เศาะดะเกาะฮฺ (การทำทานหรือบริจาค) ที่เป็นสุนัต
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
เศาะดะเกาะฮฺที่เป็นสุนัต
﴿صدقة التطوع﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : อิสมาน จารง
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430
﴿صدقة التطوع﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: عثمان جارونج
مراجعة: صافي عثمان
مصدر : كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2009 - 1430
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เศาะดะเกาะฮฺ (การทำเศาะดะเกาะฮฺหรือบริจาค) ที่เป็นสุนัต
เคล็บลับในการบัญญัติการเศาะดะเกาะฮฺ
อิสลามได้เชิญชวนและสนับสนุนการเสียสละทรัพย์เพื่อเป็นการเมตตาต่อผู้อ่อนแอ และเป็นการช่วยเหลือผู้ยากจน พร้อมกับเป็นการแสวงหาผลบุญ ความเจริญทวีคูณ และการทำตามมารยาทของบรรดานบีในการสละทรัพย์และการทำดี
หุก่มของเศาะดะเกาะฮฺ
สุนัตให้ทำเศาะดะเกาะฮฺสุนัตจากสิ่งที่เหลือจากค่าใช้จ่ายของตัวเองและผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแล (เพราะ)เศาะดะเกาะฮฺจะช่วยลบล้างบาปเหมือนกับน้ำที่มาดับไฟ
เศาะดะเกาะฮฺนั้นสุนัตให้ทำได้ในทุกเวลา แต่จะเน้นหนักในเวลาและสภาวะต่อไปนี้
1- เวลา เช่น ในเดือนรอมาฎอน และสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะห์
2- สภาวะ คือในสภาวะที่มีความจำเป็นจะดีกว่าสภาวะปกติ ไม่ว่าความจำเป็นที่เกิดประจำ เช่นในฤดูหนาว(ทุกปีจะลำบาก) หรือจำเป็นแบบฉุกเฉิน เช่นเกิดภาวะอดอยาก แห้งแล้งเป็นต้น และเศาะดะเกาะฮฺที่ดีที่สุดคือเศาะดะเกาะฮฺที่ให้แก่เครือญาติที่มีความพยาบาท คือเก็บความโกรธอยู่ภายในใจ
ผลดีของเศาะดะเกาะฮฺ
1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ) [البقرة/ 274].
ความว่า “บรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์ของพวกเขาทั้งในเวลากลางคืนและเวลากลางวัน ทั้งโดยปกปิดและเปิดเผยนั้น พวกเขาจะได้รับรางวัลของพวกเขา ณ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา และไม่มีความกลัวอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นแก่พวกเขา และพวกเขาก็จะไม่เสียใจ” (อัลบะเกาะเราะฮฺ 274)
2- รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ تَصَدَّقَ بِعَدْلِ تَـمْرَةٍ مِنْ كَسْبٍ طَيِّبٍ، وَلا يَـقْبَلُ الله إلا الطَّيِّبَ، وَإنَّ الله يَتَقَبَّلُـهَا بِيَـمِينِـهِ، ثُمَّ يُرَبِّيهَا لِصَاحِبِـهِ كَمَا يُرَبِّي أَحَدُكُمْ فَلُوَّهُ، حَتَّى تَـكُونَ مِثْلَ الجَبَلِ». متفق عليه
ความว่า “ใครที่ทำเศาะดะเกาะฮฺแม้เพียงเท่าอินทผลัมหนึ่งเม็ดจากรายได้ที่ดี(หะลาล) และอัลลอฮฺนั้นจะไม่รับสิ่งใดนอกจากสิ่งที่ดีเท่านั้น แท้จริงอัลลอฮฺจะรับมันด้วยมือขวาของพระองค์แล้วจะทรงทำให้มันเจริญงอกงามเพื่อเจ้าของของมัน เหมือนดังที่คนหนึ่งคนใดจากพวกท่านได้ทำการเลี้ยงดูลูกม้าของเขา จนมันเพิ่มพูนมากขึ้นเป็นเสมือนดังภูเขา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1410 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 1014)
ผู้ที่สมควรได้รับเศาะดะเกาะฮฺมากที่สุด
ผู้ที่สมควรได้รับเศาะดะเกาะฮฺมากที่สุดคือลูกหลานของผู้ให้เศาะดะเกาะฮฺและครอบครัวของเขา ญาติใกล้ชิด และเพื่อนบ้าน ส่วนเศาะดะเกาะฮฺที่ดีที่สุดที่บุคคลให้คือเศาะดะเกาะฮฺที่ให้แก่ตัวเองและครอบครัว และถือว่าผลบุญจากเศาะดะเกาะฮฺนั้นจะยังคงได้รับแม้เศาะดะเกาะฮฺจะตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่ใช่ผู้ที่สามารถรับเศาะดะเกาะฮฺได้ก็ตาม
- เศาะดะเกาะฮฺที่ดีที่สุดคือเศาะดะเกาะฮฺที่บริจาคขณะที่ยังร่ำรวย และเศาะดะเกาะฮฺของคนที่มีทรัพย์เพียงเล็กน้อยคือเศาะดะเกาะฮฺที่ประเสริฐที่สุด นั่นคือสิ่งที่เหลือจากความจำเป็นของตนและคนที่ตนต้องรับผิดชอบดูแล
หุก่มเศาะดะเกาะฮฺของภรรยาที่เอาสมบัติของสามีของนางมาบริจาค
อนุญาตให้ผู้หญิงทำเศาะดะเกาะฮฺจากสิ่งที่อยู่ในบ้านของสามีหากรู้ว่าเขาพอใจให้ทำอย่างนั้น และนางก็จะได้ผลบุญครึ่งหนึ่ง แต่ถือว่าหะรอมหากนางรู้ว่าเขาไม่ยินยอมให้กระทำอย่างนั้น และหากว่าเขาอนุญาตให้นางทำเช่นนั้นแล้ว ก็ถือว่านางจะได้ผลบุญเท่ากับผลบุญของเขา
เวลาในการทำเศาะดะเกาะฮฺที่ดีที่สุด
การให้เศาะดะเกาะฮฺขณะที่ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดีถือว่าดีกว่าการให้เศาะดะเกาะฮฺเมื่อเจ็บป่วย และการให้เศาะดะเกาะฮฺในเวลาที่ยากลำบาก(เกิดภาวะขาดแคลนในสังคม)ดีกว่าการให้ในยามปรกติ(สังคมไม่ได้เกิดความขัดสนใดๆ) ทั้งนี้หากทำเศาะดะเกาะฮฺนั้นเพื่ออัลลอฮฺผู้ทรงเกียรติและยิ่งใหญ่
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ) [الإنسان/8-9]
ความว่า “และพวกเขาให้อาหารเนื่องด้วยความรักต่อพระองค์ แก่บรรดาคนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก (พวกเขากล่าวว่า)แท้จริงเราให้อาหารแก่พวกเขาเหล่านั้นโดยหวังความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เราไม่ได้หวังการตอบแทนและการขอบคุณจากพวกท่านแต่ประการใด” (อัล-อินสาน : 8-9)
- ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นไม่อนุญาตให้รับทั้งซะกาตที่วาญิบและเศาะดะเกาะฮฺที่สุนัต ส่วนลูกหลานของเผ่าฮาชิมรวมถึงบรรดาบ่าวของเผ่านี้ไม่อนุญาติให้รับซะกาต แต่อนุญาตให้รับเศาะดะเกาะฮฺสุนัตได้
หุก่มการให้เศาะดะเกาะฮฺแก่คนต่างศาสนิก
อนุญาตให้มอบเศาะดะเกาะฮฺบริจาคแก่คนต่างศาสนิกที่ไม่ใช่คู่สงครามได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการโน้มน้าวจิตใจและเพื่อขจัดความหิวโหยของเขา ซึ่งมุสลิมจะได้รับผลบุญในการให้เศาะดะเกาะฮฺนี้ และในการทำดีต่อทุกสิ่งที่มีชีวิตนั้นล้วนมีผลบุญด้วยกันทั้งสิ้น
หุก่มการให้แก่ผู้ขอ
สุนัตให้บริจาคแก่ผู้ที่มาขอทานแม้จะเล็กน้อยก็ตาม เพราะคำกล่าวของ อุมมุ บุญัยด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ที่ว่า โอ้ท่านรสูลุลลอฮฺ ขออัลลอฮฺประทานพรแก่ท่าน แท้จริงคนยากจนได้มายืนขอหน้าประตูฉัน บางครั้งฉันไม่มีอะไรจะให้แก่เขา ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่นางว่า
«إنْ لَـمْ تَـجِدِي لَـهُ شَيْئاً تُعْطِينَـهُ إيَّاهُ إلَّا ظِلْفاً مُـحْرَقاً، فَادْفَعيهِ إلَيْـهِ فِي يَدِهِ». أخرجه أبو داود والترمذي
ความว่า “หากนางไม่มีอะไรจะให้แก่เขานอกจากกลีบสัตว์ที่ไหม้ นางก็จงให้ โดยเอามันใส่ในมือของเขาเถิด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1667 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 665)
โทษของผู้ที่ขอทานโดยไม่มีความจำเป็น
1- รายงานจากท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَا يَزَالُ الرَّجُلُ يَسْألُ النَّاسَ حَتَّى يَأْتِيَ يَوْمَ القِيَامَةِ وَلَيْسَ فِي وَجْهِهِ مُزْعَةُ لَـحْـمٍ». متفق عليه
ความว่า “ชายคนหนึ่งจะยังคงขอจากผู้คน(จนกว่า)โดยเขาจะฟื้นขึ้นมาในวันกิยามะฮฺในสภาพที่ใบหน้าของเขาปราศจากเนื้อแม้แต่นิดเดียว” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1474 และมุสลิม หมายเลข 1040 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
2- และมีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ سَألَ النَّاسَ أمْوَالَـهُـمْ تَـكَثُّراً، فَإنَّمَا يَسْألُ جَـمْرًا، فَلْيَسْتَقِلَّ أوْ لِيَسْتَـكْثِرْ». أخرجه مسلم
ความว่า “ใครที่ทำการขอทรัพย์จากผู้คนเพื่อให้ได้จำนวนมาก แท้จริงแล้วเขากำลังถามหาก้อนไฟนรก ดังนั้น ปล่อยให้เขาขอน้อยๆ หรือจะขอเยอะๆ (ก็ตามแต่เขาจะตัดสินใจเอง)” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1041)
ใครที่สามารถขอเศาะดะเกาะฮฺได้
การขอถือว่าหะรอม(ต้องห้าม) ยกเว้นการขอจากผู้มีอำนาจปกครอง หรือขอในเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่นผู้ที่แบกรับภาระใดภาระหนึ่ง(เช่นดูแลเด็กกำพร้า) หรือประสบภัยพิบัติ หรือประสบกับความขัดสน โดยที่ผู้ขอไม่มีทรัพย์สินพอที่จะแก้ไขภาวะดังกล่าวได้ ดังนั้นถ้าหากไม่เป็นไปดังที่กล่าวมาถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องห้ามที่จะทำการขอ
รายงานจากท่านสะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«المَسَائِلُ كُدُوحٌ يَكْدحُ بِـهَا الرّجُلُ وَجْهَهُ، فَمَنْ شَاءَ أَبْقَى عَلَى وَجْهِهِ، وَمَنْ شَاءَ تَرَكَ، إلَّا أَنْ يَسْأَلَ الرَّجُلُ ذَا سُلْطَانٍ، أَوْ فِي أَمْرٍ لا يَـجِدُ مِنْـهُ بُدّاً». أخرجه أحمد وأبو داود
ความว่า “การขอถือเป็นตำหนิที่จะสร้างตำหนิให้แก่เกียรติของคนๆ หนึ่ง ดังนั้นใครที่คิดจะรักษาเกียรติของตนก็จงรักษา(โดยการไม่ขอ) และใครที่ไม่ต้องการรักษาก็แล้วแต่เขา ทั้งนี้ยกเว้นคนที่ขอจากผู้มีอำนาจปกครอง หรือขอในสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เท่านั้น” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด หมายเลข 20529 และอบู ดาวูด หมายเลข 1639 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
- สุนัตให้มีการใช้จ่ายทรัพย์ให้หนทางที่ดีที่เป็นกุศล อันจะเป็นการรักษาทรัพย์และทำให้มันเจริญงอกเงยขึ้น เพราะหะดีษที่ว่า
«مَا مِنْ يَومٍ يُصْبِحُ العِبَادُ فِيهِ إلا مَلَكَانِ يَنْزِلانِ فَيَـقُولُ أَحَدُهُـمَا: اللَّـهُـمَّ أَعْطِ مُنْفِقاً خَلَفاً، وَيَـقُولُ الآخَرُ: اللَّـهُـمَّ أَعْطِ مُـمْسِكاً تَلَفاً». متفق عليه
ความว่า “ไม่มีเช้าวันไหนที่บ่าวของอัลลอฮฺได้ตื่นเช้าขึ้นมา นอกจากจะมีมลาอิกะฮฺสองท่านลงมา ท่านหนึ่งจะกล่าวว่า “โอ้ อัลลอฮฺจงให้แก่ผู้ที่ใช้จ่ายในทางที่ดี(ผู้ที่ทำเศาะดะเกาะฮฺ) ด้วยสิ่งที่มาชดเชย(ให้งอกเงยเพิ่มพูน)” อีกท่านหนึ่งจะกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺจงให้แก่ของผู้ที่กำมันไว้(ไม่ยอมจ่ายในทางที่ดี)ประสบกับความหายนะ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1442 และมุสลิม หมายเลข 1010)
เมื่อบุคคลหนึ่งเข้ารับอิสลามเขาจะยังคงได้รับผลบุญของการบริจาคเศาะดะเกาะฮฺของเขาก่อนการเข้ารับอิสลาม
รายงานจากท่านหะกีม บุตร หิชาม เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านได้กล่าวว่า “โอ้ท่านรสูลุลลอฮฺ! ท่านคิดว่าเป็นอย่างไรในสิ่งที่ฉันเคยทำดีในช่วงที่ยังไม่รับอิสลาม จากเศาะดะเกาะฮฺบริจาค การปล่อยทาส การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ แล้วฉันจะได้รับผลบุญของมันหรือไม่? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَسْلَـمْتَ عَلَى مَا سَلَفَ مِنْ خَيْرٍ». متفق عليه
ความว่า “ท่านได้รับอิสลามพร้อมกับความดีต่างๆ ที่ท่านได้ทำมา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1436 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 123)
มารยาทให้การให้เศาะดะเกาะฮฺ
การให้เศาะดะเกาะฮฺเป็นอิบาดะฮฺหนึ่งจากบรรดาอิบาดะฮฺต่างๆ ซึ่งจะมีมารยาทและเงื่อนไขต่างๆ ที่สำคัญๆ มีดังนี้
1- ต้องมีความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ ไม่มีการแทรกหรือทำให้เปรอะเปื้อนด้วยการโอ้อวดหรือหวังชื่อเสียง
รายงานจากท่านอุมัร บุตร อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านได้ยินท่าน รสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ، وَإنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى». متفق عليه
ความว่า “แท้จริงการงานต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับเจตนา และสำหรับทุกๆ คนนั้นจะได้ตามเจตนาของเขา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 1907)
2- เศาะดะเกาะฮฺนั้นต้องมาจากการแสวงหาที่หะลาลและดี เพราะอัลลอฮฺนั้นดี และพระองค์จะไม่รับยกเว้นแต่สิ่งที่ดี
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ) [البقرة/267].
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริจาคส่วนหนึ่งจากบรรดาสิ่งที่ดีๆ ของสิ่งที่พวกเจ้าได้แสวงหาไว้ และจากสิ่งที่เราได้ให้ออกมาจากพื้นดินสำหรับพวกเจ้า และพวกเจ้าอย่ามุ่งเอาสิ่งที่เลวมาบริจาค ทั้งๆ ที่พวกเจ้าเองก็มิใช่จะเป็นผู้รับมันไว้นอกเสียจากว่าพวกเจ้าจะหลับตาในการรับมันเท่านั้น และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นทรงมั่งมี ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 267)
3- เศาะดะเกาะฮฺนั้นต้องมาจากทรัพย์ที่มีคุณภาพดีและเป็นที่รักและชื่นชอบของเจ้าของ
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) [آل عمران/92]
ความว่า “พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลย จนกว่าพวกเจ้าจะบริจาค จากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ และสิ่งใดที่พวกเจ้าบริจาคไป แท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งในสิ่งนั้น” (อาล อิมรอน 92)
4- ต้องไม่ถือว่าทรัพย์ที่ให้เศาะดะเกาะฮฺนั้นเยอะ และหลีกห่างจากความรู้สึกโอ้อวดและหลงตัวเอง อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ) [المدثر/6]
ความว่า “และอย่าทำคุณ เพื่อหวังการตอบแทนอันมากมาย” (อัล-มุดดัษษิร 6)
5- ต้องหลีกห่างจากสิ่งที่จะทำลายเศาะดะเกาะฮฺนั้น เช่น การลำเลิกและการก่อความเดือดร้อน อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ....) [البقرة/264]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าให้บรรดาเศาะดะเกาะฮฺของพวกเจ้าไร้ผล ด้วยการลำเลิก และการก่อความเดือดร้อน..” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 264)
6- ปกปิดการทำเศาะดะเกาะฮฺ และไม่เปิดเผยยกเว้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ) [البقرة/271]
ความว่า “หากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งที่ให้เป็นเศาะดะเกาะฮฺ มันก็เป็นสิ่งที่ดีอยู่ และถ้าหากพวกเจ้าปกปิดมันและให้มันแก่บรรดาผู้ยากจนแล้ว มันก็เป็นสิ่งที่ดีแก่พวกเจ้ายิ่งกว่า และพระองค์จะทรงลบล้างความผิดต่างๆ ของพวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นทรงรู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 271)
7- ให้เศาะดะเกาะฮฺด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม พอใจ และทำให้ผู้ขอหรือผู้จัดเก็บเกิดความพึงพอใจโดยการทุ่มเทตามหน้าที่ที่วาญิบต้องทำ
รายงานจากท่านญะรีร บุตร อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِذَا أَتَاكُمُ الْمُصَدِّقُ فَلْيَصْدُرْ عَنْكُمْ وَهُوَ عَنْكُمْ رَاضٍ». أخرجه مسلم
ความว่า “หากผู้ที่รับเศาะดะเกาะฮฺมาหาพวกท่าน พวกท่านจงแสดงออกในลักษณะที่ทำให้เขาพึงพอใจพวกท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 989 ในเรื่องการทำให้ผู้จัดเก็บเศาะดะเกาะฮฺพึงพอใจตราบเท่าที่เขาไม่ขอในสิ่งที่ต้องห้าม)
8- ให้รีบเร่งทำเศาะดะเกาะฮฺตอนที่ยังมีชีวิต โดยให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็นที่สุดและญาติสนิท ซึ่งเป็นคนที่สมควรได้รับก่อนคนอื่นๆ เพราะเป็นทั้งเศาะดะเกาะฮฺและการเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติด้วย
1- อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ) [ المنافقون/10]
ความว่า “ และจงบริจาคจากสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าก่อนที่ความตายจะเกิดแก่ผู้ใดในหมู่พวกเจ้า แล้วเขาก็จะกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้า หากพระองค์ประวิงเวลาให้ช้าแก่ข้าอีกสักระยะเวลาหนึ่ง แล้วข้าจะทำเศาะดะเกาะฮฺและข้าจะเป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้ที่มีคุณธรรม” (อัลมุนาฟิกูน 10)
2- อัลลอฮฺตรัสว่า
( ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆﰇ) [الأنفال/75]
ความว่า “ ..และบรรดาญาตินั้น บางส่วนของพวกเขาเป็นผู้ที่สมควรต่ออีกบางส่วนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง” (อัล-อันฟาล 75)