×
บทความที่ตอบความคลุมเครือบางประเด็น ซึ่งเป็นข้อสงสัยของบางกลุ่มที่โจมตีและทําลายภาพพจน์อันดีงามของอิสลาม เกี่ยวกับสิทธิทั่วไปของสตรีในอิสลาม คัดมาจากหนังสือ สถานะของสตรีภายใต้ร่มเงาอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ

    สิทธิทั่วไปของสตรีในอิสลาม

    ﴿حقوق المرأة العامة في الإسلام﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    อับดุรเราะห์มาน บิน อับดุลกะรีม อัช-ชีหะฮฺ

    แปลโดย : อิบนุรอมลี ยูนุส

    ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา, ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือฐานะของสตรีใต้ร่มเงาอิสลาม

    2010 - 1431

    ﴿حقوق المرأة العامة في الإسلام﴾

    « باللغة التايلاندية »

    عبدالرحمن بن عبدالكريم الشيحة

    ترجمة: ابن رملي يونس

    مراجعة: عصران إبراهيم ، صافي عثمان

    المصدر: كتاب المرأة في ظل الإسلام

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    สิทธิทั่วไปของสตรีในอิสลาม

    1- สตรีเหมือนกันกับบุรุษในด้านการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ เธอถูกสั่งใช้ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับบุรุษภายใต้ข้อบังคับใช้ต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น การละหมาด การเเจกจ่ายซะกาต (บริจาคทานบังคับ) การถือศีลอด การทําหัจญ์ เว้นแต่ที่อัลลอฮฺทรงยกเว้นบางสิ่งที่ได้บัญญัติไว้ เช่น การอนุญาตให้ไม่ต้องละหมาดหรือถือศีลอดในยามที่เธอมีประจําเดือน หรือ มีเลือดหลังคลอด เเล้วเธอก็ต้องชดใช้มันเมื่อใดที่เธอพ้นช่วงดังกล่าวไป การปฏิบัติต่อเธอในลักษณะนี้ไม่มีจุดประสงค์อันใดนอกจากเพื่อเคารพเเละยอมรับสภาพร่างกาย เเละจิตใจของเธอในยามที่เธอมีประจําเดือนหรือหลังคลอดบุตรใหม่ๆ นั่นเอง

    2- สตรีจะเท่าเทียมผู้ชายในด้านผลบุญ เเละการได้รับโทษในโลกนี้ เเละโลกหน้า อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

    ﴿مَنْ عَمِلَ صَالِحاً مِّن ذَكَرٍ أَوْ أُنثَى وَهُوَ مُؤْمِنٌ فَلَنُحْيِيَنَّهُ حَيَاةً طَيِّبَةً وَلَنَجْزِيَنَّهُمْ أَجْرَهُم بِأَحْسَنِ مَا كَانُواْ يَعْمَلُونَ﴾ (النحل : 97)

    “ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้” [1]

    3- สตรีและบุรุษมีความเท่าเทียมกันในฐานะของความเป็นมนุษย์ เธอไม่ใช่ที่มาเเห่งความผิดเเละบาปกรรม เธอไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้ศาสนทูตอาดัมต้องถูกขับออกจากสวนสวรรค์ เเละเธอไม่ใช่เพศที่ตํ่าต้อยกว่าเพศชายดังที่ผู้นับถือศาสนาอื่นกล่าวถึง อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

    ﴿يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُواْ رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُم مِّن نَّفْسٍ وَاحِدَةٍ وَخَلَقَ مِنْهَا زَوْجَهَا وَبَثَّ مِنْهُمَا رِجَالاً كَثِيراً وَنِسَاء وَاتَّقُواْ اللهَ الَّذِي تَسَاءلُونَ بِهِ وَالأَرْحَامَ إِنَّ اللّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيباً﴾ (النساء : 1)

    “มนุษยชาติทั้งหลาย ! จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าที่ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่ง และได้ทรงบังเกิดจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครองของเขา และได้ทรงให้แพร่สะพัดไปจากทั้งสองนั้น ซึ่งบรรดาชาย และบรรดาหญิงอันมากมาย และจงยำเกรงอัลลอฮฺที่พวกเจ้าต่างขอกัน ด้วยพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ แท้จริงอัลลอฮฺทรงสอดส่องดูพวกเจ้าอยู่เสมอ” [2]

    อัลลอฮฺทรงชี้แจงในโองการนี้ว่า พระองค์ได้ทรงสร้างมนุษย์มาในสองลักษณะด้วยกัน คือ เพศชาย เเละเพศหญิง ทั้งสองมาจากที่มาเดียวกัน ไม่เเตกต่างกันด้านการกําเนิด เเละไม่แตกต่างกันด้านความเหมาะสม ด้วยเหตุนี้เองอิสลามจึงได้มายกเลิกทุกสิ่งที่ได้จารึกไว้ในระบบๆ ต่างที่กดขี่สิทธิของสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นระบบที่ถือว่าสตรีเปรียบเสมือนคนชั้นตํ่ากว่าผู้ชาย ถึงขนาดห้ามเธอใช้สิทธิด้านมนุษยธรรม ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด-ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน- กล่าวความว่า “เเท้จริงเเล้วเหล่าสตรีคือ พี่น้องร่วมชีวิตกับบรรดาชาย” [3]

    4- สตรีพึงรักษาเกียรติ และศักดิ์ศรีของตนไว้ หากผู้ใดก็ตามที่ใส่ร้ายเธอ ล่วงเกินศักดิ์ศรี เเละเกียรติของเธอ ย่อมต้องได้รับการลงโทษ อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

    ﴿وَالَّذِينَ يَرْمُونَ الْمُحْصَنَاتِ ثُمَّ لَمْ يَأْتُوا بِأَرْبَعَةِ شُهَدَاء فَاجْلِدُوهُمْ ثَمَانِينَ جَلْدَةً وَلَا تَقْبَلُوا لَهُمْ شَهَادَةً أَبَداً وَأُوْلَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ﴾ (النور : 4)

    “และบรรดาผู้กล่าวโทษบรรดาหญิงบริสุทธิ์ แล้วพวกเขามิได้นำพยานสี่คนมา พวกเจ้าจงโบยพวกเขาแปดสิบที และพวกเจ้าอย่ารับการเป็นพยานของพวกเขาเป็นอันขาด ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน”[4]

    5- สตรีมีสิทธิในการรับมรดกเช่นเดียวกับบุรุษ อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

    ﴿لِّلرِّجَالِ نَصيِبٌ مِّمَّا تَرَكَ الْوَالِدَانِ وَالأَقْرَبُونَ وَلِلنِّسَاء نَصِيبٌ مِّمَّا تَرَكَ الْوَالِدَانِ وَالأَقْرَبُونَ مِمَّا قَلَّ مِنْهُ أَوْ كَثُرَ نَصِيباً مَّفْرُوضاً﴾ (النساء : 7)

    “สำหรับบรรดาชายนั้น มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ และสำหรับบรรดาหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ ซึ่งสิ่งนั้นจะน้อยหรือมากก็ตาม เป็นส่วนได้รับที่ถูกกำหนดอัตราส่วนไว้”[5]

    อิสลามให้สิทธิเเก่เธอด้านมรดกหลังจากที่เธอถูกห้ามในยุคป่าเถื่อนสมัยก่อนอิสลามมาเนิ่นนาน ถึงขั้นเปรียบเทียบตัวเธอดังสิ่งของเครื่องใช้ที่เเลกเปลี่ยนกันได้ อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า:

    ﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ يَحِلُّ لَكُمْ أَن تَرِثُواْ النِّسَاء كَرْهاً وَلاَ تَعْضُلُوهُنَّ لِتَذْهَبُواْ بِبَعْضِ مَا آتَيْتُمُوهُنَّ﴾ (النساء : 19)

    “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ไม่อนุมัติแก่พวกเจ้าการที่พวกเจ้าจะเอาบรรดาหญิงเป็นมรดกด้วยการบังคับ และไม่อนุมัติเช่นเดียวกันการที่พวกเจ้าจะขัดขวางบรรดานางเพื่อพวกเจ้าจะเอาบางส่วนของสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง”[6]

    ท่านอุมัรฺ บิน อัลค็อฏฏอบ - ขออัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานเเก่ท่านด้วยเถิด- กล่าวความว่า : “ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า เราเคยอยู่ในยุคญาฮิลียะฮฺ เราไม่เคยจัดเตรียมอะไรให้เธอเลย จนกระทั่งอัลลอฮฺทรงประทานโองการต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเธอตามที่พระองค์ทรงประสงค์ เเละพระองค์ได้เเบ่งสรรอะไรต่อมิอะไรเเก่เธอ”

    6- สตรีเหมือนกันกับบุรุษในด้านความชอบธรรมเเละความอิสระในการใช้จ่ายเงินทอง เช่น การซื้อขาย และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องด้านการเงิน โดยไม่ต้องมีใครมาสั่งเสียหรือกําหนดขอบเขตในการดำเนินงานด้านการเงินของเธอ ยกเว้นกรณีที่การดำเนินงานของเธอจะนำมาซึ่งความเสียหายเเก่ตัวเธอเอง หรือเป็นเรื่องที่ขัดกับศาสนบัญญัติ อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

    ﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَنفِقُواْ مِن طَيِّبَاتِ مَا كَسَبْتُمْ﴾ (البقرة : 267)

    “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงบริจาคส่วนหนึ่งจากบรรดาสิ่งดี ๆ ของสิ่งที่พวกเจ้าได้แสวงหาไว้” [7]

    เเละอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

    ﴿وَالْمُتَصَدِّقِينَ وَالْمُتَصَدِّقَاتِ وَالصَّائِمِينَ وَالصَّائِمَاتِ وَالْحَافِظِينَ فُرُوجَهُمْ وَالْحَافِظَاتِ وَالذَّاكِرِينَ اللَّهَ كَثِيراً وَالذَّاكِرَاتِ أَعَدَّ اللهُ لَهُم مَّغْفِرَةً وَأَجْراً عَظِيماً﴾ (الأحزاب : 35)

    “และบรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิง และหญิงบรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาที่เป็นชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากที่เป็นชายและหญิงนั้น อัลลอฮฺทรงเตรียมการให้อภัยและผลบุญอันใหญ่ไว้สำหรับพวกเขา” [8]

    7- อิสลามถือว่าการเคารพเเละให้เกียรติสตรีเป็นเครื่องหมายเเห่งบุคลิกภาพอันดีงาม เเละสมบูรณ์เเบบ ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด – ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน - กล่าวความว่า : “ผู้ศรัทธาที่ความศรัทธาของเขาสมบูรณ์ยิ่งคือผู้ซึ่งมีจริยธรรมที่ดีงาม และผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่ทำดีที่สุดกับภรรยาของพวกเขา” [9]

    8- อิสลามใช้ให้บรรดาสตรีเเสวงหาความรู้ เเละทําการเผยเเพร่ความรู้ เสมือนกับที่ใช้บรรดาบุรุษ ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด – ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน - กล่าวความว่า : “การเเสวงหาความรู้เป็นสิ่งที่บังคับใช้ให้กับมุสลิมทุกคน” [10]

    บรรดานักวิชาการอิสลามมีการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า คําว่ามุสลิมในวจนะท่านศาสนทูตข้างต้นมีความหมายที่ครอบคลุมทั้งชาย และหญิง

    9- สตรีมีสิทธิเท่าเทียมกันกับบุรุษด้านการเลี้ยงดูบุตรให้พวกเขาเติบโตเป็นคนดีในสังคม อิสลามถือว่าการเลี้ยงดูบุตรสาว เเละอบรมสั่งสอนพร้อมทั้งเอาใจใส่เธอ เป็นสาเหตุประการหนึ่งของหนทางที่จะนําไปสู่สวนสวรรค์ และสตรีก็มีคุณลักษณะที่พิเศษเหนือกว่าบุรุษในด้านนี้ ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด - ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน - กล่าวความว่า : “ผู้ใดเลี้ยงดูลูกผู้หญิงสามคน แล้วเขาได้สั่งสอนพวกเธอเป็นอย่างดี และจัดการเรื่องการแต่งงานให้แก่เธอ และทำดีกับพวกเธอ แน่นอนผลตอบแทนสำหรับเขาคือสวรรค์” [11]

    10- สตรีมีสิทธิเท่าเทียมกันกับบุรุษด้านความรับผิดชอบในการพัฒนาสังคม ทั้งในด้านการชักชวนคนให้กระทําดี หรือ การห้ามปรามสิ่งชั่วร้ายในสังคม อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

    ﴿وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاء بَعْضٍ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُقِيمُونَ الصَّلاَةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَيُطِيعُونَ اللهَ وَرَسُولَهُ أُوْلَـئِكَ سَيَرْحَمُهُمُ اللّهُ إِنَّ اللهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ﴾ (التوبة : 71)

    “และบรรดามุอ์มินชาย และบรรดามุอ์มินหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขาต่างเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชอบ และห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ชอบ และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจ่ายซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ ชนเหล่านี้แหละ อัลลอฮฺจะทรงเอ็นดูเมตตาแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” [12]

    11- สตรีมีสิทธิขอความคุ้มครองเช่นเดียวกับบุรุษ อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

    ﴿وَإِنْ أَحَدٌ مِّنَ الْمُشْرِكِينَ اسْتَجَارَكَ فَأَجِرْهُ حَتَّى يَسْمَعَ كَلاَمَ اللهِ ثُمَّ أَبْلِغْهُ مَأْمَنَهُ ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ قَوْمٌ لاَّ يَعْلَمُونَ﴾ (التوبة : 6)

    “และหากว่ามีคนใดในหมู่มุชริก ( เหล่าผู้ตั้งภาคี ) ได้ขอให้เจ้าคุ้มครอง ก็จงคุ้มครองเขาเถิด จนกว่าเขาจะได้ยินดำรัสของอัลลอฮฺ แล้วจงส่งเขายังที่ปลอดภัยของเขา นั่นก็เพราะว่าพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ไม่รู้” [13]

    ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด – ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน - กล่าวความว่า : “หน้าที่ของเหล่ามุสลิมนั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน คนที่มีฐานะตํ่าสุดในจํานวนพวกเขาย่อมมีสิทธิในหน้าที่ส่วนนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าใครทําลายสัญญามุสลิมด้วยกัน สำหรับเขาคือการถูกสาปเเช่งจากอัลลอฮฺ และบรรดามลาอิกะฮฺของพระองค์ เเละจากมนุษย์ทุกคน พระองค์ไม่ทรงตอบรับการกลับตนและการไถ่ตัว(อุละมาอ์บางท่านอธิบายว่า คือการทำศาสนกิจที่บังคับและสุนัต)จากเขาอีก” [14]

    สิทธิที่ว่านี้ เป็นเรื่องชอบธรรมอย่างเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิง อุมมุ ฮานิอ์ บินติ อบี ฏอลิบ กล่าวว่า วันหนึ่งในปีแห่งการพิชิตนครมักกะฮฺฉันได้ไปหาท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ฉันได้เจอท่านในขณะที่ท่านกําลังอาบน้ำอยู่ ซึ่งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ กําลังกำบังท่านอยู่ เเล้วฉันก็ให้สลามแก่ท่าน ท่านถามว่า “ใครหรือ ?” ฉันตอบว่า ฉันเอง อุมมุฮานิอ์ ลูกของ อบีฏอลิบ ท่านเลยกล่าวว่า “ยินดีต้อนรับอุมมุฮานิอ์” หลังจากที่ท่านอาบน้ำเสร็จ ท่านได้ลุกขึ้นเพื่อทําการละหมาด 8 ร็อกอะฮฺ ในขณะที่ท่านได้สวมใส่ผ้าเพียงชิ้นเดียวเพื่อปกปิดร่างของท่าน หลังจากที่ท่านละหมาดเสร็จ ฉันกล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ลูกของเเม่ฉัน (เป็นลูกของแม่ที่เกิดจากพ่ออื่น) ได้อ้างว่าเขาจะฆ่าชายคนหนึ่งซึ่งฉันได้คุ้มครองเขาอยู่ เขาคือชายคนหนึ่งเป็นลูกของฮุบัยเราะฮฺ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ - ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน- กล่าวว่า “เราได้ให้ความคุ้มครองเเด่คนที่เธอคุ้มครองเขา” อุมมุ ฮานิอ์ กล่าวว่า เวลานั้นคือตอนฎุหา (ช่วงสายๆ หลังตะวันขึ้น) [15]

    เเละจงรับรู้ถึงฐานะของเธอในอิสลามเถิดว่า เธอมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้มุสลิมคุ้มครองใครก็ได้ที่เธอต้องการ ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด - ขอความสันติจงมีเเด่ท่าน- กล่าวความว่า : “เเท้จริงเเล้วสตรีมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้มุสลิมคุ้มครองใครสักคนที่เธอต้องการได้”

    พึงทราบเถิดว่า มีบางเรื่องซึ่งเป็นสิ่งจำกัดเฉพาะผู้ชาย ไม่เกี่ยวกับสตรี เเน่นอนอิสลามมอบให้ทั้งสองไม่เหมือนกัน เราจะคุยเรื่องนี้ในช่วงต่อไปในประเด็นที่เกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสตรี

    เป็นเรื่องอันสมควรที่เราจะทําความเข้าใจเกี่ยวกับฐานะความเป็นอยู่ของสตรีในยุคก่อนอิสลาม เเละอะไรจะเกิดขึ้นกับเธอหลังจากนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการชี้เเจงเกี่ยวกับฐานะอันทรงเกียรติของเธอในอิสลามต่อไป

    [1] อัน-นะหฺลุ 97

    [2] อัน-นิสาอ์ 1

    [3] สุนัน อบี ดาวูด 1/61 ลําดับที่ 236

    [4] อัน-นูรฺ 4

    [5] อัน-นิสาอ์ 7

    [6] อัน-นิสาอ์ 19

    [7] อัลบะเกาะเราะฮฺ 267

    [8] อัลอะหฺซาบ 35

    [9] เศาะฮีหฺ อิบนิ หิบบาน 9/483 ลําดับที่ 4176 )

    [10] สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ 1/81 ลําดับที่ 224

    [11] สุนันอบีดาวูด 4/338 ลําดับที่ 5147

    [12] อัตเตาบะฮฺ 71

    [13] อัตเตาบะฮฺ 6

    [14] อัลบุคอรีย์ 1/141 ลําดับที่ 350

    [15] เศาะฮีหฺ อัลบุคอรีย์ 1/141 ลําดับที่ 1579