การรับมรดกของสตรี
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
การรับมรดกของสตรี
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์
ตรวจทานโดย : อุษมาน อิดรีส
2011 - 1432
﴿ ميراث المرأة ﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم بن عبد الله التويجري
ترجمة: شكري نور
مراجعة: عثمان إدريس
2011 - 1432
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
15. การรับมรดกของสตรี
ศาสนาอิสลามให้เกียรติต่อสตรีเสมอ และได้มอบสิทธิทางมรดกแก่นางตามสภาพความเหมาะสมของนางดังต่อไปนี้
1. บางครั้ง นางจะรับส่วนแบ่งมรดกเท่ากับส่วนแบ่งของผู้ชาย เช่นในกรณีของพี่น้องชายหญิงร่วมมารดาเมื่อพวกเขารวมกันรับมรดก พวกเขาจะได้ส่วนแบ่งอย่างเท่าเทียมกัน
2. บางครั้งนางจะได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากับชายหรือน้อยกว่า เช่นในกรณีของแม่ที่รับมรดกร่วมกับพ่อ หากทั้งสองมีบุตรชายหลายคน หรือมีทั้งบุตรชายและบุตรหญิงหลายคน โดยทั้งแม่และพ่อจะได้รับส่วนแบ่งหนึ่งในหกส่วนของมรดก แต่ถ้าทั้งสองมีเพียงบุตรหญิงหลายคน แม่ก็จะได้รับส่วนแบ่งหนึ่งในหกส่วนของมรดก ส่วนพ่อจะได้รับส่วนแบ่งหนึ่งในหกส่วนของมรดกและส่วนแบ่งที่เหลือในกรณีที่ไม่มีอะเศาะบะฮฺ
3. และบางครั้งนางจะได้รับส่วนแบ่งมรดกครึ่งหนึ่งของจำนวนมรดกที่ผู้ชายได้รับ นี่คือส่วนแบ่งมรดกที่นางจะได้เป็นส่วนใหญ่
สรุปคือ สตรีจะได้รับสิทธิครึ่งหนึ่งของผู้ชายในห้ากรณี คือ การรับมรดก การเป็นพยาน (โดยที่พยานของผู้ชายหนึ่งคนจะมีน้ำหนักเท่ากับพยานของผู้หญิงสองคน) การทำอะกีเกาะฮฺ (โดยที่การทำอะกีเกาะฮฺสำหรับทารกหญิงแรกเกิดจะใช้สัตว์เชือด (แพะ) เพียงตัวเดียว ในขณะที่ทารกชายต้องใช้สัตว์เชือดถึงสองตัว) การจ่ายค่าสินไหมชดเชย และค่าปล่อยทาส
เหตุผลที่อิสลามกำหนดให้ผู้ชายได้รับมรดกมากกว่าผู้หญิง
เหตุผลเพราะอิสลามกำหนดให้ผู้ชายต้องแบกรับภาระทางการเงิน ในสิ่งที่ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องแบกรับ เช่น ค่าสินสอด ที่พักอาศัย ค่าเลี้ยงดูของภรรยาและบุตร และสินไหมแทนญาติที่ก่อคดีอาญาต่อผู้อื่น (อากิละฮฺ) ในส่วนของผู้หญิง นางไม่ต้องแบกภาระด้านการเลี้ยงดู ทั้งต่อตัวนางเองและต่อบุตรของนาง
ดังนั้น การที่อิสลามได้ปลดภาระด้านค่าใช้จ่ายต่างๆออกจากนางดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยทิ้งภาระ(ที่หนักหน่วง)เหล่านั้นให้ผู้ชายแบกรับไว้ จึงเท่ากับว่าอิสลามได้ให้เกียรติต่อนางแล้ว
ขณะเดียวกันอิสลามยังได้กำหนดส่วนแบ่งมรดกจำนวนครึ่งหนึ่งของส่วนแบ่งที่ผู้ชายพึงได้รับ ดังนั้นทรัพย์สินของนางจึงมีแต่จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทรัพย์สินของผู้ชายมีแต่จะลดลง เพราะต้องรับภาระด้านค่าใช้จ่าย ทั้งต่อตัวเอง ภรรยา และบุตร นี่แหละคือความยุติธรรมและจิตสำนึกระหว่างเพศทั้งสอง และ (แน่นอนว่า) พระผู้อภิบาลของท่านย่อมไม่ทารุณต่อปวงบ่าวของพระองค์แม้แต่น้อย และอัลลอฮฺทรงรอบรู้และทรงปรีชายิ่ง
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ٱلرِّجَالُ قَوَّٰمُونَ عَلَى ٱلنِّسَآءِ بِمَا فَضَّلَ ٱللَّهُ بَعۡضَهُمۡ عَلَىٰ بَعۡضٖ وَبِمَآ أَنفَقُواْ مِنۡ أَمۡوَٰلِهِمۡۚ﴾ [النساء: ٣٤]
ความว่า: “บรรดาผู้ชายนั้นเป็นผู้รับผิดชอบเลี้ยงดูบรรดาผู้หญิงด้วยปัจจัยที่อัลลอฮฺทรงให้บางกลุ่มเหนือกว่าบางกลุ่ม และด้วยเหตุผลที่พวกเขาต้องนำทรัพย์สินของพวกเขาไปใช้จ่าย (เพื่อเลี้ยงดูพวกนาง)” (อัน-นิสาอ์ : 34)
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿۞إِنَّ ٱللَّهَ يَأۡمُرُ بِٱلۡعَدۡلِ وَٱلۡإِحۡسَٰنِ وَإِيتَآيِٕ ذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَيَنۡهَىٰ عَنِ ٱلۡفَحۡشَآءِ وَٱلۡمُنكَرِ وَٱلۡبَغۡيِۚ يَعِظُكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَذَكَّرُونَ ٩٠﴾ [النحل: ٩٠]
ความว่า: “แท้จริงอัลลอฮฺทรงสั่งให้ธำรงความยุติธรรม ทำดี และบริจาคทานแก่ญาติผู้ใกล้ชิด และทรงห้ามจากการทำลามกและการกระทำชั่วช้าและการอธรรม พระองค์ทรงตักเตือนพวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจักได้รำลึก” (อัน-นะห์ลฺ : 90)