ซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ และซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน เป็นหนึ่งในซูเราะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่ท่านเราะสูลสนับสนุนเร้าให้อ่าน และสัญญาว่าจะได้รับผลบุญอย่างมากมาย และบอกว่าการอ่านมันจะทำให้ได้รับความดีงามอย่างมากมายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ความประเสริฐของการอ่านอัลกุรอาน - (ไทย)
อัลกุรอานคือคำพูดของอัลลอฮฺ และการอ่านอัลกุรอานเป็นการรำลึก(ซิกร์)ที่ประเสริฐที่สุด อัลลอฮฺทรงให้ผลบุญการอ่านในทุกอักษรละหนึ่งความดี และทรงให้ผู้ที่อ่านอัลกุรอานอย่างชำนาญอยู่ในตำแหน่งอันมีเกียรติยิ่งในสรวงสวรรค์ และผู้ที่การอ่านเป็นเรื่องลำบากสำหรับเขา เขาจะได้รับผลบุญของการอ่าน และผลบุญของความลำบาก เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
อธิบายสูเราะฮฺ อัล-อินซาน และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดหกตอน เป็นสูเราะฮฺที่สรุปเรื่องราวชีวิตของมนุษย์และการเดินทางสู่สวรรค์อันเป็นสถานพำนักถาวรที่เขาจากมา สูเราะฮฺนี้ได้ฉายภาพของสวรรค์อย่างสวยงาม เพื่อกระตุ้นให้มนุษย์มุ่งมั่นปฏิบัติความดีตามคำสอนอัลกุรอานด้วยความอดทน เพื่อจะได้รับผลตอบแทนเป็นสวรรค์ตามที่พวกเขาปรารถนาด้วยความเมตตาของอัลลอฮฺ
กล่าวถึงบทเรียนต่างๆ จากอายะฮฺที่ 38 ในสูเราะฮฺ อัล-อันอาม เกี่ยวกับความยุติธรรมของอัลลอฮฺ ความรอบรู้ของพระองค์ แม้กระทั่งกับบรรดาสัตว์เดรัจฉานหรือนกชนิดต่างๆ พระองค์เป็นผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งเหล่านี้และเป็นผู้ให้ริสกีเครื่องปัจจัยยังชีพแก่พวกมันทั้งหมดไม่ต่างไปจากมนุษย์ พระองค์จึงคู่ควรที่สุดแล้วที่เราจำเป็นต้องมอบหมายต่อพระองค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
มารยาทในการอ่านอัลกุรอาน - (ไทย)
มารยาทในการอ่านอัลกุรอาน กล่าวถึงมารยาทต่างๆ ที่จะต้องคำนึงถึงสำหรับผู้ที่ต้องการอ่านอัลกุรอาน อาทิ ความบริสุทธิ์ใจ ร่างกายต้องสะอาด อ่านด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ อ่านชัดถ้อยชัดคำ การขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฎอน การใคร่ครวญความหมาย การสุญูดติลาวะฮฺ เป็นต้น เป็นหนึ่งในบทเรียนสำหรับเดือนเราะมะฎอนของท่านเชคอัล-อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ
หนึ่งบทใคร่ครวญกับอายะฮฺ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่ากล่าวว่า “รออินา” แต่จงกล่าวว่า “อุนซุรนา” เป็นโองการที่กล่าวถึงมารยาทต่อท่านนบี และห้ามเลียนแบบชาวยิวที่เล่นลิ้นด่าทอท่าน
อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดสี่ตอน เนื้อหาเป็นการพูดถึงคำสั่งของอัลลอฮฺให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ประกอบอิบาดะฮฺกิยามุลลัยล์ หรือการละหมาดกลางคืน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างตัวตนและจิตวิญญาณให้พร้อมแบกรับภารกิจในการทำงานอิสลามอันหนักหน่วง และมีความอดทนต่อการเผชิญหน้าความกดดันจากแรงต่อต้านของบรรดามุชริกีนมักกะฮฺ เป็นอีกหนึ่งสูเราะฮฺที่สะท้อนให้เห็นการทุ่มเทที่ท่านนบีได้ทำตัวอย่างเอาไว้แก่เราประชาชาติของท่านอย่างสวยงาม
ความเป็นมาของบนีอิสรออีล จากยุคอิบรอฮีม อิสหาก ยะอฺกูบ ยูซุฟ และมูซา อะลัยฮิมุสสลาม พูดถึงเรื่องราวของอิสรออีลโดยเฉพาะในฐานะที่เป็นกลุ่มชนที่รับมอบหมายให้มาเป็นตัวแทนของอัลลอฮฺในการดูแลแผ่นดินของพระองค์ แต่ประสบความล้มเหลวและบิดพลิ้วในหน้าที่ ลำดับเหตุการณ์คร่าวๆ เกี่ยวกับการอพยพของนบีมูซาและบนีอิสรออีลจากอียิปต์ และเหตุการณ์หลังจากการอพยพที่เริ่มเผยตัวตนที่แท้จริงของบนีอิสรออีล เป็นการเปิดเผยธาตุแท้นิสัยยิว
การผูกพันกับอัลกุรอาน ภาวะยุ่งงานกับการห่างหายจากอัลกุรอาน ความรู้สึกเมื่อได้กลับมาหาอัลกุรอานอีกครั้ง การยกตัวอย่างกลุ่มชนที่ล้มเหลวในการรับอะมานะฮฺเป็นเคาะลีฟะฮฺบนหน้าแผ่นดิน (บนี อิสรออีล) คุณลักษณะสอนคนอื่นทำดีแต่ลืมตัวเอง การอาศัยละหมาดและการอดทนในการแก้ปัญหาชีวิต แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับนิสัยของยิว
เราะมะฎอน คือเดือนแห่งอัลกุรอาน ซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาเริ่มแรกในเดือนนี้ อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาด้วยการกล่าวถึงการถือศีลอดและผลดีของมัน และอัลลอฮฺยังได้กำหนดให้อ่านอัลกุรอานในเดือนนี้ให้ได้มากที่สุด และนี่คือตารางอ่านอัลกุรอานเพื่อให้เคาะตัมจบเล่ม หนึ่งรอบ สองรอบ และสามรอบ (ในหนึ่งเดือน) พร้อมกับระบุจำนวนหน้าที่ให้อ่านในแต่ละวันและคืน และช่วงเวลาที่แนะนำให้อ่าน.
อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล คือการอธิบายกฎเกณฑ์แห่งชัยชนะ ต้องมีทั้งด้าน ร็อบบานียะฮฺ(เงื่อนไขด้านการศรัทธาเชื่อมั่น) และด้าน มาดดียะฮฺ (เงื่อนไขทางด้านวัตถุปัจจัย) สูเราะฮฺอัล-อันฟาล เป็นสูเราะฮฺมะดะนียะฮฺ ซึ่งถูกประทานลงมาหลังจากเกิดสงครามบะดัรฺ โดยถือเป็นสงครามแรกในประวัติศาสตร์อิสลามอันรุ่งโรจน์ และถือเป็นชัยชนะแรกของกองทัพแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ได้ชื่อว่า อัร-เราะหฺมาน กระทั่งเศาะหาบะฮฺบางท่านได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ว่า “สูเราะฮฺบะดัร” และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ในอัลกุรอานว่า “อัลฟุรกอน” เนื่องจากสูเราะฮฺนี้มีการกล่าวถึงเหตุการณ์นี้อย่างยืดยาว และยังมีการนำเสนอแบบแผนของการทำสงครามอย่างละเอียด พร้อมทั้งยังมีการชี้แจงถึงความจำเป็นที่มุสลิมต้องเป็นวีรบุรุษ และมีจุดยืนต่อความเท็จด้วยความกล้าหาญชาญชัยและยืนหยัดอย่างมั่นคง
อัลกุรอาน อ่านโดยเชค สะอัด อัล-ฆอมิดีย์ พร้อมแปลความหมายภาษาไทย ญุซอ์ ที่ 28-30