×
พูดถึงกฎเกณฑ์บางประการในฟิกฮฺอิสลาม จากหนังสือมุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์ โดยเชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

    หลักการ และกฎเกณฑ์ทางชะรีอะฮฺบางประการ

    الأصول والقواعد الشرعية

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري


    หลักการ และกฎเกณฑ์ทางชะรีอะฮฺบางประการ ในกฎหมายอิสลาม

    اليقين لا يزول بالشك

    ความว่า "ความมั่นใจนั้นจะไม่ตกไปเพียงเพราะความลังเล"

    และกฎที่ว่า

    الأصل الطهارة في كل شيء إلا ما دل الدليل على نجاسته

    ความว่า "โดยหลักการทั่วไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่สะอาด เว้นแต่สิ่งที่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นสิ่งโสโครก"

    และกฎที่ว่า

    والأصل براءة الذمة إلابدليل

    ความว่า "ตามหลักการทั่วไปแล้วทุกสิ่งทุกอย่างล้วนปลอดจากมลทินหรือภาระทั้งปวงเว้นแต่จะมีหลักฐานชี้ชัด"

    และกฎที่ว่า

    والأصل الإباحة، إلا ما دل الدليل على نجاسته أو تحريمه

    ความว่า "ตามหลักการทั่วไปแล้วทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นที่อนุมัติเว้นแต่สิ่งที่มีหลักฐานระบุว่าเป็นสิ่งสกปรกและหะรอม"

    และกฎที่ว่า

    أن المشقة تجلب التيسير

    ความว่า "แท้จริงความยากลำบากนั้นจะนำมาซึ่งทางออกที่สะดวกง่ายดาย"

    และกฎที่ว่า

    الضرورات تبيح المحظورات

    ความว่า "ความจำเป็นนั้นทำให้สิ่งต้องห้ามเป็นที่อนุมัติได้"

    และกฎที่ว่า

    الضرورة تقدر بقدرها

    ความว่า "ความจำเป็นนั้น จะปฏิบัติได้เท่าหรือตราบใดที่จำเป็นอยู่เท่านั้น"

    และกฎที่ว่า

    لا واجب مع العجز،

    ความว่า "แท้จริงจะไม่มีการบังคับใช้ในสภาพที่ไร้ซึ่งความสามารถ"

    และกฎที่ว่า

    ولامحرم مع الضرورة

    ความว่า "แท้จริงจะไม่มีข้อห้ามในสภาพที่มีความจำเป็น"

    และกฎที่ว่า

    أن درء المفاسد أولى من جلب المصالح

    ความว่า "แท้จริงการขจัดสิ่งที่จะทำให้เกิดความเสียหายนั้น สมควรที่จะปฏิบัติก่อนการแสวงผลประโยชน์"

    และกฎที่ว่า

    يختار أعلى المصلحتين، ويرتكب أخف المفسدتين، عند التزاحم

    ความว่า "ให้เลือกทำสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่าระหว่างสองสิ่งที่เป็นประโยชน์และการให้เลือกทำสิ่งที่มีผลเสียน้อยกว่าระหว่างสองสิ่งที่เป็นผลเสีย ในกรณีที่จำเป็นต้องเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง"

    และกฎที่ว่า

    أن الحكم يدور مع علته ثبوتاً وعدماً

    ความว่า "แท้จริงข้อชี้ขาดของแต่ละสิ่งนั้นจะขึ้นอยู่กับการมีหรือไม่มีของเหตุผล"

    และกฎที่ว่า

    أن الواجبات تلزم المكلفين

    ความว่า "แท้จริงข้อบังคับใช้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่บรรลุศาสนภาวะเท่านั้น"

    และกฎที่ว่า

    والإتلافات تجب على المكلفين وغيرهم

    ความว่า "แท้จริงการชดใช้ความเสียหายนั้นเป็นสิ่งบังคับใช้สำหรับผู้ที่บรรลุศาสนภาวะและผู้อื่นด้วย"

    และกฎที่ว่า

    الأصل في العبادات الحظر إلا ما ورد عن الشارع تشريعه،

    ความว่า "ตามหลักการทั่วไปแล้วทุกการกระทำที่จัดว่าเป็นอิบาดะฮฺล้วนเป็นสิ่งต้องห้ามเว้นแต่กระทำที่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นอิบาดะฮฺ"

    และกฎที่ว่า

    والأصل في العادات الإباحة إلا ما ورد الشرع بتحريمه

    ความว่า "ตามหลักการทั่วไปแล้วทุกการกระทำที่จัดว่าเป็นประเพณีและการคบค้าสมาคมล้วนเป็นสิ่งอนุญาตเว้นแต่สิ่งที่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นสิ่งต้องห้าม"

    และกฎที่ว่า

    الأصل فى الأوامر الشرعية الوجوب، إلا إذا دل الدليل على الاستحباب أو الإباحة.

    ความว่า "ตามหลักการทั่วไปแล้วคำสั่งใส่ทุกข้อที่ปรากฎในตัวบทศาสนานั้น ถือว่าเป็นข้อบังคับเว้นแต่คำสั่งที่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นเพียงการส่งเสริมหรืออนุญาตให้กระทำ"

    และกฎที่ว่า

    والأصل في النواهي التحريم، إلا إذا دل الدليل على الكراهة.

    ความว่า "ตามหลักการทั่วไปแล้วคำห้ามทุกข้อในตัวบทศาสนานั้น ถือว่าเป็นข้อห้ามเว้นแต่คำห้ามที่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นเพียงสิ่งที่ไม่สนับสนุนให้กระทำ"

    และกฎที่ว่า

    والأصل في المنافع الحل وفي المضار الحرمة

    ความว่า "ตามหลักการทั่วไปแล้วทุกสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นถือว่าล้วนเป็นสิ่งที่กระทำได้และทุกสิ่งที่มีโทษนั้นถือว่าล้วนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม"

    หุก่มว่าด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งของศาสนา

    คำสั่งของอัลลอฮฺทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนความสะดวก ความง่าย ความเปิดกว้างมีทางเลือกหลายทาง ดังนั้นบ่าวของอัลลอฮฺจึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งต่างๆเท่าที่สามารถจะปฏิบัติได้และหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามต่างๆให้ถึงที่สุด

    1-      อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวว่า

    «فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ وَاسْمَعُوا وَأَطِيعُوا وَأَنْفِقُوا خَيْراً لِأَنْفُسِكُمْ»

    ความว่า “ดังนั้นพวกเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ เท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถและจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามและบริจาดทาน เพราะเป็นการดียิ่งสำหรับตัวพวกเจ้า”  [อัตตะฆอบุน :16]

    2-      หะดีษรายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    دَعُونِي مَا تَرَكْتُكُمْ، إِنَّمَا هَلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ بِسُؤَالِهِمْ وَاخْتِلَافِهِمْ عَلَى أَنْبِيَائِهِمْ، فَإِذَا نَهَيْتُكُمْ عَنْ شَيْءٍ فَاجْتَنِبُوهُ، وَإِذَا أَمَرْتُكُمْ بِأَمْرٍ فَأْتُوا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ

    ความว่า “พวกท่านอย่าได้โต้แย้งฉันในสิ่งที่ฉันปล่อยไว้ (ไม่ใช้ไม่ห้าม) เพราะแท้จริงประชาชาติก่อนหน้าพวกท่านได้พินาศเนื่องจากพวกเขาชอบถามและแข็งข้อต่อบรรดานบีของพวกเขา ฉะนั้นเมื่อฉันห้ามพวกท่านจากสิ่งใด พวกท่านต้องหลีกห่างจากสิ่งนั้นและเมื่อฉันใช้พวกท่านทำสิ่งใด พวกท่านต้องทำในสิ่งนั้น เท่าที่พวกท่านสามารถจะทำได้” [มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 7288สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่: 1337]