุญของการยืนหยัดอย่างหนักแน่นมั่งคงจากการเผชิญหน้ากับคนที่ไม่เห็นด้วยกับพี่น้อง

    แปด : โครงการ “เชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ”

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า

    «أَيُّهَا النَّاسُ! أَفْشُوا السَّلاَمَ، وَأَطْعِمُوا الطَّعَامَ، وَصَلُّوا وَالنَّاسُ نِيَامٌ؛ تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ بِسَلاَمٍ»

    ความว่า “โอ้ มนุษย์เอ๋ย ! พวกท่านจงแพร่สลาม จงเลี้ยงอาหาร และทำละหมาดในยามที่คนอื่นต่างหลับไหลเถิด แล้วท่านจะได้เข้าสวนสวรรค์ด้วยความสันติราบรื่น” (รายงานโดยอับดุลลอฮฺ บิน สลาม เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 2485)

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า

    «الرَّحِمُ مُعَلَّقَةٌ بِالْعَرْشِ تَقُولُ مَنْ وَصَلَنِى وَصَلَهُ اللهُ وَمَنْ قَطَعَنِى قَطَعَهُ اللهُ»

    ความว่า “เครือญาติถูกผูกติดอยู่กับบัลลังก์ ซึ่งเครือญาติได้กล่าวว่า : ใครติดต่อกับฉัน อัลลอฮฺก็จะติดต่อกับเขา และใครที่ตัดสัมพันธ์กับฉัน อัลลอฮฺก็จะตัดสัมพันธ์กับเขา” (บันทึกมุสลิม หมายเลขหะดีษ 6683)

    ดังนั้น(ฉันขอแนะนำพี่น้อง)ให้พยายามรักษากิจวัตรอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นประจำ โดยให้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวันหรือเท่าที่ตนมีความสะดวก ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติต่อพ่อแม่ของท่าน เช่น

    - ไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง

    - ให้ความช่วยเหลือต่อเพื่อนบ้าน

    และฉันขอแนะนำพี่น้องด้วยสิ่งที่ทรงคุณค่ายิ่งนั้นคือ...พี่น้อง-อย่าอายที่จะ-จุมพิตและหอมแก้มพ่อแม่ของพี่น้องในทุกๆวัน และพี่น้องจงขอให้พ่อแม่ ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺเพื่อให้พี่น้องอยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง และพยายามชดเชยในสิ่งที่พี่น้องได้บกพร่องไปในวันเวลาที่ผ่านมา และนี่คือโอกาสของพี่น้องเอง !!!

    เก้า : โครงการ “นำมาความสุขให้แก่พี่น้องผู้ศรัทธา”

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน-...จงค้นหาผู้ที่ขาดแคลนในทุนทรัพย์ที่กำลังรอคอยความช่วยเหลือจากท่านเถิด..แล้วยื่นมือให้การช่วยเหลือพวกเขา อย่าลืมเชิญชวนพี่น้องคนอื่นๆให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาด้วย อาจจะรวบรวมเสื้อผ้าต่างๆหรือให้พวกเขามีโอกาสลิ้มรสอาหารที่ดีๆ...

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน จงทำให้หัวใจของพวกเขาได้สัมผัสกับความสุขเถิด ทั้งนี้ ก็เพื่อยกระดับตัวของพี่น้องเองในการอยู่ในโลกใบนี้และสำหรับพี่น้องแล้วก็จะได้รับผลบุญในวันโลกหน้าอย่างแน่นอน...ดังนั้นเรามาบริจาค...บริจาค....บริจาคกันเถิด

    โดยแน่นอนหากมนุษย์ได้บริจาคสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อแสวงหาพระพักตร์(ความพึงพอใจ)ของอัลลอฮฺแล้วไซร้ อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ก็จะตอบรับการดุอาอ์ของเขา และทำให้เขารอดพ้นจากบททดสอบต่างๆได้อย่างแน่นอน

    มีรายงานจากท่านอบีอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «صَناَئِعُ المعْرُوف تَقِي مَصَارِعَ السُّوءِ، وصَدَقَةُ السِّرِّ تُطْفِئُ غَضَبَ الرَّبِّ، وَصِلَةُ الرَّحِمِ تَزِيدُ مِنَ الْعُمُرِ »

    ความว่า “การปฏิบัติสิ่งดีงามจะช่วยปกป้องให้รอดพันจากการปฏิบัติความชั่ว ส่วนการบริจาคอย่างลับๆนั้นจะช่วยดับความโกรธกริ้วของพระเจ้าได้ และการเชื่อมสัมพันธ์เครือญาตินั้นจะเพิ่มพูนอายุขัยของเขา” (บันทึกโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ หมายเลขหะดีษ 8014 ด้วยสายรายงานที่หะสัน)

    และมีรายงานจากท่านรอฟิอฺ บินมะกีษฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ -ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมสงครามอัลหุดัยบียะฮฺพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม-

    «حُسْنُ الْمَلَكَة نَمَاءٌ، وَسُوءُ الْخُلُقِ شُؤْمٌ، وَالْبِرُّ زِيَادَةٌ فِي الْعُمُرِ، وَالصَّدَقَةُ تَمْنَعُ مِيتَةَ السَّوْءِ»

    ความว่า “มารยาทที่ดีงามนั้นจะเพิ่มพูนซึ่งความมงคล-ให้แก่เขา- ส่วนมารยาทที่ไม่ดีนั้นจะมีแต่สร้างความอัปมงคล-ให้แก่เขา- ส่วนความดีงามทั้งหลายนั้นจะเพิ่มพูนซึ่งอายุขัย-ให้แก่เขา- และการบริจาคทานนั้นจะช่วยปกป้องไม่ให้ตายในสภาพที่เลวร้าย” (บันทึกโดยอับดุรเราะซาก ในอัล-มุศ็อนนัฟ หมายเลขหะดีษ 20118 และอะหฺมัด หมายเลขหะดีษ 16079)

    ท่านอัมรฺ บิน เอาฟฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «إن صدقة المسلم تزيد فى العمر، وتمنع ميتة السوء، ويذهب الله بها الكبر والفخر»

    ความว่า “การบริจาคทานของผู้ศรัทธานั้นจะเป็นการเพิ่มพูนซึ่งอายุขัย-ให้แก่เขา- และจะช่วยปกป้องไม่ให้ตายในสภาพที่เลวร้าย และอัลลอฮฺจะทำให้ความยิ่งยโสและทะนงตนไม่มีอยู่ในตัวเขาอีกเลย” (บันทึกโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ หมายเลขหะดีษ 31 ท่านอัลฮัยษะมีย์กล่าวว่าในสายรายงานมีท่านกะษีร บิน อับดุลลอฮฺ อัล-มุซะนีย์ ซึ่งเป็นนักรายงานหะดีษที่เฎาะอีฟ 3/110)

    ท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «إن الصدقة لتطفيء غضب الرب، وتدفع ميتة السوء»

    ความว่า “การบริจาคทานนั้นจะช่วยดับความโกรธกริ้วของพระเจ้าและช่วยปกป้องไม่ให้เสียชีวิตในสภาพที่เลวร้าย” (เฎาะอีฟ อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ โดยชัยคฺอัล-อัลบานีย์ หมายเลขหะดีษ 513)

    ท่านมุอาซ บิน ญะบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «الصوم جُنَّةٌ، والصدقة تطفئ الخطيئة كما يطفئ الماء النار»

    ความว่า “การถือศีลอดคือเกราะป้องกัน(ความชั่วร้าย) ส่วนการบริจาคทานนั้นจะดับ(ลบล้าง)ความผิด ดั่งน้ำที่ได้ดับไฟ” (ชัยคฺอัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ ในหนังสือเศาะฮีหฺ วะ เฎาะอีฟ สุนันอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 2616)

    บรรดาหะดีษที่ทรงคุณค่าข้างต้นนั้น สร้างความชัดเจนแก่เราว่า การบริจาคทานนั้นจะทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความกริ้วโกรธของอัลลอฮฺ ซึ่งหากความกริ้วโกรธได้หายไปแล้วความเมตตาก็ถูกประทานลงมาแก่ปวงบ่าวของพระองค์ และหากว่าการบริจาคทานนั้นจะช่วยดับ(ลบล้าง)ความผิดที่มีอยู่ในบันทึกความชั่วของปวงบ่าวแล้วไซร้ สิ่งที่เหลืออยู่ ก็จะมีเพียงความดีงามที่เขาได้รับจากการเชื่อฟังและสักการะต่ออัลลอฮฺเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นความเมตตาของอัลลอฮฺก็จะถูกประทานแก่เขา และเนื่องด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของอัลลอฮฺนั้นเองที่จะเป็นสิ่งที่มาปกป้องมนุษย์จากการเจ็บป่วย บททดสอบ หรือทุกข์ภัยต่างๆ ดังนั้นการบริจาคก็คือประตูและสาเหตุของสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง...

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน ในวันที่เปี่ยมไปด้วยความจำเริญเหล่านั้น ผลบุญของการปฏิบัติอามัลต่างๆย่อมมีการเพิ่มพูนเป็นทวีคูณและมีความยิ่งใหญ่ยิ่งนัก ดังนั้นพี่น้องอย่าลืมนำความสุขเหล่านั้นเข้าสู่ครอบครัวที่ขาดแคลนทั้งหลายด้วยเถิด...จงไปยังบ้านของพวกเขาก่อนที่จะถึงวันอีด... แล้วมอบเงินแก่พวกเขา ให้อาหารแก่พวกเขา และให้เสื้อผ้าที่ดีๆแก่เพวกขา...

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน จงพยายามปฏิบัติในสิ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยให้คำสัญญาไว้ว่าสำหรับผู้ที่ถือศีลอด, ติดตามญะนาซะฮฺ(ศพพี่น้องผู้ศรัทธา), เยี่ยมเยียนคนป่วย, และบริจาคนั้น ประตูสวรรค์ทุกบานจะเปิดไว้สำหรับเขาอย่างแน่นอนด้วยเถิด

    สิบ : โครงการ “การขอดุอาอ์”

    อัลลอฮ สุบหานะฮุวะตะอาลา ทรงตรัสว่า

    ﴿وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ ۚ ﴾

    ความว่า “และพระเจ้าของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อข่า ข้าจะตอบรับแก่พวกเจ้า” (สูเราะฮฺฆอฟิรฺ : 60)

    ด้วยเหตุนี้...เราอย่าลืมขอดุอาอ์โดยเด็ดขาด

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า..การขอดุอาอ์นั้นคือการงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด-ที่เราสามารถจะปฏิบัติมันได้- เมื่อเป็นเช่นนั้น -โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน- จงพยายามรักษาการขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺด้วยการมอบตัวเองให้อยู่ภายใต้อาณัติของพระองค์เถิด -โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน- จงขอดุอาอ์ให้พระองค์ทรงขับเคลื่อนและช่วยเหลือพี่น้องในการใช้ชีวิตแต่ละวันด้วยเถิด และจงขอจากพระองค์ให้อภัยโทษในความผิดทั้งหลายที่พี่น้องได้ทำขึ้นมา และให้พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานต่างๆให้แก่พี่น้อง

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน พึงทราบเถิดว่า...ช่วงเวลาที่ประเสริฐที่สุดที่การดุอาอ์จะเป็นที่ตอบรับจากอัลลอฮฺ กล่าวคือเป็นช่วงเวลาที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้แนะนำไว้นั้นคือ ในขณะที่กำลังสุญูด, ช่วงระหว่างการอะซานและการอิกอมะฮฺ, ช่วงเวลาสุดท้ายของวันศุกร์(ก่อนอะซานมัฆริบ), ช่วงเวลาที่ฝนกำลังตก, ช่วงเวลาที่ทานสะหูรคือก่อนอะซานเข้าเวลาละหมาดศุบหฺประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นต้น ดังนั้นท่านจงมั่นขอดุอาอ์ในทุกเวลาให้มากๆเถิด โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ท่านนบีได้แนะนำไว้

    โอ้พี่น้องที่รักและมีเกียรติของฉัน... พี่น้องมีความคิดเห็นยังไงบ้างในโครงการที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายนั้น ? พี่น้องคิดว่าโครงการเพื่อการเก็บเกี่ยวความดีงามทั้งหลายนั้น สำหรับเราแล้วมันยังน้อยมากๆหรือพี่น้องคิดว่ามันเพียงพอแล้ว หรือพี่น้องต้องการมากกว่านี้ ???

    ดูเหมือนว่าพี่น้องมีความต้องการโครงการที่มากกว่านี้อีกใช่หรือไม่ ? ดังนั้น ฉันขออนุญาตนำเสนอต่อแล้วกันน่ะ....

    ต่อไปนี้คือโครงการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โครงการ “วันอะเราะฟะฮฺ” วันที่ 9 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ

    อันดับแรก โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน...พี่น้องได้ให้ความสนใจในสาระสำคัญของวันนี้หรือเปล่า ? ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «صِيَامُ يَوْمِ عَرَفَةَ أَحْتَسِبُ عَلَى اللهِ أَنْ يُكَفِّرَ السَّنَةَ الَّتِي قَبْلَهُ وَالسَّنَةَ الَّتِي بَعْدَهُ»

    ความว่า “การถือศีลอดในวันอาเราะฟะฮฺ ฉันคาดหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงลบล้างบาปของหนึ่งปีที่ผ่านมา และหนึ่งปีที่จะมาถึง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1162)

    เมื่อเป็นเช่นนั้น เชิญพี่น้องมาคำนวณกับฉันเถิด... : ในแต่ละวันเราใช้เวลาในการถือศีลอดประมาณ 12 ชั่วโมง แต่เรากลับได้รับการอภัยโทษถึง 24 เดือน

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน...เชิญพี่น้องมาคำนวณกับฉันอีกครั้ง 1 เถิด.... : ใน 1 วันมี 24 ชั่วโมง แสดงว่าในทุกๆ 1 ชั่วโมงที่เราถือศีลอดก็เท่ากับเราได้รับการอภัยโทษในความผิดที่เราทำ 1 เดือน หมายความว่า ทุกๆ 60 นาที ก็จะเท่ากับ 60 วัน แสดงว่า 1 นาทีที่เราได้ถือศีลอดก็จะเท่ากับ 1 วันที่เราจะได้รับการอภัยโทษ แล้วคนที่มีสติปัญญาจะเพิกเฉยต่อมันแม้เพียง 1 นาทีอีกกระนั้นหรือ ?

    แล้วพี่น้องจะทำอะไรบ้างล่ะ ?

    ฉันขอแนะนำว่า ให้พี่น้องไปมัสญิดก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบหฺประมาณครึ่งชั่วโมง และให้อ้อนวอนขอจากอัลลอฮฺให้พระองค์ทรงช่วยเหลือและคุ้มครองเราจากการทำความผิดในวันนั้น..

    ให้พี่น้องเริ่มด้วยการตั้งเจตนาที่จะถือศีลอด

    หลังกจากให้พี่น้องตั้งเจตนาที่จะอิอฺติกาฟในมัสญิดนั้น โดยไม่ออกไปจากมัสญิดอย่างเด็ดขาด-ยกเว้นมีความจำเป็นจริงๆ-จนกว่าจะถึงเวลาพลบค่ำเสียก่อน(จะออกก็ต่อเมื่อละศีลอดที่มัสญิดแล้ว-ผู้แปล-)

    แล้วให้ขยันในการขอดุอาอ์และซิกรุลลอฮฺ(ช่วงที่อยู่อิอฺติกาฟในมัสญิดนั้น)

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน จงอย่าลืมคำกล่าวของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า

    «إِنَّ لِلصَّائِمِ عِنْدَ فِطْرِهِ لَدَعْوَةً مَا تُرَدُّ»

    ความว่า “แน่นอนที่สุดสำหรับผู้ถือศีลอดนั้น ( คือเป็นโอกาสดีที่สุด) การขอดุอาอ์ของเขาขณะละศีลอดนั้นจะไม่ถูกปฏิเสธจากอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ หมายเลขหะดีษ 1753 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟ)

    ดังนั้นจงขอดุอาอ์ให้พ่อแม่ของเรา พี่น้องในครอบครัวของเรา และพี่น้องผู้ศรัทธาที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก ให้พวกเขาได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺและได้รับสิ่งที่ดีงามและการปรับปรุงแก้ไข

    -โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน- จงอย่าลืมขอดุอาอ์แก่พี่น้องมุญาฮิดีนที่กำลังต่อสู้อยู่ในขณะนี้ให้พระองค์ทรงประทานชัยชนะและความเข้มแข็งแก่พวกเขา และจงขอดุอาอ์ให้แก่คนที่ถูกรังแกและผู้ที่อ่อนแอทั้งหลายให้พวกเขาได้รับการคลี่คลายในสิ่งที่พวกเขากำลังประสบอยู่ ส่วนพี่น้องผู้ศรัทธาของเราที่ได้ล่วงลับไปแล้วก็ให้ขอดุอาอ์ให้พวกเขาได้รับการอภัยโทษและได้เข้าสวนสวรรค์ของอัลลอฮฺกันทุกคน

    และที่สำคัญที่สุด อย่าลืมขอดุอาอ์ให้กับตัวเองด้วยคำดุอาอ์ที่ดีที่สุด เช่น

    اللهم اغْفِرْ لِيْ مَا قَدَّمْتُ وَماَ أَخَّرْتُ ، اللهم آتِناَ فِي الدُّنْياَ حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِناَ عَذَابَ النَّار ، اللهم أّسْأَلُكَ الْعَفْوَ وَالعاَفِيَةِ فِي الدُّنْياَ وَالآخِرَةِ

    ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงอภัยแก่ข้าพระองค์ในสิ่งที่แล้วมาในอดีตและในอนาคต โอ้พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานแก่เราในโลกนี้ซึ่งความดีงาม(หมายถึงความดีงามทั้งหลายทั้งปวง) และขอทรงประทานแก่เราในโลกอาคิเราะฮฺซึ่งความดีงาม(หมายถึงการได้รับผลตอบแทนที่ดี) และขอทรงปกป้องเราให้พ้นจากไฟนรก โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า ฉันขอการอภัยโทษและความปลอดภัยจากพระองค์ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”

    นอกจากนี้ -โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน- จงอย่าลืมขอดุอาอ์ให้พี่น้องที่อยู่ในฆ็อซซะฮฺ(ปาเลสไตน์) โดยหวังว่าการดุอาอ์ของพี่น้องที่มีต่อพวกเขานั้นอัลลอฮฺจะทรงปลดเปลื้องและทำลายกำแพงที่ล้อมรอบพวกเขาอยู่ในขณะนี้

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน พึงรำลึกเถิด หากพวกเขาได้รับการห่วงใย-ด้วยการมั่นขอดุอาอ์-จากเรา จากท่าน จากพี่น้องของเรา พ่อแม่ของเรา พี่ป้าน้าอาของเรา พวกเขาก็ย่อมจะได้รับการคุ้มครองจากความชั่วร้ายของบรรดาลูกหลานของลิงและหมู(พวกยิว)อย่างแน่นอน ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ...ฉันขอให้พี่น้องขอดุอาอ์ให้แก่พวกเขาด้วยหัวใจที่เด็ดเดี่ยวและด้วยจิตใจที่เชื่อมโยง-กับพวกเขา- และแน่แท้การดุอาอ์คืออาวุธของเรา...

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน จงขอดุอาอ์ด้วยความมั่นใจว่าในสิ่งที่พี่น้องได้ขอไปนั้นจะถูกตอบรับ อย่างแน่นอนเถิด..

    พึงทราบเถิดว่า เมื่อพี่น้องต้องยืน(เพื่อรอการพิพากษา)ในวันกิยามะฮฺ พี่น้องจะต้องถูกสอบสวนจากอัลลอฮฺอย่างแน่นอน ว่าท่านได้ช่วยเหลือพวกเขาอย่างไรบ้าง ?

    ดังนั้นจงขอดุอาอ์ ขอดุอาอ์ ขอดุอาอ์เถิด... และให้ขอในสภาพการณ์ที่อัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะตอบรับการอ้อนวอนขอของเรา... และอย่าลืมเราในดุอาอ์ของท่านด้วย โอ้พี่น้องที่มีเกียรติทั้งหลายของฉัน...

    โครงการ “วันอีด”

    พึงทราบเถิด.. “วันอีด” คือวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบ 1 ปีของเรา เพราะท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า

    «إِنَّ أَعْظَمَ الْأَيَّامِ عِنْدَ اللهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى يَوْمُ النَّحْرِ، ثُمَّ يَوْمُ الْقَرِّ»

    ความว่า “บรรดาวันต่างๆที่ประเสริฐที่สุด ณ อัลลอฮฺ คือวันนะหัรฺ(วันอีดิลอัฎฮา หรือวันเชือดสัตว์กุรบ่าน) หลังจากนั้นคือวันก็อรฺ (วันที่พักอยู่กับที่ หมายถึงวันที่บรรดาหุจญาจญ์พักอยู่ที่ทุ่งมีนาในวันที่ 11-13 หลังจากวันนะหัรฺ) (บันทึกโดยอะหมัด 4:1350 และอบูดาวูด หมายเลขหะดีษ 1765)

    ดังนั้นแนวทางที่พี่น้องสามารถใช้ในวันนั้นคือ :

    - เริ่มต้นด้วยการละหมาดอีด โดยสร้างบรรยากาศให้เต็มไปด้วยความสุขเมื่อพบปะกับพี่น้องผู้ศรัทธา

    - เชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ : ไปเยี่ยมพ่อแม่, ญาติพี่น้อง, และมิตรสหาย

    - ให้เชือดสัตว์อุฎหิยะฮฺ(อูฐหรือไม่ก็วัว)... แต่หากฐานะของท่านไม่สามารถที่จะซื้อมันได้ ก็ให้ท่านร่วมกับเพื่อนๆของท่านเชือดแพะหรือแกะแทน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพฐานะของท่านเอง

    สุดท้ายนี้...

    ในโอกาสทองนี้...ท่านอย่าลืมสร้างบ้านในสวนสวรรค์ด้วยการละหมาดสุนัต 12 เราะกะอะฮฺในทุกๆวันเป็นอันขาด เพราะท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า

    «مَا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِمٍ يُصَلِّي لِلهِ كُلَّ يَوْمٍ ثِنْتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعًا غَيْرَ فَرِيضَةٍ إِلَّا بَنَى اللهُ لَهُ بَيْتًا فِي الْجَنَّةِ»

    ความว่า “ไม่มีบ่าวมุสลิมคนไหนที่ได้ละหมาดสุนัตวันละ 12 ร็อกอะฮฺ นอกจากอัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้เขาหลังหนึ่งในสวนสวรรค์” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 728)

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน แสดงว่าเพียงแค่เรา-ละหมาดสุนัต 12 เราะกะอะฮฺ ให้ครบทั้ง 10 วัน เราก็จะมีบ้านในสวรรค์ถึง 10 หลังแล้ว -อินชาอัลลอฮฺ-

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งของฉัน จงอ่านสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ (قل هو الله أحد) วันละ 10 ครั้งเถิด อัลลอฮฺก็จะทรงสร้างพระราชวัง 1 หลังในสวนสวรรค์ให้แก่ท่าน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ قَرَأَ ( قُلْ هُوَ اللهُ أَحَدٌ ) حَتَّى يَخْتِمْهَا عَشَرَ مَرَّاتٍ بَنَى اللهُ لَهُ قَصْراً فِي الْجَنَّة ، فَقَالَ عُمَر رَضِيَ اللهُ عَنْهُ : إِذَنْ نَسْتَكْثِرُ قُصُوْراً يَا رَسُوْلَ الله . فَقَالَ رَسُوْلُ الله: اللهُ أَكْثَرُ وَأَطْيَب»

    ความว่า “ผู้ใดอ่าน กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด จนจบ 10 ครั้ง อัลลอฮฺจะทรงสร้างวังให้แก่เขาในสวนสวรรค์ ท่านอุมัร อิบน อัลค็อฏฏ็อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า โอ้เราะสูลุลลอฮฺ หากว่ามันง่ายขนาดนี้ เราก็ยิ่งสร้างวังในสวรรค์กันใหญ่สิ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ณ ที่อัลลอฮฺนั้นทรงมีมากกว่าและดีกว่า” (อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 1/589)

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งและมีเกียรติของฉัน...

    จงทำให้ทั้ง 10 วันของเดือนซุลหิจญะฮฺเต็มไปด้วยบรรยากาศของการเชื่อฟังและการปฏิบัติศาสนกิจเถิด... และขอให้มีความมุ่งมั่นและบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย... ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า

    ﴿إِنَّا لَا نُضِيعُ أَجْرَ مَنْ أَحْسَنَ عَمَلًا﴾

    ความว่า “เราจะไม่ให้การตอบแทนของผู้กระทำความดีสูญหายอย่างแน่นอน” (สูเราะฮฺอัล-กะฮฺฟี : 30)

    โอ้พี่น้องที่รักยิ่งและมีเกียรติของฉัน ... จงทำให้ทุกๆนาทีของพี่น้องนั้นเป็นไปด้วยกับการซิกรุลลอฮฺ และการขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ และจงทำให้ตัวของพี่น้องมีความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺด้วยกับการอ่านอัลกุรฺอานเถิด...

    และสมควรที่พี่น้องต้องทำความเข้าใจต่อพ่อแม่ของพี่น้อง พี่ชายน้องชายของพี่น้อง มิตรสหายของพี่น้อง เครือญาติของพี่น้อง และครอบครัวของพี่น้อง ให้รู้ถึงความประเสริฐของวันที่มีความจำเริญเหล่านั้น เพราะการให้ตักเตือนนั้นจะนำมาซึ่งคุณประโยชน์แก่บรรดาผู้ศรัทธาอย่างแน่นอน และพี่น้องอย่าลดละในความพยายามที่จะทำสิ่งดังกล่าวอย่างเด็ดขาด

    ไม่มีปัญหาใดๆเลย หากพี่น้องจะใช้บทความนี้เป็นตัวช่วยพี่น้อง-ในการสร้างความเข้าใจแก่พวกเขา- พี่น้องอาจจะนำไปปริ้นหรือถ่ายเอกสารเพื่อเผยแพร่ให้แก่พวกเขาก็ได้ ทั้งนี้ ก็หวังว่าการงานที่ยิ่งใหญ่นี้จะปรากฏบนตาชั่งแห่งความดีงามของพี่น้อง ณ วันที่ตาชั่งของพี่น้องนั้นหนักไปทางความดีงามทั้งหลาย และทำให้การเรียกร้องเชิญชวนของพี่น้องนั้นเป็นไปตามแบบฉบับที่มีอยู่ในคำกล่าวของท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า

    «بَلِّغُوا عَنِّي وَلَوْ آيَةً»

    ความว่า “ท่านทั้งหลายจงเผยแผ่จากฉัน แม้เพียงหนึ่งอายะฮฺ(คำพูด) บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 3461)

    และการที่พี่น้องได้เผยแผ่สิ่งที่ดีงามในหนทางของอัลลอฮฺนั้น... การชี้นำสิ่งที่ดีงามก็ประหนึ่งได้ทำสิ่งนั้นเช่นเดียวกัน และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ให้ผลบุญของผู้กระทำความดีสูญหายไปอย่างแน่นอน และพระองค์คือผู้ที่ดียิ่งในการประทานปัจจัยยังชีพ.. และพระองค์คือผู้ที่มีความเมตตายิ่งในหมู่ผู้ที่มีความเมตตาทั้งหลาย เนื่องด้วยพระหัตถ์ของพระองค์นั้นมีบรรดาคลังที่ความกว้างของมันคือ บรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินทั้งหลาย

    สุดท้ายนี้...คงไม่มีคำกล่าวใดที่จะทิ้งท้ายบทความที่ฉันได้เขียนขึ้นนี้ ที่จะดียิ่งกว่าคำตรัสของอัลลอฮฺที่พระองค์ตรัสว่า

    ﴿مَنْ عَمِلَ صَالِحًا مِّن ذَكَرٍ أَوْ أُنثَىٰ وَهُوَ مُؤْمِنٌ فَلَنُحْيِيَنَّهُ حَيَاةً طَيِّبَةً ۖ وَلَنَجْزِيَنَّهُمْ أَجْرَهُم بِأَحْسَنِ مَا كَانُوا يَعْمَلُونَ﴾

    ความว่า “ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดีและแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้” (สูเราะฮฺ อัน-นะหฺลิ : 97)

    ﴿وَمَا تَوْفِيقِي إِلَّا بِاللَّـهِ ۚ عَلَيْهِ تَوَكَّلْتُ وَإِلَيْهِ أُنِيبُ﴾

    ความว่า “และความสำเร็จของฉันจะไม่เกิดขึ้น เว้นแต่ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ แด่พระองค์ฉันขอมอบหมายและยังพระองค์เท่านั้นฉันกลับไปหา” (สูเราะฮฺฮูด : 88)

    วัลหัมดุลิลลาฮิร็อบบิลอาละมีน และมวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

    ที่มา http://www.saaid.net/mktarat/hajj/179.htm