×
บทความที่ตอบความคลุมเครือบางประเด็นซึ่งเป็นข้อสงสัยของบางกลุ่มที่โจมตี และทําลายภาพพจน์อันดีงามของอิสลามเกี่ยวกับสิทธิของสตรี โดยการเปรียบเทียบกับสภาพของสตรีในสังคมอื่น ก่อนการมาถึงของศาสนาอิสลาม บทความเดิมคัดจากหนังสือ สถานะของสตรีภายใต้ร่มเงาอิสลาม โดย อับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ (อัพเดทล่าสุด 27/6/2010)

ความเป็นอยู่ของสตรีในยุคก่อนอิสลาม

﴿وضع المرأة عبر العصور﴾

] ไทย – Thai – تايلاندي [

อับดุรเราะห์มาน บิน อับดุลกะรีม อัช-ชีหะฮฺ

แปลโดย : อิบนุรอมลี ยูนุส

ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา, ซุฟอัม อุษมาน

ที่มา : หนังสือฐานะของสตรีใต้ร่มเงาอิสลาม

2010 - 1431

﴿وضع المرأة عبر العصور﴾

« باللغة التايلاندية »

عبدالرحمن بن عبدالكريم الشيحة

ترجمة: ابن رملي يونس

مراجعة: عصران إبراهيم ، صافي عثمان

المصدر: كتاب المرأة في ظل الإسلام

2010 - 1431

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 ความเป็นอยู่ของสตรีในยุคก่อนอิสลาม

 ความเป็นอยู่ของสตรีในยุคญาฮิลียะฮฺ

สตรีในยุคนี้จะอยู่อย่างถูกหลอกหลวง ต้องเผชิญกับความยากลําบาก เเละถูกกดขี่อย่างรุนเเรง สิทธิของเธอถูกทําลาย ทรัพย์สินเงินทองของเธอถูกจำกัด ไม่มีสิทธิในมรดก เพราะมรดกนั้นจะจัดเเบ่งเฉพาะบรรดาชายที่ขับขี่ม้า หรือออกสู้รบกับเหล่าศัตรูเเล้วยึดทรัพย์กลับมาเท่านั้น เธอต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของใครๆ เยี่ยงสินค้าที่ไร้ราคาหลังจากสามีของเธอเสียชีวิต และถ้าสามีของเธอมีลูกๆ ที่มาจากภรรยาอีกคนนอกจากเธอ ลูกชายคนโตของเขาจะมีสิทธิในการครอบครองตัวเธอมากกว่าใครเยี่ยงทรัพย์สินทั่วไป เธอจะไม่มีสิทธิ์ในการออกจากบ้านนอกเสียจากว่า เธอต้องเสียสละร่างกายของตนเองแก่ผู้อื่น เเละหลังที่เธอถูกหย่า เธอก็ไม่สามารถเรียกร้องกลับไปยังสามีได้อีก ผู้ชายในสมัยนั้นจะเเต่งงานกับหญิงตามที่เขาพึงพอใจโดยไม่จำกัดจํานวน สตรีไม่มีสิทธิ์ในการเลือกสามีของเธอได้ และไม่ได้รับสิทธิใดๆ จากสามีเธอ ไม่มีกฎหมายใดที่ห้ามผู้ชายรังเเกสตรีได้ คนอาหรับในยุคโง่เขลาไม่อยากให้ภรรยาคลอดลูกเป็นหญิง เพราะพวกเขาเชื่อว่า จะมีลางร้ายหรือมีเคราะห์ร้ายตามมา ทันทีที่ลูกของเขาคลอดออกมาเป็นหญิงพวกเขาจะกังวลใจ เเละมีความทุกข์ การเกลียดชังในลักษณะนี้ทำให้พวกเขาจับลูกสาวไปฝังทั้งเป็น ซึ่งการฝังลูกสาวเป็นที่กระทำกันในบางเผ่าอาหรับสมัยนั้น สาเหตุที่หลากหลายขึ้นอยู่กับฐานะของเเต่ละครอบครัว บางคนทําไปด้วยความละอายใจ บางคนทําไปเมื่อพบว่าในตัวเธอมีข้อบกพร่อง อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

﴿وَإِذَا بُشِّرَ أَحَدُهُمْ بِالأُنثَى ظَلَّ وَجْهُهُ مُسْوَدّاً وَهُوَ كَظِيمٌ ، يَتَوَارَى مِنَ الْقَوْمِ مِن سُوءِ مَا بُشِّرَ بِهِ أَيُمْسِكُهُ عَلَى هُونٍ أَمْ يَدُسُّهُ فِي التُّرَابِ أَلاَ سَاء مَا يَحْكُمُونَ﴾ (النحل : 58-59)

“และเมื่อผู้ใดในหมู่พวกเขาได้รับข่าวว่าได้ลูกผู้หญิง ใบหน้าของเขากลายเป็นหมองคล้ำ และเศร้าสลด เขาจะซ่อนตัวเองจากกลุ่มชน เนื่องจากความอับอายที่ได้ถูกแจ้งแก่เขา เขาจะเก็บเอาไว้ด้วยความอัปยศหรือฝังมันในดิน พึงรู้เถิด ! สิ่งที่พวกเขาตัดสินใจนั้นมันชั่วยิ่งนัก”[1]

บางคนฝังลูกไปเพราะกลัวความยากจน พวกเขาคือคนยากไร้ในบรรดาชาวอาหรับ คัมภีร์อัลกุรอานได้จารึกเหตุการณ์เหล่านี้ อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอาน ว่า :

﴿وَلاَ تَقْتُلُواْ أَوْلادَكُمْ خَشْيَةَ إِمْلاقٍ نَّحْنُ نَرْزُقُهُمْ وَإِيَّاكُم إنَّ قَتْلَهُمْ كَانَ خِطْءاً كَبِيراً﴾ (الإسراء : 31)

“และพวกเจ้าอย่าฆ่าลูกๆ ของพวกเจ้าเพราะกลัวความยากจน เราให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา และแก่พวกเจ้าโดยเฉพาะแท้จริงการฆ่าพวกเขานั้นเป็นความผิดอันใหญ่หลวง” [2]

สตรีในยุคนี้จะไม่ได้รับสิทธิความเป็นสตรีของเธอนัก อาหารบางอย่างที่ได้จัดเตรียมเป็นการเฉพาะสําหรับผู้ชายเป็นที่ต้องห้ามสําหรับเธอ อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

﴿وَقَالُواْ مَا فِي بُطُونِ هَـذِهِ الأَنْعَامِ خَالِصَةٌ لِّذُكُورِنَا وَمُحَرَّمٌ عَلَى أَزْوَاجِنَا﴾ (الأنعام : 139)

“และพวกเขากล่าวว่า สิ่งที่อยู่ในท้องของปศุสัตว์เหล่านั้น เฉพาะบรรดาผู้ชายของเราเท่านั้น และเป็นสิ่งที่ต้องห้ามแก่บรรดาภรรยาของเรา” [3]

ไม่มีสิ่งใดที่เธอควรจะภูมิใจนอกจากการที่ผู้ชายปกป้องเธอ เเละปกป้องเธอเมื่อเกียรติเเละศักดิ์ศรีของเธอถูกล่วงเกิน

 ความเป็นอยู่ของสตรีในสังคมอินเดียสมัยก่อน

ได้มีการจารึกในหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อ (อัลฟีเดีย) ซึ่งเป็นหนึ่งในจํานวนหนังสือที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดูพราหมณ์ หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงสตรีดังนี้ [4] :

บทบัญญัติของศาสนาพราหมณ์ได้ให้ความเเตกต่างกันระหว่างชายหญิงด้านคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เเละด้านสิทธิต่างๆ กล่าวคือ สตรีคือบุคคลที่ไร้สถานะในประเทศ เธออยู่ภายใต้การปกครองของผู้ชายในทุกช่วงเวลาการดําเนินชีวิตของเธอ ดังที่ได้จารึกไว้ในกฎหมายมาโนซึ่งมีใจความว่า สตรีไม่มีสิทธิที่จะเลือกสรรรูปเเบบการดําเนินชีวิตของเธอเเม้กระทั่งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัวของเธอภายในบ้าน ในวัยเยาว์เธออยู่ภายใต้การดูเเลของผู้เป็นบิดา ในวัยสาวเธอจะอยู่ภายใต้สามี เมื่อใดที่สามีเธอเสียชีวิตเธอจะตกอยู่ภายใต้การดูเเลของพี่น้องฝ่ายพ่อ ถ้าเธอไม่มีพี่น้องฝ่ายพ่อ เธอจะตกภายใต้การดูเเลของเจ้าหน้าที่ผู้ปกครอง ดังนั้นสตรีไม่มีอิสระในการดําเนินชีวิตของเธอ และการดําเนินกิจการของเธอไม่เป็นตามความประสงค์ของเธอเอง”

สตรีในยุคอินเดียที่ว่านี้ เปรียบเสมือนทาสที่ต้องตกอยู่ภายใต้สามี โดยที่เธอไม่มีสิทธิในการเลือกสิ่งใด ซึ่งบางครั้งเธอต้องเสียตัวไปเพราะการเล่นพนันของสามี[5]

นอกจากนี้ เธอไม่มีสิทธิเเต่งงานอีกครั้ง และไม่มีสิทธิที่จะเลือกมีชีวิตหลังจากสามีของเธอเสียชีวิตไป เธอต้องเสียชีวิตตามสามี ศพของเธอต้องเผาพร้อมกับสามีในโลงเดียวกัน ในหนังสือศาสนาของพวกเขามีกล่าวว่า : [6]

“เป็นอันควรสําหรับภรรยาที่จะต้องสละตัวด้วยการโยนตัวเธอไปในกองไฟที่ได้เตรียมไว้เพื่อเผาศพสามีเธอ เมื่อพวกเขายกร่างสามีเธอเข้าไปในกองฟืนเธอจะต้องรีบเข้าหาในลักษณะที่เธอปิดหน้า หลังจากนั้นพราหมณ์จะรีบดึงผ้าปิดหน้าของเธอ และเอาเครื่องประดับของเธอออก แล้วเเจกมันให้กับญาติพี่น้องของเธอ และพราหมณ์จะถอดขมวดผมของเธอออก หลังจากนั้น พราหมณ์ที่อาวุโสกว่าจะพาเธอเดินรอบๆ กองฟืนสามรอบ ต่อไปเธอจะเดินก้าวเข้าไปในกองฟืน เเละยกเท้าของสามีเธอขึ้นมายังหน้าผากเธอเพื่อเเสดงถึงความภักดีของเธอที่มีต่อสามี หลังจากนั้นเธอจะเปลี่ยนที่ไปนั่งตรงหัวของสามีเธอแล้วตั้งฝ่ามือขวาของเธอบนหน้าผากสามีเธอ วินาทีนี้ทุกคนจะรีบจุดไฟทันทีเพื่อเผาร่างเธอและร่างสามีเธอ” พวกเขาเชื่อว่า การกระทําในลักษณะนี้ จะทําให้เธอได้รับความสุขกับสามี และอยู่เคียงคู่กับสามีเธอบนชั้นฟ้าเป็นเวลา 3,500,000 ปี การกระทําของเธอถือว่า เป็นการขจัดบาปญาติพี่น้องทางแม่ และพ่อของเธอและญาติพี่น้องทางสามีเธอ และเป็นการขจัดบาปกรรมสามีเธอให้บริสุทธิ์ ส่วนตัวเธอเอง ถือว่าเป็นกุลสตรีที่บริสุทธิ์เเละประเสริฐยิ่ง ประเพณีเเบบนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงนั้น ซึ่งมีผู้หญิงเผาตัวทั้งเป็นจํานวนเกือบ 6,000 คน ได้นับตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1815 จนถึง 1825 มีการปฏิบัติเช่นนี้มาตลอดจนถึงศตวรรษที่ 17 หลังจากนั้นประเพณีนี้ได้ถูกยกเลิกเนื่องด้วยความเกลียดชังของผู้นําศาสนาฮินดูเอง

เเละสิ่งที่บ่งบอกถึงฐานะความตํ่าต้อยของสตรีในสมัยนั้น คือบัญญัติทางศาสนาฮินดูเองซึ่งมีการจารึกว่า [7] “ไม่มีที่กลับตามชะตากรรมของมนุษย์อย่าง ลม ความตาย ไฟนรก ยาพิษ งูใหญ่ เเละนรก ที่เลวร้ายยิ่งกว่าสตรี และบางครั้งสตรีคนเดียวจะมีสามีกันหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน ดังนั้นฐานะของเธอจึงเหมือนหญิงขายตัวไม่มีผิด” [8]

 ฐานะของสตรีในสังคมจีนสมัยก่อน

เจ้าของหนังสือ กิศเศาะตุล หะฎอเราะฮฺ ได้อธิบายถึงฐานะของสตรีในสังคมจีนดั้งเดิมว่า[9]: สตรีในสมัยนั้นจะตามผู้ชายตลอด และรับใช้ผู้ชายเรื่อยมาเหมือนราวว่าเธอถูกห้ามใช้สิทธิของเธอด้านการเงิน การเป็นอยู่ในสังคม เธอไม่มีสิทธิใดๆ ในตัวเธอเเม้เเต่น้อยนิด ผู้ชายคือคนคอยควบคุมเธอตลอดในทุกเรื่อง เธอไม่มีสิทธิด้านการศึกษา เเละเเสวงหาความรู้ใส่ตัว เธอเพียงแค่ถูกกักขังภายในบ้านไม่ออกไปไหน เอาเเต่รับใช้เเละทํางานบ้าน เย็บปักถักร้อยภายในบ้าน หรือทําเเต่งานอื่นๆ ที่รับใช้บริการ เธอต้องตัดเเต่งผมของเธอเมื่อเธออายุ 15 ปี และเธอจะต้องเเต่งงานเมื่อเธออายุ 20 ปี พ่อของเธอจะเป็นผู้เลือกสามีให้เธอโดยอาศัยคนกลางที่มาติดต่อเท่านั้น

การคลอดของเธอถือว่าเป็นสัญญาณความเลวร้าย W Durant กล่าวในหนังสือเล่มเดียวกันของเขาว่า[10] : ผู้เป็นบิดามักจะกล่าวขอพรในบทขอพรของเขาในพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อให้พระเจ้าประทานลูกผู้ชาย ดังนั้น ฐานะของผู้เป็นเเม่จะถูกเยาะเย้ยเเละดูเเคลน ยิ่งถ้าเธอไม่มีบุตรชายเพราะพวกเขาคิดว่าผู้ชายมีความสามารถเหนือผู้หญิงในการทํางานหากิน มีพลังในการต่อสู้กับข้าศึกในสนามรบมากกว่าผู้หญิง พวกเขาคิดว่า การมีลูกผู้หญิงจะสร้างความอับอายเเก่ผู้เป็นพ่อ เพราะพวกเขาอุตส่าห์ทุ่มเทเลี้ยงดู และอดทนในความเหน็ดเหนื่อยในการเลี้ยงดูเธอ แล้วสุดท้ายพวกเขาจําเป็นต้องส่งพวกเธอไปอยู่ในบ้านสามีพวกเธอ จนกระทั่งเกิดประเพณีการฆ่าลูกผู้หญิงด้วย ดังนั้นครอบครัวใดถ้ามีลูกผู้หญิงจํานวนมากเกินความจําเป็น ยิ่งถ้าเป็นครอบครัวที่ยากจนและมีอุปสรรคในการเลี้ยงดูพวกเธอ พวกเขาจะนําพวกเธอไปทิ้ง ณ ทุ่งนาหรือไร่สักเเห่ง ปล่อยพวกเธอตามลําพังโดดเดี่ยวในความมืด และให้เป็นเหยื่อของสัตว์ร้าย โดยที่สมาชิกครอบครัวไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดต่อกรณีของพวกเธอเเม้เเต่นิดเดียว

สุภาษิตจีนดั้งเดิมกล่าวว่า[11] “เจ้าจงฟังคําพูดของภรรยาเจ้าแต่อย่าเชื่อฟังเธอ”

 ฐานะของสตรีในสังคมโรมันโบราณ

เจ้าของหนังสือกิศเศาะตุลหะฎอเราะฮฺกล่าวว่า[12] : การคลอดบุตรหญิงเป็นเรื่องที่ไม่พึงชอบนัก ธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติในสมัยนั้น อนุญาตให้พ่อเสนอตัวเพื่อตายได้ถ้าได้ลูกพิการหรือเป็นผู้หญิง ในทางกลับกันพวกเขาชอบที่จะได้ลูกชายมากกว่า

สตรีในสังคมโรมันอยู่อย่างมีขีดจํากัด เธอไม่สามารถเลือกทําอะไรได้ ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การดูเเลของผู้ชาย อํานาจอยู่ในกํามือผู้ชายเพียงคนเดียว ซึ่งเขามีสิทธิกับสมาชิกในครอบครัวเต็มที่จนกระทั่งว่าเขามีสิทธิที่จะลงโทษภรรยาเขาด้วยการประหารชีวิตในบางคดี [13] และเขาก็มีอํานาจกับบรรดาภรรยาลูกๆ ของเขา และหลานของเขาเต็มที่ อํานาจส่วนนี้จะรวมทั้งอํานาจในการซื้อขาย การลงโทษ เนรเทศ และประหารชีวิต

หน้าที่ของสตรีมีเพียงเเค่เชื่อฟัง ภักดีต่อสามี และทําตามเขาทุกอย่างโดยที่เธอไม่มีสิทธิปฏิเสธหรือฟ้องร้องเเต่อย่างใด เธอไม่มีสิทธิได้รับมรดก เพราะมรดกเป็นของลูกชายคนโตเท่านั้น แค่นั้นยังไม่พอ ผู้ชายย่อมมีสิทธิที่จะนําใครเข้ามาเป็นสมาชิกครอบครัวก็ได้ และขับไล่ลูกคนไหนออกจากการเป็นสมาชิกของครอบครัวได้โดยวิธีการประกาศขาย [14]

 ฐานะของสตรีในสังคมกรีกโบราณ

ฐานะของสตรีในสังคมกรีกไม่ได้มีอะไรดีมากกว่าฐานะของเธอในสังคมของประชาชาติก่อนๆ เลย เธอถูกมองว่าตํ่าต้อยที่สุดจนกระทั่งเอาตัวเธอมาเป็นสิ่งของที่ได้เเลกยืมกันได้ แท้จริงเเล้วผู้หญิงที่คลอดบุตรมากๆ จะถูกขอยืมจากสามีเธอเพื่อไปอยู่กับชายอื่นสักพักเเล้วคลอดบุตรให้กับประเทศชาติ[15] นอกจากนี้เธอถูกห้ามไม่ให้เเสวงหาความรู้ภายนอก เธอถูกดูถูกถึงขั้นเรียกเธอว่า ของสกปรกจากนํ้ามือของซาตาน [16]

ไม่มีระบบใดในสมัยนั้นที่จะประกันสิทธิของเธอในการได้รับมรดก เธอไม่มีสิทธิก้าวก่ายในทรัพย์ของตัวเอง เธอไม่มีอิสระ ทุกความต้องการของเธอตกอยู่ภายใต้อํานาจของสามีตลอดชีวิต เธอไม่มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อขอหย่าเด็ดขาด เพราะสิทธิส่วนนี้เป็นของสามีอย่างสิ้นเชิง [17]

ฐานะของเธอถูกดูถูกขนาดนั้นยังไม่พอ ยังมีการเรียกร้องจากบรรดานักวิชาการของพวกเขาเองว่า จําเป็นต้องกักขังชื่อของสตรีให้อยู่ภายในบ้านเท่านั้นดังที่ตัวของเธอถูกกักขังภายในบ้าน[18]

สตรีในสังคมกรีกไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าที่เธอถูกมองว่า เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีฐานะต่ำต้อยที่สุด เจ้าของหนังสือ หะฎอเราะตุลอะเราะบิ กล่าวว่า [19] : ชาวกรีกสมัยก่อนส่วนมากแล้วถือว่า สตรีเป็นมัคลูก( สิ่งที่ถูกสร้าง ) ที่ตํ่าต้อยอยู่ในฐานะตํ่าที่สุดไม่มีค่านอกจากเพื่อขยายวงศ์ตระกูลหรือทํางานบ้านเท่านั้น ถ้าสตรีคลอดบุตรมีหน้าอัปลักษณ์พวกเขาจะฆ่าบุตรคนนั้นทันที

นักบรรยายธรรมผู้มีชื่อเสียงในบรรดาพวกเขาที่ชื่อ เดมุสตีน เคยกล่าวถึงสภาพสตรีว่า [20] : พวกเราได้เอาผู้หญิงขายตัวเพื่อเสพสุขเท่านั้น และเราได้เอาผู้หญิงรับใช้มาเพื่อดูเเลสุขภาพร่างกายของเราของเเต่ละวัน และเราได้เอาผู้หญิงมาเป็นภรรยาเพื่อต้องการให้พวกเขาคลอดลูกชายให้เราเท่านั้น

ดังนั้น สตรีจะอยู่ส่วนไหนของสังคมเล่า ถ้าระดับปัญญาชนในบรรดาพวกเขาได้กล่าวออกมาเช่นนี้ ? !

 ฐานะของสตรีในสังคมยิวดั้งเดิม

ในสังคมยิว สตรีคือต้นเหตุเเห่งบาปกรรม ตามที่ได้จารึกในคัมภีร์เตารอต (โตราห์) ว่า [21] : สตรีคือที่มาเเห่งความผิดทั้งปวง เพราะเธอทําให้ทุกคนหลงทางหมด

ดังนั้นฐานะของสตรีในสังคมยิวมิได้อยู่ในสภาพที่ดีเลย กฎบัญญัติของพวกเขาไม่ได้ยกฐานะของเธอเลย เเถมยังเตือนให้ระวังเธอ ได้มีกล่าวในคัมภีร์ยิวภาควรรณกรรม (Writings) [22] ; ฉันหมุนตัว ในขณะที่หัวใจของฉันอยากรู้ อยากมีชีวิต อยากเเสวงหาปรัชญาเเละสติปัญญา และเพื่อฉันจะได้รับรู้ว่า แท้จริงแล้วความชั่วร้ายทั้งปวงคือ ความโง่เขลา และความโง่เขลาคือ ความบ้าคลั่ง ดังนั้นฉันพบว่า สิ่งที่คมกว่าความตายคือ ผู้หญิง ซึ่งเธอคือตาข่ายที่คอยดักเหล่าผู้โง่เขลา และหัวใจของเธอคือ เชือกที่คอยผูกพวกเขาไว้ และมือทั้งสองข้างของเธอ คือโซ่ตรวนผู้ภักดีต่อหน้าพระองค์อัลลอฮฺ หาใช่ว่าเขาจะรอดพ้นจากมันได้ ผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺย่อมได้รับโทษเนื่องจากความผิดของเขาเอง

และผู้เป็นพ่อมีอํานาจเต็มที่กับครอบครัวของเขาอย่างไม่มีขีดจํากัด ยิ่งถ้ามีลูกผู้หญิง ผู้เป็นพ่อจะจัดให้เเต่งงานกับชายคนไหนก็ได้ บางทีเขาจะมอบเธอให้ใครก็ได้ หรือเขาจะขายเธอไปถ้าเขาต้องการ เหล่านี้มีการกล่าวไว้ในคัมภีร์ยิวบทอพยพหมวดที่ 21 วรรคที่ 7- 11

เจ้าของหนังสือกิศเศาะตุลหะฎอเราะฮฺได้กล่าวว่า [23] : เเละเเท้จริงเเล้วพ่อนั้นมีอํานาจกับสมาชิกครอบครัวทุกคนไม่มีขอบเขต ดังนั้นพื้นดินตกอยู่ภายใต้อํานาจของเขา บรรดาลูกๆ ไม่มีสิทธิที่จะเลือกส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขานอกจากเมื่อพวกเขาภักดีต่อคําสั่งของเขา ดังนั้นเขาคือประเทศชาติ เขามีสิทธิที่จะขายลูกสาวเขาก่อนบรรลุนิติภาวะเมื่อเขายากไร้ และเธอก็เลยตกเป็นทาสไป และพ่อเธอมีสิทธิที่จะบังคับเธอเเต่งกับชายคนไหนก็ได้ตามอําเภอใจ ถึงเเม้ว่าในบางกรณีพ่อของเธอสละสิทธิด้านนี้ และจะขอให้เธอยอมรับการเเต่งงานที่เขาจัดให้

เมื่อสตรียิวแต่งงานแล้ว ความรับผิดชอบของพ่อเธอที่มีต่อเธอถูกย้ายไปยังสามีเธอโดยปริยาย เเละเธอกลายเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติของสามีคล้ายๆ กับทรัพย์สมบัติของเขาทั่วไป อาทิ บ้าน ทาส และเงินทอง เช่นนี้คือบทบัญญัติที่ได้ปรากฎในคัมภีร์โตราห์ (TORAH) ในบทอพยพ ( EXODUS ) ตอนที่ 20 วรรคที่ 17

นอกเหนือจากนี้เเล้ว กฎบัญญัติเเห่งยิวได้สั่งห้ามไม่ให้สืบทอดมรดกของพ่อเธอหากพ่อของเธอมีลูกชายหลายๆ คน ดังที่ได้จารึกไว้ในคัมภีร์ยิวบทกันดารวิถี ตอนที่ 17 วรรคที่ 8 : ชายคนใดที่ถึงเเก่กรรมเเล้วไม่มีลูกผู้ชาย มรดกทั้งหมดจะถูกครอบครองโดยลูกผู้หญิงของเขา

ในกฎบัญญัติของยิว เมื่อสามีเสียชีวิตไปภรรยาของเขาจะตกอยู่ภายใต้อํานาจของพี่ชายเขาทันทีเเม้ว่าผู้เป็นเเม่จะยินยอมหรือไม่ก็ตามยกเว้นเมื่อพี่ชายของผู้ตายได้สละสิทธิดังกล่าวเท่านั้น ในคัมภีร์ยิวภาคพันธสัญญาเดิม ( The Old Testament ) [24] กล่าวว่า : เมื่อมีพี่น้องฝ่ายชายอาศัยอยู่ด้วยกันเเล้ว บางคนในจํานวนพวกเขาได้เสียชีวิตไปในขณะที่ผู้ตายไม่มีบุตรชาย ภรรยาของเขาจะไม่ไปอยู่นอกบ้านกับชายเเปลกหน้า เเต่พี่ชายหรือน้องชายของผู้ตายจะเข้าไปอยู่กับภรรยาผู้ตายเเทน เเล้วนําเธอมาเป็นภรรยาได้ เเละรับหน้าที่เลี้ยงดูเธอเเทนผู้ตายทันที

นอกเหนือจากนี้ บทบัญญัติเเห่งยิวจารึกว่า บรรดาสามีจะไม่เข้าใกล้ภรรยาของพวกเขาในยามที่พวกเธอมีประจําเดือน พวกเขาจะไม่นอน เเละไม่ดื่มกินพร้อมกันกับพวกเธอ เเต่พวกเขาจะออกห่างจากพวกเธอจนกว่าพวกเธอจะบริสุทธิ์ กฎบัญญัติของยิวได้กล่าวว่า [25] : แท้จริงแล้วสตรีจะไร้บริสุทธิ์นับจากวันที่เธอรู้สึกว่าเธอกําลังจะมีประจําเดือนในไม่ช้า เเม้นว่าสัญลักษณ์ของมันยังไม่ปรากฎเด่นชัด สามีไม่สมควรเข้าใกล้ตัวเธอเเม้กระทั้งเท่าระยะนิ้วก้อยก็ตามเเต่ เเละเขาจะไม่ยื่นสิ่งของใดให้เธอรับเเม้ว่าสิ่งนั้นจะยาวขนาดไหนก็ตาม เเละเขาจะไม่รับสิ่งใดจากมือเธอ ถึงเขาโยนให้เธอก็ไม่ได้ เเละเธอก็เหมือนกัน ไม่อนุญาตให้สามีร่วมกินอาหารกับเธอในถาดเดียวกันได้ นอกจากจะเเยกห่างหรือเเยกเป็นคนละจานกัน ไม่อนุญาตให้เขาดื่มน้ำจากเเก้วที่เหลือของเธอได้ เขาทั้งสองจะไม่ร่วมหลับนอนในเตียงเดียวกันได้ ทั้งสองจะไม่ขับขี่ยานพาหนะเดียวกัน ถ้าทั้งสองทํางานในที่เดียวกันจําเป็นต้องไม่เข้าหาสู่กัน ถ้าสามีเธอเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยในขณะที่เขาไม่มีคนอื่นคอยดูเเลเขา กรณีนี้ให้ภรรยาเขาดูเเลได้ ตราบใดทีเธอไม่เเตะต้องตัวเขาหรือสัมผัสโดยตรง เเต่ถ้าภรรยาเขาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย จะไม่อนุญาตให้เขาดูเเลเธอได้เเม้เขาจะไม่สัมผัสตัวเธอก็ตาม เเละสตรีคนไหนที่คลอดบุตรเป็นชายเธอจะอยู่อย่างไม่บริสุทธิ์ประมาณ 7 วัน ถ้าเธอคลอดบุตรเป็นหญิงเธอจะอยู่อย่างไร้ความบริสุทธิ์ประมาณ 14 วัน เเละเธอจะไม่อาบน้ำนอกจากจะพ้น 40 วันหลังคลอดบุตรชาย เเละพ้น 80 วันหลังคลอดบุตรหญิง

 ฐานะของสตรีในสังคมคริสต์โบราณ

เเท้จริงเเล้วเหล่าผู้นําของศาสนาคริสต์ได้เกิดความคลั่งไคล้ในศาสนาพวกเขาจนเกินเลยขอบเขตของมัน ซึ่งพวกเขาถือว่าสตรีนั้นคือที่มาเเห่งความผิดทั้งหลายแหล่ เธอคือรากฐานของบาปกรรมทั้งปวง เธอคือต้นเหตุเเห่งเคราะห์กรรมที่ประสบกับมนุษย์โลกทั้งหลาย ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างชายกับสตรีต้องสกปรกไปด้วย เลยต้องหลีกห่างจากเธอเเม้นกระทั้งการผูกพันด้านการเเต่งงานทางการก็ตาม บาทหลวงคริสต์ ตารฺโตเลียน กล่าวว่า : เธอคือตัวเปิดทางให้เหล่าซาตานเข้ามายังร่างมนุษย์ เเละเธอคือตัวการหลักที่ชักนํามนุษย์ไปยังต้นไม้เเห่งความสาปเเช่ง เธอละเมิดบทบัญญัติของพระเจ้า เธอทําให้รูปลักษณ์ของพระเจ้าต้องเสียโฉม (หมายถึง ผู้ชาย)

นักเขียนชาวเดนมาร์ก Wieth Knudesen ได้อธิบายถึงฐานะของสตรีในสังคมยุคกลางศตวรรษว่า : การเอาใจใส่ต่อสตรีมันช่างมีขอบเขตเหลือเกิน อันเนื่องมาจากอิทธิพลของนิกายโรมันคาทอลิกในสมัยนั้น ที่มองสตรีเป็นมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาอยู่ในชั้นรอง [26]

ท่านนักบุญเปาโลได้กล่าวว่า [27] : ฉันพึงประสงค์ให้พวกท่านรับทราบว่า ส่วนหัวของบุรุษคือพระเยซู (เมสสิอาห์ ) เเละส่วนหัวของผู้หญิงคือส่วนหนึ่งของผู้ชาย เเละส่วนหัวของท่านเมสสิอาห์คือพระเจ้า ดังนั้นผู้ชายทุกคนจะไม่ปกปิดส่วนหัวของเขา เพราะมันคือรูปลักษณ์เเละความสูงส่งของพระเจ้า ส่วนผู้หญิงก็คือความสูงส่งของผู้ชายเพราะผู้ชายนั้นไม่ได้มาจากผู้หญิง แต่ผู้หญิงจะมาจากผู้ชาย และเนื่องจากผู้ชายนั้นไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อสตรี แต่สตรีต่างหากที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผู้ชาย ด้วยเหตุนี้สตรีควรมีอํานาจเหนือส่วนหัวของเธอเพื่อตอบสนองความต้องการของบรรดามลาอิกะฮฺ (บรรดาเทวทูตของพระเจ้า )

เเท้จริงเเล้ว กฎบัญญัติของคริสต์บังคับให้สตรีน้อมรับตามผู้ชาย เเละเเสดงการภักดีต่อเขาตลอดอย่างตาบอด ท่านนักบุญเปาโลกล่าวว่า [28] : โอ้บรรดาสตรีเอ่ย จงน้อมรับต่อบรรดาชายของพวกเจ้าดังที่พวกเธอน้อมรับต่อพระผู้เป็นเจ้า เพราะผู้ชายนั้นคือประธานของผู้หญิง เหมือนกับเมสสิอาห์ที่เป็นประธานแห่งโบสถ์

นักวรรณกรรมชาวอังกฤษที่ชื่อเบอร์นาร์ด ชอว์ กล่าวว่า : เมื่อหญิงเเต่งงานกับชายนั้น ทรัพย์สมบัติของนางจะถูกยึดครองโดยสามีเธอ ตามกฎหมายอังกฤษในสมัยนั้น

กรณีนี้ยังไม่รวมไปถึงการคงฐานะการเเต่งงานของฝ่ายหญิงที่อยู่เคียงคู่สามีตลอดไป เพื่อปฏิบัติตามกฎบัญญัติเเห่งศาสนาเเละกฎหมายสมัยนั้น ดังนั้น เเม้นจะเกิดเรื่องบาดหมางระหว่างสามีภรรยาเพียงใดก็ตามเเต่ หรือมีอุปสรรคในครอบครัวมากมายเช่นใด การหย่าร้างไม่อาจทําได้เด็ดขาด เเต่จะกลับไปใช้หนทางอื่นมากกว่า คือ การไม่เข้าใกล้ตัวซึ่งกันเเละกัน หมายถึงต่างคนต่างออกห่างกัน ซึ่งส่งผลให้ฝ่ายชายไปหาเเฟนหญิงมาเป็นที่รักได้หรือเพื่อนที่คบหากันได้ ส่วนฝ่ายหญิงก็เหมือนกัน จะคบหาผู้ชายคนอื่นได้ในฐานะเพื่อนสนิทหรือเเฟน

เช่นเดียวกันกับกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตก่อน อีกฝ่ายหนึ่งที่ยังมีชีวิตจะไม่มีสิทธิเเต่งงานอีกครั้งได้ ด้วยเหตุนี้เองฐานะของสตรีจึงตกตํ่านัก ตําเเหน่งหน้าที่ของเธอถูกมองข้ามตลอด ซึ่งทําให้เกิดผลเสียตามมาในภายหลังในสังคมยุโรปปัจจุบัน จึงผลักดันให้เหล่านักวิชาการต่างเรียกร้องเพื่อคืนสิทธิอันชอบธรรมให้เเก่ทุกคนในสังคมทั้งผู้หญิงเเละผู้ชายไม่เว้นใคร ความอิสระอย่างไม่มีขอบเขตย่อมต้องเกิดขึ้นในสังคม ส่งผลในเวลาถัดมาคือ การมีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมด้วยมารยาทที่ตํ่าช้า ครอบครัวเเตกสาเเหรกขาด ทั้งหมดนี้คือ ความเข้มงวดของโบสถ์ที่เสนอวิถีปฏิบัติที่หลงผิด อีกทั้งยังบังคับใช้กฎหมายอันไม่ชอบธรรมที่ขัดกับธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่เเท้จริง

[1] อัน-นะหฺลุ 58- 59

[2] อัล-อิสรออ์ 31

[3] อัล-อันอาม 139

[4] ดูหนังสือ อัลอัสฟารุล มุก็อดดะสะฮฺ ฟิลอัดยานิสสาบิเกาะฮฺ ของ ดร. อะลี อับดุลวาฮิด วาฟีย์ หน้า 168

[5] ดูหนังสือ มาซา เคาะซิเราะ อัลอาลัม บินฮิฏอฏิล มุสลิมีน ของ อันนัดวีย์ คัดมาจากเรื่องเล่าของมะฮา บะฮารอต ในหนังสือ (อัลมัลฮะมะตุล ฮินดียะฮฺ อัลกุบรอ)

[6] ดุหนังสือ กิศเศาะตุล หะฎอเราะฮฺ ของ W Durant 3/178-181 เเปลโดย มุฮัมมัด บัดรอน

[7] ดูหนังสือ หะฎอเราะตุลอะเราะบิ ขอ ง Dr. G Lebon ตะอ์ซีรุลอิสลาม ฟี อะฮฺวาลินนิสาอ์ ฟี อัชชัรก์ หน้า 406

[8] มาซา เคาะซิเราะ อัลอาลัม บินฮิฏอฏิล มุสลิมีน ของ อันนัดวีย์ คัดมาจากหนังสือ R.C.DUTT. 331

[9] อัลมัรอะฮฺ ฟีศ ศีน ของ W Durant เล่มที่ 3

[10] เล่มที่ 4 ในหนังสือเดียวกัน

[11] หะฎอเราะตุลอะเราะบิ ของ Dr. G Lebon หน้า 406 เเปลโดย ซุอัยตัร

[12] ส่วนที่ 1 เล่ม 3 ของดร W Durant

[13] กิศเศาะตุลหะฎอเราะฮฺ W Durant 1/ 118-120 เเปลโดยมุฮัมมัดบัดรอน

[14] มุกอเราะนะตุลอัดยาน / ดร อะฮฺหมัด ซะลาบี หน้า 188 เเละดูหนังสือ ฮะฎอเราะตุลอะเราะบิ / DrGLebon เเปลโดย ซุอัยตัร หน้า 408

[15] หะฎอเราะตุลอะเราะบิ / DrGLebon เเปลโดย ซุอัยตัร หน้า 406

[16] หะฎอเราะตุลอะเราะบิ / DrGLebon เเปลโดย ซุอัยตัร หน้า 408

[17] มุกอเราะนะตุลอัดยาน / ดร อะฮฺหมัด ชะละบีย์ หน้า 186

[18] กิศเศาะตุล หะฎอเราะฮฺ /w Durant เเปลโดย มุฮัมมัดบัดรอน 7/ 117-118

[19] หะฎอเราะตุลอะเราะบิ / DrGLebon เเปลโดย ซุอัยตัร หน้า 406

[20] ดิรอสาต ฟิ ตารีคิ หะฎอเราะติลยูนานิ วัรรูมานิ / ดร.หุซัยนฺ อัชชีค หน้า 149

[21] บทปฐมกาล 3/ 1

[22] บทที่ 7 วรรคที่ 25/26

[23] กิศเศาะตุล หะฎอเราะฮฺ /W Durant เเปลโดย มุฮัมมัด บัดรอน ส่วนที่ 1 เล่ม 1/ 374

[24] บทเลวีนิติ ( Leviticus ) ตอนที่ 25 วรรค ที่ 5

[25] ดูหนังสือ มัจญ์มูอะติน มินัลเกาะวานีนัลยะฮูดิยะฮฺ วัลอาดาต / บาดหลวงยิวสุไลมาน จาซฟรายด์ หน้า 22

[26] มุกอเราะนะฮฺ อัลอัดยาน / ดร อะฮฺมัด ชะละบีย์ หน้า 187 Feminism : translated to the English by Arthur Chater

[27] คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในพันธสัญญาใหม่ตอนที่ 11 ของจดหมายท่านนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ (Corinthians) วรรคที่ 3-7-9 หน้า 280

[28] คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในพันธสัญญาใหม่ตอนที่ 5 ของจดหมายท่านนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (Ephesians) วรรคที่ 3-7-9 หน้า 280