×
จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ ประกอบด้วยเนื้อหา เวลาละหมาดที่วาญิบทั้งห้าเวลา จะละหมาดตอนไหนหากอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด เวลาละหมาด หากอยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถแยกแยะเวลาได้

    เวลาละหมาดห้าเวลา

    ﴿أوقات الصلوات الخمس﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ดานียา เจ๊ะสนิ

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2010 - 1431

    ﴿أوقات الصلوات الخمس﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: دانيال جيءسنيك

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    3. เวลาละหมาดห้าเวลา

    อัลลอฮฺได้บัญญัติสำหรับมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคนวาญิบต้องละหมาดในวันหนึ่งๆห้าเวลา

    เวลาละหมาดที่วาญิบทั้งห้าเวลา

    1. เวลาละหมาดอัซ-ซุฮรฺ (บ่าย) เริ่มตั้งแต่ตะวันคล้อย จนถึงเวลาที่เงาของแต่ละสิ่งเสมอตัว ซึ่งการละหมาดแต่เนิ่นๆนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า นอกจากในสภาพอากาศที่ร้อนจัดจะสุนัตให้ยืดเวลาออกไปให้ช้าลงหรือให้เย็นลง ละหมาดนี้มีสี่ร็อกอะฮฺ

    2. เวลาละหมาดอัล-อัศรฺ (เย็น)เริ่มตั้งแต่หมดเวลาละหมาดซุฮรฺจนกระทั่งแสงตะวันมีสีเหลือง แต่ถ้าจำเป็นยังละหมาดได้จนกว่าตะวันจะลับขอบฟ้าซึ่งการละหมาดนี้แต่เนิ่นๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า มีทั้งหมดสี่ร็อกอะฮฺ

    3.เวลาละหมาดอัล-มัฆริบ (หลังตะวันตกดิน) เริ่มตั้งแต่ตะวันลับขอบฟ้า จนกระทั่งสิ้นแสงสีแดง(แสงเงินแสงทอง)ซึ่งการละหมาดนี้แต่เนิ่นๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า มีทั้งหมดสามร็อกอะฮฺ

    4.เวลาละหมาดอัล-อิชาอ์ (ดึก) เริ่มตั้งแต่เวลาสิ้นแสงเงินแสงทองจากขอบฟ้า จนกระทั่งถึงครึ่งคืน แต่ถ้าจำเป็นยังละหมาดได้จนกว่าแสงอรุณจะขึ้น การยืดเวลาละหมาดนี้ให้ช้าถึงช่วงแรกของหนึ่งในสามของคืนเป็นสิ่งที่ดีกว่า ละหมาดนี้มีสี่ร็อกอะฮฺ

    5.เวลาละหมาดอัล-ฟัจญ์รฺ เริ่มตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งตะวันขึ้น ซึ่งการละหมาดแต่เนิ่นๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า ละหมาดนี้มีสองร็อกอะฮฺ

    มีรายงานจากท่าน บุร็อยดะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) จากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ว่า

    أنَّ رَجُلاً سَألَـهُ عَنْ وَقْتِ الصَّلاةِ؟ فَقَالَ لَـهُ: «صَلِّ مَعَنَا هَذَيْنِ». (يَـعْنِي اليَوْمَيْنِ) فَلَـمَّا زَالَتِ الشَّمْسُ أمَـرَ بِلالاً فَأذَّنَ، ثُمَّ أمَـرَهُ فَأقَامَ الظُّهْرَ، ثُمَّ أمَـرَهُ فَأقَامَ العَصْرَ، وَالشَّمْسُ مُرْتَفِعَةٌ بَيْضَاءُ نَقِيَّةٌ، ثُمَّ أمَـرَهُ فَأقَامَ المَغْرِبَ حِينَ غَابَتِ الشَّمْسُ، ثُمَّ أمَـرَهُ فَأقَامَ العِشَاءَ حِينَ غَابَ الشَّفَقُ، ثُمَّ أمَـرَهُ فَأقَامَ الفَجْرَ حِينَ طَلَعَ الفَجْرُ.

    فَلَـمَّا أنْ كَانَ اليَوْمُ الثَّانِي أمَـرَهُ فَأبْرَدَ بِالظُّهْرِ، فَأبْرَدَ بِـهَا، فَأنْعَمَ أنْ يُبْرِدَ بِـهَا، وَصَلَّى العَصْرَ وَالشَّمْسُ مُرْتَفِعَةٌ، أخَّرَهَا فَوْقَ الَّذِي كَانَ، وَصَلَّى المَغْرِبَ قَبْلَ أنْ يَـغِيبَ الشَّفَقُ، وَصَلَّى العِشَاءَ بَـعْدَمَا ذَهَبَ ثُلُثُ اللَّيْلِ، وَصَلَّى الفَجْرَ فَأسْفَرَ بِـهَا.

    ثُمَّ قال: «أيْنَ السَّائِلُ عَنْ وَقْتِ الصَّلاةِ؟». فَقَالَ الرَّجُلُ: أنَا يَا رَسُولَ الله! قال: «وَقْتُ صَلاتِكُمْ بَيْنَ مَا رَأيْتُـمْ»

    ความว่า มีชายคนหนึ่งถามท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ถึงเวลาละหมาดแต่ละเวลา ท่านได้ตอบว่า “ท่านจงละหมาดพร้อมฉันสองวัน" เมื่อตะวันคล้อย ท่านได้สั่งให้ท่านบิลาลอะซาน ท่านบิลาลจึงอะซาน หลังจากนั้นท่านได้สั่งให้อิกอมะฮฺเพื่อละหมาดซุฮรฺ (เมื่อถึงเวลาอัศรฺ)แล้วท่านก็ได้สั่งให้อะซานและอิกอมะฮฺเพื่อละหมาดอัศรฺในขณะที่ตะวันยังฉายแสงเจิดจ้าอยู่ หลังจากนั้นท่านได้สั่งให้อะซานและอิกอมะฮฺเพื่อละหมาดมัฆริบเมื่อสิ้นแสงตะวันจากขอบฟ้า หลังจากนั้นท่านได้สั่งให้อะซานและอิกอมะฮฺเพื่อละหมาดอิชาอ์เมื่อสิ้นแสงเงินแสงทองจากขอบฟ้า หลังจากนั้นท่านได้สั่งให้อะซานและอิกอมะฮฺเพื่อละหมาดอัลฟัจญ์รฺเมื่อแสงอรุณขึ้น และเมื่อถึงวันที่สอง ท่านได้สั่งให้ยืดเวลาซุฮรฺให้ช้าลงหรือให้อากาศเย็นลง แล้วจึงละหมาดซุฮรฺตอนที่ความร้อนเบาบางลง ซึ่งเป็นความปรานีและสบายขึ้นเมื่อได้ละหมาดซุฮรฺตอนที่ความร้อนเย็นลงแล้ว และได้สั่งให้ละหมาดอัศรฺในขณะที่แสงตะวันยังเจิดจ้า และจะล่าช้าได้จนถึงตะวันลับฟ้า และได้สั่งให้ละหมาดอัลมัฆริบก่อนสิ้นแสงเงินแสงทองจากขอบฟ้า และได้สั่งให้ละหมาดอิชาอ์เมื่อค่ำคืนผ่านไปหนึ่งในสามแล้ว และได้สั่งให้ละหมาดอัลฟัจญ์รฺเมื่อแสงอรุณยังมีอยู่ หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า “ไหนคนที่ถามเกี่ยวกับเวลาละหมาด" ผู้ถามก็ตอบว่า ฉันเองโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แล้วก็ได้กล่าวว่า “เวลาละหมาดของพวกท่านก็จะอยู่ราวๆดังที่ท่านเห็นนี่แหละ" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 613)

    จะละหมาดตอนไหนหากอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด

    หากอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด มีสุนนะฮฺให้ยืดเวลาละหมาดซุฮรฺจนเกือบถึงเวลาละหมาดอัศรฺ ทั้งนี้เนื่องจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

    «إذَا اشْتَدَّ الحَرُّ فَأَبْرِدُوا بِالصَّلاةِ، فَإنَّ شِدَّةَ الحَرِّ مِنْ فَيْـحِ جَهَنَّمَ»

    ความว่า “ เมื่อใดที่อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด ก็จงคอยให้เย็นแล้วจึงละหมาด เพราะแท้จริงความร้อนนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากเปลวนรกญะฮันนัม" (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 536 สำนวนนี้เป็นของท่าน และบันทึกโดยมุสลิม เลขที่: 616)

    เวลาละหมาด หากอยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถแยกแยะเวลาได้

    ผู้ใดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ดวงอาทิตย์ไม่ตกดินในฤดูร้อน และไม่โผล่จากขอบฟ้าเลยในฤดูหนาว หรือในพื้นที่ที่มีกลางวันยาวจนถึงหกเดือนและมีกลางคืนยาวหกเดือนเช่นกัน พวกเขาจะต้องละหมาดทั้งห้าเวลาในทุกๆ 24 ชั่งโมง และจะต้องยึดเวลาละหมาดในแต่ละเวลาให้เหมือนกับพื้นที่ใกล้เคียงที่สามารถแยกแยะเวลาของการละหมาดห้าเวลาในแต่ละเวลาได้