×
บทความว่าด้วยสิ่งที่เป็นมักรูฮฺ สิ่งที่เป็นวาญิบ และสิ่งที่อนุญาตสำหรับผู้ที่ถือศีลอด เช่น หุก่มการจูบและการเล้าโลมภรรยาสำหรับผู้ที่ถือศีลอด อัล-วิศอล(การถือศีลอดติดต่อกัน)ที่อนุญาตและต้องห้าม ลักษณะการถือและการละศีลอดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    สิ่งที่เป็นมักรูฮฺ สิ่งที่เป็นวาญิบ และสิ่งที่อนุญาตสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

    ﴿ما يكره للصائم وما يجب وما يجوز﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    2009 - 1430

    ﴿ما يكره للصائم وما يجب وما يجوز﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: فيصل عبدالهادي

    مراجعة: صافي عثمان

    2009 - 1430

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    สิ่งที่เป็นมักรูฮฺ สิ่งที่เป็นวาญิบ และสิ่งที่อนุญาตสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

    การบ้วนปากและการสูบน้ำเข้าจมูกจนเกินเลย การชิมอาหารโดยไม่มีความจำเป็น การกรอกเลือดหรืออื่นๆ ที่อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และการกักน้ำลายแล้วกลืน ถือว่าเป็นสิ่งที่มักรูฮฺทั้งสิ้นสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

    สุนัตให้ผู้ที่ถือศีลอดรีบเร่งในการละศีลอดเมื่อได้ยินเสียงอะซานมัฆริบ และจำเป็น (วาญิบ) ที่จะต้องละเว้นจากสิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเสียเช่นการกิน ดื่มและอื่น ๆ เมื่อแสงอรุณ (แสงฟัจญ์รฺที่สอง) ได้ปรากฏ

    วาญิบที่จะต้องหลีกห่างจากการพูดปดมดเท็จ การนินทา และการด่าทอว่าร้ายในทุก ๆ ช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนเราะมะฎอน

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า:

    «مَنْ لَـمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّورِ وَالعَمَلَ بِـهِ، وَالجَهْلَ، فَلَيْسَ ٬ حَاجَةٌ أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَـهُ».

    ความว่า : ผู้ใดก็ตามที่ไม่ละทิ้งการพูดเท็จ และยังปฏิบัติอยู่อีก (ในขณะที่ถือศีลอด) รวมทั้งยังทำพฤติกรรมเยี่ยงคนเขลาอยู่ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลยสำหรับอัลลอฮฺ ที่เขาจะ(ต้องเหน็ดเหนื่อยเพื่อ)อดอาหารและเครื่องดื่มของเขา (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6057)

    หุก่มการจูบและการเล้าโลมภรรยาสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

    การที่ผู้ชายจูบภรรยาของเขา ลูบคลำ และเล้าโลมผ่านเสื้อผ้าในขณะที่เขาถือศีลอดถือว่าเป็นที่อนุญาตถึงแม้ว่าจะเกิดอารมณ์ใคร่ก็ตามเมื่อเขามั่นใจว่าสามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของตนเองได้ และถ้าหากเกรงว่าอาจจะพลั้งตกอยู่ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามเช่นการหลั่งน้ำอสุจิ เช่นนี้ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา

    จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา ได้เล่าว่า:

    كَانَ النَّبِيُ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم يُـقَبِّلُ وَيُبَاشِرُ وَهُوَ صَائِمٌ وَكَانَ أَمْلَكَكُمْ لإرْبِـهِ

    ความว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้จูบและเล้าโลมในขณะที่ท่านถือศีลอด และท่านเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของท่านได้ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1927 และมุสลิม หมายเลข 1106 สำนวนหะดีษเป็นของอัล-บุคอรีย์)

    อนุญาตให้ผู้ที่ถือศีลอดใช้ยาสีฟันโดยที่ต้องระมัดระวังมิให้กลืนมันลงไป และการอาบน้ำเพื่อบรรเทาความร้อนและความกระหายก็ถือว่าอนุญาตเช่นกัน

    อัล-วิศอล (การถือศีลอดติดต่อกัน) ที่อนุญาตและต้องห้าม

    อัล-วิศอลคือ การถือศีลอดสองวันหรือมากกว่านั้นโดยไม่กินและดื่มอะไรเลยระหว่างนั้น(ไม่ได้ละศีลอด) และแท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺสูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการปฏิบัติเช่นนั้น ท่านได้กล่าวว่า:

    «لا تُوَاصِلُوا، فَأَيُّكُمْ أَرَادَ أَنْ يُوَاصِلَ فَلْيُوَاصِلْ حَتَّى السَّحَرِ»

    ความว่า: พวกท่านจงอยู่ถือศีลอดติดต่อกัน ดังนั้นใครก็ตามในหมู่พวกท่านประสงค์ที่จะถือศีลอดติดต่อกัน ก็จงถือศีลอดติดต่อกันจนกระทั่งรุ่งสาง

    แล้วบรรดาเศาะหาบะฮฺก็ได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า : "แต่ท่านถือศีลอดติดต่อกันนะท่านเราะสูลุลลอฮฺ?"

    ท่านตอบว่า :

    «لَسْتُ كَهَيْئَتِكُمْ، إنِّي أَبِيتُ لِي مُطْعِمٌ يُطْعِمُنِي، وَسَاقٍ يَسْقِينِ»

    ความว่า : ฉันไม่เหมือนกับลักษณะพวกท่าน แท้จริงขณะที่ฉันนอน ฉันมีผู้ให้อาหารคอยให้อาหารฉัน และฉันมีผู้ให้เครื่องดื่มคอยให้ฉัมดืม (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หลายเลข 1967)

    อนุญาตให้ผู้ที่ถือศีลอดกลืนน้ำลาย และไม่อนุญาตให้กลืนเสมหะไม่ว่าสำหรับผู้ที่ถือศีลอดหรือไม่ก็ตามเพราะมันเป็นสิ่งที่น่าขยะแขยงและเป็นโทษต่อร่างกาย แต่ทั้งนี้ก็มิได้ทำให้การถือศีลอดเสียแต่ประการใด และเมื่อมีเลือดออกตามไรฟันหรือที่ลิ้น ก็จงอย่ากลืน และถ้าหากกลืนลงไปจะทำให้การถือศีลอดเสีย

    ลักษณะการถือและการละศีลอดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

    1. จากท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่า

    مَا صَامَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم شَهْراً كَامِلاً قَطُّ غَيْرَ رَمَضَانَ، وَيَصُومُ حَتَّى يَـقُولَ القَائِلُ: لا وَالله لا يُفْطِرُ، وَيُفْطِرُ حَتَّى يَـقُولَ القَائِلُ: لا وَالله لا يَصُومُ

    ความว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยถือศีลอดหนึ่งเดือนเต็มนอกจากเดือนเราะมะฎอน ท่านถือศีลอดจนคนหนึ่งพูดว่า ไม่ ข้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าท่านไม่แก้ศีลอด และท่านไม่ได้ถือศีลอดจนกระทั่งคนหนึ่งพูดว่า ไม่ ข้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ท่านไม่ถือศีลอด (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ลำดับหะดีษ: 1971, และมุสลิม ลำดับหะดีษที่: 1157)

    2. และจากท่านหุมัยดฺ กล่าวว่า: ฉันได้ยินอนัส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้กล่าวว่า:

    كَانَ رَسُولُ الله صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم يُفْطِرُ مِنَ الشّهْرِ حَتَّى نَظُنَّ أنْ لا يَصُومَ مِنْـهُ، وَيَصُومُ حَتَّى نَظُنَّ أنْ لا يُفْطِرَ مِنْـهُ شَيْئاً، وَكَانَ لا تَشَاءُ تَرَاهُ مِنَ اللَّيْلِ مُصَلِّياً إلَّا رَأيْتَـهُ، وَلا نَائِماً إلَّا رَأيْتَـهُ

    ความว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ถือศีลอดในเดือน ๆ หนึ่ง จนพวกเราคิดว่าท่านไม่ได้ถือศีลอดจากเดือนนั้นเลย และ(บางครั้ง) ท่านถือศีลอดจนกระทั่งพวกเราคิดว่าท่านไม่ได้ละเว้นจากการถือศีลอดในเดือนนั้นเลย และหากเจ้าไม่ประสงค์จะเห็นท่านละหมาดในกลางคืน เจ้าก็จะได้เห็น และหากเจ้าไม่ประสงค์จะเห็นท่านนอนในเวลากลางคืน เจ้าก็จะได้เห็นเช่นกัน (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ลำดับหะดีษที่ 1972)