ซะกาต เครื่องมือพัฒนาสังคมมุสลิม
หมวดหมู่
Full Description
ซะกาต เครื่องมือพัฒนาสังคมมุสลิมอย่างยั่งยืน
﴿دور الزكاة في تنمية المجتمع﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
2010 - 1431
﴿دور الزكاة في تنمية المجتمع﴾
« باللغة التايلاندية »
صافي عثمان
مراجعة: فيصل عبدالهادي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ซะกาต เครื่องมือพัฒนาสังคมมุสลิมอย่างยั่งยืน
อิสลาม ศาสนาที่ครอบคลุมทุกแง่มุมของชีวิต
อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ได้มีพระดำรัสในอัลกุรอานว่า
ﮋ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅﮊ المائدة: ٣
ความว่า "วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้โปรดปรานอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว" (อัล-มาอิดะฮฺ : 3)
ความสมบูรณ์ของอิสลามตามนัยของโองการดังกล่าวนั้น คือ การที่อิสลามมีบทบัญญัติและหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงตนได้อย่างถูกต้องในทุกแง่มุม ทุกกิจการ ทุกความเคลื่อนไหว และทุกด้านที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตในโลกนี้
ในคำสอนของอิสลาม เราจะพบว่ามีรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับหลักพื้นฐานอันเป็นปัจจัยในการดำรงอยู่ของมนุษย์ไว้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมทุกอิริยาบทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อาทิ[1] ด้านความเชื่อและอิบาดะฮฺซึ่งเป็นภาคความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า ด้านมารยาท ศีลธรรมและจริยธรรม ด้านการเมืองการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสถาบันครอบครัว ด้านงานสาธารณกุศล ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านบทบาทสตรี ด้านภารกิจของเยาวชน และอื่นๆ
หากจะพิจารณาคร่าวๆ จากหลักการอิสลามทั้งห้าประการ ก็จะพบว่าอิสลามไม่ได้เน้นหรือให้ความสำคัญเฉพาะแค่ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อิสลามได้มุ่งหมายเพื่อสร้างความสมดุลให้กับมนุษย์ในด้านอื่นๆ ด้วย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงหลักการอิสลามทั้งห้านี้ไว้ว่า
«بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ، شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللهِ، وَإِقَامِ الصَّلَاةِ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ، وَالْحَجِّ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ»
ความว่า “ศาสนาอิสลามนั้นถูกสถาปนาบนหลักห้าประการ นั่นคือ การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและมุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต การทำหัจญ์ และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษที่ 8, และมุสลิม หมายเลข 122)
โดยสรุปแล้ว หลักการอิสลามทั้งห้าประการนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ในแต่ละด้านของศาสนาอิสลาม ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยและแตกแขนงเป็นบทบัญญัติในรูปแบบต่างๆ ออกไปอีกมากมาย กล่าวคือ
- หลักการอิสลามข้อที่หนึ่ง การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและมุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ คือสัญลักษณ์ในด้านความเชื่อและการศรัทธา ซึ่งหมายรวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ด้วยเช่น การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ต่อคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ต่อมะลาอิกะฮฺ ต่อศาสนทูตทั้งหลาย ต่อวันกิยามะฮฺ และต่อกฎสภาวการณ์(เกาะฎออ์ เกาะดัรฺ)ของอัลลอฮฺ เป็นต้น
- หลักการอิสลามข้อที่สอง การละหมาด เป็นสัญลักษณ์ในด้านอิบาดะฮฺ เป็นภาคปฏิบัติในบริบทหน้าที่ของมนุษย์ต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจะรวมถึงอิบาดะฮฺต่างๆ นอกเหนือไปจากการละหมาดด้วย เช่น การอ่านอัลกุรอาน การขอดุอาอ์ การซิกิรฺ และอื่นๆ
- หลักการอิสลามข้อที่สาม การจ่ายซะกาต เป็นสัญลักษณ์ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีนัยรวมถึงระบบการจัดการทรัพย์สินในรูปแบบอื่นๆ ด้วย อาทิ การค้าขาย การกสิกรรม การจัดการมรดก การบริจาค การวะกัฟ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- หลักการอิสลามข้อที่สี่ การทำหัจญ์ คือสัญลักษณ์ในแง่ของระบบประชาคมแห่งอิสลาม(อุมมะฮฺ อิสลามียะฮฺ) เป็นการใช้ชีวิตในรูปหมู่คณะและการร่วมสังคมเดียวกัน และจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการในด้านการเมืองการปกครองเป็นกลไกและเครื่องมือ ซึ่งในคำสอนอิสลามก็มีบทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการต่างๆ เหล่านั้นไว้เพียบพร้อม เช่น กฎหมายอาญา การกำหนดบทลงโทษ การพิพากษา การบริหารชุมชน ฯลฯ
- หลักการอิสลามข้อที่ห้า การถือศีลอด คือสัญลักษณ์ในด้านการขัดเกลาจิตวิญญาณ การมุ่งเน้นสร้างจริยธรรมและทำนุบำรุงศีลธรรมของมนุษย์ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคมให้มีความเสถียรและมั่นคงอยู่เสมอ
ซะกาต เสาหลักต้นที่สามของศาสนาอิสลาม
จากข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ซะกาตคือหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญของศาสนาอิสลาม เป็นรุก่นหนึ่งในจำนวนรุก่นอิสลามทั้งห้าประการ สถานะของซะกาตจึงไม่ได้น้อยไปกว่าสถานะของรุก่นข้ออื่นๆ เลย ประหนึ่งว่า หากไม่มีการจ่ายซะกาตรวมอยู่ในหลักการทั้งห้าประการนี้ อิสลามก็ไม่ใช่ศาสนาที่สมบูรณ์อีกต่อไป ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เคาะลีฟะฮฺคนแรกของอิสลามจึงได้ยืนกรานที่จะทำสงครามต่อสู้กับบรรดาผู้ที่ปฏิเสธการจ่ายซะกาต หลังจากการเสียชีวิตของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม[2]
นอกเหนือไปจากการกำหนดให้ซะกาตเป็นหนึ่งในหลักการอิสลามทั้งห้าประการ อิสลามยังได้สร้างกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจ่ายซะกาตอย่างครบถ้วน ด้วยการกำหนดผลบุญ ความประเสริฐ และคุณค่าอันยิ่งใหญ่ ให้กับบรรดาผู้ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายซะกาตได้อย่างเต็มความสามารถ ในเรื่องนี้ปรากฏหลักฐานจากพระดำรัสของอัลลอฮฺในอัลกุรอานหลายแห่งด้วยกัน เช่น
อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลาได้ตรัสว่า
ﭽ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﭼ
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธา และประกอบสิ่งที่ดีทั้งหลาย และดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาตนั้น พวกเขาจะได้รับรางวัลของพวกเขา ณ พระเจ้าของพวกเขา และไม่มีความกลัวอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นแก่พวกเขา และทั้งพวกเขาก็ไม่เสียใจ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 277)
ﭽ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﭼ
ความว่า “และสิ่งที่พวกเขาจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน (ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมนุษย์ มันจะไม่เพิ่มพูน ณ อัลลอฮฺ และสิ่งที่พวกเขาจ่ายไปจากซะกาต โดยพวกเขาปรารถนาพระพักตร์ของอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นแหละ พวกเขาคือผู้ได้รับการตอบแทนอย่างทวีคูณ” (อัรฺ-รูม : 39)
ﭽ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﭼ
ความว่า “(มุหัมหมัด) เจ้าจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเขาเป็นทาน เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และล้างมลทินของพวกเขาด้วยสิ่งที่เป็นทานนั้น และเจ้าจงขอพรให้แก่พวกเขาเถิด เพราะแท้จริงการขอพรของเจ้านั้น ทำให้เกิดความสุขแก่พวกเขา และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อัต-เตาบะฮฺ : 103)
และในหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็มีหลักฐานในลักษณะเดียวกันนี้มากมาย ที่ระบุถึงความประเสริฐและคุณค่าต่างๆ ของการใช้จ่ายทรัพย์สินตามที่อัลลอฮฺใช้ ซึ่งมันรวมทั้งที่เป็นภาคบังคับเช่นการจ่ายซะกาต และที่เป็นการบริจาคด้วยความสมัครใจ เช่น การเศาะดะเกาะฮฺ ฮะดียะฮฺ วะกัฟ และอื่นๆ[3]
นอกจากจะมีหลักฐานสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจ่ายซะกาตอย่างครบถ้วนแล้ว ยังมีหลักฐานที่มาในรูปของการเตือนสำทับ สำหรับบุคคลที่ไม่ยอมจ่ายซะกาตและละเลยต่อหน้าที่ในการใช้จ่ายทรัพย์สินตามเป้าประสงค์ของอัลลอฮฺและบทบัญญัติอิสลาม[4] ในอัลกุรอานมีระบุว่า
( ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢﯕ ) [التوبة/34- 35].
ความว่า “บรรดาผู้ที่สะสมทองและเงิน และไม่จ่ายมันในทางของอัลลอฮฺนั้น จงแจ้งข่าวแก่พวกเขาเถิดด้วยการลงโทษอันเจ็บปวด วันที่มันจะถูกเผาด้วยไฟนรกแห่งญะฮันนัมแล้วหน้าผากของพวกเขา และสีข้างของพวกเขาและหลังของพวกเขาจะถูกนาบด้วยมัน นี่แหละคือสิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้ เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นจงลิ้มรสสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้เถิด” (อัต-เตาบะฮฺ 34-35)
และมีรายงานโดยอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า “ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ آتَاهُ الله مَالاً فَلَـمْ يُؤَدِّ زَكَاتَـهُ مُثِّلَ لَـهُ يَومَ القِيَامَةِ شُجَاعاً أَقْرَعَ لَـهُ زَبِيبَتَان، يُطَوِّقُهُ يَومَ القِيَامَةِ، ثُمَّ يَأْخُذُ بِلِـهْزِمَتَيْـهِ -يَـعْنِي بِشِدْقَيْـهِ-، ثُمَّ يَـقُولُ: أَنَا مَالُكَ، أَنَا كَنْزُكَ»، ثُمَّ تَلا (ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ...) الآية. أخرجه البخاري.
ความว่า "ใครที่อัลลอฮฺได้ประทานทรัพย์สินแก่เขาแล้วเขาไม่ทำการจ่ายซะกาตของมัน มันจะถูกจำแลงแก่เขาในวันกิยามะฮฺให้เป็นงูหัวล้าน มีสองเขี้ยว มันจะรัดเขาในวันกิยามะฮฺแล้วรัดที่ขากรรไกรของเขาทั้งสองข้างแล้วมันจะกล่าวว่า ข้าคือทรัพย์ของเจ้า ข้าคือสิ่งที่เจ้าสะสมไว้" แล้วท่านก็อ่านอายะฮฺนี้
(ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ...) (آل عمران : 180)
จนจบอายะฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1403)
อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَا مِنْ صَاحِبِ كَنْزٍ لا يُؤَدِّي زَكَاتَـهُ إلا أُحْـمِيَ عَلَيْـهِ فِي نَارِ جَهَنَّمَ، فَيُـجْعَلُ صَفَائِحَ، فَيُكْوَى بِـهَا جَنْبَاهُ وَجَبِينُـهُ، حَتَّى يَـحْكُمَ الله بَيْنَ عِبَادِهِ، فِي يَوْمٍ كَانَ مِقْدَارُهُ خَـمْسِينَ ألْفَ سَنَةٍ». أخرجه مسلم
ความว่า “ไม่มีผู้ใดที่เป็นผู้สะสมทรัพย์แล้วไม่จ่ายซะกาตของมันยกเว้นมันจะถูกเผาในไฟนรก แล้วมันถูกทำให้แบนแล้วถูกนำมารีดกับสีข้างของเขาและหน้าผากของเขา จนกว่าอัลลอฮฺจะตัดสินระหว่างบ่าวของพระองค์ ในวันที่หนึ่งวันของมันมีความยาวเท่ากับห้าหมื่นปี” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 987)
รายงานจากท่านอบู ซัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، أوْ: وَالَّذِي لَا إلَـهَ غَيْرُهُ -أوْ كَمَا حَلَفَ- مَا مِنْ رَجُلٍ تَـكُونُ لَـهُ إبِلٌ، أوْ بَقَرٌ، أوْ غَنَمٌ، لا يُؤَدِّي حَقَّهَا، إلا أُتِيَ بِـهَا يَوْمَ القِيَامَةِ أعْظَمَ مَا تَـكُونُ وَأسْمَنَـهُ، تَطَؤُهُ بِأخْفَافِهَا، وَتَنْطَحُهُ بِقُرُونِـهَا، كُلَّـمَا جَازَتْ أُخْرَاهَا رُدَّتْ عَلَيْـهِ أُولاهَا، حَتَّى يُـقْضَى بَيْنَ النَّاسِ». متفق عليه
ความว่า “ขอสาบานด้วย(อัลลอฮฺ)ผู้ที่ชีวิตฉันอยู่ในมือพระองค์ หรือ ขอสาบานด้วยผู้ที่ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ (หรือคำสาบานอื่นตามที่ท่านได้สาบานไว้) ว่า ไม่มีผู้ใดที่มีอูฐ วัวหรือแพะแล้วเขาไม่จ่ายสิทธิ์ของมัน นอกจากมันจะถูกนำมาในวันกิยามะฮฺในลักษณะที่ใหญ่มากและอ้วนมากแล้วมันจะเยียบเขาด้วยเท้า และขวิดด้วยเขาของมัน ทุกครั้งที่ตัวสุดท้ายผ่านไปตัวแรกก็จะหวนกลับคืนมา จนกว่าจะมีการตัดสินระหว่างมนุษย์” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1460 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 987)
ทำไมต้องจ่ายซะกาต?
ซะกาตนั้นถือเป็นภาระหน้าที่สำหรับผู้มีทรัพย์สินครบตามเงื่อนไข ซึ่งจำเป็นต้องจ่ายให้กับผู้ที่มีสิทธิและมีคุณสมบัติจะได้รับมัน อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสในอัลกุรอานว่า
ﮋ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮊ المعارج: ٢٤ - ٢٥
ความว่า “และบรรดาผู้ที่ในทรัพย์สินของพวกเขามีส่วนที่ถูกกำหนดไว้ สำหรับผู้ที่เอ่ยขอและผู้ที่ไม่เอ่ยขอ” (อัล-มะอาริจญ์ 24-25)
อายะฮฺนี้ให้ความหมายว่า ทรัพย์สินต่างๆ ที่เราครอบครองนั้นมีส่วนที่เราต้องกำหนดไว้เพื่อจ่ายให้เป็นสิทธิของผู้คนที่มีความจำเป็น และอุละมาอ์หลายท่านก็ได้อธิบายว่า ส่วนที่กำหนดไว้นี้ก็คือซะกาตนั่นเอง[5] ซึ่งตรงกับที่ท่านอบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้ปรารภไว้เมื่อครั้งที่ประกาศทำสงครามกับผู้ที่ปฏิเสธซะกาตว่า
«وَاللهِ، لَأُقَاتِلَنَّ مَنْ فَرَّقَ بَيْنَ الصَّلَاةِ وَالزَّكَاةِ، فَإِنَّ الزَّكَاةَ حَقُّ الْمَالِ»
ความว่า “ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ แท้จริง ฉันจะทำสงครามต่อสู้กับผู้ที่แบ่งแยกระหว่างการละหมาดและการจ่ายซะกาต เพราะแท้จริงแล้ว ซะกาตนั้นก็คือสิทธิ(อันพึงจ่าย)ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6924 และมุสลิม 133)
การที่ผู้ครอบครองทรัพย์สินครบตามเงื่อนไขแต่ปฏิเสธหรือละเลยที่จะจ่ายซะกาต ก็ย่อมหมายความว่าเขาได้ปฏิเสธหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่ถูกกำหนดไว้ชัดเจนในบทบัญญัติอิสลาม ซึ่งจะนำไปสู่มูลเหตุที่ทำให้เขาต้องได้รับโทษจากอัลลอฮฺ
ระหว่างซะกาตกับภาษี
อันที่จริงแล้ว ถ้าหากเราจะเปรียบเทียบซะกาตกับภาษีในระบอบเศรษฐกิจสมัยใหม่ เราก็จะพบว่าส่วนที่เราจ่ายเป็นซะกาตนั้นมีจำนวนเล็กน้อยมากถ้าจะเทียบกับเงินภาษีที่เราต้องจ่ายอยู่ทุกวี่วัน
ซะกาตนั้นจะจัดเก็บเฉพาะกับผู้ที่มีทรัพย์สินหรือรายได้ตามพิกัดที่กำหนดเท่านั้น ในขณะที่ระบอบเศรษฐกิจสมัยใหม่จะโยนภาระการเสียภาษีบางอย่างเช่นภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นภาระของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะบวกรวมอยู่ในราคาสินค้าที่เราจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยที่ผู้บริโภคอย่างประชาชนทั่วไปอาจจะไม่เคยคิดถึงด้วยซ้ำ
การเสียภาษีแต่ละครั้งก็ใช่ว่าจะเล็กน้อย เพราะอย่างภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะอยู่ที่ 7% ในขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่ำสุดก็อยู่ที่ 10%[6] และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการจ่ายซะกาตแล้วก็จะพบว่าเราต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่ามาก เพราะเกณฑ์ของการจ่ายซะกาตนั้นจะอยู่ที่ 2.5% เท่านั้น
ความจำเป็นและบทบาทของซะกาตในการพัฒนาสังคมมุสลิม
ถ้าหากการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยด้านทุนทรัพย์เป็นหลัก และทุกประเทศในโลกนี้ก็มีการจัดการเก็บภาษีเพื่อนำมาใช้เป็นงบประมาณในการพัฒนา ในทำนองเดียวกันนี่เองที่อิสลามได้กำหนดให้มีการจ่ายซะกาต เพื่อใช้เป็นปัจจัยหลักในการระดมทุนทรัพย์ซึ่งจะนำมาใช้ในการบริหารจัดการและพัฒนาสังคมมุสลิมต่อไป
เมื่อพิจารณาถึงแหล่งรายจ่ายของซะกาตก็จะได้เห็นถึงบทบาทสำคัญของมันในการพัฒนาสังคมมุสลิมอย่างชัดเจน ซึ่งในเรื่องนี้อัลลอฮฺได้มีบัญญัติไว้ในอัลกุรอานว่า
ﮋ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰﮱ ﯓ ﯔ ﯕﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﮊ التوبة: ٦٠
ความว่า “แท้จริง การทำทาน(ซะกาต)ทั้งหลายนั้น ให้จ่ายสำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนมโอนอ่อนต่ออิสลาม(มุอัลลัฟ) และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่หมดตัวในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัต-เตาบะฮฺ 60)
จากอายะฮฺนี้ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า จำพวกบุคคลที่มีสิทธิได้รับซะกาตนั้นมีทั้งหมดแปดประเภทดังนี้[7]
1- ฟุเกาะรออ์ (ผู้ที่ยากจน) คือผู้ไม่มีทรัพย์ใดๆ เลย หรือมีเล็กน้อยไม่พอใช้จ่าย(ไม่ถึงครึ่งของรายจ่าย)
2- มะสากีน (ผู้ขัดสน) คือผู้ที่มีรายได้เกือบพอรายจ่าย หรือ ครึ่งหนึ่งของรายจ่าย
3- อามิลูน อะลัยฮา (เจ้าหน้าที่ที่รวบรวมมัน) พวกเขาคือผู้จัดเก็บ ผู้ดูแล ผู้แบ่งสรร คนเหล่านี้หากมีเงินเดือนอยู่แล้วก็ไม่สามารถรับซะกาตได้อีก
4- บรรดาผู้ที่หัวใจของเขายังใหม่ต่ออิสลามคือ มุสลิมหรือกาฟิร หัวหน้าเผ่า ผู้ที่หวังว่าเขาจะเข้ารับอิสลาม หรือ(ผู้ที่เราหวัง)เพื่อให้พ้นจากความชั่วของเขา หรือหวังว่าการให้จะเพิ่มอีมานของเขา หรือหวังการรับอิสลามของคนที่เหมือนกับเขา คนต่างๆ เหล่านี้จะให้ซะกาตจำนวนที่ทำให้บรรลุเป้าหมายได้
5- ในการไถ่ทาสคือบรรดาทาสทั่วไปหรือทาสมุกาตับที่ทำสัญญาต้องการ(ซื้อ)ไถ่ตัวเองจากเจ้านายเพื่อให้พ้นจากการเป็นทาส และเขามีความต้องการซะกาต และที่เข้าข่ายนี้ด้วยก็คือการไถ่ตัวเชลยศึกที่เป็นมุสลิม
6- ผู้ที่หนี้สินล้นตัวคือผู้ที่ติดหนี้ซึ่งมีสองประเภท
6.1- ผู้ที่ติดหนี้เพื่อสมานไกล่เกลี่ยระหว่างผู้ที่ขัดแย้งกัน จะให้ซะกาตตามจำนวนที่เขาติดหนี้แม้เขาจะร่ำรวยก็ตาม
6.2- ผู้ที่ติดหนี้เพื่อตัวเองโดยที่เขาติดหนี้และไม่มีทรัพย์ที่จะชดใช้หนี้
7- ในหนทางของอัลลอฮฺ คือผู้ที่สู้รบในหนทางอัลลอฮฺเพื่อเชิดชูศาสนาของพระองค์ และผู้ที่รวมอยู่ในกรณีเช่นเดียวกับพวกเขา เช่นคนที่เป็นนักดาอีย์ผู้ที่เชิญชวนสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ คนเหล่านี้สามารถรับซะกาตได้หากไม่มีเงินเดือนประจำ หรือมีเงินเดือนแต่ไม่พอใช้
8- ผู้เดินทาง คือผู้ที่กำลังเดินทางแล้วหมดเสบียงระหว่างเดินทางไม่มีทรัพย์ที่จะใช้เดินทางกลับบ้านเมืองได้ คนประเภทนี้จะให้ซะกาตจำนวนที่จะเขาจำเป็นต้องใช้ในการเดินทาง แม้เขาจะเป็นคนที่ร่ำรวย(ณ ภูมิลำเนาของเขา)ก็ตาม
และหากนำมาจัดหมวดใหม่ก็อาจจะได้ข้อสรุปถึงบทบาทของซะกาตในการพัฒนาสังคมจากแต่ละด้านตามตารางข้างล่างนี้
จำพวกบุคคลที่มีสิทธิในซะกาต | ผลของการพัฒนาที่ได้จากซะกาต |
1) ฟากิรฺ 2) มิสกีน 3) ผู้ติดหนี้ 4) ทาส | ขจัดมูลเหตุหลักของความล้าหลังและช่องว่างอันเป็นตัวปัญหาที่ทำให้สังคมไม่พัฒนา (ความยากจน หนี้สิน การเป็นทาส) |
5) มุอัลลัฟ 6) การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ | เพิ่มจำนวนและขยายฐานความมั่นคงของประชาชาติ ปกป้องอธิปไตยและเสรีภาพในการนับถืออิสลาม |
7) เจ้าหน้าที่เก็บซะกาต | รักษาระบบและกลไกการพัฒนาให้มีเสถียรภาพถาวร |
8) ผู้เดินทางที่หมดตัว | งบประมาณฉุกเฉินสำหรับเหตุจำเป็น |
ถ้าดูจากสัดส่วนตามหมวดหมู่ข้างต้นก็จะเห็นว่า ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขจัดปัญหาความยากจนอันเป็นปัญหาหลักในเรื่องของการพัฒนาจะมีมากกว่าด้านอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งหมวดนี้มีผู้ที่รับซะกาตทั้งหมดสี่จำพวก คือ ฟากิรฺ, มิสกีน, ทาส และผู้ที่ติดหนี้ รองลงมาก็คือส่วนที่เป็นด้านการปกป้องอธิปไตยและการขยายฐานความมั่นคงของอิสลาม โดยมีผู้รับซะกาตในหมวดนี้ก็คือมุอัลลัฟและผู้ที่
ญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ ซึ่งเห็นได้ชัดตามกราฟข้างล่างนี้
ความยากจนเป็นสาเหตุแห่งความล้าหลัง
ทุกวันนี้ หนึ่งในจำนวนปัญหาหลักที่เหล่าประเทศกำลังพัฒนาต่างประสบกันอยู่ก็คือ ปัญหาความยากจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ เช่น อาชญากรรม ขาดโอกาสทางการศึกษา โสเภณี หนี้นอกระบบ คุณภาพชีวิตที่เสื่อมโทรม ฯลฯ กลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญตัวหนึ่งว่าประเทศนั้นพัฒนาหรือไม่ในระดับใด
ในอิสลามก็มองว่าความยากจนเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการเยียวยา ในหลายโองการจากอัลกุรอานที่อัลลอฮฺได้เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับคนที่ยากจนขัดสน และเตือนสำทับถึงการไม่ดูแลคนที่ขาดแคลนปัจจัยอย่างเช่นพวกเขาเหล่านั้น อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
ﮋ ﯵ ﯶ ﯷﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﮊ البقرة: ٢١٥
ความว่า “พวกเขาจะถามเจ้า(มุหัมมัด)ว่า พวกเขาจะบริจาคสิ่งใดบ้าง? จงกล่าวเถิดว่า ทรัพย์สินใดๆ ก็ตามที่พวกท่านบริจาคไปก็จงให้แก่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และบรรดาญาติที่ใกล้ชิด และแก่บรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาคนยากจน และผู้ที่อยู่ในการเดินทาง และก็ความดีใด ๆ ที่พวกท่านกระทำอยู่นั้น แท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ดี” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 215)
ﮋ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﮊ النساء: ٨
ความว่า “เมื่อบรรดาญาติที่ใกล้ชิด บรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ที่ยากจนขัดสนมาร่วมอยู่ด้วยในการแบ่งมรดก ก็จงปันส่วนหนึ่งจากสิ่งนั้น ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา และจงกล่าวแก่พวกเขาอย่างดี” (อัน-นิสาอ์ 8)
ﮋ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﮊ النساء: ٣٦
ความว่า “และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง แท้จริงอัลลอฮฺ ไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด” (อัน-นิสาอ์ 36)
การไม่สนใจดูแลผู้ยากจนขัดสนที่เป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมสังคมคือสิ่งที่อิสลามยอมรับไม่ได้ และเรื่องนี้ยังมีส่วนเกี่ยวพันกับการที่คนผู้หนึ่งต้องโดนลงโทษในวันกิยามะฮฺด้วย อัลลอฮฺได้ตรัสถึงชาวนรกส่วนหนึ่งว่า
ﮋ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒ ﰓ ﰔ ﰕ ﰖ ﰗ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﮊ الحاقة: ٣٣ - ٣٧
ความว่า “แท้จริง เขามิได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ผู้ยิ่งใหญ่ และเขามิได้ส่งเสริมให้อาหารแก่คนขัดสน ดังนั้น วันนี้เขาจะไม่มีมิตรสนิท ณ ที่นี้ และไม่มีอาหารอย่างใด นอกจากน้ำหนองที่ไหลมาจากแผลของชาวนรก ไม่มีผู้ใดกินมัน นอกจากบรรดาผู้กระทำความผิด” (อัล-ห๊ากเกาะฮฺ 33-37)
ความยากจนถือเป็นฟิตนะฮฺหรือบททดสอบประการหนึ่งที่อาจจะส่งผลต่อการปฏิเสธศรัทธาและรุนแรงเท่าๆ กับบททดสอบประเภทอื่นได้ ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากฟิตนะฮฺของความยากจน เช่นเดียวกันกับที่ท่านขอความคุ้มครองให้พ้นจากบททดสอบของความร่ำรวย เช่นในบทดุอาอ์ของท่านที่ว่า
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الكَسَلِ وَالهَرَمِ، وَالمَغْرَمِ، وَالمَأْثَمِ، اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ النَّارِ، وَفِتْنَةِ النَّارِ، وَفِتْنَةِ القَبْرِ، وَعَذَابِ القَبْرِ، وَشَرِّ فِتْنَةِ الغِنَى، وَشَرِّ فِتْنَةِ الفَقْرِ، وَمِنْ شَرِّ فِتْنَةِ المَسِيحِ الدَّجَّالِ»
ความว่า "โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากความเกียจคร้าน ความแก่เฒ่า การติดหนี้สิน การติดบาป โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากการทรมานและการทดสอบในนรก จากการทดสอบและการทรมานในหลุมศพ จากความเลวร้ายในการทดสอบของความร่ำรวยและความยากจน ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากความชั่วร้ายในการทดสอบของดัจญาล" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6375 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 589 ในบทว่าด้วยการซิกิร)
ทุกเช้าและเย็น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะขอความคุ้มครองให้พ้นจากการเป็นกุฟรฺหรือการปฏิเสธศรัทธา พร้อมๆ กับการขอให้พ้นจากความยากจนด้วย นั่นคือบทซิกิรฺของท่านที่ว่า
«اللهم إِنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنَ الْكُفْرِ وَالْفَقْرِ، اللهم إِنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ، لَا إِلٰـهَ إِلَّا أَنْتَ»
ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้จากกุฟรฺ(การฝ่าฝืนหรือปฏิเสธศรัทธา)และให้พ้นจากความยากจน และฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากจากการลงโทษในหลุมศพ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์” (อบู ดาวูด หมายเลข 4426) [8]
เช่นเดียวกับที่ท่านขอให้พ้นจากการเป็นหนี้ล้นตัว
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الهَـمِّ وَالحَزَنِ، وَالعَجْزِ وَالكَسَلِ، وَالجُبْنِ وَالبُـخْلِ، وَضَلَعِ الدَّيْنِ، وَغَلَبَةِ الرِّجَالِ». أخرجه البخاري.
ความว่า "โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความกังวลใจและความโศกเศร้า ความอ่อนแอและความเกียจคร้าน ความขยาดและความตระหนี่ การติดหนี้ที่มากมายจนล้นตัว และการพ่ายแพ้ต่อผู้อื่น" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6369)
ข้อเท็จจริงทางหลักฐานเหล่านี้ชี้ชัดว่า อิสลามได้บัญญัติซะกาตไว้และกำหนดให้เป็นหนึ่งในรุก่นอิสลามทั้งห้าประการ ก็เพื่อต้องการที่จะพัฒนาให้สังคมได้พ้นจากความยากจน อันเป็นมูลเหตุหลักของความล้าหลังและความอ่อนแอของประชาชาติ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างไม่เพียงแค่ในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่อาจจะลามไปถึงด้านอื่นๆ อีกมากมาย
ซะกาตกับการศึกษา
หนึ่งในด้านหลักที่เป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาก็คือการศึกษา สังคมใดที่มีการศึกษาสูงก็ย่อมมีศักยภาพในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ดีกว่าสังคมที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาอิสลามอันเป็นหลักคำสอนที่จะคอยขัดเกลามนุษย์ให้เป็นมุสลิมที่มีคุณภาพ มีศีลธรรม จริยธรรม และเป็นสมาชิกที่สร้างคุณค่าให้กับสังคม
โอกาสทางการศึกษาอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นความยากจนที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา เพราะส่วนมากแล้วผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษามักจะเป็นคนที่ไม่มีทุนทรัพย์เป็นหลัก นอกจากนี้ การศึกษาถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้อิสลามมั่นคงและขยายกว้างขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้น การจ่ายซะกาตเพื่อการศึกษาจึงเป็นประเด็นที่นักวิชาการบางท่านมีทัศนะว่าสามารถจะจ่ายซะกาตเพื่อสนับสนุนการศึกษาได้ โดยรวมอยู่ในหมวดของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ[9] ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดปลีกย่อยของประเด็นนี้จากหนังสือ ตำรา และฟัตวาของอุละมาอ์ที่เกี่ยวข้องด้วย
กองทุนซะกาตและการบริหารจัดการ
ณ เวลาปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่น่าจะช่วยส่งเสริมให้ซะกาตได้แสดงบทบาทในการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและมีความชัดเจนก็คือกองทุนซะกาต ซึ่งควรต้องอยู่ในความจำเป็นเร่งด่วนประการหนึ่งในสังคมมุสลิมที่ต้องช่วยกันผลักดันและเรียกร้องเชิญชวนเพื่อให้มันสามารถเกิดขึ้นได้จริง และต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทุ่มเทเสียสละในการบริหารจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน มีความซื่อสัตย์และเป็นที่น่าเชื่อถือของผู้ที่จะจ่ายซะกาตให้
ทั้งนี้ ปัจจัยหลักๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้การบริหารจัดการซะกาตในสังคมมุสลิมบ้านเรายังขาดประสิทธิภาพก็คือ
1) ความไม่รู้และไม่เข้าใจ หมายถึง สังคมบางส่วนยังไม่รู้หน้าที่ของตนเกี่ยวกับการจ่ายซะกาต หรือรู้แล้วแต่ก็ยังละเลยเนื่องด้วยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อบทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับซะกาต
2) ความไม่ไว้วางใจ คือ การที่ผู้จ่ายซะกาตไม่เชื่อมั่นในองค์กร หน่วยงาน หรือผู้ที่รับหน้าที่จัดเก็บซะกาต ว่าซะกาตที่ตนจ่ายไปจะถูกนำไปจ่ายให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติควรได้รับซะกาตอย่างถูกต้อง
3) ขาดอะมานะฮฺและความซื่อสัตย์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมซะกาต ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาในข้อที่ได้กล่าวมาข้างต้น
4) การจัดการที่ไม่ดีและไม่เป็นระบบ หมายถึง การบริหารจัดการที่สะเปะสะปะ ไม่มีการควบคุมอย่างรัดกุมและได้มาตรฐานในการจัดเก็บ การทำบัญชี การแจกจ่าย และการประเมินผลการทำงาน รวมทั้งความโปร่งใสในด้านต่างๆ
สรุป
ซะกาต เป็นฟัรฎูที่จำเป็นเหนือมุสลิมทุกคนที่มีความสามารถจะต้องทำหน้าที่แบ่งปันส่วนเพียงเล็กน้อยจากทรัพย์สินของตนให้เป็นสิทธิของผู้ที่มีคุณสมบัติจะได้รับมัน การจ่ายซะกาตในมิติของอิสลามไม่ใช่แค่การทำหน้าที่ในฐานะเป็นมุสลิมเท่านั้น แต่ยังเป็นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง เป็นการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก เป็นการผลักดันในสังคมก้าวไปข้างหน้าได้อย่างถาวรและมั่นคง เป็นการช่วยเหลือสนับสนุนกันในความดีงาม ซึ่งจะสร้างคุณุปการมากมายให้กับสังคมมุสลิมและอิสลามสืบไป
การที่จะทำให้ซะกาตได้มีบทบาทในการพัฒนาสังคมมุสลิมนั้น จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทำงานที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ ที่จำเป็น อาทิเช่น ความอิคลาศ ความทุ่มเท การจัดการที่ดี และการผลักดันให้ความรู้ความเข้าใจแก่สังคมเกี่ยวกับเรื่องของซะกาตอย่างต่อเนื่อง เมื่อใดที่สำนึกร่วมกันในสังคมมุสลิมได้เห็นถึงความสำคัญของการทำหน้าที่จ่ายซะกาตอันเป็นรุก่นอิสลามประการหนึ่ง และมีผู้ที่อาสารับผิดชอบในเรื่องการบริหารจัดการ เมื่อนั้นบทบาทของซะกาตก็จะปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมขึ้นได้ และอาจจะส่งผลกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องอื่นๆ ที่ความสัมพันธ์กับซะกาต เช่น การบริจาค การวะกัฟ และอื่นๆ ได้อีกด้วย อินชาอัลลอฮฺ
[1] ดูเพิ่มเติมใน มัสลัน มาหะมะ (บรรณาธิการ). อิสลามวิถีแห่งชีวิต. จากเว็บไซต์อิสลามเฮ้าส์
[2] รายละเอียดของประเด็นนี้มีอยู่ในหะดีษที่บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1400, 1456, 6924, 7284 และมุสลิม หมายเลข 133
[3] ดูเพิ่มเติมใน อัล-เกาะหฺฏอนีย์, สะอีด บิน อะลี บิน วะฮัฟ. เศาะดะเกาะฮฺ อัต-ตะเฏาวุอฺ ฟี อัล-อิสลาม.
[4] ดูเพิ่มเติมใน อัต-ตุวัยญิรีย์, มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม (อิสมาน จารง แปล). การจ่ายหรือออกซะกาต.
[5] ดูตัฟซีร อัฏ-เฏาะบะรีย์ ในการอธิบายอายะฮฺที่ 24-25 จากสูเราะฮฺ อัล-มะอาริจญ์
[6] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บของกรมสรรพากร
[7] ดูเพิ่มเติมที่ อัต-ตุวัยญิรีย์, มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม (อิสมาน จารง ผู้แปล). แหล่งแจกจ่ายซะกาต. เว็บไซต์อิสลามเฮ้าส์
[8] ดูเพิ่มเติมใน อุษมาน อิดรีส, บทซิกิรฺเช้าเย็นที่เศาะฮีหฺจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม. เว็บไซต์อิสลามเฮ้าส์
[9] ดูฟัตวาของเชค อับดุลลอฮฺ บิน อับดุรเราะห์มาน บิน ญิบรีน