×
ข้อมูลอธิบายถึงหุก่มการดะอฺวะฮฺหรือการเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ อาิทิ ความสำคัญของการดะอฺวะฮฺผู้คนไปสู่อัลลอฮฺ ดะอฺวะฮฺตั้งแต่วันแรก การดะอฺวะฮฺคือความรับผิดชอบของมุสลิมทุกคน แก่นแท้ของการมุญาฮะดะฮฺ (ต่อสู้) ในหนทางของอัลลอฮฺ การทุ่มเทพละกำลังทั้งหมดเพื่อเชิดชูศาสนาอิสลามให้สูงส่ง การดะอฺวะฮฺวาญิบเหนือมุสลิมทุกคน เป็นต้น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    วาญิบต้องดะอฺวะฮฺสู่อัลลอฮฺ

    ﴿وجوب الدعوة إلى الله﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : อิบรอฮีม หุเซน

    ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2010 - 1431

    ﴿وجوب الدعوة إلى الله﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: إبراهيم حسين

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    مصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    วาญิบต้องดะอฺวะฮฺสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา

    ความสำคัญของการดะอฺวะฮฺผู้คนไปสู่อัลลอฮฺ

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวถึงหุก่มต่างๆในอัลกุรอานโดยภาพรวม และท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้แจกแจงรายละเอียดไว้ในหะดีษ แม้กระนั้นก็ตามอัลลอฮฺก็ได้แจกแจงเรื่องความพยายามอุตสาหะในการดะอฺวะฮฺหรือเชิญชวนผู้คนไปสู่อิสลามด้วยกับการอธิบายที่ครอบคลุมสมบูรณ์ทุกอย่าง ในขณะที่อัลลอฮฺไม่ได้แจกแจงถึงการปฏิบัติอิบาดะฮฺของบรรดานบี อะลัยฮิมุสสะลาม อย่างละเอียดถี่ถ้วนแต่ประการใด ไม่ว่าจะเป็นการละหมาดของนบีอิบรอฮีม การทำหัจญฺของนบีอาดัม หรือแม้แต่การถือศีลอดของนบีดาวูด อะลัยฮิมุสสะลาม แต่อัลลอฮฺได้อธิบายการปฏิบัติอิบาดะฮฺของนบีเหล่านั้นในภาพกว้างๆเท่านั้น

    อัลลอฮฺ ตะอาลา มิได้กล่าวถึงผู้ที่ยืนหยัดในการปฏิบัติอิบาดะฮฺแม้แต่คนเดียวในอัลกุร อาน แต่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงการดะอฺวะฮฺของบรรดานบีอย่างละเดียดครอบคลุมทุกด้าน

    อัลลอฮฺได้แจกแจงเกี่ยวกับประวัติของนบีมูซา อะลัยฮิสสะลาม ในอัลกุรอานทั้งหมดถึง 29 แห่ง อัลลอฮฺได้บรรยายการดะอฺวะฮฺของบรรดานบีที่มีต่อประชาชาติของแต่ละท่านอย่างละเอียด อัลลอฮฺได้กล่าวถึงประวัติการดะอฺวะฮฺของนบีนูหฺ นบีอิบรอฮีม นบีมูซา นบีอีซา นบีฮูด นบีศอและฮฺ นบีชุอัยบฺ นบีลูฏ นบียูซุฟ และนบีท่านอื่นๆ อะลัยฮิมุสสะลาม ซึ่งเป็นเพราะว่าประชาชาตินี้ถูกส่งมาเพื่อการดะอฺวะฮฺไปสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา และบรรดานบี อะลัยฮิมุสสะลาม ทั้งหลายคือแบบอย่างของประชาชาตินี้

    ดะอฺวะฮฺตั้งแต่วันแรก

    ระหว่างการประทานวะหฺยูในเรื่องของอีมานและในเรื่องของหุกมต่างๆมีช่วงเวลาที่ว่างเว้นยาวนาน แต่กลับไม่มีช่วงว่างเว้นระหว่างเรื่องของอีมานและการดะอฺวะฮฺ นั่นก็เป็นเพราะว่า ประชาชาตินี้ถูกส่งมาเพื่อการดะอฺวะฮฺเหมือนบรรดานบีทุกคน

    นบีทุกคนได้สั่งสอนประชาชาติของพวกเขาในเรื่องของหุกมต่างๆหลังจากที่ได้สั่งสอนพวกเขาด้วยเรื่องของอีมานมาก่อนแล้ว แต่ตรงกันข้ามอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ส่งท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และพระองค์ได้สั่งสอนในเรื่องการดะอฺวะฮฺทันทีหลังจากที่ได้สั่งสอนในเรื่องของอีมาน และต่อมาก็ได้สั่งสอนประชาชาติของท่านในเรื่องของหุกมต่างๆในศาสนา ณ เมืองมะดีนะฮฺ นั่นเป็นเพราะประชาชาติที่ถูกส่งมาเพื่อให้ทำหน้าที่เสมือนบรรดานบีทุกคน

    การดะอฺวะฮฺคือความรับผิดชอบของมุสลิมทุกคน

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้คัดเลือกประชาชาติของนบีมุฮัมมัดจากประชาชาติทั้งหมด อัลลอฮฺได้ยกย่องและเทิดเกียรติพวกเขาด้วยศาสนาอิสลามและการดะอฺวะฮฺ การดะอฺวะฮฺจึงเป็นสิ่งวาญิบเหนือมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคนตามแต่ความสามารถและความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่ การดะอฺวะฮฺเป็นความรับผิดชอบของประชาชาตินี้ นั่นเป็นเพราะการดะอฺวะฮฺคือความต้องการของประชาชาตินี้อีกเช่นกัน

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า

    (ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ) [يوسف / 108 ].

    ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺ อย่างประจักษ์แจ้งทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน และมหาบริสุทธิ์ยิ่งแห่งอัลลอฮฺ และฉันมิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี” (ยูซุฟ : 108)

    และหลักฐานนี้เป็นหลักฐานที่รอบคลุม ทั้งในเรื่องของวันเวลา ไม่ว่าเวลากลางวันและกลางคืน

    ในเรื่องของสถานที่ ไม่ว่าทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก

    ในเรื่องของเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับหรือชนชาติอื่นๆ

    ในเรื่องของเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง

    ในเรื่องของอายุ ไม่ว่าจะมีอายุน้อยหรืออายุมาก คนแก่หรือวัยรุ่น

    ในเรื่องของสีผิว ไม่ว่าจะเป็นคนผิวขาวหรือผิวดำ หรือผิวเหลืองก็ตาม

    ในเรื่องสถานะทางชนชั้น แม้จะเป็นเจ้าหรือนายคนหรือผู้มีสถานะเป็นผู้รับใช้คนอื่น หรือผู้ร่ำรวยมากมายเงินทอง หรือยาจกไม่มีอันจะกิน

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า

    (ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ) [إبراهيم / 52 ].

    ความว่า “นี่คือการเชิญชวนแก่มวลมนุษย์ เพื่อพวกเขาได้จะถูกเตือนด้วยการเชิญชวนดังกล่าว และเพื่อพวกเขาจะได้รู้ว่า แท้จริงพระองค์คือพระเจ้าผู้ทรงเอกะและเพื่อบรรดาผู้มีสติจะได้ตระหนัก” (อิบรอฮีม : 52)

    3.ท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวในวันอีฎิลอัฎฮาในช่วงฮัจญ์วะดาอฺซึ่งเป็นการกล่าวคุฏบะฮฺให้กับเศาะหาบะฮฺของท่านผู้ซึ่งเป็นที่ศรัทธาต่อท่านทุกคน เศาะหาบะฮฺของท่านมีทั้งที่เป็นชาวอาหรับและมิใช่อาหรับ มีทั้งชายและหญิง ผิวขาวและผิวดำ คนรวยและคนจน เจ้านายและผู้ที่เป็นทาส ว่า

    «لِيُبَلِّغِ الشَّاهِدُ الغَائِبَ، فَإنَّ الشَّاهِدَ عَسَى أَنْ يُبَلِّغَ مَنْ هُوَ أَوْعَى لَـهُ مِنْـهُ».

    ความว่า : “พึงทราบเถิดว่าผู้ที่ได้ยินคำพูดของฉัน(คือผู้ที่อยู่ใกล้)จากพวกท่านจำเป็นต้องเผยแพร่ให้กับคนที่ไม่ได้ยินคำพูดของฉัน(คือ ผู้ที่อยู่ไกล) ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ผู้ที่ได้ยินคำพูดของฉันของฉัน อาจจะเป็นไปได้ว่า เขาจะเผยแพร่แก่ผู้ที่มีความใจมากกว่าเขา” [บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่: 67 และสำนวนหะดีษเป็นของท่าน, และมุสลิม เลขที่: 1679]

    4. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ได้กล่าวว่า)ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «بَلِّغُوا عَنِّي وَلَوْ آيَةً، وَحَدِّثُوا عَنْ بَنِي إسْرَائِيلَ وَلا حَرَجَ، وَمَنْ كَذَبَ عَلَيَّ مُتَعَمِّداً فَلْيَتَـبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنَ النَّارِ».

    ความว่า“ท่านทั้งหลายจงเผยแผ่สิ่งที่ได้จากฉัน แม้เพียงหนึ่งอายะฮฺ (เพียงเล็กน้อย) และจงรายงาน(เล่าเรื่องราวต่างๆ) จากบนีอิสรออีลโดยไม่ต้องกังวลใดๆ ผู้ใดโกหกต่อฉัน เขาจงเตรียม ที่พำนักของเขาในไฟนรก”( บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษที่ 3461)

    ท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทุ่มเทความพยายามอุตสาหะเพื่อเชิดชูกะลิมะตุลลอฮฺ(ศาสนาอิสลาม)และเผยแผ่เพื่อให้พวกเราไดรับทางนำทั่วกัน ดั่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า

    (ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ) [العنكبوت/ 69].

    ความว่า “และบรรดาผู้ต่อสู้ดิ้นรนในหนทางศาสนา แน่นอนเราจะชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเขาสู่ทางของเรา และแท้จริงอัลลอฮฺทรงอยู่ร่วมกับผู้กระทำความดีทั้งหลาย” (อัลอันกะบูต : 69)

    แก่นแท้ของการมุญาฮะดะฮฺ (ต่อสู้) ในหนทางของอัลลอฮฺ

    การมุญาฮะดะฮฺในหนทางของอัลลอฮฺ ก็คือ การทุ่มเทพละกำลังเพื่อการทำงานและปฏิบัติศาสนกิจให้สมบูรณ์ด้วยการทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง และยืนหยัดบนเส้นทางนี้จนกว่าชีวิตจะหาไม่

    สิ่งที่สำคัญที่สุด ณ อัลลอฮฺ ตะอาลา สำหรับมนุษย์ คือ การได้รับทางนำจากพระองค์ อัลลอฮฺจะไม่ประทานให้ในสิ่งนี้แก่ผู้ใดนอกจากกลุ่มมนุษย์ที่พระองค์ทรงเลือกโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นผู้ที่ไขว่คว้าหาและทุ่มเทเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนี้ และผู้ใดที่อัลลอฮฺได้ทรงสอนให้คือผู้ที่คู่ควรจะได้ทางนำดังกล่าว พวกเขาคือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เพราะเหตุนี้อัลลอฮฺได้สั่งให้เราพยายามขอจากพระองค์ในสิ่งนี้ถึงวันละ17 ครั้งทุกวันในละหมาด 5 เวลา อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า

    (ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳﭴ) [الفاتحة /6-7 ].

    ความว่า “ขออัลลอฮฺทรงชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องเที่ยงตรงแก่พวกเราด้วยเถิด แนวทางที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของพวกที่ถูกกริ้วและมิใช่แนวของพวกที่หลงผิด ” (อัลฟาติฮะฮฺ : 6-7)

    การทุ่มเทพละกำลังทั้งหมดเพื่อเชิดชูศาสนาอิสลามให้สูงส่ง

    การทุ่มเทพละกำลังทั้งหมดเพื่อเชิดชูศาสนาอิสลามให้สูงส่งมีด้วยกัน 3 ระดับขั้น

    1.การทุ่มเทความจริงจังทั้งหมดเพื่อเชิญชวนบรรดากาฟิรฺ ซึ่งเราหวังว่าพวกเขาเหล่านั้นจะได้รับทางนำจากอัลลอฮฺ

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า

    (ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ) [السجدة / 3 ].

    ความว่า “...แต่ว่าคัมภีร์นี้คือสัจธรรมจากพระเจ้าของเจ้า เพื่อเจ้าจักได้กลุ่มชนหนึ่งที่มิได้มีผู้ตักเตือนคนใดมายังพวกเขาก่อนหน้าเจ้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง” (อัสสัจญ์ดะฮฺ : 3)

    2.การทุ่มเทกำลังวังชาทั้งหมดเพื่อเชิญชวนผู้ที่อยู่กับการทำความผิดและสิ่งที่อัลลอฮฺทรงโกรถกริ้ว เผื่อว่าเขาจะหันมาเคารพภักดีอัลลอฮฺ การเชิญชวนผู้ที่หลงลืมเผื่อว่าเขาจะหวนมารำลึกถึงอัลลอฮฺอีกครั้ง

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

    (ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ) [آل عمران /104 ].

    ความว่า “และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้าซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดี และใช้ให้กระทำในสิ่งที่ชอบ และห้ามปรามมิให้กระทำสิ่งที่มีชอบ และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ” (อาละอิมรอน : 104)

    3.การทุ่มเทพละกำลังทั้งหมดเพื่อเชิญชวนผู้ที่ทำความดีอยู่แล้วเพื่อให้เขาทำในความดีเพิ่มขึ้นและสามารถเชิญชวนคนอื่นให้เป็นคนดีด้วย ผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺเพื่อให้เขาเพิ่มศักยภาพเป็นผู้ให้ความรำลึกแก่คนอื่น

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า

    (ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) [العصر /1-3 ].

    ความว่า “ขอสาบานด้วยกาลเวลา(1) แท้จริงมนุษย์นั้น อยู่ในการขาดทุน(2) นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย และตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน ” (อัล-อัศรฺ : 1-3)

    และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวอีกว่า

    (ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ) [الغاشية / 21 ].

    ความว่า “ดังนั้นจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น” (อัลฆอชิยะฮฺ : 21)

    หลังจากที่บรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุม ได้รู้ว่า การดะอฺวะฮฺเป็นสิ่งที่วาญิบเหนือมุสลิมทุกคนและรู้ถึงความประเสริฐของการดะอฺวะฮฺแล้ว พวกเขาก็แข่งกันในการลงสนามของการดะอฺวะฮฺ การสั่งสอน และมุญาฮะดะฮฺเพื่อเชิดชูอิสลามให้สูงขึ้นและเผยแผ่ศาสนาอิสลามอย่างจริงจังเพื่อให้ศาสนาแผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลก พวกเขาได้นำเสนอดะอฺวะฮฺต่อผู้คนอย่างชาญฉลาดรอบคอบและใช้วิธีการที่ดีที่สุด ในจิตใจของพวกเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักและความจริงใจต่อผู้คนที่พวกเขาดะอฺวะฮฺ ความเท็จจริงดังกล่าวนี้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปตามที่ถูกบันทึกในคลังตำราหะดีษและอัตชีวประวัติ

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า

    (ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ) [النحل / 125 ].

    ความว่า “จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสู้เจ้าโดยสุขุมรอบคอบ(และชาญฉลาด) และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นพระองค์ทรงรอบรู้ยิ่งถึงผู้ที่หลงจากทางของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง” (อันนะหฺลิ : 125)

    การดะอฺวะฮฺวาญิบเหนือมุสลิมทุกคน

    การเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา มีหุกมวาญิบเหนือมุสลิมทุกคนตามความรู้และความสามารถที่ตัวเองมีอยู่

    ผู้ที่ถูกเรียกว่ามุสลิมมี 2 ประเภท

    1.ผู้รู้ที่สามารถอธิบายและเข้าใจสัจธรรมแห่งอิสลามด้วยตนเอง และเขายังเชิญชวนผู้คนให้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา ดั่งที่ผู้มีอิมานท่านหนึ่งที่เป็นพรรคพวกของฟิรฺอาวนฺได้กล่าวว่า

    (ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ) [غافر / 38-39 ].

    ความว่า “และผู้ศรัทธากล่าวว่า โอ้หมู่ชนของฉันเอ๋ย จนปฏิบัติตามฉัน ฉันจะชี้แนะแนวทางแก่พวกท่านสู่ทางแห่งสัจธรรม(38) โอ้หมู่ชนของฉันเอ๋ย แท้จริงชีวิตแห่งโลกนี้เป็นเพียงความเพลิดเพลิงเท่านั้น และแท้จริงในวันอะคีเราะฮฺนั้นมันเป็นที่อยู่คงกระพันนิรันดร(39) (ฆอฟิรฺ : 38-39)

    2.ผู้ที่เป็นมุสลิมแต่ไม่ได้เป็นผู้รู้ เขาก็จะเป็นผู้ที่เชิญชวนคนอื่นให้ปฏิบัติตามเราะสูลและอุละมาอ์ ดั่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวถึงศอหิบยาซีนว่า

    (ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮﮯ) [يس / 20- 21 ]

    ความว่า “และมีชายคนหนึ่งจากสุดหัวเมืองใต้มาอย่างรีบเร่ง เขากล่าวว่า โอ้หมู่ชนของฉันเอ๋ย จนปฏิบัติบรรดาศาสนทูตเหล่านี้เถิด(1) พวกท่านจงปฏิบัติตามผู้ที่มิได้เรียกร้องรางวัลใดๆจากพวกท่าน และพวกเขาเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง” (ยาซีน : 20-21)

    เรามุสลิมทุกคนต้องมีหน้าที่ดะอฺวะฮฺหรือเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺและแนวทางที่เที่ยงตรง เพื่อที่พวกเขาจะเคารพภักดีอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียวโดยที่ไม่มีการตั้งภาคีใดๆกับพระองค์ ดังนั้นผู้รู้จึงเข้าใจในศาสนาด้วยตัวเอง สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ก็จะเชิญชวนผู้คนให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามอุละมาอ์ผู้ที่มีความรู้ที่สามารถเข้าใจในศาสนามากที่สุดในบรรดามนุษย์ทุกคน

    การดะอฺวะฮฺคืองานของประชาชาติมุสลิมทุกคน

    การเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺเป็นภาระหน้าที่ของประชาชาติมุสลิมทุกคน แต่การวินิจฉัยในปัญหาต่างๆ ใครที่เป็นผู้รู้ก็สามารถที่จะวินิจฉัยหุกมต่างๆเหล่านี้ได้ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่เป็นผู้รู้ก็ชี้แนะแนวทางแก่ผู้ที่ต้องการในความรู้เรื่องหุกมต่างๆไปสู่อุละมาอ์หรือผู้รู้ที่อัลลอฮฺได้เลือกให้เขามีความรู้และสามารถให้การวินิจฉัยหุกมต่างๆ ความเข้าใจและความจำดีแก่พวกเขา ผู้ที่ชี้แนะแนวทางไปสู่ความดีก็เสมือนเป็นผู้กระทำในความดีนั้น บรรดาศอหาบะฮฺพายามผลักดันซึ่งกันและกันในหมู่พวกเขาในการรับหน้าที่วินิจฉัยในปัญหาต่างๆ ผู้ที่ทำหน้าที่วินิจฉัยหุกมในหมู่ศอหาบะฮฺสามารถนับได้ด้วยนิ้วมือ เช่น มุอาซ, อะลี, ซัยดฺ อิบนุ ษาบิต, อับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส และเศาะหาบะฮฺท่านอื่นๆ

    การวินิจฉัยหุก่มมิได้เปิดกว้างสำหรับคนทุกคน แต่การดะอฺวะฮฺจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องปฏิบัติตามความรู้ที่ตัวเองมี อย่างน้อยที่สุดแม้จะด้วยหนึ่งอายะฮฺก็ตาม

    อุละมาอ์และฟุเกาะฮาอ์คือผู้สันทัดในเรื่องการวินิจฉัยหุก่ม ดั่งที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) [النحل / 43 ].

    ความว่า “และเรามิได้ส่งผู้ใด(ศาสนทูต)ก่อนหน้าเจ้า(มุหัมมัด) นอกจากเป็นผู้ชายที่เราได้วะฮีย์แก่พวกเขา ดังนั้นพวกเจ้าจงถามบรรดาผู้รู้หากพวกเจ้าไม่รู้” (อันนะหฺลิ : 43)

    การดะอฺวะฮฺ การเชิญชวนผู้คนทำความดี และห้ามการทำชั่ว เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน และทุกคนทำหน้าที่ดังกล่าวนี้ตามความรู้ความสามารถและความเข้าใจที่ตัวเองมี บรรดาศอหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺในช่วงแรกๆของศาสนาอิสลามก่อนที่หุกมละหมาด ซะกาต ศิยามและอื่นๆจะถูกประทานลงมา ข้อดีของประชาชาตินี้คือการทุ่มเทความพยายามอุตสาหะเพื่อการเชิดชูกะลิมะตุลลอฮฺบนหน้าแผ่นดิน และการงานที่มีประสิทธิภาพมิใช่ด้วยจำนวนนับที่มากมาย

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

    (ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ) [يوسف / 108 ].

    ความว่า “ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺ อย่างประจักษ์แจ้งทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน และมหาบริสุทธิ์ยิ่งแห่งอัลลอฮฺ และฉันมิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี” (ยูซุฟ : 108)

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสอีกว่า

    (ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ) [التوبة / 71 ].

    ความว่า “และบรรดามุอฺมินชายและบรรดามุอฺมินหญิง บางส่วนของพวกเขาต่างวะลาอฺ(ช่วยเหลือเกื้อกูลและรัก)ซึ่งกันและกัน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชอบและห้ามปรามในสิ่งที่มิชอบ และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ ชนเหล่านั้นแหละอัลลอฮฺจะทรงเอ็นดูเมตตาแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัตตเตาบะฮฺ : 71)

    บทลงโทษสำหรับการละเลยดะอฺวะฮฺ

    1. สิ่งแรกที่จะหายออกไปจากวิญญาณของประชาชาติมุสลิม นั่นก็คือ ความจริงจังในการดะอฺวะฮฺ ต่อมาก็จะเป็นความทุ่มเทในการดะอฺวะฮฺ และต่อมาก็คือความอยากมีชีวิตที่เรียบง่าย บรรดาศัตรูอิสลามได้มีความพยายามที่จะเอาคุณสมบัติเหล่านี้ออกจากชีวิตของมุสลิมให้หมดไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมีผลเกินคาด นั่นก็คือ ความจริงจังและความทุ่มเทในการไขว่คว้าหาโลกแห่งวัตถุได้มาแทนที่ ในปัจจุบันมุสลิมพยายามที่จะมีชีวิตอยู่อย่างหรูหรา สะดวกสบาย สังคมมุสลิมในปัจจุบันมีความเกลียดชังในเรื่องของซินา ดอกเบี้ยและการดื่มเหล้า แต่สังคมมุสลิมไม่มีปฏิกิริยาใดๆในเรื่องของการละเลยการดะอฺวะฮฺไปสู่สัจธรรมแห่งอิสลามและการดะอฺวะฮฺได้หลุดออกไปจากชีวิตของมุสลิม

    2. ในสมัยที่ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุม ยังมีชีวิตอยู่อิบาดะฮฺและการดะอฺวะฮฺเป็นหน้าที่ของทุกคน และเมื่อเวลาได้ล่วงเลยมา สิ่งที่เป็นหน้าที่สำหรับทุกคนคือการทำอิบาดะฮฺเท่านั้น ส่วนการดะอฺวะฮฺได้กลายเป็นหน้าที่ของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ ประชาชาติในช่วงหลังจะไม่กลับมาดีขึ้น นอกจากประชาชาติมุสลิมจะหวนกลับมาเหมือนสมัยแรกของอิสลาม

    สิ่งที่วาญิบเหนือมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคน

    สิ่งที่วาญิบเหนือมุสลิมทุกคนมีอยู่ 2 อย่าง

    1. สิ่งที่วาญิบสิ่งแรก การทำงานในเรื่องของศาสนา นั่นก็คือ การทำอิบาดะฮฺเพื่ออัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียวโดยที่ไม่ได้ตั้งภาคีกับสิ่งใดต่อพระองค์ และการภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะสูล และปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮฺได้สั่งให้ปฏิบัติทำ และหลีกห่างในสิ่งที่อัลลอฮฺได้สั่งให้ออกห่าง

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

    ( ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ) [النساء / 36 ].

    ความว่า “และพวกเจ้าจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และจงอย่าให้มีสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์” (อันนิซาอฺ : 36)

    และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสอีกว่า

    (ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ) [الأنفال / 20 ].

    ความว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เถิด และพวกเจ้าจงอย่าได้หันหลังให้เขาในขณะที่พวกเจ้าฟังกันอยู่” (อัล-อันฟาล : 20)

    2. สิ่งที่วาญิบข้อที่สอง คือ การดะอฺวะฮฺไปสู่อัลลอฮฺ การเชิญชวนผู้คนไปสู่ความดี และการห้ามปรามจากการกระทำความชั่วความไม่ดีไม่งามต่างๆ

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

    (ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ) [آل عمران / 104 ].

    ความว่า “และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้าซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดี และใช้ให้กระทำในสิ่งที่ชอบ และห้ามปรามมิให้กระทำสิ่งที่มีชอบ และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ” (อาละอิมรอน : 104)

    และหะดีษที่รายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ (ได้กล่าวว่า)ท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «بَلِّغُوا عَنِّي وَلَو آيَةً».

    ความว่า “ท่าน ทั้งหลายจงเผยแผ่จากฉัน แม้เพียงหนึ่งอายะฮฺ(เพียงเล็กน้อย) (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 3461)

    และหะดีษที่รายงานโดยอะบีสะอีด อัล-คุฎรีย์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَراً فَلْيُـغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإنْ لَـمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِـهِ، فَإنْ لَـمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِـهِ، وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإيمَانِ».

    ความว่า “ผู้ใดในหมู่ท่านเห็นสิ่งไม่ดีไม่ถูกต้อง เขาก็จงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของเขา หากเขาไม่มีความสามารถ (ที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยมือ) ก็ให้เขาเปลี่ยนมันด้วยคำพูดของเขา หากเขาไม่มีความสามารถ (ที่จะเปลี่ยนด้วยคำพูด) ก็ให้เขาเปลี่ยน (ปฏิเสธ) มันด้วยใจของเขา และนั่นก็ถือเป็นขั้นต่ำสุดของระดับอีมาน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 49 )

    แนวคิดในการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้รับซื้อชีวิตและทรัพย์สินของบรรดาผู้ศรัทธา และได้ให้สัญญาแก่พวกเขาด้วยสวนสวรรค์ ด้วยเหตุนี้มุสลิมจึงต้องใช้เวลาที่มีอยู่ทั้งหมดเหมือนกับการใช้เวลาของท่าน นบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ดังนั้นมุสลิมจึงต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งเพื่อปฏิบัติทำในสิ่งที่อัลลอฮฺได้กำหนดให้เป็นสิ่งฟัรฺฎูสำหรับพวกเขา และปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺในทุกสถานการณ์ในทุกๆวัน เช่น การใช้เวลาในการเอาน้ำวุฎูอฺ การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน และการใช้เวลาส่วนอื่นๆของชีวิต และมุสลิมต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งเพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพ และเวลาส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเวลาส่วนใหญ่ใช้ในการเชิญชวนผู้คนไปสู่แนวทางแห่งสัจธรรมเพื่อที่พวกเขาจะได้กราบไหว้และเคารพภักดีอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว เมื่อเขามีเวลาว่างหรือไม่มีเวลาพอสำหรับใช้เวลาส่วนนั้นเพื่อการดะอฺวะฮฺก็ใช้เวลาเพื่อเรียนรู้สิ่งต่างๆเพื่อเป็นเสบียงสำหรับเขาหรือเอาเวลาส่วนนั้นไปอบรมสั่งสอนบรรดามุสลิมในเรื่องของหุกมต่างๆในศาสนา

    เมื่อมีเวลาว่าง หรือไม่มีใครมีเวลาพอที่จะให้เขาอบรมสั่งสอน เขาก็ใช้เวลาที่มีอยู่ไปช่วยเหลือเพื่อนมุสลิมตามที่เขาต้องการความช่วยเหลือ ช่วยเหลือในความดีและในความยำเกรง

    หรือเมื่อมีเวลาว่าง และไม่สามารถทำในสิ่งดังกล่าวทั้งหมดนั้นได้ เขาก็ใช้เวลาที่มีอยู่ด้วยการทำอิบาดะฮฺ เช่น การละหมาดสุนัตมุฏลักฺ การอ่านอัลกุรอาน อ่านอัซการฺ และอิบาดะฮฺอื่นๆที่อัลลอฮฺทรงชอบและถือเป็นการงานที่ดี เช่นนี้แหละคือการนำเสนอสิ่งดีๆที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมุสลิมในภาพรวมในทุกวันเวลาและทุกสถานที่

    กลุ่มประเภทของผู้ที่ถูกเชิญชวน

    มนุษย์มีความแตกต่างและหลากหลายตามแต่ตัวบุคคลแต่ละคน ความแตกต่างที่มาจากของความรู้และการงานที่ปฏิบัติอยู่ของแต่ละคน ดังนั้นการดะอฺวะฮฺพวกเขาเหล่านี้จึงมีความแตกต่างไปด้วย ความแตกต่างในการดะอฺวะฮฺพวกเขาสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆดังนี้

    1. ผู้ที่ถูกเชิญชวนมีอีมานที่อ่อนและไม่มีความรู้ในเรื่องของหุกมในศาสนาอิสลาม

    ผู้ที่เป็นดาอีย์หรือผู้ที่เชิญชวนผู้คนเหล่านี้ต้องมีความอดทนในการที่จะได้รับสิ่งไม่ดีต่างๆที่มาจากเขาและค่อยดะอฺวะฮฺเขา และสั่งสอนเขาด้วยกิริยามารยาทที่ดีงามและอ่อนโยน และชี้แนะเขาด้วยกิริยาที่นอบน้อม ดั่งเช่นที่นบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เคยปฏิบัติต่อชาวอาหรับชนบทคนหนึ่งในหะดีษที่รายงานมาจากท่านอับบาส เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุม ได้กล่าวว่า

    بَيْنَمَا نَحْنُ فِي المَسْجِدِ مَعَ رَسُولِ الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إذْ جَاءَ أعْرَابِيٌّ، فَقَامَ يَبُولُ فِي المَسْجِدِ، فَقَالَ أصْحَابُ رَسُولِ الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: مَهْ مَهْ. قال: قال رَسُولُ الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «لا تُزْرِمُوهُ، دَعُوهُ». فَتَرَكُوهُ حَتَّى بَالَ. ثُمَّ إنَّ رَسُولَ الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ دَعَاهُ فَقَالَ لَـهُ: «إنَّ هَذِهِ المَسَاجِدَ لا تَصْلُـحُ لِشَيْءٍ مِنْ هَذَا البَوْلِ وَلا القَذَرِ، إنَّمَا هِيَ لِذِكْرِ الله عَزَّ وَجَلَّ، وَالصَّلاةِ، وَقِرَاءَةِ القُرْآنِ». أوْ كَمَا قال رَسُولُ الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، قال: فَأمَـرَ رَجُلاً مِنَ القَوْمِ، فَجَاءَ بِدَلْوٍ مِنْ مَاءٍ، فَشَنَّـهُ عَلَيْـهِ.

    ความว่า : ในขณะที่พวกเราอยู่ในมัสญิดร่วมอยู่กับท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในมัสญิด ก็มีชายชาวชนบท(ชายชาวเบดูอิน)คนหนึ่งได้เข้ามาในมัสญิด และได้ปัสสาวะ(ที่มุมหนึ่ง)ในมัสญิด บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลก็พากันกล่าว มะฮฺ มะฮฺ (เป็นการกล่าวห้าม) ท่านนบีได้กล่าว(เป็นการปรามบรรดาเศาะหาบะฮฺ)ว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามให้เขาหยุดจากการปัสสาวะ ปล่อยให้เขาทำภาระกิจของเขาต่อไปให้เสร็จ” บรรดาเศาะหาบะฮฺจึงปล่อยให้ชายผู้นั้นทำภารกิจ(ปัสสาวะ)ต่อไปจนเสร็จ หลังจากนั้นท่านนบีจึงได้เรียกชายผู้นั้น แล้วจึงกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า “ในมัสญิดเช่นนี้เป็นสถานที่ไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับน้ำปัสสาวะและอื่นใดที่เป็นสิ่งสกปรก” หากแต่ว่ามัสญิดเป็นสถานที่สำหรับการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ตะอาลา การละหมาด การอ่านอัลกุรอาน” หรือเช่นดังกล่าวนี้ที่ท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะวัลลัม ได้กล่าวขึ้น ท่านอับบาส ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ได้สั่งชายผู้หนึ่งในบรรดาเศาะหาบะฮฺ(ไปเอาน้ำ) ชายผู้นั้นได้นำภาชนะที่มีน้ำมา แล้วได้เทชำระล้างสถานที่(ที่ชายชาวชนบทได้ปัสสาวะให้หมดไป)(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 219 และมุสลิม หะดีษที่ 285 สำนวนหะดีษเป็นของมุสลิม)

    2.ผู้ที่มีอีมานที่อ่อนแอแต่มีความรู้ในเรื่องของหุกมศาสนาดี

    ผู้ที่ถูกดะอฺวะฮฺที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้จำเป็นที่จะต้องเชิญชวนเขาด้วยวิธีที่รอบคอบและชาญฉลาด และแนะแนวด้วยวิธีที่ดี การเชิญชวนเพื่อพวกเขาจะได้มีอิมานเพิ่มขึ้น และกลับมาภักดีอัลลอฮฺและขออภัยโทษจากอัลลอฮฺในสิ่งตัวเองได้ทำผิดไป

    จากท่านอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ ได้เล่าว่า

    إنَّ فَتىً شَابّاً أَتَى النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، فَقَالَ: يَا رَسُولَ الله، ائْذَنْ ِلي بِالزِّنَى، فَأَقْبَلَ القَوْمُ عَلَيْـهِ فَزَجَرُوهُ، قَالُوا: مَهْ مَهْ، فَقَالَ: «ادْنُـهْ» فَدَنَا مِنْـهُ قَرِيبًا، قَالَ: فَجَلَسَ، قَالَ: «أَتُـحِبُّـهُ لأُمِّكَ؟» قَالَ: لَا وَالله جَعَلَنِي الله فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلَا النَّاسُ يُـحِبُّونَـهُ لأُمَّهَاتِـهِـمْ»، قَالَ: «أَفَتُـحِبُّـهُ لاِبْنَتِكَ؟».قَالَ: لَا وَالله يَا رَسُولَ الله جَعَلَنِي الله فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلا النَّاسُ يُـحِبُّونَـهُ لِبَنَاتِـهِـمْ»، قَالَ: «أَفَتُـحِبُّـهُ لأُخْتِكَ؟» قَالَ: لَا وَالله جَعَلَنِي الله فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلا النَّاسُ يُـحِبُّونَـهُ لأَخَوَاتِـهـمْ»، قَالَ: «أَفَتُـحِبُّـهُ لِعَمَّتِكَ؟» قَالَ: لَا وَالله جَعَلَنِي الله فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلا النَّاسُ يُـحِبُّونَـهُ لِعَمَّاتِـهِـمْ»، قَالَ: «أَفَتُـحِبُّـهُ لِـخَالَتِكَ؟» قَالَ: لَا وَالله جَعَلَنِي الله فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلَا النَّاسُ يُـحِبُّونَـهُ لِـخَالَاتِـهِـمْ»، قَالَ: فَوَضَعَ يَدَهُ عَلَيْـهِ وَقَالَ: «اللَّـهُـمَّ اغْفِرْ ذَنْبَـهُ، وَطَهِّرْ قَلْبَـهُ، وَحَصِّنْ فَرْجَهُ». قال: فَلَـمْ يَكُنْ بَـعْدُ ذَلِكَ الفَتَى يَلْتَفِتُ إلَى شَيْءٍ.

    ความว่า “เด็กหนุ่มคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และกล่าวว่า “โอ้เราะสูลของอัลลอฮฺ อนุญาตให้ฉันทำซินาเถิด" ผู้คนได้หันกลับมามองเขา ได้ขับไล่เขา พวกเขาได้ส่งเสียงว่า “มะฮฺ มะฮฺ”(แสดงความไม่พอใจ) ท่านนบีกล่าวว่า “เข้ามาใกล้ๆซิ” เมื่อเขาเข้ามาใกล้ๆ ท่านนบีได้บอกกับเขาว่า “นั่งลงซิ" เมื่อเขานั่งลงท่านได้ถามเด็กหนุ่มคนนี้ว่า “เจ้าพอใจจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับมารดาของเจ้าหรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีได้กล่าวว่า "ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะเกิดเรื่องนี้กับมารดาของพวกเขาเช่นเดียวกัน"

    ท่านนบีได้ถามต่อว่า “เจ้ารักที่จะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับบุตรสาวของเจ้าหรือไม่?" เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ โอ้เราะสูลของอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีได้กล่าวว่า "ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะให้เกิดเรื่องนี้กับบุตรสาวของพวกเขาเช่นเดียวกัน"

    ท่านนบีได้ถามต่อไปว่า “เจ้าพอใจจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของเจ้าหรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีได้กล่าวว่า "ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะให้เกิดเรื่องนี้กับพี่สาวหรือน้องสาวของพวกเขาเช่นเดียวกัน"

    ท่านนบีได้ถามต่อไปว่า “เจ้าพอใจจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของพ่อของเจ้าหรือไม่?”เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีได้กล่าวว่า "ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะเกิดเรื่องนี้พี่สาวหรือน้องสาวของพ่อของพวกเขาเช่นเดียวกัน"

    ท่านนบีได้ถามต่อไปว่า “เจ้าพอใจจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของแม่ของเจ้าหรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีได้กล่าวว่า "ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะเกิดเรื่องนี้พี่สาวหรือน้องสาวของแม่ของพวกเขาเช่นเดียวกัน"

    จากนั้นท่านนบีได้วางมือของท่านบนตัวเขา แล้วท่านกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ โปรดอภัยให้กับความบาปของเขา โปรดชำระหัวใจของเขาให้สะอาด และโปรดรักษาความบริสุทธ์ของเขาด้วยเถิด"(หะดีษศอฮีหฺ บันทึกโดยอิมามอะหฺมัด หะดีษที่ 22564, และดูในหนังสือ อัสสิลสิละฮฺ อัศศอฮีฮะฮฺ หะดีษที่ 370)

    3.สำหรับผู้ที่มีอีมานแข็งแรงมั่นคงแต่ไม่มีความรู้ในเรื่องของหุกมศาสนา

    أنَّ رَسُولَ الله صلى الله عليه وسلم رَأى خَاتَـماً مِنْ ذَهَبٍ فِي يَدِ رَجُلٍ، فَنَزَعَهُ فَطَرَحَهُ وَقَالَ: «يَـعْمِدُ أحَدُكُمْ إلَى جَـمْرَةٍ مِن نارٍ فَيَـجْعَلُـهَا فِي يَدِهِ»، فَقِيلَ لِلرَّجُلِ بَـعْدَمَا ذَهَبَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم: خُذْ خَاتَـمَكَ انْتَفِعْ بِـهِ، قَالَ: لا، وَالله لا آخُذُهُ أبَداً وَقَدْ طَرَحَهُ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم.

    ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เห็นแหวนวงหนึ่งที่ทำมาจากทองบน(นิ้ว)มือของชายผู้หนึ่ง แล้วท่านนบีได้ถอดแหวนวงนั้นออก(จากมือของชายผู้นั้น)แล้วก็ขว้างทิ้ง พร้อมกับกล่าวว่า “พวกท่านคนใดคนหนึ่งจงใจที่จะหยิบเอาถ่านไฟที่มาจากนรก แล้วก็จัดไว้ให้อยู่ที่มือกระนั้นหรือ?” หลังจากที่ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกไปจึงมีผู้กล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า “เอาแหวนของเจ้าซิ แล้วก็ใช้ประโยชน์จากมัน” ชายผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นมาว่า “ไม่ ฉันขอสาบานด้วยอัลลอฮฺว่า ฉันจะไมเอาแหวนนั้นอีกตลอดไป เพราะท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขว้างทิ้งมันไปแล้ว” ) (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 2090)

    4.สำหรับผู้ที่มีอิมานแข็งแรงมั่นคงและก็มีความรู้ในเรื่องของหุกมศาสนาดี

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า

    (ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ) [التوبة / 118 ].

    ความว่า “และอัลลอฮฺทรงอภัยโทษให้แก่ชายสามคน (คือ กะอฺบฺ อิบนุ มาลิก มุรอเราะฮฺ อิบนุ อัรฺรอบีอฺ และหิลาล อิบนุ อุมัยยะฮฺ) ที่ไม่ได้ออกไปสงคราม จนกระทั่งแผ่นดินได้คับแคบแก่พวกเขาทั้งๆ ที่มันกว้างใหญ่ไพศาล และตัวของพวกเขาก็รู้สึกอึดอัดไปด้วย แล้วพวกเขาก็คาดคิดกันว่าไม่มีที่พึ่งอื่นใดเพื่อให้พ้นจากอัลลอฮฺไปได้ นอกจากกลับไปหาพระองค์ แล้วพระองค์ก็ทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้กลับเนื้อกลับตัวสำนึกผิดต่อพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเอ็นดูเมตตาเสมอ” (อัต-เตาบะฮฺ : 118)

    5.สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการศรัทธาและก็ไม่มีความรู้ในเรื่องของหุก่มด้วย

    أنَّ رَسُولَ الله صل الله عليه وسلم لَـمّا بَـعَثَ مُعاذاً رَضِيَ الله عَنْـهُ عَلَى اليَـمَنِ، قال: «إنَّكَ تَقْدَمُ عَلَى قَوْمٍ أهْلِ كِتابٍ، فَلْيَكُنْ أوَّلَ ما تَدْعُوهُـمْ إلَيْـهِ عِبَادَةُ الله، فَإذاَ عَرَفُوا الله، فَأخْبِرْهُـمْ أنَّ الله قَدْ فَرَضَ عَلَيْـهِـمْ خَـمْسَ صَلَوَاتٍ فِي يَوْمِهِـمْ وَلَيْلَتِـهِـمْ، فَإذَا فَعَلُوا، فَأخْبِرْهُـمْ أنَّ الله فَرَضَ عَلَيْـهِـمْ زَكاةً مِنْ أمْوَالِـهِـمْ، وَتُرَدُّ عَلَى فُقَرائِهِـمْ، فَإذَا أطاعُوا بِـهَا، فَخُذْ مِنْـهُـمْ، وَتَوَقَّ كَرَائِمَ أمْوَالِ النَّاسِ».

    ความว่า “เมื่อครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งท่าน มูอาซ อิบนิ ญะบัล ไปยังแคว้นเยเมน ท่านได้กำชับเขาว่า : “แท้จริงท่านกำลังมุ่งไปสู่กลุ่มชนหนึ่งซึ่งเป็นชาวคัมภีร์ ประการแรกที่ท่านต้องกระทำคือ ท่านต้องเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เมื่อพวกเขายอมรับในเรื่องดังกล่าวแล้ว ท่านก็จงบอกพวกเขาเถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงบัญญัติการละหมาดแก่พวกเขาในหนึ่งวันและหนึ่งคืน 5 เวลา เมื่อพวกเขาได้ปฏิบัติในสิ่งนี้แล้ว จงบอกแก่พวกเขาให้รับรู้ว่า อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงบัญญัติแก่พวกเขาให้จ่ายซะกาตจากทรัพย์สมบัติของเขา และแจกจ่ายให้แก่คนจนในหมู่พวกเขา เมื่อพวกเขาได้ยอมรับในสิ่งนี้ ก็จงเก็บ(ซะกาต)จากพวกเขา และจงปกปักรักษาเงินทองที่ดีของมนุษย์(มุสลิม)เอาไว้ ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษที่ 1458 และมุสลิม หะดีษที่ 19 สำนวนหะดีษเป็นของอัล-บุคอรีย์)

    ประเภทของนักดะอฺวะฮฺ

    ใครผู้ใดก็ตามที่ได้ลงสนามการดะอฺวะฮฺเพื่อนมนุษย์ อัลลอฮฺจะสั่งสอนและทดสอบเขาผู้นั้นด้วยความสุขสบายและความทุกข์ยาก และเขาอาจจะได้รับการช่วยเหลือและการสนับสนุนจากผู้คน หรืออาจจะได้รับการปฏิเสธและการเยาะเย้ยถากถางจากผู้ที่ถูกนำเสนอดะอฺวะฮฺ

    ประเภทของมุสลิมที่มีต่อการดะอฺวะฮฺของผู้ที่ทำการดะอฺวะฮฺ

    ประเภทของมุสลิมที่มีต่อการดะอฺวะฮฺของผู้ที่ทำการดะอฺวะฮฺ มี 2 ประเภทด้วยกัน

    ประเภทแรก การดะอฺวะฮที่มีผู้ตอบรับการเชิญชวนของเขา เสมือนที่ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้พบเจอในขณะที่ท่านทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺที่เมืองมะดีนะฮฺ และประเภทที่สอง คือ การดะอฺวะฮฺที่ผู้คนหันหลังให้ เหมือนกับที่ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้พบเจอในเมืองฏออีฟ เพราะอัลลอฮฺต้องการที่อบรมท่านนบี

    สถานการณ์ในประเภทแรก เป็นสถานการณ์ที่น่ากลัวยิ่งกว่า บางครั้งมนุษย์ได้ให้การตอบรับการเชิญชวนดังกล่าว เพราะมีเหตุแห่งผลประโยชน์ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลัง ในบางครั้งผู้ทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺได้ถูกเสนอตำแหน่งให้ หากเขาตอบรับในตำแหน่งที่เขาเสนอมาให้เขา ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นแก่เขา นอกจากผู้ที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานและปกป้องเขา เพราะชัยฏอนนั้นต้องการที่จะชักจูงนักเผยแผ่อิสลามให้ออกห่างจากศาสนาที่เที่ยงตรง เพื่อที่นักเผยศาสนาเหล่านั้นได้แต่หมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์แห่งโลกดุนยา ทรัพย์สินเงินทอง และตำแหน่งต่างๆ เหล่านั้น

    ส่วนในสถานการณ์ในประเภทที่สอง สถานการณ์ที่ผู้คนหันหลังและปฏิเสธการเชิญชวนของเขา ในบางครั้งอาจจะเป็นผลดีสำหรับผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลาม เพราะการปฏิเสธของผู้คนจะทำให้นักดะอฺวะฮฺมุ่งสู่อัลลอฮฺมากขึ้น ยอมจำนนตัวเอง และผูกพันกับอัลลอฮฺมากขึ้น และสิ่งนี้เองอาจจะเป็นสาเหตุให้เขาได้รับการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ ดั่งเช่น ที่ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้รับจากชาวฏออีฟหลังจากที่พวกเขาได้พากันขับไล่ท่านและดูหมิ่นเยาะเย้ยท่าน ท่านนบีจึงได้ดูอาต่ออัลลอฮฺขอความช่วยเหลือจากพระองค์ อัลลอฮฺจึงได้ช่วยเหลือท่านด้วยการส่งท่านมลาอิกะฮฺญิบรีลและมลาอิกะฮฺผู้ดูแลภูเขา และต่อมาก็ได้พาท่านนบีกลับมายังเมืองะดีนะฮฺด้วยความปลอดภัย และต่อมาอัลลอฮฺได้ให้ท่านได้อิสรออฺและแมะอฺรอจญฺ และต่อมาท่านก็ได้อพยพจากเมืองมักกะฮฺสู่เมืองมะดีนะฮฺและทำให้ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลกในที่สุด

    การบูรณาการเข้าด้วยกันระหว่างดุอาอ์และการดะอฺวะฮฺไปสู่อิสลาม

    บางครั้งท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขอดุอาต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เพื่อให้พระองค์ทรงลงโทษต่อชาวมุชรีกีนมักกะฮฺ และในบางครั้งท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขอดุอาเพื่อให้อัลลอฮฺทรงให้ทางนำแก่พวกเขา

    สำหรับในสถานการณ์แรก จะใช้ในช่วงเวลาที่มีการต่อต้านอย่างรุนแรงของบรรดามุชริกีน หรือการทำร้ายที่สาหัสสากัญเกินไปของบรรดามุชริกีนที่มีต่อมุสลิม เช่น การดุอาอ์ของท่านนบีให้อัลลอฮฺทรงลงโทษบรรดาพันธมิตรที่ร่วมสงครามค็อนดักที่ได้กระทำการไร้มนุษยธรรมต่อบรรดามุสลิมในขณะมุสลิมกำลังทำการละหมาด จากอะลี เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุม ได้กล่าวว่า

    لَمَّا كَانَ يَوْمُ الْأَحْزَابِ قَالَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم : «مَلَأَ اللهُ بُيُوتَهُمْ وَقُبُورَهُمْ نَارًا، شَغَلُونَا عَنْ الصَّلَاةِ الْوُسْطَى حَتَّى غَابَتْ الشَّمْسُ»

    ความว่า “ครั้นเมื่อสงครามค็อนดัก ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขอดุอาอ์แก่อัลลอฮฺว่า (โอ้...อัลลอฮฺ จนให้บ้านทีพักอาศัยและหลุมฝังศพของพวกเขาเต็มไปด้วยไฟที่ลุกโชน พวกเขาได้รังควานพวกเราไม่ให้เราสามารถทำการละหมาดได้ตั้งแต่ละหมาดอัศริจนถึงตะวันตกดิน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษที่ 2931 และมุสลิม หะดีษที่ 627 สำนวนหะดีษเป็นของอัล-บุคอรีย์)

    สำหรับในสถานการณ์ที่สอง ในสถานการณ์ที่ผู้เผยแผ่ศาสนายังมีความหวังจากการกลับใจเข้ามารับศาสนาอิสลามของผู้ที่ถูกเชิญชวน เพื่อให้จิตใจของพวกเขามีความรักต่อศาสนาอิสลาม

    ประเภทของผู้ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาอิสลาม

    ผู้ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาอิสลามในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆดังต่อไปนี้

    1.ผู้ที่ทำการดะอฺวะฮฺเพราะได้ซึมซับและได้รับอิทธิพลในกิริยามารยาทจากนักเผยแผ่อิสลามหรือนักดาอีย์ เขาจึงผันตัวเองเป็นนักดะอฺวะฮฺไปด้วย และเมื่อใดก็ตามที่เขามีปัญหากับนักเผยแผ่ศาสนาท่านอื่น เขาก็จะละทิ้งและจะหันหลังให้กับการดะอฺวะฮฺทันที และเขาก็จะเป็นปฏิปักษ์กับนักดาอีย์ไปโดยปริยาย อัลลอฮฺจะหันหลังให้เขา เพราะความตั้งใจของเขามีความบกพร่อง

    2.ผู้ที่ทำการดะอฺวะฮฺ เพราะเขาเห็นลู่ทางในการแก้ปัญหาที่เขาประสบอยู่ และสามารถตอบสนองความต้องการของเขา และเมื่อใดที่สถาพของเขาดีขึ้นกว่าเดิม และได้ครอบครองวัตถุแห่งโลกดุนยามากขึ้น เขาก็จะหันหลังให้กับการดะอฺวะฮฺทันที คนเช่นนี้อัลลอฮฺก็จะหันหลังให้กับเขาด้วยเช่นกัน เพราะการเข้ามามีส่วนร่วมในการดะอฺวะฮฺด้วยความตั้งใจที่บกพร่องด้วยเช่นกัน

    3.และจากผู้ที่นำตัวเองมาเป็นนักดะอฺวะฮฺบางคน อันด้วยสาเหตุที่เขาเล็งเห็นถึงผลประโยชน์และผลตอบแทนที่รออยู่ข้างหน้า กล่าวคือ เขาทำเพราะมองเห็นถึงตอบแทนที่เขาจะได้รับ เพราะฉะนั้นเป้าหมายของเขาคือผลประโยชน์ของตัวเองและเขาจะไม่สนใจถึงคนอื่น และเมื่อใดที่เขามองเห็นลู่ทางอื่นที่ให้ผลประโยชน์แก่เขามากกว่าและได้มาง่ายกว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการดะอฺวะฮฺ เขาก็จะละทิ้งการดะอฺวะฮฺไปทันที

    4.และผู้ที่ทำการดะอฺวะฮฺเพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ เขาได้ทำอิบาดะฮฺเพราะคำสั่งของอัลลอฮฺ เขาได้เชิญชวนผู้คนเพราะเป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นการนิยาตและความตั้งใจที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบ ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺจึงได้ให้เขามีจุดยืนที่มั่นคง และจะช่วยเหลือเขาและอัลลอฮฺจะให้เขาสามารถที่จะใช้ชีวิตในการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์และในการเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺต่อไป ซึ่งเป็นสถานภาพที่มีเกียรติยิ่ง