ความประเสริฐของการถือศีลอด
หมวดหมู่
Full Description
ความประเสริฐของการถือศีลอด
فضائل الصيام
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري
จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
http://islamhouse.com/145012
ความประเสริฐของการถือศีลอด. 1
ความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน.. 3
ความประเสริฐของการถือศีลอด. 4
ความประเสริฐของบรรดาผู้ที่ถือศีลอด. 6
ความประเสริฐของผู้ที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ.. 7
ความประเสริฐของผู้ที่ทำการละหมาดในคืนลัยละตุลก็อดรฺด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ.. 8
ความประเสริฐของผู้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและตามด้วยการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล. 9
ความประเสริฐของผู้ที่ได้ถือศีลอดสามวันในทุกๆเดือน.. 10
ความประเสริฐของการถือศีลอด
ความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إذَا دَخَلَ رَمَضَانُ فُتِـحَتْ أَبْوَابُ السَّمَاءِ، وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ جَهَنَّمَ، وَسُلْسِلَتِ الشَّيَاطِينُ»، وفي لفظ: «فُتِـحَتْ أَبْوَابُ الجَنَّةِ».
ความว่า “เมื่อเข้าเดือนเราะมะฎอน ประตูต่างๆของฟากฟ้าจะถูกเปิด ประตูต่างๆของนรกจะถูกปิดลง อีกทั้งชัยฏอน(มารร้าย)จะถูกพันธนาการ” ในเนื้อหาหะดีษอีกบทหนึ่งกล่าวว่า “ประตูสวรรค์จะถูกเปิดขึ้น” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1898 และ 1999 และมุสลิม หะดีษที่ 1079 สำนวนเป็นของอัลบุคอรีย์)
ความประเสริฐของการถือศีลอด
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«قَالَ اللهُ: كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ لَـهُ إلَّا الصِّيَامَ فَإنَّهُ لِي، وَأَنَا أَجْزِي بِـهِ، وَالصِّيَامُ جُنَّةٌ، وَإذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِ أَحَدِكُمْ، فَلا يَرْفُثْ وَلا يَصْخَبْ، فَإنْ سَابَّهُ أَحَدٌ أَوْ قَاتَلَـهُ فَلْيَـقُلْ إنِّي امْرُؤٌ صَائِمٌ، وَالَّذِي نَفْسُ مُـحَـمَّدٍ بِيَدِهِ لَـخُلُوفُ فَمِ الصَّائِمِ أَطْيَبُ عِنْدَ الله مِنْ رِيحِ المسْكِ، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ يَفْرَحُهُـمَا: إذَا أَفْطَرَ فَرِحَ، وَإذَا لَقِيَ رَبَّهُ فَرِحَ بِصَوْمِهِ».
ความว่า “อัลลอฮฺได้ตรัสว่า : การงานทุกอย่างของมนุษย์ทั้งหมดนั้นเป็นสิทธิ์ของเขาเองยกเว้นการถือศีลอดเพราะมันเป็นสิทธิ์ของข้า และข้าเป็นผู้ตอบแทนในสิ่งนี้ และการถือศีลอดนั้นเป็นโล่กำบัง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าเป็นวันถือศีลอดของคนหนึ่งในหมู่พวกท่านก็จงอย่าได้พูดจาหยาบคาย และอย่าได้ตะโกนเสียงดัง(ทะเลาะวิวาทกัน) และเมื่อมีคนหนึ่งได้ด่าทอเขาหรือวิวาทกับเขาก็ให้เขาจงกล่าวว่า ฉันนี้เป็นผู้ที่ถือศีลอด และขอสาบานด้วยชีวิตของมุหัมมัดที่อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงแล้วลมปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้นหอมหวล ณ อัลลอฮฺยิ่งกว่าน้ำหอมมิสกฺ(ชะมดเชียง)เสียอีก สำหรับผู้ที่ถือศีลอดนั้นมีความดีใจสองคราด้วยกัน ครั้งที่หนึ่งคือ เมื่อได้ละศีลอดเขาก็ดีใจที่ได้ละศีลอด ครั้งที่สองคือ เมื่อได้ไปพบกับพระเจ้าของเขาพร้อมกับการถือศีลอดของเขา” (บันทึกโดอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1904 และมุสลิม หะดีษที่ 1151สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์ )
ความประเสริฐของบรรดาผู้ที่ถือศีลอด
จากสะฮฺลฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«فِي الجَنَّةِ ثَمَانِيَةُ أَبْوَابٍ، فِيهَا بَابٌ يُسَمَّى الرَّيَّانَ لا يَدْخُلُـهُ إلا الصَّائِمُونَ».
ความว่า “ในสวนสวรรค์มีประตูทั้งหมดแปดประตู ประตูหนึ่งมีชื่อว่า อัรร็อยยาน ซึ่งไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ได้ผ่านประตูนี้เว้นแต่ผู้ที่ถือศีลอดเท่านั้น” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 3257 และมุสลิม หะดีษที่ 1152 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)
ความประเสริฐของผู้ที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ صَام رَمَضَانَ إيمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ».
ความว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ เขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษบาปที่ผ่านมา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 38 และมุสลิม หะดีษที่ 760 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)
ความประเสริฐของผู้ละหมาด(ตะรอวีหฺ)ในเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญจากอัลลอฮฺ
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إيمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ».
ความว่า “ผู้ใดที่ละหมาดในเดือนเราะมะฎอน(ตะรอวีหฺ)ด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ เขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 37 และมุสลิม หะดีษที่ 759 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)
ความประเสริฐของผู้ที่ทำการละหมาดในคืนลัยละตุลก็อดรฺด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ قَامَ لَيْلَةَ القَدْرِ إيمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ».
ความว่า “ผู้ใดที่ได้ละหมาดสุนัตในคืนลัยละตุลก็อดรฺด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ เขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1901 และมุสลิม หะดีษที่ 760 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)
ความประเสริฐของผู้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและตามด้วยการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล
จากอะบูอัยยูบ อัลอันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่าฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَـعَهُ سِتّاً مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ».
ความว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและถือศีลอดตามอีกหกวันในเดือนเชาวาลแล้ว เสมือนว่าเขาผู้นั้นได้ถือศีลอดหนึ่งปี” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 1164)
ความประเสริฐของผู้ที่ได้ถือศีลอดสามวันในทุกๆเดือน
จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ในเนื้อหามีกล่าวว่า) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«وصُمْ مِنَ الشَّهْرِ ثَلاثَةَ أَيَّامٍ، فَإنَّ الحَسَنَةَ بِـعَشْرِ أَمْثَالِـهَا، وَذَلِكَ مِثْلُ صِيَامِ الدَّهْرِ».
ความว่า “และจงถือศีลอดสามวันในทุกๆเดือน แท้ที่จริงแล้วหนึ่งความดีนั้นเทียบเท่าสิบความดี และ(หากปฏิบัติเช่นนั้น)ก็เท่ากับว่าได้ถือศีลอดหนึ่งปี” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1976 และมุสลิม หะดีษที่ 1159 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)