บทเรียนจากสูเราะฮฺ อัล-อันอาม อายะฮฺที่ 38
หมวดหมู่
Full Description
บทเรียนจาก
สูเราะฮฺ อัล-อันอาม อายะฮฺที่ 38
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2012 - 1433
فوائد من قوله تعالى
«وَمَا مِن دَآبَّةٖ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَلَا طَٰٓئِرٖ يَطِيرُ بِجَنَاحَيۡهِ .... »
[الأنعام: ٣٨]
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبد الله الشقاوي
ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
สิ่งที่ได้รับจากสูเราะฮฺอัล-อันอาม อายะฮฺที่ 38
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและศานติจงประสบแด่ศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์
อัลลอฮฺทรงประทานอัลกุรอานลงมาเพื่อให้เราได้ครุ่นคิดและปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ พระองค์ตรัสว่า:
﴿ كِتَٰبٌ أَنزَلۡنَٰهُ إِلَيۡكَ مُبَٰرَكٞ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٢٩ ﴾ [ص : ٢٩]
ความว่า “คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาโองการต่างๆ ของอัลกุรอาน และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ” (ศอด 29)
และเพื่อเป็นการปฏิบัติตามอายะฮฺข้างต้น เราควรที่จะมาฟังและทำความเข้าใจเพื่อที่จะได้พินิจพิเคราะห์ถึงข้อคิดต่างๆ และประโยชน์ที่เราจะได้รับ พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า:
﴿ وَمَا مِن دَآبَّةٖ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَلَا طَٰٓئِرٖ يَطِيرُ بِجَنَاحَيۡهِ إِلَّآ أُمَمٌ أَمۡثَالُكُمۚ مَّا فَرَّطۡنَا فِي ٱلۡكِتَٰبِ مِن شَيۡءٖۚ ثُمَّ إِلَىٰ رَبِّهِمۡ يُحۡشَرُونَ ٣٨ ﴾ [الأنعام: ٣٨]
ความว่า “และไม่มีสัตว์ใดๆ ในแผ่นดิน และไม่มีสัตว์ปีกใดๆ ที่บินด้วยสองปีกของมัน นอกจากประหนึ่งเป็นประชาชาติเยี่ยงพวกเจ้านั่นเอง เรามิได้ให้บกพร่องแต่อย่างใดในคัมภีร์ แล้วยังพระเจ้าของพวกเขานั้น พวกเขาจะถูกนำไปชุมนุม” (อัล-อันอาม 38)
1) สำหรับคำตรัสของพระองค์ที่ว่า:
﴿ وَمَا مِن دَآبَّةٖ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَلَا طَٰٓئِرٖ يَطِيرُ بِجَنَاحَيۡهِ إِلَّآ أُمَمٌ أَمۡثَالُكُمۚ ﴾
"และไม่มีสัตว์ใดๆ ในแผ่นดิน และไม่มีสัตว์ปีกใดๆ ที่บินด้วยสองปีกของมันนอกจากประหนึ่งเป็นประชาชาติเยี่ยงพวกเจ้านั่นเอง" นั้น ท่านมุญาฮิดกล่าวอธิบายว่า: "หมายถึง พระองค์ทรงสร้างมันเป็นชนิดและสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีชื่อเฉพาะอันเป็นที่รู้จักกัน" ส่วนท่านเกาะตาดะฮฺกล่าวว่า: "นกคือประชาชาติหนึ่ง มนุษย์ก็คือประชาชาติหนึ่ง และญินก็นับเป็นอีกประชาชาติหนึ่ง" อัส-สุดดียฺ กล่าวว่า: "คำตรัสของพระองค์ที่ว่า "นอกจากประหนึ่งเป็นประชาชาติเยี่ยงพวกเจ้านั่นเอง" นั้นหมายถึง มันเป็นสิ่งที่ถูกสร้างเหมือนกับพวกเจ้า" (ตัฟสีรฺ อิบนุ กะษีรฺ เล่ม 6 หน้า 31)
2) คำตรัสที่ว่า:
﴿ مَّا فَرَّطۡنَا فِي ٱلۡكِتَٰبِ مِن شَيۡءٖۚ ﴾
ความว่า “เรามิได้ให้บกพร่องแต่อย่างใดในคัมภีร์”
กล่าวคือ พระองค์ทรงรอบรู้ถึงสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างทั้งหมด พระองค์ไม่ทรงลืมที่จะประทานริสกีแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะอยู่บนบกหรือในทะเล ดังที่พระองค์ตรัสว่า:
﴿ ۞وَمَا مِن دَآبَّةٖ فِي ٱلۡأَرۡضِ إِلَّا عَلَى ٱللَّهِ رِزۡقُهَا وَيَعۡلَمُ مُسۡتَقَرَّهَا وَمُسۡتَوۡدَعَهَاۚ كُلّٞ فِي كِتَٰبٖ مُّبِينٖ ٦ ﴾ [هود: ٦]
ความว่า “และไม่ว่าสัตว์ตัวใดที่เหยียบย่ำอยู่ในแผ่นดิน เว้นแต่เครื่องยังชีพของมันเป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ และพระองค์ทรงรู้ที่พำนักของมันและที่พักชั่วคราวของมัน ทุกสิ่งอยู่ในบันทึกอันชัดแจ้ง” (ฮูด 6) กล่าวคือ พระองค์ทรงรู้ชื่อ จำนวน ที่อยู่ และความเคลื่อนไหวของมันในทุกอิริยาบถ พระองค์ตรัสว่า:
﴿ وَكَأَيِّن مِّن دَآبَّةٖ لَّا تَحۡمِلُ رِزۡقَهَا ٱللَّهُ يَرۡزُقُهَا وَإِيَّاكُمۡۚ وَهُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ ٦٠ ﴾ [العنكبوت: ٦٠]
ความว่า “และสัตว์ตั้งกี่ชนิดที่มันมิสามารถแสวงหาเครื่องยังชีพของมัน แล้วอัลลอฮฺทรงประทานเครื่องยังชีพแก่พวกมันและแก่พวกเจ้า และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อัล-อันกะบูต 60) กล่าวคือ พวกมันไม่สามารถจะแสวงหาและได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น หรือเก็บสะสมสิ่งใดไว้สำหรับวันรุ่งขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง
﴿ ٱللَّهُ يَرۡزُقُهَا وَإِيَّاكُمۡۚ ﴾
“อัลลอฮฺทรงประทานเครื่องยังชีพแก่พวกมันและแก่พวกเจ้า” คือ อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงประทานริสกีเครื่องยังชีพ และเป็นผู้แจกจ่ายริสกีแก่ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างตามแต่สมควร แม้กระทั่งเมล็ดข้าวโพดบนพื้นดิน นกในอากาศ หรือปลาในน้ำ (ตัฟสีรฺ อิบนุ กะษีรฺ เล่ม 10 หน้า 526)
3) คำตรัสของพระองค์ที่ว่า:
﴿ ثُمَّ إِلَىٰ رَبِّهِمۡ يُحۡشَرُونَ ﴾
“แล้วยังพระเจ้าของพวกเขานั้นพวกเขาจะถูกนำไปชุมนุม”
อิบนุ อบี หาติม บันทึกด้วยสายรายงานของท่าน ถึงท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า: "ในที่นี้ หมายถึงความตาย" แต่อีกทัศนะหนึ่งเห็นว่า หมายถึงการฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺ ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า:
﴿ وَإِذَا ٱلۡوُحُوشُ حُشِرَتۡ ٥ ﴾ [التكوير: ٥]
ความว่า “และเมื่อสัตว์ถูกนำมารวมกัน” (อัตตักวีร 5)
ท่านอบูซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นแกะสองตัวขวิดกัน ท่านจึงถามฉันว่า:
«يَا أَبَا ذَرٍّ، هَلْ تَدْرِيْ فِيْمَ تَنْتَطِحَانِ؟» قَالَ : لَا، قَالَ صلى الله عليه وسلم : «لَكِنَّ اللهَ يَدْرِيْ وَسَيَقْضِيْ بَيْنَهُمَا» [رواه أحمد برقم 21438]
ความว่า “อบูซัรฺ ท่านทราบหรือไม่ว่ามันทั้งสองขวิดกันด้วยเรื่องใด?" ฉันตอบว่า “ไม่ทราบครับ” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “แต่ทว่าพระองค์อัลลอฮฺนั้นทรงรู้ และจะทรงตัดสินระหว่างมันทั้งสอง” (บันทึกโดยอิมามอะหฺมัด เลขที่หะดีษ 21438)
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้กล่าวอธิบายคำตรัสของพระองค์อัลลอฮฺที่ว่า:
﴿ إِلَّآ أُمَمٌ أَمۡثَالُكُمۚ مَّا فَرَّطۡنَا فِي ٱلۡكِتَٰبِ مِن شَيۡءٖۚ ثُمَّ إِلَىٰ رَبِّهِمۡ يُحۡشَرُونَ ﴾
ความว่า “นอกจากประหนึ่งเป็นประชาชาติเยี่ยงพวกเจ้านั้นเอง เรามิได้ให้บกพร่องแต่อย่างใดในคัมภีร์ แล้วยังพระเจ้าของพวกเขานั้นพวกเขาจะถูกนำไปชุมนุม” ดังนี้:
"ในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺจะทรงให้สรรพสิ่งฟื้นคืนชีพ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นก และทุกๆ สิ่ง ซึ่งความยุติธรรมของพระองค์นั้น ถึงขั้นที่ว่า ทรงให้สัตว์ที่ไม่มีเขาได้ทวงสิทธิคืนจากสัตว์ที่มีเขาซึ่งเคยทำร้ายรังแกมัน หลังจากนั้นพระองค์ตรัสว่า 'พวกเจ้าจงกลายเป็นฝุ่นดินเถิด' และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวว่า:
﴿ يَٰلَيۡتَنِي كُنتُ تُرَٰبَۢا ٤٠ ﴾ [النبأ: ٤٠]
ความว่า ”โอ้..ถ้าฉันเป็นฝุ่นดินเสียก็จะดี” (อัน-นะบะอ์ 40)" (ตัฟสีรอับดุรเราะซาก เล่ม 2 หน้า 206)
ท่านอบู ซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า:
قال أبو ذر رضي الله عنه : لَقَدْ تَرَكَنَا رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم ، وَمَا يَتَقَلَّبُ فِي السَّمَاءِ طَاِئرٌ ، إِلَّا ذَكَرَ لَنَا مِنْهُ عِلْمًا. [رواه أحمد برقم 21439]
ความว่า “ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งเราไป โดยที่แม้แต่เรื่องการเคลื่อนไหวของนกบนท้องฟ้า ท่านก็ได้ให้ความรู้แก่เรา” (บันทึกโดย อิมามอะหฺมัด เลขที่หะดีษ 21439)
สิ่งที่เราได้รับจากอายะฮฺนี้
ประการที่หนึ่ง ความยุติธรรมของอัลลอฮฺที่มีต่อสัตว์เดรัจฉาน นก และสิ่งที่ถูกสร้างทั้งปวง ซึ่งความยุติธรรมนี้มีความละเอียดเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่มนุษย์มองข้าม พระองค์ตรัสว่า:
﴿ وَنَضَعُ ٱلۡمَوَٰزِينَ ٱلۡقِسۡطَ لِيَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِ فَلَا تُظۡلَمُ نَفۡسٞ شَيۡٔٗاۖ وَإِن كَانَ مِثۡقَالَ حَبَّةٖ مِّنۡ خَرۡدَلٍ أَتَيۡنَا بِهَاۗ وَكَفَىٰ بِنَا حَٰسِبِينَ ٤٧ ﴾ [الأنبياء: ٤٧]
ความว่า “และเราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใดเลย และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน” (อัล-อันบิยาอ์ 47)
และตรัสอีกว่า:
﴿ يَٰبُنَيَّ إِنَّهَآ إِن تَكُ مِثۡقَالَ حَبَّةٖ مِّنۡ خَرۡدَلٖ فَتَكُن فِي صَخۡرَةٍ أَوۡ فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ أَوۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ يَأۡتِ بِهَا ٱللَّهُۚ إِنَّ ٱللَّهَ لَطِيفٌ خَبِيرٞ ١٦ ﴾ [لقمان: ١٦]
ความว่า “โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริงหากว่าความผิดนั้นหนักเท่าเมล็ดผักสักเมล็ดหนึ่ง แม้มันจะซ่อนอยู่ในหิน อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย หรืออยู่ในแผ่นดิน อัลลอฮฺก็จะทรงนำมันออกมา แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง” (ลุกมาน 16)
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
«لَتُؤَدُّنَّ الحُقُوْقَ إِلَى أَهْلِهَا يَوْمَ الِقَيامَةِ ، حَتَّى يُقَادُ للِشَّاةِ الجَلْحَاءِ مِنَ الشَّاةِ القَرْنَاءِ» [رواه مسلم برقم 2582]
ความว่า "ในวันกิยามะฮฺ พวกท่านจะต้องคืนสิทธิต่างๆแก่เจ้าของสิทธิอย่างแน่นอน แม้กระทั่งแกะไม่มีเขาก็จะได้เอาคืนสิ่งที่แกะมีเขาได้เคยทำกับมันไว้" (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่หะดีษ 2582)
ประการที่สอง พระองค์อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงประทานริสกีเครื่องยังชีพแก่สัตว์บก นก ปลา และสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่บนบก ในอากาศ ในทะเลหรือในแม่น้ำ ดังที่พระองค์ตรัสว่า:
﴿ ۞وَمَا مِن دَآبَّةٖ فِي ٱلۡأَرۡضِ إِلَّا عَلَى ٱللَّهِ رِزۡقُهَا وَيَعۡلَمُ مُسۡتَقَرَّهَا وَمُسۡتَوۡدَعَهَاۚ كُلّٞ فِي كِتَٰبٖ مُّبِينٖ ٦ ﴾ [هود: ٦]
ความว่า “และไม่ว่าสัตว์ตัวใดที่เหยียบย่ำอยู่ในแผ่นดิน เว้นแต่เครื่องยังชีพของมันเป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ และพระองค์ทรงรู้ที่พำนักของมันและที่พักชั่วคราวของมัน ทุกสิ่งอยู่ในบันทึกอันชัดแจ้ง” (ฮูด 6)
และตรัสอีกว่า:
﴿ وَكَأَيِّن مِّن دَآبَّةٖ لَّا تَحۡمِلُ رِزۡقَهَا ٱللَّهُ يَرۡزُقُهَا وَإِيَّاكُمۡۚ وَهُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ ٦٠ ﴾ [العنكبوت: ٦٠]
ความว่า “และสัตว์ตั้งกี่ชนิดที่มันมิสามารถแสวงหาเครื่องยังชีพของมัน อัลลอฮฺทรงประทานเครื่องยังชีพแก่พวกมัน และแก่พวกเจ้า และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้” (อัล-อังกะบูต 60)
อัล-หาติม บิน อัล-อะศ็อม กล่าวว่า:
وَكيفَ أَخافُ الفَقْرَ واللهُ رازِقي وَرَازقُ هذا الخلقِ في العسرِ واليسرِ
تَكَفَّل بالأرزاقِ للخلقِ كُلِّهـم وللضبِ في البيداءِ والحُوتِ في البحرِ
ฉันจะกลัวความอับจนไปไยในเมื่ออัลลอฮฺคือผู้ทรงให้ริสกี
และทรงให้ริสกีแก่สรรพสิ่งในยามยากและยามสุขสบาย
พระองค์ทรงให้ริสกีแก่สรรพสิ่งทั้งมวลไม่มีเว้น
แม้กระทั่งตัวฎ็อบกลางทะเลทรายหรือปลาในท้องทะเล
ประการที่สาม จำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะต้องมอบหมายการงานต่อพระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงประทานริสกีสิ่งยังชีพแก่ทุกๆ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง ริสกีของพระองค์นั้นไม่จำเพาะเจาะจงอยู่ที่หนึ่งที่ใด แต่พระองค์ทรงประทานให้โดยทั่วกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนอย่างไร พระองค์ตรัสว่า:
﴿ وَفِي ٱلسَّمَآءِ رِزۡقُكُمۡ وَمَا تُوعَدُونَ ٢٢ ﴾ [الذاريات: ٢٢]
ความว่า “และในฟากฟ้ามีปัจจัยยังชีพของพวกเจ้า และสิ่งที่พวกเจ้าถูกสัญญาไว้” (อัซ-ซาริยาต 22)
และตรัสอีกว่า:
﴿ فَٱبۡتَغُواْ عِندَ ٱللَّهِ ٱلرِّزۡقَ ١٧ ﴾ [العنكبوت: ١٧]
ความว่า “ดังนั้น จงขอเครื่องยังชีพจากอัลลอฮฺเถิด” (อัล-อังกะบูต 17)
ท่านอุมัรฺ บิน อัลค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
«لَوْ أَنَّكُمْ تَتَوَكَّلُوْنَ عَلَى اللهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ: لَرَزَقَكُمْ كَمَا يَرْزُقُ الطَّيْرَ ، تَغْدُوْ خِمَاصًا ، وَتَرُوْحُ بِطَانًا» [رواه أحمد برقم 205]
ความว่า “หากพวกท่านทำการมอบหมายต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริงแล้ว แน่นอนพระองค์จะประทานริสกีปัจจัยยังชีพให้แก่พวกท่าน เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงประทานริสกีให้แก่นก โดยที่มันบินออกไปในยามเช้าด้วยสภาพที่ท้องว่าง และกลับมาในตอนเย็นในสภาพที่ท้องอิ่ม” (บันทึกโดย อิมามอะหฺมัด เลขที่หะดีษ 205)
ประการที่สี่ ความรอบรู้ปรีชาญาณของอัลลอฮฺนั้นสมบูรณ์และครอบคลุมทุกสิ่ง โดยไม่มีสิ่งใดสามารถรอดพ้นจากความรู้ของพระองค์ได้ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ พระองค์ไม่ทรงหลงลืมสิ่งใดจากบรรดาสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือนก ดังที่พระองค์ตรัสว่า:
﴿ وَمَا كَانَ رَبُّكَ نَسِيّٗا ٦٤ ﴾ [مريم: ٦٤]
ความว่า “และพระเจ้าของท่านนั้นมิทรงหลงลืมสิ่งใดเลย” (มัรยัม 64)
และพระองค์ตรัสอีกว่า:
﴿ وَمَا تَكُونُ فِي شَأۡنٖ وَمَا تَتۡلُواْ مِنۡهُ مِن قُرۡءَانٖ وَلَا تَعۡمَلُونَ مِنۡ عَمَلٍ إِلَّا كُنَّا عَلَيۡكُمۡ شُهُودًا إِذۡ تُفِيضُونَ فِيهِۚ وَمَا يَعۡزُبُ عَن رَّبِّكَ مِن مِّثۡقَالِ ذَرَّةٖ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَلَا فِي ٱلسَّمَآءِ وَلَآ أَصۡغَرَ مِن ذَٰلِكَ وَلَآ أَكۡبَرَ إِلَّا فِي كِتَٰبٖ مُّبِينٍ ٦١﴾ [يونس : ٦١]
ความว่า “และเจ้ามิได้อยู่ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด และเจ้ามิได้อ่านบางส่วนจากมันในอัลกุรอาน และพวกท่านมิได้กระทำการใดๆ เว้นแต่เราได้เป็นพยานแก่พวกท่าน ในขณะที่พวกท่านกำลังง่วนอยู่ในเรื่องนั้น และจะไม่รอดพ้นจากพระเจ้าของเจ้า ซึ่งการกระทำใดๆ ที่มีน้ำหนักเท่าธุลี ทั้งในแผ่นดินและในชั้นฟ้า และที่เล็กกว่านั้นหรือที่ใหญ่กว่านั้น เว้นแต่อยู่ในบันทึกอันชัดแจ้งทั้งสิ้น” (ยูนุส 61)
ประการที่ห้า มุอ์มินผู้ศรัทธานั้น เมื่อเขาตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ เดชานุภาพ และความรอบรู้ของพระองค์อัลลอฮฺในทุกๆ สิ่งแล้ว เขาจะทบทวนตรวจสอบสิ่งที่ได้กระทำไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า:
﴿ وَوُضِعَ ٱلۡكِتَٰبُ فَتَرَى ٱلۡمُجۡرِمِينَ مُشۡفِقِينَ مِمَّا فِيهِ وَيَقُولُونَ يَٰوَيۡلَتَنَا مَالِ هَٰذَا ٱلۡكِتَٰبِ لَا يُغَادِرُ صَغِيرَةٗ وَلَا كَبِيرَةً إِلَّآ أَحۡصَىٰهَاۚ وَوَجَدُواْ مَا عَمِلُواْ حَاضِرٗاۗ وَلَا يَظۡلِمُ رَبُّكَ أَحَدٗا ٤٩ ﴾ [الكهف: ٤٩]
ความว่า “และบันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำผิดทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า: โอ้ความวิบัติของเราเอ๋ย! บันทึกอะไรกันนี่? มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อยและสิ่งใหญ่โตเว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย” (อัล-กะฮ์ฟฺ 49)
ประการที่หก เป็นการยืนยันถึงการมีอยู่ของวันแห่งการฟื้นคืนชีพของสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างทั้งหมด รวมทั้งสัตว์ต่างๆ และบรรดานกทั้งหลาย ด้วยหลักฐานจากอายะฮฺและหะดีษข้างต้น
والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.