อัฎ-เฎาะมาน และ อัล-กะฟาละฮฺ การรับชดใช้แทนและการค้ำประกัน
หมวดหมู่
Full Description
อัฎ-เฎาะมาน และ อัล-กะฟาละฮฺ
(การรับชดใช้แทนและการค้ำประกัน)
﴿الضمان والكفالة﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : อิสมาน จารง
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
2009 - 1430
﴿الضمان والكفالة﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: عثمان جاورنج
مراجعة: عصران إبراهيم
2009 - 1430
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
อัฎ-เฎาะมาน และ อัล-กะฟาละฮฺ (การรับชดใช้แทนและการค้ำประกัน)
ความหมายของ อัฎ-เฎาะมาน
อัฎ-เฎาะมาน คือ การรับภาระที่จะชดใช้แทนในสิ่งที่เป็นวาญิบ(ภาระ)เหนือผู้อื่น ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
หุก่มของการรับชดใช้แทน
ถือว่าเป็นที่อนุญาตให้ทำได้ และโดยผลประโยชน์แล้วควร (ที่ศาสนา) จะอนุญาต หากแต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็นด้วยซ้ำไป มันเป็นการช่วยเหลือกันในความดีและการตักวา (ยำเกรง) มันเป็นการทำให้มนุษย์ได้สมหวังและปลดเปลื้องความทุกยาก
เงื่อนไขที่จะทำให้การรับชดใช้แทนเป็นผล
คือผู้รับภาระชดใช้จะต้องเป็นบุคคลที่สามารถใช้สิทธิของตนเองได้ โดยสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับ
1- การชดใช้ถือว่าเป็นผลใช้ได้ด้วยทุกคำพูดที่สื่อถึง เช่น ฉันรับภาระจะชดใช้แทนเขา ฉันรับผิดชอบจะชดใช้แทนเขา เป็นต้น
2- การชดใช้ถือว่าเป็นผลใช้ได้กับทุกทรัพย์สินที่รู้แน่นอน เช่นหนึ่งพันบาทเป็นต้น หรือไม่รู้ชัด เช่นฉันรับชดใช้ทรัพย์ของท่านที่เป็นภาระเหนือบุคคลนั้น หรือสิ่งที่จะชดใช้นั้นเป็นภาระอยู่เหนือคนที่ยังมีชีวิตหรือตายไปแล้วก็ได้
ผลของการรับชดใช้แทน
เมื่อใดที่มีการรับภาระชดใช้หนี้ โดยผู้รับชดใช้แทนไม่สามารถทำให้ลูกหนี้พ้นภาระได้ หนี้นั้นก็จะตกเป็นภาระของทั้งสองคน และเจ้าหนี้มีสิทธิจะทวงถามจากผู้ใดก็ได้ในระหว่างทั้งสองคนนั้นตามแต่เขาต้องการ
การสิ้นสุดภาระชดใช้
ผู้รับภาระชดใช้จะหลุดพ้นเมื่อใดที่ลูกหนี้ชดใช้หนี้ที่รับภาระชดใช้นั้นแล้ว หรือเจ้าหนี้ยกหนี้ให้
ความหมายของ อัล-กะฟาละฮฺ (การค้ำประกัน)
การค้ำประกัน(อัล-กะฟาละฮฺ) คือ การรับภาระของผู้ที่มีสติสมบูรณ์ ในการนำตัวคนที่มีภาระต้องชดใช้ทรัพย์มายังเจ้าของทรัพย์ (รับจะนำตัวมาให้หากเขาไม่ยอมชดใช้หนี้)
เคล็ดลับ(หิกมะฮฺ)ในการบัญญัติการค้ำประกัน
คือเพื่อปกป้องรักษาสิทธิต่างๆ และทำให้มันเกิดผล
หุก่มของอัลกะฟาละฮฺ
ถือว่าเป็นที่อนุญาต และเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือกันในความดีและความยำเกรง(ตักวา) และถือเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ เพราะเป็นการทำดีต่อผู้ที่ได้รับการประกัน
(ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ) [يوسف/ 66].
ความว่า "เขา(นบี ยะอฺกูบ อะลัยฮิสลาม)กล่าวว่า ฉันจะไม่ส่งเขาไปกับพวกเจ้า จนกว่าพวกเจ้าจะนำสัญญาจากอัลลอฮฺให้แก่ฉันเสียก่อนว่า พวกเจ้าจะนำเขากลับมาอย่างแน่นอน เว้นแต่พวกเจ้าจะถูกปิดล้อม ดังนั้นเมื่อพวกเขาได้ให้สัญญาของพวกเขาแก่เขา(นบี ยะอฺกูบ)แล้ว เขา(นบี ยะอฺกูบ)ก็กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงเป็นพยานต่อสิ่งที่เราสัญญาไว้" (ยูซุฟ 66)
เมื่อบุคคลหนึ่งได้ทำการค้ำประกันที่จะนำตัวลูกหนี้มา แล้วเขาไม่นำตัวลูกหนี้ผู้นั้นมา เขาจะต้องถูกปรับ
เมื่อใดที่ถือผู้ประกันพ้นภาระ
ผู้ค้ำประกันจะพ้นภาระ ในกรณีต่อไปนี้ คือ ผู้ถูกค้ำประกันเสียชีวิต หรือเขาได้มอบตัวต่อเจ้าหนี้ หรือทรัพย์ที่เขาค้ำประกันจะนำมานั้นเสียหายเองโดยพระองค์อัลลอฮฺประสงค์
หุก่มการเดินทางของผู้ที่ติดหนี้
ผู้ใดที่ต้องการเดินทางและเขามีภาระที่ถึงเวลาต้องชดใช้หนี้ก่อนเวลาเดินทาง เจ้าของสิทธิสามารถห้ามไม่ให้เขาเดินทางได้ แต่เมื่อใดที่มีผู้มีทรัพย์ได้รับภาระจะชดใช้หนี้ให้ หรือถ้าตัวลูกหนี้เองได้จำนำหลักทรัพย์ไว้ซึ่งมีราคาพอชดใช้หนี้ได้เมื่อถึงเวลาชำระ ก็ถือว่าเขาสามารถที่จะเดินทางได้เพราะสาเหตุของการห้ามได้สิ้นสุดลง
เครดิตที่ออกให้โดยธนาคาร
เครดิต(รวมถึงบัตรเครดิต)ที่ธนาคารออกให้ หากครอบคลุม(จำกัด)ตามจำนวน(เงินที่มี)พอดี หรือเป็นเครดิตที่ออกให้หลังจากที่ได้มอบเงินทั้งหมดที่จะให้รับภาระชดใช้แก่ธนาคารก่อน ถือว่าอนุญาตให้รับค่าจ้างจากการให้บริการนั้นได้ แต่ถ้าหากเครดิตนั้นไม่จำกัดวงเงินถือว่าไม่อนุญาตให้ธนาคารออกให้และรับค่าจ้างในบริการดังกล่าว