×
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 4 - การอภัยโทษสำหรับผู้ถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

การอภัยโทษสำหรับผู้ถือศีลอด

﴿المغفرة للصائم ما تقدم من ذنبه﴾

]  ไทย – Thai – تايلاندي [

อาหมัด อัลฟารีตีย์

แปลโดย : ฮาเรส เจ๊ะโด

ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

ที่มา : หนังสือ 40 หะดีษเราะมะฎอน

2010 - 1431

﴿المغفرة للصائم ما تقدم من ذنبه﴾

« باللغة التايلاندية »

أحمد حسين الفاريتي

ترجمة: حارث جيء دو

مراجعة: صافي عثمان

المصدر: كتاب  40 حديث رمضان

2010 - 1431


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

หะดีษบทที่ 4

การอภัยโทษสำหรับผู้ถือศีลอด

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ». (البخاري رقم 37، مسلم رقم 1276)

ความว่า จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยเปี่ยมศรัทธาและหวังในผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 37 และมุสลิม หมายเลข 1276)

 คำอธิบายหะดีษ

            คำว่า “إِيْمَاناً(การถือศีลอดด้วยเปี่ยมศรัทธา) คือ การอิอฺติกอด(เชื่อมั่น)ต่อหน้าที่ในการถือศีลอดอย่างเต็มเปี่ยม  ส่วนคำว่า “احْتِسَاباً(การหวังในผลบุญ) คือ การวิงวอนขอผลบุญจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะหุวะตะอาลา

            อัล-ค็อฏฏอบีย์ กล่าวว่า “احْتِسَاباً” หมายถึง การตั้งใจ นั่นคือ การที่เขาถือศีลอดอันเนื่องจากหวังเพื่อได้รับผลบุญที่เกิดจากจิตใจที่บริสุทธิ์และยินยอม ขณะเดียวกันเขาจะไม่มีความรู้สึกหนักใจในการถือศีลอดและไม่รู้สึกว่าเวลาในการถือศีลอดนั้นนานเกินไป (ฟัตหุลบารีย์ 4/114)

            อัส-สุยูฏีย์กล่าวว่า คำว่า “إِيْمَاناً” หมายถึง การยอมรับให้การถือศีลอดเป็นฟัรฎูเหนือเขาและเป็นสิทธิที่เป็นวาญิบ และเป็นหนึ่งในรุก่นอิสลาม อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของกระทำที่อัลลอฮฺให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ผลบุญและผลตอบแทน (ตุหฺฟะตุลอะห์วะซีย์ 3/361)

อิหม่ามอัน-นะวะวีย์กล่าวว่า สิ่งที่รู้กันในหมู่นักวิชาการฟิกฮฺก็คือ การอภัยโทษที่ว่านี้เจาะจงเฉพาะบาปต่างๆ ที่เป็นบาปเล็กเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบาปใหญ่แต่อย่างใด แต่บางท่านก็กล่าวว่า เป็นไปได้ที่การอภัยโทษดังกล่าวจะหมายถึง การลดหย่อนโทษสำหรับบาปใหญ่ด้วยในกรณีที่ว่าไม่มีบาปเล็กอยู่

            อิบนุล มุนซิรกล่าวว่า การให้อภัยนั้นจะคลอบคลุมถึงบาปทุกอย่าง ทั้งที่เป็นบาปใหญ่และบาปเล็ก

  

 บทเรียนจากหะดีษ

1.      กล่าวถึงความประเสริฐของการประกอบอิบาดะฮฺคือ การถือศีลอด

2.      ผู้ที่ถือศีลอดอย่างแท้จริงนั้นจะได้รับการอภัยโทษจากบาปต่างๆ ที่ผ่านมา

3.      การถือศีลอดที่แท้จริงเกิดจากความศรัทธาต่อคำสั่งของอัลลอฮฺและหน้าที่ในการถือศีลอด พร้อมทั้งหวังในผลบุญจากพระองค์

4.      ในภาพรวมแล้ว หะดีษนี้จะกล่าวถึงบาปทั้งที่เป็นบาปใหญ่และบาปเล็กจะได้รับการอภัยจากอัลลอฮฺ แต่ทัศนะของนักวิชาการเห็นว่าการอภัยโทษนั้นเจาะจงเฉพาะที่เป็นบาปเล็กเท่านั้น ส่วนบาปใหญ่จะเบาบางลงเท่านั้น

5.      การอภัยโทษจากอัลลอฮฺนับเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแด่บ่าวของพระองค์