×
จากหนังสือสาส์นแห่งอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ ประกอบด้วย : - ศาสนาที่ใช้ระบบชูรอหรือการปรึกษาหารือ - ศาสนาที่ให้สิทธิความชอบธรรมกับทุกฝ่าย

    คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม (4)

    ﴿خصائص الدين الإسلامي (4)

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ

    แปลโดย : อิบนุรอมลี ยูนุส

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือสาส์นแห่งอิสลาม

    2010 - 1431

    ﴿خصائص الدين الإسلامي (4)

    « باللغة التايلاندية »

    عبدالرحمن بن عبدالكريم الشيحة

    ترجمة: ابن رملي يونس

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: كتاب رسالة الإسلام

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    คุณลักษณะเฉพาะของศาสนาอิสลาม (4)

    ศาสนาที่ใช้ระบบชูรอหรือการปรึกษาหารือ

    ศาสนาอิสลาม คือศาสนาที่ยึดเอาแนวการชูรอ(การขอคำแนะนำและปรึกษาร่วมกัน)ในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับด้านศาสนาและทางโลก ในเรื่องกิจการภายในและกิจการภายนอก

    อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า

    ﴿وَالَّذِينَ اسْتَجَابُوا لِرَبِّهِمْ وَأَقَامُوا الصَّلَاةَ وَأَمْرُهُمْ شُورَى بَيْنَهُمْ وَمِمَّا رَزَقْنَاهُمْ يُنفِقُونَ﴾ (الشورى : 38 )

    ความว่า : “และบรรดาผู้ตอบรับต่อพระเจ้าของพวกเขา และดำรงละหมาด และพวกเขามีการปรึกษาหารือในกิจการของพวกเขา และพวกเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นเครื่องปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา" (อัช-ชูรอ 38)

    ระบบชูรอ คือสิ่งจำเป็นพื้นฐานหลักในบัญญัติแห่งอิสลาม ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสนทูตแห่งศาสนาอิสลาม จึงได้สั่งให้ปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างเป็นรูปธรรม อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า

    ﴿فَبِمَا رَحْمَةٍ مِّنَ اللهِ لِنتَ لَهُمْ وَلَوْ كُنتَ فَظّاً غَلِيظَ الْقَلْبِ لاَنفَضُّواْ مِنْ حَوْلِكَ فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاسْتَغْفِرْ لَهُمْ وَشَاوِرْهُمْ فِي الأَمْرِ ﴾ (آل عمران : 159 )

    ความว่า : “เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮฺนั่นเอง เจ้า(มุหัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย" (อาล อิมรอน 159)

    ระบบชูรอ เป็นระบบหนึ่งที่นำไปสู่ความถูกต้องและผลประโยชน์ที่ดีเลิศ บรรดามุสลิมในสมัยต้นของอิสลาม ได้ยึดปฏิบัติกับหลักการชูรอนี้กับเรื่องศาสนาและดุนยา(ทางโลก)ของพวกเขา จนทำให้สภาพของพวกเขารุ่งโรจน์และไปด้วยดี เมื่อไหร่ที่พวกเขาเฉออกจากหลักการนี้พวกเขาเลยต้องเผชิญกับความตํ่าต้อยในเรื่องศาสนาและทางโลกของพวกเขา

    ศาสนาที่ให้สิทธิความชอบธรรมกับทุกฝ่าย

    ศาสนาอิสลามได้บัญญัติสิทธิความชอบธรรมระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ในทุกระดับชั้น เพื่อที่พวกเขาจะอยู่อย่างมีความรักใคร่ระหว่างกัน บรรลุผลประโยชน์ทางศาสนา รุ่งเรืองในทางโลก เริ่มด้วยสิทธิของพ่อเเม่ และสิทธิของลูกหลาน สิทธิของบรรดาญาติ และคนใกล้บ้าน สิทธิของเพื่อนฝูง ...เป็นต้น อัลลอฮฺตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า

    ﴿وَاعْبُدُواْ اللهَ وَلاَ تُشْرِكُواْ بِهِ شَيْئاً وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَاناً وَبِذِي الْقُرْبَى وَالْيَتَامَى وَالْمَسَاكِينِ وَالْجَارِ ذِي الْقُرْبَى وَالْجَارِ الْجُنُبِ وَالصَّاحِبِ بِالجَنبِ وَابْنِ السَّبِيلِ وَمَا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ إِنَّ اللهَ لاَ يُحِبُّ مَن كَانَ مُخْتَالاً فَخُوراً﴾ (النساء : 36 )

    ความว่า : “และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด เด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง(บ่าวไพร่) แท้จริงอัลลอฮฺ ไม่ทรงชอบผู้ยะโสผู้โอ้อวด" (อัน-นิสาอ์ 36)

    ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    “จงอย่าได้อิจฉาระหว่างกัน หรือเเกล้งให้ราคาสิ้นค้าเเพงขึ้น หรือ สร้างความโกรธระหว่างกัน หรือหันหน้าไปจากเพื่อนสหายเมื่อเจอกัน หรือ การเสนอสิ้นค้าตัวเองในราคาที่ถูกกว่าให้กับคนซื้อที่กำลังจะซื้อสิ้นค้าคนอื่น และจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺอย่างเป็นพี่น้องกัน มุสลิมคือพี่น้องของมุสลิม ซึ่งจะต้องไม่กดขี่เขา ไม่ทอดทิ้งเขา ไม่ดูถูกเขา การศรัทธาอยู่ที่นี่ – และท่านได้ชี้ไปที่หน้าอกสามครั้ง- เพียงพอแล้วที่บุคคลหนึ่งจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนเลวด้วยการที่เขาดูถูกเพื่อนมุสลิมของเขา มุสลิมกับมุสลิมเป็นที่ต้องห้ามไม่ให้หลั่งเลือด ริบทรัพย์สิน และดูหมิ่นศักดิ์ศรีของเขา" (เศาะฮีหฺ มุสลิม 4/1986 เลขที่ 2564)

    ท่านได้กล่าวอีกว่า :

    “คนหนึ่งในจำนวนพวกเจ้าจะไม่ศรัทธา นอกจากเขาจะต้องรักเพื่อพี่น้องของเขาดังที่เขารักเพื่อตัวเอง" (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/14 เลขที่ 13)

    แม้แต่ศัตรูของอิสลามก็ย่อมมีสิทธิความชอบธรรมของพวกเขา พ่อของอะซีซ บิน อุมัยรฺ ซึ่งเป็นพี่น้องกับมุศอับ บิน มุมัยรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า เมื่อครั้งที่ฉันตกเป็นเชลยในสงครามบะดัรฺ ฉันได้ยินท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “จงทำดีกับเชลยทั้งหลาย" และตอนที่ฉันตกอยู่ภายใต้การดูแลของบรรดาชาวอันศอรฺ(เหล่าสาวกท่านศาสนทูตที่พํานัก ณ นครมะดีนะฮฺ) เมื่อพวกเขายกอาหารกลางวันและอาหารกลางคืนให้ฉัน พวกเขาจะกินแค่ลูกอินทผลัม แล้วจะเสียสละขนมปังให้ฉันกิน เนื่องจากคำสั่งเสียของท่านศาสนทูตที่ให้กับพวกเขาไว้ ( ดู อัล-มุอฺญัม อัศ-เศาะฆีรฺ 1/250 เลขที่ 409)

    และยิ่งไปกว่านั้น อิสลามได้ไปไกลกว่าด้วยการให้สิทธิแก่สัตว์ด้วยเช่นกัน ท่านศาสนทูตกล่าวความว่า :

    “ผู้ใดฆ่านกกระจอกเพียงตัวเดียวอย่างไร้สาระ มันจะกลับไปหาอัลลอฮฺวันกิยามะฮฺและกล่าวว่า โอ้พระเจ้าของฉัน แท้จริงแล้ว คนนั้นได้ฆ่าฉันไปอย่างไร้สาระ ไม่ได้ฆ่าฉันเพื่อประโยชน์อันใดเลย" (เศาะฮีหฺ อิบนุ หิบบาน 13/214 เลขที่ 5894)

    และรายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าวันหนึ่งท่านได้เดินผ่านเยาวชนกุร็อยชฺกลุ่มหนึ่ง พวกเขากำลังรวมตัวกันเล่นยิงไปยังนกตัวหนึ่งที่ผูกไว้เป็นเป้า แล้วทิ้งจำนวนลูกศรที่ไม่โดนให้กับเจ้าของนก เมื่อพวกเขาเห็นอิบนุ อุมัรฺ ก็เเยกย้ายกันวิ่งหนี ท่านอิบนุ อุมัรฺ กล่าวถามว่า ใครเป็นคนทำ ? การสาปเเช่งอัลลอฮฺจะเกิดแก่คนที่ทำเรื่องนี้ แท้จริงแล้ว ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สาปเเช่งคนที่นำสิ่งมีชีวิตมาเป็นเป้ายิ่งเล่น" (เศาะฮีหฺ มุสลิม 3/ 1550 เลขที่ 1958)

    วันหนึ่งท่านศาสนทูตได้เดินผ่านอูฐตัวหนึ่งซึ่งท้องของมันบางเกือบจรดหลังเพราะความหิว ท่านกล่าวว่า

    “จงยําเกรงอัลลอฮฺในการดูแลสัตว์พวกนี้ จงขับขี่มันในสภาพที่มันดี จงกินเนื้อมันในสภาพที่มันดี" (เศาะฮีหฺ อิบนุ คุซัยมะฮฺ 4/143 เลขที่ 2545)

    อิสลามได้กำหนดสิทธิของปัจเจกบุคคลที่ควรได้รับจากส่วนรวม และกำหนดสิทธิของส่วนรวมที่ต้องได้รับจากสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้น สมาชิกหนึ่งก็ต้องทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของกลุ่ม ในทางกลับกันกลุ่มคณะก็ต้องทำงานเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิกที่เป็นปัจเจกชนด้วย ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    “คนมุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)กับมุอ์มินด้วยกัน เปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้าง ซึ่งแต่ละคนต่างเสริมสร้างให้เเข็งแรงซึ่งกันและกัน" แล้วท่านก็เอานิ้วมือทั้งสองข้างมาสอดเข้าหากัน ( เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/182 เลขที่ 467)

    ในกรณีที่เกิดความขัดเเย้งกันระหว่างผลผระโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม ก็ให้ยึดเอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาก่อน เช่น การทำลายบ้านที่เอนเอียงทำท่าจะล้มทับผู้ที่เดินผ่านไปมา เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม หรือการเวนคืนทำเป็นถนนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยการจ่ายค่าเสียหายหรือค่าเวนคืนให้กับเจ้าของบ้าน มีรายงานจากสะมุเราะฮฺ บิน ญุนดุบ ว่า เขามีต้นอินทผลัมใกล้รั้วของชาวอันศอรฺผู้หนึ่ง กิ่งของมันยื่นข้ามพ้นรั้วออกไป เขาเล่าว่า ชายชาวอันศอรฺมีภรรยาเขาด้วย ทุกครั้งที่สะมุเราะฮฺเข้าไปเก็บอินทผลัมของเขาก็สร้างความรบกวนแก่ชายผู้นั้นมาก เลยเขาขอให้สะมุเราะฮฺขายให้เขา หรือไม่ก็อนุญาติให้ย้ายมันไป แต่สะมุเราะฮฺไม่ยอม ชายอันศอรฺได้ฟ้องท่านศาสนทูตถึงเรื่องดังกล่าว ท่านศาสนทูตขอให้สะมุเราะฮฺขายให้เขา หรือปล่อยให้ชายอันศอรฺย้ายต้นอินทผาลัมให้ แต่สะมุเราะฮฺไม่ยอม ท่านศาสนทูตขอให้เขามอบให้ท่านและพร้อมที่ให้ค่าทดแทนให้ แต่สะมุเราะฮฺยังดื้อดึงไม่ยอมทำตาม สุดท้าย ท่านศาสนทูตมุหัมมัดจึงกล่าวว่า “ท่านคือผู้สร้างความเดือดร้อน" จากนั้นท่านจึงสั่งให้ชาวอันศอรฺผู้นั้นว่า “จงไปถอนต้นอินทผลัมนั้นเสีย" (สุนัน อัล-บัยฮะกีย์ 6/157 เลขที่ 11663)